Skip to main content
บทความนี้แปลมาจาก   www.counterpunch.org
 
The Strategist and the Philosopher
Leo Strauss and Albert Wohlstetter
By ALAIN FRACHON and DANIEL VERNET
 
 
ใครกันเป็นพวกนวอนุรักษ์นิยม (Neoconservative)ที่มีบทบาทสำคัญต่อการตัดสินใจของประธานาธิบดีสหรัฐฯ เคียงข้างไปกับพวกเคร่งศาสนาคริสต์ ? และใครกันที่เป็นปรามาจารย์ทางปรัชญาของพวกเขา อัลเบิร์ต โวห์ลสเตเตอร์และลีโอ สเตราส์ใช่ไหม ?
 
คำตอบนี้แฝงมากับคำชมอย่างจริงใจของจอร์จ ดับเบิลยู บุชที่ว่า "พวกคุณเป็นมันสมองที่ดีที่สุดกลุ่มหนึ่งของประเทศเรา "เขาเสริม "ดังนั้นรัฐบาลของผมจึงจ้างพวกคุณทั้ง 20 คน" นี่คือการกล่าวปาฐกถาของประธานาธิบดีต่อสถาบันอุตสาหกิจในกรุงวอชิงตัน ดีซี เมื่อวันที่ 23 เดือนกุมภาพันธ์ (อ้างจากบทความที่ตีพิมพ์ในเลอ มองด์ วันที่ 20 มีนาคม 2003) เขาได้แสดงความเคารพต่อกลุ่มนักคิดซึ่งเป็นหนึ่งในป้อมปราการของขบวนการนวอนุรักษ์นิยม บุชเคารพต่อสำนักปรัชญาซึ่งทำให้ตำแหน่งประธานาธิบดีของเขาโดดเด่นและได้ยืนยันว่าทุกสิ่งของเขาล้วนเป็นหนี้กลุ่มนักคิดเหล่านี้ซึ่งอิทธิพลชัดเจนอย่างมากในปัจจุบัน เขายังยอมรับความจริงว่าตัวเองแวดล้อมโดยพวกนวอนุรักษ์นิยมและให้การยกย่องสำหรับคนเหล่านั้นสำหรับการมีส่วนสำคัญต่อการตัดสินใจของตน
 
  เมื่อต้นทศวรรษที่ 60  จอห์น เอฟ เคนนาดีได้ระดมศาสตราจารย์ที่มีหัวคิดแบบกลางค่อนซ้ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด พวกเขาได้รับเลือกจากกลุ่มที่เรียกว่า "ดีที่สุดและฉลาดที่สุด"ซึ่งเป็นคำที่นักเขียนคือเดวิด ฮัลเบอร์สตัมคิดขึ้นมา และสำหรับประธานาธิบดีบุช เขาก็จะปกครองประเทศพร้อมด้วยผู้ซึ่งนับตั้งแต่ยุคทศวรรษที่ 60 ได้เริ่มต้นขบถต่อแนวคิดที่มีอิทธิพลหลักในยุคนั้นที่ถูกย้อมสีว่าเป็นสังคมประชาธิปไตย พวกนวอนุรักษ์นิยมนั้นเราต้องไม่สับสนกับกลุ่มเคร่งศาสนาคริสต์ผู้ซึ่งก็พบได้ในบรรดาลิ่วล้อของบุช พวกเขาไม่ได้เกี่ยวข้องกับการอุบัติขึ้นใหม่ของพวกเคร่งลัทธิโปรเตสแตนต์ซึ่งเริ่มต้นในรัฐทางใต้ซึ่งเคร่งศาสนา อันเป็นกลุ่มที่กำลังพุ่งแรงในพรรครีพับริกันยุคปัจจุบัน พวกนวอนุรักษ์นิยมมาจากทางชายฝั่งตะวันออก และเป็นชาวแคลิฟอร์เนียบ้างไม่กี่คน ผู้ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้กับพวกเขานั้นมีพื้นหลังเป็นปัญญาชน คนเหล่านั้นมักจะเป็นชาวนิวยอร์กและเป็นยิว โดยมากจะเริ่มต้นจากเป็นพวกหัวเอียงซ้าย บ้างยังคงเรียกตัวเองว่าเป็นเดโมแครต และมีงานเขียนวิจารณ์ทางด้านวรรณกรรมและการเมือง ไม่ใช่คัมภีร์ไบเบิล พวกเขาสวมเสื้อสูทแบบทวีท เบลเซอร์ส์ไม่ใช่ชุดแบบนักบวชอีแวนเจลลิสทางใต้ที่เห็นในโทรทัศน์เกือบตลอดเวลา พวกเขาเป็นเจ้าแห่งความคิดเสรีต่อคำถามที่เกี่ยวกับสังคมและแนวโน้มของสังคม วัตถุประสงค์ของพวกเขานั้นไม่ใช่การต่อต้านการทำแท้งหรือพยายามให้โรงเรียนบังคับให้เด็กสวดมนต์ ความทะเยอทะยานของพวกเขาเร้นตัวอยู่ในบางสิ่ง
 
