Skip to main content

การประกวดความงามในช่วงหลังได้กลายเป็นเวทีแสดงพลังของความงดงามที่หลากหลาย และใช้ประเด็นการสร้างความเข้มแข็งให้สตรีเป็นแกนหลักส่งเสริมความงาม “อย่างมีคุณค่า”

                การนำเสนอภาพลักษณ์ของนางงามแต่ละคนแต่ละชาติมิได้ยึดติดอยู่กับรูปร่างน่าตากริยาบุคลิกภาพเพียงอย่างเดียว แต่คำวิพากษ์วิจารณ์ของสังคมอย่างต่อเนื่องหลายสิบปีได้ขัดเกลาให้เวทีประกวดต้องสร้าง “แก่นสาร” ให้กับกิจกรรมนี้อย่างสอดคล้องกับบริบททางการเมืองทั้งในประเทศต้นทางของกองประกวด ไปจนถึงการเมืองระหว่างประเทศที่ประเทศมหาอำนาจต้องการส่ง “สาสน์” ไปยังผู้รับชมทั่วโลก

                การเปิดพื้นที่ให้สตรีส่งเสียงที่ก้าวข้ามขนบธรรมเนียมเดิมๆไปสู่การแสดงให้เห็นถึงศักยภาพนอกกรอบ “นางงาม” ที่สามารถแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันให้กับผู้คนถูกหยิบยกและตีแผ่แก่ผู้รับชมทั่วโลกเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนและสตรีทั่วโลกเห็น “ความเป็นไปได้” ที่จะพัฒนาตนเองไปมากกว่าแค่เป็น “นางงามเพื่อการกุศลสงเคราะห์”

                จุดตัดสำคัญน่าจะอยู่ที่การเปลี่ยนบทบาทของนางงาม จากเดิมเป็นเหมือนพรีเซนเตอร์เปลี่ยนสายตาที่จับจ้องความงามบนร่างกายตนให้หันไปสนใจปัญหาของสังคมแล้วตระหนักถึงปัญหาแบบที่เราคุ้นชินว่า “นางงามรักเด็ก รักษ์โลก” แบบเหมือนๆกันไปหมด ไปสู่การพูดด้วยตัวนางงามแต่ละคนว่า คนนี้สนใจประเด็นทางสังคมที่แตกต่างหลากหลายกันไปแล้วแต่ประสบการณ์ของแต่ละคนว่ามีความรู้สึกแรงกล้ากับเรื่องใด ก็จะหยิบเรื่องเหล่านั้นมานำเสนอสะท้อนให้เห็น “กึ๋น” ของแต่ละคน

                จากปีก่อนที่มีคำถามสำคัญทำให้คนทั้งประเทศตั้งข้อสงสัยว่า “Social Movement” (ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม” คืออะไร มาถึงคำถามที่เฉพาะเจาะจงลงไปถึงข้อถกเถียงเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและค่านิยมประชาธิปไตยอย่างตรงไปตรงมา อาทิ เสรีภาพของสื่อมีความสำคัญ การรับรองให้ใช้กัญชาได้อย่างถูกกฎหมาย ขอบเขตของการเคลื่อนไหวให้สตรีลุกขึ้นมาเปิดเผยประสบการณ์ถูกคุกคาม นโยบายบริหารจัดการผู้ลี้ภัย และการตอบข้อวิจารณ์ของขบวนการสตรีนิยมที่บอกว่าการประกวดความงามขัดขวางการส่งเสริมสิทธิสตรี

                คำถามเหล่านี้ต้องการคำตอบที่เริ่มด้วยการเข้าใจความหมายที่เฉพาะเจาะจงของศัพท์เฉพาะและความรู้เท่าทันสถานการณ์ทางสังคมการเมืองที่พัฒนาขึ้นมาจากข้อถกเถียงในประเด็นเหล่านั้นไม่น้อย   การตอบคำถามเหล่านี้โดยอาศัยเพียง “สามัญสำนึก” ของผู้เข้าประกวดที่มิได้เตรียมตัวเชิงวิชาการ หรือไม่มีประสบการณ์ส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับการขบวนขับเคลื่อนทางสังคม ย่อมได้คำตอบที่ตื้นเขิน หรือในบางครั้งก็หลงประเด็นไป หรืออย่างดีที่สุดก็ทำได้เพียงน้ำตาเอ่อล้นพ่นเรื่องส่วนตัว แต่ไม่ตรงเป้าหมายของคำถาม

                หากเทียบกิจกรรมถามตอบในเวทีประกวดนางงามในยุคนี้เข้ากับขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมือง ก็จะเห็นว่าใกล้เคียงกับการ “เรียกร้องสิทธิ” ให้สังคมตระหนักรู้ถึงปัญหา แล้วเกิดความรู้สึกร่วมไปกับความทุกข์ทรมานของกลุ่มเสี่ยงเปราะบางเจ้าของปัญหา แล้วเกิดแรงบันดาลใจลุกขึ้นมาหาทางแก้ปัญหาร่วมกัน

                การพูดถึงปัญหาสิทธิมนุษยชนเหล่านี้มีมิติที่สำคัญอยู่ 2 ประการ คือ

  1. ควรให้ “เจ้าของปัญหา” นั้นพูดเรื่องของตัวเอง เสนอเองว่าต้องการอะไร อยากให้แก้ปัญหาอย่างไร โดยไม่ต้องรอให้ผู้มีอำนาจมาคิดแทน แล้วยัดเยียดวิธีการแก้ไขแบบ “สงเคราะห์” โดยไม่สนใจความต้องการและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเจ้าของปัญหา   แต่แนวทางแรกนี้มีปัญหาใหญ่ คือ สังคมมักไม่สนใจเสียงของคนเหล่านี้ เพราะมิได้มีเสน่ห์ดึงดูดให้มองหรือติดตามฟัง ต่างจากการพูดของคนดังอย่าง ดารา นักการเมือง หรือนางงาม
  2. การให้ “คนเสียงดัง” พูดเพื่อขยายเสียงของเจ้าของปัญหา ดึงดูดให้สังคมรับฟังปัญหาของคนที่ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงภัย สนับสนุนให้สังคมเข้าไปร่วมแก้ไขปัญหาของคนอื่นในลักษณะคล้อยตามหรือเห็นดีเห็นงามไปกับ ไอดอลคนดังผู้สร้างแรงบันดาลใจให้สังคม  แต่แนวทางนี้ก็มีความเสี่ยงหากคนดังไม่เข้าใจปัญหาแล้วเสนอทางแก้ไขที่ไม่ตรงความต้องการเจ้าของปัญหา หรือทำให้เกิดการลดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เพิ่มเติม หรือทำให้ต้องรอคอยการบริจาคสงเคราะห์ไปตลอด

องค์การระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนทั้งหลายได้รับความร่วมมือจากคนดังเพื่อส่งเสียงไปยังสังคม เช่น คุณปูไปรยา แห่ง UNHCR ที่ทำให้เห็นความสำคัญของปัญหาผู้ลี้ภัยที่ต้องหนีการประหัตประหารเข้ามาหลบภัยและต้องการหลักประกันสิทธิขั้นพื้นฐานและการสนับสนุนงบประมาณจากคนทั่วโลกรวมถึงคนไทย

กลับมาที่เวทีประกวดก็จะพบว่ามีนางงามหลายท่านได้ลุกขึ้นมาพูดในฐานะ “เจ้าของปัญหา” เช่น นางงามสเปนที่ยืนหยัดเรื่องความงดงามตามอัตลักษณ์ และเพศสภาพของตนในฐานะผู้หญิงข้ามเพศคนแรกที่ได้ขึ้นเวทีประกวดมิสยูนิเวิร์ส   หรืออีกหลายท่านที่เคยเผชิญการล้อเลียน หมิ่นประมาท คุกคาม ก็ได้แสดงจุดยืนและเรียกร้องให้เพื่อนผู้หญิงทุกคนลุกขึ้นสู้  ก็นับเป็นอีกคุณค่าที่เกิดจากการลงทุนจัดประกวดยิ่งใหญ่และถ่ายทอดสดไปทั่วโลก

แต่เหนือสิ่งอื่นใด คือ การตอบคำถามที่อาจไม่เกี่ยวข้องกับปัญหาเฉพาะตัวของนางงามแต่ละคน  ยกตัวอย่างผู้ชนะในปีนี้อย่าง นางงามฟิลิปปินส์ ที่เหมือนจะเป็นเรื่องประสบการณ์ส่วนตัว แต่การแสดงออกของนางงามนั้นแสดงให้เห็น “กึ๋น” ที่มองทะลุเจตนารมณ์เบื้องหลังคำถามได้อย่างทะลุปรุโปร่ง

เธอตอบคำถามว่าประสบการณ์ใดในชีวิตที่สร้างบทเรียนให้กับเธอ โดยมองออกไปยังเพื่อนมนุษย์ที่อยู่ในภาวะยากจน แล้วเปลี่ยนเป็นความเห็นอกเห็นใจ พัฒนาให้กลายเป็นพลังอยากเปลี่ยนแปลงโลก

และมันจะเปลี่ยนได้มากขึ้นเมื่อเธอได้เป็นมิสยูนิเวิร์ส

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนพรรณ
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนพรรณ
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนพรรณ
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนพรรณ
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว