Skip to main content
 

"ผมคงจัดเป็นพวกปีกซ้ายนั่นแหละ และพอเวลาผ่านไปผมก็รู้สึกแข็งแกร่งขึ้น ผมให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์มากกว่าอิฐบล็อกหรือกำแพงศักดิ์สิทธิ์ ผมเชื่อในการมีชีวิตอยู่ ผมคิดว่าแทนที่คำถามจะเป็นพวกคุณเชื่อในพระเจ้าหรือเปล่า' มันควรจะเป็นว่า พระเจ้าเชื่อในพวกเราหรือเปล่า' ต่างหาก ใครจะรู้ได้"

- Aviv Geffen -

 

Memento Mori

"Officer, it's better to be a coward that is alive
than to be a dead hero
You fight with tanks and guns
I fight with pen and paper
You call me a draft dodger
Memento Mori..."

- Memento Mori (2)

จริงๆ แล้ว ไม่เพียง Aviv Geffen เท่านั้นที่เป็นที่รู้จักของชาวอิสราเอลโดยทั่วไป พ่อของเขาเอง Yehonatan Geffen (เป็นที่รู้จักในนาม Jonathan Geffen เสียมากกว่า) ก็มีชื่อเสียงอยู่เหมือนกัน

ผู้คนรู้จักพ่อของ Aviv ในฐานะของ นักเขียน, กวี, นักหนังสือพิมพ์, นักแต่งเพลง และ ผู้แต่งบทละคร ซึ่งเขาได้แต่งเอาไว้ ทั้งเรื่องสำหรับเด็กและสำหรับผู้ใหญ่

ประวัติของโจนาธานผู้เป็นพ่อก็มีอะไรเศร้าๆ ปนอยู่ หนึ่งในนั้นคือเรื่อ่งที่แม่ของ Jonathan (ย่าของ Aviv) เสียชีวิตเพราะกินยามากเกินขนาด ขณะที่เขามีตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่ทหาร ซึ่งเขาเชื่อว่าแม่เขาฆ่าตัวตาย หลังจากนั้นสองปี เขาก็เลิกเป็นทหารแล้วย้ายมาอยู่ที่เมือง Tel-Aviv เริ่มต้นเขียนบทกวี ก่อนที่ต่อมาโจนาธานจะหันมายึดอาชีพเป็นผู้สื่อข่าวให้กับหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ที่ชื่อ Maariv เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

เขามักจะโดนวิจารณ์ในเรื่องทัศนะซ้ายจัดของเขาอยู่เสมอ จนบางครั้งก็ถึงขั้นถูกข่มขู่เอาชีวิต ซึ่งนอกจากรุ่นพ่อเขาจะโดนแล้ว Aviv Geffen ผู้เป็นรุ่นลูกก็โดนอย่างเดียวกัน แต่พวกเขาทั้งสองต่างก็ไม่แคร์ในคำขู่ ยังคงยืนยันทำในสิ่งที่ตนเชื่อต่อไป

Aviv Geffen เคยพูดไว้ว่า "มีการขู่เอาชีวิตผมอยู่หลายครั้งมาก บางคนก็ขอให้เพลงของผมถูกแบนไปเสีย แต่ผมคิดว่าผมมีข้อความสำคัญมากๆ ที่จะส่งไปยังผู้คน"

พ่อของ Aviv Geffen มีชีวิตอยู่ในยุคสมัยที่ความขัดแย้งเรื่องดินแดนทวีความรุนแรงและซับซ้อนขึ้น และคนรุ่นเดียวกันที่ดำรงชีวิตอยู่ร่วมยุคสมัย ต่างก็มีบาดแผลความทรงจำจากการประหัตประหารกัน เช่นเดียวกับที่รุ่นปู่ของเขาก็มีความทรงจำจากสงครามโลก

ก่อนหน้าที่จะมาร่วมกับโปรเจกท์วง Blackfield ตัว Aviv Geffen ได้เป็นปากกระบอกเสียงให้วัยรุ่นหนุ่มสาวระบายความคับข้องใจจากคนในยุคสมัยเดียวกันผ่านทางบทเพลง และบทเพลงหนึ่งในนั้นคือ Cloudy Now ซึ่งเพลงนี้ทำให้มีเสียงตอบรับจากวัยรุ่นอิสราเอลจำนวนมากหันกลับมาถามเขาว่า "คุณต้องการจะเปลี่ยนแปลงหรือเปล่า?"

ผมรู้สึกเฉยๆ กับการประกาศจุดยืนที่จะอยู่กับฝ่ายซ้ายของเขา แต่กลับรู้สึกดีกว่าในแง่ของการที่เขาใช้ความป๊อบปูล่าให้เป็นประโยชน์ ใช้มันเป็นกระบอกเสียงให้กับอุดมการณ์ที่ตนมี เพราะผมเชื่อทั้งในแนวทาง "ศิลปะเพื่อศิลปะ" และ "ศิลปะเพื่อสังคม" ขณะที่ "ศิลปะเพื่อศิลปะ" ที่เน้นด้านรูปแบบและการแสดงออกทางความรู้สึก ไม่จำเป็นต้องเป็นที่นิยมก็ได้ จะสามารถตอบสนองคนจำนวนมากหรือน้อยเพียงใดก็ไม่มีปัญหา แต่โดนส่วนตัวคิดว่า "ศิลปะเพื่อสังคม" มันต้องมีรูปแบบที่เป็น Mass Appeal เพื่อที่จะสื่อสารกับคนในสังคมให้เข้าใจได้ และผมจะเกลียดมากถ้ามันเป็นศิลปะกึ่งขู่เข็ญแข็งกระด้างไร้ความเป็นมนุษย์

พอมาถึงรุ่นลูก กระแสการเรียกร้องสันติภาพในหมู่หนุ่มสาว อาจจะทำให้ภาพเสมือนฝันร้ายแต่ครั้งก่อนพร่าเลือนไป แต่จะแน่ใจได้ล่ะหรือว่าฝันร้ายจบลงแล้วจริงๆ หรือเพียงแค่เปลี่ยนโฉมหน้า ให้คนในยุคปัจจุบันรับกับมันได้เพียงเท่านั้น เพราะไซออนนิสท์ ที่เต็มไปด้วยความเชื่อมั่นว่าตนถูก และแฝงฝังด้วยความคิดเชื้อชาตินิยมก็ยังคงมีอยู่

ถ้ามองในอีกทาง จะไปโทษชาวอิสราเอลในรุ่นหลังๆ คงไม่ได้เหมือนกัน เพราะพวกเขาไม่ได้มีส่วนในประวัติศาสตร์ทำให้เกิดความวุ่นวายนี้ขึ้น แค่บังเอิญมีเชื้อชาตินี้มาตั้งแต่เกิดเท่านั้น นอกจากนี้ชาวอิสราเอลในระดับล่างยังเชื่อว่า บาดแผลของพวกเขาจากสงครามโลกครั้งที่สองมีมากพออยู่แล้ว แค่อยากมีแผ่นดินอยู่ไว้ทำมาหากินอย่างสงบสุขบ้าง และดูเหมือนแรงงานข้ามชาติที่อพยพเข้าไปอยู่ในสถานที่นั้นคงต้องการอย่างเดียวกัน

การที่ Geffen ไม่เห็นด้วยกับการที่ชาวอิสราเอลเข้ายึดครองปาเลสไตน์ ถึงควรถูกตั้งคำถามว่า จริงๆ แล้วชาวอิสราเอล รวมถึงแรงงานอพยพหลายคน ไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่าหรือเปล่า

Cloudy Now

"In a violent place we call our country
Is a mixed up man and I guess that's me
The sun's in the sky but the storm never seems to end"

-Cloudy Now -

ในภาพยนตร์ฮอลลิวูดหลายเรื่อง มักจะพูดถึงชาวยิวที่ถูกกระทำจากสงครามโลกครั้งที่สอง และประเด็นที่ยกมาเล่นกันมากที่สุดคงหนีไม่พ้นการล่าล้างเผ่าพันธุ์จากเผด็จการเชื้อชาตินิยมนาซี ถ้าพูดในเชิงมนุษย์ธรรม มันเป็นเรื่องที่ชวนให้รู้สึกเห็นอกเห็นใจพวกเขาอยู่ไม่น้อย แต่ต้องไม่ลืมว่าการผลิตซ้ำความรู้สึกเห็นอกเห็นใจแบบนี้ออกมา มันจะกลายเป็นการให้ความชอบธรรมไซออนนิสท์ที่หลายคนก็มีแนวคิดแบบเชื้อชาตินิยมเช่นเดียวกันหรือไม่ และคงไม่ต้องนับว่าประวัติศาสตร์ที่ถูกเขียนโดยผู้ชนะสงครามนี้ ต้องอาศัยการตรึกตรองกันเสียหน่อยว่ามันจะไม่กลายเป็นโฆษณาชวนเชื้อของประเทศมหาอำนาจประเทศใดไปเสีย

และหากใครศึกษาประวัติศาสตร์มาบ้างคงพอจะทราบว่า แต่เดิมชาวยิวไม่ได้อยู่ในแผ่นดินผืนนี้อย่างหนาแน่น จะมีอยู่ก็เพียงเป็นชุมชนเล็กๆ ที่กระจัดกระจาย จนกระทั่งชาวยิวได้ถูกรวมเข้ามาในดินแดนครั้งหนึ่งเมื่อสมัยตุรกีเข้ามามีอำนาจ

ก่อนที่ต่อมาประเทศในยุโรป (รวมที่ไม่ใช่ยุโรปอย่างรัสเซียไปอีกหนึ่งประเทศ) ได้พยายามเข้ามามีอำนาจในปาเลสไตน์ เพราะในสมัยก่อนบางประเทศในยุโรปต้องการดินแดนนี้เป็นเส้นทางลำเลียงสินค้าไปสู่ทวีปเอเชีย แต่พวกเขาก็ทำอะไรไม่ได้มาก ทำให้ประเทศเหล่านี้ (โดยเฉพาะอังกฤษ) หันมาผลักดันสนับสนุนการถือสิทธิครองดินแดนของชาวยิวในอิสราเอลแทน กลุ่มขบวนการไซออนนิสท์เอง ก็เกิดจากการหนุนหลังของประเทศอังกฤษด้วยเช่นกัน

แต่ผมก็ไม่อยากให้มองว่าใครเป็นฝ่ายดี ใครเป็นฝ่ายร้าย เพราะเกมการแย่งชิงที่ชนชั้นนำใช้พวกเราเป็นตัวเบี้ยตัวหมากมาต่อสู้กันเอง ได้ทำให้เราต้องมาละเลงเลือดและน้ำตา มากมายเกินอสงไขย ผ่านยุคสมัยมาถึงปัจจุบัน มันก็ได้กลั่นตัวขึ้นไปเป็นเมฆทึบหนา มันบดบังสายตาจนมองเห็นได้ยากว่าอะไรดี? อะไรร้าย? อะไรที่ควรปกป้อง? อะไรที่ควรทำลาย? อะไรคือฉัน? อะไรคือเธอ? อะไรคือพวกเรา? อะไรคือพวกมัน? อะไรคือความสงบสุข? อะไร...อะไรกันที่มันเดือดพล่านอยู่ในใจเรา!?

ผมจึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไมหนุ่มสาวร่วมสมัยเดียวกัน ถึงนึกอะไรไม่ออก นอกจากการเฝ้าฝันถึงสันติภาพลมๆ แล้งๆ เพราะว่า เมฆหมอกทึบๆ มันทำให้อะไรๆ มืดดำเกินกว่าจะมองได้ชัดแจ้งว่าพวกเขาควรจะไปทางทิศไหน ตัวผมเองก็อยากให้ทุกคนตื่นขึ้นมา ลุกขึ้นมา มาช่วยกันมองหาทางภายใต้ท้องฟ้ามืดครื้มนี้

แต่ถ้าหากคุณบอกว่านักสันติภาพทั้งหลายกำลังเพ้อฝันแล้วล่ะก็ ผมก็อยากจะบอกว่า พวกเราล้วนเพ้อฝันพอๆ กันหมด

ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่กระทำการโดยไม่นึกถึงว่าใครเป็นศัตรูใครเป็นผู้บริสุทธิ์ ใช้ความเจ็บปวดของผู้คนเป็นเครื่องมือสร้างความชอบธรรมในการตอบโต้อีกฝ่าย รวมถึงคนที่คลั่งชาติแล้วเกลียดชังแบบเหมารวมอย่างไม่ลืมหูลืมตา ไม่เลือกที่จะแยกแยะ และคิดว่าว่าหากพวกนี้ถูกกำจัดไปให้หมด (โดยรัฐที่ไม่ค่อยน่าไว้วางใจ) ไปแล้วความสงบสุขจะบังเกิดได้

มันจะเป็นอย่างนั้นจริงๆ น่ะหรือ จะบอกไว้ตรงนี้ก็ได้ว่า

...พวกคุณก็เพ้อฝันสิ้นดี!

 

