รักเจ้าจึงปลูก(ตอนที่ 6) : การคิดเชิงวิพากษ์คือการรู้จักตั้งคำถาม

ในการเดินทาง เรามักใช้ยานพาหนะช่วย   แต่ในการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical)
เราใช้อะไรเป็นเครื่องมือหรือเป็นพาหนะ

 

องค์ประกอบของเนื้อหา

1.  ทำไมทักษะการคิดเชิงวิพากษ์จึงสำคัญ
2.  ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์สามารถเรียนรู้ได้และจะอยู่ติดตัวเรา
3. 
ความหมายของการคิดเชิงวิพากษ์
4.  ลักษณะของนักคิดเชิงวิพากษ์

5. 
อุปสรรคของการคิดเชิงวิพากษ์
6.  สรุป

1. ทำไมทักษะการคิดเชิงวิพากษ์จึงสำคัญ

อาจารย์ของผมท่านหนึ่งเคยเล่าให้ฟังว่า
เมื่อครูของลูกชายสอนนักเรียนในชั้นว่า อุณหภูมิของดวงอาทิตย์สูงเท่านั้นเท่านี้องศา ลูกชายเกิดความสงสัยพร้อมตั้งคำถามว่า แล้วเขาวัดได้อย่างไรครับ  ปรากฏว่าครูสวนกลับมาด้วยน้ำเสียงไม่ค่อยพอใจว่า . . . ไปถามพ่อเธอซิ 
ปัจจุบันเด็กชายคนนี้เป็นดอกเตอร์จากมหาวิทยาลัยชื่อดังเรียบร้อยไปแล้ว

วัฒนธรรมไทยเราค่อนข้างอ่อนแอในเรื่องการรู้จักตั้งคำถาม ก่อนเข้าโรงเรียนทุกคนจะเป็นเด็กช่างถาม แต่พอโตขึ้นกลายเป็นคนไม่ค่อยกล้าถามและค่อนข้างจะเชื่อง สำหรับวัฒนธรรมในการตอบคำถามยิ่งอ่อนด้อยมากทั้งในระดับโรงเรียนและในระดับนักการเมือง

ผมเองในสมัยเป็นเด็ก พอได้ฟังอะไรแล้วมักจะคล้อยตามเขาไปทั้งหมด ไม่คิดที่จะแย้งและไม่รู้ว่าจะแย้งตรงไหน  แต่พอมาเรียนระดับมหาวิทยาลัยกับอาจารย์ฟิสิกส์ท่านหนึ่ง (ดร. วุฒิ พันธุมนาวิน)  ท่านเล่านอกเรื่องฟิสิกส์ที่สอนนิดเดียว ทำให้ผมได้รู้จักคิดและถือว่าการคิดเป็นสิ่งสำคัญมากตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

คนเราทุกคนคิด เพราะเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่จะต้องคิด และมีเรื่องเข้ามาให้เราต้องคิดกันทุกวันไม่รู้จักจบสิ้น  ออกจะเป็นการดูถูกกันด้วยซ้ำหากจะกล่าวหาว่าใครคนหนึ่งไม่รู้จักคิด แต่การคิดของคนเรามักจะลำเอียง บิดเบือน เพราะได้รับข้อมูลไม่ครบถ้วนแล้วตัดสินผู้อื่นไปก่อน แล้วยึดเอาคำตัดสินนี้เป็นสรณะหรือจะรู้สึกเสียหน้าถ้าต้องเปลี่ยนความคิด 

ดังนั้น คุณภาพชีวิตของคนเรารวมทั้ง ผลการเรียน และคุณภาพของงานที่เราทำจึงขึ้นอยู่กับคุณภาพของความคิดของเราเป็นสำคัญ  การคิดอะไรแบบลวกๆ ชุ่ย ๆ  นอกจากจะทำให้เสียเงิน เสียเวลาแล้วยังทำให้เสียคุณภาพชีวิตด้วย บางคนถึงขั้นฆ่าตัวตายตามดาราก็มี

ในเชิงรายบุคคล เป็นที่ประจักษ์กันทั่วแล้วว่า ผู้ที่มีทักษะการคิดในระดับสูงจะสามารถสร้างผลงานได้มากกว่าผู้ที่ไม่มี  ซึ่งจะส่งผลตามมาว่าตำแหน่งงานที่ต้องการทักษะการคิดในระดับสูงจะมีรายได้มากกว่า 

ในเชิงสังคม มันเป็นสิ่งที่อันตรายมาก หากในสังคมมีคนเพียงจำนวนน้อยนิดที่มีทักษะการคิดระดับสูงหรือคิดเก่ง แต่ส่วนที่เหลือไม่มี  ระบอบประชาธิปไตยจะประสบกับความล้มเหลวในสังคมเช่นนี้

ในการเรียนการสอนทุกระดับโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับมหาวิทยาลัยมีความมุ่งหมายสำคัญให้นักศึกษาคิดเป็น  วิเคราะห์ได้

ดังนั้นทุกคนจึงควรมีทักษะการคิดในระดับสูง ทักษะในการคิดเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถเรียนรู้ เพาะฟัก และพัฒนาให้สูงขึ้นกันได้เสมอ 

บางคนอาจแย้งว่า ไม่เห็นต้องเรียนก็คิดได้ เพราะเป็นธรรมชาติของมนุษย์อยู่แล้ว คำตอบนี้ก็มีส่วนถูกต้องอยู่บ้าง  แต่ให้ลองคิดเปรียบเทียบการวิ่ง ทุกคนสามารถวิ่งได้ แต่ถ้าได้รับการฝึกสอนจากครูที่สอนนักกีฬาระดับทีมชาติ เขาผู้นั้นก็จะวิ่งได้ดีขึ้นกว่าเดิมมากๆ

การคิดไม่ใช่การท่องจำอย่างนกแก้ว นกขุนทอง ไม่ใช่การเลียนแบบได้อย่างลิง แต่เป็นอะไรที่มากกว่านั้น

2. ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์สามารถเรียนรู้ได้และจะอยู่ติดตัวเราตลอดไป

ทักษะการคิดเป็นสิ่งที่แยกออกจากตัวความรู้ (knowledge)  คนที่มีความรู้มากเพียงอย่างเดียวไม่จำเป็นต้องเป็นคนมีทักษะการคิดระดับสูงเสมอไป ในการแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่ง เราจำเป็นต้องใช้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้น บวกกับ ทักษะการคิดด้วย

นักการศึกษาท่านหนึ่ง (จาก Bloom’s Taxonomy) ได้จำแนกความแตกต่างระหว่าง การรู้ (knowing)” กับความเข้าใจ (understanding หรือ comprehension)”  ว่า การรู้คือการจำ การรักษาความจำไว้ได้ และการทำซ้ำเดิมได้  แต่ความเข้าใจคือความสามารถที่จะอธิบายได้ ทบทวน (review) และอภิปรายถกเถียงได้

อย่างไรก็ตาม ทั้งความรู้และความเข้าใจได้ถูกจำแนกให้เป็น 2 ขั้นต่ำสุดในบรรดา 6 ขั้นในความสามารถของมนุษย์ (ดังภาพแสดง-แต่ไม่ขออธิบายในที่นี้ เพียงแต่จะบอกว่ายังมีเรื่องเราต้องถามต้องเรียนอีกมาก)

 

 

ถ้าเรามีทักษะการคิดในระดับสูง เราสามารถเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาใหม่ (ที่ไม่เคยเรียนมาก่อน)ได้  โดยการเรียนรู้ความรู้ใหม่ที่เกี่ยวข้อง บวกกับทักษะการคิดที่มีอยู่เดิม  ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ท่านหนึ่งสามารถนำทักษะการคิดที่ตนมีไปแก้ปัญหาการเล่นเรือใบได้   การตรวจสอบว่าหลอดไฟฟ้าไม่ติดเพราะเหตุใดก็ต้องอาศัยทักษะการคิดเดียวกับการเดินเรือ  เป็นต้น

ไอนสไตน์ เคยกล่าวไว้ว่า การศึกษาคืออะไรสักอย่างหนึ่งที่เหลืออยู่หลังจากที่เราได้ลืมทุกสิ่งทุกอย่างจากการเรียนในระบบโรงเรียน อะไรที่เหลืออยู่นั้นก็คือทักษะการคิดที่ระบบโรงเรียนสอนเรานั่นเอง

ในความเห็นของผม สิ่งที่ยังเหลือติดตัวเราอยู่อย่างหนึ่ง ก็คือ ทักษะในการแสดงออกโดยไม่กลัวหรือสั่นประหม่ามากนักในหมู่คนจำนวนมาก 

ครูสอนเรขาคณิตของผมท่านหนึ่งบอกผมว่า ข้อใดที่เธอคิดไม่ออกและยังจำโจทย์ไม่ได้ แสดงว่าเธอยังคิดไม่มากพอ ให้ไปคิดต่อ   สมมุติว่า เราลืมทฤษฎีเรขาคณิตหมดแล้ว   แต่สิ่งที่เหลือติดตัวเราอยู่ คือ ความอดทน ความมุ่งมั่น ใคร่ครวญ สมาธิ ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของทักษะการคิด เป็นต้น

 
3. ความหมายของการคิดเชิงวิพากษ์ (
Critical Thinking)

มีผู้ให้ความหมายและคำแปลที่แตกต่างกัน แต่ก็มีลักษณะคล้าย ๆ กัน ในบทความนี้ ผมขอสรุปจากหลายส่วนและบนพื้นฐานประสบการณ์ของผมด้วย  ดังต่อไปนี้

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า การคิดคืออะไร มีผู้อธิบายว่า การคิดคือกิจกรรมทางสติปัญญาเพื่อที่จะช่วยในการทำความเข้าใจหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ

(หมายเหตุ โปรดสังเกตว่า ผมใช้วิธีการตั้งคำถามเป็นเครื่องมือหรือยานพาหนะเป็นตัวช่วย จากนั้นก็ค่อย ๆ ตั้งคำถามต่อไปอีกว่า  คิดอย่างไร เป็นต้น)

คำว่า Critical Thinking   มีการแปลเป็นภาษาไทยแตกต่างกัน โดยในช่วงแรก ๆ ที่ผู้เขียนได้ยินคำนี้ มีการแปลว่า การคิดเชิงวิพากษ์

ในระยะหลัง นักวิชาการบางท่าน ( เช่น รศ. ชูชีพ  อ่อนโคกสูง) แปลเป็นภาษาไทยว่า การคิดอย่างมีวิจารณณาณ  พร้อมขยายความและให้ตัวอย่างประกอบว่า
หมายถึง ความสามารถในการสร้างและประเมินข้อสรุปจากหลักฐานหรือสภาวการณ์ใดได้อย่างถูกต้องตามความเป็นจริง เช่น อ่านบทความฉบับหนึ่งจบลงแล้วสามารถสรุปสาระสำคัญได้ และประเมินได้ว่าข้อสรุปนั้นถูกต้องตรงตามความเป็นจริงหรือไม่

ท่านยกตัวอย่างว่า หากเพื่อนเล่าให้ฟังว่า ขณะเขายืนบนรถเมล์ที่กำลังแล่นด้วยความเร็วสูง จู่ ๆ ก็เบรกอย่างกะทันหัน เนื่องจากมีคนวิ่งตัดหน้า ทำให้เขากระเด็นไปติดอยู่ที่เบาะท้ายรถ หากเราคิดอย่างมีวิจารณญาณ เราคงไม่เชื่อว่าเขากระเด็นไปติดที่เบาะหลังเพราะขณะรถเมล์กำลังแล่น ความเร็วของคนบนรถจะเท่ากับความเร็วของรถยนต์ เมื่อเบรกยังมีแรงเฉื่อยอยู่ คนบนรถจึงต้องกระเด็นไปทางด้านหน้า จะกระเด็นมาท้ายรถได้อย่างไร

ผมคิดว่าข้อความดังกล่าวน่าจะเป็นคำอธิบายที่สามารถทำให้เราเข้าใจได้ดีระดับหนึ่ง ในบทความนี้ผมขอมองให้กว้างกว่านี้และขอเลือกใช้คำแปล  Critical Thinking   ว่าเป็น การคิดเชิงวิพากษ์

สำหรับความหมายของ  Critical Thinking   ผมขอให้คำอธิบายดังต่อไปนี้
ในที่นี้คำว่า
“Critical”  ไม่ได้แปลว่า  วิกฤติ หรือสภาพที่  รอพินิจ  ว่าจะพ้นสภาพนักศึกษาหรือไม่  การคิดเชิงวิพากษ์ ไม่ได้หมายถึง การคิดในแง่ลบเสมอไป แต่เป็นการคิดที่สร้างสรรค์ ที่ใช้เหตุผล ใช้หลักฐานประกอบ

นักภาษาศาสตร์ (ศ.ดร.กาญจนา นาคสกุล) อธิบายว่า วิพากษ์ เป็นคำมาจากภาษาสันสกฤตว่า วิวากฺษ แปลว่า ตัดสิน ในภาษาไทยใช้ว่าพิพากษา หมายถึงพิจารณาคดีความตามหลักฐานที่ปรากฏแล้วตัดสินว่า ผู้ใดเป็นฝ่ายผิด ผู้ใดเป็นฝ่ายถูกตามข้อบัญญัติแห่งกฎหมาย

การคิดเชิงวิพากษ์เป็นการคิดที่ประกอบด้วย 5 อย่าง คือ (1) การคิดอย่างมีวัตถุประสงค์ (2) มีเหตุผล (3) เป้าหมายเป็นตัวกำหนดทิศทางการคิด (4) มีความสามารถในการวิเคราะห์อย่างระมัดระวัง บนพื้นฐานของการใช้ข้อมูลอย่างมีตรรกะ และ (5) มีแนวคิดจากหลากหลายมุมมอง

ในสมัยหนึ่งมีการโต้วาทีในญัตติว่า หมาดีกว่าคน (แล้วฝ่ายเสนอเป็นฝ่ายชนะ) ในความเห็นของผมแล้ว การคิดในประเด็นนี้เป็นเรื่องไร้สาระ ไม่มีเป้าหมาย แม้จะมีเหตุผลก็ตาม จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการคิดเชิงวิพากษ์  


4. ลักษณะของนักคิดเชิงวิพากษ์


นักคิดเชิงวิพากษ์ควรจะมีลักษณะ  5  ต่อไปนี้ (อ้างถึงในผลงานของ  
Dr. Liu  Woo  Chia)

1) ชอบตั้งคำถามหรือสงสัยในปัญหาสำคัญ ๆ อยู่เสมอ พร้อมทั้งก่อรูปหรือทำปัญหานั้นให้มีความชัดเจน  แน่นอนและกระชับขึ้น   ลักษณะของคำถามมักขึ้นต้นด้วยอักษรในภาษาอังกฤษ 5 W  และ 1 H คือ   What, When, Where, Who, Why  และ How

ปัญหาเรื่องการวัดอุณหภูมิของดวงอาทิตย์ที่ได้เล่ามาตั้งแต่ต้น จัดเป็นประเภท How  คือวัดอย่างไรครับ  เราไม่ทราบว่าเด็กที่ถามคิดอะไรอยู่ลึกๆ เขาอาจจะแค่สงสัยว่า จะเอาเทอร์โมมิเตอร์ที่ไหนไปวัดเพราะที่เขาเห็นก็แค่ 100 องศาเซียลเซียส ในขณะที่อุณหภูมิดวงอาทิตย์สูงนับล้านองศา หรือจะเอาเทอร์โมมิเตอร์ไปเสียบไว้ตรงไหนของดวงอาทิตย์   หรือจะเข้าไปใกล้ดวงอาทิตย์ได้อย่างไร เป็นต้น

กุญแจสำคัญของการคิดที่มีพลังก็คือการตั้งคำถามที่มีพลัง  ถ้าเราตั้งคำถามได้ถูกต้องเราก็จะประสบผลสำเร็จในฐานะนักคิด เพราะคำถามคือแรงที่ทำให้เกิดพลังในการคิด  ในการคิดแต่ละครั้งเราสามารถคิดได้นับร้อยนับพันทิศทาง  มีเพียงบางทิศทางเท่านั้นที่นำไปสู่คำตอบ คำถามจะเป็นตัวกำหนดประเด็นของการคิด ลักษณะคำถามจะเป็นสิ่งที่ทำให้เราค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และเมื่อตั้งคำถามต่อไป ทิศทางที่เป็นไปได้ก็จะเหลือน้อยลง

ถ้าจะพูดถึงการก่อรูปปัญหาให้ชัดเจนขึ้น  ผมขออนุญาตเปลี่ยนตัวอย่างใหม่เพราะตัวเดิมถูกครูดุไปแล้ว (ฮา!)  เช่น

การจัดตารางสอนที่มีการพักระหว่างคาบเพียง 10 นาที เคยใช้ได้ในสมัยที่อาคารเรียนอยู่ไม่ไกลกันมาก ก็ไม่มีปัญหาอะไร  แต่เมื่ออาคารเรียนห่างกัน (เพราะมีการสร้างอาคารใหม่) เกินกว่าจะเดินทางได้ทัน (เช่น 1,500 เมตร)  คำถามที่น่าตั้งแรก คือ ทำอย่างไรนักศึกษาจึงจะเข้าชั้นเรียนทันเวลา คำถามที่สอง มหาวิทยาลัยจะจัดรถรับส่งได้อย่างทั่วถึงหรือไม่

2) รวบรวมและประเมินข้อมูลที่เกี่ยวข้อง  ใช้แนวคิดที่ยังเป็นนามธรรมเพื่อตีความปัญหานั้นให้ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ

หลังจากค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องครบถ้วนแล้ว พบว่าไม่มีทางอื่นใดนอกจากให้นักศึกษาเหาะกันไป (ฮา!)  เราจึงควรตั้งคำถามที่ถูกทิศทางคือ เราควรจะเพิ่มเวลาพักระหว่างคาบหรือไม่ เป็นเท่าใด แล้วอย่างไรต่อไป  จึงจะสามารถแก้ปัญหาได้อย่างเป็นระบบและไม่กระทบต่อคุณภาพการศึกษา

จากปัญหาการเดินทางระหว่างคาบเพียง 10 นาที  โดยเรียนคาบละ 50 นาที ถ้าขยายเวลาพักเป็น 30 นาที เพื่อให้นักศึกษาเดินทัน  เราจะต้องปรับปรุงอะไรบ้าง นี่เป็นตัวอย่างของการทำปัญหาให้ชัดเจนขึ้น

3) ทำให้ปัญหามีข้อสรุปที่มีเหตุผล ตรวจสอบกับแนวคิดและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่กล่าวมาดูมีเหตุผล แต่ได้มาตรฐานไหม มาตรฐานการเรียนระบุว่า วิชา 3 หน่วยกิตต้องเรียนสัปดาห์ละ 3 คาบ รวม 150 นาที  สิ่งที่เราแก้ปัญหาจะต้องอยู่ในมาตรฐานนี้  ดังนั้นเราต้องตั้งคำถามว่า เป็นไปได้ไหมถ้าเราจัดสัปดาห์ละ 2 คาบ ๆ ละ 90 นาที รวมสัปดาห์ละ 180 นาที

4) เป็นผู้ที่ตั้งใจรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและคิดอย่างใจกว้างกับระบบความคิดใหม่รวมทั้งการปฏิบัติที่จะตามมา

มีผู้แย้งว่า คาบละ 90 นาทีอาจจะนานเกินไปสำหรับเด็กยุคใหม่ที่ไม่ค่อยจะอดทน  เรื่องนี้เราต้องเปิดใจรับฟัง  แต่ 180 นาทีที่มากกว่ามาตรฐาน ก็สามารถยืดหยุ่นให้มีการพักย่อยในคาบได้

5) เป็นผู้สื่อสารที่มีประสิทธิภาพต่อคำตอบใหม่ที่ได้รับ (โปรดอ่านตอนที่ 4 ประกอบ)

ปัญหาการจัดตารางสอนนี้เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในวิทยาเขตที่ผมทำงานอยู่  ผมได้สื่อสารกับประชาคมมหาวิทยาลัยจนผู้บริหารได้ตั้งกรรมการมาปรับปรุง  แต่น่าเสียดายเวลาได้ล่วงเลยมานานเกือบ 2 ปีแล้ว ยังไม่มีความคืบหน้าจากผู้บริหารเลย

5. อุปสรรคของการคิดเชิงวิพากษ์

Dr. Liu Woon Chia ได้สรุปไว้ในเอกสารของเธอว่า  อุปสรรคของการคิดเชิงวิพากษ์มี 2 ประการคือ  (1) พวกที่คิดว่าตนเองเป็นศูนย์กลาง (self-centered thinking)  คือคิดว่าตนเองดีกว่าค่าเฉลี่ยเสมอ และ (2) พวกที่คิดโดยการอิงกับสังคม (group-centered thinking)  คือคิดตามที่สังคมคิดซึ่งเป็นความคิดที่อันตรายมาก

ปัญญาชนชาวอเมริกันท่านหนึ่ง (Walter Lippmann)  กล่าวว่า  เมื่อทุกคนคิดเหมือนกันหมด ก็จะไม่มีใครคิด (When all think alike, no one is thinking)”  ซึ่งเป็นสภาพที่น่ากลัวมากกว่าพวกแรกเสียอีก

6. สรุป

แม้บทความนี้ได้นำเสนอรายละเอียดไม่ครบถ้วนดีนัก (เพราะเกรงใจพวกสมาธิสั้น)  แต่ก็มีความมั่นใจว่า ได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญรวมทั้งขั้นตอนของการคิดเชิงวิพากษ์ไว้มากพอสมควรแล้ว  พอที่จะเป็นประกายไฟให้นักศึกษานำไปใช้งานรวมทั้งศึกษาเพิ่มเติมได้

ผมขอจบบทความนี้ด้วยวาทะอันเลื่องลือนักผู้ที่ได้ชื่อว่า บิดาแห่งนักปรัชญาสมัยใหม่  และเป็นนักคณิตศาสตร์คนสำคัญของโลกชาวฝรั่งเศส  คือ เรเน เดส์การ์ด (Rene Descartes)  ว่า
ฉันคิด ฉันจึงมีอยู่ (I think, therefore I am.)”

แต่ใครจะเข้าใจความหมายของวาทะอันเลื่องลือนี้สักปานใด ก็โปรดไปคิดเชิงวิพากษ์กันเอาเองครับ และนี่คือการบ้านสำหรับทุกท่านทุกคนเทอญ.

ความเห็น

Submitted by น้ำลัด on

ขอบคุณที่เห็นใจคนสมาธิสั้นครับ

เอาเป็นว่าจะคิดแบบไหนก็ขอให้มีความคิดแบบสมเหตุสมผล
เข้าใจที่มาที่ไป เกี่ยวเนื่องกับอะไร ขอบเขตใหญ่กว่านั้นคืออะไร
ส่วนย่อยกว่านั้นคืออะไร องค์ประกอบข้างๆมีอะไร ฯลฯ

Analytical Thinking
Critical Thinking
Lateral Thinking
Systematic Thinking

จะคิดแบบไหนขอให้ช่วยกันคิดก็แล้วกัน
ถ้าเราไม่คิดอาจจะมีคนคิดแทนเรา
เมื่อมีปัญหาก็จะมีคนแก้ปัญหาแทนเรา
แต่เมื่อเขาแก้ปัญหาของเขาได้
มันอาจกลายเป็นปัญหาของเราแทน

“คดีโลกร้อน” กับ “เทวดาท่าจะบ๊องส์”

 

 

“คดีโลกร้อน”
เป็นชื่อที่ใช้เรียกคดีที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นโจทก์ฟ้องผู้บุกรุกป่า ผู้บุกรุกต้องชดใช้ค่าเสียหาย 

ที่ผ่านมามีเกษตรกรถูกฟ้องดำเนินคดีไปแล้วหลายสิบรายทั่วประเทศ ในช่วงปี 2549-52 ในจังหวัดตรังและพัทลุงมีราษฎรถูกดำเนินคดีไปแล้ว 13 ราย ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว 7 ราย และอยู่ระหว่างดำเนินคดี 6 ราย กรมอุทยานฯ ได้เรียกค่าเสียหาย 20.306 ล้านบาท แต่ศาลพิพากษาให้จ่าย 14.76 ล้านบาทพร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี

ใช้ไฟฟ้าอย่างไร จึงได้ประโยชน์จากรัฐบาล “ประชานิยม”

22 December, 2010 - 12:08 -- prasart
 
 
ขณะนี้รัฐบาลกำลังคิดค้นโครงการประชานิยมหลายอย่าง คาดว่าจะประกาศรายละเอียดภายในต้นปี 2554   ทั้งนี้เพื่อรองรับการเลือกตั้งใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในช่วงปลายปี

ทำไปทำมานโยบายประชานิยมที่เริ่มต้นอย่างประปรายตั้งแต่รัฐบาลคึกฤทธิ์ ปราโมช (2518) และเริ่มเข้มข้นมากขึ้นในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร จะเป็นสิ่งที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้เสียแล้ว

บทความนี้จะกล่าวถึงนโยบายประชานิยมในเรื่องค่าไฟฟ้าสำหรับผู้อยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้ารายย่อยไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน โครงการนี้เกิดในสมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช (2551) และใช้ต่อกันมาจนถึงรัฐบาลปัจจุบันและในอนาคตด้วย

ผมได้มีโอกาสคุยกับผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อยในชนบท สองราย พบว่าแต่ละรายใช้ไฟฟ้าเกิน 90 หน่วยไปเพียงเล็กน้อย  เมื่อเป็นดังนี้ ผู้ใช้ต้องจ่ายทั้งหมด เช่น ใช้ไป 112 หน่วย ก็ต้องจ่ายทั้งหมด 112 หน่วย ไม่ใช่เฉพาะส่วนที่เกินจาก 90 หน่วยเท่านั้น

ค่าไฟฟ้าสำหรับ 112 หน่วย คิดเป็นเงิน 350 บาท (ในจำนวนนี้เป็นค่าเอฟทีหน่วยละ 92 สตางค์หรือ 103.04 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่ม 22.89 บาท หมายเหตุ ในเดือนตุลาคม 2550 ค่าเอฟทีหน่วยละ 66 สตางค์) ผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งสองต่างบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่า “เงิน 350 บาทนี้ไม่น้อยเลยเมื่อเทียบกับเงินสงเคราะห์ผู้สูงอายุคนละ 500 บาทต่อเดือน”

จากการพูดคุยดังกล่าวจึงเกิดเป็นโจทย์ให้ต้องขบคิดว่า “จะต้องใช้ไฟฟ้าอย่างไร จึงไม่เกิน 90 หน่วย” เราจึงเริ่มต้นด้วยการสำรวจเครื่องใช้ไฟฟ้าและกำลังของแต่ละชนิด        

เครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็น ได้แก่ หลอดไฟฟ้า (หลอดละ

