Skip to main content
 
อบรมเรื่อง Women's Rights, Reproductive Health and Global Development Priorities
ระหว่างวันที่ 11-13 ก.ย. 56 ที่กรุงเทพฯ จัดโดย UN Women - UNFPA - Media Inside Out
มีนักข่าวจากในเอเชียแปซิฟิกมากว่า 30 คน จากฟิลิิปปินส์ กัมพูชา ลาว พม่า ไปจนถึงมัลดีฟส์ ปาปัวนิวกินี โซโลมอน ภูฐาน
 
ในตอนแรกนี้ จะขอนำเสนอรายงานเรื่องผู้ชายกับความรุนแรงในเอเชียแปซิฟิก ที่พึ่งเผยแพร่ไปเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (10 ก.ย. 56) และนำเสนอให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้ฟังด้วย 
 
มีที่มาเนื่องจากว่า มีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงต่อผู้หญิงเยอะแล้ว แต่ยังไม่ค่อยมีรายงานที่ทำวิจัยในเรื่องนี้กับผู้ชายโดยตรง จึงเป็นที่มาของงานศึกษา The UN Multi-country Study on Men and Violence in Asia and the Pacific เป็นรายงานที่ทำโดย UNDP, UN Women, UNFPA และ UNV ใช้เวลาเก็บข้อมูล 4 ปี คำถามหลักของงานวิจัยคือทำไมผู้ชายใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิง มีปัจจัยอะไรบ้าง โดยเก็บข้อมูลผู้ชาย 10,000 คน และผู้หญิงอีก 3,000 คน ในหกประเทศ ได้แก่ ในบังกลาเทศ กัมพูชา จีน อินโด ปาปัวนิวกินี ศรีลังกา ทั้งหมด 9 เมืองต่างๆ กัน โดยพยายามสำรวจทั้งในเมืองและในชนบท ผู้จัดทำสัมภาษณ์ผู้ชายระหว่าง 18-49 ปี สาเหตุที่เลือกประเทศที่ว่า ก็เพื่อให้ได้ความหลากหลายของภูมิภาคย่อยในเอเชีย และเน้นประเทศที่ยังมีการวิจัยเรื่องนี้ไม่มากนัก 
 
 
ด้านวิธีการวิจัย ใช้แบบสอบถามที่ค่อนข้างมีความซับซ้อน โดยถามเรื่องทัศนคติ ประสบการณ์วัยเด็ก เพศและสุขภาพ การใช้ความรุนแรง สำหรับคำถามที่ค่อนข้างมีความเซ็นสิทีฟ ทางผู้จัดการสอบถามจะใช้ไอพอดทัชที่มีแอพแบบสอบถาม และเป็นภาษาท้องถิ่น 
 
ผลสำรวจพบว่า บางประเทศอย่างบังกลาเทศ จีน มีการใช้ความรุนแรงทางร่างกายต่อผู้หญิงมากกว่าความรุนแรงทางเพศ แต่บางประเทศก็ใช้ความรุนแรงทางเพศมากกว่า อย่างในอินโดนีเซีย 
 
นอกจากนี้ ยังพบว่า ในประเทศส่วนใหญ่ที่สำรวจ การข่มขืนโดยพาร์ทเนอร์เกิดขึ้นมากกว่าการข่มขืนโดยคนที่ไม่ใช่พาร์ทเนอร์ โดยผู้ชายส่วนใหญ่ที่รายงานว่าตนเองเคยข่มขืน ตอบคำถามว่า ร้อยละ 42 ทำการข่มขืนครั้งแรก ในช่วงอายุระหว่าง 20-29 ปี  และร้อยละ 38 เคยทำครั้งแรกในช่วงอายุ 13-19 ปี 
 
ในประเทศที่สำรวจ ร้อยละ 79-97 ของผู้ชายที่ถูกแจ้งความในคดีข่มขืน ไม่เคยถูกดำเนินคดี ในศรีลังกา มีผู้ชายจำนวนมากสุด คือร้อยละ 97 ที่เป็นเช่นนี้ 
 
สำหรับเหตุผลและแรงจูงใจในการข่มขืน อันดับแรกคือ ความรู้สึกว่าตนเองมีสิทธิทำได้ (sexual titlement) คิดเป็นร้อยละ 71
รองลงมาคือความสนุก หรือเบื่อ ร้อยละ 44 
ร้อยละ 35 บอกว่าเกิดจากความโกรธหรือต้องการลงโทษ
น้อยที่สุด ร้อยละ 17 เกิดจากจากอาการเมา 
 
ปัจจัยที่เกี่ยวกับการใช้ความรุนแรงต่อพารท์เนอร์ ส่วนใหญ่ ผู้ที่มีความประพฤติเช่นนี้ พบว่ามักทะเลาะกับพาร์ทเนอร์บ่อย มีนิสัยชอบควบคุมสูง เคยมีพาร์ทเนอร์แล้วมากกว่า 2 คน และเคยมีประวัติในการซื้อบริการทางเพศกับโสเภณี 
 
รองลงมา คือการถูกล่วงละเมิด หรือละเลย (abuse/neglect) ในสมัยเด็ก เช่น อาจะเห็นแม่ตัวเองถูกกระทำ หรือถูกละเมิดทางเพศเองในตอนเด็ก 
 
นอกจากนี้ก็มีเรื่องโรคซึมเศร้า (depression), อาการติดเหล้า (alcohol abuse) รองลงมาก็เป็นพวกไม่ได้รับการศึกษาในช่วงมัธยม หรือขาดความมั่นคงทางอาหาร (no food security) พฤติกรรมเหล่านี้ถูกวิเคราะห์ว่าน่าจะเป็นต้องการอยากเน้นย้ำความเป็นแมนของตัวเอง และแสดงให้ความเหนือกว่าทางเพศ เป็นการกระทำเพื่อให้ตนเองรู้สึกมีอำนาจ 
 
ปัจจัยการใช้ความรุนแรงที่เกี่ยวกับคนที่ไม่ใช่พาร์ทเนอร์ ก็คล้ายๆ กันกับที่กล่าวไปข้างต้น แต่ยังมีเรื่องของการเกี่ยวข้องกับแก๊งค์ที่ใช้ความรุนแรงพวกนี้ด้วย 
 
ในบังกลาเทศ ผู้ชายที่แต่งงานโดยมีเงินสินสอด (dowry) มีแนวโน้มจะใช้ความรุนแรงต่อพาร์ทเนอร์มากกว่า ต้องบอกว่าวัฒนธรรมในเอเชียใต้ อย่างในอินเดีย บังกลาเทศ ฝ่ายหญิงจะต้องเป็นผู้ให้สินสอดผู้ชาย ทำให้มีหลายกรณีที่ฝ่ายชายทำร้ายผู้หญิง และหาเรื่องหย่า เพื่อที่จะเอาสินสอดอย่างเดียว 
 

 

บล็อกของ สุลักษณ์ หลำอุบล

สุลักษณ์ หลำอุบล
 อบรมเรื่อง Women's Rights, Reproductive Health and Global Development Prioritiesระหว่างวันที่ 11-13 ก.ย.
สุลักษณ์ หลำอุบล
เมื่อกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ผู้เขียนมีโอกาสได้ไปเยือนกรุงมาดริด สเปน เพื่อเข้าร่วมการประชุมโลกครั้งที่ 5 เพื่อการยกเลิกโทษประหารชีวิต (World Congress Against the Death Penalty) ในฐานะสื่อไทยที่เดียวที่ได้รับเชิญไป งานนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-15 มิ.ย.
สุลักษณ์ หลำอุบล
ทางเว็บไซต์ Free Arabs มีการเผยแพร่คลิปสัมภาษณ์เด็กชายชาวอียิปต์วัย 12 ขวบ ชื่ออาลี อาห์เหม็ด กำลังเรียนอยู่ชั้นป.
สุลักษณ์ หลำอุบล
*หมายเหตุ โพสต์นี้เขียนสืบเนื่องจากการเข้าอบรมเรื่อง Digital Security กับพันธมิตรสื่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ Southeast Asia Press Alliance (SEAPA) เมื่อวันที่ 29-39 สิงหาคม 2555 ที่กรุงเทพฯ  *เครื่องมือทั้งหมดสามารถโหลดไ
สุลักษณ์ หลำอุบล
รู้จักเว็บไซต์ Factcheck.org เว็บไซต์ที่อุทิศเฉพาะการเช็คความถูกต้องของข้อมูล, สถิิติ, ข้อเท็จจริงในข่าว/ เยี่ยมสำนักงานของ Committee to Protect Journalists/ ฟังวงเสวนาเรื่องการทำสื่อพลัดถิ่น (diaspora media) ในอเมริกา 
สุลักษณ์ หลำอุบล
สำหรับโพสต์นี้เรายังอยู่ที่วอชิงตันดีซี ทั้งอยู่ที่ Foreign Press Center ที่ดีซีด้วย และออกไปข้างนอก เยี่ยมสำนักงานของ Center for Democracy and Technology และไปกระทรวงต่างประเทศสหรัฐเพื่อพบกับ Under Secretary for Public Diplomacy และ Ambassador จาก Bureau of Democracy, Human Rights and
สุลักษณ์ หลำอุบล
การมาอเมริกาครั้งนี้ ต้องบอกว่าเป็นเกียรติและยินดีอย่างยิ่งที่ได้มาเป็นหนึ่งในคณะของ Foreign Press Center ซึ่งเป็นศูนย์สื่อมวลชนที่อยู่ภายใต้ State Department หรือกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา โดยในปีนี้เขามีธีมที่ชื่อว่า "Press Freedom and Developments in Journalism" และมี