Skip to main content

กระแสการนึกย้อนคืนวันแห่งความหลังเมื่อครั้งยังเยาว์วัยในช่วงปี ค.ศ.1990-1999 หรือ ปี พ.ศ.2533-2543 ของผู้คนร่วมสมัยในตอนนี้สะท้อนให้เห็นอะไรบ้าง

ภาวะนึกถึงอดีต (Nostalgia) มักแฝงไปด้วยความทรงจำร่วมที่คนในรุ่นราวเดียวกันเคยสัมผัสร่วมกัน จนกลายเป็นประวัติศาสตร์อันเป็นส่วนหนึ่งของความคิดและตัวตนของคนที่เคยผ่านช่วงนั้นมา

สำหรับคนรุ่นที่เกิดตั้งแต่ 2523 (Gen Y) ขึ้นไป ก็คงพอจำความหลังได้ว่าทศวรรษนั้นเริ่มต้นด้วยวลีฮิต “เปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้า” พร้อมกับภาวะเศรษฐกิจที่บูมสุดขีด หลายครอบครัวตั้งตัวกลายเป็นเจ้าสัวน้อยได้ก็ช่วงนี้ กิจการน้อยใหญ่พลอยได้รับอานิสงส์ ขยายกิจการออกไปอย่างก้าวกระโดด ของกินของใช้ หลากหลายยี่ห้อรอให้เลือกสรร หากจำได้รายการละครโทรทัศน์จำนวนไม่น้อยก็ยกกองถ่ายไปต่างประเทศ ทวีปยุโรปกลายเป็นฉากหลังของละครหลายเรื่อง   เช่นเดียวกับสินค้าแบรนด์เนมที่ถูกซื้อหามาประดับกายจนกลายเป็นสิ่งบ่งชี้สถานะของชนชั้นกลาง และเศรษฐีใหม่หลายคน  

จนคนไทยจำนวนไม่น้อยรู้สึกว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของโลกาภิวัฒน์ที่พัดพาเอาสินค้าและวัฒนธรรมข้ามพรมแดนเข้ามามากมาย  แต่สถานการณ์ในรัฐสภาจำได้ว่ามีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลอย่างเผ็ดร้อน

แต่พอย่างเข้าต้นปี 2534 ก็เกิดการรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) โดยอ้างว่าเข้ามาเพื่อจัดการกับ “บุฟเฟ่ต์คาบิเน็ต” ที่มีข้อครหาเกี่ยวกับการคอรัปชั่นมากมาย แล้วผู้ก่อการก็เชิญ นายอานันท์ ปัญญารชุน เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี มีการประกาศอายัดทรัพย์ยึดทรัพย์ของเหล่าอดีตรัฐมนตรีในรัฐบาลชาติชาย ชุณหะวัณ โดยให้หลักประกันว่าจะมีรัฐธรรมนูญใหม่และเลือกตั้งอย่างแน่นอน ก่อนจะจัดการเลือกตั้งใหญ่ในปี 2535 แล้วพรรคสามัคคีธรรมก็เข้าวิน 

แต่เรื่องราวยังไม่จบสิ้นเพราะหัวหน้าพรรคมีข่าวว่าติดแบล็คลิสต์ของสหรัฐอเมริกาว่าเกี่ยวข้องขบวนการค้ายาเสพย์ติด  เรื่องจริงเป็นอย่างไรแต่กลายเป็นไม่เหมาะสมจะดำรงตำแหน่งนายก แล้วใครจะมาเป็น?   ความกังวลของสังคมเริ่มเกิดว่าพรรคสามัคคีธรรมที่หลายคนคิดว่าเป็น นอมินีของคณะรัฐประหารจะดันนายทหารคนสำคัญ พล.อ.สุดจินดา คราประยูร ขึ้นเป็นนายกฯ แล้วก็กลายเป็นความจริง  จนสงคมและสมาชิกรัฐสภากังขา เพราะว่าท่านเคยให้สัตย์สัญญาว่าจะไม่สืบทอดอำนาจ มิได้รัฐประหารเพื่ออำนาจของพรรคพวกตนเอง

การเมืองไทยในรัฐสภาจึงระส่ำ มวลชนเริ่มหลั่งไหลลงสู่ท้องถนน พร้อมประโยคประจำที่ได้ยินได้ฟังไปทั่วทุกสื่อ คือ “บิ้กสุ ออกไป”  กระจายไปอย่างรวดเร็วเพราะ “ม็อบมือถือ” สื่อข้อมูลอัพเดตสถานการณ์กันได้ทันที   แม้ประชาชนจะไม่ได้เห็นภาพความตายและสูญเสียในสื่อกระแสหลักเพราะถูกควบคุมหลังประกาศกฎอัยการศึก แต่การสื่อสารข้ามพรมแดนก็เปิดโอกาสให้ใครที่มีจานดาวเทียมติดตามข่าวจากสถานีต่างชาติและอัดวิดีโอ ส่งต่อมาให้ได้ชมกันทั่วประเทศ หากมีเครื่องเล่นวิดีโอเทปอยู่ในครัวเรือน ซึ่งย้ำเตือนความทมิฬในเดือนพฤษภาคม 2535

