Skip to main content

มีหลายเรื่องที่อยากพูดคุยกับผู้อ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อนสมาชิกเว็บบอร์ดประชาไท ในบรรดาหลายเรื่องที่อยากคุย ประเด็นเรื่องความปลอดภัยและการรักษาความเป็นส่วนตัว หรือหากบางท่านไม่อยากเปิดเผยตัวตนที่แท้จริง จะสามารถดำเนินการเพื่อปกป้องตัวเราและคนที่เรารัก ห่วงใย ได้

ประการแรกที่ควรรับรู้และเข้าใจคือ การสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต ไม่ได้เป็นความลับเฉพาะตัวดุจเดียวกับสมุดไดอารี่ที่หากเราไม่ได้ไปทำหล่นหาย เก็บไว้ไม่ดีพอจนมีคนมาแอบอ่าน หรือตั้งใจเปิดให้ใครอ่าน เรื่องราวและความในใจในไดอารี่ก็ยังคงเป็นเรื่องเฉพาะตัว ทว่าการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นทางอีเมล, เว็บเครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่น เฟซบุ้ค, ทวิตเตอร์, ยูทิวบ์ ฯลฯ รวมทั้งเว็บบลอก, เว็บบอร์ดล้วนมีบุคคลที่ 3 อย่างน้อยที่สุดก็คือผู้ดูแลระบบของเว็บไซต์นั้น ๆ และยังอาจหมายรวมถึงผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตที่สามารถเข้าถึงข้อมูลในระหว่างเส้นทาง ถ้าไม่ได้มีการเข้ารหัสเพื่อปิดบังรายละเอียดเนื้อหาการสื่อสาร

เมื่อเข้าใจเบื้องต้นว่าการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต อาจไม่ใช่ช่องทาง ลับ ลวง พราง ดังที่คนโดยทั่วไปเข้าใจ ประการที่สองที่น่าจะได้รับรู้เพื่อเพิ่มระดับการรักษาความเป็นส่วนตัวของเรา ก็คือการเรียนรู้เรื่องการใช้ HTTPS แทน HTTP เฉย ๆ เมื่อต้องการจะสื่อสารในโลกออนไลน์  (เก็บมาฝากจากเครือข่ายพลเมืองเน็ต)

ใช้เน็ตปลอดภัย อุ่นใจด้วย HTTPS Everywhere

ใช้เน็ตอย่างปลอดภัย(ขึ้น) ด้วยปลั๊กอิน HTTPS Everywhere สำหรับ Firefox

HTTPS Everywhere เป็นปลั๊กอินที่จะป้องกันไม่ให้รหัสผ่านหรือข้อมูลส่วนบุคคลถูกดักฟัง -- ด้วยการช่วยบังคับให้เว็บเบราว์เซอร์เข้ารหัสการสื่อสารระหว่างเรากับ เซิร์ฟเวอร์ของเว็บฮิต ๆ อย่าง Gmail, Facebook, Twitter, Google, Wikipedia, PayPal และบล็อกต่าง ๆ บน Wordpress.com

ดาวน์โหลด HTTPS Everywhere ได้ที่ https://www.eff.org/https-everywhere
ติดตั้งง่ายมาก ๆ คลิกเดียว ลงปุ๊บ ลืมได้เลย (แต่ต้องระวัง สำหรับเว็บอื่น ๆ ที่อาจยังไม่เข้ารหัส https)

ปลั๊กอินนี้พัฒนาโดย The Tor Project และ Electronic Frontier Foundation ซึ่งเป็นองค์กรปกป้องสิทธิเสรีภาพในโลกดิจิทัล

ตอนนี้ HTTPS Everywhere ใช้ได้เฉพาะกับ Mozilla Firefox เท่านั้น สำหรับแฟน ๆ Google Chrome ขอแนะนำ KB SSL Enforcer -- ยังปลอดภัยไม่เท่ากับ HTTPS Everywhere เพราะ'บั๊ก'ตัวหนึ่งของ Chrome, แต่ก็ปลอดภัยกว่าไม่ใช้อะไรเลยครับ

สำหรับการใช้เว็บอย่างปลอดภัยยิ่งขึ้น มีซอฟต์แวร์ที่ชื่อว่า Tor ช่วยได้ -- วิธีติดตั้ง Tor จัดทำโดย FACT, วิธีติดตั้ง Tor บน Ubuntu, คำแนะนำอื่น ๆ เพื่อการใช้อินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น

 

 

[รายละเอียดประการต่อไป จะค่อยทะยอยมาเพิ่มเติม..]


บล็อกของ จีรนุช เปรมชัยพร

จีรนุช เปรมชัยพร
26 มิถุนายน 2552 เป็นอีกวันที่ต้องตื่นเช้า เพื่อเตรียมพบกับประสบการณ์ใหม่ การรายงานตัวที่สำนักงานอัยการตามนัดหมายการสั่งคดี หลังจากที่เจ้าพนักงานสอบสวน(ตำรวจกองปราบ) ได้นัดหมายส่งสำนวนคดีให้กับอัยการเมื่อวันทีี่ 1 มิถุนายน ที่ผ่านมา ประสบการณ์การรายงานตัวเพื่อรับฟังการสั่งคดี รวดเร็วเสร็จสิ้นภายในเวลาไม่ถึง 5 นาที เนื่องด้วยอัยการได้สั่งสอบข้อมูลเพิ่มเติม จึงได้เลื่อนการสั่งคดีออกไปเป็นวันที่ 29 กรกฎาคม แทน (เร็วชนิดที่เพื่อนๆที่จะตามมาเป็นเพื่อนมาให้กำลังใจมากันไม่ทันค่ะ เลยต้องเปลี่ยนเป็นการกินอาหารเช้าร่วมกันแทน) ในฐานะที่ตกเป็นผู้ต้องหา และต้องเข้าไปข้องเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม…
จีรนุช เปรมชัยพร
สวัสดีค่ะ (*_*)ถือฤกษ์รัฐบาลประกาศยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงมาทักทายทุกท่าน พร้อมกับยกป้ายคำเตือนตัวโตๆสีดำ      "ภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน"  ออกไปด้วยแล้ว คงช่วยลดความรำคาญใจของผู้อ่านและเพื่อนสมาชิกเว็บบอร์ดลงไปบ้าง นับย้อนหลังไปเกือบห้าปี..หลายคนคงไม่รู้ว่ากว่าจะมาเป็น 'ประชาไท' ในโลกของสื่อใหม่ (์New Media) กรรมการและทีมงานถกเถียงกันอยู่นานว่าจะตั้งชื่อ 'สื่อใหม่' ที่หวังให้เป็นสื่อทางเลือกว่าอะไรดีจอน อึ๊งภากรณ์ ผู้ก่อตั้งคนสำคัญนำเสนอชื่อ 'ประชาไท' ขึ้นมา ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของทีมงานส่วนใหญ่ เหตุผลที่ขัดแย้งก็ไม่มีอะไรมากไปกว่าความรู้สึกว่า "มันเชย…