บล็อกของ Music

Music
ภฤศ ปฐมทัศน์ ผมได้ยินข่าวเรื่อง "จังหวะแผ่นดิน World Musiq & World Bar B Q" วันเดียวก่อนวันงานนั่นเอง ได้ยินคุณทอดด์ ทองดี พูดผ่านวิทยุว่าจะมีศิลปินจากหลายประเทศทั่วโลกมาเข้าร่วม และมีการแสดงร่วมกันของเพื่อแสดงให้เห็นว่าดนตรีมันไร้พรมแดน ผมเองเข้าใจความรู้สึกของคนที่พูดอะไรที่เป็นอุดมคติครับ และรู้สึกที่สิ่งที่คุณทอดด์แกพูดแกไม่ได้ตอแหล (แบบพวกอ้างศีลธรรม) ผมรู้สึกได้จากน้ำเสียงและการไหว้วอนขอให้ภาครัฐและกระทรวงวัฒนธรรมหันมาสนใจ ทำให้รู้สึกว่าแกมีความตั้งใจตรงนี้จริง ๆ แต่ว่าอุดมคติที่สวยงามบางทีมันเป็นแค่สิ่งที่ฉาบเคลือบอะไรที่ยังแหว่งโหว่อยู่ภายใน…
Music
    ขึ้นหัวไว้ไม่ได้หมายความว่าตัวผมเองกำลังหลบหน้าหลบตาไปอยู่ที่อยุธยาแต่อย่างใด ช่วงที่หายไปเพราะจำต้องไปปฏิบัติภารกิจทั้งส่วนตัวและไม่ส่วนตัว พอได้จังหวะแล้วจึงเข้ามาเขียนงานที่ห่างหายไปนานอีกครั้ง หลายคนคงนึกได้แล้วว่าหมายถึงผลงานใหม่ของมาโนช พุฒตาล ซึ่งผมได้ซีดีผลงานล่าสุดของเขา ทั้งสองชิ้นมาพร้อมกันมาได้สักระยะหนึ่งแล้ว แต่เพิ่งมีโอกาสได้ฟังเมื่อไม่นานมานี้เอง สิ่งที่ผมหวังจากชื่อมาโนช พุฒตาลคือตัวงานดนตรีหลังจากที่เขาห่างหายจากการออกอัลบั้มเพลงไปพักนึง ("ชีวิตที่เจ็บปวดของคนป่วย" เหมือนออกมาให้หวังอะไรบางอย่างเล่น ๆ แล้วก็หายไป)…
Music
ช่วงที่ผ่านมาผมขอลาพักจากการเขียนคอลัมน์ไปชั่วคราว ไม่ได้ลากิจ และยังไม่ได้ลาออกจากการเขียนคอลัมน์แน่นอน เพียงแต่หลบจากความเหนื่อยล้าจากหลายสิ่งหลายอย่างเพื่อไปเติมพลังให้ตัวเองเท่านั้นในช่วงที่พักจากการเขียนคอลัมน์ไป ก็คิดว่าจะลองหลบมุมสงบ ๆ อยู่ ปิดหูปิดตาตัวเองจากสิ่งรอบข้างดูสักพัก … แต่แล้วก็ไม่สำเร็จ ในช่วงปลายเดือนที่ผ่านมามีข่าวบางอย่างที่ทำให้ผมต้องรู้สึกถึงความย่ำแย่ น่าเบื่อหน่ายไม่รู้จบของประเทศที่ผมอยู่อีกครั้งจริง ๆ แล้วมันเป็นเรื่องของผู้ชายคนหนึ่ง (ซึ่งสื่อบางแห่งดูจะพยายามแปลงให้เขากลายเป็นเพศอื่นอยู่เสมอ…ซึ่งผมว่าเขาคงไม่เดือดร้อนอะไร) เขาไม่ได้เป็นคนดีอะไรนักหนา…
Music
  นิยายวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องเล่าอิงจินตนาการพร้อมกับความเป็นไปได้ทางวิทยาศาสตร์ นักทฤษฎีแบ่งนิยายวิทยาศาสตร์ออกไว้เป็นสามยุคใหญ่ ๆ คือ ‘ยุคคลาสสิก' ที่มักพูดถึงอนาคตภายใต้อวกาศกว้างใหญ่ไพศาล มองอนาคตอย่างก้าวหน้าและอิงข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ จนกระทั่งความเจ็บปวดหลังยุคอุตสาหกรรมที่ยังมีการกดขี่กันของมนุษย์ทำให้ ‘ยุคที่สอง' ของนิยายวิทยาศาสตร์เริ่มมีท่าทีวิพากษ์สังคมเข้ามาปะปน บางเรื่องก็มีประเด็นทางสังคม อย่างการเหยียดเพศ เหยียดเชื้อชาติ บ้างก็มีจินตนาการของรัฐบาลเผด็จการเบ็ดเสร็จที่อาศัยเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ มาจนถึง ‘คลื่นลูกที่สาม' ก็มองโลกในแง่ร้ายอย่างสุดกู่ จินตนาการก้าวหน้า ล้ำสมัย…
Music
 "The disgraced values of the company manAre why you fight and sacrificeDon't bend or break for their one-way rulesOr run from battles you know you'll lose""คุณค่าของคนทำงานที่ถูกลดทอนคือเหตุผลที่คุณเสียสละ ต่อสู้ และวิงวอนคุณไม่อาจฝ่าฝืนกฏเหล็กของพวกเขาได้หรือแม้จะทั่งจะหนีจากการดิ้นรนที่คุณรู้ว่าจะแพ้โดยไม่อาจทำอะไร"- Tomorrow's IndustryDropkick Murphys เป็นวงพังค์ร็อคที่มาจากการรวมตัวของชาวไอริชที่อพยพมาอาศัยในเมืองบอสตัน ประเทศสหรัฐฯ มีผลงานที่พอให้คนต่างแดนได้รู้จักบ้างคือเพลงประกอบภาพยนตร์ The Departed ที่ชื่อ "I'm Shipping Up to Boston"…
Music
การยึดติดในสถาบันหรือรางวัลว่าเป็นตัววัดความเก่งกาจของศิลปินดูเป็นเรื่องหน้าขำอย่างหนึ่งในโลกที่กำลังเผชิญหน้ากับความหลากหลาย คิด ๆ ดูว่าแนวดนตรีในโลกนี้ถ้านับรวม Sub-Genre ทั้งหลายเข้าไปด้วยแล้วก็มีมากจนนับแทบไม่ไหว แต่รางวัลจากสถาบันทั้งหลายมันแบ่งง่าย ๆ แค่ ป็อบ ร็อค อาร์แอนด์บี ซึ่งไม่อาจตอบรับกับความหลากหลายได้ และพาลจะทำให้เป็นการขีดเส้นขั้น ผูกขาดรูปแบบบางอย่างไว้ก็ได้ว่า "เสียงดี" ต้องเป็นเสียงแบบนี้ การเรียบเรียงที่ดีต้องเป็นแบบนี้ ๆ ฯลฯ ผมถึงคิดว่า เราควรจะไม่ไปยึดติดอะไรมากกับรางวัลที่มาจากการตัดสินของคนไม่กี่คนบนหิ้งเรื่องศิลปะที่มาจากการผูกขาดรสนิยมมันชวนให้รู้สึกย่ำแย่ฉันใด…
Music
อะไรๆ ในโลกนี้มันน่าสนใจไปหมดแหละครับ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่มีแต่ผู้คนหันไปมอง หันไปพูดถึง เก็บมาเล่ากันทั่วบ้านทั่วเมือง ช่วยผลิตซ้ำ และแม้กระทั่งสร้างคู่ตรงข้ามให้กับคนที่ไม่รู้ และ/หรือ ไม่อยากรู้ ขณะเดียวกันสิ่งที่ผมคิดว่ามันน่าสนใจมาก ๆ โคตร ๆ อีกอย่างหนึ่งก็คือสิ่งที่อยู่ในซอกหลืบไม่ค่อยมีคนสนใจ มันดูเหมือนการได้ค้นพบอะไรบางอย่างที่อาจจะทำให้เราอัศจรรย์ใจหรือทำให้ผิดหวังก็ได้ เพียงแต่ในทุกวันนี้ไอ้สิ่งที่อยู่ในซอกหลืบจริงๆ มันหายากขึ้นทุกที ในวงการเพลงอินดี้อะไรทั้งหลายก็มีชื่อวงทั้งต่างประเทศและในประเทศผุดผาดขึ้นมาให้จำกันไม่ทัน และพอลองเจียดเวลา (อันน้อยนิด) จากการทำมาหากินมาลองฟัง…
Music
รูป Ad จาก http://www.electthedead.co.uk/วง System of a Down เป็นวงดนตรีอเมริกันที่สมาชิกทั้ง 4 คนล้วนเป็นชาวอาร์เมเนียน ดนตรีของพวกเขา บางคนก็เรียกว่าเป็นอัลเตอร์เนทีฟ บ้างก็ว่าเป็นนูเมทัล บ้างก็พยายามจำกัดความง่ายๆ ว่าเป็นฮาร์ดร็อค แต่ถ้าให้เรียกแบบกินความหมายครอบคลุมที่สุดล่ะก็ คงต้องบอกว่าพวกเขาเป็นวงร็อคที่แพรวพราว สอดผสานดนตรีในพรมแดนอื่นๆ เข้ากับซาวน์พื้นฐานแบบยุค 90's และขณะเดียวกันก็มีพลังขับเคลื่อนแบบพังค์นอกจากจะเป็นที่รู้จักกันในฐานะของวงร็อคหลากกลิ่นแล้ว แฟนเพลงหลายคนยังชอบเนื้อหาวิจารณ์สังคมและการเมืองของพวกเขาที่เข้าใจทำให้ถูกจริตคนบางกลุ่มได้ บวกกับดนตรีหนักๆ จากหลายๆ เพลงแล้ว…
Music
  ช่วงที่ผ่านมามีข่าวคราวเกี่ยวกับคอนเสิร์ตแนวอนุรักษ์ธรรมชาติอะไรพวกนี้ออกมาหลากหลายมากมายอยู่เหมือนกัน โดยเฉพาะคอนเสิร์ตต้านโลกร้อนที่เข้าใจเกาะกระแสเรื่องที่คนทั่วโลกสนใจ (แต่ไม่รู้ว่าเข้าใจลึกไปในระดับไหน) มาสร้างเวทีคอนเสิร์ตให้สนุกสุดเหวี่ยง เวลามีคนมาถามความเห็นผมเรื่องนี้ ผมมักจะหัวเราะ หะ ๆ แล้วตอบว่ารู้สึกเฉย ๆ ถ้ามันจะดีมันก็ดีในแง่ที่มีคอนเสิร์ตมาให้สนุกกัน ส่วนศิลปินก็ได้หน้าได้ตากันไป เพราะโดยส่วนตัวผมไม่คิดว่าศิลปินจะรู้ลึกรู้จริงรู้จังอะไรกันเรื่องนี้มากมาย ไม่ต้องกระไรมาก ผมจะยกตัวอย่างจากประสบการณ์ตรงเรื่องหนึ่ง คือเมื่อหลายปีก่อน…
Music
  "ผมคงจัดเป็นพวกปีกซ้ายนั่นแหละ และพอเวลาผ่านไปผมก็รู้สึกแข็งแกร่งขึ้น ผมให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์มากกว่าอิฐบล็อกหรือกำแพงศักดิ์สิทธิ์ ผมเชื่อในการมีชีวิตอยู่ ผมคิดว่าแทนที่คำถามจะเป็น ‘พวกคุณเชื่อในพระเจ้าหรือเปล่า' มันควรจะเป็นว่า ‘พระเจ้าเชื่อในพวกเราหรือเปล่า' ต่างหาก ใครจะรู้ได้"- Aviv Geffen - Memento Mori"Officer, it's better to be a coward that is alivethan to be a dead heroYou fight with tanks and gunsI fight with pen and paperYou call me a draft dodgerMemento Mori..."- Memento Mori (2)จริงๆ แล้ว ไม่เพียง Aviv Geffen เท่านั้นที่เป็นที่รู้จักของชาวอิสราเอลโดยทั่วไป…
Music
  "1,000 people yellShouting my nameBut I wanna die in this momentI wanna die"- 1,000 People -Aviv Geffen เกิดและเติบโตในช่วงสงครามเลบานอนครั้งแรก ที่กองทัพอิสราเอลคิดจะเข้ายึดครองเลบานอนเพื่อยุติสงครามกลางเมือง แต่ความขัดแย้งนี้ดูจะห่างไกลจากตัวเขารวมถึงหนุ่มสาวคนอื่น ๆ ซึ่งต่างก็ดำเนินชีวิตคู่ขนานกับความขัดแย้งนี้จนแม้ปัจจุบันก็ยังไม่จบไม่สิ้น ข้อตกลงหยุดยิงไม่อาจทำให้ความตึงเครียดลดลงได้ ระเบิดนิรนามยังคงถูกยิงมาจากที่ไหนสักแห่งภาพที่ดูขัดแย้งกันอย่างชัดเจนในตัว Geffen คือ ขณะที่เขาแต่งเพลงและเผยความคิดเห็นในแบบอิสราเอลฝ่ายซ้าย แต่ขณะเดียวกันก็เป็นผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพทางดนตรี…
Music
  "Love films are broadcast lateBut violence is allowed at any hourWhile on a kibbutz a girl was rapedIn the disco they set their spirits free"- Violence -เป็นเรื่องธรรมดาที่น้อยคนในบ้านเราจะรู้จักศิลปินหนุ่มจากอิสราเอลที่ชื่อ Aviv Geffen เพราะผมเองกว่าจะรู้จักเขาก็ต้องโยงอะไรหลายทอดอยู่เหมือนกันมันเริ่มจากการที่ผมชื่นชอบวงโปรเกรสซีฟร็อค ที่ชื่อ Porcupine Tree แล้วนักร้องนำและผู้กุมบังเหียนของวงนี้คือ Steve Wilson ในขณะที่ยังคงอยู่กับวงเดิม ก็ได้ออกไปมีโปรเจกท์ย่อยคือวง Blackfield ด้วย ซึ่งวงโปรเจกท์ของเขานี้ ก็ตั้งใจว่าจะเป็นวงป็อบร็อค ที่ทำร่วมกับนักดนตรีรุ่นน้องชาวอิสราเอลคนหนึ่ง…