สิ่งที่คอยเตือนใจคนไทยทั้งหลาย คือ อย่าได้ไว้วางใจผู้ที่ใช้กำลังยึดครองอำนาจ เพราะขาดความรับผิดชอบต่อผู้แทนฯ และประชาชน เมื่อเขาถึงตาจน ก็อาจขนกำลังพลเข้ามาบดขยี้ผู้ที่มีความเห็นต่างออกไป   ความเสียใจกลายเป็นฝังใจจนทำให้กระบวนการสร้างประชาธิปไตยเบ่งบานตระการตา หลังรัฐบาลขัดตาทัพอานันท์ 2 ประคองสถานการณ์จนมีการเลือกตั้งที่ได้นายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งคนแรก ชื่อ ชวน หลีกภัย ปลายปี 2535

ดูเหมือนว่าอะไรจะเข้าที่เข้าทางเพราะฐานความชอบธรรมจากการเลือกตั้งมีอยู่แต่จู่ๆ ก็เกิดกรณีแจก สปก. ให้คนรวยจดรัฐบาลมอดม้วยไปก่อนจะลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี เพราะมีการถอนตัวออกจากรัฐบาลโดยหัวหน้าพรรคที่จะเหลือเพียงแค่ตำนาน คือ พลังธรรม ภายใต้การนำของนักธุรกิจผู้ประสบความสำเร็จจากการปล่อยดาวเทียมไทยดวงแรกสู่อวกาศ   ซึ่งร่ำรวยขึ้นมาจากสัมปทานโทรคมนาคม จึงต้องเกิดการเลือกตั้งอีกครั้งในปี 2538

ผู้ชนะการเลือกตั้งและเป็นนายกรัฐมนตรี คือ นายบรรหาร ศิลปะอาชา ผู้ต้องจบไปด้วยการยุบสภาเพราะหลายปัญหารุมเร้า เรื่องใหญ่ในช่วงรัฐบาลนี้ คือ การเริ่มกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญที่สภาร่างฯได้เสนอผลงานให้สังคมพิจารณาและเกิดกระแสริบบิ้นเขียวเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภารับรอง  แม้จะมีฝ่ายต่อต้านอยู่บ้าง แต่ก็ทานกระแสสังคมไม่ไหว ประเทศไทยจึงได้รัฐธรรมนูญจากกระบวนการที่ประชาชนมีส่วนร่วมในปี 2540

ผู้ชนะการเลือกตั้งครั้งต่อมาคือ นายชวลิต ยงใจยุทธ ในปี 2539 ซึ่งเผชิญกับวิกฤตทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่ทำให้คนไทยทั้งประเทศได้รับผลกระทบจนต้องจบไปก่อนครบหนึ่งปี แล้วมีรัฐบาลชวน 2 มารับช่วงต่อ ด้วยซุปเปอร์ดีลที่ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เสธ.หนั่น เข้าไปสลายพรรคและมุ้งในฝ่ายตรงข้าม ให้ย้ายฟากเข้ามาอยู่กับตนจนสำเร็จ

รัฐบาลชวน 2 ดำรงอยู่ท่ามกลางวิกฤตครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจการเมืองไทยเพราะต้องเจรจาเงื่อนไขทั้งหลายในการกู้เงินเพื่ออุดหนุนกองทุนสำรองระหว่างประเทศจาก IMF ซึ่งผลลัพธ์ได้กลายเป็นเงื่อนไขสำคัญทางการเมืองในภายหลัง คือ ชุดกฎหมายฟื้นฟูเศรษฐกิจ หรือถูกกลุ่มการเมืองอีกฝ่ายว่าเป็น กฎหมายขายชาติ 11 ฉบับ

เราจะเห็นได้ว่ายุค 90s มีเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองมากมายที่ได้ดึงความสนใจคนไทยทั้งประเทศ แต่สิ่งหนึ่งที่อยู่ในใจคนไทย โดยเฉพาะการเมืองส่วนใหญ่ คือ
“การรัฐประหารครั้งสุดท้าย”
ซึ่งกลายเป็นเพียง “ความเชื่อ” มิใช่ “ความจริง

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว