รักเจ้าจึงปลูก (ตอนที่ 5) : การจดเลคเชอร์แบบ Cornell

คุณรู้ไหม คนเราสามารถคิดได้เร็วกว่าที่อาจารย์พูดถึงสี่เท่าตัว

ดังนั้น เราสามารถฟังและจดโน้ตดี ๆ ได้

 

1.    คำนำ


ในแต่ละปีผมพบว่า นักศึกษาชั้นปีที่หนึ่ง (ซึ่งยังสด ๆ และมองชีวิตในมหาวิทยาลัยแบบสดใสอยู่) จำนวนมากใช้วิธีจดเลคเชอร์ของแต่ละวิชาลงในสมุดเล่มเดียวกัน  เมื่อสอบถามได้ความว่า ค่อยไปลอกและทั้งปรับปรุงแก้ไขลงในสมุดของแต่ละวิชาในภายหลัง  

ผมได้ตั้งคำถามเชิงแนะนำนักศึกษาไปว่า มันจะเป็นการเสียเวลาเกินความจำเป็นไปไหม?   ทำไมไม่ลองอีกวิธีหนึ่งซึ่งเปิดโอกาสให้เราสามารถปรับปรุงเนื้อหาได้ดีกว่าโดยไม่ต้องลอกใหม่และเสียเวลาน้อยกว่า


วิธีที่ว่านี้คือ  วิธีการจดเลคเชอร์แบบมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์  
(Cornell Note Taking  Method) ซึ่งเป็นประเด็นใหญ่ของบทความนี้  แต่ก่อนที่จะกล่าวถึงอย่างชนิดที่สามารถนำไปปฏิบัติใช้งานได้  ผมขออนุญาตชี้ให้เห็นปัญหาของการจดเล็คเชอร์ของนักศึกษาไทยก่อน

 

2. ปัญหาการจดเลคเชอร์


ผมเองเรียนและสอนทางสาขาคณิตศาสตร์ซึ่งเป็นสาขาที่มีปัญหาในการจดเลคเชอร์น้อยที่สุดเมื่อเทียบกับสาขาอื่น ๆ  เพราะอาจารย์คณิตศาสตร์ (ทั่วโลก) จะเขียนเกือบทุกตัวอักษรลงบนกระดานในขณะที่สาขาอื่น ๆ อาจารย์นิยมพูดเป็นส่วนใหญ่


ในการสอนวิชาคณิตศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เป็นนิยาม ทฤษฎีบท หากเนื้อหาผิดพลาดไปแม้เพียงคำเดียวก็จะกลายเป็นความผิดพลาดที่ไม่อาจยอมรับกันได้  อาจารย์จึงต้องเขียนทุกคำบนกระดาน  นอกจากนี้ในระหว่างการ
ทำโจทย์ ยังต้องการแสดงให้เห็นถึงวิธีการคิด วิธีการทำอีกต่างหาก


อย่างไรก็ตาม ในวิชาที่ผมสอนเอง บางครั้งมีบางเนื้อหาที่ไม่จำเป็นต้องจดลงบนกระดาน เช่น การเปรียบเทียบว่าวิธีที่หนึ่งดีกว่าวิธีที่สองอย่างไร  นักศึกษาก็จดบันทึกไม่ถูก หรือไม่จดเลย เป็นต้น


ผมถามอาจารย์รุ่นใหม่ว่า
เคยมีการสอนวิธีการจดเลคเชอร์ในช่วงที่คุณเป็นนักศึกษาบ้างไหม คำตอบที่ได้คือไม่มีครับ   หากใครจดเลคเชอร์ได้ดีก็เป็นเพราะความสามารถเฉพาะตัว ไม่ใช่เพราะโดยการเรียนการสอนจากสถาบันการศึกษา


ผมเองก็ไม่เคยเรียนเรื่องเทคนิคการจดเลคเชอร์มาก่อนเช่นเดียวกัน  เพิ่งจะได้เรียนรู้ก็ตอนที่โลกเรามีอินเตอร์เนตใช้นี่เอง  ขอบคุณอินเตอร์เนตที่เปิดโอกาสให้เราได้
ท่องโลกเพื่อการเรียนรู้และนำมาถ่ายทอดต่อในที่นี้


อนึ่ง การที่เราจะจดเลคเชอร์ได้ดีหรือไม่ นอกจากจะต้องมีเทคนิควิธีการที่จะกล่าวถึงแล้ว ยังขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการฟัง การมีสมาธิและการจับประเด็น ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่และใหญ่มาก ๆ สำหรับสังคมนักศึกษาไทยเราในวันนี้ รวมทั้งในสังคมของผู้ใหญ่ด้วย


นักศึกษาบางคนไม่ยอมจดเลคเชอร์ โดยอ้างว่า
ต้องการฟังให้ได้มากที่สุดและทำความเข้าใจเนื้อหาไปเลย แล้วค่อยขอยืมของเพื่อนไปถ่ายเอกสาร


เรื่องนี้นักการศึกษาบางคนถึงกับเตือนว่า
การจดเลคเชอร์และการทำโน้ตย่อขณะอ่านหนังสือ ไม่ใช่เป็นกิจกรรมที่เราชอบแล้วจึงลงมือทำ แต่เป็นกิจกรรมที่ต้องทำ


การจดเล็คเชอร์เป็นการบังคับตัวเราเองให้ฟังอย่างตั้งใจ  ไม่เผลอหลับเพราะมีการเคลื่อนไหวทั้งมือและสมอง  เมื่อกลับไปเปิดเลคเชอร์โน้ตในภายหลัง เราจะพบว่ามันคือเข็มทิศที่นำเราไปสู่การค้นคว้าเพิ่มเติมจากตำราต่อไป  นอกจากนี้ โน้ตของเราจะทำให้จำได้ง่ายกว่าตำรา


โดยสรุป การจดเลคเชอร์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักเรียนและนักศึกษาทุกคน แต่จะทำอย่างไรให้ได้ดี คำตอบคือต้องฝึกหัดเหมือนกับที่เราหัดเดินตอนเป็นทารก การจดเลคเชอร์ที่ดีจะส่งผลให้การเรียนของเราดีและได้เกรดดีขึ้น  ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง

 

3. การจดเล็คเชอร์แบบมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์  


วิธีนี้ได้คิดค้นโดย
Dr. Walter Pauk     ผู้ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์และได้รับตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์การอ่านและการศึกษา (Cornell University's reading and study center) ของมหาวิทยาลัย เป็นผู้ที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งในสาขาพัฒนาการศึกษาและทักษะการเรียนรู้ และเป็นผู้เขียนหนังสือชื่อ How To Study In College  ซึ่งเป็นหนังสือที่ถูกจัดเป็นประเภทที่ขายดีที่สุด


มหาวิทยาลัยที่ผมทำงานอยู่และคิดว่ารวมถึงมหาวิทยาลัยแห่งอื่นด้วย ไม่มี
ศูนย์หรือ สถาบันในลักษณะที่ช่วยพัฒนานักศึกษาเช่นนี้   แต่มีศูนย์ทางด้านธุรกิจและอื่น ๆ มากมาย


วิธีการจดเลคเชอร์ มีหลายวิธี  แต่
Wikepedia จัดว่าวิธีที่จะกล่าวถึงนี้เป็นวิธีที่มีการใช้กันแพร่หลายมาก  โดยมีวิธีการดังต่อไปนี้

 

ขั้นที่ 1  การจัดแบ่งหน้ากระดาษ


ให้แบ่งหน้ากระดาษออกเป็น  2  คอลัมน์  ถ้าเป็นกระดาษขนาด
 A4  (ขนาด 8.5x11 นิ้ว) คอลัมน์ซ้ายมือกว้าง 2 นิ้วครึ่ง ส่วนที่เหลือเป็นคอลัมน์ขวามือกว้างประมาณ 6  นิ้ว    ถ้าเป็นกระดาษสมุดก็ปรับตามความเหมาะสม  แต่คอลัมน์ทางซ้ายมือไม่ควรจะกว้างน้อยกว่า 2.25 นิ้ว  เพราะจะต้องใช้พื้นที่ส่วนนี้เขียนข้อความสำคัญในภายหลัง


เว้นด้านล่างของกระดาษไว้ประมาณ 2 นิ้ว ไว้สำหรับเขียนสรุปหลังจากได้ทบทวนแล้ว  ดังรูป

 

 


 

หมายเหตุ คำว่า Cue ในที่นี้ หมายถึง สัญญาณหรือคำที่ช่วยเตือนความจำ ช่วยให้เราทำกิจกรรมอื่นต่อไป   ภาพข้างล่างนี้จะช่วยขยายความถึงการใช้หน้ากระดาษ (ซึ่งจะอธิบายต่อไป)



 


ขั้นที่ 2  คำแนะนำทั่วไป


ถ้าใช้กระดาษขนาด
 A4   ควรเขียน วันที่  รายวิชา  และเลขหน้าไว้บนหัวกระดาษ  เพราะเหมาะสำหรับการนำไปรวมกันเป็นแฟ้มของแต่ละวิชาได้สะดวก  เช่น  2 มิ.ย. 53     คณิตศาสตร์ 101   หน้า 1


นักศึกษาควรเข้าห้องเรียนก่อนเวลาเล็กน้อย เพราะโดยปกติ ในช่วง 5 นาทีแรกอาจารย์มักจะแนะนำสาระสำคัญของเนื้อหาที่จะบรรยายในคาบนี้ รวมทั้งความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับเนื้อหาเดิม
  การที่เราได้รับทราบแนวของเนื้อหาก่อนจะทำให้เราสามารถเข้าใจสิ่งที่จะได้ฟังง่ายขึ้น


ควรอ่านเอกสารล่วงหน้า (ถ้าเป็นไปได้)   และควรมีปากกาและดินสอหลายสี หากสามารถพกกล่องปากกาติดตัวได้ก็ยิ่งเป็นการดี  นักศึกษาชายใส่ในย่าม นักศึกษาหญิงใส่ที่เดียวกับเครื่องสำอาง(
!)

 

ขั้นที่ 3  การฟังและจดเลคเชอร์

- 

จดเนื้อหาสำคัญลงในคอลัมน์ขวามือ (Note Taking Area)  ในชั่วโมงบรรยาย

- อย่าจดทุกคำ เลือกเฉพาะที่ประเด็นสำคัญ พร้อมเหตุผลสนับสนุน  ถ้าจดละเอียดมากเกินไปจะทำให้เป็นนักฟังแย่ลงและจดไม่ทัน

- อย่าเขียนให้เป็นประโยค ถ้าสามารถใช้วลีได้ และอย่าเขียนเป็นวลี ถ้าสามารถเขียนเป็นคำเดียวโดด ๆ ได้

- พยายามใช้ตัวย่อ สัญลักษณ์  ลูกศร   เช่น  ใช้  “&”  แทน และ”,  "~"  แทน  "ประมาณ"

- หากจับประเด็นไม่ได้หรือจับไม่ทัน  ควรเว้นกระดาษพร้อมทำเครื่องหมาย ? เพื่อถามเพื่อนหรือค้นเพิ่มเติมภายหลัง  อย่าเสียดายกระดาษ  ความรู้มีค่ามากกว่ากระดาษ

- 

พยายามตั้งใจฟังประโยคสำคัญ ๆ  เช่น เรื่องนี้มีเหตุผล 3 ประการคือหรือฟังการย้ำ การเน้นเสียงของอาจารย์

 

ขั้นที่ 4  การทบทวนและทำให้เลคเชอร์โน้ตกระชับ

-  หลังจากจดเลคเชอร์มาแล้ว (เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้)  ให้อ่านที่จดมาได้ ไม่ใช่ศึกษาเพื่อทำความเข้าใจ แต่เพื่อตรวจสอบความถูกต้องกับตำรา ถ้าพบที่ผิดก็แก้ไข ปรับปรุง

- ทบทวนและทำเนื้อหาให้กระชับและสั้นลง โดยเขียนประเด็นสำคัญ (Main ideas) คำถาม แผนผัง สัญญาณเตือนความจำลงในคอลัมน์ซ้ายมือ (Cue Column)  เขียนเมื่อได้ทบทวนเนื้อหาแล้ว  ถ้าสามารถทบทวนได้ภายใน 24 - 48 ชั่วโมงหลังจากการฟังคำบรรยาย เรายังคงจำเนื้อเรื่องได้ถึง 80%  ถ้าเลยเวลานี้ไปเราจะลืมไปแล้ว 80%  นั่นหมายความว่าเราต้องเสียเวลาเรียนใหม่เกือบทั้งหมด

-  เขียนเฉพาะคำสำคัญ หรือวลี เพื่อสรุปประเด็นสำคัญ เขียนคำถามที่คาดว่าน่าจะเป็นข้อสอบ

 

ขั้นที่ 5  เขียนสรุปลงในส่วนที่สาม


สรุปเนื้อหาสัก 1- 2 ประโยคด้วยภาษาของเราเองลงในส่วนที่ 3 ของกระดาษ  โดยเขียนหลังจากที่เราได้ทบทวนและทำความเข้าใจบทเรียนแล้ว


4. สรุป 
 ข้างล่างนี้คือตัวอย่างหนึ่งที่ได้ทำครบถ้วนทุกขั้นตอนแล้ว   อาจจะช่วยให้เราเข้าใจดีขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอลัมน์แรก  อย่างไรก็ตาม ถ้าเราไม่เริ่มต้นลงมือทำ เราก็ไม่มีวันที่จะเป็น ทุกอย่างต้องมีการฝึกฝนครับ

 

 

 

 

ความเห็น

Submitted by น้ำลัด on

"เสียดาย...คนตายไม่ได้อ่าน"
โดย...ดังตฤณ

"เสียดาย...หากนักศึกษาไม่ได้อ่าน"
โดย...ดังเบา

สมัยผมเรียน ผมขี้เกียจจดเลคเชอร์มากๆครับ
ถึงกระนั้นผมก็มีสมุดเลกเชอร์เหมือนกัน
แต่รับประกันความห่วยครับ
เพื่อนบางคนยืมไปต้องรีปเอามาคืน
พร้อมส่ายหน้า... "กูดูของมึงไม่รู้เรื่องเลยหวะ"

มีอยู่วิชาหนึ่งผมอ่านเนื้อหาก่อนเข้าเรียนแทบทุกครั้ง
แทบจะไม่ต้องจดเลกเชอร์แถมยังได้ A
มันเป็นหนึ่งใน A ไม่กี่ตัวที่ผมเคยได้ครับ

Submitted by BZ on

เป็นบทความที่ให้ความรู้และเป็นประโยชน์มากมายคะ

ขอขอบพระคุณอาจารย์มากคะ

อภิชญา

Submitted by โดนัท on

หนูเป็นอาจารย์ใหม่ในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง
เคยมีอาจารย์ผู้ใหญ่ท่านหนึ่งถามว่า เคยตรวจสมุด lecture เด็กบ้างไหม
ตอนแรกหนูก็คิดว่า มันเป็นเรื่องของเด็ก
ถ้าเด็กอยากจดก็จด เด็กบางคนอาจจะจดไปด้วยฟังไปด้วยไม่ได้
เด็กที่หัวช้าอาจจะไม่เข้าใจเนื้อหาถ้ามัวแต่จดไปด้วยฟังไปด้วย
หรือบางคนไม่อยากจดก็ไปซีรอกซ์จากเพื่อนเอาเอง

แต่พอมาคิดดูอีกที ย้อนไปสมัยที่เราเรียนมหาวิทยาลัย เราก็เป็นคนหนึ่งที่ชอบจด
มีคนพูดให้ได้ยินบ่อย ๆ ว่าเด็กสมัยนี้เขียนภาษาไทยไม่เป็น จดไม่เป็น
ก็อยากรู้เหมือนกันว่ามันจริงแค่ไหน
จึงได้ทดลองบอกให้เด็กที่เรียนกับเราจด lecture และจะตรวจสมุดตอนท้ายภาคการศึกษา

พอสิ้นภาคการศึกษา
เมื่อนักศึกษาสอบเสร็จแล้วก็ทยอยเอาสมุดมาส่ง
ผลลัพท์ที่ออกมา อยากจะทำเป็นสถิติไว้จริง ๆ เลยค่ะ
เด็กที่จดได้เยอะ มีแนวโน้มจะทำคะแนนสอบได้เยอะกว่าเด็กที่จดได้น้อย
เด็กอาจจะไม่ได้จดในเวลาเรียน แต่ไปจดทีหลังก่อนส่งก็ได้
แต่ไม่ว่าจะจดตอนไหน หนูคิดว่า เค้าได้ทบทวนสิ่งที่เรียนไปกับการจดมันลงสมุด
ต่อไปหนูจะตรวจสมุดบ่อย ๆ และขอยืมเทคนิดการจดแบบ Cornellไปใช้ด้วยนะคะ

Submitted by sssss on

มิน่าถึงว่าเลคเชอร์ของตัวเองถึงอ่านไม่รู้เรื่อง มันเป็นเช่นนี้เอง...........

“คดีโลกร้อน” กับ “เทวดาท่าจะบ๊องส์”

 

 

“คดีโลกร้อน”
เป็นชื่อที่ใช้เรียกคดีที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นโจทก์ฟ้องผู้บุกรุกป่า ผู้บุกรุกต้องชดใช้ค่าเสียหาย 

ที่ผ่านมามีเกษตรกรถูกฟ้องดำเนินคดีไปแล้วหลายสิบรายทั่วประเทศ ในช่วงปี 2549-52 ในจังหวัดตรังและพัทลุงมีราษฎรถูกดำเนินคดีไปแล้ว 13 ราย ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว 7 ราย และอยู่ระหว่างดำเนินคดี 6 ราย กรมอุทยานฯ ได้เรียกค่าเสียหาย 20.306 ล้านบาท แต่ศาลพิพากษาให้จ่าย 14.76 ล้านบาทพร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี

ใช้ไฟฟ้าอย่างไร จึงได้ประโยชน์จากรัฐบาล “ประชานิยม”

22 December, 2010 - 12:08 -- prasart
 
 
ขณะนี้รัฐบาลกำลังคิดค้นโครงการประชานิยมหลายอย่าง คาดว่าจะประกาศรายละเอียดภายในต้นปี 2554   ทั้งนี้เพื่อรองรับการเลือกตั้งใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในช่วงปลายปี

ทำไปทำมานโยบายประชานิยมที่เริ่มต้นอย่างประปรายตั้งแต่รัฐบาลคึกฤทธิ์ ปราโมช (2518) และเริ่มเข้มข้นมากขึ้นในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร จะเป็นสิ่งที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้เสียแล้ว

บทความนี้จะกล่าวถึงนโยบายประชานิยมในเรื่องค่าไฟฟ้าสำหรับผู้อยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้ารายย่อยไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน โครงการนี้เกิดในสมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช (2551) และใช้ต่อกันมาจนถึงรัฐบาลปัจจุบันและในอนาคตด้วย

ผมได้มีโอกาสคุยกับผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อยในชนบท สองราย พบว่าแต่ละรายใช้ไฟฟ้าเกิน 90 หน่วยไปเพียงเล็กน้อย  เมื่อเป็นดังนี้ ผู้ใช้ต้องจ่ายทั้งหมด เช่น ใช้ไป 112 หน่วย ก็ต้องจ่ายทั้งหมด 112 หน่วย ไม่ใช่เฉพาะส่วนที่เกินจาก 90 หน่วยเท่านั้น

ค่าไฟฟ้าสำหรับ 112 หน่วย คิดเป็นเงิน 350 บาท (ในจำนวนนี้เป็นค่าเอฟทีหน่วยละ 92 สตางค์หรือ 103.04 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่ม 22.89 บาท หมายเหตุ ในเดือนตุลาคม 2550 ค่าเอฟทีหน่วยละ 66 สตางค์) ผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งสองต่างบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่า “เงิน 350 บาทนี้ไม่น้อยเลยเมื่อเทียบกับเงินสงเคราะห์ผู้สูงอายุคนละ 500 บาทต่อเดือน”

จากการพูดคุยดังกล่าวจึงเกิดเป็นโจทย์ให้ต้องขบคิดว่า “จะต้องใช้ไฟฟ้าอย่างไร จึงไม่เกิน 90 หน่วย” เราจึงเริ่มต้นด้วยการสำรวจเครื่องใช้ไฟฟ้าและกำลังของแต่ละชนิด        

เครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็น ได้แก่ หลอดไฟฟ้า (หลอดละ

18 วัตต์) หม้อหุงข้าว (750 วัตต์) โทรทัศน์สี (120 วัตต์) พัดลมตั้งโต๊ะ (50 วัตต์) ตู้เย็น (125 วัตต์ ขนาด 7 คิว ใช้ไฟฟ้าเดือนละ 37 หน่วย) เครื่องซักผ้า (330 วัตต์) เตารีดผ้า (1,200 วัตต์) กระติกต้มน้ำ (750 วัตต์) และเครื่องบดเครื่องแกง (140 วัตต์)

ลดอำนาจรัฐ ขจัดความเหลื่อมล้ำ: ภาคกิจการไฟฟ้า

25 November, 2010 - 12:48 -- prasart

 

 

คำนำ

เป็นที่ทราบกันทั่วไปแล้วว่า ขณะนี้สังคมไทยเรากำลังมีความขัดแย้งรุนแรงครอบคลุมเกือบทุกพื้นที่ของประเทศ จนรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปขึ้นมาหลายชุด หนึ่งในนั้นคือ คณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) โดยมีคุณอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน

เมื่อกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการชุดนี้ได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นขึ้น โดยขึ้นคำขวัญซึ่งสะท้อนแนวคิดรวบยอดของการปฏิรูปประเทศไทยว่า 
“ลดอำนาจรัฐ ขจัดความเหลื่อมล้ำ”

ผมเองได้ติดตามชมการถ่ายทอดโทรทัศน์จากรายการนี้ตั้งแต่ต้นจนจบ ได้ทราบถึงเจตนารมณ์ในการรับฟังความคิดเห็น ได้ชมวีดิทัศน์ที่บอกถึง
“ความเหลื่อมล้ำ” ทางการกระจายรายได้ และการถือครองที่ดิน ฯลฯ นอกจากนี้ ผมได้ติดตามแถลงการณ์ของ “กลุ่มเครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตยและเครือข่ายอีก 37 องค์กร”  พบว่าไม่มีประเด็นที่บทความนี้จะกล่าวถึงแต่อย่างใด

การจะ
“ลดอำนาจรัฐ ขจัดความเหลื่อมล้ำ” ได้ เราจำเป็นจะต้องมีความเข้าใจในกลไกการใช้อำนาจรัฐ และที่มาของความเหลื่อมล้ำกันก่อน
 

ภัยธรรมชาติถี่ขึ้น เพราะโลกร้อนขึ้น : คำเตือนจากนักวิทยาศาสตร์และบริษัทประกันภัย

15 November, 2010 - 10:33 -- prasart
 

“...ถ้าอุณหภูมิผิวน้ำทะเลสูงขึ้น 1 องศาเซียลเซียส ความถี่ที่จะเกิดพายุชนิดรุนแรงจะเพิ่มขึ้นอีก 31% ... ในปี พ.ศ. 2643 อุณหภูมิดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 2 องศา”  

“ผลการวิจัยพบว่า ค่าความเสียหายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาจจะมากกว่าผลผลิตทางเศรษฐกิจของคนทั้งโลก ทั้งนี้ภายในก่อนปี พ.ศ. 2608”
 

โรงไฟฟ้าถ่านหินหัวไทร: โหมเราเอาพรื่อ หรือว่าเรา “เต้นตามจังหวะกลองที่เขาตี”?

28 October, 2010 - 13:02 -- prasart
ขณะนี้ทางรัฐบาลโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (หรือ กฟผ.) กำลังเสนอให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ขนาด 700 เมกกะวัตต์ 

ชาวหัวไทรที่ไม่คุ้นเคยกับเรื่องนี้อาจเกิดความสงสัยหลายอย่าง เป็นต้นว่า

1.โรงไฟฟ้าขนาด 700 เมกกะวัตต์นั้น มันใหญ่เท่าใด ไฟฟ้าที่ผลิตมาได้จะใช้ได้สักกี่ครอบครัวหรือกี่จังหวัด