Skip to main content

ความคิด ความเชื่อเรื่องเพศที่หล่อหลอมเรามาว่า ควรมีชายกับหญิงเท่านั้นที่คู่กัน สิ่งนี้เป็นความคิด ความเชื่อที่ฝังหัวเรามาตลอดจนเราไม่ได้ตั้งคำถามกับตัวเองเลยว่าทำไมเราจึงต้องรักเพศตรงข้าม และการที่เรารักเพศเดียวกันนั้นจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งไม่ได้เชียวหรือ


ความคิดความเชื่อเรื่อง
“รักต่างเพศนิยม” นี้เอง เป็นจุดสำคัญที่ทำให้เรามีพื้นที่ของคนรักต่างเพศในสังคมมาก และการเรียนการสอนหล่อหลอมจากสังคมไม่ว่าจะทางโรงเรียน สาธารณสุข ศาสนา วัฒนธรรม สื่อสารมวลชนล้วนแล้วแต่เป็นเรื่อง “รักต่างเพศ” ทั้งนั้น เราจึงไม่ค่อยเห็นพื้นที่การเรียนรู้ในเรื่องของความหลากหลายทางเพศหรือความเป็นคนรักเพศเดียวกัน


เรื่องนี้มีกรณีศึกษา ดังเช่นภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง ที่มีการฉายเมื่อนานมานี้ คือเรื่อง “รักแห่งสยาม” สำหรับผมนั้นไม่เคยดูภาพยนตร์เรื่อง “รักแห่งสยาม” แม้ว่าจะมีเพื่อนๆ หลายคนได้เชื้อเชิญแจ้งแถลงชวนให้ไปดูหลายเวลา หลายคราก็ตาม ก็ยังไม่ได้ไปดูเสียที


สำหรับ “รักแห่งสยาม” ถือเป็นภาพยนตร์ที่มีผู้คนกล่าวถึงค่อนข้างมาก และกล่าวถึงในหลายแง่มุม เช่น เรื่องดังกล่าวนี้สื่อให้เห็นเรื่องวัยรุ่นที่รักเพศเดียวกัน บางคนมองว่าแสดงถึงความหวานแหววของวัยรุ่นหญิงชาย บางคนก็ชื่นชมว่าสะท้อนสัญลักษณ์เรื่องเพศในสังคมได้ดีทีเดียว บางคนมองว่าเป็นหนังหลอกเด็กทำไตเติลอีกแบบแต่เนื้อในเป็นอีกแบบ บางคนถึงกลับยกย่องให้เป็นหนังรักแห่งปี ฯลฯ


รักแห่งสยาม – ภาพยนตร์เรื่องนี้ เนื้อเรื่องเป็นอย่างไร เรื่องราวในเรื่องดำเนินแบบไหน ไม่สามารถทราบได้ ในขณะนั้น ทั้งนี้ สิ่งที่น่าสนใจ คือ ชื่อภาพยนตร์ “รักแห่งสยาม” นั้น ดูเสมือนว่าไม่ใช่แค่เป็นภาพยนตร์ที่ดำเนินเนื้อเรื่องในแหล่งวัยรุ่นอย่างสยามสแควร์หรือเซนเตอร์พ้อยท์เท่านั้น หากยังสามารถอธิบายให้เห็นถึงความรักของชนสยามในอดีตได้อย่างน่าสนใจ


อย่างในสังคมสยามอดีตที่ผ่านมา กรอบความคิดเรื่องเพศวิถีเป็นเรื่องที่มีความเปลี่ยนแปลงมาตลอด สิ่งที่เคยปรากฏในอดีตนั้น อาจารย์ปรานี วงษ์เทศ ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ชี้ให้เห็นถึงความคิดเรื่องเพศวิถีในอดีตว่า


สังคมไทยในอดีตไม่เหมือนสังคมตะวันตก หรือสังคมอินเดีย ที่เน้นความแตกต่างของบทบาททางเพศและมีความเหลื่อมล้ำกันมาก โครงสร้างสังคมมีลักษณะเป็นแบบให้ความสำคัญกับแม่ ในฐานะศูนย์รวมของครอบครัวมาก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็นการปกครองที่ชายเป็นใหญ่ เพราะฉะนั้นลักษณะโครงสร้างสังคมในอดีตหรือในสังคมชนบท จึงมีลักษณะที่ให้ความสำคัญกับผู้หญิง หรือผู้หญิงมีความสำคัญมากในครอบครัวและมีบทบาทสำคัญในชุมชนด้วย ไม่ใช่อย่างที่เห็นในปัจจุบันที่เป็นภาพของการพัฒนาที่เน้นสังคมแบบอุตสาหกรรมหรือทุนนิยมที่ให้การยกย่องเพศชายเป็นใหญ่ในการตัดสินชี้นำอำนาจ ควบคุมนโยบายต่างๆ ที่เน้นการพัฒนาที่ขับเคลื่อนโดยผู้ชาย ทำให้บทบาทของผู้หญิงลดน้อยหายไป”


วิถีชีวิตทางเพศในสังคมสยาม เมื่ออดีต จึงให้ความสำคัญกับเพศหญิง หรือเพศแม่ ในฐานะศูนย์รวมของครอบครัวและสังคม การทำงานของผู้หญิง อาทิ งานบ้าน เป็นสิ่งที่มีความสำคัญเท่าเทียมกับงานของผู้ชาย อีกทั้งระบบเศรษฐกิจยังเปิดโอกาสให้ผู้หญิงเป็นเจ้าของที่ดินหรือทรัพย์สินอีกเช่นกัน


ส่วนเรื่องความหลากหลายทางเพศของสยามเมื่ออดีตนั้น อาจารย์กล่าวว่า

สังคมแต่เดิม การมีเพศที่สามหรือเพศทางเลือกเป็นสิ่งที่มีและรับรู้กันอยู่ แม้อาจไม่ถึงกับชื่นชมยกย่อง หากแต่ก็อยู่ร่วมกันได้ในฐานะมนุษย์ที่มีความเท่าเทียมกัน สังคมก็ปล่อยให้ทำงานที่พวกเขาถนัด ไม่มีการกีดกัน หรือห้ามไปคบ คนที่เป็นกะเทยในหมู่บ้านอยากทำงานผู้หญิง ชุมชนก็ปล่อยให้ทำงานของผู้หญิงได้ หรือผู้หญิงที่ชอบทำงานของผู้ชายก็จะทำไป ไม่ได้คิดว่าเป็นตัวอย่างที่ผิด การสลับบทบาททางเพศยังเห็นได้แม้กระทั่งในการเข้าทรง ผู้ชายบางคนเข้าทรงก็จะแต่งเป็นหญิง ผู้หญิงก็จะแต่งเป็นชาย เหมือนเช่นการปรับเปลี่ยนบทบาทในการทำงานในบ้านและนอกบ้านในสังคมชาวนาที่ทั้งหญิงชายทำแทนกันได้ เพราะฉะนั้นการปรับเปลี่ยนบทบาทจึงเป็นสิ่งที่เข้าใจได้”

นอกจากนี้ในคัมภีร์โบราณที่ปรากฏในสังคมไทย อาทิ คัมภีร์ปฐมมูลมูลี
ยังกล่าวถึงว่า เพศมิได้มีแค่สองเพศ หากแต่มีเพศซึ่งไม่เป็นหญิงและไม่เป็นชายด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้นจากข้อมูลที่ได้กล่าวมาข้างต้น ทำให้เห็นว่า รักแห่งสยาม เมื่อคราอดีตนั้นไม่ได้มองเพศแค่ชายกับหญิงเท่านั้น แต่ปัจจุบันเรื่องเพศวิถีของคนมีความเปลี่ยนแปลงไปมากขึ้น คือมองแค่ว่ามีหญิงชาย มีความรักเฉพาะของคนรักต่างเพศเท่านั้น และมีกรอบกำหนดว่าชายหญิงควรปฏิบัติตัวอย่างไร

