Skip to main content
 
เช้าวันเสาร์ที่ ๒๗ ก.ค. ศกนี้ ที่กรุงไคโร
ทหารแม่นปืนอียิปต์ยิงผู้ชุมนุมสนับสนุนประธานาธิบดีมอร์ซีซึ่งส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มภราดรภาพมุสลิมที่ชุมนุมรอบสุเหร่ากลางกรุงไคโรอย่างโหดเหี้ยม มีผู้เสียชีวิต ๗๒ คน บาดเจ็บหลายร้อย การยิงมุ่งฆ่าให้ตาย (ยิงเข้าหัวนัดเดียว) ไม่ใช่ยิงให้บาดเจ็บ การฆ่าหมู่ของกองทัพเพื่อบดขยี้กลุ่มภราดรภาพมุสลิมให้สยบยอม ด้วยข้ออ้าง "ม็อบชนม็อบ" เริ่มขึ้นแล้ว นับเป็นการฆ่าหมู่ผู้ชุมนุมโดยกองทัพครั้งที่ ๒ ใน ๓ สัปดาห์ และนับเป็นครั้งนองเลือดที่สุดนับแต่การลุกฮือโค่นมูบารัคปี ๒๐๑๑ เป็นต้นมา
(ภาพประกอบจาก New York Times & BBC)
 
บทวิเคราะห์เรื่องนี้ของผมถึงเงื่อนไขความเป็นไปได้ของการปราบปรามด้วยความรุนแรงเป็นหลักเมื่อเทียบกรณีอียิปต์ปัจจุบันกับไทยหลังรัฐประหาร ๒๕๔๙ อยู่ด้านล่างครับ.....
 
 
กองทัพที่ไม่มีชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ vs. มวลชนมุสลิมที่อียิปต์
 
 
มีความต่างที่น่าสนใจนำมาเปรียบเทียบบางประการในความขัดแย้งทางการเมืองเรื่องรัฐประหารโดยกองทัพ ระหว่างเมืองไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๙ กับอียิปต์ในปีปัจจุบัน ๒๕๕๖
 
๑) กองทัพอียิปต์ค่อนข้างโล้นเลี่ยงเตียนโล่งความชอบธรรมทางอุดมการณ์เมื่อเทียบกับกรณีไทย กล่าวคือ
 
- อียิปต์ไม่มีสถาบันกษัตริย์ (ถูกคณะทหารนำโดยนัสเซอร์โค่นไปแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง)
 
- กองทัพอียิปต์เสียธงชาตินิยมไปนานแล้ว เพราะเดินตามประธานาธิบดีนายพลซาดัตกับมูบารัค คืนดีกับอิสราเอล (ศัตรูของชาติอาหรับ เคยรบชนะกองทัพอียิปต์ที่แพ้อย่างหมดท่า) จับมือรับเงินและอาวุธช่วยเหลือจากอเมริกาทุกปีสืบมาจำนวนมหาศาล
 
- ยังไม่ต้องพูดถึงว่ากองทัพกลายเป็นอภิสิทธิ์ชนกุมทุนทำธุรกิจเป็นทุนอำมาตย์อภิสิทธิ์ใหญ่โตมโหฬารในประเทศด้วย จนกล่าวได้ว่ากองทัพอียิปต์มีวิกฤตเอกลักษณ์นานปี ไม่รู้ว่าตั้งขึ้นมารบอะไร รบกับใคร เพราะคืนดีกับศัตรูหมด เอาแต่ทำมาค้าขายหาเงินท่าเดียว อ้อ และไล่จับไล่ปราบฝ่ายค้านเผด็จการอย่างโหดเหี้ยมทารุณมาตลอดด้วย
 
กองทัพอียิปต์จึงไม่มีธงสถาบันพระมหากษัตริย์และธงชาตินิยมและธงความเป็นธรรม/เสมอภาคทางเศรษฐกิจสังคมให้โบกนำมวลชน
(ภาพประกอบจาก New York Times & BBC)
 
๒) ในแง่ศาสนา ความชอบธรรมอยู่กับพลังฝ่ายค้านคือกลุ่มภราดรภาพมุสลิม ที่เป็นองค์การอิสลามยืนนานและใหญ่โตที่สุดในอียิปต์มานานปีตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง (น่าจะใหญ่โตที่สุดในโลกอาหรับด้วยซ้ำ) ฐานมวลชนของกลุ่มภราดรภาพนี้แหละที่โหวตส่งมอร์ซีให้ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี และได้อำนาจรัฐปันส่วนจากมอร์ซีมา
 
เมื่อมอร์ซีถูกโค่น พวกเขาจึงกลายเป็นฐานมวลชน (เสื้อแดง?) ฝ่ายค้านทีเข้มแข็งเหนียวแน่นมาก ยึดสุเหร่ากลางไคโรประท้วงเรียกร้องให้ปล่อยตัวและคืนอำนาจประธานาธิบดีแก่มอร์ซีโดยไม่กลัวเจ็บกลัวตาย (ไปหลายสิบคนแล้ว เพราะทหารยิงเอา ส่งม็อบมาตีเอา ไม่ยั้ง)
 
ความชอบธรรมเชิงศาสนาและการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยจึงอยู่กับมวลชนฝ่ายค้าน ขณะที่กองทัพและมวลชนต้านมอร์ซีไม่มีธงศาสนาให้ชู ถ้าจะมีให้ชูได้ก็แต่ธงเสรีนิยมในฐานะที่มอร์ซีปกครองแบบประชาธิปไตยอำนาจนิยม/ประชาธิปไตยไม่เสรีกดขี่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพของศาสนิกต่างศาสนา (ชาวคริสต์นิกายคอพติค) แรงงาน และคนชั้นกลาง รวมทั้งริบรวบอำนาจจากชนชั้นนำกลุ่มอื่น เช่น ศาล, ทหาร เท่านั้น
 
ฐานมวลชนใหญ่โตเข้มแข็งยืนนานมั่นคงมีศาสนาหลักรองรับแบบกลุ่มภราดรภาพมุสลิมนี้ ในกรณีไทย คุณทักษิณ ณ พรรคไทยรักไทยก็ไม่มี ฐานมวลชนเสื้อแดงเพิ่งมาสร้างขึ้่นไม่กี่ปีหลังโดยส่วนใหญ๋เกิดหลังรัฐประหารด้วยซ้ำ ระดับความใหญ่โตเข้มแข็งมั่นคงยืนนานชอบธรรมจึงต่างจากกลุ่มภราดรภาพมุสลิมมาก
(ภาพประกอบจาก New York Times & BBC)
 
๓) ในทางกลับกัน กองทัพอียิปต์ก็มีบางอย่างที่กองทัพไทยไม่มี คือฐานทุนฐานธุรกิจแบบอภิสิทธิ์หยั่งลึกใหญ่โตนานปีของกองทัพเอง สามารถระดมเงินทุนจากกระเป๋ากองทัพเองมาจ้างม็อบอันธพาลไล่ตีหัวฝ่ายค้านได้ง่ายมาก
 
และเช่นกัน คุณทักษิณกับเครือข่ายก็มีบางอย่างที่กลุ่มภราดรภาพมุสลิมไม่มีมากเท่า คือเงินทุนฐานธุรกิจใหญ่โต ที่ใช้มาจุนเจือสนับสนุนมวลชนเสื้อแดงของตนได้นานปีทั้งระหว่างเลือกตั้งและชุมนุมเคลื่อนไหวเช่นกัน
(ภาพประกอบจาก New York Times & BBC)
 
๔) ในสภาพดังกล่าว การต่อสู้ทางการเมืองระหว่างกองทัพกับกลุ่มภราดรภาพมุสลิมในอียิปต์จึงน่าจะดุเดือดรุนแรงนองเลือดมาก เพราะไม่มีอุดมการณ์ความชอบธรรมใด ๆ ที่กองทัพจะสามารถใช้สะกดกล่อมฝ่ายค้านให้สงบยอมเลย มีแต่ความรุนแรง กระสุนปืน และม็อบชนม็อบเท่านั้น

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
มิจฉาทิฐิว่าด้วย“24 มิถุนาคือการรัฐประหารไม่แตกต่างจากครั้งอื่นๆ คือใช้อำนาจทหารล้มล้างการปกครองเช่นเดียวกัน” "ถ้าเอาวันประกาศเอกราช ก็เอาวันที่สมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพจากพม่าสิ" และ "วันชาติคือวันรวมใจคนทั้งชาติ ในยุคสมัยผมใจพวกเราทุกดวงอยู่ที่ในหลวงก็ควรเอาวันที่ ๕ ธันวานี่ล่ะเหมาะที่สุด"
เกษียร เตชะพีระ
นายกฯ เทย์ยิบ เออร์โดกาน จากครอบครัวกรรมาชีพยากไร้ในอีสตันบูล สู่นักการเมืองประชาธิปไตยผู้ไต่เต้าขึ้นมาจากการเมืองท้องถิ่นในนครอีสตันบูล ต่อต้านอำนาจทหาร จนถึงผู้นำอำนาจนิยมที่รมประชาชนด้วยแก๊สน้ำตา เพื่อจะได้สร้างชอปปิ้ง มอลล์ขึ้นมาบนสวนสาธารณะ Gezi และ วิกฤตนี้จะจบอย่างไร?
เกษียร เตชะพีระ
...ในการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน คำถามสำคัญคือ ใครบ้างที่คุณนับเป็นมนุษย์? เราควรจะแบ่งแยกและเลือกปฏิบัติว่าจะปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคน ๆ หนึ่งบนฐานศาสนา ชาติพันธุ์ จุดยืนทางการเมืองของเขา หรือไม่อย่างไร? ถ้าหากไม่เกิดคดีเอกยุทธ ยังจะมีใครคิดรื้อฟื้นดำเนินคดีทนายสมชายให้จบจริงหรือไม่?
เกษียร เตชะพีระ
..จะเอานายกฯคนโน้นแทน ก็จะไปเรียกเอาร้องเอาจากในหลวงโดด ๆ โดยไม่ฟังเสียงและไม่เคารพอำนาจอธิปไตยของคนไทย ๗๐ ล้านคนเลยได้ มิฉะนั้น ก็จะมีคนเปลี่ยนหน้า ม็อบเปลี่ยนหน้ากาก ไชยวัฒน์บ้าง สนธิบ้าง ชูวัดบ้าง สุทธิบ้าง หน้ากากขาวเขียวเหลืองชมพูน้ำตาลโกโก้กรมท่าน้ำเงินฟ้าสารพัดสี เข้าแถวเรียงรายผลัดกันขอนายกฯพระราชทานคนใหม่คนแล้วคนเล่าเอากับองค์พระประมุขไม่เว้นแต่ละวัน แล้วจะให้พระองค์ทรงทำอย่างไร?
เกษียร เตชะพีระ
อุตสาหกรรมยาและเทคโนโลยีชีวภาพสั่นสะเทือน: ศาลสูงสหรัฐฯพิพากษาห้ามจดสิทธิบัตรเหนือยีนส์มนุษย์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มันทำให้การที่ทุนนิยมจะยึดเอาพื้นที่ใหม่ในธรรมชาติระดับยีนส์และ DNA มาเป็นอาณานิคมใต้กรรมสิทธิ์ของตนมีอันสะดุดหยุดชะงักลงบ้าง
เกษียร เตชะพีระ
..นักเศรษฐศาสตร์มักไม่ค่อยชอบ “ล้วงกระเป๋า” แบบอัมมาร ด้วยเหตุผลว่าขาดประสิทธิภาพและเสียประโยชน์ส่วนรวม, ส่วนผมเห็นด้วยกับอาจารย์นิธิที่ท่านชอบ “ล้วงกระเป๋า” แบบนิธิ ด้วยเหตุผลว่าความเหลื่อมล้ำมีมากเหลือเกินในเศรษฐกิจไทยและโลก ควรต้องกระจายจากรวย --> จนให้เท่าเทียมเป็นธรรมยิ่งขึ้น
เกษียร เตชะพีระ
