Skip to main content

20080420

“รพินทรนาถ ฐากูร” เขียน
“วิทุร  แสงสิงแก้ว” แปล
“ปรีชา  ช่อปทุมมา” แปล

“เยี่ยมหน้าให้เขายล อ้ายหนูเอ๋ย
เพื่อว่าพวกเขาจะได้ซึมซาบในความหมาย
แห่งสรรพสิ่ง จงทำตัวให้พวกเขารัก
เพื่อว่าพวกเขาจะได้รู้จักรักใคร่ซึ่งกันและกันบ้าง”
(สำนวนแปลของปรีชา ช่อปทุมมา)

นอกจากปรีชา ช่อปทุมมา ศิษย์แห่ง “สำนักศานตินิเกตัน” โดยตรงซึ่งพิมพ์รวมเล่มครั้งแรกในปีพ.ศ. 2526 แล้วยังมีนายแพทย์วิทุร  แสงสิงแก้ว อีกผู้หนึ่ง ที่แปลบทกวีล้ำค่าเรื่องนี้ไว้ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2512 ทั้งยังเคยได้รับเลือกให้เป็นหนังสืออ่านประกอบวิชาภาษาไทยในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เมื่อหลายปีมาแล้ว

แม้ว่าบทกวี “จันทร์เสี้ยว” นี้จะพูดถึงเรื่องเด็ก ตลอดจนความสัมพันธ์อันลึกล้ำระหว่างแม่กับลูก (หรืออาจเป็นพ่อกับลูกก็ได้แล้วแต่จินตนาการและความต้องการของผู้อ่าน) แต่ก็เป็นหนังสือที่เหมาะสำหรับใครก็ตามที่กำลังค้นหาแรงดลใจจากคุณค่าชีวิต  จากความสัมพันธ์อ่อนโยนระหว่างมนุษย์พึงมีกับมนุษย์

จำได้ว่า บทกวี “จันทร์เสี้ยว” นี้ ข้าพเจ้าเคยนำติดตัวอยู่เสมอในยามเดินทางท่องไปในวัยหนุ่มราวกับเป็นคัมภีร์ชีวิต สะท้อนสะท้านใจกับโลกของความเป็นเด็ก(ที่หลบซ่อนอยู่ในส่วนใดส่วนหนึ่งในตัวเอง) ตลอดจนความรักที่ผู้เป็นพ่อหรือแม่มีต่อลูกน้อย และรู้สึกประหลาดใจกับความสามารถของผู้ประพันธ์ที่วาดแต่งจินตนาการแห่งความเป็นเด็กใส่ไว้ในโลกของภาษาอย่างไพเราะ

บทกวี “จันทร์เสี้ยว” ทำให้เชื่อว่าความงามแห่งความเป็นมนุษย์และความรักอันสูงส่งนั้นมีอยู่จริงซึ่งไม่ต้องไปหาที่ไหนไกล หากแต่สามารถหาได้จากความสัมพันธ์กับคนใกล้ตัวซึ่งในที่นี้คือแม่กับลูกน้อย

ข้าพเจ้าอ่านจนจำได้ขึ้นใจว่าแต่ละบทแต่ละคำนั้นไพเราะอย่างไร  จินตนาการของผู้ประพันธ์เกี่ยวกับเด็กนั้นช่างน่าพิศวงซึ่งมีแต่กวีที่แท้จริงเท่านั้นที่ทำได้ คนที่แสร้งทำเป็นกวีหรือนักแกะสลักถ้อยคำโดยทั่วไปนั้นไม่อาจทำเช่นที่ “รพินทรนาถ ฐากูร” กวีรางวัลโนเบลที่น่าภาคภูมิใจของโลกตะวันออกทำได้

อย่างไรก็ตาม ส่วนหนึ่งต้องยกความดีให้กับผู้แปลทั้งสองท่านด้วยที่นอกจากมีรสนิยมในการอ่าน การแปลแล้ว ยังสามารถในการเลือกสรรคำร้อยเรียงออกมาเป็นภาษาไทยซึ่งใครจะชอบสำนวนแปลของใครมากกว่ากันนั้นก็แล้วแต่ผู้อ่าน

คำว่า “จันทร์เสี้ยว” นั้น ผู้รู้บางท่านให้ความหมายว่าคือสิ่งสวยงามที่จุติมาครั้งแรกด้วยความบริสุทธิ์ผุดผ่องและจะต้องเติบโตขึ้นไปจนเต็มที่ตามวันเวลาที่ผ่านไป เช่นเดียวกับความงามของพระจันทร์วันเพ็ญซึ่งค่อย ๆ สว่างมาจากรัศมีของพระจันทร์เสี้ยวในคืนแรก ๆ ที่ปรากฏขึ้นบนขอบฟ้า

ข้าพเจ้าขอยกบทกวีมาให้อ่านสักบทหนึ่งซึ่งแสดงให้เห็นถึงจินตนาการของผู้ประพันธ์ที่เสมือนเข้าไปนั่งอยู่ในความรู้สึกนึกคิดของเด็ก

ความเห็นใจ

ถ้าผมเป็นเพียงลูกหมาตัวเล็ก ๆ ไม่ใช่ลูกแม่ละก้อ เมื่อผมพยายามจะกินอาหารจากจาน แม่ครับ, แม่จะพูดไหมว่า “ไม่เอานะ”
แม่จะไล่ผม และตวาดไหมว่า “ไปให้พ้น ไอ้ลูกหมาซุกซน”
ไปซิครับแม่ ผมจะไปเด็ด ๆ ! จะไม่เดินเข้ามาหาเมื่อแม่เรียก จะไม่ยอมให้แม่เลี้ยงอีกเลย
ถ้าผมเป็นเพียงนกแก้วขนเขียวตัวเล็ก ๆ ไม่ใช่ลูกแม่ละก้อ แม่ครับ, แม่จะล่ามโซ่เพราะเกรงว่าผมจะบินหนีไหม แม่จะชี้นิ้วและดุไหมว่า “ไอ้นกเนรคุณ จิกโซ่ได้ทั้งวันทั้งคืน”
ไปซิครับแม่, ผมจะไปจริง ๆ ! จะบินเข้าป่า ไม่ยอมให้แม่กอดอีกแล้ว.
                    (สำนวนแปล ปรีชา ช่อปทุมมา)

ความไร้เดียงสาน่ารักในวัยเด็กถูกแปรรูป และยกระดับขึ้นให้กลายเป็นความงดงามที่จรรโลงใจโดยถ้อยคำง่าย ๆ ลองดูอีกบทหนึ่ง

เมื่อใดและทำไม

เมื่อใดที่พ่อนำของเล่นสารพัดสีมาฝากเจ้า ลูกเอ๋ย พ่อเกิดความเข้าใจขึ้นว่า ทำไมจึงมีการเล่นสีสันบนก้อนเมฆ บนท้องฟ้าและบนกลีบผกา...เมื่อพ่อนำของเล่นสารพัดสีมาฝากเจ้านั่นแหละ
เมื่อใดที่พ่อร้องเพลงเพื่อเป็นจังหวะให้เจ้าเต้น พ่อรู้ชัดว่าทำไมจึงมีเสียงดนตรีจากใบไม้และทำไมคลื่นจึงประสานเสียงบำเรอโสตแห่งแผ่นดิน...เมื่อพ่อร้องเพลงเป็นจังหวะให้เจ้าเต้นนั่นแหละ
เมื่อใดที่พ่อยื่นขนมใส่มือตะกละของเจ้า    พ่อรู้ชัดว่าทำไมจึงมีน้ำหวานในกระเปาะดอกไม้และทำไมผลไม้แผกพันธุ์จึงถูกเติมด้วยรสเลิศอย่างลึกลับ...เมื่อพ่อยื่นขนมใส่มือตะกละของเจ้านั่นแหละ
เมื่อใดที่พ่อจูบแก้มเจ้าเพื่อเย้าให้ยิ้ม ลูกเอ๋ย พ่อเกิดความรู้สึกว่าลำแสง จากท้องฟ้ายามเช้าและสายลมเย็นแห่งคิมหันต์นำความสุขเพียงใดมาสู่พ่อ...เมื่อพ่อจูบแก้มเจ้าเพื่อเย้าให้ยิ้มนั่นแหละ

