Skip to main content
 
เช้าวันเสาร์ที่ ๒๗ ก.ค. ศกนี้ ที่กรุงไคโร
ทหารแม่นปืนอียิปต์ยิงผู้ชุมนุมสนับสนุนประธานาธิบดีมอร์ซีซึ่งส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มภราดรภาพมุสลิมที่ชุมนุมรอบสุเหร่ากลางกรุงไคโรอย่างโหดเหี้ยม มีผู้เสียชีวิต ๗๒ คน บาดเจ็บหลายร้อย การยิงมุ่งฆ่าให้ตาย (ยิงเข้าหัวนัดเดียว) ไม่ใช่ยิงให้บาดเจ็บ การฆ่าหมู่ของกองทัพเพื่อบดขยี้กลุ่มภราดรภาพมุสลิมให้สยบยอม ด้วยข้ออ้าง "ม็อบชนม็อบ" เริ่มขึ้นแล้ว นับเป็นการฆ่าหมู่ผู้ชุมนุมโดยกองทัพครั้งที่ ๒ ใน ๓ สัปดาห์ และนับเป็นครั้งนองเลือดที่สุดนับแต่การลุกฮือโค่นมูบารัคปี ๒๐๑๑ เป็นต้นมา
(ภาพประกอบจาก New York Times & BBC)
 
บทวิเคราะห์เรื่องนี้ของผมถึงเงื่อนไขความเป็นไปได้ของการปราบปรามด้วยความรุนแรงเป็นหลักเมื่อเทียบกรณีอียิปต์ปัจจุบันกับไทยหลังรัฐประหาร ๒๕๔๙ อยู่ด้านล่างครับ.....
 
 
กองทัพที่ไม่มีชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ vs. มวลชนมุสลิมที่อียิปต์
 
 
มีความต่างที่น่าสนใจนำมาเปรียบเทียบบางประการในความขัดแย้งทางการเมืองเรื่องรัฐประหารโดยกองทัพ ระหว่างเมืองไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๙ กับอียิปต์ในปีปัจจุบัน ๒๕๕๖
 
๑) กองทัพอียิปต์ค่อนข้างโล้นเลี่ยงเตียนโล่งความชอบธรรมทางอุดมการณ์เมื่อเทียบกับกรณีไทย กล่าวคือ
 
- อียิปต์ไม่มีสถาบันกษัตริย์ (ถูกคณะทหารนำโดยนัสเซอร์โค่นไปแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง)
 
- กองทัพอียิปต์เสียธงชาตินิยมไปนานแล้ว เพราะเดินตามประธานาธิบดีนายพลซาดัตกับมูบารัค คืนดีกับอิสราเอล (ศัตรูของชาติอาหรับ เคยรบชนะกองทัพอียิปต์ที่แพ้อย่างหมดท่า) จับมือรับเงินและอาวุธช่วยเหลือจากอเมริกาทุกปีสืบมาจำนวนมหาศาล
 
- ยังไม่ต้องพูดถึงว่ากองทัพกลายเป็นอภิสิทธิ์ชนกุมทุนทำธุรกิจเป็นทุนอำมาตย์อภิสิทธิ์ใหญ่โตมโหฬารในประเทศด้วย จนกล่าวได้ว่ากองทัพอียิปต์มีวิกฤตเอกลักษณ์นานปี ไม่รู้ว่าตั้งขึ้นมารบอะไร รบกับใคร เพราะคืนดีกับศัตรูหมด เอาแต่ทำมาค้าขายหาเงินท่าเดียว อ้อ และไล่จับไล่ปราบฝ่ายค้านเผด็จการอย่างโหดเหี้ยมทารุณมาตลอดด้วย
 
กองทัพอียิปต์จึงไม่มีธงสถาบันพระมหากษัตริย์และธงชาตินิยมและธงความเป็นธรรม/เสมอภาคทางเศรษฐกิจสังคมให้โบกนำมวลชน
(ภาพประกอบจาก New York Times & BBC)
 
๒) ในแง่ศาสนา ความชอบธรรมอยู่กับพลังฝ่ายค้านคือกลุ่มภราดรภาพมุสลิม ที่เป็นองค์การอิสลามยืนนานและใหญ่โตที่สุดในอียิปต์มานานปีตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง (น่าจะใหญ่โตที่สุดในโลกอาหรับด้วยซ้ำ) ฐานมวลชนของกลุ่มภราดรภาพนี้แหละที่โหวตส่งมอร์ซีให้ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี และได้อำนาจรัฐปันส่วนจากมอร์ซีมา
 
เมื่อมอร์ซีถูกโค่น พวกเขาจึงกลายเป็นฐานมวลชน (เสื้อแดง?) ฝ่ายค้านทีเข้มแข็งเหนียวแน่นมาก ยึดสุเหร่ากลางไคโรประท้วงเรียกร้องให้ปล่อยตัวและคืนอำนาจประธานาธิบดีแก่มอร์ซีโดยไม่กลัวเจ็บกลัวตาย (ไปหลายสิบคนแล้ว เพราะทหารยิงเอา ส่งม็อบมาตีเอา ไม่ยั้ง)
 
ความชอบธรรมเชิงศาสนาและการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยจึงอยู่กับมวลชนฝ่ายค้าน ขณะที่กองทัพและมวลชนต้านมอร์ซีไม่มีธงศาสนาให้ชู ถ้าจะมีให้ชูได้ก็แต่ธงเสรีนิยมในฐานะที่มอร์ซีปกครองแบบประชาธิปไตยอำนาจนิยม/ประชาธิปไตยไม่เสรีกดขี่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพของศาสนิกต่างศาสนา (ชาวคริสต์นิกายคอพติค) แรงงาน และคนชั้นกลาง รวมทั้งริบรวบอำนาจจากชนชั้นนำกลุ่มอื่น เช่น ศาล, ทหาร เท่านั้น
 
ฐานมวลชนใหญ่โตเข้มแข็งยืนนานมั่นคงมีศาสนาหลักรองรับแบบกลุ่มภราดรภาพมุสลิมนี้ ในกรณีไทย คุณทักษิณ ณ พรรคไทยรักไทยก็ไม่มี ฐานมวลชนเสื้อแดงเพิ่งมาสร้างขึ้่นไม่กี่ปีหลังโดยส่วนใหญ๋เกิดหลังรัฐประหารด้วยซ้ำ ระดับความใหญ่โตเข้มแข็งมั่นคงยืนนานชอบธรรมจึงต่างจากกลุ่มภราดรภาพมุสลิมมาก
(ภาพประกอบจาก New York Times & BBC)
 
๓) ในทางกลับกัน กองทัพอียิปต์ก็มีบางอย่างที่กองทัพไทยไม่มี คือฐานทุนฐานธุรกิจแบบอภิสิทธิ์หยั่งลึกใหญ่โตนานปีของกองทัพเอง สามารถระดมเงินทุนจากกระเป๋ากองทัพเองมาจ้างม็อบอันธพาลไล่ตีหัวฝ่ายค้านได้ง่ายมาก
 
และเช่นกัน คุณทักษิณกับเครือข่ายก็มีบางอย่างที่กลุ่มภราดรภาพมุสลิมไม่มีมากเท่า คือเงินทุนฐานธุรกิจใหญ่โต ที่ใช้มาจุนเจือสนับสนุนมวลชนเสื้อแดงของตนได้นานปีทั้งระหว่างเลือกตั้งและชุมนุมเคลื่อนไหวเช่นกัน
(ภาพประกอบจาก New York Times & BBC)
 
๔) ในสภาพดังกล่าว การต่อสู้ทางการเมืองระหว่างกองทัพกับกลุ่มภราดรภาพมุสลิมในอียิปต์จึงน่าจะดุเดือดรุนแรงนองเลือดมาก เพราะไม่มีอุดมการณ์ความชอบธรรมใด ๆ ที่กองทัพจะสามารถใช้สะกดกล่อมฝ่ายค้านให้สงบยอมเลย มีแต่ความรุนแรง กระสุนปืน และม็อบชนม็อบเท่านั้น

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
๓ ขั้นตอน ของ ลัทธิช็อก ประชาชนถูกช็อกด้วยวิกฤต, ประชาชนถูกช็อกด้วยนโยบายเสรีนิยมใหม่ที่ผลักดันผ่านออกมา และ ในความเป็นจริง ประชาชนผู้ต่อต้านคัดค้านนโยบายดังกล่าวยังมักจะถูกรัฐบาลกวาดล้างจับกุมไปทรมานด้วยวิธีการต่าง ๆ นานาโดยเฉพาะการช็อกด้วยไฟฟ้า 
เกษียร เตชะพีระ
โดรน (Drone) หรือเครื่องบินไร้คนขับเพื่อสอดแนมและสังหาร นักฆ่าหน้าจอตัดสินใจด้วยเกณฑ์ใดว่าจะกดปุ่มให้โดรนสังหารยิงถล่มคุณหรือไม่? อนุสนธิจากข่าว “โดรนโจมตีในเยเมน เสียชีวิต ๑๒ ราย” 
เกษียร เตชะพีระ
ถาม-ตอบกับคำถามประเมินความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้แค่ไหนอย่างไร, อะไรคือเงื่อนไขการเมืองที่รองรับการจัดการลักษณะนี้, จะมีรัฐประหารไหม และ แนะนำอะไรได้บ้างในสถานการณ์เฉพาะหน้านี้
เกษียร เตชะพีระ
ปัญหาชนชั้นกับการปฏิวัติกระฎุมพี, ลักษณะเด่นร่วมเชิงโครงสร้างของการปฏิวัติกระฎุมพี ๔ ประการ, เงื่อนไขและลักษณะของการปฏิวัติกระฎุมพีที่เปลี่ยนไปในประวัติศาสตร์, การศึกษาการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ ของคณะนิติราษฎร์มีลักษณะเด่นน่าสังเกตบางประการ และคำถามทิ้งท้าย
เกษียร เตชะพีระ
บทวิเคราะห์เรื่องนี้ของผมถึงเงื่อนไขความเป็นไปได้ของการปราบปรามด้วยความรุนแรงเป็นหลักเมื่อเทียบกรณีอียิปต์ปัจจุบันกับไทยหลังรัฐประหาร ๒๕๔๙ ..มีความต่างที่น่าสนใจนำมาเปรียบเทียบบางประการในความขัดแย้งทางการเมืองเรื่องรัฐประหารโดยกองทัพ ระหว่างเมืองไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๙ กับอียิปต์ในปีปัจจุบัน ๒๕๕๖
เกษียร เตชะพีระ
ผมทำกราฟฟิคขึ้นไว้เพื่อประมวลสรุปความเข้าใจของตัวเองและใช้ประกอบการสอนนักศึกษา แต่สังเกตว่ามีเพื่อนชาว Facebook สนใจพอควร จึงคิดว่าควรเขียนคำอธิบายประกอบถึงที่มาที่ไปและเนื้อหาของมันโดยสังเขป
เกษียร เตชะพีระ
ฝันสลายของคนชั้นกลางอเมริกัน = ฝันสลายของตลาดส่งออกใหญ่ของเอเชียตะวันออกรวมทั้งไทย = ฝันสลายของตัวแบบเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก (EAEM - East Asian Economic Model) รวมทั้งไทยด้วย
เกษียร เตชะพีระ
๕ ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่เกิดกับชาวนาเอเชียในทรรศนะ Partha Chatterjee หนึ่งในเจ้าพ่อ Subaltern Studies ชาวอินเดีย, ๔ concepts หลักที่ Chatterjee ประยุกต์มายึดกุมทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงใหญ่ในชนบทเอเชีย การสะสมทุนขั้นปฐมภูมิ, พิเคราะห์ชาวนาเอเชีย ชนิดของทุนและที่ตั้งทางเศรษฐกิจใหม่ของชาวนายุคโลกาภิวัตน์ ไม่ใช่อุปถัมภ์, ไม่ใช่กบฎชาวนา, ไม่ใช่การเมืองภาคประชาชน, และไม่ใช่ประชาสังคม
เกษียร เตชะพีระ
 รัฐเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านชาวนาชนบทแล้ว ชาวนาไม่ได้เผชิญหน้ากับการขูดรีดทางชนชั้นหรือรัฐโดยตรง เปลี่ยนอาชีพเพราะมองเห็นโอกาสยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจ หนุ่มสาวชาวชนบทรุ่นใหม่ที่ได้เรียนหนังสือและเสพสื่อสารมวลชนสมัยใหม่อยากเลิกเป็นชาวนา ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่เกิดกับชาวนาเอเชียในทรรศนะ Partha Chatterjee หนึ่งในเจ้าพ่อ Subaltern Studies ชาวอินเดีย 
เกษียร เตชะพีระ
กองทัพอียิปต์เป็นสิ่งมีชีวิตทางการเมืองที่น่าสนใจมาก แปลงสีได้ตามสภาพแวดล้อมเหมือนกิ้งก่า, ไม่ซื่อกับใครเหมือนงูในอ้อมอกชาวนา, และแว้งกัดทุกฝ่ายรวมทั้งประชาชนด้วย
เกษียร เตชะพีระ
ข้อคิดจากรัฐประหารในอียิปต์: ประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งล้มง่ายเข้าและสร้างยากขึ้นทุกที จำเป็นต้องพัฒนากลไกมิติริเริ่มใหม่ต่าง ๆ เพื่อเปิดกว้างการใช้อำนาจแก่สังคมการเมือง
เกษียร เตชะพีระ
ข้อคิดจากรัฐประหารในอียิปต์: ประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งล้มง่ายเข้าและสร้างยากขึ้นทุกที จำเป็นต้องพัฒนากลไกมิติริเริ่มใหม่ต่าง ๆ เพื่อเปิดกว้างการใช้อำนาจแก่สังคมการเมือง