Skip to main content
 
เช้าวันเสาร์ที่ ๒๗ ก.ค. ศกนี้ ที่กรุงไคโร
ทหารแม่นปืนอียิปต์ยิงผู้ชุมนุมสนับสนุนประธานาธิบดีมอร์ซีซึ่งส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มภราดรภาพมุสลิมที่ชุมนุมรอบสุเหร่ากลางกรุงไคโรอย่างโหดเหี้ยม มีผู้เสียชีวิต ๗๒ คน บาดเจ็บหลายร้อย การยิงมุ่งฆ่าให้ตาย (ยิงเข้าหัวนัดเดียว) ไม่ใช่ยิงให้บาดเจ็บ การฆ่าหมู่ของกองทัพเพื่อบดขยี้กลุ่มภราดรภาพมุสลิมให้สยบยอม ด้วยข้ออ้าง "ม็อบชนม็อบ" เริ่มขึ้นแล้ว นับเป็นการฆ่าหมู่ผู้ชุมนุมโดยกองทัพครั้งที่ ๒ ใน ๓ สัปดาห์ และนับเป็นครั้งนองเลือดที่สุดนับแต่การลุกฮือโค่นมูบารัคปี ๒๐๑๑ เป็นต้นมา
(ภาพประกอบจาก New York Times & BBC)
 
บทวิเคราะห์เรื่องนี้ของผมถึงเงื่อนไขความเป็นไปได้ของการปราบปรามด้วยความรุนแรงเป็นหลักเมื่อเทียบกรณีอียิปต์ปัจจุบันกับไทยหลังรัฐประหาร ๒๕๔๙ อยู่ด้านล่างครับ.....
 
 
กองทัพที่ไม่มีชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ vs. มวลชนมุสลิมที่อียิปต์
 
 
มีความต่างที่น่าสนใจนำมาเปรียบเทียบบางประการในความขัดแย้งทางการเมืองเรื่องรัฐประหารโดยกองทัพ ระหว่างเมืองไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๙ กับอียิปต์ในปีปัจจุบัน ๒๕๕๖
 
๑) กองทัพอียิปต์ค่อนข้างโล้นเลี่ยงเตียนโล่งความชอบธรรมทางอุดมการณ์เมื่อเทียบกับกรณีไทย กล่าวคือ
 
- อียิปต์ไม่มีสถาบันกษัตริย์ (ถูกคณะทหารนำโดยนัสเซอร์โค่นไปแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง)
 
- กองทัพอียิปต์เสียธงชาตินิยมไปนานแล้ว เพราะเดินตามประธานาธิบดีนายพลซาดัตกับมูบารัค คืนดีกับอิสราเอล (ศัตรูของชาติอาหรับ เคยรบชนะกองทัพอียิปต์ที่แพ้อย่างหมดท่า) จับมือรับเงินและอาวุธช่วยเหลือจากอเมริกาทุกปีสืบมาจำนวนมหาศาล
 
- ยังไม่ต้องพูดถึงว่ากองทัพกลายเป็นอภิสิทธิ์ชนกุมทุนทำธุรกิจเป็นทุนอำมาตย์อภิสิทธิ์ใหญ่โตมโหฬารในประเทศด้วย จนกล่าวได้ว่ากองทัพอียิปต์มีวิกฤตเอกลักษณ์นานปี ไม่รู้ว่าตั้งขึ้นมารบอะไร รบกับใคร เพราะคืนดีกับศัตรูหมด เอาแต่ทำมาค้าขายหาเงินท่าเดียว อ้อ และไล่จับไล่ปราบฝ่ายค้านเผด็จการอย่างโหดเหี้ยมทารุณมาตลอดด้วย
 
กองทัพอียิปต์จึงไม่มีธงสถาบันพระมหากษัตริย์และธงชาตินิยมและธงความเป็นธรรม/เสมอภาคทางเศรษฐกิจสังคมให้โบกนำมวลชน
(ภาพประกอบจาก New York Times & BBC)
 
๒) ในแง่ศาสนา ความชอบธรรมอยู่กับพลังฝ่ายค้านคือกลุ่มภราดรภาพมุสลิม ที่เป็นองค์การอิสลามยืนนานและใหญ่โตที่สุดในอียิปต์มานานปีตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง (น่าจะใหญ่โตที่สุดในโลกอาหรับด้วยซ้ำ) ฐานมวลชนของกลุ่มภราดรภาพนี้แหละที่โหวตส่งมอร์ซีให้ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี และได้อำนาจรัฐปันส่วนจากมอร์ซีมา
 
เมื่อมอร์ซีถูกโค่น พวกเขาจึงกลายเป็นฐานมวลชน (เสื้อแดง?) ฝ่ายค้านทีเข้มแข็งเหนียวแน่นมาก ยึดสุเหร่ากลางไคโรประท้วงเรียกร้องให้ปล่อยตัวและคืนอำนาจประธานาธิบดีแก่มอร์ซีโดยไม่กลัวเจ็บกลัวตาย (ไปหลายสิบคนแล้ว เพราะทหารยิงเอา ส่งม็อบมาตีเอา ไม่ยั้ง)
 
ความชอบธรรมเชิงศาสนาและการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยจึงอยู่กับมวลชนฝ่ายค้าน ขณะที่กองทัพและมวลชนต้านมอร์ซีไม่มีธงศาสนาให้ชู ถ้าจะมีให้ชูได้ก็แต่ธงเสรีนิยมในฐานะที่มอร์ซีปกครองแบบประชาธิปไตยอำนาจนิยม/ประชาธิปไตยไม่เสรีกดขี่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพของศาสนิกต่างศาสนา (ชาวคริสต์นิกายคอพติค) แรงงาน และคนชั้นกลาง รวมทั้งริบรวบอำนาจจากชนชั้นนำกลุ่มอื่น เช่น ศาล, ทหาร เท่านั้น
 
ฐานมวลชนใหญ่โตเข้มแข็งยืนนานมั่นคงมีศาสนาหลักรองรับแบบกลุ่มภราดรภาพมุสลิมนี้ ในกรณีไทย คุณทักษิณ ณ พรรคไทยรักไทยก็ไม่มี ฐานมวลชนเสื้อแดงเพิ่งมาสร้างขึ้่นไม่กี่ปีหลังโดยส่วนใหญ๋เกิดหลังรัฐประหารด้วยซ้ำ ระดับความใหญ่โตเข้มแข็งมั่นคงยืนนานชอบธรรมจึงต่างจากกลุ่มภราดรภาพมุสลิมมาก
(ภาพประกอบจาก New York Times & BBC)
 
๓) ในทางกลับกัน กองทัพอียิปต์ก็มีบางอย่างที่กองทัพไทยไม่มี คือฐานทุนฐานธุรกิจแบบอภิสิทธิ์หยั่งลึกใหญ่โตนานปีของกองทัพเอง สามารถระดมเงินทุนจากกระเป๋ากองทัพเองมาจ้างม็อบอันธพาลไล่ตีหัวฝ่ายค้านได้ง่ายมาก
 
และเช่นกัน คุณทักษิณกับเครือข่ายก็มีบางอย่างที่กลุ่มภราดรภาพมุสลิมไม่มีมากเท่า คือเงินทุนฐานธุรกิจใหญ่โต ที่ใช้มาจุนเจือสนับสนุนมวลชนเสื้อแดงของตนได้นานปีทั้งระหว่างเลือกตั้งและชุมนุมเคลื่อนไหวเช่นกัน
(ภาพประกอบจาก New York Times & BBC)
 
๔) ในสภาพดังกล่าว การต่อสู้ทางการเมืองระหว่างกองทัพกับกลุ่มภราดรภาพมุสลิมในอียิปต์จึงน่าจะดุเดือดรุนแรงนองเลือดมาก เพราะไม่มีอุดมการณ์ความชอบธรรมใด ๆ ที่กองทัพจะสามารถใช้สะกดกล่อมฝ่ายค้านให้สงบยอมเลย มีแต่ความรุนแรง กระสุนปืน และม็อบชนม็อบเท่านั้น

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ด้วยความระลึกถึงจาก "พวกดอกเตอร์สมองบวมบนหอคอยงาช้างทั้งหลาย" ต้องสู้กับทักษิณด้วยระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่ทำลายระบอบประชาธิปไตย ต้องเอาชนะทักษิณด้วยการชนะใจเสียงข้างมาก ไม่ใช่ต่อต้านเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
คำปราศรัยของคุณสุเทพ ณ กปปส.บ่ายวันนี้ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ  คือคำประกาศของขบวนการการเมืองแบบสู้รบของเสียงข้างน้อยที่ปฏิเสธความเสมอภาคทางการเมืองและการปกครองโดยเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
ว่าด้วย "ระบอบทักษิณ" ในสถานการณ์ปฏิวัติโค่นล้ม "ระบอบทักษิณ" ของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.)
เกษียร เตชะพีระ
ด้วยเงื่อนไขเวลา สถานที่ แกนนำและประเด็นชนวนที่ต่างออกไปบ้าง ม็อบเทพเทือกปัจจุบันกับม็อบพันธมิตรฯเมื่อปี 2549 + 2551 ละม้ายเหมือนกันเป็นพิมพ์เดียวทั้งในแง่....
เกษียร เตชะพีระ
 "เสียงข้างน้อย" ที่ศาลรัฐธรรมนูญพูดถึงว่าต้องปกป้องไว้จากอำนาจเสียงข้างมากนั้น ไม่ใช่เสียงข้างน้อยธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย แต่คืออภิสิทธิ์ชนส่วนน้อยในระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบที่ได้อำนาจอภิสิทธิ์เหนือคนอื่นและเหนือเสียงข้างมากมาจากการรัฐประหารและรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยอำนาจรัฐประหารนั้น
เกษียร เตชะพีระ
กลุ่มอาการม็อบไทย ๆ ในปัจจุบัน: Thai Mob SyndromeOverpoliticization --> Political Fanaticism & Instant Political Awakening --> Lack of Political Experience and Patience
เกษียร เตชะพีระ
บทความ “A Sea of Dissent: nonviolent waves in China” ของ Michael Caster นักวิจัยและเคลื่อนไหวอิสระผู้เน้นศึกษาเรื่องความขัดแย้งและสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในเอเชีย ได้ประมวลข้อมูลและวิเคราะห์การเคลื่อนไหวมวลชนระยะใกล้ในจีนไว้อย่างน่าสนใจ ผมขอนำมาเล่าต่อบางส่วนดังนี้
เกษียร เตชะพีระ
สิ่งที่พึงปรารถนาไม่ใช่ "ให้คนเราเหมือนกันหมด จะได้เท่ากัน" (เอาเข้าจริง ถึงเหมือนกันก็ไม่เท่ากันได้) แต่คือ "แตกต่างแต่เท่ากัน" (เพราะมันคนละเรื่อง) หรือ "แตกต่างกันได้โดยไม่ต้องกลัว" ต่างหาก (Different but equal or To be different without fear.)
เกษียร เตชะพีระ
บทสัมภาษณ์ ควินติน สกินเนอร์ นักวิชาการด้านประวัติความคิดการเมืองชาวอังกฤษสำคัญที่สุดคนหนึ่งในปัจจุบันต่อประเด็นเกี่ยวกับงานค้นคว้าประวัติความคิดเรื่องเสรีภาพและ เสรีนิยมของตะวันตกตลอดชีวิตของเขาโดยภาพรวม แนวคิดมหาชนรัฐ, มาเคียเวลลี, ฮ๊อบส์, การปฏิรูปศาสนา, เชคสเปียร์, มิลตัน, คาร์ล มาร์กซ จนถึงเอ็ดเวิร์ด สโนว์เด็น เป็นต้น
เกษียร เตชะพีระ
 ว่าด้วย "เจ็ดไม่พูด"(ชีปู้เจียง) แคมเปนอุดมการณ์ล่าสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน คุณค่าสากล, เสรีภาพการพูดและพิมพ์โฆษณา, สิทธิพลเมือง, ประชาสังคม, ความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน, กระฎุมพีข้าราชการ และความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการ