Skip to main content
 

  

ปิติ-ชูใจ

ท่ามกลาง หนังซัมเมอร์' ที่ดาหน้ากันมาถมจนเต็มพื้นที่ในโรงภาพยนตร์ช่วงฤดูร้อน ทางเลือกของคนดูหนังใน โรงหนังชั้นนำใกล้บ้านคุณ' ก็ยังไม่ได้หลากหลายอะไรนัก เพราะแนวทางหลักๆ ของหนังซัมเมอร์ที่เห็นอยู่ตอนนี้ก็มีแค่ แอ๊กชั่น, ตลก, สยองขวัญ และอนิเมชั่น กรณีที่อยากดูหนังนอกกระแส ก็ต้อง เข้าเมือง' กันอย่างเดียว เพราะที่ทางของหนังเหล่านี้ยังกระจุกตัวอยู่ที่สยามหรือไม่ก็สุขุมวิทแค่นั้น (ซึ่งมันก็เป็นเรื่องเข้าใจได้ในยุคที่หนังถูกจำกัดความหมายให้เป็นแค่เครื่องมือผ่อนคลายและสร้างความบันเทิง)

แต่อย่างน้อยที่สุด หน้าร้อนปีนี้ยังมีหนังไทยน่าสนใจอยู่ 2 เรื่อง ที่พอจะแหวกกระแสเดิมๆ ออกไปได้บ้าง 

เรื่องแรกคือ อรหันต์ซัมเมอร์' ที่ชูประเด็น การบวชสามเณรภาคฤดูร้อน' มาเป็นจุดขาย กับอีกเรื่องคือ ดรีมทีม' ของผู้กำกับจอมเสียดสี (เรียว กิติกร) ที่ปีนี้มาพร้อมกับการขายความน่ารักของเด็กๆ อนุบาล วัยกำลังซน

ทั้งสองเรื่องมีความพ้องต้องกันประการหนึ่ง คือ เป็นหนังที่ผู้ปกครองสามารถพาเด็กๆ ไปดูได้ โดยไม่ต้องกังวลว่าจะมีคำหยาบคายประเภท เหี้ย-ห่า และสารพัดสัตว์' หลุดออกมาให้เด็กๆ ได้ยิน...(ซึ่งประเด็นนี้กลายเป็นจุดขายที่แข็งแรงของหนังไปได้ยังไง--ก็ยังงงๆ อยู่เหมือนกัน)

ทั้งสองเรื่องเป็นหนังที่ดูเพื่อเน้นขำ เน้นฮา อย่างเดียวก็ได้ หรือจะดูเพื่อให้เห็นภาพสะท้อนความเป็นไปของสังคมไทยก็ยังได้ เพราะเรื่องใหญ่ใจความของทั้งอรหันต์ฯ และดรีมทีม คือการมองจากมุมของเด็กๆ ที่ถูกวางภาระแห่งการเป็น อนาคตของชาติ' ไว้บนบ่า

ใน อรหันต์ซัมเมอร์' เรื่องราวเริ่มต้นที่บรรดาพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ส่งตัวลูกหลานไปบวชเณรด้วยเหตุผลต่างๆ กันไป บางรายต้องการดัดนิสัยและสร้างวิันัยให้ลูก ส่วนบางรายหวังจะเกาะชายผ้าเหลืองลูกขึ้นสวรรค์ ในขณะที่ผู้ปกครองอีกบางคนจำต้องส่งลูกหลานไปสู่สถาบันศาสนาด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ แต่โดยรวมแล้วก็คือ ผู้ปกครองส่วนใหญ่หวังว่า ศาสนา' จะช่วยกล่อมเกลาและสั่งสอนให้ลูกหลานของตัวเองเป็น คนดี' ต่อไปในอนาคต

