Skip to main content
 


 

“คดีโลกร้อน”
เป็นชื่อที่ใช้เรียกคดีที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นโจทก์ฟ้องผู้บุกรุกป่า ผู้บุกรุกต้องชดใช้ค่าเสียหาย 

ที่ผ่านมามีเกษตรกรถูกฟ้องดำเนินคดีไปแล้วหลายสิบรายทั่วประเทศ ในช่วงปี 2549-52 ในจังหวัดตรังและพัทลุงมีราษฎรถูกดำเนินคดีไปแล้ว 13 ราย ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว 7 ราย และอยู่ระหว่างดำเนินคดี 6 ราย กรมอุทยานฯ ได้เรียกค่าเสียหาย 20.306 ล้านบาท แต่ศาลพิพากษาให้จ่าย 14.76 ล้านบาทพร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี

ผมได้ยินเรื่องนี้มานานแล้ว แต่ไม่ได้ให้ความสนใจเพราะไม่ทราบรายละเอียดมากพอ  แต่หลังจากได้รับเชิญจากประธานอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติด้านสิทธิชุมชน ทำให้ผมได้ทราบทั้งข้อมูล วิธีคิด รวมทั้งเครื่องมือที่ใช้ในการคิด  ผมจึงไม่ลังเลที่จะแสดงความเห็นในเรื่องนี้

ผมได้เปรียบเรื่องนี้กับภาพยนตร์ที่คนไทยคุ้นเคยคือ
“เทวดาท่าจะบ๊องส์” เพราะมันคล้ายคลึงกันมาก   โปรดติดตามครับ

มีคำถาม 2 ข้อที่จะต้องพิจารณา คือ (1) ค่าเสียหายดังกล่าวคืออะไรบ้าง และ (2) วิธีประเมินเป็นอย่างไร  คงไม่เหมือนการประเมินราคาที่ดินในเมืองที่ใช้ราคาตลาดเป็นเกณฑ์

ค่าเสียหายประกอบด้วย 5 รายการ รวมกันไร่ละ 150
,942.70   บาทต่อปี คือ (1) ค่าไม้และของป่า 40,825.10 บาท (2) ค่าดินสูญหาย 1,800.00 บาท (3) ค่าน้ำสูญหาย 58,800.00 บาท (4) ค่าปุ๋ยสูญหาย 4,064.15 บาท และ   (5)   ค่าทำให้อากาศร้อน 45,453.45 บาท

โปรดสังเกตว่า ตัวเลขค่าเสียหายออกมาละเอียดยิบจนถึงระดับสตางค์  ผมเคยสอนวิชา
“การวิเคราะห์เชิงตัวเลข” ถ้าเป็นเช่นนี้ผมจะถามว่า “คุณใช้เครื่องมือชนิดใด ถึงได้ละเอียดถึงเพียงนี้ ดัวยเครื่องมือที่ละเอียดเท่านั้น จึงจะได้ผลลัพธ์ที่ละเอียด หรือเพราะว่าเครื่องคิดเลขให้มา”

อีกอย่างคือ ค่าเสียหายนี้เป็นค่าเสียหายต่อปี แต่เวลาศาลพิพากษาให้ชดใช้ทำไมคิดครั้งเดียวจบเลย ทำไมไม่คิดทุกปีจนกว่าสภาพป่าจะฟื้นกลับมาเหมือนเดิม

สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการคิดค่าเสียหาย กรมอุทยานฯ ซึ่งเป็นโจทก์ได้ใช้งานวิจัยของนักวิชาการในกรมเป็นเกณฑ์  โดยที่นักวิจัยได้ใช้สิ่งที่เรียกว่า
“แบบจำลองทางคณิตศาสตร์”    เป็นเครื่องมือ  

