Skip to main content

ขอสวัสดีปีใหม่แด่ท่านผู้อ่านทุกท่าน ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยจงอวยพรให้ทุกท่าน สุขกาย สบายใจมีเงินทองใช้ไม่ขาดมือ และมีสติในการดำเนินชีวิตอยู่เสมอ
\\/--break--\>

หลังจากวิพากษ์ประเด็นร้อนเรื่องโทรศัพท์ยุค 3G ไปในบทความที่แล้ว ข้าพเจ้าขอกลับมาต่อประเด็นเรื่องความร่ำรวยข้อมูล ซึ่งข้าพเจ้าค้างไว้ก่อนหน้านี้ โดยจากครั้งก่อนข้าพเจ้าชี้ให้เห็นว่าความร่ำรวยข้อมูล มีความสำคัญต่อการพัฒนาของประเทศ และความร่ำรวยทางด้านข้อมูลประกอบด้วยส่วนประกอบสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่ ความอุดมทางด้านข้อมูล ความยากง่ายในการเข้าถึงข้อมูล และมุมมองที่มีในการวางแผนโครงสร้างข้อมูลบนเว็บ (อ่านบทความเดิม http://blogazine.prachatai.com/user/sensemaker/post/2666)

ในบทความเดิมข้าพเจ้าส่งสัญญาให้กับท่านผู้อ่านว่าความร่ำรวยข้อมูลไม่สามารถเกิดขึ้นได้จากการดำเนินการของภาครัฐเพียงฝ่ายเดียว หากแต่ทุกภาคส่วนต้องช่วยกันผลักดันให้เกิดขึ้น นั่นคือภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน ต้องร่วมมือกันเพื่อทำให้ประเทศของเรามีความร่ำรวยทางข้อมูล

ประเด็นที่ข้าพเจ้าขอมาวิเคราะห์ต่อในวันนี้ นั่นคือ แล้วประเทศไทยจะสร้างความร่ำรวยด้านข้อมูลให้เกิดขึ้นได้อย่างไร โดยจะขอวิเคราะห์แยกตามส่วนประกอบสำคัญทั้งสามส่วน

ในส่วนของความอุดมทางด้านข้อมูล ทุกภาคส่วนควรเร่งสนับสนุนให้กิจกรรมต่างๆของภาคส่วนตนสามารถดำเนินการผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและผ่านเครือข่ายอินเตอร์เนต เพื่อสนับสนุนให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลและเข้าถึงข้อมูลต่างๆได้ตลอดเวลาโดยผู้เกี่ยวข้องทุกคนกับภาคส่วนนั้นๆ อีกทั้งอนุญาตให้ข้อมูลที่สามารถเปิดเผยสู่สาธารณะได้เข้าถึงได้โดยประชาชนทุกคน เพื่ออำนวยประโยชน์ต่อผู้ที่ต้องการติดต่อหรือต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับภาคส่วนนั้น และเปิดโอกาสให้สังคมได้รับประโยชน์จากการมีข้อมูลในด้านต่างๆเพิ่มมากขึ้น

ภาครัฐควรใช้กลไกต่างๆที่มีผลักดันให้การเปิดเผยข้อมูลซึ่งมีความสำคัญต่อการกำกับดูแลกิจการที่ดีให้เกิดขึ้นอย่างจริงจังและรวดเร็วในทุกภาคส่วน เพื่อผลักดันให้ทุกภาคส่วนเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งส่งผลให้ทุกคนในสังคมแน่ใจได้ว่า ข้อมูลต่างๆที่เข้าถึงเป็นข้อมูลที่ถูกต้องและนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสบายใจ

นอกเหนือจากการดำเนินการข้างต้น สิ่งสำคัญอีกหนึ่งสิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการ คือการผลักดันส่งเสริมให้คนไทยเข้าไปมีส่วนร่วมกับโครงการแบ่งปันข้อมูลรูปแบบต่างๆในระดับโลกเช่น Wikipedia เพื่อให้ข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับประเทศไทยได้รับการจัดทำโดยคนไทยและถูกตีแผ่ออกไปในวงกว้างเพื่อให้ผู้คนทั่วโลกเข้าถึงได้ หรือเพื่อให้ข้อมูลเรื่องต่างๆได้รับการจัดทำเป็นภาคภาษาไทย เพื่อให้คนไทยในวงกว้างสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ความสามารถต่างๆของโครงการนั้นๆ

ในส่วนของความยากง่ายในการเข้าถึงข้อมูล ภาครัฐเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้ทั่วประเทศมีโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อการเข้าถึงข้อมูลอย่างทั่วถึง และในราคาที่คนส่วนใหญ่ของประเทศสามารถจ่ายได้ เพื่อทำให้ช่องว่างหรือความแตกต่างทางสังคมอันเนื่องมาจากความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงข้อมูลและเทคโนโลยีในยุคดิจิตอล (digital divide)

นอกจากนี้ภาครัฐยังต้องสนับสนุนให้ตลาดผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงข้อมูลไม่ว่าจะเป็น ตลาดผู้ให้บริการอินเตอร์เนต ตลาดผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ ตลาดผู้ให้บริการสื่อวิทุยโทรทัศน์ มีการแข่งขันในที่เป็นธรรมและครอบคลุมทุกท้องถิ่น พร้อมกับการให้ความช่วยเหลือกับภาคส่วนในสังคมที่มีความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลไม่ทัดเทียมกับมาตรฐานของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นผู้อยู่ในถิ่นธุรกันดาร ผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่ารายได้มาตรฐานประเทศ ผู้ด้อยโอกาสอันเนื่องมาจากความพิการ และอันเนื่องมาจากขาดความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอันทันสมัยต่างๆ

นอกเหนือจากหน้าที่สำคัญของภาครัฐข้างต้น ภาคส่วนอื่นๆมีหน้าที่สำคัญที่ต้องดำเนินการพัฒนาภายในภาคส่วนของตนอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ภาคส่วนของตนมีความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลเท่าทันมาตรฐานของประเทศทั้งในส่วนของการมีและใช้ประโยชน์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอันทันสมัยต่างๆ และการพัฒนาบุคลากรของตนให้มีความรู้ความเข้าใจในการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีอันทันสมัยดังกล่าว

ในส่วนของมุมมองที่มีในการวางแผนโครงสร้างข้อมูลบนเว็บ ข้าพเจ้ามีความเห็นว่าทุกภาคส่วนต้องพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมุมมองที่มีในการวางแผนโครงสร้างข้อมูลบนเว็บ และปรับปรุงให้โครงสร้างข้อมูลและการออกแบบเว็บสะท้อนเป้าหมายการดำรงอยู่ของภาคส่วนตน และจำเป็นต้องสะท้อนความต้องการที่เปลี่ยนแปลอยู่เสมอของทุกผู้เกี่ยวข้องกับภาคส่วนของตนในฐานะของผู้ใช้งานข้อมูล

ทุกภาคส่วนจำเป็นต้องเข้าใจเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการดำรงอยู่ของภาคส่วนของตนว่าคืออะไร เพราะนั่นคือเหตุผลสูงสุดของการจัดทำเว็บและการสนับสนุนข้อมูลผ่านเว็บ อีกทั้งต้องมีความสามารถในการวิเคราะห์ความต้องการของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวกข้องกับภาคส่วนทุกคน เพื่อให้เว็บสามารถสนับสนุนข้อมูลและมีความสามารถต่างๆซึ่งสอดคล้องและทันกับความต้องการของผู้เกี่ยวข้องทุกคน

บทความวันนี้เป็นเพียงการชี้ให้เห็นแนวทางกว้างๆซึ่งประเทศของเราสามารถนำไปดำเนินการ เพื่อพัฒนาให้ไทยเป็นประเทศที่มีความร่ำรวยข้อมูลเพิ่มขึ้น ผู้ต้องการนำแนวทางดังกล่าวไปปฏิบัติจำต้องมีการประยุกต์ให้เข้ากับบริบท เงื่อนไข ข้อจำกัด และปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ในแต่ละขั้นตอนของการดำเนินการต่อไป ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคนผู้มีส่วนผลักดันให้ความร่ำรวยข้อมูลเกิดขึ้นจริงในประเทศไทยของเรา 


ติดตามบทความทั้งหมดได้ที่ www.thesensemaker.org หรือติดต่อข้าพเจ้าได้ที่ sensemaking.writer at gmail dot com

 

