ปราการของเวลา

ชื่อหนังสือ : ร่างกายที่เหนืออายุขัย จิตใจที่ไร้กาลเวลา

                 Ageless Body, Timeless Mind

เขียน : โชปรา ดีปัก

แปล : เรืองชัย รักศรีอักษร

พิมพ์ : สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก กรกฎาคม 2551

 

แสนกว่าปีมาแล้วที่มนุษย์พัฒนากายภาพมาถึงขีดสุด ต่อนี้ไปการพัฒนาทางจิตจะต้องก้าวล้ำ มีหนังสือมากมายที่กล่าวถึงวิธีการพัฒนาทักษะทางจิต เพื่อให้อำนาจของจิตนั้นบันดาลถึงความมหัศจรรย์แห่งชีวิต หนึ่งในนั้นมีหนังสือที่กล่าวอย่างจริงจังถึงอายุขัยของมนุษย์ ว่าด้วยกระบวนการรังสรรค์ชีวิตให้ยืนยาว

เล่มนี้เป็นหนังสือขายดีที่เขียนโดยนายแพทย์หนุ่มชาวอินเดียนาม โชปรา ดีปัก ผู้ยืนยันว่า

มนุษย์สามารถมีอายุยืนยาวเกินกว่า 100 ปี

ก่อนอื่นเราควรระงับคำถามที่ว่า เราอยากจะมีอายุยืนยาวไปทำไมกันเสียก่อน

หมอโชปรา ดีปัก เรียนจบแพทย์จากอินเดียแล้วย้ายไปต่อที่สหรัฐฯ ศึกษาวิชาโรคภายใน endocrinology เขาไม่เลื่อมใสการใช้ยาอย่างแพทย์แผนปัจจุบันทั่วไป แต่สนใจศึกษาอายุรเวทอย่างจริงจัง โลกทัศน์เช่นนี้ทำให้เขาค้นพบ “หลักสูตร” อันจะนำพาเราไปสู่ดินแดนที่ไม่มีผู้ใดแก่เฒ่า

ในหนังสือเล่มนี้ หมอโชปราได้จับกระบวนทัศน์ของควอนตัมมาผสมเข้ากับวิถีอย่างโยคีอินเดีย

โดยจับไปที่สาเหตุแท้จริงของความชรา นั่นคือ “วิธีคิด” ซึ่งจะส่งผลต่อพฤติกรรมของเรา และที่สำคัญที่สุด ตัวเรานั่นเองที่จะเป็นผู้กีดขวางไม่ใช่ตัวเราก้าวไปสู่ดินแดนแห่งนี้

เคยสงสัยไหมว่า จินตนาการของเรามาจากไหน

เป็นไปได้ไหม จินตนาการคือรูปแบบหนึ่งของเชาวน์ปัญญา ซึ่งแฝงอยู่ภายในจิตใต้สำนึก และถูกส่งผ่านจากบรรพบุรุษรุ่นแล้วรุ่นเล่านับแต่บรรพกาล มาถึงรุ่นลูกหลานในรูปของรหัสทางพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ

นักพันธุกรรมศาสตร์ได้วางเชาวน์ปัญญาไว้เป็นอันดับแรกภายในดีเอ็นเอ ขณะที่อินเดีย กระแสของเชาวน์ปัญญานี้เรียกว่า ปราณ Pran แปลว่า พลังชีวิต สามารถเพิ่มหรือลดลงได้ตามเจตจำนง ส่วนแพทย์แผนปัจจุบันบอกว่าสารเคมีจะเดินทางไปพร้อมกับความคิด เช่น ทำไมหญิงที่เพิ่งเป็นม่ายจึงมีแนวโน้มเกิดมะเร็งเต้มนมมากกว่าหญิงอื่นถึง 2 เท่า

ดังนั้น “ตัวตน” ของเรา จึงประกอบด้วยกระแสเชาวน์ปัญญาและวิธีคิด มันกำหนดและกะเกณฑ์ทุกสิ่ง

ทั้งที่เรารู้ตัวและไม่รู้ตัว

หากเราคิดและเชื่อว่า ร่างกายแยกออกจากจิตใจ เชื่อว่าเราเป็นเครื่องจักรทางกายภาพที่รู้จักคิด

คำว่า เครื่องจักร ย่อมแสดงให้เห็นความเสื่อมถอยหรือชราภาพในวาระหนึ่งด้วย หากเราเป็นเชลยของความสัมบูรณ์ (เวลาเป็นสิ่งสัมบูรณ์) ไม่มีใครรอดพ้นจากการทำลายล้างของเวลาได้ เชื่อว่าความทุกข์ทรมานเป็นสิ่งจำเป็น เราไม่หลีกเลี่ยงได้ …