ผมได้เรียนต่อกรรมการสิทธิฯว่า การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อหาคำตอบที่เราอยากได้นั้น เราจำเป็นต้องเข้าใจกฎเกณฑ์ของเรื่องนั้น ๆ เป็นอย่างดีเสียก่อน ไม่ว่าจะเป็นกฎฟิสิกส์หรือชีววิทยา เช่น อะไรเป็นต้นเหตุ (อาจมีหลายเหตุ) แต่ละเหตุอาจมีปฏิสัมพันธ์กันเอง หรือมีปฏิสัมพันธ์กับผลลัพธ์ด้วย ถ้าเป็นอย่างนี้ก็เป็นเรื่องที่ยากมาก ๆ ยากจริง ๆ  

ผมสอนวิชา
“การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์” มากว่าสิบปี ผมยังไม่เข้าใจกฎเกณฑ์ของป่าไม้ ผมไม่สามารถวิจารณ์งานวิจัยนี้ได้มากนัก แต่โดยทั่วไปแล้วคนในวงการเขาพูดกันว่า “ถ้าใส่ขยะเข้าไปในโมเดล หรือโมเดลแบบขยะ ๆ  คำตอบที่โมเดลให้มาก็คือขยะ ไม่มีประโยชน์”

ดังนั้น การสร้างและการนำแบบจำลองไปใช้จึงต้องระมัดระวังมาก ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อศาลนำไปใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินคดี  ในที่นี้ผมขอวิจารณ์เฉพาะค่าทำให้อากาศร้อนเท่านั้น

วิธีคิดของนักวิชาการกลุ่มนี้ คือ วัดอุณหภูมิเฉลี่ยของพื้นที่ที่มีต้นไม้ปกคลุมที่ยังไม่ถูกบุกรุกแล้วเปรียบเทียบกับพื้นที่โล่งที่ถูกบุกรุกแล้ว ในช่วงเวลา 8.00 ถึง 18.00 น. จากนั้นก็คำนวณว่า ถ้าต้องการทำให้อุณหภูมิของพื้นที่โล่งกลับไปเท่าเดิมโดยใช้เครื่องปรับอากาศ (ที่เสียค่าไฟฟ้าหน่วยละ 2.10 บาท) นั้น ต้องเสียค่าไฟฟ้าเท่าใด ผลลัพธ์ที่ได้คือค่าเสียหายในประเด็นนี้

ผมไม่ได้เรียนถามนักวิจัยในที่ประชุม เพราะตามรายละเอียดไม่ทัน แต่หลังจากได้อ่านเอกสารนำเสนอแล้ว ผมมีคำถาม 3 ข้อครับ คือ

(1) ทำไมจึงเก็บข้อมูลเฉพาะในช่วง 8.00-18.00 น. เท่านั้น ทำไมไม่เก็บข้อมูลให้ตลอด 24 ชั่วโมง(และอาจต้องตลอดทุกฤดูกาลด้วย) เพราะในกลางคืนอุณหภูมิของอากาศในที่โล่งจะต่ำกว่าที่ที่มีไม้ปกคลุม ในช่วงกลางวันอาจเป็นจะจริงตามที่นักวิจัยว่า แต่ในช่วงกลางคืนกลับเป็นตรงกันข้าม
ดังนั้นเมื่อเฉลี่ยตลอด 24 ชั่วโมงแล้ว อุณหภูมิของอากาศจะเท่าเดิมครับ ไม่ร้อนขึ้น

ถ้าท่านผู้อ่านคิดแย้งกับที่ผมกล่าวมา  ก็ลองออกไปนอนนอกบ้านตอนกลางคืนดูก็ได้จะรู้สึกว่าหนาวกว่าอยู่ในบ้าน  การปกคลุมของต้นไม้ก็คล้าย ๆ กับหลังคาบ้าน 

การขึ้นลงของอุณหภูมิอากาศมีหลายสาเหตุ เช่น กระแสลม เมฆ และความกดอากาศ เป็นต้น การคิดเฉพาะการมีหรือไม่มีต้นไม้  มันง่ายเกินไปครับ

(2) ถ้าอากาศร้อนขึ้นจริงแล้วมันเสียหายอย่างไร ผมไม่เข้าใจ โปรดอย่าสับสนระหว่าง
โลกร้อน (Global Warming)” กับ “พื้นที่ที่ร้อนขึ้น” 

โลกร้อนเป็นปัญหาระดับโลก (
Global) มีสาเหตุมาจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ขึ้นไปทำหน้าที่เป็น “ผ้าห่มโลก” ไม่ให้ความร้อนที่มาจากดวงอาทิตย์หลุดออกไปจากชั้นบรรยากาศโลกได้

คนเราถ้าได้ห่มผ้าผืนเท่าฝ่ามือก็ไม่อาจทำให้อุ่นขึ้นมาได้  
“ผ้าห่มโลก” ที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์มาจากก๊าซ 3 ชนิด คือ (1) คาร์บอนไดออกไซด์ (จากเชื้อเพลิงฟอสซิล) 72%  (2) ก๊าซมีเทน (จากการเน่าเปื่อยของพืช) 18% และ (3) ไนตรัสออกไซด์ (จากปุ๋ยเคมี) 9 %

(3) นักวิจัยคิดค่าไฟฟ้าที่หน่วยละ 2.10 บาทนั้น ท่านได้ลืมบวกค่าเอฟทีอีก 80 กว่าสตางค์หรือไม่

ข้อคิดจากคดีนี้ คล้ายกับหนังที่ชาวพื้นเมือง (ชื่อนิเชา) เผ่าหนึ่งในแอฟริกาที่ไปพบขวดโค๊กที่คนมือบอนทิ้งลงมาจากเครื่องบินเล็ก ชาวพื้นเมืองคิดว่าเป็นสิ่งวิเศษที่พระเจ้าประทานมาให้ เอาไปใช้เพื่อบดแป้งก็ได้ผลดี ต่อมามีคนเอาไปใช้ตีหัวกัน จนนำไปสู่การทะเลาะวิวาทกลายเป็นสงคราม

แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ก็เช่นกัน ถ้าไม่รู้จักกฎของธรรมชาติ ไม่รู้จักสร้าง ไม่รู้จักใช้  ไม่รู้จักตั้งคำถาม ความเสียหายก็เกิดขึ้นด้วยประการฉะนี้

 

 

 

บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
    “คดีโลกร้อน” เป็นชื่อที่ใช้เรียกคดีที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นโจทก์ฟ้องผู้บุกรุกป่า ผู้บุกรุกต้องชดใช้ค่าเสียหาย  ที่ผ่านมามีเกษตรกรถูกฟ้องดำเนินคดีไปแล้วหลายสิบรายทั่วประเทศ ในช่วงปี 2549-52 ในจังหวัดตรังและพัทลุงมีราษฎรถูกดำเนินคดีไปแล้ว 13 ราย ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว 7 ราย และอยู่ระหว่างดำเนินคดี 6 ราย กรมอุทยานฯ ได้เรียกค่าเสียหาย 20.306 ล้านบาท แต่ศาลพิพากษาให้จ่าย 14.76 ล้านบาทพร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี
ประสาท มีแต้ม
    ขณะนี้รัฐบาลกำลังคิดค้นโครงการประชานิยมหลายอย่าง คาดว่าจะประกาศรายละเอียดภายในต้นปี 2554   ทั้งนี้เพื่อรองรับการเลือกตั้งใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในช่วงปลายปี ทำไปทำมานโยบายประชานิยมที่เริ่มต้นอย่างประปรายตั้งแต่รัฐบาลคึกฤทธิ์ ปราโมช (2518) และเริ่มเข้มข้นมากขึ้นในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร จะเป็นสิ่งที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้เสียแล้ว บทความนี้จะกล่าวถึงนโยบายประชานิยมในเรื่องค่าไฟฟ้าสำหรับผู้อยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้ารายย่อยไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน โครงการนี้เกิดในสมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช (2551) และใช้ต่อกันมาจนถึงรัฐบาลปัจจุบันและในอนาคตด้วย ผมได้มีโอกาสคุยกับผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อยในชนบท…
ประสาท มีแต้ม
    คำนำ เป็นที่ทราบกันทั่วไปแล้วว่า ขณะนี้สังคมไทยเรากำลังมีความขัดแย้งรุนแรงครอบคลุมเกือบทุกพื้นที่ของประเทศ จนรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปขึ้นมาหลายชุด หนึ่งในนั้นคือ คณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) โดยมีคุณอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน เมื่อกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการชุดนี้ได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นขึ้น โดยขึ้นคำขวัญซึ่งสะท้อนแนวคิดรวบยอดของการปฏิรูปประเทศไทยว่า “ลดอำนาจรัฐ ขจัดความเหลื่อมล้ำ” ผมเองได้ติดตามชมการถ่ายทอดโทรทัศน์จากรายการนี้ตั้งแต่ต้นจนจบ ได้ทราบถึงเจตนารมณ์ในการรับฟังความคิดเห็น ได้ชมวีดิทัศน์ที่บอกถึง “ความเหลื่อมล้ำ” …
ประสาท มีแต้ม
  “...ถ้าอุณหภูมิผิวน้ำทะเลสูงขึ้น 1 องศาเซียลเซียส ความถี่ที่จะเกิดพายุชนิดรุนแรงจะเพิ่มขึ้นอีก 31% ... ในปี พ.ศ. 2643 อุณหภูมิดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 2 องศา”   “ผลการวิจัยพบว่า ค่าความเสียหายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาจจะมากกว่าผลผลิตทางเศรษฐกิจของคนทั้งโลก ทั้งนี้ภายในก่อนปี พ.ศ. 2608”  
ประสาท มีแต้ม
ขณะนี้ทางรัฐบาลโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (หรือ กฟผ.) กำลังเสนอให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ขนาด 700 เมกกะวัตต์  ชาวหัวไทรที่ไม่คุ้นเคยกับเรื่องนี้อาจเกิดความสงสัยหลายอย่าง เป็นต้นว่า 1.โรงไฟฟ้าขนาด 700 เมกกะวัตต์นั้น มันใหญ่เท่าใด ไฟฟ้าที่ผลิตมาได้จะใช้ได้สักกี่ครอบครัวหรือกี่จังหวัด
ประสาท มีแต้ม
    คำว่า “ไฟต์บังคับ” เป็นภาษาในวงการมวย  หมายความว่าเมื่อนักมวยคนหนึ่ง(มักจะเป็นแชมป์) ถูกกำหนดโดยองค์กรที่เกี่ยวข้องว่า ครั้งต่อไปนักมวยคนนี้จะต้องชกกับใคร จะเลี่ยงไปเลือกชกกับคนอื่นที่ตนคิดว่าได้เปรียบกว่าไม่ได้
ประสาท มีแต้ม
  ๑.  คำนำ บทความนี้ประกอบด้วย 6 หัวข้อย่อย ท่านสามารถอ่านหัวข้อที่ 6 ก่อนก็ได้เลย เพราะเป็นนิทานที่สะท้อนปัญหาระบบการศึกษาได้ดี เรื่อง “โรงเรียนสัตว์”   ถ้าท่านรู้สึกสนุกและเห็นคุณค่าของนิทานดังกล่าว (ซึ่งทั้งแสบ ทั้งคัน) จึงค่อยกลับมาอ่านหัวข้อที่ 2  จนจบ หากท่านไม่เกิดความรู้สึกดังกล่าว  ก็โปรดโยนทิ้งไปได้เลย ๒. ปัญหาของการศึกษากระแสหลักคืออะไร
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ชื่อบทความนี้อาจจะทำให้บางท่านรู้สึกว่าเป็นการทอนพลังของการปฏิรูป ที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ แต่ผมขอเรียนว่า ไม่ใช่การทอนพลังครับ แต่เป็นการทำให้การปฏิรูปมีประเด็นที่เป็นรูปธรรม สัมผัสได้ชัดเจน สามารถปฏิบัติได้ง่าย รวดเร็ว  เมื่อเทียบกับการปฏิรูปมหาวิทยาลัย ปฏิรูปการศึกษาที่ต้องใช้เวลานานกว่าจะเห็นผล ผมได้ตรวจสอบประเด็นของการปฏิรูปของคณะกรรมการชุดที่คุณหมอประเวศ วะสี เป็นประธานแล้วพบว่า ไม่มีประเด็นเรื่องนโยบายพลังงานเลย บทความนี้จะนำเสนอให้เห็นว่า (1) ทำไมจะต้องปฏิรูปนโยบายพลังงานในทันที  (2) จะปฏิรูปไปสู่อะไร และ (3) ทำอย่างไร เริ่มต้นที่ไหนก่อน  …
ประสาท มีแต้ม
“ในการเดินทาง เรามักใช้ยานพาหนะช่วย   แต่ในการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical) เราใช้อะไรเป็นเครื่องมือหรือเป็นพาหนะ”
ประสาท มีแต้ม
“คุณรู้ไหม คนเราสามารถคิดได้เร็วกว่าที่อาจารย์พูดถึงสี่เท่าตัว ดังนั้น เราสามารถฟังและจดโน้ตดี ๆ ได้”   1.    คำนำ ในแต่ละปีผมพบว่า นักศึกษาชั้นปีที่หนึ่ง (ซึ่งยังสด ๆ และมองชีวิตในมหาวิทยาลัยแบบสดใสอยู่) จำนวนมากใช้วิธีจดเลคเชอร์ของแต่ละวิชาลงในสมุดเล่มเดียวกัน  เมื่อสอบถามได้ความว่า ค่อยไปลอกและทั้งปรับปรุงแก้ไขลงในสมุดของแต่ละวิชาในภายหลัง  
ประสาท มีแต้ม
1.    คำนำ เราคงยอมรับร่วมกันแล้วว่า ขณะนี้สังคมไทยกำลังมีความขัดแย้งอย่างรุนแรงทั้งในระดับความคิด ความเชื่อทางการเมือง และวัฒนธรรมซึ่งนักสังคมศาสตร์จัดว่าเป็นโครงสร้างส่วนบน และความขัดแย้งทางเศรษฐกิจที่รวมศูนย์ การแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติและการทำลายสิ่งแวดล้อมซึ่งถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานของสังคม  ความขัดแย้งเชิงโครงสร้างทั้งสองระดับนี้กำลังวิกฤติสุด ๆ จนอาจพลิกผันนำสังคมไทยไปสู่หายนะได้ในอนาคตอันใกล้นี้
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ภาพที่ท่านเห็นอยู่นี้เป็นปกหน้าและหลังของเอกสารขนาดกระดาษ A4 ที่หนาเพียง 16 หน้า แม้ว่าหลายท่านอาจจะยังไม่คุ้นเคยกับศัพท์แสงที่ปรากฏ แต่ผมเชื่อว่าแววตาและท่าทางของเจ้าหนูน้อยในภาพคงทำให้ท่านรู้สึกได้ว่าเธอทึ่งและมีความหวัง บรรณาธิการกรุณาอย่าทำให้ภาพเล็กลงเพื่อประหยัดเนื้อที่ เพราะจะทำให้เราเห็นแววตาของเธอไม่สดใสเท่าที่ควร เอกสารนี้จัดทำโดย “สภาเพื่ออนาคตโลก” หรือ World Future Council (WFC) ค้นหาได้จาก www.worldfuturecouncil.org