Skip to main content
Peer Review อาจไม่ใช่คำในภาษาอังกฤษ ที่คนส่วนใหญ่ในสังคมคุ้นเคย แต่เป็นคำคุ้นเคยเป็นอย่างดีในสังคมนักวิชาการ อาจารย์ หรือ นักวิจัย


เนื่องจากสังคมดังกล่าว มีวัฒนธรรมและกิจกรรมหลัก ในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ด้วยการต่อยอดองค์ความรู้ที่มีอยู่เดิม ผ่านการพัฒนาผลงานวิจัยใหม่ ซึ่งการยอมรับจากสมาชิกในสังคมเดียวกัน มีความสำคัญกับผลงานวิจัยแต่ละชิ้นมาก เนื่องจากไม่ว่าผลงานดังกล่าว จะมีคุณภาพในสายตาผู้พัฒนาเพียงใด แต่หากไม่ได้รับการตอบรับจากสมาชิกในสังคม ผลงานนั้นก็ถือได้ว่า ไม่ได้สร้างคุณค่าให้กับสังคมมากนัก

เพื่อทำให้ความรู้หรือผลงานวิจัยใหม่ๆ ได้รับการยอมรับ สังคมข้างต้นนี้ เลือกใช้ขั้นตอนหรือกลไกที่เรียกว่า Peer Review หรือการเผยแพร่ตีพิมพ์ผลงานวิจัย และปล่อยให้ผลงานนั้นถูกตัดสิน จากการถูกยอมรับจากสมาชิกในสังคม ซึ่งขึ้นอยู่กับจำนวนการถูกอ้างอิง หรือการถูกนำไปใช้ต่อยอด สร้างผลงานอื่นๆต่อไป โดยสมาชิกในสังคมนั้น

ตรรกะที่ใช้ในกลไก Peer Review ถือเป็นแนวทาง ที่มีความตั้งใจสร้างสังคม ที่สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วม ในการตัดสินว่า สิ่งใหม่ (ในกรณีนี้คือ ผลงานวิจัยใหม่ หรือความรู้ใหม่) ที่ถูกแนะนำสู่สังคม ดีหรือไม่ดีอย่างไร มีคุณค่าต่อสังคมมากหรือน้อยเพียงใด และดีพอที่จะกลายเป็นมาตรฐานในสังคมได้หรือไม่

อย่างไรก็ดี ในทัศนะของข้าพเจ้า ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่ทำให้กลไก Peer Review ประสบความสำเร็จ ในสังคมข้างต้น คือ การที่สังคมดังกล่าว มีสมาชิกเป็นกลุ่มคนมีระดับการศึกษาใกล้เคียงกัน อีกทั้งยังสูงกว่ามาตรฐานการศึกษาในสังคมทั่วไป คือสูงกว่าระดับการศึกษา ที่ประชาชนโดยทั่วไปมี

สาเหตุสำคัญเนื่องจาก การใช้กลไก Peer Review เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับสังคม จำเป็นอย่างยิ่งที่สมาชิกในสังคม ต้องสามารถเข้าถึงข้อมูลและเข้าใจองค์ความรู้อย่างเท่าเทียม เพื่อนำมาสู่การแสดงทัศนะและการวิจารณ์ด้วยเหตุและผล ผ่านการมีช่องทางให้ทุกความคิดได้ถูกตีแผ่ อย่างเท่าเทียมและมีมาตรฐาน ซึ่งข้าพเจ้าเชื่อว่า กิจกรรมทั้งหมดนี้ จะสามารถสามารถสร้างผลลัพธ์ที่ดีเลิศได้ ต้องการสังคมซึ่งมีสมาชิกที่มีความรู้ที่เท่าเทียมกัน และในระดับสูง

อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ ต่อการประยุกต์ใช้กลไก Peer Review เพื่อการสร้างสังคม อย่างมีประสิทธิภาพ นั่นคือ Peer Review ต้องการการมีส่วนร่วมอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม นั่นคือการที่สมาชิกทุกคน มุ่งสร้างสังคมให้มีคุณภาพมากขึ้น ผ่านการมีส่วนร่วมของตน ในลักษณะของการสร้างผลงาน ที่คำถึงถึงคุณธรรม และจริยธรรมเป็นสำคัญ โดยคุณธรรมและจริยธรรมนี้เอง เป็นเหมือนเครื่องบ่งชี้สถานภาพการเป็นสมาชิก ว่าใครจะได้รับการยอมรับให้อยู่ในสังคมข้างต้นได้

หากมองอีกแง่หนึ่ง กลไก Peer Review ก็คือกลไกการสร้างกระแส และทำให้กระแสนั้นกลายเป็นมาตรฐานสังคม หากขาดซึ่งคุณธรรม จริยธรรม และความเท่าเทียมกัน ของสมาชิกในสังคมแล้ว ก็เป็นการยากที่จะทำให้ การประยุกต์ใช้กลไกดังกล่าวเพื่อสร้างสังคม มีประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างแท้จริง

สาเหตุประการสำคัญที่ข้าพเจ้า นำกลไก Peer Review มากล่าวถึงในวันนี้ เนื่องจากในปัจจุบัน เทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีที่เกี่ยวเนื่อง กับระบบอินเตอร์เนตนั้น หลั่งไหลออกมาให้เราๆท่านๆ ได้ใช้กันอย่างไม่ขาดสาย และถึงแม้ว่าเทคโนโลยีต่างๆเหล่านี้ มีความแตกต่างกันไปในแง่ของรายละเอียด รูปแบบ และประโยชน์ของการใช้งาน หากแต่เทคโนโลยีเหล่านี้ มีลักษณะร่วมอย่างหนึ่งที่เหมือนกัน นั่นคือ มันกำลังมุ่งใช้ประโยชน์จาก ทฤษฎีประโยชน์จากการเข้าร่วมเครือข่าย และกลไก Peer Review (ข้าพเจ้าขออนุญาตยก ทฤษฎีประโยชน์จากการเข้าร่วมเครือข่าย ไปพูดถึงในบทความถัดๆไป)

ตัวอย่างเทคโนโลยี ที่ใช้ประโยชน์จากกลไก Peer Review ที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือเทคโนโลยี Wikipedia ซึ่งเป็นระบบที่มีความสามารถ ทำให้ประชากรโลก ร่วมสร้างเนื้อหาข้อมูล ข่าวสาร และความรู้ โดยกลไก Peer Review ถูกใช้เป็นเครื่องมือสำคัญ เพื่อทำให้เนื้อหาในเว็บ Wikipedia ถูกผลิต ปรับปรุง แก้ไข และได้รับการยอมรับจากประชากรโลกในวงกว้าง จนกลายเป็นมาตรฐานความรู้ในเรื่องนั้นๆ

เทคโนโลยีอื่นๆ ซึ่งใช้ประโยชน์จากกลไก Peer Review แต่การประยุกต์ใช้อาจไม่สามารถถูกมองเห็นอย่างชัดเจน ได้แก่ เทคโนโลยี Web2.0 ต่างๆ ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้งาน ติดต่อสื่อสารถึงกัน เพื่อร่วมวิพากษ์วิจารณ์ แสดงความคิดเห็น และมีส่วนร่วมสร้างกระแสในเรื่องต่างๆ

การประยุกต์ใช้กลไก Peer Review ของเทคโนโลยีต่างๆในปัจจุบัน เมื่อมองจากมุมของประโยชน์ที่ได้รับ นั่นคือ การอนุญาติให้ประชาชน สามารถแสดงออกซึ่งความคิดเห็น ซึ่งถือเป็นการเปิดโอกาสให้พวกเค้าเหล่านั้น มีส่วนร่วมในการสร้างมาตรฐานสังคม

อย่างไรก็ดี เมื่อตระหนักถึงสัจธรรมที่ว่า ทุกสิ่งในโลกนี้ ล้วนมีทั้งข้อดีและข้อเสีย หากเราต้องการประโยชน์จากข้อดีของสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้ว เราควรที่จะตระหนักถึงข้อเสียของสิ่งนั้น เพื่อรับมือและลดทอนผลกระทบทางลบที่เกิดขึ้น

ดังนั้นเพื่อให้การประยุกต์ใช้กลไก Peer Review ได้รับผลสัมฤทธิ์ตามที่มุ่งหวัง นั่นคือประสบความสำเร็จในการสร้างมาตรฐานสังคมที่ดี ข้าพเจ้าเชื่อว่าเป็นความจำเป็นอย่งยิ่ง ที่สังคมหนึ่งๆ จักต้องมีปัจจัยสำคัญ ที่ข้าพเจ้าได้ให้ความเห็นไว้ในตอนต้น อย่างพร้อมเพรียง

เนื่องจาก หากขาดไปซึ่งปัจจัยสำคัญข้างต้นแล้ว การประยุกต์ใช้กลไก Peer Review จะทำให้เกิดข้อเสีย ซึ่งในทัศนะของข้าพเจ้าคือ ความวุ่นวายในระหว่างกระบวนการพัฒนามาตรฐานสังคม และรวมถึงการได้มาซึ่งมาตรฐานสังคม ที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างแท้จริง ซึ่งในที่สุดจักทำให้สังคมนั้นๆ เกิดความบิดเบี้ยวไป เนื่องจากเติบโตอยู่บนพื้นฐานของมาตรฐานสังคมที่บิดเบือน

อีกทั้ง เมื่อพิจารณาถึงลักษณะการทำงานของกลไก Peer Review หากพิจารณาให้ดีแล้ว เราจะพบว่ากลไก Peer Review เป็นกลไกที่ทรงพลัง และเข้ากันได้ดีกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ดังนั้นประเทศที่มีการปกครองในระบอบนี้ จึงควรที่จะนำกลไกนี้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ เพราะนอกจากความทรงพลังของกลไก Peer Review แล้ว ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ICT ต่างๆหยิบยื่นโอกาสให้เรา นำความทรงพลังของกลไกดังกล่าวนี้ มาใช้ได้อย่างง่ายดาย รวดเร็ว และมีประโยชน์ต่อผู้คนในวงกว้างมากขึ้น

อย่างไรก็ดี กลไก Peer Review มีความคล้ายกับระบอบประชาธิปไตย นั่นคือไม่สามารถประสบความสำเร็จ หรือไม่อาจให้ผลสัมฤทธิ์ตามที่คาดหวังได้ หากขาดไปซึ่งการมีส่วนร่วมอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรมของประชาชนทุกคน ผู้ซึ่งควรจักต้องมีระดับการศึกษาที่ค่อนข้างเท่าเทียมกัน อีกทั้งประชาชนทั้งหมดนี้ จักต้องสามารถเข้าถึงข้อมูลทางสังคมอย่างเพียงพอ เพื่อนำมาสู่การแสดงทัศนะและการวิจารณ์ด้วยเหตุและผล ผ่านการมีช่องทางให้ทุกความคิดได้ถูกตีแผ่ อย่างเท่าเทียมและมีมาตรฐาน

ตัวอย่างของผลลัพธ์ ที่เกิดขึ้นจากความพยายามใช้กลไก Peer Review รวมทั้งระบอบประชาธิปไตย ที่ขาดไปซึ่งปัจจัยสำคัญข้างต้นนั้น เราทุกคนสามารถมองเห็นได้ชัดเจน ผ่านวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศของเราในขณะนี้


บล็อกของ SenseMaker

SenseMaker
น้ำมาถึงไหนแล้วหว่า...บ้านฉันน้ำจะท่วมมั้ยเนี่ย...จะหาข้อมูลที่จำเป็นได้จากที่ไหนบ้างหว่า...เวลาเดือดร้อนจะต้องแจ้งใคร...ทำไมโทรไป 1111 กด 5 แล้วถามอะไรไปก็ตอบไม่ได้... ........ใครก็ได้ช่วยบอกทีเหอะว่าฉันกับครอบครัวต้องทำยังไงบ้าง.......ข้อมูลประกอบการตัดสินใจอะไรๆก็ไม่มี ที่มีก็ไม่รู้จะเชื่อได้มากขนาดไหน เชื่อได้รึเปล่า.........
SenseMaker
ขอสวัสดีปีใหม่แด่ท่านผู้อ่านทุกท่าน ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยจงอวยพรให้ทุกท่าน สุขกาย สบายใจมีเงินทองใช้ไม่ขาดมือ และมีสติในการดำเนินชีวิตอยู่เสมอ
SenseMaker
  จากที่สัญญาว่าในบทความนี้ ข้าพเจ้าจะมาต่อยอดบทความจากครั้งที่แล้วในหัวข้อ “ความร่ำรวยข้อมูล” ด้วยการวิเคราะห์ความจำเป็น ที่เราจักต้องพัฒนาทั้ง 3 ส่วนประกอบสำคัญ อันได้แก่ ความอุดมทางด้านข้อมูล ความยากง่ายในการเข้าถึงข้อมูล และมุมมองที่มีในการวางแผนโครงสร้างข้อมูลบนเว็บ ไปพร้อมๆกัน เพื่อทำให้ทุกท่านเข้าใจประเด็นดังกล่าวนี้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
SenseMaker
เป็นอีกครั้งที่ข้าพเจ้าไม่สามารถส่งบทความเข้ามาได้ตามกำหนด โดยคราวนี้ทิ้งระยะไปนานมาก จนทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกผิดต่อผู้อ่านและผู้บริหาร blogazine เป็นอย่างยิ่ง ข้าพเจ้าต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
SenseMaker
ต่อเนื่องจากบทความที่แล้วในหัวข้อ ความเป็นส่วนตัวของคุณราคาเท่าไหร่ ข้าพเจ้าอยากชวนท่านผู้อ่านคิดต่อไปอีกนิดว่า ท่านจะรู้ได้อย่างไรว่า ข้อมูลส่วนตัวต่างๆ ที่ท่านเปิดเผยไว้บนพื้นที่ออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเครือข่ายสังคมออนไลน์ (social network sites) ต่างๆ เช่น Facebook และ MySpace จะไม่ทำให้ท่านสูญเสียอะไร หรือเสียใจในอนาคต
SenseMaker
จากบทความที่แล้วในหัวข้อ การจัดระเบียบโลกใหม่ การเมืองไทย และICT ข้าพเจ้าได้ชี้ให้เห็นว่า เพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ICT ในปัจจุบัน ทำให้ความสามารถของมนุษย์ ในการจัดการและจัดเก็บข้อมูล ซึ่งหากอาศัยเพียงประสาทสัมผัสของมนุษย์ จะไม่สามารถเข้าถึงและจัดการได้ และความด้วยความก้าวหน้านี้ ทำให้มนุษย์สามารถเห็นและรับรู้ ในข้อมูลที่เคยยากที่จะเห็นและรับรู้ อีกทั้งยังทำให้เข้าใจในสิ่งที่เคยยากต่อการวิเคราะห์
SenseMaker
ความก้าวหน้าทาง ICT ในปัจจุบัน ช่วยให้เราๆท่านๆ สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ซึ่งยากที่จะเข้าถึงในอดีต ได้ง่ายขึ้น เช่น ข้อมูลของบุคคลหรือข้อมูลขององค์กรที่เราสนใจ ข้อมูลทางเศรษฐกิจและสังคม ของประเทศใดประเทศหนึ่ง รวมถึงองค์ความรู้ในด้านต่างๆ เป็นต้น
SenseMaker
หลังจากบทความที่เรียกได้ว่า บทบรรณาธิการแรก ได้ชี้แจงเป้าหมายการดำรงอยู่ ของพื้นที่ทางความคิดแห่งนี้ บัดนี้เวลาล่วงเลยมาครึ่งปี โอกาสแห่งการพูดคุย กับท่านผู้อ่านอีกครั้ง ก็มาถึงทุกๆ12 บทความ ที่ได้ทำหน้าที่ของมันผ่านพ้นไป ถือเป็นช่วงเวลาที่ดี ที่ผู้เขียนกับผู้อ่านจะได้แลกเปลี่ยนความคิดกัน เพื่อทำให้พื้นที่แห่งนี้ เป็นประโยชน์กับทุกๆคน อย่างแท้จริงในทัศนะของข้าพเจ้าแล้ว ICT เข้ามามีบทบาท ต่อชีวิตของเราทุกคน ในทุกวันนี้มากขึ้นทุกที แต่ละคนได้รับประโยชน์ ผลกระทบ และผลลัพธ์ ที่แตกต่างกันไป จากการเปลี่ยนแปลงรอบตัว ซึ่งมี ICT เป็นปัจจัยต้นเหตุ
SenseMaker
Peer Review อาจไม่ใช่คำในภาษาอังกฤษ ที่คนส่วนใหญ่ในสังคมคุ้นเคย แต่เป็นคำคุ้นเคยเป็นอย่างดีในสังคมนักวิชาการ อาจารย์ หรือ นักวิจัย เนื่องจากสังคมดังกล่าว มีวัฒนธรรมและกิจกรรมหลัก ในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ด้วยการต่อยอดองค์ความรู้ที่มีอยู่เดิม ผ่านการพัฒนาผลงานวิจัยใหม่ ซึ่งการยอมรับจากสมาชิกในสังคมเดียวกัน มีความสำคัญกับผลงานวิจัยแต่ละชิ้นมาก เนื่องจากไม่ว่าผลงานดังกล่าว จะมีคุณภาพในสายตาผู้พัฒนาเพียงใด แต่หากไม่ได้รับการตอบรับจากสมาชิกในสังคม ผลงานนั้นก็ถือได้ว่า ไม่ได้สร้างคุณค่าให้กับสังคมมากนัก
SenseMaker
ในอดีต การเกิดขึ้นของสังคม มักจะถูกจำกัดด้วยเส้นขอบเขตของเวลาและสถานที่ การเป็นส่วนหนึ่งในสังคม เกิดจากการมีส่วนร่วมอยู่ในเวลาและสถานที่เดียวกัน เช่น การอยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน การไปโรงเรียนหรือสถานศึกษาเดียวกัน การทำงานในบริษัทหรือสถานที่ทำงานเดียวกัน หรือ การอยู่ในกลุ่มทำกิจกรรมเดียวกัน เป็นต้นแต่ด้วยความก้าวหน้าของ ICT และการขยายตัวของอินเตอร์เนต ทำให้ในปัจจุบัน การมีและเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ของเราแต่ละคน ไม่ถูกจำกัดโดยสองข้อจำกัดข้างต้น อีกต่อไป และทำให้ในปัจจุบันนั้น เราแต่ละคน มีและเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ที่ถูกสร้างขึ้นบนอินเตอร์เนต เพิ่มมากขึ้นๆทุกที
SenseMaker
  หลังจากหลายบทความในคอลัมน์แห่งนี้ ข้าพเจ้าได้ใช้พูดถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ที่นับวันดูเหมือนว่า "เป็นการยากสำหรับประชาชน ที่จะทำความเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ เพื่อการดำรงชีวิตอย่างเท่าทัน" บทความวันนี้ จึงถูกเขียนขึ้นเพื่อแสดงทัศนะเกี่ยวกับกลไกทางสังคม ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน เพื่อทำหน้าที่คุ้มกันและช่วยเหลือประชาชน ซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบหรือถูกกระทำ จากความเปลี่ยนแปลงทางสังคมเหล่านี้ โดยไม่อาจป้องกันตนเองได้อย่างเท่าทัน หากขาดไปซึ่งกลไกทางสังคมที่จะขอกล่าวถึงในวันนี้เรามาเริ่มทบทวนกันก่อนว่าความเปลี่ยนแปลงทางสังคม ซึ่งถูกกล่าวถึงในคอลัมน์แห่งนี้…
SenseMaker
สุขสันต์ปีใหม่แด่ทุกท่าน ผู้ซึ่งให้เกียรติแวะเวียนเข้ามาอ่านบทความในคอลัมน์แห่งนี้ ทั้งขาประจำและขาจร ขออาราธนาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก จงอำนวยอวยพรให้ทุกท่านมีความสุขกาย สบายใจ และสามารถดำรงชีวิตอย่างมีสติ (และมีสตางค์ใช้อย่างพอเพียง) ข้าพเจ้าขอเริ่มต้นปีใหม่ ด้วยอีกหนึ่งงานเขียนที่มุ่งสื่อสารให้ผู้คนในวงกว้าง ตระหนักถึงผลกระทบที่ ICT มีต่อการดำเนินชีวิตในทุกระดับ เพื่อให้ทุกท่านสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อย่างเท่าทัน อีกทั้งสามารถประยุกต์ใช้มันอย่างมีประโยชน์