ส่วนเรื่อง ดรีมทีม' ที่ผู้กำกับบอกว่า ไม่มีนัยยะทางการเมืองแอบแฝง' ก็พุ่งประเด็นไปที่การแข่งขันชักเย่อของเด็กอนุบาลที่มุ่งสู่สนามระดับชาติ โดยมีผู้ปกครองหลากหลายประเภทคอยสนับสนุน ชี้นำ หรือไม่ก็คอยสร้างความวุ่นวายปั่นป่วนไม่แพ้เด็กๆ ที่ยังไม่รู้เดียงสาในเรื่อง

เรื่องราวของสามเณรแสนซนอย่าง ข้าวปั้น, นะโม, น้ำซุป, บู๊ ฯลฯ และเรื่องราวของน้องหัวแก้ว, เป๊ะ, เซน 1, เซน 2, อะตอม, ภูมิ ฯลฯ จึงเป็นการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ที่พวกเขาเหล่านั้นได้เผชิญร่วมกันในฤดูร้อนหนึ่งซึ่งจะส่งผลกับทิศทางชีวิตของพวกเขาในทางใดทางหนึ่งในอนาคต

และประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือว่า พวกเขาจะรับมืออย่างไรกับความคาดหวังของผู้คนรอบข้าง

การเรียนรู้ร่วมกันของเหล่าสามเณรในอรหันต์ซัมเมอร์' ทำให้พวกเขามีศัตรูร่วมกัน (ในตอนแรก) คือความเข้มงวดกวดขันของหลวงพี่และหลวงพ่อในเรื่อง

การรวมตัวกันโดยอัตโนมัติของเหล่าสามเณรภาคฤดูร้อนจึงเกิดขึ้น เพื่อแข็งขืนต่อข้อปฏิบัติอันเคร่งครัดและเพื่อทำตามที่ธรรมชาติเรียกร้อง เช่น ร้องเพลงเมื่ออยากร้อง หรือต้มมาม่ากินเมื่อหิว

แน่นอนว่า การกระทำเหล่านี้ไม่ใช่การกระทำในฐานะสามเณร แต่เป็นการกระทำตามประสาเด็กทั่วไป แต่เมื่อพวกเขาอยู่ในสถานะซึ่งต้องดำรงไว้ซึ่ง คุณงามความดีในฐานะผู้สืบทอดศาสนา' (และอนาคตของชาติ) การฝืนธรรมชาติของเด็กทำให้เกิดการเรียนรู้ว่า พวกเขาควรจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรต่อกฎอันเคร่งครัดและความคาดหวังของพ่อแม่พี่น้องลุงป้าน้าอาที่คิดกันง่ายๆ ว่า ผ้าเหลือง' จะเป็นเครื่องมือบ่มนิสัยอันดีงามของเด็กได้

ทั้งที่ในความเป็นจริง ใต้ร่มเงาของศาสนา ก็ยังมีปัญหาที่แก้ไม่ตกอยู่หลายเรื่อง เห็นได้จาก พุทธศาสนิกชน' ในเรื่องอรหันต์ซัมเมอร์ ส่วนใหญ่ก็เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ในทางวัยวุฒิกันแล้ว แต่ความเข้าใจเกี่ยวกับพระธรรมคำสอนยังไม่ไปถึงไหน และคนส่วนใหญ่ยังติดอยู่แค่เปลือกของพิธีกรรมเท่านั้น

ฉากที่สามเณรเจ้าปัญญาพยายามรักษาอาการคลุ้มคลั่งของ ผี' ในจิตใจผู้ใหญ่ ด้วยการมุ่งชี้ไปที่ต้นเหตุของปัญหา ซึ่งผู้กำลังมีทุกข์เท่านั้นจะรู้ว่า ต้นตอแห่งความทุกข์ของตัวเองคืออะไร แต่ หลวงพี่ใบบุญ' (ตูน เอเอฟ 3) ผู้อบรมสั่งสอนสามเณร กลับต้องไปเตรียมน้ำมนต์เพื่อมา ปราบผี' อย่างไม่เต็มใจนัก หลังจากถูกบรรดาญาติโยมกดดันอยู่พักใหญ่

