Skip to main content

กระบวนการสันติภาพ ณ เกาะมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์ ประสบอุปสรรคครั้งยิ่งใหญ่ หลังจากรัฐสภาแห่งประเทศฟิลิปปินส์ไม่ให้ผ่านร่างกฎหมายพื้นฐานบังซาโมโร (Bangsamoro Basic Law, BBL) ร่างกฎหมายฉบับนี้ถือว่าเป็นพื้นฐานสำหรับการจัดตั้งเขตปกครองพิเศษบังซาโมโร (Bangsamoro Autonomous Region) ซึ่งมีลักษณะเสมือน "รัฐธรรมนูญสำหรับเขตปกครองพิเศษบังซาโมโร"

ก่อนหน้านี้ หลาย ๆ คนที่ติดตามกระบวนการสันติภาพระหว่างรัฐบาลฟิลิปปินส์กับกลุ่มกบฎ (rebel คำนี้เป็นคำที่ใช้กันเพื่อกล่าวถึงกลุ่มติดอาวุธที่ต่อต้านรัฐบาลในสื่อฟิลิปปินส์) แนวร่วมปลดปล่อยอิสลามโมโร (Moro Islamic Liberation Front) รู้สึกประทับใจกับความคืบหน้าของกระบวนการสันติภาพดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความจริงจังของฝ่ายบริหารประเทศที่นำโดยประธานาธิบดี เบนิกโน อากิโน ที่ 3 หรือ การให้ความร่วมมืออย่างเต็มทีจากกลุ่ม MILF ก็ตาม ทั้งสองฝ่ายต่อสู้กันมาหลาย ๆ ปี และสร้างความเสียหายมาหศาลในชีวิตและทรัพย์สินของคนในพื้นที่ แต่ในสุดท้ายก็เรียนรู้เพื่อมองว่า ฝ่ายอดีตศัตรูต้องเป็นพันธมิตร (partner) ในการสร้างสันติภาพ

หนึ่งในุดสุดยอดของกระบวนการสันติภาพมีนดาเนาคือการลงนาม "ข้อตกลงบังซาโมโรฉบับครอบคลุม (Comprehensive Bangsamoro Agreement) ระหว่างทั้งสองคู่กรณี ณ ทำเนียบประธานาธิบดีแห่งประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2556 ซึ่งได้รับการรายงานจากสื่อทั่วโลก และในช่วงนั้นทุกคนคิดว่า สันติภาพในเขตบังซาโมโรบนเกาะมินดาเนาจะเป็นความจริงในไม่นาน

อย่างไรก็ตาม เมื่อร่างกฎหมายบังซาโมโรตามข้อตกลงดังกล่าวไปถึงระดับรัฐสภา ได้รับการต่อต้านจากฝ่ายค้านอย่างแรง บรรดานักการเมืองที่ต่อต้านร่างกฎหมายดังกล่าว นอกจากมีผลประโยชน์ทางการเมืองแล้ว ยังเป็นคนที่มาจากนอกพื้นที่ ซึ่งไม่ได้รับความเสียหายใด ๆ จากความขัดแย้งที่เกิดขึ้นบนเกาะมินดาเนา และในสุดท้าย รัฐสภาแห่งประเทศฟิลิปปินส์ก็ปฏิเสธร่างกฎหมายดังกล่าว ซึ่งนักวิชาการ นักข่าว และผู้ติดตามสถานการณ์หลายท่านก็อธิบายว่า "กฎหมายพื้นฐานบังซาโมโรตายแล้ว (The BBL is dead)" โดยส่วนตัว ผมไม่เห็นด้วยกับประโยคนี้ เพราะมันไม่ได้ตายอย่างดี ๆ แต่ถูกฆ่าโดยนักการเมืองที่ให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ทางการเมืองมากกว่าการสร้างสันติภาพในภูมิภาคหนึ่งที่อยู่ในประเทศของตน

"ร่างกฎหมายพื้นฐานบังซาโมโรตายแล้ว" ผมอ่านข่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้หลาย ๆ ชินด้วยความเสียใจอย่างยิ่ง เพราะมันจะส่งผลกระทบต่อกระบวนการสร้างสันติภาพในภูมิภาคดังกล่าว แต่ในขณะเดียวกัน เราก็จำเป็นต้องถอดบทเรียนจากประสบการณ์นี้ครั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับกระบวนการณ์สันติภาพ ไม่ว่าจะเป็นที่มินดาเนาหรือที่ปาตานี (จังหวัดชายแดนภาคใต้) ก็ตาม

นักวิชาการจากมาเลเซี่ยท่านหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการสันติภาพในมินดาเนา อธิบายว่า "มันเป็นข้อผิดพลาดของเราด้วย เพราะเราเอาแต่คุยกับคนที่สนับสนุนกระบวนการสันติภาพเท่านั้น แต่ไม่ค่อยคุยกับคนที่ไม่เห็นด้วย การแลกเปลี่ยนความเห็นกับพวกนี้มีน้อยมาก สุดท้าย เราก็ประเมินสถานการณ์ผิด โดยเราคิดไปเองว่า คนส่วนใหญ่ รวมถึงนักการเมืองในรัฐสภา คงจะสนับสนุนกระบวนการสันติภาพ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็ตรงกันข้ามกับการประเมินของเรา"

นี่คือหนึ่งในบทเรียนที่เราต้องจำไว้ ตราบใดที่เราคุยกับคนที่มีแนวคิดคล้ายกับเราอย่างเดียว ในสุดท้าย เราก็ติดกับดักของกรอบแนวคิดนั้น ทั้ง ๆ ที่ในโลกแห่งความเป็นจริง ยังมีหลาย ๆ คนที่คิดไม่เหมือนกับเรา และจำนวนของคนเหล่านี้อาจจะมีมากกว่าเราคาดคิดก็ได้ ด้วยเหตุนี้ เพื่อดำเนินกระบวนการสันติภาพ ไม่ว่าจะอยู่ในระดับในก็ตาม เราจำเป็นต้องคุยกับทุกฝ่าย ไม่ใช่เฉพาะฝ่ายที่กล่าวสิ่งที่เสนาะหูสำหรับเราอย่างเดียว และเราก็ต้องรับฟังความเห็นทีไม่สอดคล้องกับความเห็นของเราด้วย เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นกับผู้ที่มีความเห็นไม่เหมือนกับเราและรับฟังเหตุผลของอีกฝ่ายหนึ่งโดยใช้ความอดทน ถึงแม้ว่าความเห็นและเหตุผลของอีกฝ่ายหนึ่งไม่สบายหูมากน้อยแค่ไหนก็ตาม

เราก็ต้องศึกษาพื้นฐานของกระบวนการสันติภาพอีกครั้ง และต้องนำมาปฏิบัติใช้ความรู้เหล่านี้เพื่อไม่ติดกับดักแห่ง "กรอบแนวคิดเดียวกัน"

