Skip to main content

หลังจากที่ได้ขีดๆเขียนๆบทความ ในด้านที่ข้าพเจ้าเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับสังคมไทย และอยู่ในความสนใจของตัวเอง เป็นระยะเวลาประมาณ 3 เดือน ข้าพเจ้ารู้สึกว่า เป็นเวลาอันสมควร ที่ควรจะทำความเข้าใจ กับผู้ให้ความกรุณาแวะเวียนเข้ามาอ่าน ทั้งขาประจำและขาจร ซึ่งมีอยู่จำนวนหนึ่ง ถึงที่มาของคอลัมน์ “กรองกระแส ICT”

จุดเริ่มต้นของคอลัมน์นี้ เกิดจากการที่ข้าพเจ้ามีความสนใจ และมีโอกาสศึกษาหาความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ
Information Technology (IT) และ ทางด้านระบบข้อมูลสารสนเทศ หรือ Information System (IS) ประกอบกับประสบการณ์ในการทำงาน ในอุตสหกรรมโทรคมนาคม จนถือได้ว่า ข้าพเจ้าโชคดีที่มีความคุ้นเคยกับ ICT จากทั้งสองฝากของเทคโนโลยีซึ่งรวมกันเป็น ICT นั่นคือ ฝากของเทคโนโลยีสารสนเทศ จากโอกาสทางศึกษา และฝากของเทคโนโลยีทางการสื่อสาร จากโอกาสทางการทำงาน

จากประสบการณ์ทำงานและโอกาสทางการศึกษา ทำให้ข้าพเจ้าพูดได้ว่า ในปัจจุบัน เกือบทุกสังคมในโลกใบนี้ รวมถึงประเทศไทยของเรา ยังมองเห็น
ICT ซึ่งเป็นเทคโนโลยี ที่มีอิทธิพลต่อทุกชีวิตบนโลกใบนี้ เพิ่มขึ้นทุกที จากสองบริบทนั่นคือ จากบริบททางเทคโนโลยี และจากบริบททางการบริหารจัดการ เป็นหลัก ซึ่งเป็นผลมาจากการถูกปลูกฝังแนวความคิด จากโลกของการศึกษาและโลกของการทำงาน

โดย
...

การมอง
ICT จากบริบททางเทคโนโลยี เป็นผลมาจาก กลุ่มคนที่ถูกปลูกฝังแนวคิดทางเทคโนโลยี เช่น ผู้ที่มีพื้นฐานการศึกษา หรือจากประสบการณ์การทำงาน ทางด้านวิศวกรรม ทางด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ และทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งส่งผลให้คนในกลุ่มนี้ มีลักษณะวิธีคิด หรือตรรกะในการทำงาน อย่างที่เรียกว่า “วิธีคิดเชิงระบบ” ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกับ แนวคิดเบื้องหลังโครงสร้างการทำงานภายใน ของเทคโนโลยีต่างๆ

สังคมที่มอง
ICT จากบริบททางเทคโนโลยี มักยึดเอาเทคโนโลยี ICT เป็นศูนย์กลางในการสร้างความเปลี่ยนแปลง เพราะเชื่อในความถูกต้องและประสิทธิภาพ ของระบบการทำงานของเทคโนโลยี ที่ถูกคิดและสร้างมา โดยจะบังคับให้ผู้คน ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ยอมรับและปรับเปลี่ยนตัวเองเพื่อให้เข้ากับระบบสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป อันเนื่องมาจากการนำเทคโนโลยีมาใช้ โดยลืมให้ความสำคัญหรือความสนใจ กับตัวแปรและผลกระทบ อันนอกเหนือจากเป้าหมายหลักที่เทคโนโลยีถูกสร้างขึ้น

ส่วนการมอง
ICT จากบริบทของการบริหารจัดการ เป็นผลมาจากกลุ่มคน ที่ถูกปลูกฝังแนวคิดทางด้านการบริหารจัดการ เช่นผู้ที่มีพื้นฐานการศึกษา หรือประสบการณ์การทำงาน ทางด้านการจัดการองค์กร การบริหารธุรกิจ หรือการควบคุมการผลิต ซึ่งให้ความสำคัญกับการควบคุม ให้สิ่งต้องการบริหารจัดการ เป็นไปตามเป้าหมายที่ได้วางเอาไว้

การที่สังคมมอง
ICT จากบริบทของการบริหารจัดการ ส่งผลให้สังคมนั้น ให้ความสำคัญกับการคิดหาวิธีการใช้งานเทคโนโลยี การควบคุมการใช้งานเทคโนโลยี รวมถึงความพยายามพัฒนาวิธีการบริหารจัดการโครงการ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา ICT ต่างๆ อย่างเป็นระบบ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลสัมฤทธิ์สูงสุด โดยผลสัมฤทธิ์ในบริบทนี้ ส่วนใหญ่มักอิงกับประโยชน์ในรูปของตัวเงิน เช่นเพื่อการสร้างรายได้ เพื่อการลดต้นทุน หรือเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

การมอง
ICT จากทั้งสองบริบทข้างต้น มีความเหมือนกันอยู่สองประการ

ประการแรก มุมมองทั้งสองบริบท ยึดถือเอา “วิธีคิดเชิงระบบ” นั่นคือการพยายามรวบรวมปัจจัย และตัวแปรทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำความเข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างเหตุ ปัจจัย และตัวแปร และใช้ความเข้าใจนี้ เพื่อควบคุมสิ่งต่างๆ ให้เป็นไปตามที่คิดและวางแผนไว้ เป็นหลัก โดยเชื่อในตรรกะที่ว่าการดำเนินไปของทุกสิ่งทุกอย่าง มีที่มาที่ไปหรือเหตุและผลแน่นอน

ประการที่สอง มุมมองทั้งสองบริบท ละเลยความจริงที่ว่า “มนุษย์และสังคม” เป็นผู้มีส่วนร่วม และในขณะเดียวกัน เป็นผู้ได้รับผลกระทบจาก การสร้าง ใช้งาน และการบริหารจัดการ
ICT โดยทั้งมนุษย์และสังคม เป็นตัวแปรหรือปัจจัยที่มีความแตกต่างและหลากหลาย รวมทั้งมีความคิดและความรู้สึก เป็นของตนเอง ซึ่งทำให้มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าแตกต่างกันไป

ความเหมือนกันทั้งสองประการ ของการมีมุมมอง
ICT ในบริบททั้งสองข้างต้น สะท้อนให้เห็นความจริงที่ค่อนข้างแปลก ที่ว่า

สังคมหลายสังคม กำลังนำวิธีคิดเชิงระบบ ซึ่งเป็นแนวความคิดทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในการสร้าง การใช้ประโยชน์ และการควบคุมและบริหารจัดเทคโนโลยี เพื่อการสร้างผลลัพธ์ทางสังคม อย่างที่วางเป้าหมายไว้ โดยละเลยตัวแปรหรือปัจจัยทางสังคมศาสตร์...นั่นคือการมีส่วนร่วมและการเป็นผู้รับผลกระทบของ “มนุษย์และสังคม” ซึ่งมีส่วนสำคัญในการกำหนดทิศทางและความสำเร็จ ในการสร้าง การใช้ประโยชน์ และการควบคุมและบริหารจัดการเทคโนโลยี ซึ่งตัวแปรหรือปัจจัยทางสังคมศาสตร์นี้ ไม่สามารถถูกเข้าใจหรือถูกอธิบายได้ ด้วยวิธีคิดทางวิทยาศาสตร์”

ด้วยความบกพร่องของการมอง
ICT จากบริบททางเทคโนโลยี และบริบททางการบริหารจัดการ เป็นหลัก ทำให้สังคมต่างๆประสบปัญหา เกี่ยวกับ ICT อย่างต่อเนื่อง (จากบทความทั้งหลาย ที่ข้าพเจ้าได้นำเสนอมาก่อนหน้านี้ และต่อๆไป) ข้าพเจ้าจึงคิดว่า สังคมต่างๆควรที่จะมอง ICT จากบริบททางสังคมเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นบริบทที่อนุญาตให้เรา นำองค์ประกอบทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับ ICT เข้ามาร่วมในระหว่างการวิเคราะห์ เพื่อทำให้สังคมนั้นมอง ICT ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาทางสังคมและเศรษฐกิจ ที่อาจเกิดตามมา เนื่องจากสังคมนั้นขาดความใส่ใจ ในบริบททางสังคมของ ICT

นั่นคือ
...ในความคิดของข้าพเจ้านั้น

การเปิดพื้นที่เพื่อการศึกษา ICT จากบริบททางสังคม จึงมีความสำคัญและมีความจำเป็นต่อทุกสังคม”

ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงเริ่มสำรวจโลกไซเบอร์ภาคภาษาไทย และทำให้รู้ว่า สังคมไทยของเรา ยังขาดพื้นที่ที่มีการแลกเปลี่ยนความคิด และแสดงทัศนะเกี่ยวกับ
ICT จากผู้ที่มีมุมมองในบริบททางสังคม

ข้าพเจ้าจึงมีความตั้งใจที่จะหาพื้นที่ออนไลน์ซักแห่ง ที่ได้รับความสนใจจากผู้สนใจศึกษาภาคสังคม เพื่อใช้นำเสนอบทความที่เกี่ยวข้องกับ
ICT จากมุมมองในบริบททางสังคม และหวังว่าพื้นที่แห่งนี้จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิด หรือการแสดงทัศนะต่อยอดทางความคิดในด้านดังกล่าวต่อไป และนี่ก็คือความเป็นมาเป็นไปของคอลัมน์ “กรองกระแส ICT” ณ หนังสือพิมพ์ออนไลน์ ประชาไท แห่งนี้

ปัจจุบันพื้นที่เล็กๆแห่งนี้ มีความก้าวหน้าก้าวเล็กๆเกิดขึ้น จากการที่มีผู้อ่านจำนวนหนึ่งได้เข้ามาอ่านอยู่เป็นประจำ ซึ่งข้าพเจ้าขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย

ความสำเร็จก้าวต่อไป ที่ข้าพเจ้าต้องขอการสนับสนุนจากท่านผู้อ่าน ก็คือ การที่ทุกท่านที่เข้ามาอ่านคอลัมน์นี้ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความที่ได้อ่าน แนะนำหัวข้อที่ท่านอยากรู้ แลกเปลี่ยนทัศนะกในเรื่องซึ่งเกิดขึ้นรอบตัวท่าน และท่านตระหนักว่ามีความเกี่ยวข้องกับ บริบททางสังคมของ
ICT และรวมไปถึงการแนะนำคอลัมน์นี้ให้กับผู้สนใจคนอื่นๆต่อไป

อย่างไรก็ดี
...ข้าพเจ้าก็ตั้งใจ ที่จะไม่ปิดกั้นคอลัมน์แห่งนี้ ให้เป็นพื้นที่ที่นำเสนอบทความทางด้าน ICT จากบริบททางสังคมเพียงเท่านั้น หากแต่ตั้งใจทำให้พื้นที่นี้แห่งนี้ เปิดเสรีให้กับเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ ICT จากบริบทอื่นๆ อย่างรอบด้าน ด้วยการสอดแทรกบทความที่เกี่ยวข้องกับ ICT จากบริบทอื่นๆอีกด้วย

โปรดแนะนำ ติชม และเสนอเรื่องที่อยากรู้ เพื่อทำให้พื้นที่นี้มีสะท้อนความต้องการของผู้อ่านมากขึ้น และทำให้สังคมไทยได้รับประโยชน์สูงสุด จากการมีความเข้าใจ
ICT อย่างรอบด้านมากขึ้น

บทความวันนี้ เปรียบเหมือนบทบรรณาธิการ แล้วกลับมาเจอบทความปกติได้ ในอาทิตย์ต่อไป

ปล
. หากท่านผู้อ่านท่านใด มีโอกาสพบเจอ พื้นที่ออนไลน์อื่นๆ ซึ่งให้ความสนใจกับ ICT ในบริบททางสังคม กรุณาแนะนำข้าพเจ้าด้วย เพื่อขยายเครือข่ายของผู้มีความสนใจ ทางด้านนี้ต่อไป ขอขอบคุณ