   ความแปลกของรัฐบาลบุชดังที่ปีแอร์ อาสเนอร์อธิบาย คือความสามารถในการนำกลุ่มของ 2 แนวคิดดังกล่าวมาประสานกัน บุชได้นำเอากลุ่มนวอนุรักษ์นิยมและพวกเคร่งศาสนาคริสต์มาทำงานร่วมกัน ฝ่ายหลังนั้นปรากฏตัวในรัฐบาลของเขาดังเช่นจอห์น แอชครอฟท์ รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม (ลาออกจากตำแหน่งด้วยเหตุผลเรื่องสุขภาพในปี 2005 -ผู้แปล)  ส่วนฝ่ายแรกนั้นคือมีดาราดังคือรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม พอล โวลโฟวิตซ์ (ต่อมาเขาได้เป็นไปประธานธนาคารโลกและต้องลาออกเพราะถูกกล่าวหาว่าไปขึ้นเงินเดือนให้กับคู่รัก -ผู้แปล) จอร์จ ดับเบิลยู บุชผู้นำรัฐบาลก้าวเดินบนแนวคิดแบบกลางค่อนขวาโดยปราศจากเสาหลักทางการเมืองที่แน่ชัดได้สร้างสูตรผสมทางอุดมการณ์ที่น่าตื่นตะลึงและทรงพลังนั้นคือทั้งโวลโฟวิตซ์และแอชคอฟท์ พวกนวอนุรักษ์นิยมและพวกเคร่งศาสนาซึ่งเปรียบได้กับดาว 2 ดวงที่โคจรอยู่มุมตรงกันข้ามกัน  แอชครอฟท์ได้สอนที่มหาวิทยาลัยบ็อบ โจนส์ในคาโรไลน่าที่อยู่ทางใต้ มหาวิทยาลัยซึ่งไม่เป็นที่รู้จักกันนักถึงแม้จะเป็นแหล่งส่องสุ่มของพวกเคร่งลัทธิโปรแตสแตนต์และมักจะมีคนแอบได้ยินมาว่าส่งเสริมลัทธิต่อต้านยิว โวลโฟวิตซ์นั้นมีเชื้อสายยิวและมีพ่อแม่เป็นครู เขาเป็นผลผลิตอันปราดเปรื่องของมหาวิทยาลัยแถบชายฝั่งตะวันออก เขาได้เรียนกับศาสตราจารย์ที่โดดเด่นที่สุดในทศวรรษที่หกสิบถึงสองท่าน นั้นคือ อลัน บลูม ลูกศิษย์ของนักปรัชญาเยอรมันเชื้อสายยิวนามว่า ลีโอ สเตราส์และ อัลเบิร์ต โวห์ลสเตเตอร์ศาสตราจารย์แห่งคณิตศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญในกลยุทธของกองทัพ พวกนวอนุรักษ์นิยมมักจะวางตัวให้เป็นลูกศิษย์ของทั้งนักปรัชญาและนักวางกลยุทธ
 
  คำว่า "นวอนุรักษ์นิยม"นั้นเป็นชื่อที่ตั้งผิด พวกเขาไม่ได้เกี่ยวอะไรกับกลุ่มที่ต่อสู้ในการอนุรักษ์กฏเกณฑ์เก่าๆ พวกเขาปฏิเสธทุกสิ่งที่เป็นของพวกอนุรักษ์นิยมทางการเมืองดังที่เป็นที่เข้าใจในยุโรป หนึ่งในคนเหล่านั้นคือฟรานซิส ฟูกุยาม่า ผู้ซึ่งมีชื่อเสียงจากหนังสือที่ชื่อ "จุดจบของประวัติศาสตร์และมนุษย์คนสุดท้าย"(End of History and the Last Man) ยืนยันว่า "ไม่มีทางที่พวกนวอนุรักษ์นิยมจะออกมาป้องกันระเบียบของสิ่งต่างๆ ยกตัวอย่างเช่นสิ่งที่อิงกับจารีตซึ่งเน้นอำนาจเชิงดิ่งและมุมมองเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ในด้านร้าย"(วอลล์ สตรีท เจอร์นัล 24 ธันวาคม 2002).
 
 ในฐานะพวกมองโลกในด้านดีเชิงอุดมคติเชื่อมั่นต่อคุณค่าสากลของรูปแบบประชาธิปไตยแบบอเมริกัน พวกเขาเชื่อในอำนาจทางการเมืองที่จะนำสถานการณ์ในปัจจุบันและความเชื่อที่เลื่อนลอยไปสู่จุดจบ พวกเขาเชื่อในอำนาจของการเมืองที่จะเปลี่ยนทุกสิ่ง สำหรับเรื่องการเมืองในประเทศ พวกเขาพยายามต่อต้านแนวคิดเรื่องสวัสดิการที่ถูกสร้างโดยประธานาธิบดีของพรรคริพับลิกันและเดโมแครต (เคนนาดี จอห์นสันและนิกสัน ตามลำดับ)ซึ่งถูกคิดขึ้นมาในการแก้ไขปัญหาสังคม ในนโยบายต่างประเทศ พวกเขาประณามการผ่อนปรนระหว่างสหรัฐฯและสหภาพโซเวียตในทศวรรษที่ 70 ซึ่งพวกเขาอ้างว่าให้ผลประโยชน์แก่สหภาพโซเวียตมากกว่าตะวันตก ในฐานะนักวิพากษ์สังคมยุคหกสิบผู้ยังคัดค้านแนวคิดทางการทูตแบบสัจนิยมของเฮนรี คิสซิงเจอร์ พวกเขาเป็นพวกต่อต้านแนวคิดกระแสหลัก เอร์วิง คริสตอลและนอร์แมน โปดโอเรสตซ์ ผู้ก่อตั้งนิตยสาร Commentary และเป็นเจ้าพ่อชาวนิวยอร์คแห่งขบวนการนวอนุรักษ์นิยมนั้นมาจากการเป็นพวกหัวเอียงซ้าย และด้วยการเป็นพวกซ้ายนี้พวกเขาก็สร้างแนวคิดในการประณามสหภาพโซเวียต  (เรียกกันว่าเป็นพวกซ้ายใหม่ที่เห็นว่าโซเวียตบิดเบือนแนวคิดของคาร์ล มาร์กซ์-ผู้แปล)
 
  ใน "Ni Marx ,ni jesus (ไม่ใช่มาร์กซ์และไม่ใช่พระเยซู)(รูแบร์ต์ ลาฟฟองท์1970) ญอง-ฟรองซัส เรเวล์ได้อธิบายว่าสหรัฐฯได้ถล้ำเข้าไปในปฏิวัติทางสังคมในทศวรรษที่ 60  และก่อนหน้านั้นเขาได้กล่าวว่าแนวคิดนวอนุรักษ์นิยมเป็นกลุ่มโจมตีตัวสังคมอเมริกันเองมากกว่าอื่นใด พวกนวอนุรักษ์นิยมวิจารณ์ลัทธิสัมพัทธ์นิยมทางศีลธรรมและวัฒนธรรม (ลัทธิที่เห็นว่าทุกสิ่งมีมุมมองที่แตกต่างกันและมีความถูกต้องเท่ากัน-ผู้แปล)  ของทศวรรษที่ 60  ตามแบบของลีโอ สเตราส์ ตามมุมมองของพวกเขา ลัทธิสัมพัทธ์นิยมยังมีอิทธิพลในขบวนการของพวกเสรีนิยมในทศวรรษที่แปดสิบด้วย ปัญญาชนชั้นสูงอีกคนที่เข้าร่วมสงครามด้วยคืออลัน บลูมจากมหาวิทยาลัยชิคาโก ในปี 1987 จากหนังสือ The Closing of the American Mind เขาโจมตีชุมชนของมหาวิทยาลัยว่าให้คุณค่าแก่ทุกสิ่งเท่าเทียมกัน "ทุกอย่างกลายเป็นวัฒนธรรมไปหมด" เขาเขียนดังนี้ "วัฒนธรรมยาเสพติด วัฒนธรรมดนตรีร็อค วัฒนธรรมพวกแก๊งค์ข้างถนนและอื่นๆ โดยไม่มีการแยกแยะแม้เพียงนิด ความล้มเหลวของวัฒนธรรมกลายเป็นวัฒนธรรมไปเสีย"
 
 สำหรับบลูมซึ่งเป็นผู้ตีความคนสำคัญของงานวรรณคดีคลาสสิกมีแนวคิดคล้ายคลึงกับอาจารย์ของเขาคือสเตราส์อย่างมากที่เห็นว่ามรดกของทศวรรษที่ 60 นั้น"กลายเป็นการดูแคลนอารยธรรมตะวันตก" เรเวลเขียนอธิบาย "ตามความคิดของพวกเสรีนิยม วัฒนธรรมทั้งหมดล้วนแต่มีคุณค่าเท่ากัน บลูมตั้งคำถามต่อนักศึกษาและอาจารย์ผู้ซึ่งมีแนวโน้มอย่างมากในการรับเอาวัฒนธรรมที่ไม่ใช่ของยุโรปซึ่งมักจะขัดแย้งกับแนวคิดเรื่องเสรีภาพในขณะเดียวกันก็ประท้วงด้วยความหยาบช้าสุดขีดต่อวัฒนธรรมตะวันตกจนถึงขึ้นไม่ยอมรับว่ามันมีความเหนือว่าวัฒนธรรมอื่นไม่ว่าในกรณีใด ๆ"
 
ในขณะที่พวกเสรีนิยมดูเหมือนจะอยู่ในตำแหน่งที่ได้เปรียบ พวกนวอนุรักษ์นิยมกลับกำลังก้าวหน้าไปเรื่อยๆ หนังสือของบลูมขายดิบขายดีเป็นอันดับหนึ่ง ภายในนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ นั้น แนวคิดของนวอนุรักษ์นิยมที่แท้จริงกำลังก่อรูปก่อร่าง เครือข่ายได้ถูกสร้างขึ้น ในทศวรรษที่ 70 วุฒิสมาชิกพรรคเดโมแครตจากรัฐวอชิงตันคือเฮนรี แจ๊คสัน (เสียชีวิตในปี 1983) วิพากษ์วิจารณ์สนธิสัญญาการลดอาวุธนิวเคลียร์ฉบับสำคัญ  เขาได้สร้างพวกสิงห์หนุ่มรุ่นใหม่ที่มีความสนใจในเรื่องกลยุทธทางการเมืองซึ่งก็คือริชาร์ด เพิร์ลและวิลเลี่ยม คริสตอล คนหลังนั้นยังได้เข้าเรียนกับอลัน บลูม
 
ไม่ว่าตอนทำงานหรือไม่ได้ทำในรัฐบาลด้วยกัน ริชาร์ด เพิร์ลจะพบกับพอล โวลโฟวิตซ์ เมื่อพวกเขาทำงานให้กับเคนเนท อเดลแมน นักวิพากษ์นโยบายการผ่อนปรนกับคอมมิวนิสต์ หรือ ชาร์ลส์ แฟร์แบงค์ส์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในเรื่องของกลยุทธนั้น อาจารย์ของพวกเขาคืออัลเบิร์ต โวห์ลสเตเตอร์ นักวิจัยที่สถาบันแรนด์ คอร์ปอเรชั่น ที่ปรึกษาของเพนตากอน และยังเป็นนักชิมอาหารตัวฉกาจ โวห์ลสเตเตอร์ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในบิดาแห่งลัทธิอาวุธนิวเคลียร์ของอเมริกา
 
 หรือจะให้ถูกต้องกว่านั้น เขาเป็นผู้พยายามอย่างยิ่งในช่วงต้นๆ ในการรื้อลัทธิเก่า ๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำหรับการหยุดยั้งการใช้ระเบิดนิวเคลียร์นั้นคือ แม็ด (MAD) หรือ Mutual-assured Destruction (การทำลายล้างซึ่งกันและกันอย่างสิ้นเชิง)มาพัฒนาใหม่ ทฤษฎีนั้นคือทั้งสองค่ายมีศักยภาพในการสร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่กันและกัน ผู้นำของพวกเขาจะพิจารณาอย่างหนักหน่วงก่อนที่จะสั่งให้มีการโจมตีด้วยระเบิดนิวเคลียร์ ไม่มีประมุขของรัฐที่ยังสติดี หรือประธานาธิบดีสหรัฐฯ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ที่จะต้องการให้มีการฆ่าตัวตายคู่ 
 
(มีต่อ)
 
 
 
 
 
 
 
ภาพจาก  2.wp.com/mycatbirdseat.com
 
 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
(เรื่องสั้นสยองขวัญภาษาอังกฤษเรื่องนี้ลอกมาจากเรื่องสั้นของราชาเรื่องสยองขวัญของเมืองไทย ครูเหม เวชากร ตัวเอกคือนายทองคำ เด็กกำพร้าอายุ 12 ขวบที่อาศัยอยู่กับยายและญาติในชนบทของไทยในช่วงเวลาประมาณ พ.ศ.2476)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
The lingering sunlight from the dawn kissed my eyelids and I could hear faintly the flock of big birds, whose breed was unbeknownst to me, chirping merrily outside window ,as if to greet the exuberant face of a new day.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
นวนิยายภาษาอังกฤษเกี่ยวกับนักเขียนวัยกลางคนที่มีความหลังอันดำมืดและความสัมพันธ์กับดาราสาวผู้มีพลังจิต 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เรื่องของรปภ.หนุ่มผู้ค้นหาภูติผีปีศาจในตึกที่ลือกันว่าเฮี้ยนที่สุด  เรื่องนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากรายการ The Ghost Radio(the altered version)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เรื่องของผู้ชาย 3 คนที่ขับรถบรรทุกแล้วต้องเผชิญกับผีดูดเลือด 3 Friends and The Ghosts                                                (1)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
This short novel is about a guy who works as a DJ for the radio program 'The Spook Radio', famous for its allowing audience to share their thrilling experiences or tales about the superstitious stuffs, especially the ghosts, via telephones.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
นวนิยายภาษาอังกฤษเรื่องนี้เกี่ยวกับคนไทยที่ใช้ชีวิตในเยอรมันช่วงพรรคนาซีเรืองอำนาจ  เขียนยังไม่จบและยังไม่มีการ proofreading แต่ประการใด                     Chapter 1  
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
บทความนี้มาจาก facebook  Atthasit Muangin สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล มหาศาสดาผู้ลี้ภัยอยู่ที่กรุงปารีส ฝรั่งเศส ในฐานะเป็นเอตทัคคะหรือผู้เป็นเลิศในเรื่องเจ้า (The royal affairs expert)  พบกับการวิพากษ์วิจารณ์และโจมตีอย่างมากมายจากบรรดาแฟนคลับหรือคนที่แวะเข้ามาในเ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 (มีบทความอื่นอีกมากมายในเฟซบุ๊คของผมคือ Atthasit Muang-in) 1.สลิ่มไม่ชอบอเมริกาและตะวันตกซึ่งคว่ำบาตรและมักท้วงติงไทยหลังรัฐประหารปี 2557  ในเรื่องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน โดยพวกสลิ่มเห็นว่าทั้งสองฝ่ายเป็นพวกหน้าไหว้หลังหลอกเช่นเคยบุกประเทศอื่น
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ตัวละครบางตัวได้แรงบันดาลใจมาจากอิ๊กคิวซัง เณรน้อยเจ้าปัญญา The Abbot and The Noble           (1) In our village , Abbot Akisada was enormously respected by most of our
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เรื่องความแค้นของผีตายทั้งกลม This (real) horror short story is partly inspired by the ghost tale told by the popular YouTuber like Ajarn Yod. Or it is in fact from the amateurish storytellers participating in Ghost Radio or The Shock more or less.