Skip to main content

ข้อเสนอของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญที่ให้นายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสังกัดพรรคการเมือง, ส.ส. มาจากระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม คือเป็นส.ส.แบ่งเขต ๒๕๐ คน และส.ส.แบบสัดส่วน ๒๐๐ คนโดยให้มีเขตเลือกตั้งสำหรับ ส.ส. แบบสัดส่วนเป็น ๘ กลุ่มจังหวัดตามภูมิภาค, และส.ว.ไม่เกิน ๒๐๐ คนมาจากการแต่งตั้งและคัดสรร ไม่ใช่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง นั้น

อุปมาอุปไมยได้ดั่ง “พายเรือในอ่างที่กำลังรั่ว” และสะท้อนวิกฤตจินตนาการทางการเมืองของตัวแทนชนชั้นนำอนุรักษ์นิยม/ปฏิกิริยาของไทย

สรุปก็คือไม่มีอะไรใหม่ ไม่ได้ไปเกินกว่าที่เคยพยายามทำมาแล้วตามรัฐธรรมนูญ คสช. พ.ศ. ๒๕๕๐ และระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบเมื่อสามสิบปีก่อน

เนื้อแท้ของข้อเสนอเหล่านี้คืออะไร? ผมคิดว่ามี ๓ ประการด้วยกัน กล่าวคือ

๑) ทำให้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารอ่อนแอลง เพราะตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนี่แหละที่เป็นหัวหาดของการเข้ายึดและควบคุมอำนาจรัฐจากพลังที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนเสียงข้างมาก

๒) ด้วยการทำให้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตกเป็นตัวประกันทางอำนาจต่อรองกำกับควบคุมของบรรดาสถาบันและองค์การทางการเมืองที่ไม่ได้มาจากเสียงข้างมากทั้งหลาย (non-majoritarian institutions) หรือที่เรียกกันว่า “อำมาตย์”

๓) และบ่อนเบียนจำกัดโอกาสความเป็นไปได้ในการสร้างแกนนำทางการเมืองระดับชาติอันเป็นทางเลือกที่อาจมาจากพรรคการเมือง และต่างหากออกไปจากระบบราชการประจำ

หลัก ๆ แล้วเป้าหมายทั้งหมดมีแค่นี้ ซึ่งล้วนแต่พิสูจน์ตัวมันเองว่าล้มเหลวในการแก้ไขความขัดแย้งทางการเมืองของสังคมไทยในระยะสิบปีที่ผ่านมาแล้วทั้งสิ้น และไม่ได้เป็นที่ยอมรับนับถือของกลุ่มพลังยุทธศาสตร์ใหม่ที่ปรากฎตัวขึ้น

ชะตากรรมเบื้องหน้าของร่างรัฐธรรมนูญฉบับ “พายเรือในอ่างที่กำลังรั่ว” จึงเป็นที่คาดเดาได้

อันที่จริง ผมไม่คิดว่าเป็นภาระของผมที่ควรจะมาถกเสนออะไรเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญซึ่งมีปัญหาความชอบธรรมแต่ต้น เพราะอำนาจปฐมสถาปนาในการร่างรัฐธรรมนูญ (pourvoir constituant originaire) ที่ชอบธรรมต้องมาจากประชาชนแหล่งเดียวเท่านั้น ไม่ใช่แหล่งอื่น อย่างไรก็ตาม ถ้าจะถามถึงเกณฑ์ประเมิน (benchmark) ของผมในการหาทางออกเรื่องกฎกติกาบ้านเมืองเพื่อคลี่คลายความขัดแย้งในสังคมการเมืองไทยและปกป้องระบอบเสรีประชาธิปไตยไว้แล้ว ผมคิดว่ามีหลัก ๔ ประการคือ:

๑) ธำรงรักษาและขยายพื้นที่สิทธิเสรีภาพ

๒) ธำรงรักษาและขยายพื้นที่ประชาธิปไตย

๓) ไม่ดึงเอาสถาบันพระมหากษัตริย์เข้ามาเกี่ยวพันกับความขัดแย้งทางการเมือง

๔) ไม่ดึงสถาบันกองทัพแห่งชาติเข้ามาแทรกแซงทางการเมือง

สรุปก็คือถือรัฐธรรมนูญฉบับ ๒๕๔๐ เป็นหลักหมาย ไม่ถอยหลังไปกว่านั้นในแง่ต่าง ๆ ทั้ง ๔ ที่กล่าวมา แล้วหาทางปรับปรุงติดตั้งกลไกสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยทางตรงต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาการฉวยใช้อำนาจเสียงข้างมากที่ได้รับเลือกตั้งเข้ามาไปในทางมิชอบ (เช่น ร่างพรบ.นิรโทษกรรมเหมาเข่ง) และปัญหาการเคลื่อนไหวอนาธิปไตยนอกระบบสถาบันการเมืองของเสียงข้างน้อย (เช่น กปปส.)

 

หมายเหตุ : บทความชิ้นนี้เผยแพร่ครั้งแรกในเฟซบุ๊ก ‘Kasian Tejapira’ 28 ธ.ค.2557

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ปม ‘พล.ท.นันทเดช’ นำเสนอเกรดของ 7 นักศึกษา 'ดาวดิน' ระบุเกรดไม่ดี จวกไม่เคยคิดเรียน ‘เกษียร’ สวนชกเด็กใต้เข็มขัด ชี้ไม่ควรลืมว่า ‘Steve Jobs’ ก็เรียนไม่จบ ระบุสำหรับนักศึกษาที่ทำกิจกรรม การเรียนย่อมได้รับผลกระทบบ้างเป็นธรรมดา
เกษียร เตชะพีระ
ตอบกระทู้พันทิป หลังมีผู้เรียกร้องให้ประเทศไทยยกเลิกการให้ทุนการศึกษาต่างประเทศสำหรับคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ โดยยกตัวอย่าง ‘สมศักดิ์-วรเจตน์’
เกษียร เตชะพีระ
รายงานของ Freedom House ชี้ ปี 2014 เป็น “ปีที่หม่นหมองเป็นพิเศษ” เกิดการปะทุของการก่อการร้ายรุนแรงและยุทธวิธีที่ก้าวร้าวทั่วโลก ระบุตะวันออกกลางสูญเสียเสรีภาพชัดเจนสุด พร้อมฟันธงว่าความผิดพลาดใหญ่ที่สุดที่ระบอบประชาธิปไตยจะทำลงไปคือการยอมรับความคิดว่าไม่มีปัญญาจะทำอะไรได้เมื่อเผชิญกับจอมเผด็จการที่ใช้กำลังหรือข่มขู่คุกคาม กลับเป็นปุถุชนพลเมืองสามัญต่างหากผู้พร้อมจะลุกขึ้นมาท้าทายผู้ปกครองเหล่านี้
เกษียร เตชะพีระ
"มาตรา 10 ของ ร่าง พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่ ขยายอำนาจการดักจับ แฮ็กบัญชี ยึดคอมพิวเตอร์ แฮ็กระบบ อันนี้คือขยายอำนาจของเจ้าหน้าที่ จากที่เคยต้องขอหมายศาล พรบ. แก้ใหม่ ไม่ต้องขอหมายศาล ทำได้เลย แล้วคนพวกนี้เป็นใคร ไม่รู้" จอห์น วิญญู กล่าวในรายงานเจาะข่าวตื้น ผมเห็นด้วยกับคุณจอห์น วิญญู และชอสนับสนุนด้วยข้อถกเถียงจากมุมมองหลักนิติธรรม (the rule of law) 
เกษียร เตชะพีระ
พม่าเปลี่ยนแปลงไปหลายอย่างในไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ผ่อนคลายการจำกัดปิดกั้นสื่อมวลชนลง และปล่อยตัวนักโทษการเมือง การลงทุนต่างชาติเพิ่มพูนขึ้น แต่กลับมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากในกองทัพพม่า ปัจจุบันพม่ากำลังเตรียมการเลือกตั้งในปีใหม่นี้ (ค.ศ. ๒๐๑๕) ทว่าน่าวิตกว่ากระบวนการปฏิรูปกำลังตกอยู่ในสภาพล่อแหลมต่ออันตราย
เกษียร เตชะพีระ
วิพากษ์ข้อเสนอหลักของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยนายกฯ ไม่จำเป็นต้องมาจาก ส.ส.หรือสังกัดพรรคการเมือง, ส.ส. มาจากระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม และส.ว.ไม่เกิน ๒๐๐ คนมาจากการแต่งตั้งและคัดสรร ไม่ใช่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ฯลฯ
เกษียร เตชะพีระ
รายงานล่าสุด ILO ชี้ค่าแรงยังต่ำ ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในโลกยิ่งเพิ่ม, ค่าจ้างประเทศรวยสูงกว่าประเทศจน 3 เท่า, การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำไม่ทำให้คนตกงานเว้ยเฮ้ย! 
เกษียร เตชะพีระ
ความคิดเห็นต่อเนื่องจากกรณีที่เกิดกระเเสวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์ ถึงกรณีที่มีนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งเขียนโน้ตถึงอาจารย์ที่ปรึกษาให้ติดต่อกลับ  โดยระบุถึงสิ่งที่สำคัญมากกว่าในความเป็นจริงที่เกิดขึ้น คือ ...
เกษียร เตชะพีระ
ในฐานะที่ "รัฐ" ตามคำนิยามของเวเบอร์ 1. สิทธิผูกขาดเหนือการใช้กำลังทางกายภาพหรือนัยหนึ่งการใช้ความรุนแรง 2. โดยชอบธรรม และ 3 ภายในอาณาเขตหนึ่งๆ
เกษียร เตชะพีระ
ข้อแนะนำถึงคสช.และรัฐบาล. คืนความปกติให้สังคมเศรษฐกิจไทยมากที่สุด ลดมาตรการใช้อำนาจผิดปกติให้เหลือต่ำสุด ความแตกต่างขัดแย้งทางความคิดเห็นและผลประโยชน์ในสังคมพหุนิยมที่มีความแตกต่างหลากหลายเป็นเรื่องปกติ
เกษียร เตชะพีระ
สำหรับผมและเพื่อนพ้อง “คนเดือนตุลา” จำนวนหนึ่ง รัฐประหาร ๒๒ พ.ค. ที่ผ่านมาเป็นเรื่องน่าเศร้าเสียใจยิ่ง