Skip to main content

อาจารย์สมศักดิ์  เจียมธีรสกุล ภาควิชาประวัติศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิพากษ์วิจารณ์ชนชั้นกลางบางกลุ่มที่เป็นพวก “สองไม่เอา” คือไม่เอาทั้ง “ทักษิณ” และ “ไม่เอารัฐประหาร” จนเป็นประเด็นถกเถียงน่าสนใจทางโลกไซเบอร์

นักวิชาการบางคนพยายามที่จะไปให้พ้นจาก “สองไม่เอา” โดยพูดถึง “ทางเลือกที่สาม” แต่ที่สุดก็ไม่สามารถบอกได้ว่า “ทางเลือกที่สาม” นั้นคืออะไร

การพยายามค้นหาหรือสร้าง “ทางเลือกที่สาม” มีข้อดีในแง่ที่ว่าอาจช่วยเปิดจินตนาการทางการเมืองให้กว้างขึ้นแต่ก็นั่นแหละใครจะบอกได้ว่า “ทางเลือกที่สาม”  เป็นอย่างไร  “ทางเลือกที่สาม” มีจริงหรือ ?

เมื่อ “ทางเลือกที่สาม” ไม่มีอยู่จริง ก็จำเป็นต้อง “เลือกเอาข้างใดข้างหนึ่ง” และการบังคับให้ต้อง “เลือกเอาข้างใดข้างหนึ่ง” ได้หวนกลับมาสร้างปัญหาอีกครั้งเมื่อต้องหย่อนบัตรลงคะแนนเสียงเลือกตั้งทั่วไปหลังคณะรัฐประหาร “คาย” อำนาจที่สวาปามเข้าไปออกมา

ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ก็ตาม “ทางเลือก” ในครั้งนี้มีเพียงสองทางเหมือนเดิมนั่นคือไม่พรรคพลังประชาชนก็ประชาธิปัตย์ ถึงแม้ว่าจะไม่ชอบทั้งสองทางแต่ก็ต้องเลือกเอาทางใดทางหนึ่ง เป็นอื่นนอกเหนือไปจากนี้ไม่ได้

 

การกาช่องไม่ลงคะแนนเสียงให้ใครหรือประสงค์ที่จะไม่เลือกใครนั้นไม่อาจทำให้ทางเลือกสองทางนี้เปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด เพราะไม่ฝ่ายใดก็ฝ่ายหนึ่งเท่านั้นที่จะเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล  การไม่ลงคะแนนให้ใครจึงไม่ใช่ทางเลือกที่สาม

ปัญญาชนหรือคนชั้นกลางบางส่วนอาจรู้สึกพึงพอใจในตนเองที่ “เลือกที่จะไม่เลือก” หรือไม่ประสงค์จะลงคะแนนเสียงให้ใคร แต่ทางเลือกหรือวิธีการกระทำเช่นนี้คือการแสร้งทำเป็นมืดบอดหรือหลอกตัวเองว่ามีอิสระ เสรีภาพมากพอที่จะเลือกตามใจตนเองเพราะผลลัพธ์ยังคงออกมาเหมือนเดิมนั่นคือมีทางแค่สองทางเท่านั้น

การมีทางเลือกเพียงสองทางเป็นกติกาของการเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่เข้าใจได้ง่าย ๆ นักวิชาการและชนชั้นกลางไม่ต้องกระแดะ หรือดัดจริตว่าจะมี “ทางเลือกที่สาม” ให้สำหรับคนที่ไม่พอใจตัวเลือกทั้งสองเพราะที่สุดแล้วดังที่กล่าวตอนต้นคือนักวิชาการผู้กล่าวถึง “ทางเลือกที่สาม” ก็ไม่อาจบอกได้ว่า “ทางเลือกที่สาม” คืออะไร

ดังนั้น ระหว่างทางเลือกเพียงสองทางเท่านั้นที่มีอยู่ ควรจะเลือกทางใดดี ?

