Skip to main content
จากการที่ท่านนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เดินทางไปเรือนจำกลางบางขวางในวันที่ 15 พฤษภาคม 2556 ทำพิธีปลดโซ่ตรวนแก่ผู้ต้องขังทั่วไป เป็นสัญญาว่าต่อไปนี้ประเทศไทยจะเลิกใช้โซ่ตรวนเป็นเครื่องพันธนาการแก่ผู้ต้องขังทั่วไป ตามเสียงเรียกร้องขององค์กรทางด้านสิทธิมนุษยชนต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็นการยกระบบทัณฑวิทยาเข้าสู่ระบบสากลมากขึ้น พวกเรา “ชาวคุก” ขอชื่นชมและสนับสนุนอย่างเต็มที่ แต่ยังมีเรื่องเกี่ยวกับคุกที่ “เสียงจากคุก” จะกราบเรียนท่านนายกฯ เพื่อแก้ปัญหาต่อเนื่องอย่างเร่งด่วน ก็คือ สภาพคุกแน่น ผู้ต้องขังล้นคุกในขณะนี้ และจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในปลายปีนี้ถ้าไม่รีบหาทางแก้ปัญหาแต่เนิ่นๆ จะเกดสภาพ “คุกแตก” แน่ จากการเปิดเผยของท่านอธิบดีกรมราชทัณฑ์ต่อสื่อมวลชนว่า เรือนจำทั่วประเทศมี 143 แห่ง จุผู้ต้องขังได้ 180,000 คนแต่เวลานี้ยอดผู้ต้องขังทั่วประเทศประมาณ 263,000 คน เกินความจุไป 83,000 คน อัตราเพิ่มผู้ต้องขัง หักจากการปล่อยตัวแต่ละเดือนประมาณ 5,000 คน ดังนั้น จากปัจจุบันจนถึงสิ้นปีจะเพิ่มอีก 35,000 คน เป็นเกือบ 300,000 คน จะเอาไปขังไว้ที่ไหน ขยายคุกเพิ่มหรือสร้างคุกใหม่ก็ไม่ทัน แล้วถ้าในปี 2557 เพิ่มอีก 60,000 คน ยอดผู้ต้องขังจะปาเข้าไปเกือบ 400,000 คน อะไรจะเกิดขึ้นก็ขอฝากให้ท่านนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและอธิบดีกรมราชทัณฑ์โปรดพิจารณาด้วย ที่ผ่านมาจาก พ.ศ.2553, 2554 และ 2555 สภาพคุกแน่นไม่รุนแรงก็เพราะมีการพระราชทานอภัยโทษทุกปี คือ พ.ศ.2553 มีการพระราชทานอภัยโทษในวันที่ 5 พฤษภาคม ในวาระเฉลิมฉลองการครองราชย์ 60 ปี ปี 2554 มีการพระราชทานอภัยโทษในวันที่ 5 ธันวาคม ในวาระพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุ 84 พรรษา และ ปี 2555 มีการพระราชทานอภัยโทษในวันที่ 12 สิงหาคมในวาระสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถทรงเจริญพระชนมายุครบ 80 พรรษา และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชทรงเจริญพระชนมายุครบ 5 รอบ การพระราชทานอภัยโทษแต่ละครั้งจะมีการปล่อยผู้ต้องโทษที่เหลือโทษน้อย ผู้ชรา ผู้ป่วยร้ายแรง ผู้พิการทุพลภาพ ครั้งละไม่ต่ำกว่า 20,000 คน เป็นการระบายผู้ต้องโทษเก่าออกไป เพิ่มที่ว่างเพื่อรองรับผู้ถูกคุมขังใหม่ เป็นการบรรเทาสภาพคุกแน่น ดังนั้นในปีนี้ พ.ศ.2556 ที่รัฐเตรียมจัดงานฉลองพระชนมายุสมเด็จพระสังฆราชครบ 100 ปีในวันที่ 3 ตุลาคม จึงเป็นวาระที่เหมาะสมที่รัฐบาลจะขอพระราชทานอภัยโทษทั่วประเทศ ถือเป็นวาระสำคัญทางศาสนา ที่เมื่อปี พ.ศ.2500 รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม จัดงานเฉลิมฉลอง 25 พุทธศตวรรษและมีการขอพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องโทษทั่วประเทศ มีกฎหมายล้างมลทิน และพ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่นักโทษการเมือง การขอพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องขังทั่วประเทศนั้น ถือเอาวันสำคัญของชาติ ศาสนา และฉลองพระชนมายุครบรอบของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช หรือการครองราชย์ครบรอบต่างๆ การให้ความสำคัญกับวาระต่างๆ จะออกมาในรูปพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ ภาษาคุกเรียกว่า เล็กหรือใหญ่ ถ้าเป็นพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษที่นักโทษชั้นเยี่ยมได้รับการลดโทษ 1 ใน 2 ถือเป็นอภัยโทษ “ลูกใหญ่” แต่ถ้าออกมา นักโทษชั้นเยี่ยมได้รับการลดโทษ 1 ใน 4 อย่างเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2555 เรียกว่า “ลูกเล็ก” เท่ากับให้ความสำคัญกับวาระนั้นน้อยกว่า การอภัยโทษเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2555 รัฐบาลใจแคบและกระทำไม่เหมาะสมกับวาระ เพราะเป็นวาระร่วมของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ กับ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ซึ่งที่ผ่านมาในอดีต วาระครอบรอบต่างๆ ของทั้ง 2 พระองค์ จะมีการพระราชทานอภัยโทษ “ลูกใหญ่” เสมอ แต่เมื่อ 12 สิงหาคม 2555 ที่ผ่านมา กลับเป็นการอภัยโทษแบบ “ลูกเล็ก” และมีบัญชีแนบท้ายพระราชกฤษฎีกาหยุมหยิมเต็มไปหมด เป็นการอภัยโทษที่ไม่อยากให้อภัยโทษอย่างใจแคบ จึงขอให้ท่านนายกรัฐมนตรีโปรดพิจารณาด้วย เสียงจากคุก 19 พฤษภาคม 2556

บล็อกของ นายหัว ส. และมิตรสหาย

นายหัว ส. และมิตรสหาย
นายหัว ส. และมิตรสหาย
นายหัว ส. และมิตรสหาย
 ติดตามการประชุมนัดแรกของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทยที่มีนายกรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เข้าร่วมเปิดประชุมแล้ว มีความเห็นว่า ผู้ที่เสนอความคิดเห็นตรงกับปัญหาที่สุดคือ คุณครูประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ นอกนั้นล้วนแต่ “ขี่ม้าเลียบค่าย”
นายหัว ส. และมิตรสหาย
การประกาศยุติบทบาทของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) เป็นเรื่องเข้าใจว่า เพราะตกอยู่ในสภาพจำยอมจากความพ่ายแพ้ทางยุทธศาสตร์ที่ต้องการให้สังคมไทยหยุดนิ่ง หรือก้าวถอยหลัง ตามอุดมการณ์ของกลุ่มอนุรักษ์นิยม ดังคำประกาศของกลุ่ม “พิทักษ์สยาม” ที่จะแช่แข็งประเทศไทย
นายหัว ส. และมิตรสหาย
 การที่แกนนำ นปช. อย่าง ณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ และพรรคเพื่อไทย อภิปรายเกี่ยวกับ พรบ. นิรโทษกรรมว่าไม่คลุมถึงผู้ที่ถูกคดี ม.112 นั้นระวังจะหลงกลเดินไปตามแผนของพรรคประชาธิปัตย์
นายหัว ส. และมิตรสหาย
หมายเหตุ: เรื่องสั้นจากแดนตารางชิ้นนี้ based on true story เป็นคดีประหลาดของชายคนหนึ่งที่ถูกพี่ชายแท้ๆ แจ้งความในคดีร้ายแรงแห่งรัฐ เรื่องสั้นพูดถึงขั้นตอนหนึ่งก่อนที่คดีของเขาจะถูกสั่งฟ้อง เป็นเรื่องเล่าจากห้องสี่เหลี่ยมที่ไม่เคยมีใครล่วงรู้ 
นายหัว ส. และมิตรสหาย
หมายเหตุ: เรื่องสั้นจากแดนตารางชิ้นนี้ based on true story เป็นคดีประหลาดของชายคนหนึ่งที่ถูกพี่ชายแท้ๆ แจ้งความในคดีร้ายแรงแห่งรัฐ เรื่องสั้นพูดถึงขั้นตอนหนึ่งก่อนที่คดีของเขาจะถูกสั่งฟ้อง เป็นเรื่องเล่าจากห้องสี่เหลี่ยมที่ไม่เคยมีใครล่วงรู้ 
นายหัว ส. และมิตรสหาย
  
นายหัว ส. และมิตรสหาย
คำอวยพรที่ล่าช้าจากความขลาดกลัวของผู้หวังดีที่อยู่ในโลกกว้างว่า แม้แต่ความคิด ความรู้สึกและสภาพภายในจากคำบอกเล่าของพวกเขาก็อาจนำผลกระทบที่เลวร้ายยิ่งกว่ามาสู่พวกเขาได้