Skip to main content

นับเป็นครั้งแรกที่การวิจัยสารป้องกันการติดเชื้อ (ไมโครบิไซด์) รายงานผลความสำเร็จถึงประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงของการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ของคู่เพศสัมพันธ์หญิงชาย


แม้ว่าการนำเสนอผลการวิจัยสารป้องกันการติดเชื้อ (ไมโครบิไซด์) ที่ชื่อ โปร 2000 (PRO 2000) ต่อสาธารณะจะออกมาล่าช้ากว่ากำหนดการเดิม แต่นักรณรงค์เคลื่อนไหวเรื่องสารป้องกันการติดเชื้อ (ไมโครบิไซด์) ต่างขานรับอย่างยินดีถึงผลการวิจัยโปร 2000 (PRO 2000) ที่เผยแพร่ออกมา เพราะมีนัยยะสำคัญอย่างยิ่งต่อกระบวนการพัฒนาสารป้องกันการติดเชื้อ (ไมโครบิไซด์) ในลำดับต่อไป


มีผู้หญิงจำนวนกว่า 3,000 คนที่เข้าร่วมเป็นอาสาสมัครในการวิจัยสารป้องกันการติดเชื้อ (ไมโครบิไซด์) ภายใต้ชื่อผลิตภัณฑ์ โปร 2000 (PRO 2000)


ผลการวิจัยระบุว่าสารป้องกันการติดเชื้อ (ไมโครบิไซด์) “โปร 2000 -PRO 2000” สามารถลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีได้ถึง 30% แม้ว่าประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงจะยังไม่มีนัยสำคัญมากนัก นอกจากนี้อัตราความชุกของการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มผู้หญิงที่ใช้สารป้องกันการติดเชื้อ (ไมโครบิไซด์) “โปร 2000 -PRO 2000” นั้นมีเพียงร้อยละ 2.7 เท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับหลักฐานจากการศึกษาในผู้หญิงอีกกลุ่มหนึ่งมีถึงร้อยละ 4


แต่เมื่อนักวิจัยได้ทำการทบทวนผลการวิเคราะห์ซ้ำๆ รวมถึงนับจำนวนครั้งที่ผู้หญิงใช้ “โปร 2000 -PRO 2000” เมื่อมีเพศสัมพันธ์ พบว่า “โปร 2000 -PRO 2000”นั้นมีประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้สูงถึง 36 เปอร์เซ็นต์


ผลการวิเคราะห์ประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องชี้ให้เห็นว่า เมื่อผู้หญิงใช้สารป้องกันการติดเชื้อ (ไมโครบิไซด์) “โปร 2000 -PRO 2000” บ่อยมากขึ้น ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีก็จะลดลงตามมาด้วย


นอกจากนี้ความพยายามของนักวิจัยยังในการวิเคราะห์ถึงประสิทธิภาพของ “โปร 2000 -PRO 2000” ในการป้องกันการติดเชื้อในกลุ่มผู้หญิงที่ไม่ใช้ถุงยางอนามัยในขณะมีเพศสัมพันธ์และ “โปร 2000 -PRO 2000”เป็นวิธีการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ผลการวิเคราะห์ระบุว่า มีผู้หญิงเพียง 1 คน จากจำนวนทั้งสิ้น 100 คนเท่านั้นที่พบว่าติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับกับผู้หญิงที่ได้รับผลิตภัณฑ์หลอก (placebo) นั้นมีถึงร้อยละ 4 และนำมาซึ่งข้อสรุปที่ว่าสารป้องกันการติดเชื้อ-ไมโครบิไซด์: โปร 2000 -PRO 2000” มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติเชื้อเอชไอวีในกลุ่มผู้หญิงที่ไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัยได้ถึง 75เปอร์เซ็นต์


ต่อคำถามที่ว่า “สารป้องกันการติดเชื้อ
-ไมโครบิไซด์: โปร 2000 -PRO 2000” แล้วจะมีการนำส่งเสริมการใช้ได้อย่างไร?” หนึ่งในนักวิจัยได้ให้ข้อเสนอแนะว่า “โปร 2000 -PRO 2000 น่าจะเป็นผลิตภัณฑ์วิธีการป้องกันแบบใหม่สำหรับผู้หญิงที่ไม่มีทางเลือกในการป้องกันอื่นๆ”

 

ผลการทดลองสารป้องกันการติดเชื้อ-ไมโครบิไซด์ ซึ่งมีเทโนโฟเวียร์เป็นองค์ประกอบหลักลดความเสี่ยงการติดเชื้อในลิง


ผลการทดลองสารป้องกันการติดเชื้อ(ไมโครบิไซด์) ซึ่งมีเทโนโฟเวียร์ หรือ เทโนโฟเวียร์ พลัส เอฟทีซี (เอ็มทริไซตาบีน) เป็นองค์ประกอบหลักมีประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงในลิงชนิด pigtail macaque (M. nemestrina) ในการติดเชื้อไวรัสเอสเอชไอวี(SHIV) และไวรัสที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับไวรัสเอชไอวี


การทดลองโดยป้ายสารป้องกันการติดเชื้อ(ไมโครบิไซด์) ในช่องคลอดของลิงชนิด pigtail macaque ช่วง 30 นาทีก่อนที่จะได้รับไวรัสเอสเอชไอวี(SHIV) จำนวนทั้งหมด 20 ครั้ง พบว่าลิงเหล่านั้นไม่ติดเชื้อไวรัสดังกล่าว


ปริมาณยาเทโนโฟเวียร์ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญนั้นสูงถึง 30 มิลลิกรัม แต่เมื่อเปรียบเทียบปริมาณยากับน้ำหนักตัวของมนุษย์แล้ว ปริมาณยาเทโนโฟเวียร์ที่ใช้ในการวิจัยในมนุษย์จะต้องสูงกว่า 40 มิลลิกรัม ซึ่งเป็นปริมาณยาเทโนโฟเวียร์ที่ใช้ในการวิจัยในมนุษย์ในปัจจุบัน


 

แหล่งข้อมูล: NAM (www.aidsmap.org) CROI2009@nam.org.uk Tuesday, February 10, 2009

 

 

 

บล็อกของ มลฤดี ลาพิมล

มลฤดี ลาพิมล
นับเป็นครั้งแรกที่การวิจัยสารป้องกันการติดเชื้อ (ไมโครบิไซด์) รายงานผลความสำเร็จถึงประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงของการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ของคู่เพศสัมพันธ์หญิงชาย แม้ว่าการนำเสนอผลการวิจัยสารป้องกันการติดเชื้อ (ไมโครบิไซด์) ที่ชื่อ โปร 2000 (PRO 2000) ต่อสาธารณะจะออกมาล่าช้ากว่ากำหนดการเดิม แต่นักรณรงค์เคลื่อนไหวเรื่องสารป้องกันการติดเชื้อ (ไมโครบิไซด์) ต่างขานรับอย่างยินดีถึงผลการวิจัยโปร 2000 (PRO 2000) ที่เผยแพร่ออกมา เพราะมีนัยยะสำคัญอย่างยิ่งต่อกระบวนการพัฒนาสารป้องกันการติดเชื้อ (ไมโครบิไซด์) ในลำดับต่อไป
มลฤดี ลาพิมล
เมื่อความคิดความเชื่อและความเข้าใจต่องานบริการทางเพศในสังคม มักถูกนำเสนออยู่อย่างซ้ำๆ และอย่างต่อเนื่องว่าเป็น “อาชญากรรม และ ผิดศีลธรรม” เราคงไม่อาจปฏิเสธถึงการธำรงอยู่ของ “การตีราคา ตัดสินคุณค่า” คนทำอาชีพบริการทางเพศนี้ได้ เหตุผลที่ว่า “งานบริการทางเพศ” เป็นธุรกิจที่เต็มไปด้วยการเอารัดเอาเปรียบ ก็เป็นชุดเหตุและผลหลักที่มีอำนาจต่อความคิดความรู้สึกของผู้คน หากเราก็เคยได้ยินเรื่องเล่าที่แตกต่างหลากหลายเกี่ยวกับบริการทางเพศทั้งจากสื่อกระแสหลัก จากบทเรียนการทำงานขององค์กรและเครือข่ายคนทำงาน และจากคำบอกเล่าของพนักงานบริการทางเพศว่า
มลฤดี ลาพิมล
“เรื่องโจ๊ก เรื่องเจี้ย”  ซึ่งมีลักษณะสองแง่สองง่ามเกี่ยวข้องกับ “เรื่องทางเพศ” ที่เราๆ ท่านๆ นำมาเล่า เอามาบอกต่อ หรือนำมาแบ่งปันกันในที่ทำงาน ในงานแต่งงาน ในงานวันเกิด ในงานขึ้นบ้านใหม่หรืองานอะไรก็แล้วแต่นั้น  ยิ่งถ้าเรื่องเล่าทางเพศเหล่านั้นเจือปนด้วยความดุเด็ด เผ็ดมัน ขำขัน ตลกโปกฮา สนุกสนานมากเท่าไหร่ ผู้คนในสังคมก็ดูเหมือนจะเปิดใจ อ้าแขนรับ มีอารมณ์สนุกสนานคล้อยตาม และเปิดพื้นที่ให้เกิดการพูดคุยเรื่องเพศนั้นๆ ได้อย่างเต็มที่โดยมิได้ฉุกคิด ตั้งข้อสังเกต และแม้กระทั่งตั้งคำถามด้านผลกระทบต่อความเสื่อมทางศีลธรรมจริยธรรมของสังคม…