บล็อกของ SenseMaker

SenseMaker
น้ำมาถึงไหนแล้วหว่า...บ้านฉันน้ำจะท่วมมั้ยเนี่ย...จะหาข้อมูลที่จำเป็นได้จากที่ไหนบ้างหว่า...เวลาเดือดร้อนจะต้องแจ้งใคร...ทำไมโทรไป 1111 กด 5 แล้วถามอะไรไปก็ตอบไม่ได้... ........ใครก็ได้ช่วยบอกทีเหอะว่าฉันกับครอบครัวต้องทำยังไงบ้าง.......ข้อมูลประกอบการตัดสินใจอะไรๆก็ไม่มี ที่มีก็ไม่รู้จะเชื่อได้มากขนาดไหน เชื่อได้รึเปล่า.........
SenseMaker
ขอสวัสดีปีใหม่แด่ท่านผู้อ่านทุกท่าน ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยจงอวยพรให้ทุกท่าน สุขกาย สบายใจมีเงินทองใช้ไม่ขาดมือ และมีสติในการดำเนินชีวิตอยู่เสมอ
SenseMaker
  จากที่สัญญาว่าในบทความนี้ ข้าพเจ้าจะมาต่อยอดบทความจากครั้งที่แล้วในหัวข้อ “ความร่ำรวยข้อมูล” ด้วยการวิเคราะห์ความจำเป็น ที่เราจักต้องพัฒนาทั้ง 3 ส่วนประกอบสำคัญ อันได้แก่ ความอุดมทางด้านข้อมูล ความยากง่ายในการเข้าถึงข้อมูล และมุมมองที่มีในการวางแผนโครงสร้างข้อมูลบนเว็บ ไปพร้อมๆกัน เพื่อทำให้ทุกท่านเข้าใจประเด็นดังกล่าวนี้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
SenseMaker
เป็นอีกครั้งที่ข้าพเจ้าไม่สามารถส่งบทความเข้ามาได้ตามกำหนด โดยคราวนี้ทิ้งระยะไปนานมาก จนทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกผิดต่อผู้อ่านและผู้บริหาร blogazine เป็นอย่างยิ่ง ข้าพเจ้าต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
SenseMaker
ต่อเนื่องจากบทความที่แล้วในหัวข้อ ความเป็นส่วนตัวของคุณราคาเท่าไหร่ ข้าพเจ้าอยากชวนท่านผู้อ่านคิดต่อไปอีกนิดว่า ท่านจะรู้ได้อย่างไรว่า ข้อมูลส่วนตัวต่างๆ ที่ท่านเปิดเผยไว้บนพื้นที่ออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเครือข่ายสังคมออนไลน์ (social network sites) ต่างๆ เช่น Facebook และ MySpace จะไม่ทำให้ท่านสูญเสียอะไร หรือเสียใจในอนาคต
SenseMaker
จากบทความที่แล้วในหัวข้อ การจัดระเบียบโลกใหม่ การเมืองไทย และICT ข้าพเจ้าได้ชี้ให้เห็นว่า เพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ICT ในปัจจุบัน ทำให้ความสามารถของมนุษย์ ในการจัดการและจัดเก็บข้อมูล ซึ่งหากอาศัยเพียงประสาทสัมผัสของมนุษย์ จะไม่สามารถเข้าถึงและจัดการได้ และความด้วยความก้าวหน้านี้ ทำให้มนุษย์สามารถเห็นและรับรู้ ในข้อมูลที่เคยยากที่จะเห็นและรับรู้ อีกทั้งยังทำให้เข้าใจในสิ่งที่เคยยากต่อการวิเคราะห์
SenseMaker
ความก้าวหน้าทาง ICT ในปัจจุบัน ช่วยให้เราๆท่านๆ สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ซึ่งยากที่จะเข้าถึงในอดีต ได้ง่ายขึ้น เช่น ข้อมูลของบุคคลหรือข้อมูลขององค์กรที่เราสนใจ ข้อมูลทางเศรษฐกิจและสังคม ของประเทศใดประเทศหนึ่ง รวมถึงองค์ความรู้ในด้านต่างๆ เป็นต้น
SenseMaker
หลังจากบทความที่เรียกได้ว่า บทบรรณาธิการแรก ได้ชี้แจงเป้าหมายการดำรงอยู่ ของพื้นที่ทางความคิดแห่งนี้ บัดนี้เวลาล่วงเลยมาครึ่งปี โอกาสแห่งการพูดคุย กับท่านผู้อ่านอีกครั้ง ก็มาถึงทุกๆ12 บทความ ที่ได้ทำหน้าที่ของมันผ่านพ้นไป ถือเป็นช่วงเวลาที่ดี ที่ผู้เขียนกับผู้อ่านจะได้แลกเปลี่ยนความคิดกัน เพื่อทำให้พื้นที่แห่งนี้ เป็นประโยชน์กับทุกๆคน อย่างแท้จริงในทัศนะของข้าพเจ้าแล้ว ICT เข้ามามีบทบาท ต่อชีวิตของเราทุกคน ในทุกวันนี้มากขึ้นทุกที แต่ละคนได้รับประโยชน์ ผลกระทบ และผลลัพธ์ ที่แตกต่างกันไป จากการเปลี่ยนแปลงรอบตัว ซึ่งมี ICT เป็นปัจจัยต้นเหตุ
SenseMaker
Peer Review อาจไม่ใช่คำในภาษาอังกฤษ ที่คนส่วนใหญ่ในสังคมคุ้นเคย แต่เป็นคำคุ้นเคยเป็นอย่างดีในสังคมนักวิชาการ อาจารย์ หรือ นักวิจัย เนื่องจากสังคมดังกล่าว มีวัฒนธรรมและกิจกรรมหลัก ในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ด้วยการต่อยอดองค์ความรู้ที่มีอยู่เดิม ผ่านการพัฒนาผลงานวิจัยใหม่ ซึ่งการยอมรับจากสมาชิกในสังคมเดียวกัน มีความสำคัญกับผลงานวิจัยแต่ละชิ้นมาก เนื่องจากไม่ว่าผลงานดังกล่าว จะมีคุณภาพในสายตาผู้พัฒนาเพียงใด แต่หากไม่ได้รับการตอบรับจากสมาชิกในสังคม ผลงานนั้นก็ถือได้ว่า ไม่ได้สร้างคุณค่าให้กับสังคมมากนัก
SenseMaker
ในอดีต การเกิดขึ้นของสังคม มักจะถูกจำกัดด้วยเส้นขอบเขตของเวลาและสถานที่ การเป็นส่วนหนึ่งในสังคม เกิดจากการมีส่วนร่วมอยู่ในเวลาและสถานที่เดียวกัน เช่น การอยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน การไปโรงเรียนหรือสถานศึกษาเดียวกัน การทำงานในบริษัทหรือสถานที่ทำงานเดียวกัน หรือ การอยู่ในกลุ่มทำกิจกรรมเดียวกัน เป็นต้นแต่ด้วยความก้าวหน้าของ ICT และการขยายตัวของอินเตอร์เนต ทำให้ในปัจจุบัน การมีและเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ของเราแต่ละคน ไม่ถูกจำกัดโดยสองข้อจำกัดข้างต้น อีกต่อไป และทำให้ในปัจจุบันนั้น เราแต่ละคน มีและเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ที่ถูกสร้างขึ้นบนอินเตอร์เนต เพิ่มมากขึ้นๆทุกที
SenseMaker
  หลังจากหลายบทความในคอลัมน์แห่งนี้ ข้าพเจ้าได้ใช้พูดถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ที่นับวันดูเหมือนว่า "เป็นการยากสำหรับประชาชน ที่จะทำความเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ เพื่อการดำรงชีวิตอย่างเท่าทัน" บทความวันนี้ จึงถูกเขียนขึ้นเพื่อแสดงทัศนะเกี่ยวกับกลไกทางสังคม ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน เพื่อทำหน้าที่คุ้มกันและช่วยเหลือประชาชน ซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบหรือถูกกระทำ จากความเปลี่ยนแปลงทางสังคมเหล่านี้ โดยไม่อาจป้องกันตนเองได้อย่างเท่าทัน หากขาดไปซึ่งกลไกทางสังคมที่จะขอกล่าวถึงในวันนี้เรามาเริ่มทบทวนกันก่อนว่าความเปลี่ยนแปลงทางสังคม ซึ่งถูกกล่าวถึงในคอลัมน์แห่งนี้…
SenseMaker
สุขสันต์ปีใหม่แด่ทุกท่าน ผู้ซึ่งให้เกียรติแวะเวียนเข้ามาอ่านบทความในคอลัมน์แห่งนี้ ทั้งขาประจำและขาจร ขออาราธนาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก จงอำนวยอวยพรให้ทุกท่านมีความสุขกาย สบายใจ และสามารถดำรงชีวิตอย่างมีสติ (และมีสตางค์ใช้อย่างพอเพียง) ข้าพเจ้าขอเริ่มต้นปีใหม่ ด้วยอีกหนึ่งงานเขียนที่มุ่งสื่อสารให้ผู้คนในวงกว้าง ตระหนักถึงผลกระทบที่ ICT มีต่อการดำเนินชีวิตในทุกระดับ เพื่อให้ทุกท่านสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อย่างเท่าทัน อีกทั้งสามารถประยุกต์ใช้มันอย่างมีประโยชน์