18 วัตต์) หม้อหุงข้าว (750 วัตต์) โทรทัศน์สี (120 วัตต์) พัดลมตั้งโต๊ะ (50 วัตต์) ตู้เย็น (125 วัตต์ ขนาด 7 คิว ใช้ไฟฟ้าเดือนละ 37 หน่วย) เครื่องซักผ้า (330 วัตต์) เตารีดผ้า (1,200 วัตต์) กระติกต้มน้ำ (750 วัตต์) และเครื่องบดเครื่องแกง (140 วัตต์)

ลดอำนาจรัฐ ขจัดความเหลื่อมล้ำ: ภาคกิจการไฟฟ้า

25 November, 2010 - 12:48 -- prasart

 

 

คำนำ

เป็นที่ทราบกันทั่วไปแล้วว่า ขณะนี้สังคมไทยเรากำลังมีความขัดแย้งรุนแรงครอบคลุมเกือบทุกพื้นที่ของประเทศ จนรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปขึ้นมาหลายชุด หนึ่งในนั้นคือ คณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) โดยมีคุณอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน

เมื่อกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการชุดนี้ได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นขึ้น โดยขึ้นคำขวัญซึ่งสะท้อนแนวคิดรวบยอดของการปฏิรูปประเทศไทยว่า 
“ลดอำนาจรัฐ ขจัดความเหลื่อมล้ำ”

ผมเองได้ติดตามชมการถ่ายทอดโทรทัศน์จากรายการนี้ตั้งแต่ต้นจนจบ ได้ทราบถึงเจตนารมณ์ในการรับฟังความคิดเห็น ได้ชมวีดิทัศน์ที่บอกถึง
“ความเหลื่อมล้ำ” ทางการกระจายรายได้ และการถือครองที่ดิน ฯลฯ นอกจากนี้ ผมได้ติดตามแถลงการณ์ของ “กลุ่มเครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตยและเครือข่ายอีก 37 องค์กร”  พบว่าไม่มีประเด็นที่บทความนี้จะกล่าวถึงแต่อย่างใด

การจะ
“ลดอำนาจรัฐ ขจัดความเหลื่อมล้ำ” ได้ เราจำเป็นจะต้องมีความเข้าใจในกลไกการใช้อำนาจรัฐ และที่มาของความเหลื่อมล้ำกันก่อน
 

ภัยธรรมชาติถี่ขึ้น เพราะโลกร้อนขึ้น : คำเตือนจากนักวิทยาศาสตร์และบริษัทประกันภัย

15 November, 2010 - 10:33 -- prasart
 

“...ถ้าอุณหภูมิผิวน้ำทะเลสูงขึ้น 1 องศาเซียลเซียส ความถี่ที่จะเกิดพายุชนิดรุนแรงจะเพิ่มขึ้นอีก 31% ... ในปี พ.ศ. 2643 อุณหภูมิดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 2 องศา”  

“ผลการวิจัยพบว่า ค่าความเสียหายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาจจะมากกว่าผลผลิตทางเศรษฐกิจของคนทั้งโลก ทั้งนี้ภายในก่อนปี พ.ศ. 2608”
 

โรงไฟฟ้าถ่านหินหัวไทร: โหมเราเอาพรื่อ หรือว่าเรา “เต้นตามจังหวะกลองที่เขาตี”?

28 October, 2010 - 13:02 -- prasart
ขณะนี้ทางรัฐบาลโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (หรือ กฟผ.) กำลังเสนอให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ขนาด 700 เมกกะวัตต์ 

ชาวหัวไทรที่ไม่คุ้นเคยกับเรื่องนี้อาจเกิดความสงสัยหลายอย่าง เป็นต้นว่า

1.โรงไฟฟ้าขนาด 700 เมกกะวัตต์นั้น มันใหญ่เท่าใด ไฟฟ้าที่ผลิตมาได้จะใช้ได้สักกี่ครอบครัวหรือกี่จังหวัด