ก่อนหน้านี้ทางเลือกคือไม่ “ทักษิณ” ก็ “รัฐประหาร” ข้างใดข้างหนึ่งเท่านั้น ไม่มีตรงกลางให้ยืน

ในเวลาต่อมาหรือในปัจจุบันทางเลือกเปลี่ยนจาก “ทักษิณ” เป็น “พรรคพลังประชาชน” ส่วน “รัฐประหาร” เปลี่ยนเป็น “พรรคประชาธิปัตย์”

“ทักษิณ” หันมาสนับสนุนพรรคพลังประชาชนภายใต้การนำของคุณสมัคร สุนทรเวช ในขณะที่คมช.ซึ่งล้มเหลวในทุก ๆ ทาง รวมทั้งองค์กรพันธมิตรและพวก “นอกระบบ” ทั้งหลายได้หันมาสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์

พรรคประชาธิปัตย์อาจจะไม่ได้ “กินฉี่ทหาร” แต่พฤติกรรมของพรรคประชาธิปัตย์แสดงให้เห็นชัดเจนว่าเป็น “พวกเดียว” กับ “ทหาร” “ทหาร” ที่ทำลายประเทศ ทำลายการเมือง ทำลายเจตนารมณ์ในการ “เลือก” ของประชาชนเสียงข้างมาก

นอกจาก “ทหาร” แล้วแนวร่วมทางฟากของพรรคประชาธิปัตย์ก็ยังมี “องค์กรเถื่อน” ที่อยู่ในที่มืดแล้วใช้ “มือสกปรก” สอดเข้ามา

ในขณะที่พรรคพลังประชาชนถูกกลั่นแกล้ง ใส่ความ อย่างหนักไม่ว่าจะเป็นจาก คมช.เรื่องเอกสารลับ หรือการสอดมือสกปรกเข้าแทรกแซงกกต.เพื่อให้โทษกับพรรคพลังประชาชนและให้คุณกับพรรคประชาธิปัตย์

เหล่านี้ล้วนทำให้พรรคพลังประชาชนเป็นตัวเลือกที่น่าเลือกกว่าพรรคประชาธิปัตย์มาก เพราะพรรคพลังประชาชนต่อสู้ตามกติกาในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์นั้นถนัดกับการ “เล่นนอกเกม” ทำลาย ”หลักการ” สร้าง “หลักกู” เพื่อหวังผลชนะสถานเดียว

อย่างไรก็ตาม ทางเลือกระหว่างพรรคพลังประชาชนกับพรรคประชาธิปัตย์ก็ยังดูดีกว่าทางเลือกระหว่าง “ทักษิณ” กับ “รัฐประหาร” เพราะ “รัฐประหาร” นั้น “เลวร้าย” กว่า “ทักษิณ” อย่างเทียบกันไม่ติดแต่ชนชั้นกลาง ชนชั้นกลวงก็ยังเกลียด “รัฐประหาร” น้อยกว่า

นี่เป็นเรื่องที่น่าสมเพชของชนชั้นกลาง ส่วนชนชั้นกลางที่เป็นปัญญาชนที่ “ขายตัว” ให้กับการ ”รัฐประหาร” นั้นนับว่าน่าเห็นใจเพราะกระสันอำนาจและยศศักดิ์เสียจนหน้ามืดตามัว ลืมสิ่งที่ตนเองได้เคยพูด เคยเขียนไว้  

คนชั้นกลางบางพวกอาจไม่เลือกพรรคพลังประชาชนด้วยหมกมุ่นอยู่กับความกลัว “ทักษิณ” ขึ้นสมอง แต่อย่างไรเสีย พรรคพลังประชาชนเป็นทางเลือกที่ “เลวน้อยกว่า” เมื่อเทียบกันกับพรรคประชาธิปัตย์ และคน “ส่วนใหญ่” ก็ได้เลือกให้เห็นชัดเจนแล้วในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง

ปัญหาของคนชั้นกลางไม่ใช่อยู่ที่การ “เลือก” แต่อยู่ที่การ “ไม่เลือก” ด้วยยึดติดกับภาพลวงตาว่ามี “ทางเลือกที่สาม”  บทความนี้ขอเสนอว่าเลิกยึดติดเรื่อง “ทางเลือกที่สาม” แล้วตัดสินใจเลือกทางที่ “เลวน้อย” กว่า ซึ่งคำตอบย่อมไม่ใช่พรรคประชาธิปัตย์หากแต่เป็น “พลังประชาชน”

 

บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
มหาชนสีแดงยื่นบันไดแห่งการยุบสภาให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ปีนลงมาอย่างง่าย ๆ ชนิดที่บัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น แต่ไม่เป็นผลอะไร ด้วยโมหะจริต นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ ดึงดันจะอยู่ในตำแหน่งต่อไปแม้ว่าจะต้องทำอะไรที่เสียเกียรติความเป็นผู้นำไปมากก็ตาม
เมธัส บัวชุม
การเคลื่อนพลของคนเสื้อแดงทั้งแผ่นดินน่าตื่นตาตื่นใจและอลังการสมการรอคอย แม้ว่าการมาทางเรือจะผิดจากความคาดหวังอยู่มากก็ตาม ผมยืนรอชมขบวนเรือของคนเสื้อแดงบนสะพานกรุงธนนานกว่า 3 ชั่วโมงพร้อมกับแดงคนอื่น ๆ เต็มสะพาน โบกไม้โบกมือ ไชโยโห่ร้องกับคนเสื้อแดงที่ขับรถผ่านไปมา
เมธัส บัวชุม
แม้ผลการตัดสินคดียึดทรัพย์เป็นสิ่งที่คาดการณ์ได้อยู่แล้ว แต่คนเสื้อแดงหลายคนยังรู้สึกเจ็บปวด บางคนถึงขั้นหลั่งน้ำตาทั้งที่เงินนั้นไม่ใช่เงินของตนเอง พวกอำมาตย์ พรรคประชาธิปัตย์และคนเสื้อเหลืองไม่มีทางเข้าใจได้เลยว่าที่คนเสื้อแดงหลั่งน้ำตานั้นไม่ใช่เพราะเสียดายเงินของอดีตนายก ฯ ทักษิณ  ชินวัตร ที่ถูกยึดไปอย่างไม่เป็นธรรม แต่เป็นเพราะรู้สึกเจ็บปวดที่ตนเองทำอะไรไม่ได้เมื่อเห็นความอยุติธรรมบังเกิดขึ้นต่อหน้าต่อตาครั้งแล้วครั้งเล่า
เมธัส บัวชุม
ไม่ว่าผลการตัดสินคดียึดทรัพย์ (ปล้นทรัพย์อย่างถูกกฎหมาย) ที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์ ของอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร จะออกมาเป็นอย่างไร การลุกฮือของคนเสื้อแดงก็ยังคงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เสื้อแดงจำนวนไม่น้อยอาจไม่ได้ยี่หระเลยกับทรัพย์สินของอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตรเพราะนั่นเป็นราคาที่อดีตนายก ฯ ต้องจ่ายสำหรับการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตย หลายคนจะได้เรียนรู้ว่าประชาธิปไตยนั้นถ้าไม่จ่ายด้วยเลือดและชีวิตก็ต้องจ่ายด้วยทรัพย์สินแสนแพง
เมธัส บัวชุม
 เมื่อความขัดแย้งระหว่างฝักฝ่ายต่าง ๆ เขม็งเกลียวแน่นใกล้ถึงจุดวิกฤติ ข่าวเกี่ยวกับการทำรัฐประหารก็ลอยมาจากทางโน้นทางนี้เป็นระยะ น่าเชื่อบ้าง ไม่น่าเชื่อบ้าง ราวกับว่ารัฐประหารเป็นทางออกเดียวในการจัดการปัญหา
เมธัส บัวชุม
การเข้าครอบครองที่ดินบนเขายายเที่ยงอย่างผิดกฏหมายขององคมนตรีคุณธรรมสูงอย่างสุรยุทธ์ จุลานนท์ นั้นไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดแม้แต่น้อย ไม่ใช่ข้อค้นพบที่น่าตื่นเต้น ไม่ใช่ความลับที่น้อยคนรู้ ชาวบ้านร้านตลาดในบริเวณนั้นต่างก็รู้กันเป็นอย่างดีว่าวิลล่าสวยงามบนเขายายเที่ยงนั้นเป็นของใคร
เมธัส บัวชุม
ผมค่อนข้างแปลกใจที่สังคมไทยยังไม่เกิดสงครามกลางเมืองขึ้น ว่าที่จริงสงกรานต์เลือดเมื่อปีกลายที่ผ่านมา เป็นโอกาสเหมาะไม่น้อยสำหรับการเกิดสงครามกลางเมืองซึ่งอาจจะจบลงด้วยการทำลายพลังประชาชนรากหญ้าและคนชั้นกลางฝ่ายก้าวหน้าลงอย่างย่อยยับ จนยากที่จะฟื้นกลับคืนมาใหม่ หรืออาจเป็นไปในทางกลับกันก็ได้หากประชาชนได้รับชัยชนะคือระบอบประชาธิปไตยจะขยับไปข้างหน้าอย่างก้าวกระโดด อำนาจของอำมาตย์จะถูกจำกัดวง พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้ผุดไม่ได้เกิด?
เมธัส บัวชุม
-1- ฉันมีวิธีเผชิญหน้ากับอาการนอนไม่หลับด้วยการนอนลืมตาอยู่ในความมืด พยายามไม่คิดอะไร แต่ดวงความคิดของฉันก็ไหลลอยไปสู่เรื่องนั้นเรื่องนี้ หวนรำลึกไปถึงสถานที่และผู้คนที่ฉันเคยพานพบประหนึ่งว่าฉันเพิ่งจากผู้คนและสถานที่เหล่านั้นมา
เมธัส บัวชุม
เรื่องราวในชีวิตของคนเราสามารถนำมาเขียนแต่งเป็นนิยายได้ทั้งนั้น โดยการใส่พล็อตหรือท้องเรื่องเข้าไป ตีความให้ดูน่าสนใจ แล้วเสาะหา(สร้าง)ข้อมูลเพื่อยัดลงไปในพล็อตที่วางไว้โดยอาจหยิบเพียงบางช่วงบางตอนของชีวิตก็ได้
เมธัส บัวชุม
คงไม่เป็นเรื่องน่าประหลาดใจแต่ประการใดที่เราได้เห็นปัญญาชนสยาม ปัญญาชนสาธารณะอย่างสุลักษณ์ ศิวรักษ์ ไปออกโทรทัศน์ของทาง ASTV “รายการรู้ทันประเทศไทย” ที่มีเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง นักวิชาการผู้หากินกับวาทกรรม “ชาวบ้าน” มายาวนาน งนี้เพราะหลายคนซึ้งแน่แก่ใจแล้วว่าบั้นปลายชีวิตของสุลักษณ์ ศิวรักษ์ ผู้หลงตนนั้นโน้มเอียงไปทางเผด็จการ หรือไปทางศักดินามากเสียยิ่งกว่าจะยืนข้างชาวบ้านอย่างที่เขาพร่ำพูดถึงเสมอ
เมธัส บัวชุม
หากผมบอกว่าชาตินิยมเป็นแนวคิดที่ใช้ไม่ได้แล้ว บางคนคงโต้แย้ง ผมจึงต้องเปลี่ยนคำพูดเสียใหม่ให้กว้าง ๆ ว่า ชาตินิยมเป็นแนวคิดที่ไม่เพียงพอสำหรับการทำความเข้าใจความเป็นไปของสังคมการเมืองในโลกปัจจุบัน ไม่เพียงพอสำหรับการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าความหมายและรู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลง
เมธัส บัวชุม
รถไฟไทยเป็นอย่างที่เป็นอยู่มานาน โดยแทบไม่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอะไรเลยตั้งแต่เริ่มสร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 ทั้งนี้เพราะความเสื่อมโทรมของรถไฟให้ประโยชน์แก่คนหลายกลุ่ม รวมทั้งสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย ดังนั้นแนวคิดใด ๆ ก็ตามที่จะทำให้รถไฟเปลี่ยนไปจึงถูกต่อต้านแม้จะมีผลการวิเคราะห์วิจัยรองรับอยู่จำนวนมาก