Skip to main content


เรียวรุ้งเหนือทุ่งกว้าง
เป็นวรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยนำงานที่ชนะการประกวดใน โครงการพัฒนาทักษะด้านการเขียนวรรณกรรมสำหรับเยาวชน มารวมเล่ม


โครงการนี้เกิดจากการร่วมมือของกรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ กับบริษัทนานมี บุ๊ค จำกัด โดยได้อัญเชิญวรรณกรรมเยาวชนในพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระเทพเรื่อง แก้วจอมซน และ แก้วจอมแก่น มาจุดประกาย


หนังสือเล่มนี้บรรจุวรรณกรรมเยาวชนในรูปแบบเรื่องสั้นทั้งหมด 30 ชิ้น จาก 30 ผู้เขียน โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ตามอายุ


เรียวรุ้งเหนือทุ่งกว้าง เป็นชื่อเรื่องสั้นเยาวชนที่ได้รางวัลชนะเลิศในระดับ 14-18 ปี ส่วนในระดับ 9-13 ปี และ 19-25 ปี คือ เรื่อง กว่าจะมาเป็นฝน และ เครื่องบินกระดาษของดอกฝ้าย ตามลำดับ



เรื่องสั้น กว่าจะมาเป็นฝน เขียนโดย “เด็กหญิงปัฐพร ตุกชูแสง” จากจังหวัดกระบี่ เป็นเรื่องราวของสายน้ำที่มีชีวิตจิตใจ สามารถคิดและรู้สึกได้เหมือนมนุษย์ สายน้ำบอกเล่าให้ฟังถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ได้พบเห็นขณะไหลผ่านไป เช่น ปลาที่กำลังจะตายเพราะน้ำเน่าเสีย ก่อนจะไปบรรจบพบพูดคุยกับสายน้ำสายอื่น ๆ ในมหาสมุทรกว้างแล้วแปรรูปกลายร่างไปเป็นเมฆขาวที่ลอยล่องบนท้องฟ้าหาทางกลับมาเป็นหยาดน้ำอีกหน


งานชิ้นนี้น่าใช้วิธีการเล่าแบบบุคลาธิษฐาน จินตนาการที่สอดใส่ลงไปทำให้รู้สึกเหมือนกับว่ากำลังอ่านเทพนิยาย มากไปกว่านั้น ยังแทรกประเด็นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมไว้พองาม น่าสนใจอย่างยิ่งเมื่อคิดไปว่าผู้แต่งเรื่องนี้คือเด็กที่อยู่ช่วงวัย 9-13 ปีเท่านั้น


บางครั้งฉันลอยผ่านทุ่งนาก็เห็นชาวนาแหงนหน้ามองมาที่ฉันแล้วทำตาละห้อยอย่างน่าสงสาร เขาคงอยากให้ฉันตกลงไปเป็นฝนเพื่อหล่อเลี้ยงต้นข้าวของเขา ฉันก็อยากลงไปช่วยเขาเช่นกันแต่ยังไม่ถึงเวลา ฉันจึงทำตาละห้อยตอบเขาแล้วลอยจากมา”


เรียวรุ้งเหนือทุ่งกว้าง เขียนโดย นางสาวปนัดดา ทวีวงศ์ จากจังหวัดจันทบุรี เขียนถึงชีวิตในวัยเรียนชั้นประถมตั้งแต่วันเปิดเรียนเข้า ชั้นประถม 1 จนจบชั้นประถม 6 ผู้เขียนบรรยายโดยใช้ ภาษาราวกับเป็นบทกวี


ความชื้นของเทือกเขา

ถูกพัดพามากับสายลมป่ายามเย็น

เหล่ากระรอกต่างส่งเสียง

เรียกหากันดังสะเทือนอยู่บนต้นเงาะ

ตะวันกำลังลับเหลี่ยมเขา

ความคิดมากมายของผม

เริ่มผุดขึ้นมาในสมอง

เหมือนหนังที่เอามาฉายซ้ำอีก

คิดถึงความสุข ความสนุกสนาน

กับชีวิตในวัยเรียน”


นอกจากนี้แล้วเรื่องเล่าสมัยประถมยังเปี่ยมด้วยอารมณ์ขันที่เกิดจากความไม่ประสีประสาของเด็ก เมื่อเข้าห้องเรียนครั้งแรก ครูประจำชั้นก็ทำการขานชื่อนักเรียน พอถึงรายชื่อของนักเรียนที่ชื่อ “สงกรานต์” กลับไม่มีนักเรียนคนใดขานรับ ครูขานชื่อซ้ำอีกแต่ก็ไม่มีใครตอบรับ ครูเดินไปที่เด็กนักเรียนคนหนึ่งแล้วถามว่า

เธอชื่ออะไร”

ชื่อหนูแดงครับ” เด็กชายลุกขึ้นตอบ

ใครเป็นคนตั้งชื่อให้เธอ”

แม่คับ แม่บอกว่าตอนที่ผมเกิดใหม่ ๆ ไข่ผมแดงแปร๊ดเลยคับ”

เธอนั่นแหละชื่อสงกรานต์ ไม่ใช่หนูแดง”



เครื่องบินกระดาษของดอกฝ้าย
เขียนโดยนายณัฏฐ์ธร กังวานไกล สมุทรปราการ เป็นเรื่องราวของเด็กหญิงดอกฝ้าย ที่สนใจอยากจะเป็นนักวิทยาศาสตร์อันได้เชื้อมาจากคุณปู่ที่เป็นนักประดิษฐ์และคุณพ่อที่ซ่อมแซมวิทยุและโทรทัศน์เก่ง


เด็กหญิงดอกฝ้ายซึ่งเกิดในครอบครัวฐานะดีต้องการจะเป็นเพื่อนกับเด็กหญิงฟ้าครามซึ่งมีฐานะยากจนอาศัยอยู่ในสลัม เด็กหญิงดอกฝ้ายใช้เครื่องบินกระดาษในการสื่อสารข้อความถึงกันจนกระทั่งได้เป็นเพื่อนรักกันในที่สุด ความโดดเด่นของเรื่องนี้น่าจะอยู่ตรงที่การใช้จินตนาการได้อย่างร่าเริง การใช้ภาษาอาจจะกระโดกเดกอยู่บ้างแต่เกร็ดความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่สอดแทรกไว้ก็ทำให้มีเสน่ห์น่าติดตาม.



บล็อกของ นาลกะ

นาลกะ
-1- หลานเกิดปีเดียวกับที่ผมเดินทางออกจากบ้าน มุ่งหาประสบการณ์และไล่คว้าหาความหมายของสิ่งที่เรียกว่าชีวิต  คืนวันของหลานที่เติบโตขึ้นด้วยความเอาใจใส่ของพ่อแม่คือจำนวนเวลาที่ผมจากบ้านเกิดเมืองนอน
นาลกะ
    คงเป็นเพราะรูปเล่มงามตาน่าหยิบจับและเครดิตก่อนเข้าสู่เนื้อเรื่องที่บอกว่า “เล็กน้อยมากจนสามารถนั่งอ่านข้าง ๆ เตียง ยิ่งใหญ่มากจนสามารถเปลี่ยนชีวิตทั้งชีวิต” เร้าความสนใจให้เปิดพลิกและลงมืออ่าน
นาลกะ
-1- ฉันเดินตัดผ่านสนามหลวงเพื่อไปขึ้นรถเมล์กลับหอพักเกือบทุกวัน เรื่องราวที่แทบจะเป็นแบบฉบับและเหตุการณ์ซ้ำ ๆ ที่ได้พบเห็นจากผู้คนแห่งสนามหลวงวันแล้ววันเล่า ทำให้เกิดภาพประทับในใจโดยไม่รู้ตัว เมื่อฉันได้รู้จักกับสนามหลวงมากขึ้น ฉันก็ได้พบว่าสถานที่แห่งนี้เปี่ยมไปด้วยสีสันและชีวิตชีวาอย่างแท้จริง ที่แห่งนี้มีเรื่องราวชีวิตของคนระดับล่างมากมาย แต่ละคน แต่ละชีวิตนั้นน่าจะปรากฏอยู่ในนิยายมากกว่าจะเป็นเรื่องจริง คนเหล่านี้ไม่ควรจะมีอยู่จริง!
นาลกะ
“ลูกผู้ชายหัวใจมีรัก(Man and Wife)” คือนิยายอันละเมียดบรรจงของ Tony Parsons เป็นผลงานภาคต่อจาก “ลูก(ผู้)ชายหัวใจคุณพ่อ (Man and Boy)” ซึ่งเคยสร้างความเกรียวกราวในแวดวงนักอ่านได้มากพอสมควร(ผมเคยวิจารณ์ไว้แล้วที่ http://blogazine.prachatai.com/user/nalaka/post/1562 ) ฝีมือแปลโดย ภัสรี สิงหเดช  
นาลกะ
โดยทั่วไปแล้ว หนังสือของสำนักพิมพ์ “ผีเสื้อ” สามารถการันตีคุณภาพ(แต่ไม่การันตียอดขาย) ได้ในระดับหนึ่ง เรียกได้ว่าไม่มีคำว่าผิดหวังในแทบทุกเล่มเพราะว่าโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นวรรณกรรมแปล! “พ่อผมไม่เคยฆ่าใคร” ซึ่งเขียนโดย ฌ็อง-หลุยส์ ฟูร์นิเย่ร์ และแปลโดย วัลยา วิวัฒน์ศร ก็เช่นเดียวกัน
นาลกะ
วรรณกรรมเยาวชนรางวัลชมเชยประเภทบันเทิงคดีสำหรับเยาวชน ก่อนวัยรุ่น (12-14) จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติปี 2530 และได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 100 เล่ม ที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน โดยฝีมือการประพันธ์ของนักเขียนซึ่งเป็นรู้จักกันดี "อัศศิริ ธรรมโชติ"
นาลกะ
ด้วยชื่อเรื่องที่ไม่คุ้นหู และหน้าปกเป็นรูปน้ำตกกลางป่าสวยงาม วรรณกรรมเยาวชนเล่มนี้ชวนให้สะดุดใจและเปิดอ่าน ซึ่งก็ใช้เวลาอ่านไม่นานนักก็จบเล่มเพราะมีความหนาไม่ถึง 50 หน้ารวมภาพประกอบ
นาลกะ
ผลงานเรื่องนี้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ จากการประกวดวรรณกรรมเยาวชนรางวัลแว่นแก้ว ครั้งที่ 2 ผู้เขียนคือ “เก็ตตะหวา” วาดภาพประกอบโดย ธีระพงษ์ บัวระเพชร และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค เจ้าเก่า แก่นแกนของเรื่องคือพัฒนาการของเด็กผู้หญิงที่ชื่อ “ผิงผิง” ซึ่งอาศัยอยู่กับพ่อแม่บุญธรรม และไม่ใคร่จะชอบพ่อที่แท้จริงนักเพราะคิดว่าพ่อทอดทิ้งเธอซ้ำยังปล่อยให้แม่ตาย แต่ที่จริงแล้วพ่อของเธอนั้นรักเธอมาก เหตุที่ต้องฝากเธอไว้กับคนอื่นนั้นเพราะหน้าที่การงานที่เป็นนักมายากลต้องตระเวณแสดงไปตามที่ต่าง ๆ ทั้งคนที่นำลูกไปฝากไว้นั้นก็เป็นเพื่อนเก่าและเป็นนายอำเภอที่ไม่มีลูกของตนเองสามารถดูแลผิงผิงได้
นาลกะ
  เรื่องเล่ามหาสนุกจากทุ่งหญ้าสีเขียว เป็นวรรณกรรมเด็กที่โด่งดังของธอร์นทัน ดับบลิว. เบอเกตส์ (Thornton W. Burgess) เขาได้แต่งเรื่องเล่าเกี่ยวกับสัตว์ป่าและธรรมชาติเป็นนิทานก่อนนอนสำหรับลูกชาย ปลูกฝังให้ลูกชายเติบโตขึ้นอย่างมีความมั่นคงทางอารมณ์และจิตใจ ต่อมาได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือชุดรวม 20 เล่ม ได้รับผลสำเร็จอย่างมาก จนเขาได้แต่งเรื่องเล่าเพิ่มเติมรวม 170 เรื่อง
นาลกะ
  วันนี้ขอเปลี่ยนจากวรรณกรรมไทยมาเป็นวรรณกรรมต่างประเทศกันบ้าง หลังจากอ่านวรรณกรรมเล่มนี้จบแล้ว ยอมรับว่ารู้สึกได้ถึงความแตกต่างระหว่างวรรณกรรมเยาวชนของไทยและต่างประเทศ ทั้งสำนวนภาษา ทั้งเทคนิคลีลาการเล่าเรื่องและความเข้มข้นจัดจ้านของเนื้อหา ขอบ่นนิดหนึ่งว่าเท่าที่อ่านและเขียนถึงวรรณกรรมเยาวชนของไทย จำนวนไม่น้อยถ้าไม่เล่าเรื่องชนบทเรียบ ๆ ง่าย ๆ ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นติดตามแล้วก็มักจะบรรเจิดเพริศแพร้วในเรื่องจินตนาการมากเสียจนกลายเป็นนิทานก่อนนอนไปหรือไม่ก็เขียนสำหรับให้เยาวชนอ่านเท่านั้น ไม่ท้าทายผู้อ่านวัยอื่น ๆ แต่อย่างไรเสีย เชื่อว่าวรรณกรรมเยาวชนไทยคงจะได้พัฒนาขึ้นเป็นลำดับ…
นาลกะ
"โลกนี้ยังมีเพื่อน" คือหนังสือรวมนิทานยอดเยี่ยม รางวัลมูลนิธิเด็ก หนังสือเล่มนี้รวมนิทานไว้ทั้งหมด 7 เรื่องด้วยกัน ตั้งชื่อเล่มตามชื่อนิทานที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมจากการประกวดในปีที่ 12 นอกจาก "โลกนี้ยังมีเพื่อน" ซึ่งได้รับรางวัลนิทานยอดเยี่ยมแล้ว ยังมีเรื่องนิทานเรื่อง "นักวาดพู่กันวิเศษ" ที่โดดเด่นจนได้รับรางวัลความคิดสร้างสรรค์ยอดเยี่ยม ส่วนที่เหลืออีก 5 เรื่องได้รับรางวัลชมเชย
นาลกะ
ลูกแม่น้ำโขง วรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทาน "แว่นแก้ว" ชนะเลิศรางวัลที่ 3 คืออีกหนึ่งผลงานจากนานมีบุ๊ค เขียนโดย "เขมชาติ" แม้ว่าลูกแม่น้ำโขงจะเดินตามขนบวรรรกรรมเยาวชนแบบที่เขียน ๆ กัน ที่มักพูดถึงชนบทอันงดงามที่ผู้คนพึ่งพาช่วยเหลือกัน สภาพธรรมชาติที่ผูกพันแวดล้อมวิถีชีวิต การเล่นซนของเด็ก ๆ และข้อคิดทางด้านคุณธรรม เป็นต้นว่า การไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ความมีน้ำใจ  ถึงกระนั้น ลูกแม่น้ำโขง ก็ยังคงน่าอ่านด้วยการบรรยายอย่างมีชีวิตชีวา  เพราะแม่น้ำโขงแม้นจะไหลอย่างที่เคยไหลก็ยังคงน่ามองและมีเสน่ห์อยู่เสมอ