สังคมสองโลก โลกสองสังคม

ในอดีต การเกิดขึ้นของสังคม มักจะถูกจำกัดด้วยเส้นขอบเขตของเวลาและสถานที่ การเป็นส่วนหนึ่งในสังคม เกิดจากการมีส่วนร่วมอยู่ในเวลาและสถานที่เดียวกัน เช่น การอยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน การไปโรงเรียนหรือสถานศึกษาเดียวกัน การทำงานในบริษัทหรือสถานที่ทำงานเดียวกัน หรือ การอยู่ในกลุ่มทำกิจกรรมเดียวกัน เป็นต้น

แต่ด้วยความก้าวหน้าของ ICT และการขยายตัวของอินเตอร์เนต ทำให้ในปัจจุบัน การมีและเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ของเราแต่ละคน ไม่ถูกจำกัดโดยสองข้อจำกัดข้างต้น อีกต่อไป และทำให้ในปัจจุบันนั้น เราแต่ละคน มีและเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ที่ถูกสร้างขึ้นบนอินเตอร์เนต เพิ่มมากขึ้นๆทุกที

ระบบการแบ่งปันข่าวสารเฉพาะกลุ่ม (newsgroups) และระบบกระดานสนทนา (web board) อาจเรียกได้ว่า เป็นจุดเริ่มต้น ที่ทำให้เราแต่ละคนมีและเป็นส่วนหนึ่ง ในสังคมบนอินเตอร์เนต เนื่องจากทั้งสองระบบ ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของคนหมู่มากได้ ผ่านการรับรู้ข่าวสารเดียวกัน และการสนทนาในหัวข้อเดียวกัน


ปัจจุบัน การเกิดขึ้นของระบบเครือข่ายสังคม (social network) เช่น Hi5 Facebook และ MySpace และระบบโลกเสมือน เช่น Second Life หรือกระทั้งระบบเกมส์ออนไลน์ เช่น World of Warcraft คือก้าวสำคัญ ที่ทำให้เกิดการขยายตัวในวงกว้าง ของการมีและเป็นส่วนหนึ่งในสังคมบนอินเตอร์เนต ของเราแต่ละคน


เนื่องจากทั้งสามระบบข้างต้น ทำให้คนหมู่มาก สามารถมีประสบการณ์ร่วมกัน ผ่านช่องทางการสื่อสาร ที่อนุญาตให้โต้ตอบกันได้ แถบจะในทันที (almost real time two ways communication) อีกทั้งยังเป็นสื่อที่มีความหลากหลาย (rich media) มากกว่าในอดีต ที่เป็นเพียงแค่ช่องทางการสื่อสารทางเดียวและตัวหนังสือ


การเกิดขึ้นของปรากฏการณ์ข้างต้นนี้ ส่งผลให้เราทุกคน ต้องเผชิญกับการใช้ชีวิต ทั้งในสังคมในโลกเสมือนบนอินเตอร์เนต และในสังคมในโลกที่เรามีชีวิตและอาศัยอยู่จริง มากขึ้นๆทุกที


ถึงแม้ว่า พื้นฐานการใช้ชีวิตในสังคมทั้งสองแบบ และบนโลกสองใบที่แตกต่างกัน อาจมีบางมุมที่คล้ายกัน เช่นในมุมที่ว่า สังคมถูกสร้างขึ้นบนพื้นฐานของความไว้ใจและเชื่อใจ ผ่านการมีระบบความคิด ความเชื่อ ค่านิยม และการมีอัตลักษณ์ร่วมกัน หรือในมุมที่ว่า ทุกชีวิตต้องรับผิดชอบต่อทุกการตัดสินใจ ทุกการกระทำ และต่อความปลอดภัยของตัวเอง


กระนั้นก็ดี ยังมีความแตกต่างในอีกหลายๆมุม ซึ่งทำให้การใช้ชีวิตในสังคมทั้งสองแบบ และบนโลกสองใบที่แตกต่างกันนี้ ต้องการแนวคิดในการดำเนินชีวิต และส่วนผสมของชีวิต ที่แตกต่าง


ในขณะที่การใช้ชีวิตอยู่ในสังคม บนโลกที่เราอาศัยอยู่นี้ เด็กและวัยรุ่น สามารถได้รับคำแนะนำสั่งสอน ได้รับการดูแลสอดส่อง และได้มองเห็นตัวอย่างจากสมาชิกในครอบครัว เพื่อการดำเนินชีวิตอย่างปลอดภัยและมีความสุข

แต่การใช้ชีวิตอยู่ในสังคมในโลกบนอินเตอร์เนต เด็กและวัยรุ่น ขาดการให้ความรู้ ความเข้าใจ ขาดคู่คิดในการตัดสินใจ และขาดตัวอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิต จากคนที่รักและห่วงใยเค้า ทำให้ประชากรในกลุ่มนี้ มีความเสี่ยงสูงจากการใช้ชีวิตบนโลกอินเตอร์เนต จากการมีระบบความคิด ความเชื่อ ค่านิยม และการมีอัตลักษณ์ เฉพาะในกลุ่มของตน ซึ่งทำให้เกิดความแปลกแยก จากสังคมบนโลก ที่พวกเค้าเหล่านี้ ต้องอาศัยอยู่จริง


นั่นหมายถึงว่า เมื่อเด็กและวัยรุ่น จำเป็นต้องมี ใช้ชีวิต และต้องเดินทางไปมาระหว่าง สังคมสองแบบ และบนโลกสองใบที่แตกต่างกัน พวกเค้าเหล่านี้อาจไม่สามารถบริหารจัดการตัวตนของตัวเอง ได้อย่างเหมาะสม

ผลกระทบของปรากฏการณ์นี้ ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับเด็กและเยาวชน เพียงเท่านั้น ผู้ที่เติบโตเป็นผู้ใหญ่ทุกคน ก็ได้รับผลกระทบนี้เช่นกัน


การที่โลกอินเตอร์เนต เปิดโอกาสให้เราทุกคน สามารถทำอะไรได้ค่อนข้างอิสระ และไม่ต้องรับผิดชอบกับการกระทำของตัวเองมากนัก อันเป็นผลสืบเนื่องมาจาก คุณสมบัติในการมีส่วนร่วม ได้โดยไม่จำเป็นต้องแสดงตน

อีกทั้งการที่สังคมบนอินเตอร์เนตส่วนใหญ่ เปิดโอกาสให้คนเรามีส่วนร่วมได้อย่างฉาบฉวย เนื่องจากไร้ซึ่งส่วนผสมของชีวิต เฉกเช่นในสังคมบนโลกที่เราอาศัยอยู่ ไม่ว่าจะเป็น การทำกิจกรรมทางสังคมร่วมกัน ซึ่งทำให้เกิดการสัมผัสและเกิดมีปฏิสัมพันธ์ รวมถึงการได้รู้จักและรับรู้ ถึงตัวตน ครอบครัว และมุมอื่นๆในชีวิต ของสมาชิกในสังคม

ด้วยปัจจัยตัวอย่างข้างต้นนี้ แน่นอนว่า ย่อมส่งผลให้คนส่วนใหญ่ ติดนิสัยขาดความรับผิดชอบในสิ่งที่ตนเองทำ ขาดความยั้งคิดก่อนการกระทำใดๆมากขึ้น รวมถึงการใช้ชีวิตเพื่อผลประโยชน์ของตนเองมากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่า หากนำมาใช้กับสังคมบนโลกที่เราอาศัยอยู่ ย่อมนำมาซึ่งปัญหาทางสังคมมากมาย


ตัวอย่างที่ชัดเจน ของปรากฏการณ์ต่างๆข้างต้นนี้ คือภาพของคนหนึ่งคนที่ใช้ชีวิต และเดินทางไปมา ระหว่างสองประเทศ ซึ่งแน่นอนว่าต้องเกิดความสับสน และปัญหาในการใช้ชีวิต เนื่องจากความแตกต่างทางวัฒนธรรม ค่านิยม และระบบความคิด ของทั้งสองประเทศ หากแต่สิ่งที่เกิดขึ้นในความเป็นจริงนั้น รุนแรงกว่า เนื่องจากปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นกับคนเพียงหนึ่งคน หากแต่เกิดขึ้นกับคนในวงกว้างมากขึ้นทุกที และที่สำคัญ การเดินทางไปมาระหว่างสองโลกหรือสองสังคมนั้น เกิดขึ้นในทุกวันของชีวิต


สิ่งต่างๆเหล่านี้เอง ที่ทำให้นับวัน เป็นการยากที่กลไกทางสังคมเดิม ที่เรามีอยู่ จะสามารถเอื้อประโยชน์ ให้สังคมบนโลกที่เราอาศัยอยู่นี้ เข้าไปรับมือและจัดการ กับปรากฏการณ์ที่ไม่คุ้นเคย และมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เฉกเช่นผลกระทบจากสังคมในโลกบนอินเตอร์เนต ได้อย่างเท่าทันและมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นผลมาจาก กลไกทางสังคมที่เรามีอยู่นั้น ถูกออกแบบมา ให้รับมือกับปรากฏการณ์ ในสังคมที่เราใช้ชีวิตและอาศัยอยู่ ในโลกใบที่เราคุ้นเคย ไม่ใช่รับมือกับสังคม ที่สมาชิกใช้ชีวิตอยู่ในสองโลก หรือไม่ใช่รับมือกับโลกใบเดิม ที่มนุษย์เป็นสมาชิกของสองสังคม


สิ่งที่พอจะลดทอนผลกระทบข้างต้นได้นั้น คือการเร่งทำให้ทุกคนตระหนักถึง ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ รวมทั้งพัฒนากลไกทางสังคม ให้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ

 

 

ไม่ได้อย่างใจ...เชื่อได้มั้ยอ่ะ

น้ำมาถึงไหนแล้วหว่า...บ้านฉันน้ำจะท่วมมั้ยเนี่ย...จะหาข้อมูลที่จำเป็นได้จากที่ไหนบ้างหว่า...เวลาเดือดร้อนจะต้องแจ้งใคร...ทำไมโทรไป 1111 กด 5 แล้วถามอะไรไปก็ตอบไม่ได้...

........ใครก็ได้ช่วยบอกทีเหอะว่าฉันกับครอบครัวต้องทำยังไงบ้าง.......ข้อมูลประกอบการตัดสินใจอะไรๆก็ไม่มี ที่มีก็ไม่รู้จะเชื่อได้มากขนาดไหน เชื่อได้รึเปล่า.........

การสร้างความร่ำรวยทางข้อมูล

ขอสวัสดีปีใหม่แด่ท่านผู้อ่านทุกท่าน ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยจงอวยพรให้ทุกท่าน สุขกาย สบายใจมีเงินทองใช้ไม่ขาดมือ และมีสติในการดำเนินชีวิตอยู่เสมอ

แรงผลักดัน 3G ไทย ที่ (ไม่ได้) มาจากผู้บริโภค

 

จากที่สัญญาว่าในบทความนี้ ข้าพเจ้าจะมาต่อยอดบทความจากครั้งที่แล้วในหัวข้อ “ความร่ำรวยข้อมูล” ด้วยการวิเคราะห์ความจำเป็น ที่เราจักต้องพัฒนาทั้ง 3 ส่วนประกอบสำคัญ อันได้แก่ ความอุดมทางด้านข้อมูล ความยากง่ายในการเข้าถึงข้อมูล และมุมมองที่มีในการวางแผนโครงสร้างข้อมูลบนเว็บ ไปพร้อมๆกัน เพื่อทำให้ทุกท่านเข้าใจประเด็นดังกล่าวนี้เป็นรูปธรรมมากขึ้น

ความร่ำรวยข้อมูล

เป็นอีกครั้งที่ข้าพเจ้าไม่สามารถส่งบทความเข้ามาได้ตามกำหนด โดยคราวนี้ทิ้งระยะไปนานมาก จนทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกผิดต่อผู้อ่านและผู้บริหาร blogazine เป็นอย่างยิ่ง ข้าพเจ้าต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

การใช้ชีวิตผ่านเทคโนโลยี และ ชีวิตที่สูญเสียการควบคุม

ต่อเนื่องจากบทความที่แล้วในหัวข้อ ความเป็นส่วนตัวของคุณราคาเท่าไหร่ ข้าพเจ้าอยากชวนท่านผู้อ่านคิดต่อไปอีกนิดว่า ท่านจะรู้ได้อย่างไรว่า ข้อมูลส่วนตัวต่างๆ ที่ท่านเปิดเผยไว้บนพื้นที่ออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเครือข่ายสังคมออนไลน์ (social network sites) ต่างๆ เช่น Facebook และ MySpace จะไม่ทำให้ท่านสูญเสียอะไร หรือเสียใจในอนาคต