บล็อกของ SenseMaker

SenseMaker
น้ำมาถึงไหนแล้วหว่า...บ้านฉันน้ำจะท่วมมั้ยเนี่ย...จะหาข้อมูลที่จำเป็นได้จากที่ไหนบ้างหว่า...เวลาเดือดร้อนจะต้องแจ้งใคร...ทำไมโทรไป 1111 กด 5 แล้วถามอะไรไปก็ตอบไม่ได้... ........ใครก็ได้ช่วยบอกทีเหอะว่าฉันกับครอบครัวต้องทำยังไงบ้าง.......ข้อมูลประกอบการตัดสินใจอะไรๆก็ไม่มี ที่มีก็ไม่รู้จะเชื่อได้มากขนาดไหน เชื่อได้รึเปล่า.........
SenseMaker
ขอสวัสดีปีใหม่แด่ท่านผู้อ่านทุกท่าน ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยจงอวยพรให้ทุกท่าน สุขกาย สบายใจมีเงินทองใช้ไม่ขาดมือ และมีสติในการดำเนินชีวิตอยู่เสมอ
SenseMaker
  จากที่สัญญาว่าในบทความนี้ ข้าพเจ้าจะมาต่อยอดบทความจากครั้งที่แล้วในหัวข้อ “ความร่ำรวยข้อมูล” ด้วยการวิเคราะห์ความจำเป็น ที่เราจักต้องพัฒนาทั้ง 3 ส่วนประกอบสำคัญ อันได้แก่ ความอุดมทางด้านข้อมูล ความยากง่ายในการเข้าถึงข้อมูล และมุมมองที่มีในการวางแผนโครงสร้างข้อมูลบนเว็บ ไปพร้อมๆกัน เพื่อทำให้ทุกท่านเข้าใจประเด็นดังกล่าวนี้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
SenseMaker
เป็นอีกครั้งที่ข้าพเจ้าไม่สามารถส่งบทความเข้ามาได้ตามกำหนด โดยคราวนี้ทิ้งระยะไปนานมาก จนทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกผิดต่อผู้อ่านและผู้บริหาร blogazine เป็นอย่างยิ่ง ข้าพเจ้าต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
SenseMaker
ต่อเนื่องจากบทความที่แล้วในหัวข้อ ความเป็นส่วนตัวของคุณราคาเท่าไหร่ ข้าพเจ้าอยากชวนท่านผู้อ่านคิดต่อไปอีกนิดว่า ท่านจะรู้ได้อย่างไรว่า ข้อมูลส่วนตัวต่างๆ ที่ท่านเปิดเผยไว้บนพื้นที่ออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเครือข่ายสังคมออนไลน์ (social network sites) ต่างๆ เช่น Facebook และ MySpace จะไม่ทำให้ท่านสูญเสียอะไร หรือเสียใจในอนาคต
SenseMaker
จากบทความที่แล้วในหัวข้อ การจัดระเบียบโลกใหม่ การเมืองไทย และICT ข้าพเจ้าได้ชี้ให้เห็นว่า เพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ICT ในปัจจุบัน ทำให้ความสามารถของมนุษย์ ในการจัดการและจัดเก็บข้อมูล ซึ่งหากอาศัยเพียงประสาทสัมผัสของมนุษย์ จะไม่สามารถเข้าถึงและจัดการได้ และความด้วยความก้าวหน้านี้ ทำให้มนุษย์สามารถเห็นและรับรู้ ในข้อมูลที่เคยยากที่จะเห็นและรับรู้ อีกทั้งยังทำให้เข้าใจในสิ่งที่เคยยากต่อการวิเคราะห์
SenseMaker
ความก้าวหน้าทาง ICT ในปัจจุบัน ช่วยให้เราๆท่านๆ สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ซึ่งยากที่จะเข้าถึงในอดีต ได้ง่ายขึ้น เช่น ข้อมูลของบุคคลหรือข้อมูลขององค์กรที่เราสนใจ ข้อมูลทางเศรษฐกิจและสังคม ของประเทศใดประเทศหนึ่ง รวมถึงองค์ความรู้ในด้านต่างๆ เป็นต้น
SenseMaker
หลังจากบทความที่เรียกได้ว่า บทบรรณาธิการแรก ได้ชี้แจงเป้าหมายการดำรงอยู่ ของพื้นที่ทางความคิดแห่งนี้ บัดนี้เวลาล่วงเลยมาครึ่งปี โอกาสแห่งการพูดคุย กับท่านผู้อ่านอีกครั้ง ก็มาถึงทุกๆ12 บทความ ที่ได้ทำหน้าที่ของมันผ่านพ้นไป ถือเป็นช่วงเวลาที่ดี ที่ผู้เขียนกับผู้อ่านจะได้แลกเปลี่ยนความคิดกัน เพื่อทำให้พื้นที่แห่งนี้ เป็นประโยชน์กับทุกๆคน อย่างแท้จริงในทัศนะของข้าพเจ้าแล้ว ICT เข้ามามีบทบาท ต่อชีวิตของเราทุกคน ในทุกวันนี้มากขึ้นทุกที แต่ละคนได้รับประโยชน์ ผลกระทบ และผลลัพธ์ ที่แตกต่างกันไป จากการเปลี่ยนแปลงรอบตัว ซึ่งมี ICT เป็นปัจจัยต้นเหตุ
SenseMaker
Peer Review อาจไม่ใช่คำในภาษาอังกฤษ ที่คนส่วนใหญ่ในสังคมคุ้นเคย แต่เป็นคำคุ้นเคยเป็นอย่างดีในสังคมนักวิชาการ อาจารย์ หรือ นักวิจัย เนื่องจากสังคมดังกล่าว มีวัฒนธรรมและกิจกรรมหลัก ในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ด้วยการต่อยอดองค์ความรู้ที่มีอยู่เดิม ผ่านการพัฒนาผลงานวิจัยใหม่ ซึ่งการยอมรับจากสมาชิกในสังคมเดียวกัน มีความสำคัญกับผลงานวิจัยแต่ละชิ้นมาก เนื่องจากไม่ว่าผลงานดังกล่าว จะมีคุณภาพในสายตาผู้พัฒนาเพียงใด แต่หากไม่ได้รับการตอบรับจากสมาชิกในสังคม ผลงานนั้นก็ถือได้ว่า ไม่ได้สร้างคุณค่าให้กับสังคมมากนัก
SenseMaker
ในอดีต การเกิดขึ้นของสังคม มักจะถูกจำกัดด้วยเส้นขอบเขตของเวลาและสถานที่ การเป็นส่วนหนึ่งในสังคม เกิดจากการมีส่วนร่วมอยู่ในเวลาและสถานที่เดียวกัน เช่น การอยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน การไปโรงเรียนหรือสถานศึกษาเดียวกัน การทำงานในบริษัทหรือสถานที่ทำงานเดียวกัน หรือ การอยู่ในกลุ่มทำกิจกรรมเดียวกัน เป็นต้นแต่ด้วยความก้าวหน้าของ ICT และการขยายตัวของอินเตอร์เนต ทำให้ในปัจจุบัน การมีและเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ของเราแต่ละคน ไม่ถูกจำกัดโดยสองข้อจำกัดข้างต้น อีกต่อไป และทำให้ในปัจจุบันนั้น เราแต่ละคน มีและเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ที่ถูกสร้างขึ้นบนอินเตอร์เนต เพิ่มมากขึ้นๆทุกที
SenseMaker
  หลังจากหลายบทความในคอลัมน์แห่งนี้ ข้าพเจ้าได้ใช้พูดถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ที่นับวันดูเหมือนว่า "เป็นการยากสำหรับประชาชน ที่จะทำความเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ เพื่อการดำรงชีวิตอย่างเท่าทัน" บทความวันนี้ จึงถูกเขียนขึ้นเพื่อแสดงทัศนะเกี่ยวกับกลไกทางสังคม ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน เพื่อทำหน้าที่คุ้มกันและช่วยเหลือประชาชน ซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบหรือถูกกระทำ จากความเปลี่ยนแปลงทางสังคมเหล่านี้ โดยไม่อาจป้องกันตนเองได้อย่างเท่าทัน หากขาดไปซึ่งกลไกทางสังคมที่จะขอกล่าวถึงในวันนี้เรามาเริ่มทบทวนกันก่อนว่าความเปลี่ยนแปลงทางสังคม ซึ่งถูกกล่าวถึงในคอลัมน์แห่งนี้…
SenseMaker
สุขสันต์ปีใหม่แด่ทุกท่าน ผู้ซึ่งให้เกียรติแวะเวียนเข้ามาอ่านบทความในคอลัมน์แห่งนี้ ทั้งขาประจำและขาจร ขออาราธนาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก จงอำนวยอวยพรให้ทุกท่านมีความสุขกาย สบายใจ และสามารถดำรงชีวิตอย่างมีสติ (และมีสตางค์ใช้อย่างพอเพียง) ข้าพเจ้าขอเริ่มต้นปีใหม่ ด้วยอีกหนึ่งงานเขียนที่มุ่งสื่อสารให้ผู้คนในวงกว้าง ตระหนักถึงผลกระทบที่ ICT มีต่อการดำเนินชีวิตในทุกระดับ เพื่อให้ทุกท่านสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อย่างเท่าทัน อีกทั้งสามารถประยุกต์ใช้มันอย่างมีประโยชน์