ถ้าดูแบบไม่คิดอะไร...มันก็คงไม่มีอะไร แต่เมื่อคิดไปแล้ว ก็จะเห็นได้เองว่า ในขณะที่บรรดาพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่พร่ำภาวนาถึงความดีงามของศาสนา และทะนงตนว่าตัวเองเป็นชาวพุทธที่ดี แต่เมื่อต้องเผชิญหน้ากับ ปัญหา' พวกเขากลับคิดถึงแต่วิธีที่เป็นไสยศาสตร์มากกว่าจะคำนึงถึงหลักธรรมคำสอนซึ่งเป็น แก่นแท้' ของศาสนา และหวาดกลัวเสียจนหลงลืมไปว่าความรัก โลภ โกรธ หลง เกลียดแค้น ชิงชัง เป็นอารมณ์ปกติของมนุษย์ ซึ่งแน่เสียยิ่งกว่าแน่ว่า มันซุกซ่อนอยู่ในตัวเราทุกคน'

แทนที่จะมุ่งสู่การดับทุกข์และพิจารณาปัญหาที่เกิดขึ้น พุทธศาสนิกชนจำนวนมากนี่แหละ ที่มุ่งหน้าเข้าสู่ตรรกะที่ไม่เกี่ยวข้องใดๆ กับเรื่องของการบำบัดทุกข์ในใจตน กลับมองว่าบุคคลอื่นๆ ต่างหากที่เป็นสาเหตุแห่งทุกข์และพยายาม กำจัด' ทิ้ง มันถึงได้เกิดเป็นปัญหาตามมาเรื่อยๆ ไม่รู้จบ

ความงดงาม' ของศาสนาที่ถูกถ่ายทอดออกมาให้เห็นในอรหันต์ซัมเมอร์จึงไม่ได้อยู่ที่ความดีงาม' แต่ไปตกอยู่ที่การ ตระหนักรู้' ถึงธรรมชาติของสรรพสิ่งว่ามีความงดงามเฉพาะตัวของมันอย่างไรมากกว่า

ชั้นเชิงในการนำเสนอภาพของศาสนาของหนังเรื่องนี้จึงไม่ได้แบนราบ และพร่ำสอนถึงการทำความดีเพียงอย่างเดียว แต่มีทั้งการเรียนรู้จากความจำยอม, ความผิดพลาด, ความโง่เขลา หรือความถือดี

สามเณรที่ดูเหมือนจะมีอนาคตไกล หากไม่ได้เรียนรู้หรือทำความเข้าใจในภาวะต่อมาของชีวิต ก็มีสิทธิ์หลงผิดได้พอๆ กับเด็กทั่วไปที่ไม่เคยเฉียดใกล้ชายผ้าเหลือง หรือผู้ยากไร้ที่ต้องเลือกอะไรบางอย่างด้วยภาวะแห่งความจำยอม อาจแปรเปลี่ยนให้มันเป็นโอกาสทองของชีวิตก็ย่อมได้

มันจึงไม่เกี่ยวกับว่า เรามี โอกาส' ในการเลือกหรือไม่ แต่ขึ้นอยู่กับว่าเราจะสร้างโอกาสอย่างไรจากสิ่งที่ได้เลือก (หรือ ต้อง' เลือก) ไปแล้ว

ส่วนความตั้งใจของกลุ่มเด็กอนุบาลใน ดรีมทีม' แรกเริ่มมีแค่ว่า พวกเขาอยากเล่นเกมชักเย่อ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการออกเสียงว่า ชัก-เย่อ' หรือ ชัก-กะ-เย่อ' มันก็คือเกมที่ผู้แข่งขันทั้งสองฝ่ายยืนอยู่คนละด้านของปลายเชือก และใครที่มีแรงสาวได้มากกว่า ฝ่ายนั้นก็คือ ผู้ชนะ'

เกมชักเย่อกลายเป็นเรื่องใหญ่โตเมื่อคำว่า ชัยชนะ' เข้ามาเกี่ยวพัน จากความสนุกสนานธรรมดาๆ กลายเป็นภารกิจยิ่งใหญ่ที่ต้องอาศัยโค้ช (ฟุตบอล) ทีมชาติมาเป็นตัวช่วย และความคาดหวังว่า เด็กๆ ต้องชนะ' ก็เป็นภาระที่ต้องแบกรับเพิ่มมาอีกหนึ่งเรื่อง

แม้ผู้กำกับกิตติกรจะบอกว่าหนังดรีมทีมไม่มีประเด็นแอบแฝง แต่มันก็ยังตีความได้อยู่ดีว่า ในสังคมไทยนี้ไซร้...มีผู้ใหญ่มากมายคอยอยู่เบื้องหลังเด็กๆ เต็มไปหมด

ผู้ใหญ่บางคนอาจจะทำตัวน่ารักน่าเอ็นดูด้วยการวิ่งเข้าหาผู้ใหญ่อีกคน เพื่อให้สมผลประโยชน์ของตัวเองและเด็กในความดูแล เช่น แม่ของน้องเซน 1' (เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์) ซึ่งพยายามล็อบบี้โค้ชทีมชักเย่อในทุกครั้งที่มีโอกาส เพื่อให้ลูกชายของตัวเองได้อยู่ในตำแหน่งหัวหน้าทีม หรือไม่อย่างนั้นก็จะมีคนอย่าง พ่อของน้องเซน 2' (คมสัน นันทจิต) ซึ่งพยายามปลูกฝังเข้าสู่หัวลูกอยู่ทุกบ่อยว่า ที่หนึ่งคือผู้ชนะ' และ ต้องชนะเท่านั้นถึงจะดี'

จะว่าไปแล้ว การกระทำของผู้ใหญ่ในหนังดรีมทีม ไม่ได้น่าเกลียดโฉ่งฉ่างอะไร และค่อนไปในทางฉันทาคติที่เกิดจากความลำเอียงเพราะรัก' โดยแท้ ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดาของคนทั่วไป แต่ถ้ามองในอีกแง่หนึ่ง ก็คงจะซึ้งว่า ด้วยเรื่องเล็กๆ น้อยๆ น่ารักน่าเอ็นดูแบบนี้แหละ ที่ทวีความรุนแรงขึ้นเป็นเงาตามตัว ตามวันและวัยของผู้ที่เติบใหญ่ในสังคมแห่งการแข่งขัน

วัฒนธรรม ตัวกู-ของกู-พวกพ้องกู ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ชั่วเวลาข้ามวัน แต่มันต้องสั่งสมกันมาอย่างยาวนาน ซึ่งบางทีมันอาจจะเริ่มต้นด้วยเรื่องขี้ปะติ๋วแบบนี้แหละ และเราก็มักจะมองข้าม หลงลืม หรือเพกเฉยกับความอคติของตัวเอง (แล้วไปเข้มงวดกวดขันกับการสร้างมาตรฐานให้คนอื่นปฏิบัติตามแทน)

ในโลกที่ไม่ต้องการความพ่ายแพ้ ที่อยู่ที่ยืนของคนแพ้จึงมีน้อย แม้แต่ในหนังดรีมทีมเอง ก็มีที่ทางให้กับการพ่ายแพ้เพียงเล็กน้อย ทั้งที่ผู้กำกับพยายามเสนอว่า ที่หนึ่งไม่ใช่ทุกอย่าง' แต่ก็ยังไม่ชัดเจนฟันธงพอที่จะทำให้เห็นว่า การเป็นที่สอง' หรือ การเป็นผู้แพ้' มีรสชาติอย่างไร ซึ่งอันที่จริง (ความคิดเห็นส่วนตัว) มันน่าสนใจกว่าเป็นผู้ชนะเสียอีก

ถึงกระนั้นก็เถอะ...รอยยิ้มของเด็กๆ ในเรื่องดรีมทีมก็เป็นสิ่งที่คนดูปรารถนาจะได้เห็นมากกว่ารอยน้ำตา และเตือนให้คนดูอย่างเราได้รู้ว่า ที่แท้แล้วเราก็เสพติดในชัยชนะไม่แพ้คนอื่นๆ ในสังคมหรอก...(-__-")

 

 

บล็อกของ Cinemania

Cinemania
โดย… พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ
Cinemania
      ซาเสียวเอี้ย   แต่ไหนแต่ไรมา...ระบบการศึกษาในพื้นที่หลายแห่งทั่วโลกมักถูกกล่าวหาว่าเป็นตัวการ ‘ดับฝัน’ ของคนวัยหนุ่มสาว เพราะทำให้ความอยากรู้อยากเห็นและกระตือรือร้นที่จะ ‘เรียนรู้’ สิ่งแปลกใหม่ในวัยเยาว์ถูกลบเลือนหายไปในกรอบ-กฎเกณฑ์-เหตุผล-เงื่อนไข และข้อเท็จจริงทั้งหลายทั้งปวง (ซึ่งถูกกำหนดขึ้นโดยคนกลุ่มหนึ่งซึ่งมีโอกาสเกิดมาใช้ชีวิตบนโลกก่อนหน้าเรา...)   กระนั้น...ใครหลายคนก็ยังยินดีเดินตามแนวทางหรือเงื่อนไขต่างๆ ที่ถูกวางไว้แล้วโดยไม่เคยคิดตั้งคำถาม เพื่อแลกเปลี่ยนกับ ‘การยอมรับ’ จากสังคมรอบข้าง...เพื่อที่มนุษย์ทั้งหลาย (ซึ่งเป็นสัตว์สังคม)…
Cinemania
        ซาเสียวเอี้ย   ‘ชาร์ลี วิลสัน’ ตายแล้ว...   แม้การตายของเขาจะไม่ได้ทำให้โลกสะท้านสะเทือนอะไรมากนัก แต่ก็มีความหมายสลักสำคัญมิใช่น้อย เพราะบทบาทของวิลสันในสมัยที่เขายังหนุ่มแน่นและดำรงตำแหน่ง สว.รัฐเท็กซัสของสหรัฐอเมริกา เป็นประเด็นให้คนที่ยังมีชีวิตอยู่ถกเถียงกันไม่สิ้นสุดว่าควรจะจดจำเขาไว้ในฐานะอะไร...   บ้างก็ว่า ชาร์ลี วิลสัน คือ ‘นักการเมืองเจ้าสำราญ’ เจ้าของฉายา Good Time Charlie ผู้มีชีวิตโลดโผนเต็มไปด้วยสีสัน หรือเป็น ‘วีรบุรุษชาวอเมริกัน’ ผู้ช่วยให้นักรบมูจาฮิดีนขับไล่กองทัพสหภาพโซเวียตอันโหดร้ายป่าเถื่อนไปจากอัฟกานิสถาน…
Cinemania
themadmon หมายเหตุ: ข้อเขียนชิ้นนี้อาจเรียกได้ว่าเป็น บทสะท้อนย้อนคิดหลังจากการชมภาพยนตร์เรื่อง Air Doll ผมในฐานะที่เป็นผู้เขียนจงใจจะหยิบเลือกประเด็น (ซึ่งผ่านการตีความของผม) โดยไม่ได้อ้างอิงอย่างชัดเจนไปสู่ตัวภาพยนตร์ในแต่ละฉากแต่ละตอน โดยหวังว่าผู้ที่ยังไม่ได้ชมภาพยนตร์ก็สามารถอ่านได้ และผู้ที่ได้ชมภาพยนตร์แล้วจะสามารถระลึกถึงฉากต่างๆ ในภาพยนตร์ได้ด้วยเช่นกัน     หากลองพูดถึงภาพยนตร์เรื่องนี้ในสามประโยค  ผมคงพูดสั้นๆ ว่า.. “ผู้คนหลากหลาย เราต่างก็ว่างเปล่า และเหงามากมาย”  เพราะอะไรน่ะหรือ …
Cinemania