หากเราเป็นเช่นนั้น ดินแดนที่ไม่มีผู้ใดแก่เฒ่าจะไม่มีวันถูกค้นพบ

ซึ่งเท่ากับ กระแสเชาวน์ปัญญาในรูปแบบของจินตนาการ อันเป็นพลังชีวิตของเรา ถูกวิธีคิดสะกดให้ตายด้าน ยิ่งเฉพาะกับยุคสมัยที่ สังคมมนุษย์ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของวาทกรรมนับร้อยพัน เช่นนี้

เมื่อเราถูกสะกดจิตจากวาทกรรมเผ่าพันธุ์ต่าง ๆ วิธีคิดของเราจะเต็มไปด้วยข้อจำกัดและขอบเขตอันยุ่งเหยิงและซับซ้อน จินตนาการของเรากลายเป็นแค่เรื่องเพ้อฝัน ไร้สาระ นั่นเท่ากับว่า มนุษย์ได้ปิดประตูชีวิตของตนแล้ว

เราจะก้าวต่อไปได้อย่างไร

เริ่มแรกมนุษย์ได้ตัดแบ่งความเป็นนิรันดร์ออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย (วินาที นาที ชั่วโมง)

ศาสตร์ทุกแขนงต่างตั้งข้อสันนิษฐานขึ้นมาตีกรอบสนามชีวิตของเรา พร้อมกับปฏิเสธความกว้างอย่างไร้ขอบเขตของชีวิตด้วย และเราต่างย่ำวนอยู่ในข้อสันนิษฐานเหล่านี้อย่างไม่ลืมหูลืมตา กระทั่งหลงลืมศักยภาพที่แท้จริงของตัวเอง และกระทั่งควอนตัมฟิสิกส์ได้นำพาเราไปทำความรู้จักกับจิตวิญญาณให้มากกว่าความเหลวไหลไร้สาระ ไม่มีข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์

ต่อแต่นี้ไป วิทยาศาสตร์ยุคนี้จะไม่ใช่การค้นพบอย่างเป็นเอกเทศอีกแล้ว แต่จะเป็นการค้นพบซึ่งโลกทัศน์ใหม่

ทุกโลกทัศน์รังสรรค์โลกของตัวเองทั้งสิ้น

ประสบการณ์ของเราที่มีต่อเวลามีผลโดยตรงต่อการทำงานของนาฬิกาชีวิตของเรา ถ้ารู้สึกว่าเวลากำลังจะหมดไป นาฬิกาชีวภาพของเราจะเดินเร็วขึ้น ถ้าเรามีเวลาทั้งหมดในโลก นาฬิกาชีวภาพของเราจะหยุดเดิน ดังนั้นโลกทัศน์ที่มีต่อเวลาหรือต่อโลก ย่อมสร้างตัวตนของเราขึ้น

โดยให้ชีวิตเป็นได้ทั้งมีข้อจำกัดและเป็นอิสระ ขึ้นอยู่กับโลกทัศน์ของเรา

หมอโชปราเชื่อว่า จิตวิญญาณเป็นอาณาจักรของจิตสำนึกของเราซึ่งไร้เวลา เวลาเป็นความต่อเนื่องของความทรงจำ ซึ่งใช้อีโก้เป็นจุดอ้างอิงภายใน เมื่อเราหลุดพ้นจากอีโก้ของเราเข้าสู่ปริมณฑลของจิตวิญญาณ เราจะทำลายเครื่องกีดขวางของเวลา ถึงที่สุดแล้ว ทั้งคุณภาพและปริมาณของชีวิตจะขึ้นอยู่กับความเข้าใจของเราที่มีต่อความเป็นเอกลักษณ์ ถ้าเรามีความหมายและจุดหมายในชีวิตและเอกลักษณ์ของเราไม่ผูกติดกับ “อีโก้” ที่ห่อหุ้มด้วยผิวนอก จะทำให้ทั้งคุณภาพและปริมาณของชีวิตดีขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ

กล่าวได้ว่า หมอโชปราเชื่อว่า โลกและวิญญาณเป็นของเที่ยง ไม่เสื่อมสูญ เป็นสัสตทิฏฐิในทางพุทธศาสนา ดังนั้นจึงเป็นการแย้งกับหลักพุทธธรรม แต่จะขัดแย้งจริงหรือไม่ เราควรมองให้ลึกลงไปถึงกุศโลบายแห่งพุทธรรมอีกด้วย

ฉะนั้นแล้วคำถามที่ว่า เราอยากจะมีอายุยืนยาวไปทำไมกัน นั้น อาจมีคำตอบอยู่ในบัญญัติแห่งพุทธธรรม เพราะบางครั้งเราอาจไม่ได้อยากมีอายุยืนยาวหรอก เราเพียงแค่อยากเป็นชีวิตที่มีชีวิต ไม่ใช่ชีวิตที่ตายแล้วทั้งเป็น.

 

 

 

ความเห็น

Submitted by ให้กำลังใจ on

ขอให้กำลังใจนายยืนยงในการอ่านหนังสือเล่มต่าง ๆสวนหนังสือน่าจะออกจากการอ่านวรรณกรรมรรวณเวรเสียบ้างนะ..อย่าหักโหมมากเกินละ..ไปนะ..บาย

Submitted by จรดล on

อื่อม ชีวิตกับจิตใจเปนหนึ่งเดียวกัน ความเป็นอมตะนิรันดร์จึงก่อเกิด
ใครจะรับรู้ ซึ่งกันและกัน คือความรักนั่นแล
อยู่เหนือกาลเวลา อกาลิโก

ถ้าเรามีชีวิตจิตใจเปนหนึ่งเดียวกับมนุษยชาติทั้งปวง
เราก็จะรวมเปนหนึ่งเดียว ณ ปัจจุบันกาล
อดีต และอนาคตกาลด้วย
ปราการของกาลเวลาจึงไม่อาจขวางกั้น

สิ่งเหล่านี้อยู่ในชีวิต อาจมีหลากหลายรูปแบบนิยาม เช่นศาสนา ศิลปะ หรือปุถุชน
อันไม่ยึดติดกับตัวตนใดๆ บริสุทธิ์ปราศจากสิ่งเศร้าหมองทั้งหลาย หิเมหิ สะกาเรฮิๆๆๆ

พุทธธรรมของกวีหลับลื่น

นายยืนยง
 

พัฒนาการของกวีภายใต้คำอธิบายที่มีอำนาจหรือวาทกรรมยุคเพื่อชีวิต ซึ่งมีท่าทีต่อต้านระบบศักดินา รวมทั้งต่อต้านกวีราชสำนักที่เป็นตัวแทนของความเป็นชาตินิยม ต่อต้านระบอบราชาธิปไตย ต่อต้านไปถึงฉันทลักษณ์ในบางกลุ่ม ต่อต้านทุนนิยมและจักรวรรดิอเมริกา ขณะที่ได้ส่งเสริมให้เกิดอุดมการณ์ประชาธิปไตยในยุคก่อนโน้น มาถึงพ.ศ.นี้ ได้เกิดเป็นปรากฏการณ์ทวนกระแสเพื่อชีวิต ด้วยวิธีการปลุกความเป็นชาตินิยม ปลูกกระแสให้เรากลับมาสู่รากเหง้าของเราเอง

กวีกับอุดมคติ

นายยืนยง


บทความนี้เกิดจากการรวบรวมกระแสคิดที่มีต่อกวีนิพนธ์ไทยในรุ่นหลัง เริ่มนับจากกวีนิพนธ์แนวเพื่อชีวิตมาถึงปัจจุบัน  และให้น้ำหนักเรื่อง
กวีกับอุดมคติทางกวีนิพนธ์

ปราการของเวลา

ชื่อหนังสือ : ร่างกายที่เหนืออายุขัย จิตใจที่ไร้กาลเวลา

                 Ageless Body, Timeless Mind

เขียน : โชปรา ดีปัก

แปล : เรืองชัย รักศรีอักษร

พิมพ์ : สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก กรกฎาคม 2551

 

แสนกว่าปีมาแล้วที่มนุษย์พัฒนากายภาพมาถึงขีดสุด ต่อนี้ไปการพัฒนาทางจิตจะต้องก้าวล้ำ มีหนังสือมากมายที่กล่าวถึงวิธีการพัฒนาทักษะทางจิต เพื่อให้อำนาจของจิตนั้นบันดาลถึงความมหัศจรรย์แห่งชีวิต หนึ่งในนั้นมีหนังสือที่กล่าวอย่างจริงจังถึงอายุขัยของมนุษย์ ว่าด้วยกระบวนการรังสรรค์ชีวิตให้ยืนยาว

เล่มนี้เป็นหนังสือขายดีที่เขียนโดยนายแพทย์หนุ่มชาวอินเดียนาม โชปรา ดีปัก ผู้ยืนยันว่า

มนุษย์สามารถมีอายุยืนยาวเกินกว่า 100 ปี

กนกพงศ์ กับความเข้มข้นที่ล้มเหลว

นายยืนยง 

 

ชีวประวัติของนักเขียนหนุ่ม กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ ในความจดจำของฉัน เป็นเพียงภาพร่างของนักเขียนในอุดมคติ ผู้ซึ่งอุทิศวันเวลาของชีวิตให้กับงานเขียนอย่างเคร่งครัด ไม่มีสีสันอื่นใดให้ฉันจดจำได้อีกมากนัก แม้กระทั่งวันที่เขาหมดลมหายใจลงอย่างปัจจุบันทันด่วน ฉันจำได้เพียงว่าเป็นเดือนกุมภาพันธ์...