ผู้ชายทาแป้ง แต่งหน้า ใส่เสื้อรัดรูป เดินจับมือกัน หรือจูบปากกัน – เป็นสิ่งที่คนรักต่างเพศ มองว่าเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ยิ่งเมื่อพฤติกรรมทางเพศของคนรักเพศเดียวกันอย่างชายรักชายปรากฏออกมาผ่านภาพยนตร์เรื่อง “รักแห่งสยาม” แล้ว ยิ่งเป็นการท้าทายระบบความคิด วิถีปฏิบัติของคนในสังคมต่อคนที่มีความหลากหลายทางเพศ

ครั้งหนึ่งผมเคยถูกพี่ที่เป็นเกย์เข้ามาจับมือและกอด ตอนนั้นรู้สึกแย่มาก บอกไม่ถูก คิดว่าทำไมเขาต้องมาทำกับเราแบบนี้ด้วย แม้ว่าบางทีคนจะมองว่าดูเหมือนพวกเขา เพียงเพราะชอบทาแป้ง ไม่มีแฟน แต่ภาพที่ปรากฏทำให้ถูกมองเป็นเกย์ ซึ่งไม่ได้รู้สึกยินดีด้วยเลย


หลังจากเหตุการณ์นี้ผ่านมาหลายเดือน เริ่มมองชายรักชายหรือคนรักเพศเดียวกันอย่างเข้าใจมากขึ้น คือ เข้าใจวิถีชีวิตทางเพศ และรสนิยมทางเพศ มองว่าท้ายที่สุดแล้วเราควรมองคนๆ หนึ่งในฐานะที่เขาเป็น “คน” เหมือนเรา และเมื่อเรามองคนให้เป็นคนเหมือนกัน ดังนั้นไม่ว่าใครจะใส่เสื้อผ้าแบบไหน แต่งหน้าตาอย่างไร รักเพศเดียวกัน หรือรักต่างเพศ เราก็ไม่ควรมองว่าคนๆ นั้นจะเป็นคนรักต่างเพศ หรือรักเพศเดียวกัน แต่เราควรเคารพ เชื่อมั่น ยอมรับ และเข้าใจ เขาในฐานะที่เขาเป็นคนคนหนึ่ง ทั้งนี้ คนกับคนก็ไม่ควรจะละเมิดสิทธิของคนอื่น ไม่ว่าเขาจะเป็นใคร เพศไหน นับถือศาสนาอะไร เชื้อชาติใด อายุเท่าไหร่ ก็ตาม


ทั้งนี้
ความที่เราหลายคนถูกหล่อหลอมมาในสังคม “รักต่างเพศนิยม” ก็ทำให้เรามีความกลัว ความเกลียดคนรักเพศเดียวกันอยู่ในตัวเอง ซึ่งเรื่องนี้เองเป็นสิ่งที่เราควรจะตรวจสอบตัวเอง และทำความเข้าใจที่มา และค่อยๆ รื้อถอนความคิด ความเชื่อนี้ ออกจากตัวเรา เพื่อให้เราและคนอื่นๆ ในสังคมสามารถอยู่ร่วมกันด้วยความเข้าใจ ไม่เลือกปฏิบัติ กีดกันพื้นที่ทางสังคมระหว่างกัน


วันหนึ่งและเพื่อนคนหนึ่งนั่งคุยกันที่ร้านกาแฟ แล้วเพื่อนคนนี้ก็ถามขึ้นมาว่า พี่ผู้ชายคนที่เขาแอบชอบนั้น เป็นชายรักชายหรือชายรักหญิง


ผมยิ้มและตอบกลับไปว่า
“เขาเป็นคน ถ้าเราจะรักใครสักคน มันจำเป็นด้วยหรือที่จะเลือกรักว่าเขารักเพศเดียวกัน หรือรักต่างเพศ ถ้าเราจะรักใครสักคน ก็น่าจะรักในสิ่งที่เป็นเขาและเป็นสิ่งที่เขาเป็น”


เพื่อนยิ้มและพยักหน้า จากนั้นเราก็ชวนกันไปดูภาพยนตร์เรื่อง “รักแห่งสยาม” ที่ไม่มีเวลาจะได้ดูสักที

 

 

 

บล็อกของ กิตติพันธ์ กันจินะ

กิตติพันธ์ กันจินะ
งานวิจัยมากมายทยอยออกมานำเสนอผ่านสื่อมวลชน ในช่วงก่อนวาเลนไทน์ ชนิดที่ว่า นอกจากจะเป็นช่วงเทศกาลวันแห่งความรักแล้ว ยังเป็นเทศกาลนำเสนอผลวิจัยวัยรุ่นอีกก็ว่าได้งานวิจัยที่ออกมาส่วนใหญ่แล้ว มีลักษณะ “ถ้ำมอง” และ นำเสนอด้าน “ลบ” ของวัยรุ่นเพียงอย่างเดียว ทำนองว่า วัยรุ่นจะมีเพศสัมพันธ์กันมากที่สุดในวันดังกล่าว – ผมเองได้พยายามค้นหาดูว่ามีผลวิจัยหรืองานสำรวจอะไรบ้างที่ให้ข้อเสนอแนะทางออกในเชิงสร้างสรรค์เกี่ยวกับเรื่องเพศของวัยรุ่นนอกจากผลการสำรวจของ เครือข่ายเยาวชนด้านเอดส์ ประเทศไทย (Youth Net) ที่เสนอว่า วัยรุ่นกว่า 70% เห็นว่าควรมีวิชาเพศศึกษาในหลักสูตรของทุกโรงเรียน…
กิตติพันธ์ กันจินะ
1นันกับฝน เรียนอยู่มหาวิทยาลัยอีกไม่กี่เดือนก็จะจบการศึกษาแล้ว เขาทั้งสองเป็นเด็กต่างอำเภอที่ได้ย้ายมาเรียนในตัวเมืองของจังหวัดแห่งหนึ่งในภาคเหนือทั้งสองคนพบกันครั้งแรกตอนเข้า ม.4 ตอนนั้นเป็นจุดตั้งตนให้เขาและเธอได้รู้จักและพัฒนาความสัมพันธ์เรื่อยมาจนเป็นแฟนกัน และจากนั้นนันกับฝนจึงตัดสินใจย้ายหอมาอยู่ด้วยกัน อาศัยห้องเดียวกัน ตอนเรียน ม.5 ตอนที่มีอะไรกันครั้งแรก นันใช้ถุงยางอนามัย เพียงเพราะยังไม่อยากรับผิดชอบผลกระทบที่จะตามมาจากการมีอะไรโดยไม่ได้ป้องกัน เขาไม่ได้ให้ฝนคุมกำเนิดด้วยการทานยาคุมกำเนิดเพราะกลัวผลข้างเคียง ที่จะเกิดขึ้น แต่เลือกใช้ถุงยางอนามัยทุกๆ ครั้ง พอเรียนจบ ม.6…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ผมเพิ่งกลับจากค่ายเยาวชนที่จังหวัดเชียงราย เป็นการจัดกิจกรรมเรื่องเพศ มีวัยรุ่นหลายคนเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งโดยหลักแล้วก็เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในเรื่องเพศ เพศภาวะ และเพศวิถี ซึ่งเน้นการพูดคุยจากมุมภายในของผู้เข้าร่วมแต่ละคนมีน้องคนหนึ่งที่มาร่วมกิจกรรม บอกความรู้สึกกับผม “ผมดีใจมากครับ ที่ได้มาร่วมกิจกรรมนี้ อยากเข้าร่วมกิจกรรมแบบนี้ แต่ไม่ค่อยมีโอกาสเลย ดีนะครับที่พวกพี่มาจัด” น้องอีกคนหนึ่งก็บอกอีกว่า ที่ชุมชนของตัวเองได้มีการจัดกิจกรรมโดยอบต. แต่กิจกรรมส่วนใหญ่จะเน้นการกีฬา กิจกรรมตามวันสำคัญ และเยาวชนในชุมชนก็เข้าร่วมฟังน้องทั้งสองคนพูดขึ้นมาผมก็คิดถึง ผลการศึกษาวิจัยเรื่อง “…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ผมรู้จักกับคุณหมอสงวน นิตยารัมภ์พงศ์  ตอนอายุ 18 ปี สมัยที่ได้เริ่มวาระการเป็นกรรมการควบคุมคุณภาพมาตรฐานบริการสาธารณสุข จากสายองค์กรเอกชนด้านเด็กและเยาวชน เมื่อหลายปีก่อน ตอนเข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการในตอนแรกๆ ผมค่อนข้างจะเกร็งเพราะคณะกรรมการแต่ละท่านเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสำคัญต่อวงการสาธารณสุขและสังคมและอาวุโสห่างจากผมมากกว่า 20 ปี  ตอนนั้น คุณหมอสงวน ทำหน้าที่เป็นเลขานุการในที่ประชุม และเมื่อประชุมเสร็จสิ้น ผมได้เข้าไปทักทายและแนะนำตัวเองกับท่าน ท่านมีความเป็นกันเองและให้เกียรติกับผมมากและได้บอกให้ผมสบายใจ มั่นใจและเชื่อมั่นในการทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด
กิตติพันธ์ กันจินะ
ลมหนาว ยังไม่จางหาย....วันเด็กแห่งชาติเพิ่งจัดเสร็จไปไม่กี่วัน จนถึงวันนี้ วันเด็ก เสาร์ที่สองของเดือนมกราคม ยังคงมีการจัดมาอย่างสม่ำเสมอทุกๆ ปี นับตั้งแต่สมัย พ.ศ. 2499 ในยุคจอมพล ป.พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และตั้งแต่ พ.ศ. 2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัตน์ ได้มอบคติเตือนใจสำหรับเด็กๆ ปีละ 1 คำขวัญ จนกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบเนื่องจนถึงปัจจุบันวันเด็กที่ผ่านมา ผมได้ร่วมกิจกรรมที่ศูนย์เพื่อน้องหญิง จ.เชียงราย ภายในงานจัดกิจกรรมในแนวว่า “ข้างหลังภาพ” ทำนองว่า ทำงาน ทำกิจกรรม กันมามากมาย ทั้งเด็ก ผู้ปกครอง ผู้สูงอายุ วันนี้น่าจะมาดูกันว่าได้ทำอะไรกันมาบ้าง ซึ่งเด็กๆ…
กิตติพันธ์ กันจินะ
กาลชีวิตของผมเดินทางผ่านมาแล้วอีกหนึ่งปี และคงจะเดินทางต่อไปตามเข็มนาฬิกา สายน้ำ สาดลม แสงแดด เช่นนี้อีกเรื่อยๆ ตราบที่ยังคงมีลมหายใจอยู่...เมื่อปีที่แล้ว เรื่องราวที่เกิดขึ้น อันเกี่ยวข้องกับเยาวชน คนหนุ่มสาวในประเทศนี้มีมากมายทั้งร้ายดี โดยส่วนตัวแล้ว เห็นความพยายามของผู้ใหญ่หลายภาคส่วนที่เข้ามาสนับสนุนการทำกิจกรรมสร้างสรรค์สังคมของเยาวชนอยู่มากมายหลายหลากโครงการพัฒนาเยาวชนจำนวนมาก ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคธุรกิจ ล้วนมุ่งเน้นให้เยาวชนคนหนุ่มสาวเข้ามาทำกิจกรรมทางสังคมมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ตัวอย่างที่ได้รับรู้มาดังเช่น โครงการเยาวชนไทยไม่ทอดทิ้งสังคม ที่เครือข่ายเยาวชน 14 กลุ่ม…
กิตติพันธ์ กันจินะ
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพิ่งจบลงเมื่อวานนี้ ตอนค่ำ ผลสรุปจากการกากบาทลงคะแนนให้กับคนที่รัก พรรคที่ชอบ ได้ผลออกมาอย่างไม่เป็นทางการ บางคนอาจถูกใจ บางคนอาจไม่ถูกใจหลังจากลงคะแนนเสียงเสร็จ ผมได้เดินทางไปยังเขตชายแดนอำเภอแม่สายกับพี่ๆ เจ้าหน้าที่ศูนย์เพื่อน้องหญิง เพื่อจับจ่ายซื้อของและเดินเล่นไปมาตามประสาคนที่อยากพักผ่อนเที่ยวท่องให้คล่องใจเวลาในการเดินทางไป การเดินทางจับจ่ายซื้อของ และการเดินทางกลับ เริ่มจากตอนสาย จนถึงตอนหัวค่ำ ระหว่างที่อยู่เขตอำเภอแม่สาย ผมแยกตัวจากพี่ๆ เจ้าหน้าที่อีก 4 คน เดินเล่นเองคนเดียว เพียงเพื่อจะหาร้านกาแฟสดดีๆ ที่มีหนังสืออ่านและมีเพลงฟัง ผมเดินไปทั่ว…
กิตติพันธ์ กันจินะ
มาจนถึงวันนี้ผมยังไม่ได้พาตัวและตาของตนไปดูภาพยนตร์เรื่อง "รักแห่งสยาม" เลย แม้ว่าจะมีเพื่อนๆ หลายคนได้เชื้อเชิญแจ้งแถลงชวนให้ไปดูหลายเวลา หลายคราก็ตาม ผมก็ยังไม่ได้ไปดูเสียทีโดยส่วนตัวแล้ว ผมไม่ได้เป็นคนปฏิเสธโรงภาพยนตร์นะครับ เพราะภาพยนตร์แต่ละเรื่องที่จะทำให้ผมไปดูได้นั้น ต้องเป็นเรื่องที่ผมมีเพื่อนไปดูด้วย คือ ถ้าไปคนเดียวผมคงไม่ไปครับ เพราะไม่เคยดูหนังคนเดียว และยิ่งไม่รู้ว่าต้องซื้อตั๋ว ซื้ออะไรยังไงบ้าง เพราะปกติเวลาไปเพื่อนๆ จะเป็นคนซื้อตั๋วและขนมขบเคี้ยวเข้าไปให้สำหรับ "รักแห่งสยาม" ถือเป็นภาพยนตร์ที่มีผู้คนกล่าวถึงค่อนข้างมาก และกล่าวถึงในหลายแง่มุม เช่น…
กิตติพันธ์ กันจินะ
“อากาศหนาวๆ เย็นๆ อย่างนี้ หากได้หาใครสักคนมาอยู่ข้างกายก็คงจะดี” เพื่อนรุ่นพี่พูด บอกเสมือนจะสื่อให้ผมหาใครสักคนมาอยู่ข้างกาย เพื่อเป็นเพื่อนคุย แต่ผมคิดว่านัยยะของคำพูดนี้ น่าจะสะท้อนความคิดบางอย่าง ว่าการที่จะมีใครสักคนเข้ามาอยู่ใกล้ๆ เราในช่วงฤดูหนาวเช่นนี้ แน่นอนว่าจะช่วยทำให้เราอุ่นกายและอุ่นใจได้พร้อมๆ กันผมครุ่นคิดถึงคำพูดของเพื่อนรุ่นพี่ หลายวัน พลันกับได้ยินเรื่องราวเรื่องการคัดค้านมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐหรือ ‘มอ’ นอกระบบ  ก็ทำให้นึกถึง ความรักนอกระบบ ไปด้วย ความรักนอกระบบ กับ ‘มอ’ นอกระบบ แม้จะไม่เหมือนกัน…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ความรักไม่เข้าใครออกใคร ไม่ว่าวัย-อาชีพ-เพศ-ชนชั้น-เชื้อชาติใด ความรักย่อมมีอยู่ในทุกที่ ดั่งเช่นความรักของคนทำงานเรื่องเพศในการทำงานเรื่องเพศ หลายคนมองว่าอาจยากต่อการทำความเข้าใจกับคู่ของตัวเอง เมื่อเราเป็นผู้หญิงและคู่ของเราเป็นผู้ชาย แล้วให้เราเริ่มคุยเรื่องเพศก่อน ก็อาจถูก ‘คู่’ ที่คบหาตกใจ หรือมองเราในมุมที่ไม่ค่อยดีก็เป็นได้ แต่น้อยคนนักจะรู้ว่า ปัจจุบันผู้หญิงหลายคนเริ่มคุยเรื่องเพศของตนมากขึ้น และผู้ชายเองก็ไม่ได้มองผู้หญิงมุมลบๆ อย่างเดียว หากมองว่าเป็นเรื่องดีด้วยซ้ำที่ได้รับฟังเรื่องของคนที่ตัวเองคบอยู่ มีประสบการณ์ที่น่าสนใจอย่างยิ่งจากเรื่องของเธอ –…
กิตติพันธ์ กันจินะ
เมื่อหลายวันก่อน ผมได้เข้าร่วมกิจกรรมเวที “เพศศึกษาเพื่อเยาวชน” ของโครงการก้าวย่างอย่างเข้าใจ องค์การแพธ ร่วมกับมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ และพันธมิตรอีกหลายองค์กร จัดงานระดับภาคตะวันตกและภาคตะวันออกขึ้น โดยการจัดครั้งนี้เป็นการครั้งแรกของภาคดังกล่าวภายในงานมีเยาวชนจากหลายโรงเรียนและหลายกลุ่มเข้าร่วม พร้อมๆ ทั้งผู้ใหญ่จากหน่วยงานภาคการศึกษาและหน่วยงานภาคประชาสังคม เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งธีมหลักๆ ของเวทีนี้คือ “ร่วมกันชี้โพรงให้กระรอกเข้าอย่างปลอดภัย” ทำไมต้องชี้โพรงให้กระรอก ในเมื่อกระรอกรู้ว่าโพรงนั้นต้องเข้ายังไง –…
กิตติพันธ์ กันจินะ
รายงานข่าวเมื่อไม่นานมานี้ระบุว่า มียอดเด็กที่กำพร้าจากพ่อแม่ที่ต้องเสียชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบจากสถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวนหลายพันคน ซึ่งภาครัฐยังคงต้องหาแนวทางการดูแลเด็กที่เผชิญกับปัญหาต่างๆ ทั้งเรื่องการเข้าถึงการศึกษา และการดูแลคุ้มครองปกป้องสวัสดิภาพของเด็ก ทว่าอย่างไรเสีย  แม้ว่าเรื่องราวความรุนแรงในเหตุการณ์ดังกล่าว จะยังคงปรากฏให้เห็นอยู่เสมอทั้งหน้าจอโทรทัศน์หรือหน้าหนึ่งในหนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆ แล้ว ยังมีเรื่องราวความรัก ความสัมพันธ์ ระหว่างคนในพื้นที่กับคนนอกพื้นที่ที่ได้ลงไปปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ในพื้นที่เกิดเหตุ ตามบทบาทหน้าที่ต่างๆ อาทิ หมอ ทหาร ครู…