  บริวารเงา   ขงจื๊อ เป็นชื่อหนึ่งที่ผมได้ยินมาเนิ่นนาน ถ้าจำไม่ผิดอาจจะเป็นหนังจีนกำลังภายในสักเรื่องหนึ่งที่อ้างชื่อนี้ขึ้นมาเพื่อพูดถึงปรัชญาในเรื่องคุณธรรมน้ำมิตร ผมมารู้จักเขาอีกครั้งในห้องสมุดช่วงที่กำลังสนใจพวกวิชาปรัชญา จิตวิทยา วรรณกรรม ฯลฯ  แต่ผมกลับไปชอบปรมาจารย์จีนอีกคนคือ เล่าจื๊อ เสียมากกว่า เพราะว่าแกมีความคิดที่ 'แนว' ดี (อารมณ์ของวัยรุ่นเช่นนี้แล) อีกนัยหนึ่งก็ดูเพี้ยน ๆ อีกนัยหนึ่งก็มีอารมณ์ศิลปินกว่าขงจื๊อ ขณะที่ผมเห็นว่าขงจื๊อเอาแต่พร่ำบ่นอะไรที่เป็นหลักจริยธรรมน่าเบื่อ ๆ ซึ่งความน่าเบื่อนี้ไม่ใช่ความผิดของขงจื๊อเสียทีเดียว…
Cinemania
เดือนสองจันทร์   October Sonata: รักที่รอคอย
Cinemania
สุพิชชา โมนะตระกูล ตลอดช่วงเวลาขณะชมภาพยนตร์สารคดี “Our Daily Bread” ผู้เขียนรู้สึกตะลึงกับภาพที่ได้รับชม โดยสาเหตุหลักหาใช่ “ความงาม” ของสีสันหรือองค์ประกอบศิลป์แบบภาพที่ผู้กำกับภาพบรรจงจัดวางอย่างภาพยนตร์ที่มีภาพงามเรื่องอื่นๆ...หากเป็น “ความจริง” ของภาพที่ตรึงผู้เขียนไว้ตลอดระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงครึ่ง
Cinemania
  สาวกท่านเป้า ขณะที่กำลังตุรัดตุเหร่ในร้านหนังสือแอร์เย็นเฉียบ เพื่อตามหานิตยสารมือถือฉบับหนึ่ง บังเอิญเหลือบไปเห็นนิตยสารฉบับหนึ่งที่นำภาพโปรโมทภาพยนตร์ “วงษ์คำเหลา” มาขึ้นปก แต่เมื่อหยิบมาจึงรู้ว่าเป็นปกหลัง แต่ปกหน้าก็ยังเป็นวงษ์คำเหลาอยู่ดี จึงเริ่มรู้ตัวว่าถูกหลอกแดกเสียแล้ว มีที่ไหนวางขายนิตยสารโดยเอาปกหลังเป็นตัวชูโรง นิตยสารฉบับนั้นคือนิตยสารภาพยนตร์ของกลุ่มคนทวนกระแสที่ชื่อว่า “ไบโอสโคป”
Cinemania
   เคยได้ยินครูสอนประวัติศาสตร์บอกว่าคนอเมริกันมีปมเรื่องรากเหง้าทางวัฒนธรรม เพราะไม่ได้มีฐานที่มั่นคงแข็งแรงเท่าประเทศแถบยุโรปที่ผ่านการต่อสู้ก่อร่างสร้างชาิติและบ่มเพาะอารยธรรมมานานหลายศตวรรษ และต่อให้ ‘สหรัฐอเมริกา' เป็นถึงประเทศมหาอำนาจแห่งโลกสมัยใหม่ ก็ยังไม่วายถูกมองเป็นแค่ ‘เศรษฐีใหม่' หรือ ‘ชนชาติที่ไร้วัฒนธรรม' แถมยัง ‘บ้าอำนาจ' อีกต่างหากในสายตาของคนบางชาติถึงจะไม่แน่ใจว่าประโยคที่ได้ยินมาถูกต้องมากน้อยแค่ไหน แต่การที่สังคมอเมริกันให้ความสำคัญ (อย่างมาก)กับการเก็บรวบรวมประวัติศาสตร์ชาตินิยมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ก็คงพอจะเป็นภาพสะท้อนได้กลายๆ ว่าคนอเมริกันคงมี ‘ปม'…
Cinemania
 'มาริโอ โรปโปโร' เป็นลูกชายชาวประมง เติบโตมาบนเกาะเล็กๆ แห่งหนึ่งในอิตาลี ที่ซึ่งไม่มีน้ำประปาและผู้คนบนเกาะส่วนใหญ่ไม่รู้หนังสือ...‘ปาโบล เนรูด้า' เป็นกวี-นักการทูต-นักการเมือง และเป็น ‘คอมมิวนิสต์' ชาวชิลี มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก แต่ต้องลี้ภัยไปอยู่บนเกาะเล็กๆ แห่งหนึ่งในอิตาลีช่วงปี 1952 และที่นั่นมีบุรุษไปรษณีย์เพียงคนเดียว...บุรุษไปรษณีย์นามว่า ‘มาริโอ โรปโปโร':::บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาสำคัญของภาพยนตร์::: Il Postino หรือ The Postman เป็นหนังภาษาอิตาลี แต่เป็นผลงานของผู้กำกับชาวอังกฤษ ‘ไมเคิล แรดฟอร์ด' ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์หลายสาขาเมื่อปี 2538…
Cinemania
  ..mad mon..::ข้อเขียนชิ้นนี้เปิดเผยเรื่องราวบางส่วนในภาพยนตร์:: 1. จุดเริ่มต้นของจุดจบและ/หรือจุดเริ่มต้นอันใหม่เรื่องราวปัจจุบันในภาพยนตร์บอกให้เรารู้ว่าเมื่อ 30 ปีก่อนนั้น Laura (Belén Rueda) เคยใช้ชีวิตช่วงเวลาหนึ่งอยู่ในสถานเลี้ยงดูเด็กกำพร้าแห่งหนึ่งก่อนที่เธอจะถูกรับไปเลี้ยง สถานเลี้ยงเด็กนั้นอาจเรียกว่าอยู่ในพื้นที่ชนบทซึ่งห่างไกลผู้คน ตั้งอยู่ไม่ไกลชายหาดและทะเลซึ่งมีประภาคารสูงใหญ่คอยส่องไฟนำทาง และถ้ำอีกอันหนึ่ง, สถานที่ซึ่งเป็นอดีตแห่งความทรงจำของเธอ ... 30 ปีต่อมา Laura กลับมาที่แห่งนี้อีกครั้ง เมื่อเธอ, สามีของเธอ - Carlos (Fernando Cayo), และ Simón (Roger Príncep)…
Cinemania
(เขียนเมื่อ 31 ธ.ค.51)จันทร์ ในบ่อ สิ้นปีกันเสียที บรรยากาศตึงๆ ปีนี้อาจทำให้ใครหลายคนอึดอัดและทำท่าจะลากยาวไปถึงปีหน้า ก็ขอเป็นกำลังใจให้ทุกๆ  คนสู้ๆ กับปัญหาที่รุมเร้า แต่ถ้าเครียดมากลองผ่อนคลายกันด้วยการหาหนังดูมาสักเรื่องสองเรื่อง จะซื้อ จะเช่ามานั่งดูที่บ้านหรือจะออกไปดูตามโรงภาพยนตร์ต่างๆ ก็ได้ ลองออกจากโลกความจริงไปอยู่ในโลกอื่นสักชั่วโมงสองชั่วโมงอาจจะสบายใจขึ้นส่วนถ้าใครยังไม่รู้จะดูเรื่องอะไร ที่ไหนอย่างไร ผมก็มีโปรแกรมหนังรับปีใหม่มาฝาก เป็นหนังฟรีกลางแปลงครับหลายคนคงไม่ค่อยทราบว่าที่มหาวิทยาลัยศิลปากรจะจัดเทศการหนังกลางแปลงกันทุกปี ในวันที่ 7-8-9 มกราคม 2552…