บล็อกของ Shintaro Hara

Shintaro Hara
เดี๋ยวนี้ผมเริ่มได้รับเชิญเป็นวิทยากรในงานเสวนาสาธารณะหรือการประชุมวิชาการ ผมก็ยินดีที่จะรับงานเหล่านี้เป็นหนึ่งในหน้าที่ของนักวิชาการ (แม้ว่าผมไม่ได้ทำงานในมหาวิทยาลัยก็ตาม) ยกเว้นในบางกร
Shintaro Hara
เมื่อวันที่ 21 ที่ผ่านมา มีการปล่อยข่าวจากสำนักข่าว Benar News
Shintaro Hara
เมื่อผมพาครอบครัวไปเที่ยวชายหาดในจังหวัดชายแดนใต้ ไม่ว่าจะเป็นหาดตะโละกะโปร์ หาดปะนาเระ หาดวาสุกรีในจังหวัดปัตตานี หรือ หาดนราทัศน์ในจังหวัดนราธิวาส  ฯลฯ ในวันหยุด เกือบทุกครั้งผมก็อดรู้สึกเสียใจไม่ได้กับสภาพของชายหาดที่เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของคนในพื้นที่ซึ่งเต็มไปด้วยขยะ ในช่วงเทศกาล เช
Shintaro Hara
ลัทธิทรงพลังมากที่สุดในสังคมไทย ณ ปัจจุบันนี้คือ ลัทธิ “พวกกูทำอะไรไม่ผิด” ลัทธิอันนี้มีธรรมชาติชองมนุษย์เป็นที่มาและพื้นฐาน ตัวอย่างเช่น บรรดาพ่อแม่มักจะประสบปัญหาในเมื่อลูกกระทำผิด และพยายามจะบอกกับคนอื่นว่า “ลูกของฉันไม่ได้ทำผิด” ถึงแม้ว่าบางกรณีมีหลักฐานมากมายที่แสดงให้เห็นว่า ลูกของเขาทำผิดจ
Shintaro Hara
แม้ว่าการ์ตูนญี่ปุ่นเป็นที่นิยมในประเทศหลาย ๆ ประเทศ และ “โดเรม่อน” ถือว่าเป็นหนึ่งในเรื่องที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียก็ตาม การ์ตูนเรื่องนี้ไม่ได้รับความสนใจจากชาวอเมริกัน เนื่องจากเรื่องมีไม่มีตัวละคนที่เป็นฮีโร่ที่มีบุคลิกภาพที่น่าชื่นชม กล้าที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาอันยิ่งใหญ่ และสา
Shintaro Hara
การบังคับให้เด็กนักเรียนใส่ชุดทหารในโรงเรียนอนุบาลแห่งหนึ่ง โดยอ้างว่าเป็นการสร้างวินัยนั้น ก่อให้เกิดปฏิกิริยาต่าง ๆ จากสังคม โดยมีทั้งคนที่ชื่นชมการบังคับดังกล่าวและคนที่กล่าวคำวิจารณ์ด้วย ปฏิกิริยาเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า ในสังคมไทยมีความเข้าใจที่แตกต่างกันเกี่ยวกับความหมายของคำว่า “วินัย”
Shintaro Hara
วันที่ ญี่ปุ่น กลายเป็น ยุ่น
Shintaro Hara
กระบวนการสันติภาพ ณ เกาะมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์ ประสบอุปสรรคครั้งยิ่งใหญ่ หลังจากรัฐสภาแห่งประเทศฟิลิปปินส์ไม่ให้ผ่านร่างกฎหมายพื้นฐานบังซาโมโร (Bangsamoro Basic La
Shintaro Hara
เมื่อวันที่ 9 สิงหาคมที่ผ่านมา เด็กอายุ 13 ปีถูกยิงที่บ้านที่อยู่ใน อ. ยะหา จ. ยะลาและเสียชีวิตคาที่ เหตุการณ์ครั้งนี้ได้ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของคนในพื้นที่ เพราะเหยื่อเป็นพลเมือง และเหตุการณ์เกิดขึ้นในสถานที่พลเมือง (บ้านของเหยื่อ) และเหยือก็ยังเป็นเด็ก
Shintaro Hara
ข้อเสนอจากราชบัณฑิตยสถานเกี่ยวกับชื่อเรียกของชาวมุสลิมจากประเทศพม่าที่รู้จักกันในนามว่า “โรฮิงญา” ให้เรียกเป็น “โรฮินจา” นั้น ได้รับความสนใ
Shintaro Hara
ช่วงนี้เป็นช่วงสอบสำหรับมหาวิทยาลัยที่ผมทำงานอยู่ พฤติกรรมของนักศึกษาในห้องสอบอยู่ในระดับที่ไม่น่าพอใจอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสียงดังโดยนักศึกษาที่ส่งข้อสอบก่อนหมดเวลาแต่รอพรรคพวกอยู่นอกห้องสอบ การที่เปิดตัวข้อสอบก่อนเวลาสอบ (ถึงแม้ว่าคณะกรรมการคุมสอบห้ามแล้วก็ตาม) การที่ไม่วางปากกาทั้งๆ ที่ห
Shintaro Hara
เมื่อคนไทยพูดถึงเรื่องปฏิรูป ฝ่ายที่เป็นเป้าหมายของการโจมตีตลอดคือนักการเมืองที่ทุจริต ผมไม่ปฏิเสธว่านักการเมืองหลายคน (ส่วนตัว ผมเชื่อว่าเกือบทุกคน) ไม่ว่าจะมาจากพรรคไหนหรือฝ่ายไหน สีเสื้ออะไรก็ตาม ติดเรื่องทุจริตทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นการรับสินบน การใช้อิทธิพลทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว การ