ประเด็นหัวใจของการสนทนาคือความสัมพันธ์อันซับซ้อนยอกย้อนระหว่าง คุณค่าทางสังคมวัฒนธรรม (socio-cultural values) กับ มูลค่า/ราคาทางเศรษฐกิจ (economic value/price) ขณะผู้ถามซักไซ้ไล่เลียงจากมุมมองและคำถามเชิงแนวคิดปรัชญาและสังคม ผู้ตอบอธิบายจากจุดยืนของความเป็นจริงทางเศรษฐกิจ(ทรัพยากรมีจำกัด สังคมต้องตัดสินใจเลือกใช้ให้คุ้มค่าที่สุด), ความรู้เท่าทันต่อกรอบ/ขีดจำกัด/และพลังของความรู้ทางเศรษฐศาสตร์, การดำรงอยู่ของเงื่อนไขทางสังคม/การเมืองที่ล้อมกำกับเศรษฐกิจและ เศรษฐศาสตร์, และชะตาจำต้องเลือกของการตัดสินใจใช้ทรัพยากรจากจุดยืนเศรษฐศาสตร์
เกษียร เตชะพีระ
นิธิอ่านสถานการณ์ปัจจุบัน: การลงร่องของกระฎุมพีไทย → ขีดจำกัดของการเคลื่อนไหวมวลชนภายใต้กระฎุมพีเสรีนิยมปัจจุบัน
เกษียร เตชะพีระ
หากเอาความคิดทางสังคมการเมืองของ อ.เสกสรรค์ระยะหลัง (ช่วง พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นต้นมา) ตามที่คุณพัชราภา ตันตราจินศึกษาค้นคว้าไว้ในหนังสือ ความคิดทางสังคมการเมืองของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล (๒๕๕๖) มาวางไว้ในบริบทกระแสความคิดการเมืองปัจจุบันแล้วเปรียบเทียบกับแนวคิดของคู่ขัดแย้งหลักในสังคมการเมือง  ได้แก่ “แดง” (คือแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติและแนวร่วม) กับ “เหลือง” (คือพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและแนวร่วม) แล้ว ก็จะพบว่า...
เกษียร เตชะพีระ
ประสบการณ์ทำนองนี้ของไทยเราเคยมีก่อนวิกฤตต้มยำกุ้ง ๒๕๔๐ เมื่อหมู่บ้านจัดสรร คอนโด อพาร์ทเมนต์ก่อสร้างขึ้นมาล้นเหลือเกินดีมานด์ของตลาดนับแสนหน่วย ต้องรออีกหลายปีกว่าจะขายหมด แต่นั่นมันหมู่บ้าน, คอนโด, อพาร์ทเมนต์ร้าง, ของจีนทุกวันนี้ไปไกลกว่านั้นมากคือเมืองทั้งเมืองที่สร้างขึ้นมาใหม่สำหรับ รองรับคนเป็นล้าน กลับร้าง รอคนมาอยู่ที่ไม่เคยมา อย่างที่เรียกว่า ghost cities หรือ เมืองผีหลอก...
เกษียร เตชะพีระ
“ก่อนอื่น ชื่อของฉันคือวิลเลม-อเล็กซานเดอร์ ฉันใช้เวลาตลอดชีวิต ๔๖ ปีเป็นวิลเลม-อเล็กซานเดอร์หรืออเล็กซานเดอร์ ฉันว่ามันแปลกที่จะต้องเลิกใช้ชื่อนั้นเพราะฉันเป็นกษัตริย์ ในอีกแง่หนึ่งคนเราก็ไม่ใช่ตัวเลขนี่นะ” - มกุฎราชกุมารวิลเลม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์พระราชทานสัมภาษณ์ทางทีวีก่อนพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสืบต่อจากสมเด็จพระบรมราชินีนาถบีอาทริกซ์
เกษียร เตชะพีระ
คิดอย่างนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำพระเจ้าข้า ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ....