มองหลากมุม: ประชาชนถูกเสมอไปหรือ?

14 November, 2012 - 19:36 -- kasian

มองหลากมุม: ตกลงประชาชนมีดุลพินิจถ่องแท้เที่ยงธรรม หรือ อ่อนเปราะพลิ้วไหวถูกคนอื่นชักจูงให้รังแกข่มเหงคนอื่นด้วยอคติกันแน่?

ที่มาภาพประกอบ theloftatlizs.com

Kasian Tejapira(14/11/55)

Write a comment...

Options
Bus Tewarit


"คิดไม่ตกว่าขณะที่เราปกป้องเสียงและดุลยพินิจของประชาชนว่าดีกว่าผู้ทรงศีลหรือนักสิทธิจากการแต่งตั้ง แล้วเราจะปฏิเสธเฮชสปีชได้ไง เราจะบอกได้ไงว่าการพูดแบบนั้นแบบนี้มันจะทำให้คนทำร้ายกับโดย "การพูด" ในเมื่อคุณบอกว่าปนะชาชนมีดุลยพินิจของตนเอง? มันขัดกันมั้ย"

 

Kasian Tejapira

๑) ประชาชน ผม คุณ ไม่ใช่เทวดา เรามีทังด้านสว่าง ด้านมืด ประชาชนโง่ ผิด หลงใหลได้พอ ๆ กับนักสิทธิจากการแต่งตั้งและนักวิชาการ ปัญญาชนทุกคน รวมทั้งผมด้วย ไม่มีใครเกิดมาดวงตาเห็นธรรมแต่เกิด และดวงตาเห็นธรรมตลอดไป

๒) ดังนั้น สังคมหนึ่ง ๆ จึงสร้างกฎในการอยู่ร่วมกันของผมกับคุณและคนที่ต่ำกว่าเทวดาทุกคนไว้เสมอ ไม่ว่าประชาชนทั่วไปหรือคนกลุ่มใดจึงมีการวางระเบียบกฎเกณฑ์บางอย่างเพื่อขีดเส้นกำกับการพูดการเขียนเอาไว้ ไม่ให้ไปรังแกทำร้ายล่วงเกินผู้อื่น เช่น คำบรรยายของผมในชั้นเรียน ไม่มีเสรีภาพจะยุให้นักศึกษาไปฆ่าอาจารย์ท่านอื่น เพราะเขาเลวผิดมนุษย์ รับใช้เผด็จการ ฆ่ามันเลย หรือไม่มีสิทธิ์จะพูดลวนลามรังควานทางเพศต่อนักศึกษาในชั้น แล้วอ้าง free speech, เพราะเราอยากได้เสรีภาพทางการพูดการเขียนการแสดงออก แต่เราไม่บ้าพอจะเอาแต่เสรีภาพอย่างเดียว แล้วทำลายคุณค่าอื่น ๆ ทั้งหมด เช่น สิทธิในร่างกายชีวิตทรัพย์สิน การเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนอื่นและตัวเอง เราอยากได้อันหลังน้้นด้วย อย่าบอด อย่าบ้าจนเอาแต่เสรีภาพแล้วไม่คำนึงอย่างอื่นเลย มันเท่ากับบอดและบ้าจนเอาแต่เคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนอื่น จนทำลายเสรีภาพหมดเลย มันบอดและบ้าพอ ๆ กัน อย่าเป็นเอง อย่าชวนโลกเป็น

๓) ปัญหาอยู่ตรงกฎเกณฑ์นี้วางอย่างไร กำหนดจากไหน ทุกคนมีสิทธิ์เข้าร่วมและเห็นต่างอย่างเสมอภาคกันไหม? และเมื่อวางกฎเกณฑ์แบบมีส่วนร่วมอย่างเสมอภาคแล้ว จะมีขั้นตอนกระบวนการเปิดให้คนเห็นต่างแสดงความเห็นต่างและนำไปสู่การแก้ไขโดยเสียงข้างมากตามกฎกติกาอย่างไร?

๔) สิ่งที่ควรเกลียดชังไม่ใช่การมีกฎเกณฑ์ แต่คือกระบวนการสร้างกฎเกณฑ์ที่ไม่เปิดให้ทุกฝ่ายเข้าร่วมกำหนดเองและทำตามสิ่งที่ตัวเองกำหนดอย่างเสมอภาค และมีเนื้อหาที่ปิดกั้นเกินไปจนทำลายการสื่อสารและสร้างสรรค์ที่พึงมี

๕) เรื่องนี้ในทุกสังคมไม่มีคำตอบสำเร็จรูปตายตัว hate speech หรือ speeches อื่น ๆ ที่ก่อปัญหาหมายถึงอะไรบ้าง? เนื้อหาที่ไม่เหมาะสม ต้องขีดเส้นกั้นคืออะไร? ไม่มีคำตอบสำเร็จรูปแกะกล่องใช้ได้ถาวรทุกสังคม ไม่มี มันเป็นเรื่องเราต้องลงมานั่งคุยกัน ร่วมกันคิด ร่วมกันเถียง และวางว่ามันอยู่ตรงไหน เท่าที่เราคิดออกตอนนี้ ใช้ไป ถ้าผิด ก็มีกระบวนการมาคิดกันใหม่ แก้ใหม่อีก ไม่มีหรอกกฎภาววิสัยสากลจากเทวดาที่เหมือนกันทุกสังคมและทุกคนต้องเห็นด้วย และไม่ควรมีกฎอัตวิสัยของผู้มีอำนาจ กฎเดียวที่ควรมีคือกฎที่ intersubjective ไม่ใช่ objective ล้วน ๆ หรือ subjective ล้วน ๆ

 

ดาวดินเกรดไม่ดี

6 July, 2015 - 15:49 -- kasian

ปม ‘พล.ท.นันทเดช’ นำเสนอเกรดของ 7 นักศึกษา 'ดาวดิน' ระบุเกรดไม่ดี จวกไม่เคยคิดเรียน ‘เกษียร’ สวนชกเด็กใต้เข็มขัด ชี้ไม่ควรลืมว่า ‘Steve Jobs’ ก็เรียนไม่จบ ระบุสำหรับนักศึกษาที่ทำกิจกรรม การเรียนย่อมได้รับผลกระทบบ้างเป็นธรรมดา

สรุปรายงาน Freedom in the World 2015 โดยภาพรวม

1 February, 2015 - 13:21 -- kasian

รายงานของ Freedom House ชี้ ปี 2014 เป็น “ปีที่หม่นหมองเป็นพิเศษ” เกิดการปะทุของการก่อการร้ายรุนแรงและยุทธวิธีที่ก้าวร้าวทั่วโลก ระบุตะวันออกกลางสูญเสียเสรีภาพชัดเจนสุด พร้อมฟันธงว่าความผิดพลาดใหญ่ที่สุดที่ระบอบประชาธิปไตยจะทำลงไปคือการยอมรับความคิดว่าไม่มีปัญญาจะทำอะไรได้เมื่อเผชิญกับจอมเผด็จการที่ใช้กำลังหรือข่มขู่คุกคาม กลับเป็นปุถุชนพลเมืองสามัญต่างหากผู้พร้อมจะลุกขึ้นมาท้าทายผู้ปกครองเหล่านี้

เนื้อแท้ของร่างพรบ.คอมพิวเตอร์ใหม่ในมุมมองหลักนิติธรรม

17 January, 2015 - 17:13 -- kasian

"มาตรา 10 ของ ร่าง พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่ ขยายอำนาจการดักจับ แฮ็กบัญชี ยึดคอมพิวเตอร์ แฮ็กระบบ อันนี้คือขยายอำนาจของเจ้าหน้าที่ จากที่เคยต้องขอหมายศาล พรบ. แก้ใหม่ ไม่ต้องขอหมายศาล ทำได้เลย แล้วคนพวกนี้เป็นใคร ไม่รู้" จอห์น วิญญู กล่าวในรายงานเจาะข่าวตื้น ผมเห็นด้วยกับคุณจอห์น วิญญู และชอสนับสนุนด้วยข้อถกเถียงจากมุมมองหลักนิติธรรม (the rule of law)