Skip to main content

ผู้เขียนโชคดีมาก ๆ ที่ไปเล่นเกมส์ตอบคำถามออนไลน์ แล้วดันเป็นผู้โชคดี ได้รับบัตรดูหนังที่โรงหนัง Louxor ฟรีตลอดปี ไปกี่ครั้ง ดูกี่เรื่องก็ได้ พาเพื่อนไปได้ฟรีอีกคนนึงอีกต่างหาก แต่แล้วก็ไม่เคยได้ยินชื่อโรงหนังนี้มาก่อนเลย วันนี้เลยไปลองดูหนังมาซักเรื่อง พอกลับบ้านก็ลองมาค้นประวัติโรงหนังดู พบว่าน่าสนใจมาก สะท้อนประวัติศาสตร์ภาพยนตร์และประวัติศาสตร์สังคมวัฒนธรรมของฝรั่งเศสไปในตัว

โรงหนังนี้สร้างในช่วงทศวรรษที่ 1920 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่หนังกำลังบูมมาก ๆ หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โรงหนังสมัยนั้นเป็นโรงเดี่ยวขนาดใหญ่ เช่นที่ Gaumant Palace แถว ๆ Montmatre ในช่วงทศวรรษที่ 1910 เป็นโรงหนังที่ใหญ่ที่สุดในโลก สามารถรองรับคนได้ถึง 5,000 คน สำหรับโรงหนัง Louxor นี้เริ่มสร้างเมื่อปี 1920 รองรับคนได้ทั้งหมด 1,195 คน มีสองชั้นเหมือนโรงละคร ทั้งภายในและภายนอกโรงหนังตกแต่งสไตล์ Art déco แบบอียิปต์โบราณ เพราะตอนนั้นกำลังตื่นเต้นเรื่องการค้นพบหลุมศพกษัตริย์ตุตันคาเมน และแน่นอนว่าชื่อโรงหนัง Louxor ก็มาจากอดีตเมืองหลวงของอียิปต์ด้วย

ภาพ Le Louxor ในปี 1922

โรงหนังนี้มีการพัฒนาไปตามกระแสของหนัง ช่วงแรกมีการฉายพวกหนังสั้นและหนังเป็นตอน ๆ ต่อมาหนังขนาดยาวเริ่มได้รับความนิยม ส่วนใหญ่เป็นหนังฝรั่งเศส อิตาเลียน เยอรมัน และอเมริกัน (ช่วงที่นาซียึดปารีส โรงหนังนี้ก็เป็นแหล่งฉายหนัง propaganda) พอเวลาผ่านไป แฟชั่นการตกแต่งแบบอียิปต์ไม่ฮิตแล้ว โรงหนังก็เปลี่ยนเป็นแบบนีโอกรีกแทน

ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปลายทศวรรษที่ 1950 โรงหนังได้รับความนิยมสูงสุด ปี 1946 มีคนไปดูหนังถึง 7 แสนกว่าคน แต่หลังช่วงเวลาดังกล่าว โรงหนังขนาดใหญ่ตกต่ำเป็นอย่างมากเพราะผู้คนหันไปดูหนังโรงเล็กแทน ผู้บริหารพยายามหามาตรการแก้ไข เช่น ลดจำนวนที่นั่ง ปรับปรุงอุปกรณ์ ตกแต่งเพิ่มเติม ฯลฯ แต่ไม่เป็นผล ปลายทศวรรษ 1960 โรงหนังจึงต้องลดราคาตั๋วและเปลี่ยนโปรแกรมหนังทั้งหมด เอาพวกหนังฝรั่งเศสราคาถูกและหนังอื่น ๆ จากเอเชียมาฉายแทน

ภาพโรงหนัง Le Louxor ในปี 1953

ช่วงทศวรรษที่ 1970 เริ่มเอาหนังอียิปต์และอาฟริกาเหนือมาฉาย เพื่อตอบสนองความต้องการของคนที่อพยพเข้ามาในบริเวณนั้นมากขึ้นเรื่อย ๆ (บริเวณ Barbès - Rochechouart ทุกวันนี้ขึ้นชื่อเรื่องการเป็นชุมชุนของชาวอาฟริกันและอาหรับ) ช่วงทศวรรษที่ 1980 เริ่มมีหนังอินเดียเข้ามาฉายเพราะบริเวณใกล้ ๆ นั้นเป็นชุมชนอินเดียเช่นกัน

ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 มีการพยายามจดทะเบียนโรงหนังนี้ให้เป็นสถานที่ประวัติศาสตร์ แต่มาสำเร็จจริง ๆ เมื่อปี 1981 ถึงกระนั้น ธุรกิจก็ดำเนินไปอย่างย่ำแย่จนต้องปิดตัวลงไปในปี 1986 กลายเป็นสถานที่เที่ยวกลางคืน ครั้งหนึ่งเคยเป็นผับเกย์ที่ใหญ่ที่สุดในฝรั่งเศส แต่สุดท้ายก็ต้องปิดกิจการไปเช่นกัน

โรงหนังอยู่ในสภาพทรุดโทรมจนเวลาล่วงเลยไปถึงปี 2001 มีกลุ่มชื่อ Action Barbès ทำการล่ารายชื่อคนในวงการวัฒนธรรมและภาพยนตร์ เพื่อเรียกร้องให้เทศบาลเมืองปารีสเข้าซื้อสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์นี้ การรณรงค์สำเร็จทำให้ปารีสกลายเป็นเจ้าของโรงหนังตั้งแต่ปี 2003

การดำเนินการเป็นไปอย่างเชื่องช้า ในปี 2007 เทศบาลตัดสินใจว่าจะทำให้สถานที่นี้กลับมาเป็นโรงหนังเหมือนจุดประสงค์แรกเริ่มของมัน อีกทั้งต้องการทำให้การประดับตกแต่งสถานที่เป็นแบบอียิปต์โบราณเหมือนดังตอนแรกเริ่มด้วย สถาปนิกจึงต้องค้นคว้าข้อมูลประวัติของโรงหนังและบางทีถึงขั้นต้องค้นคว้าข้อมูลทางโบราณคดีด้วยเพื่อให้การบูรณะออกมาสมบูรณ์แบบที่สุด



การบูรณะที่เรียกได้ว่าสร้างใหม่เลยก็ได้นี้เริ่มต้นเมื่อปี 2010 ห้องใหญ่สุดมี 334 ที่นั่งและยังเก็บจอโบราณที่สุดของโรงหนังไว้อยู่ นอกจากนี้ยังมีอีกสองโรงขนาดเล็กกว่าอยู่ห้องใต้ดิน มีบาร์และห้องโถงให้นั่งรอด้วย โรงหนังใหม่นี้เรียกว่า LOUXOR – PALAIS DU CINEMA เพิ่งเปิดให้บริการเมื่อปี 2013 หนังส่วนใหญ่ที่ฉายเป็นหนังฝรั่งเศสและหนังสำหรับเด็ก



ถึงทุกวันนี้โรงหนังนี้มีอายุเกือบ 100 ปีแล้ว ประวัติโชกโชนและน่าสนใจมาก แต่ดูท่าแล้วจะสู้โรงหนังแบบสมัยใหม่ไม่ได้อยู่ดี ความรู้สึกส่วนตัวคือระบบเสียงยังไม่ดีเท่าไหร่ และที่นั่งเท่ากันหมดทำให้ทุกคนต้องเงยหน้าดูจอที่อยู่สูงขึ้นไป ภาพที่เห็นจึงเป็นมุมเงย หน้าจอก็ค่อนข้างเล็กเทียบกับที่นั่งที่มีถึง 300 กว่าที่ วันนี้ที่เข้าไปดู มีคนไม่มากเลย และส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ สงสัยว่าขณะนี้ถึงวิกฤติของโรงหนังนี้อีกครั้งแม้จะเพิ่งเปิดก็ตาม (เขาจึงมีการจับฉลากแจกบัตรฟรี!)

อย่างไรก็แล้วแต่ คนที่มาคงจะเข้าใจกันว่า การมาที่นี่ไม่ใช่เพียงมาเสพย์ภาพยนตร์ แต่เป็นการเสพย์ประวัติศาสตร์ไปในตัว

อ้างอิง:

http://www.cinemalouxor.fr/histoire-du-louxor/

http://www.pumain.fr/

บล็อกของ ดิน บัวแดง

ดิน บัวแดง
มิเชล ฟูโกต์, อิหร่าน, และพลังของจิตวิญญาณ: บทสัมภาษณ์ในปี 1979 ที่ไม่เคยเผลแพร่มาก่อน* เอกสารที่น่าทึ่งชิ้นนี้ถูกค้นพบในหอสมุดแห่งชาติ กรุงปารีส เมื่อปีที่แล้ว เป็นบทสัมภาษณ์โดยหนังสือพิมพ์ Obs เมื่อปี 1979 ที่ไม่เคยเผยแพร่ที่ไหนมาก่อน ในบทสัมภาณ์นี้ มิเชล ฟูโกต์อธิบายความสนใจของเขาในเรื่องการปฏิวัติอิหร่าน และเรื่อง “จิตวิญญาณ” ในฐานะพลังทางการเมือง
ดิน บัวแดง
ผมได้ยินชื่ออาจารย์ยิ้มครั้งแรก เมื่ออาจารย์ถูก “ศอฉ.” คุมตัว หลังการสลายการชุมนุมเดือนพฤษภาคม 2553 ขณะนั้นผมเป็นนิสิตปีที่ 2 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ไม่ได้สนใจการเมืองเป็นพิเศษ แต่เริ่มรู้สึกว่าการเมืองเข้ามาใกล้ตัวมากขึ้นทุกที ตั้งแต่เสียงยิงกันและการชุมนุมปิดถนนใกล้มหาวิทยาลัย จนกระทั่งการคุมตัวอ
ดิน บัวแดง
ลาน Place de la République ขึ้นชื่อเรื่องการเป็นที่จัดชุมนุมต่าง ๆ เพราะเป็นลานใหญ่ อยู่กลางกรุงปารีส ตรงกลางของลานมีอนุสาวรีย์ la République หรือ Marianne ถือคบเพลิง เป็นสัญลักษณ์ของระบอบสาธารณรัฐ อนุสาวรีย์นี้สร้างขึ้นเมื่อปีค.ศ.
ดิน บัวแดง
ผู้เขียนโชคดีมาก ๆ ที่ไปเล่นเกมส์ตอบคำถามออนไลน์ แล้วดันเป็นผู้โชคดี ได้รับบัตรดูหนังที่โรงหนัง Louxor ฟรีตลอดปี ไปกี่ครั้ง ดูกี่เรื่องก็ได้ พาเพื่อนไปได้ฟรีอีกคนนึงอีกต่างหาก แต่แล้วก็ไม่เคยได้ยินชื่อโรงหนังนี้มาก่อนเลย วันนี้เลยไปลองดูหนังมาซักเรื่อง พอกลับบ้านก็ลองมาค้นประวัติโรงหนังดู พบว่าน่
ดิน บัวแดง
ปารีสช่วงเดือนมีนาคม เป็นช่วงที่เลื่องลือเรื่องอากาศแปรปรวน เอาแน่เอานอนไม่ได้ หลายวันก่อนแดดออกทั้งวัน อุณหภูมิขึ้นสูงถึง 19 องศา ถือว่าเป็นอุณหภูมิที่พบได้ปลายเดือนเมษายน ปรากฎว่ามาวันนี้อากาศกลับเย็น เมฆครึ้ม ลมพัดแรง
ดิน บัวแดง
หลังจากเกิดเหตุการณ์สังหารโหด Charlie Hebdo ก็มีปฏิกิริยาตอบโต้จากสถานศึกษาต่าง ๆ ในฝรั่งเศสแทบจะทันที ในแง่หนึ่ง ระบบการศึกษาของฝรั่งเศสก็กลายเป็น "แพะรับบาป" เพราะฆาตกรที่ก่อเหตุนั้น เป็นชาวฝรั่งเศสและเป็นผลผลิตของความล้มเหลวในการปลูกฝัง "คุณค่าของสาธารณรัฐ" ผ่านระบบการศึกษาในฝรั่งเศสเอง หนึ่งใ
ดิน บัวแดง
ฉากหลังเห็นควันบุหรี่จากทหารนายหนึ่ง ในขณะที่ทหารอีกนายหนึ่งคาบบุหรี่อยู่ ภาพจาก ECPAD
ดิน บัวแดง
Charb นักเขียนการ์ตูนแนวเสียดสีชื่อดังของ Charlie Hebdo เพิ่งเขียนการ์ตูนแซวเหล่าผู้ก่อการร้ายในหนังสือพิมพ์ฉบับล่าสุด มีข้อความว่า "ยังไม่มีการก่อการร้ายในฝรั่งเศส (?) เดี๋ยว ๆ, เรายังมีเวลาถึงปลายเดือนมกราคมเพื่อที่จะ 'ให้พร' เหล่านั้น" (ประเพณีฝรั่งเศส คือการอวยพรปีใหม่สามารถยืดไปได้ถึงปลายเดื
ดิน บัวแดง
ทหารสยามมาถึงฝรั่งเศสปลายเดือนกรกฎาคมปี 1918 และบางหน่วยออกไปแนวหน้าช่วงกลาง ๆ กันยายน แต่เล็ก ๆ เรื่องหนึ่งที่ดูไม่ลงตัว คือเรื่องของอาหาร*
ดิน บัวแดง
วิชาปรัชญาเป็นวิชาบังคับในระดับมัธยมปลายในฝรั่งเศสมายาวนานตั้งแต่สมัยจักรวรรดิที่ 1 ในปี 1808 แตกต่างจากประเทศอื่น ๆ ในยุโรปขณะนี้ที่อาจจะไม่บังคับ หรือไม่มีเลย ถ้าบังคับก็จะมีบางประเทศ เช่น สเปน แต่ก็ไม่ใช่ปรัชญาโดยตรง แต่เป็นประวัติศาสตร์ปรัชญามากกว่า
ดิน บัวแดง
วันที่ 7 พฤษภาคม 2014 Google ฝรั่งเศสนำเสนอภาพหญิงยุโรปคนหนึ่ง แต่งกายแบบชนชั้นกลางสมัยศตวรรษที่ 18 กำลังอภิปรายอยู่บนแท่นปราศรัย
ดิน บัวแดง
"Violer le droit, supprimer l’Assemblée, abolir la constitution, étrangler la république, terrasser la nation, salir le drapeau, déshonorer l’armée, prostituer le clergé et la magistrature, réussir, triompher, gouverner, administrer, exiler, bannir, dé­porter, ruiner, assassiner, régner, avec des