                                   (สำนวนแปล ปรีชา  ช่อปทุมมา)

ข้าพเจ้ากลับมาอ่าน “จันทร์เสี้ยว” อีกครั้งหนึ่งเพื่อค้นหาแรงดลใจให้กับตัวเอง กลับบ้านหนนี้ข้าพเจ้าจึงนำ “จันทร์เสี้ยว” ติดตัวไปด้วย
                                                 

บล็อกของ นาลกะ

นาลกะ
วรรณกรรมจากแดนไกลเล่มนี้ คงไม่ใช่วรรณกรรมเยาวชนในความหมายที่เหมาะสำหรับการส่งเสริมจินตนาการและการผจญภัยอันสนุกสนานของเด็ก ๆ ในแบบเดียวกับ “แฮร์รี่ พอตเตอร์” แม้ว่าชื่อเรื่องจะฟังดูชวนฝัน เสริมสร้างจินตนาการแบบเดียวกับ “เจ้าชายน้อย” ของ อังตวน เดอ เซงเตก ซูเปรี ก็ตาม ตรงกันข้ามทีเดียวนี่เป็นวรรณกรรมที่เหมาะสำหรับนักอ่านประเภท “ฮาร์ดคอร์” โดยแท้ ซึ่งวรรณกรรมประเภทนี้เนื้อหาสาระจะนำมาซึ่งความบันเทิงประทับใจ เนื้อหาสาระอันเข้มข้นและลีลาลูกเล่นในการเล่าเรื่องต่างหากที่จะก่อให้เกิดความบันเทิงเริงใจ ไม่ใช่สาระบันเทิงแบบรายการ “ตาสว่าง” ที่ดูแล้วชวนให้มืดมัวด้วยอคติและความไม่เข้าใจมากยิ่งขึ้น…
นาลกะ
เคยได้ยินชื่อ “ขบวนการนกกางเขน” มานานแล้ว แต่ไม่เคยรู้ว่าคืออะไร จนกระทั่งเห็นหนังสือชื่อเดียวกันนี้วางอยู่บนชั้นและลงมืออ่าน จึงได้รู้ว่า “ขบวนการนกกางเขน” เป็นวรรณกรรมเยาวชนต่างประเทศที่แปลโดย “แว่นแก้ว” “ขบวนการนกกางเขน” เป็นทั้งชื่อหนังสือและชื่อเรียกของกลุ่มตัวละครเด็ก ๆ ในเรื่อง เด็ก ๆ ถูกวาดให้มีหลากหลายบุคลิก ตั้งขบวนการ รวมตัวกันหาเรื่องสนุก ๆ ทำ จนกระทั่งเข้าไปผจญภัยในห้องใต้ดินและนำไปสู่การค้นพบขุมทรัพย์ในที่สุด ความน่าสนใจของหนังสือเล่มนี้น่าจะอยู่ที่ผู้แปลมากกว่าผู้เขียน  สำหรับผู้เขียนชาวฝรั่งเศสคือ Madeleine Treherne  ตั้งชื่อหนังสือเล่มนี้ในภาคฝรั่งเศสว่า Rossignols…
นาลกะ
“ดิบส์ลูกรัก แม่และพ่อขอโทษ”1 แปลมาจากเรื่อง “Dibs In Search of Self” เป็นหนังสือเกี่ยวกับเด็กที่ไม่ใช่นวนิยายที่จัดได้ว่าเป็น Bestseller  อย่างไรก็ตามหนังสือเรื่องนี้อ่านสนุกน่าติดตามราวกับเป็นวรรณกรรมเยาวชน (จะว่าไปเรื่องราวของเด็ก ๆ ก็เป็นวรรณกรรมในตัวมันเองอยู่แล้ว)ผมเจอหนังสือเล่มนี้โดยบังเอิญในห้องสมุด อ่านเพียงผ่าน ๆ แต่แรงดึงดูดบางประการทำให้วางไม่ลงและอ่านต่อไปด้วยความเพลิดเพลินจนจบ ผิดกับหนังสือหลายเล่มที่ในระยะหลังผมมักจะอ่านไม่จบ ไม่ใช่ไม่มีเวลา แต่ไม่มีแรงดึงดูดให้อ่าน แต่สำหรับเรื่อง “ดิบส์ลูกรัก แม่และพ่อขอโทษ” นี้เป็นข้อยกเว้นจริง ๆ“ดิบส์ลูกรัก แม่และพ่อขอโทษ”…
นาลกะ
 อนาโตล ฟรองซ์  เขียนไกรวรรณ  สีดาฟอง แปลอนาโตล ฟรองซ์ นักเขียนชาวฝรั่งเศสได้รับรางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรมในปี 1921 เขาเป็นชาวปารีส กำเนิดมาท่ามกลางกองหนังสือเก่าของบิดา เขากลายเป็นนักเขียนแถวหน้าด้วยผลงานเรื่อง “ซิลเวอร์แตร์ บงนาร์ด” (1881)  หลังจากนั้นก็สร้างสรรค์นวนิยายออกมาหลายชิ้นที่โด่งดังมากก็คือ “หมู่เกาะนกเพ็นกวิน” (1908) นวนิยายเชิงเสียดสีที่มีฉากหลังเป็นการปฏิวัติฝรั่งเศสที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณกรรมชิ้นเยี่ยมเล่มหนึ่งของศตวรรษ 20ผลงานเรื่อง “หมู่เด็กแห่งทุ่งดอกไม้”  เขียนขึ้นตอนบั้นปลายของชีวิตของเขา น่าสังเกตว่าหลังจากเขียนงานวรรณกรรมประเภท “สร้างสรรค์…
นาลกะ
“รพินทรนาถ ฐากูร” เขียน“วิทุร  แสงสิงแก้ว” แปล“ปรีชา  ช่อปทุมมา” แปล“เยี่ยมหน้าให้เขายล อ้ายหนูเอ๋ย เพื่อว่าพวกเขาจะได้ซึมซาบในความหมายแห่งสรรพสิ่ง จงทำตัวให้พวกเขารักเพื่อว่าพวกเขาจะได้รู้จักรักใคร่ซึ่งกันและกันบ้าง”(สำนวนแปลของปรีชา ช่อปทุมมา)
นาลกะ
 จอห์น  โฮลท์  เขียนกาญจนา  ถอดความหนังสือเล่มนี้พูดถึงเด็ก ๆ ทั้งหลายที่อาศัยอยู่ร่วมในสังคมเดียวกับพวกเรา โดยต้องการพิจารณาดูว่าเด็กทั้งหลายนั้นถูกจัดวางให้อยู่ในตำแหน่งแห่งที่ใดในสังคม (หรือสังคมปัจจุบันอาจจะไม่ได้มีที่ว่างไว้ให้พวกเด็ก  ๆ เลย?)  ผู้เขียนมีทัศนะที่ก้าวหน้ามากในประเด็นที่รายล้อมอยู่รอบตัวเด็ก และเต็มไปด้วยการวิพากษ์วิจารณ์ค่านิยม ความเชื่อและพฤติกรรมที่มีผู้ใหญ่มีต่อเด็กอย่างถึงรากถึงโคนจนบางคนอาจจะรับไม่ได้ นอกจากหนังสือเล่มนี้ที่แปลมาจาก Escape from Childhood แล้วผู้เขียนซึ่งเคยเป็นครู มีประสบการณ์ในการคลุกคลีกับเด็กมายาวนาน  …
นาลกะ
อาการป่วยของแม่ทุเลาลง แต่ยังไม่หายเป็นปกติเพราะโรคฉวยโอกาสบางชนิดที่ยังทำให้แม่อ่อนเพลีย คุณหมอมาดูแลอาการของแม่บ่อยครั้ง คุณหมอจะยิ้มอย่างปลอดโปร่งใจทุกครั้งเมื่อตรวจดูอาการของแม่เสร็จ สายรุ้งไม่แน่ใจว่ารอยยิ้มของคุณหมอมีความหมายว่าอะไร อาจหมายถึงว่าแม่จะกลับมามีสุขภาพแข็งแรงดังเดิมหรือเพื่อปลอบใจสายรุ้งกันแน่ หรือว่าคุณหมอที่ไหน ๆ ต่างก็มีรอยยิ้มลักษณะเช่นนี้“แม่ผมเป็นยังไงบ้างครับ”คุณหมอทำท่าตรึกตรองราวกับกำลังหาคำอธิบายที่เหมาะ ๆ นั่นยิ่งทำให้สายรุ้งรู้สึกกังวลหนักขึ้น“หนูต้องดูแลแม่ดี ๆ นะ” คุณหมอตอบ “หนูรู้ไหมว่าหนูมีส่วนอย่างมากในการทำให้คุณแม่หายจากอาการป่วยไว ๆ” “…
นาลกะ
คุณตาและน้ามลมาที่บ้านสายรุ้งบ่อยขึ้น เพราะแม่ของสายรุ้งไม่สบาย แม่เป็นลมหมดสติขณะกำลังทำงาน โชคดีที่ตอนนั้นสายรุ้งอยู่ที่บ้านด้วย สายรุ้งตกใจมากที่เห็นแม่ล้มลงและหมดสติเขาวิ่งไปตามคุณตาและน้ามลสายรุ้งไม่เข้าใจเลยว่าแม่ล้มป่วยได้อย่างไรในเมื่อดูแลตัวเองดีมาโดยตลอด  แม่เคร่งครัดต่อวิถีชีวิตประจำวันอย่างมาก นอนและตื่นตรงเวลาเหมือนกันทุกวัน ระวังให้ไม่โดนแดด โดนฝน แม่เลือกทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายเท่านั้น อาหารที่ผ่านการหมักดองแม่ไม่ทานเด็ดขาด ผัก ผลไม้ที่ซื้อมาจากตลาดแม่ล้างแล้วล้างอีก อาหารทอดหรือปิ้งย่าง แม่ก็ไม่ทาน ทั้งแม่ยังออกกำลังกายเป็นประจำอีกด้วย…
นาลกะ
วันเวลาเคลื่อนคล้อยไปจนใกล้สิ้นปี สายรุ้งและแม่ผ่านวันเวลาร่วมกันมาอย่างกล้าหาญ เช่นเดียวกับต้นไม้ที่ยืนหยัดอยู่ท่ามกลางลมพายุ รู้จักการโอนเอนตามแรงลมเมื่อพายุกระหน่ำหนักในขณะที่รากนั้นยึดเกาะดินไว้อย่างมั่นคงสายรุ้งมีอายุเพิ่มมากขึ้นอีกปี การผ่านวันเวลาไปจนมีอายุเพิ่มขึ้นหนึ่งปีนั้นอาจเป็นเรื่องปกติสำหรับคนอื่น ๆ แต่สำหรับแม่ของสายรุ้งแล้ว เธอรู้ว่ามันเป็นสิ่งที่มีความหมาย และความสำคัญอย่างยิ่งยวด เธอตระหนักถึงคุณค่าของแต่ละวินาที และรู้ว่ากาลเวลาในหนึ่งวินาทีของเธอกับของคนอื่นนั้นแตกต่างกันด้วยเหตุว่าเธอมีมาตรวัดความยาวนานของเวลาต่างออกไป ส่วนสายรุ้งอาจยังเด็กเกินไปที่จะเข้าใจในเรื่องนี้ “…
นาลกะ
สายรุ้งก็เหมือนกับเด็กคนอื่นๆ ที่เพลิดเพลินกับการเล่นเกมคอมพิวเตอร์  เกมที่มีภาพสวยงามดึงดูดสายตาและสามารถติดต่อสัมพันธ์ คุยเล่นสนุกกับคนที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนได้ผ่านการเชื่อมต่อกับโลกไซเบอร์ การสร้างสีสันสวยงามเกินจริง การออกแบบฉากที่อลังการ ไม่ว่าจะเป็นตึกอาคาร ตัวสัตว์ประเภทต่าง ๆ  และความน่าตื่นตาตื่นใจกับสิ่งที่ปรากฏในเกม ยั่วเย้าเร้าความสนใจของสายรุ้งและเด็กคนอื่นๆ จนไม่อาจต้านทานได้หากเล่นเกมที่ร้านเกมซึ่งมีเด็กๆ ไปชุมนุมกันนั้น สายรุ้งจะนั่งเล่นไม่นานนัก แค่เพียงชั่วโมงหรือสองชั่วโมงเท่านั้น เพราะแม่ไม่ต้องการให้เขาขลุกอยู่ที่ร้านเกมนานเกินไป…
นาลกะ
เมฆฝนตั้งเค้าทำท่าเหมือนว่าจะเทน้ำลงมา แต่ก็ไม่เคยหล่นลงมาสักหยด สายลมจะพัดพาเมฆให้ลอยไปที่อื่น จากนั้นท้องฟ้าก็จะปลอดโปร่งเหมือนเดิม ชาวสวนที่เฝ้ารออยู่แหงนหน้าขึ้นฟ้าหวังจะได้เห็นเม็ดฝนโปรยปราย เมล็ดพืชที่หว่านไว้รอเพียงฝนแรกเท่านั้นก็จะแทงยอดอ่อนออกมาท้องฟ้าครึ้ม เมฆสีดำลอยต่ำและบดบังความร้อนแรงแห่งแสงอาทิตย์ อากาศยามสายขมุกขมัว  “วันนี้ฝนจะตก” ตาพูดกับเด่นและสายรุ้ง “ดูฝงมดพวกนั้นสิพากันอพยพเพราะมันรู้ว่าน้ำจะเจิ่งนองท่วมรังของมัน” สายรุ้งแหงนหน้าขึ้นมองท้องฟ้า ท้องฟ้าช่างดูอึดอัดด้วยบรรยากาศอันอึมครึม นกฝูงบินตัดก้อนเมฆที่คล้อยลงต่ำ“เราจะได้เล่นน้ำ” เด่นว่าแล้วฝนก็เทลงมาจริงๆ…
นาลกะ
วันนี้เพื่อนร่วมชั้นเรียนคนหนึ่งของสายรุ้งมาโรงเรียนสาย พอครูถามเขาก็ตอบว่าที่บ้านเขากำลังมีปัญหา พ่อของเขาป่วยหนัก เมื่อสายรุ้งเห็นแววตาเศร้าสร้อยของเพื่อนนักเรียนคนนั้นแล้วรู้สึกสงสารจับใจ เพื่อนนักเรียนกำลังจะร้องไห้อยู่แล้วตอนที่ตอบคำถามของครู เป็นไปได้ว่าสายรุ้งอาจกำลังคิดถึงตัวเองที่สูญเสียพ่อไปตั้งแต่ยังเล็ก แล้วก็เลยเข้าใจความรู้สึกของเพื่อนนักเรียนคนนั้นดีว่าจะต้องเสียใจมากเพียงใดหากพ่อของเขาต้องมีอันเป็นไป อย่างไรก็ตาม เด็กบางคนไม่ได้รู้สึกอย่างที่สายรุ้งรู้สึก ความทุกข์ใจของเพื่อนนักเรียนอันเนื่องมาจากความเจ็บป่วยของพ่อซึ่งเป็นเสาหลักของครอบครัวนั้น…