Thai Movie in 2013: ชะตากรรมหนังไทยบนเส้นด้ายที่ชื่อ การเมือง

              ผ่านช่วงปีใหม่มาได้สักระยะแล้วนะครับ ต้องเรียกว่า เป็นช่วงปีใหม่ที่แสนวุ่นวายและยุ่งเหยิงไม่ใช่น้อย อาจจะเพราะ วิกฤตการเมืองที่เกิดขึ้นในตอนนี้ก็ได้ เรียกได้ว่า เป็นช่วงเวลาที่เลวร้ายสำหรับใครหลายคน ทุกสาขาอาชีพ ต่างได้รับผลกระทบนี้ไปจนหมดสิ้น และดูเหมือนว่า วิกฤตน่าจะเกิดขึ้นอีกยาวไกลแม้ว่าจะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นก็ตามที ซึ่งอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยเองก็ดูเหมือนว่า ปีนี้จะเป็นปีที่เรียกว่า วิกฤตอย่างแท้จริงเลยก็เป็นได้

                แน่นอนว่า เมื่อย้อนกลับไปต้นปี 2012 ผมเคยเขียนถึงหนังไทยในปีนั้นมาก่อนว่า เป็นปีที่แนวรบของหนังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาก แน่นอนว่า ในโรงภาพยนตร์นั้นยังคงมีหนังแนวที่เราคุ้นเคยอาทิ ผี ตลก หรือ รัก ออกมามากมายเหลือเกินจนหลายคนมองว่า ช่างซ้ำซากจำเจไม่ใช่น้อย จนทำให้รายได้ของหนังหลายเรื่องต่ำมากจนแทบเตี้ยดินเลยก็ว่าได้ถึงแม้ว่า ปีที่ผ่านมาจะมีหนังที่ทำเงินได้เป็นปรากฏการณ์อย่าง พี่มากพระโขนง ของค่าย GTH ที่ทำเงินถล่มทลายถึง 1000 ล้านบาททั่วประเทศ (จากการคาดการณ์ของค่ายหนัง) และทำเงินทะลุ 500 ล้านในกรุงเทพไปได้อย่างน่าตื่นเต้นก็จริง แต่หนังไทยหลายเรื่องก็ต้องพบประสบเคราะห์กรรมต่างกันไป บางเรื่องก็เจ๊งแบบไม่ต้องลุ้น บางเรื่องก็เอาตัวรอดไปได้แบบหืดขึ้นคอ แต่ที่น่าสนใจคือ ปีนี้มีหนังแนวอื่น ๆ ปรากฏตัวขึ้นมาและที่สำคัญยังคงเป็นปีของหนังอิสระอีกครั้งที่ประสบความสำเร็จกันไม่ใช่น้อย จนช่วยยืนยันว่า คนไทยกำลังมองหาอะไรใหม่ในวงการนี้จริง ๆ และเป็นปีที่ผู้กำกับมือเก๋าล้มเหลว แต่ก็มีผู้กำกับหน้าใหม่ที่ประสบความสำเร็จขึ้นอีกครั้ง

                และนี่คือ เรื่องราวของหนังไทยในปี 2013

           1. พี่มากพระโขนง พันล้านกับปรากฏการณ์ยิ่งสูงยิ่งหนาวของ GTH

           

            ต้องบอกว่า นี่คือ ภาพยนตร์ที่ถูกบันทึกเอาไว้ในประวัติศาสตร์ของวงการภาพยนตร์ว่า มันคือ ปรากฏการณ์โดยแท้จริง สำหรับ ภาพยนตร์ตลกสยองขวัญเรื่องนี้ของอดีตผู้กำกับ ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ , แฝด , คนกลาง , คนกอง และ กวน มัน โฮ อย่าง โต้ง บรรจง  ปิสัญธนะกุล ที่สามารถทำรายได้ถล่มทลายทุบทุกสถิติที่ทำมาจนทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ที่หลายคนคาดการณ์ว่า น่าจะทำรายได้ที่ 100 ล้านได้สบายนั้นทะลุไปจนถึง 500 ล้านกว่าบาทในกรุงเทพได้อย่างน่าตื่นตะลึง ที่สำคัญกว่านั้นก็คือ มันคือหนังที่ทำให้เกิดบรรยากาศคึกคักอย่างยิ่งในวงการหนังไทย หลายคนคาดการณ์ว่า นี่อาจจะทำให้วงการหนังไทยที่ซบเซาไปแล้วกลับมาคึกคักอีกครั้งก็เป็นได้ และหลายคนก็เฝ้าจับตามองกันว่า หลังจากพี่มากได้ลงโรงไปแล้ว ค่ายหนังเรื่องนี้จะมีหนังเรื่องไหนโผล่มาอีกในปีนั้น ทว่า ทุกคนก็ต้องผิดหวังเมื่อทั้งปี 2013 นั้น ค่ายนี้ก็ไม่ได้ส่งหนังเรื่องใดออกมาอีกเลย

                จนหลายคนคาดการณ์ว่า ความสำเร็จที่มากเกินไปของภาพยนตร์นี้ได้กลายเป็นแรงกดดันครั้งใหญ่ต่อค่ายหนังแห่นี้ เพราะ นับจากนี้ไปแฟนหนังจะคอยจับตามองว่า ผลงานเรื่องต่อไปจะเป็นเรื่องอะไร นั่นเองที่ทำให้ความกดดันทั้งหลายมันถาโถมเข้าใส่ค่ายนี้เป็นทวีคูณ นั่นเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ปีที่ผ่านมาไม่มีหนังเรื่องอื่นของค่ายนี้ออกมาเลย จนกระทั่งต้นปีที่จะถึงนี้จะมีภาพยนตร์เรื่อง คิดถึงวิทยา ออกมาฉายเป็นเรื่องแรกนับจากความสำเร็จของพี่มาก

                และที่ต้องพูดอย่างก็คือ ไม่ใช่แค่ภาพยนตร์เท่านั้นที่ประสบความสำเร็จสำหรับค่ายนี้ ซีรีย์วัยรุ่นที่ฉายทางช่อง GMM One อย่าง ฮอร์โมน ก็ประสบความสำเร็จไม่ใช่น้อยเช่นกันจนมีการประกาศสร้างซีซั่นสองขึ้นมาแล้ว การประสบความสำเร็จนั้นได้สร้างแรงกดดันอย่างสูงให้กับค่ายนั้นนี้มากเหลือเกิน

                จนหลายคนคาดเดาไม่ถูกว่า ทั้งคิดถึงวิทยา และ ฮอร์โมน ซีซั่น 2 จะประสบความสำเร็จแบบที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปีที่แล้วหรือไม่

                มันช่างเป็นสถานการณ์ที่ยิ่งสูงยิ่งหนาวโดยแท้จริง

            2. ต้มยำกุ้ง 2 ปิดตำนาน จา พนม

            “ภาพยนตร์แอ็คชั่นที่คนทั้งโลกรอคอย” คำโปรโมทที่ถูกใช้เพื่อโปรโมทภาพยนตร์แอ็คชั่นภาคต่อเรื่องนี้ที่ถือว่า เป็นภาพยนตร์ฉลองการครบรอบสิบปีของ นักแสดงหนุ่มจากแผ่นดินที่ราบสูงอย่าง จา พนม ที่เรียกว่าเป็นการกลับมาในช่วงเวลาที่เรียกว่า กระท่อนกระแท่นไม่ใช่น้อย เพราะ มีข่าวมาตลอดว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้นั้นมีปัญหาตลอดเวลาทำให้คิวลากยาวมานาน พร้อมกับปัญหาของ จา พนม กับต้นสังกัดเรื่องสัญญาส่วนตัว ทำให้จนแล้วจนรอด ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ทำออกมาสำเร็จจนได้ พร้อมทุนสร้างที่หลายคนต้องตื่นตะลึง

                เพราะ ค่ายหนังบอกว่า ทุนสร้างของหนังเรื่องนี้นั้นถึง 500 ล้านบาทเลยทีเดียว

                นั่นเองที่ทำให้หลายคนต่างหวังอย่างยิ่งว่า นี่คือ การกลับมาทวงบัลลังก์ภาพยนตร์แอ็คชั่นแนวต่อสู้ของไทยอีกครั้ง หลังจากปล่อยให้ฮ่องกง อินเดีย และ อินโดนีเซีย นำหน้าไปหลายก้าวแล้ว รวมทั้งการรวมนักแสดงอย่าง จีจ้า ญานิน หรือ นักแสดงฮอลลีวู้ดอย่าง ลีซ่า ด้วยก็ตาม ยิ่งทำให้ใครต่างคาดหวังว่า หนังเรื่องนี้จะทำเงินมากมายและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศอีกครั้งหนึ่งเหมือนเช่นที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วเมื่อสิบก่อน

                ทว่าเมื่อมันออกฉายทุกคนก็อุทานออกเป็นคำเดียวว่า

                มันคือ หายนะ

                ทุกสิ่งทุกอย่างในหนังเรื่องนี้ต้องบอกว่า ล้มเหลว โดยสิ้นเชิง ตั้งแต่บทภาพยนตร์ที่หลายบ่นถึงบทภาพยนตร์ภาคแรกว่า ห่วยบรมแล้ว บทภาพยนตร์ภาคนี้นั้นทำให้ภาคแรกกลายเป็นหนังออสการ์ไปเลย  นี่ยังไม่รวมถึงโปรดักชั่นของหนังที่เรียกว่า ไม่สมราคาทุนเลย แต่ที่แย่กว่านั้นก็คือ จุดขายของจา พนม อย่างการไม่ใช่สลิง ไม่ใช่สตันแมน หรือกระทั่ง CG หนังภาคนี้หลงลืมหมดสิ้นและใส่มาทุกอย่าง โดยเฉพาะ CG ที่ใส่มาเพราะ หนังถ่ายออกมาในแบบสามมิติ แต่ขอโทษเถอะครับ คนดูได้แต่ส่ายหัวกับภาพที่เกิดขึ้นตรงหน้าอย่างยิ่ง

                แต่ทั้งหมดทั้งปวงยังไม่ย่ำแย่เท่ากับหัวใจของหนังแอ็คชั่นอย่าง คิวบู้และฉากต่อสู้ที่หนังทำได้อนาถใจมาก จนนักวิจารณ์หลายคนถึงกับส่ายหน้านี่ยังไม่รวมถึงแฟนหนังบู้ทั้งหลายที่บอกว่า นี่คือ หนังแอ็คชั่นที่ย่ำแย่ที่สุดของ จา พนม บางคนถึงกับบอกว่า ไม่ควรสร้างหนังเรื่องนี้มาด้วยซ้ำ

                และถ้าช่วยยืนยันความย่ำแย่ของหนังเรื่องนี้ได้ก็คงเป็นนักแสดงนำอย่าง จา พนม ที่หลังจากถ่ายหนังเรื่องนี้เสร็จก็จัดการบินหนีไปถ่ายภาพยนตร์เรื่อง Fast 7 ทันที โดยไม่ร่วมงานเปิดตัวเลยแม้แต่น้อยและที่สำคัญเขาก็ไม่เคยพูดถึงภาพยนตร์เรื่องนี้อีกเลยเช่นเดียวกับเหล่านักแสดงหลายคนที่ต่างปิดปากเงียบไม่พูดถึงเรื่องนี้ต่อไป

                และความล้มเหลวของภาพยนตร์แอ็คชั่นเรื่องนี้ก็ทำให้อนาคตของหนังแนวนี้ไม่แน่นอนและรู้สึกได้ถึงความมืดมนยิ่งกว่าเดิมเสียอีก

            3. ฟัดจังโตะ ความล้มเหลวของยอร์ช ฤกษ์ชัย

                ผมได้เขียนถึงภาพยนตร์ของยอร์ช ฤกษ์ชัย ในยุคปัจจุบันนี้ไปแล้วว่า เขาได้เปลี่ยนแนวจากการกำกับภาพยนตร์ตลกที่พูดถึงคนชนชั้นล่างหรือคนชายขอบมาเป็นหนังชนชั้นกลางที่ทั้งเรื่องมีสภาพเป็นเหมือนกับหนังสือรวมคำคมในเฟสบุ๊คไปแล้ว นั่นเองที่ทำให้ผมคาดการณ์ไว้ว่า แม้รายได้จะสามารถทำเงินไปได้พอสมควร แต่หนังของยอร์ชก็แทบจะเรียกได้ว่า ได้รับเสียงวิจารณ์ไม่ดีนัก สวนทางกับรายได้เสมอ อย่างเช่น คุณนายโฮ ที่ฉายไปเมื่อต้นปีที่แล้วก็ทำรายได้ไปกว่า 90 ล้านเลยทีเดียว กระนั้นเสียงวิจารณ์ในด้านคุณภาพและบทภาพยนตร์ของหนังต้องเรียกว่า ย่ำแย่จนหลายคนให้เป็นหนังไทยที่แย่ที่สุดไปเลย

                แต่ในเมื่อรายได้ดี ก็คงไม่มีใครสนใจหรอกครับ

                และปลายปีที่ผ่านมา ยอร์ช ฤกษ์ชัยก็กลับมาอีกครั้งกลับหนังเรื่องใหม่ที่ใช้ชื่อว่า ฟัดจังโตะ ที่เอาดาราหนุ่มที่มีข่าวฉาวอย่าง บอย ปกร และ ยิปโซ ที่บอกเล่าเรื่องราวของคนสองคนในประเทศญี่ปุ่นที่ยังคงเป็นหนังที่ยังคงเป็นหนังแบบยอร์ช ฤกษ์ชัยที่เรารู้จักกันอยู่ดี ทั้งมุขตลกแบบมุขชนมุข คำคมแบบหล่อ ๆ สวย ๆ จนชวนเลี่ยน แน่นอนว่า มันคือ หนังที่ฝ่ายค่ายหนังอย่าง M39 มั่นใจกันว่า จะต้องทำรายได้ไม่ต่ำกว่าเรื่องที่แล้วของเขาแน่ ๆ ทว่า แจ็กพ็อตแตกครับ เมื่อฟัดจังโตะกลายเป็นหนังที่ทำรายได้น้อยที่สุดของยอร์ช ฤกษ์ชัย คือทำรายได้ไปแค่ 50 ล้านกว่า ๆ เท่านั้น พร้อมเสียงวิจารณ์ที่ย่ำแย่พอ ๆ กับคุณนายโฮเสียด้วยซ้ำ

                แน่นอนว่า ปัจจัยทางการเมืองก็มีผลทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำรายได้ไปแค่นี้ แต่ต้องพูดว่า มันเป็นที่คุณภาพของหนังและมุกแบบยอร์ช ฤกษ์ชัยนั้นไม่แปลกใหม่อีกแล้วก็ได้

                นั่นเองที่ทำให้งานต่อไปของยอร์ช ฤกษ์ชัยนั้นถูกจับตามองว่า จะไปทางไหนต่อ

            4. หม่ำ จ๊กม๊ก และ พลังมวลมหาประชาชนชาวรากหญ้า

            หนึ่งในหนังที่ทำเงินได้สุดเซอร์ไพส์ใครหลายคนในปีนี้ต้องบอกว่า เป็นหนังตลกอีสานภาคต่อ อย่าง แหยม ยโสธรภาค 3 ของหม่ำ จ๊กม๊ก ที่ทำรายได้ไปกว่า 50 ล้านในกรุงเทพและปริมณฑล ท่ามกลางความตื่นตะลึงของใครหลายคนที่ไม่คาดคิด หนังเรื่องนี้จะสามารถทำรายได้มากถึงขนาดนี้ ทั้ง ๆ ที่มีปัจจัยหลายอย่างไม่ว่าจะเป็น ภาษาพูดของหนังที่ใช้ภาษาอีสานเป็นหลัก การที่หนังมันพูดคนอีสานและชนชั้นล่างจนอาจจะไม่ถูกจริตของคนดู และ หนังตลกคาเฟ่ได้ตายไปแล้วในสังคมไทย ทว่า หม่ำกับพิสูจน์ว่า เขาแม่นในสิ่งที่เขาทำจริง ๆ เพราะ นอกจากทำรายได้ดีแล้ว ภาคนี้ยังได้เสียงวิจารณ์ที่ดีกว่าภาคสองมากโขอยู่และที่สำคัญเพียง สี่คน ที่ประกอบในเรื่องก็โด่งดังพอ ๆ กับเพลง กลับมาทำไม ในภาคแรกด้วย แน่นอนว่า ปัจจัยที่ทำให้หนังเรื่องนี้ทำเงินไปมหาศาลคงต้องบอกว่า หนังมันสะท้อนภาพตัวตนของคนชนชั้นล่างชาวอีสานออกมาได้อย่างชัดแจ้ง และ ตรงจุดอย่างยิ่ง หนังเรื่องนี้เล่าเรื่องตรงไปตรงมาและถูกจริตของพวกเขาและส่งผลให้พวกเขาเข้ามาดูหนังกันอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง โดยเฉพาะโรงหนังแทบรอบนอกกรุงเทพ หรือ ปริมณฑล ซึ่งเป็นบริเวณที่มีคนอีสานเข้ามาทำงานกันมากมายแทบจะเรียกว่า โรงแทบแตกเลยก็ว่าได้

                นั้นทำให้เรารู้ว่า ไม่ใช่แค่ชนชั้นกลางในเมืองหรือวัยรุ่นเท่านั้นที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญแล้ว คนชนชั้นล่างก็พร้อมจะเป็นกลุ่มเป้าหมายของหนังเช่นกัน ถ้าคุณรู้จักทำหนังให้เข้าใจพวกเขาให้มากที่สุด

                อย่างเช่น ที่เกิดขึ้นกับหนังเรื่อง แหยมยโสธร 3 นี้

                ที่ช่วยยืนยันว่า หนังไม่ใช่ความบันเทิงเฉพาะคนชนชั้นกลางเท่านั้น

            5. ประชาธิปไทย ฟ้าต่ำแผ่นดินสูง ตั้งวง ใครบอกว่า หนังการเมืองขายไม่ได้

                สิ่งที่เรียกได้ว่า เป็นความแตกต่างอย่างยิ่งยวดในปีที่ 2013 ที่ผ่านมานั้นก็คือ การที่จู่ ๆ มีหนังสารคดีและหนังที่พูดถึงประเด็นหนัก ๆ อย่างการเมือง ความขัดแย้ง และ อัตลักษณ์ความเป็นไทย ออกมาถึงสามเรื่องเลยทีเดียว และแน่นอนว่า แต่ล่ะเรื่องล้วนแล้วเป็นหนังจากค่ายอิสระเล็ก ๆ ที่ไม่ได้มีพลังอะไรมากนัก ทว่า เนื้อหาของหนังก็ชวนให้คนสนใจไม่ใช่น้อย ไม่ว่าจะเป็น

                ประชาธิปไทย หนังสารคดีที่พูดถึง ประชาธิปไตย ของประเทศไทยตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 มาจนถึงยุคของทักษิณ ชินวัตร ในปี 2549 โดยผ่านการสัมภาษณ์นักวิชาการมากมายทุกฝ่ายทุกสีว่า อะไรคือ ประชาธิปไตยกันแน่

                ฟ้าต่ำ แผ่นดินสูง หนังสารคดีที่บอกเล่าเรื่องราวของชายแดนไทยและกัมพูชาในช่วงเวลาที่ทั้งสองประเทศกำลังมีข้อพิพาทเรื่องปราสาทเขาพระวิหาร ซึ่งจะพาไปให้เห็นถึงชีวิตของชาวบ้านทั้งสองประเทศที่อยู่ใกล้กันนี้อย่างใกล้ชิด

                ตั้งวง ภาพยนตร์เกี่ยวกับเด็กชายกลุ่มหนึ่งที่ต้องไปแก้บนหน้าศาลพระพรหมเอราวัณที่ราชประสงค์ ทั้ง ๆ ที่ตัวเองไม่ได้เป็นคนบนเองด้วยซ้ำ แน่นอนว่า มันคือ ภาพยนตร์ที่ตั้งคำถามถึงมายาคติความเป็นไทย การเมือง ศาสนา ได้อย่างน่าสนใจยิ่ง

                แน่นอนว่า การที่ภาพยนตร์ทั้งสามเรื่องนั้นมีโอกาสได้ลงโรงให้คนดูได้แบบนี้นั้นต้องฝ่าฝันอะไรหลายอย่างมากมายทั้งการเซ็นเซอร์ที่เข้มงวดจนทำให้ ฟ้าต่ำแผ่นดินสูง เกือบเรต ฉ หรือห้ามฉายกันไปเลยทีเดียว ก่อนจะต่อสู้จนยอมเซ็นเซอร์บางส่วนในช่วงต้นออกไป เช่นเดียวกับ ประชาธิปไทยที่มีการเซ็นเซอร์ตัวเองโดยไม่ดูดเสียงช่วงคำพูดที่ล่อแหลมออกไปแทน

                แน่นอนว่า มันได้สะท้อนภาพของการปิดบังทางความคิดของรัฐออกมาได้อย่างน่าสนใจว่า ประเทศนี้ยังมีอะไรที่พูดไม่ได้อยู่ และ ที่สำคัญมันยังปิดบังบางอย่างไว้ ท่ามกลางกระแสสายลมของอิสรภาพที่พัดผ่านมาสู่เมืองไทย

                ไม่ต้องแปลกใจที่จะมีหนัง เซ็นเซอร์ ต้องตายปรากฏตัวขึ้นและบอกเราว่า จะต้องมีอะไรสักอย่างที่ต้องปฏิรูปก่อนเลือกตั้งล่ะก็

                กองเซ็นเซอร์ก็คือ หนึ่งในนั้น

           6. หนังวัยรุ่น โลกนี้ไม่ได้สดใสเป็นสีชมพู

                สิ่งที่ต้องบอกว่า เป็นความน่าภูมิใจอย่างยิ่งในปีที่ผ่านมา แม้ว่า แนวหนังของประเทศไทยจะไม่เคยผ่านพ้นเรื่องราวของ ผี ตลก และ ความรักไปเลย แต่หนังเหล่านั้นก็พยายามหาทางฉีกตัวเองให้พ้นไปจากความซ้ำซากอันแสนน่าเบื่อตลอด ไม่ว่าจะเป็น หนังเรื่อง รักโง่ ๆ ที่พยายามบิดความซ้ำซากจำเจของหนังรักจนออกมาเป็นหนังรักแนวใหม่ แต่ที่น่าสนใจก็คือ ในปีนี้เรามีหนังวัยรุ่นหลายต่อหลายเรื่องออกฉายหลายเรื่อง แต่ที่น่าตกใจคือ หนังวัยรุ่นในปีนี้ไม่ได้พูดถึงชีวิตที่แสนสวยงามเหมือนโลกเป็นสีชมพูอีกแล้ว แต่มันกลับพูดถึงวัยรุ่นในด้านมืดที่ใครได้ดูแล้วต้องตกใจกันไปเลยทีเดียว

                ในบรรดาหนังวัยรุ่นในปีนี้แล้วต้องยอมรับว่า หนังเรื่อง เกรียนฟิคชั่น ของ ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล นั้นโดดเด่นมากที่สุดในปีนี้เลยทีเดียว ด้วยหน้าหนังที่หลายคนอาจจะคิดว่า มันเป็นเพียงหนังวัยรุ่นตลาด ๆ ดาด ๆ ที่คงไม่มีอะไรมาก แต่เอาจริงแล้ว มันเป็นหนังที่เข้าใจชีวิตวัยรุ่นและมองวัยรุ่นด้วยสายตาของคนวัยเดียวกันที่เข้าใจวัยรุ่นนั้นเป็นอย่างไร หนังพาเราไปสำรวจโลกวัยรุ่นอีกด้านที่ทั้งมืดมนยิ่ง หนังไม่ได้ฟูมฟายแต่ทำได้ดีจนน่าปรบมือและบอกได้เลยว่า นี่คือ หนังไทยที่ดีที่สุดเรื่องหนึ่งในปีนี้เลยทีเดียว

                ชีวิตวัยรุ่นที่พลิกพันหลังความตายของเพื่อนคนหนึ่งคือ สิ่งที่เกิดขึ้นกับ วัยรุ่นสองกลุ่มในหนังเรื่อง ทองสุก 13 และ Last Summer ฤดูร้อนนั้นที่ฉันตาย เพียงแต่ว่า หนังเรื่องหนึ่งนำเสนอการเอาคืนอย่างสาสมแบบตาต่อตาฟันต่อฟันที่เหยื่อมีต่อคนที่ทำร้าย และอีกเรื่องนั้นลงไปสำรวจผลกระทบที่เกิดขึ้นรอบตัวของผู้รอดชีวิตหลังจบการตายนั้น แน่นอนว่ามันได้พาเราไปสำรวจความชิบหายที่เกิดขึ้นในวัยรุ่นและช่วยบอกว่า หน้าฉากของมันไม่ได้สดใสอย่างที่เราคิดเลย เพราะ การตายของคนคนหนึ่งได้ฉุดให้คนที่อยู่ด้านหลังตกนรกลงไปพร้อม ๆ กัน แต่ที่สำคัญก็คือ ครอบครัวนั้นแหละที่อยู่เบื้องหลังความพินาศในชีวิตของวัยรุ่นนั้น ๆ

                นอกจากนี้ปรากฏการณ์ เต๋อ นวพล กับภาพยนตร์เรื่อง Mary is Happy , Mary Is Happy ที่ทำเงินไปมากมายทั้ง ๆ ที่เป็นเพียงหนังอิสระที่ฉายเพียงไม่กี่โรงเท่านั้นแถมยังพูดถึงระบบการศึกษาของประเทศไทยได้น่าสนใจอีกด้วย นั้นเองที่ทำให้มองย้อนไปยังหนังวัยรุ่นที่ฉายในปีนี้ด้วยสายตาแห่งความหวังว่า

                หนังวัยรุ่นจะไม่ใช่หนังวัยรุ่นไร้สติอีกต่อไป

            7.  การเมืองร้อนแรง หนังไทยทรุด

            ต้องบอกว่า การเมืองที่ร้อนแรงขึ้นในช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมานี้ทำให้หนังไทยหลายต่อหลายเรื่องที่ฉายตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคมไปจนถึงสิ้นปีนั้นต่างประสบปัญหาด้านรายได้ไปพร้อม ๆ กัน เรียกว่า พากันเจ๊งกันถ้วนหน้า ไม่ว่าจะเป็น ผีเข้าผีออก หนังผีตลกล้อเลียนขนบหนังผีไทยทั้งหลายที่ทำเงินไปไม่ถึงสิบล้าน รวมพลลูกทุ่งพันล้านที่อุตส่าห์ขนเหล่านักร้องลูกทุ่งชื่อดังมาให้เพียบแต่ทำเงินไปไม่มากนัก โอ้ มาย โกสต์ คุณผีช่วย หนังตลกเรื่องใหม่ของตุ๊กกี้ ชิงร้อยที่พิสูจน์ว่า ช่วงเวลารุ่งเรืองของเธอจบลงไปแล้ว รวมทั้ง ฟัดจังโตะ ที่บอกว่า หนังของยอร์ช ฤกษ์ชัยเองก็ตาม แน่นอนว่า ในช่วงที่สถานการณ์ทางการเมืองยังไม่ดีนักจนมาถึงเวลานี้ ภาพยนตร์ไทยได้รับผลกระทบอย่างหนักไม่ใช่น้อย ทำให้ปีใหม่ที่มาถึงนี้หลายคนได้แต่หวังว่า

ฟ้าหลังฝนจะสดใสขึ้นกว่านี้

…..

                สรุปก็คือ ไม่ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร ในปี 2013 นี้ ทุกคนยังคงหวังว่า เหตุการณ์ต่าง ๆจะสงบลงเสียที เราหวังว่าจะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้น ทุกคนเดินตามกติกาและเหตุการณ์สงบลงและทุกคนเดินหน้าทำงานของตัวเองไปเสียที

                ทว่ามันคงเป็นความฝันลม ๆ แล้ง ๆ เสียกระมั่งครับ

                ไปเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์นี้กันครับ (ถ้าไม่เกิดอุบัติเหตุทางการเมืองอะไรเสียก่อน)

                ขอให้กำลังใจประชาชนทุกคนไว้ ณ ที่นี้ครับ

บันทึกความทรงจำภาพยนตร์ไทยที่ควรพูดถึงในปี 2013

ทองสุก 13

จันดารา ปัจฉิมบท

พี่มาก พระโขนง

คู่กรรม

เกรียนฟิคชั่น

ประชาธิปไทย

สารวัตรหมาบ้า

แหยมยโสธร 3

โลงจำนำ

ตั้งวง

ม. 6/5 ปากหมาท้าผี

รักโง่ ๆ

รวมพลลูกทุ่งพันล้าน

ฟ้าต่ำแผ่นดินสูง

Mary is Happy, Mary is Happy

ธี่หยด : พลังอำนาจน่าสะพรึงของ Folk Horror

ปี 2515 ณ หมู่บ้านห่างไกลผู้คนในจังหวัดกาญจนบุรี แย้ม เด็กสาวผู้เคยป่วยหนักจนเกือบตายได้มีอาการแปลก ๆ เกิดขึ้น เธอเริ่มพูดจาด้วยคำหยาบคายกับคนในครอบครัวอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน เริ่มโกหกและยุแยงให้คนในบ้านแตกคอกัน รวมทั้งลุกขึ้นมาตอนกลางคืนเพื่อนกินของสดทำให้คนในครอบครัวโดยเฉพาะ หยาด เกิดความสงสัยขึ

สัปเหร่อ : คนตายคือ ครู และ คนอยู่คือ นักเรียน

สัปเหร่อ : คนตายคือ ครู และ คนอยู่คือ นักเรียน

 

          “ความตาย...มันฆ่าเฮาได้แค่ครั้งเดียว แต่ความฮัก มันฆ่าเฉาไปเรื่อยๆๆ จนกว่าเฮาสิตายพุ่นเด้”

บักมืด

 

คุณเอล์ฟโอตาคุ : นี่คือ อนิเมชั่นที่อยากให้รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมคนใหม่ได้ชม

                ระหว่างที่เขียนต้นฉบับบทความนี้อยู่นั้น การโหวตประธานรัฐสภาและรองประธานสองคนการประชุมสภาวันแรกได้จบลงแล้ว และ ผลคือ คุณวันมูหะมัดนอร์ มะทา จากพรรคประชาชาติ ดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภาคนใหม่ ร่วมกับ รองประธานสภาสองท่านจากพรรคก้าวไกล และ พรรคเพื่อไทย ที่เป็นเสมือนการเริ่มต้นคณะรัฐมนตรีช

เกิดใหม่เป็นลูกโอชิ : แสงสว่างของไอดอลและความมืดมิดของชีวิต

            คงไม่มีอนิเมชั่นเรื่องใดในซีซั่นนี้ที่เรียกว่า สร้างแรงสั่นสะเทือนให้กับบรรดาคนดูอนิเมชั่น และ คนดูหนังหลายคนได้เท่ากับ อนิเมชั่นซีรีย์เรื่อง Oshi no Ko หรือ ชื่อไทยว่า เกิดใหม่เป็นลูกโอชิ ผลงานดัดแปลงจากมังงะขายดีของ อากะ อาคาซากะ ที่ได้ฤกษ์ออกฉายไปเมื่อวันที่ 12 เมษายนที่ผ่านมาในตอน

Bocchi the rock : บทเพลงร็อคแด่คนขี้แพ้

                "พรมนิ้วลงไป หวังให้อัสนีกึกก้องด้วยละอองแสง

                  กระหน่ำตีเข้าไปให้ถึงปลายทางของความเจ็บปวด

                  ทำยังไงดี เสียงหัวใจดุร้ายอาละวาดไม่หยุดหย่อน