Skip to main content

 

เร่งวันคืน
ให้เดินไปสู่วันที่ 13 กรกฎาคม 2555โดยเร็ว อยากฟังคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เครียดนะ ยิ่งเราค้นหาแนวทางคำตอบที่จะออกมาจากอินเทอร์เน็ต หาข้อเท็จจริง อ่านข้อคิดเห็นของผู้รู้ทางกฎหมาย เปิดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2555 เล่มหน้าปกสีเหลือง ดูมาตรา 68 , 291 ที่มีการถกเถียงอย่างกว้างขวาง ปวดหัว ยาพาราฯ 2 เม็ดไหลลงคอ หลับตานอนนิ่งๆ หลังพิงพนักเก้าอี้ดีที่สุดยามนี้ ตื่นมาอาการดีขึ้น แต่ยังสลัดเรื่องการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไม่หลุด

วันที่ 13 กรกฎาคม 2555
มาถึงจนได้ ศาลรัฐธรรมนูญจะอ่านคำวินิจฉัยประมาณ 14.00 น. ใช้เวลาอ่านราว 1 ชั่วโมงเศษ เมื่อถึงเวลา 15.00 น.เศษคงรู้ผลคำวินิจฉัย ขอยกประเด็นและคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ปรากฏผลแล้วว่า ประเด็นที่ 1 ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจรับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยหรือไม่(คำวินิจฉัยว่า มีอำนาจรับคำร้อง ผู้ทราบการกระทำที่ฝ่าฝืนมาตรา 68 สามารถ 1.เสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง และยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ 2. สามารถยื่นขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว) ประเด็นที่ 2 ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 สามารถแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญทั้งฉบับได้หรือไม่(คำวินิจฉัยว่า ควรให้ประชาชนได้ลงประชามติเสียก่อน) ประเด็นที่ 3 การกระทำของผู้ถูกร้องเป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระ มหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจปกครองประเทศ ซึ่งไม่ได้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญตามมาตรา 68 วรรค 1 หรือไม่(คำวินิจฉัยว่า ไม่เป็น...) ประเด็นที่ 4 หากมีการกระทำตามประเด็นที่ 3 จะมีผลถึงการยุบพรรคหรือไม่ และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรคหรือไม่(คำวินิจฉัยว่า ยกคำร้อง)

ประเด็นที่ 1
มีผู้รู้หลายคนไม่เห็นด้วยในคำวินิจฉัยนี้ บ้างว่า ไม่อยู่ในอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะรับคำร้องนี้ได้ และยังขยายความไปถึงประเด็นอื่นคือ ๆไม่เห็นด้วยที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับต้องทำประชามติ ส่วนคำวินิจฉัยในประเด็นที่ 3 , 4 มีผู้เห็นด้วย ในเรื่องนี้มีผู้แสดงความเห็นที่แหลมคมน่าสนใจยิ่งจำนวน 3 คนได้แก่ อาจารย์ธิดา ถาวรเศรษฐ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) อาจารย์วรเจตน์ ภาคีรัตน์ แกนนำกลุ่มนิติราษฎร์ และคุณจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทยทั้งสามคนกล่าวว่าอย่างไร หาอ่านได้ตามหนังสือพิมพ์ซิครับ ถึงอย่างไรก็ตาม ศาลรัฐธรรมนูญมีไว้เพื่อหาข้อยุติ เพื่อให้เกิดสภาวะอยู่ร่วมกันได้ในสังคม ไม่ถึงขั้นต้องพังไปข้างหนึ่ง มันเป็นกฎ กติกาของสังคม เราต้องยอมรับแม้ไม่เห็นด้วยในบางมุมมอง

ก้าวต่อไป
น่าสนใจยิ่ง กลยุทธในการเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2555 จะทำอย่างไร แน่นอน รัฐบาลคงต้องอาศัยมันสมองฝ่ายกฏหมายระดับเซียนของพรรค รวมทั้งหารือกฤษฎีกา หาทางออกเพื่อก้าวเดินต่อไป ฝ่ายไม่ให้แก้คงงัดอะไรๆออกมาขวางทางไปเรื่อยๆ ระหว่างจุดเริ่มเดินไปสู่ปลายทางคือการแก้รัฐธรรมนูญ เป็นระหว่างทางที่ก้าวเดินยากยิ่ง มีความเข้มข้น น่าระทึก กลัวมากก็ไม่ดี ไม่กลัวก็เกรงจะพลาดได้ ใจถึงหรือไม่ วัดกันที่ใจจริงๆ ถนนสายนี้กำลังจะเกิดจุดสูงสุดของเรื่อง เป็นจุดไคลแมค จากนั้นเส้นกราฟจะโค้งลงต่ำ เพื่อสู่จุดจบชั่วคราวอีกครั้งหนึ่ง.

..............................................................
 

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ขณะเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3 ได้ยินผู้ใหญ่หลายคนมานั่งคุยกับย่า พูดในทิศทางเดียวกันว่า อุ๊ย(ย่าหรือยาย)
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ตื่นแล้ว ยังหนาวขอนอนงอเข่านิ่งๆต่ออีกหน่อย เสียงเจ้าเหมียวแมวตัวผู้ประจำบ้านร้องเหมียวๆที่ประตูห้องนอน ได้ยินเสียงเล็บมันข่วนประตูถี่ มันจะมาร้องทุกเช้าปลุกเจ้าของบ้าน ผมตะโกนบอกมันว่ายังไม่ลุกยังหนาวอยู่ มันไม่ยอมยังคงร้องเหมียวๆและข่วนประตูต่อไป ผมชักฉุนมันเป็นเจ้าของบ้านหรือผู้อาศัย พูดกันคนละภาษา อับจนสุดปัญญาหาล่ามแปล มันอาจคิดว่าเราเป็นคนใช้ก็ได้ ถ้าหิวมันร้องเราก็เอาอาหารให้ มันหนาวมันร้องบอกอีก
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
มองเข้าไปในมิติการเมืองไทย
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีกล่าวกับสื่อมวลชนประจำทำเนียบที่เข้าอวยพรว่า “...ไม่ว่าจะมีเสียงวิจารณ์อย่างไรเราก็น้อมรับ...ขอโอกาสให้ทำงานอยู่จนครบ เทอม จะได้ตอบว่า ผลงานที่ได้แถลงไว้ทำได้อย่างไร ได้คะแนนเท่าไรบ้าง.”
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
วันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ท่านยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้หาเสียงเลือกตั้งให้พรรคเพื่อไทย โดยชูนโยบายเด่นด้าน ความปรองดอง การแก้ไขและป้องกันยาเสพติด ปราบปรามคอรัปชั่น ยกร่างรัฐธรรมนูญ และอื่นๆอีกยาวเหยียด และท่านมักจะทิ้งท้ายวาทะสำคัญคือ “ ขอโอกาส” จากประชาชน
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ฮัก(รัก)รออยู่ นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย ท่านยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เดินทางมาบ้านเกิดที่เชียงใหม่ เป็นการกลับมาบ้านเกิดครั้งแรก หลังจากรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ท่านตั้งใจจะกลับมาเยี่ยมบ้านเกิดหลังพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณ(10 สิงหาคม 2554) แต่เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ จึงต้องอยู่กรุงเทพฯ เพื่อบริหารจัดการน้ำก่อน
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    หากไม่ย้ายเมืองหลวง คนไทยจะปักหลักอยู่ที่เดิมสู้ต่อไป  มาในแนวสู้ไม่ถอย  ขอแก้ตัวอีกสักครั้ง  หรือจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม  กรุงเทพฯจะต้องมีระบบป้องกันน้ำท่วมที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าปัจจุบัน  และคาดว่าจะใช้งบประมาณมหาศาลทีเดียว  ลองมาดูตัวเลขความเสียหายจากน้ำท่วมใหญ่ปี 2554  ธนาคารโลกได้ประเมินค่าความเสียหายประมาณ 1.36 ล้านล้านบาท  แยกเป็นความเสียหายจากทรัพย์สิน 6.4 แสนล้านบาท  ค่าเสียโอกาสทางธุรกิจ 7.16 แสนล้านบาท  แรงงานว่างงาน 7-9.2  แสนคน  และไทยจะใช้เงินฟื้นฟูเศรษฐกิจจากน้ำท่วม  ในวงเงินประมาณ 7.56  แสนล้านบาท…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ประเทศแรก ที่จะจมมหาสมุทร คือประเทศมัลดิฟว์ ประเทศเป็นเกาะอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดีย มีประชากรราว 270,000 คน มีพื้นที่ 298 ตารางกิโลเมตร เล็กกว่าภูเก็ตที่มีพื้นที่ 543.034 ตารางกิโลเมตร มัลดิฟว์เป็นหมู่เกาะปะการัง มีหาดทรายขาวและสวยงามมาก หมู่เกาะกระจายราว 1,200 เกาะ พื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลราว 1.5 เมตรเท่านั้น ประธานาธิบดีคนใหม่ชื่อ นายโมฮัมเหม็ด แอนนี นาชิด กำลังหนักใจเกี่ยวกับการมองหาที่ตั้งประเทศแห่งใหม่ ได้มองไปที่ประเทศศรีลังกา …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
     ในอดีต มีผู้ใหญ่ในบ้านเมืองไทย  เสนอแนวคิดการย้ายเมืองหลวงหลายครั้งหลายยุค  ลองไล่ตามลำดับ เริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ. 2486  บุรุษผู้กล้าหาญคนแรก  ท่านจอมพล ป.พิบูลสงคราม  คิดจะย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่จังหวัดเพชรบูรณ์  ต่อมาในในสมัยรัฐบาล  พลเอกชวลิต  ยงใจยุทธ  จะย้ายเมืองหลวงไปที่เขาตะเกียบ  จังหวัดฉะเชิงเทรา  พอมาถึงยุคท่านสมัคร  สุนทรเวช  เจ้าของวลีเด็ดๆ  เช่น “ กระเหี้ยนกระหือรือ   อะไรกันนักหนา ฯลฯ”  ขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่ง  รัฐมนตรีช่วยว่าราชการกระทรวงมหาดไทย …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  การย้ายเมือง มักมีสาเหตุต่างๆ ที่สำคัญ  ดังเช่น  เมืองลำพูนในอดีต  ในปี พ.ศ. 1490  เมืองลำพูนได้เกิดโรคระบาดร้ายแรงคือ “โรคห่า” หรืออหิวาตกโลก  ผู้คนล้มตายมากมาย  ผู้ที่ยังไม่ตายเห็นว่า  ถ้าอยู่ต่อไปอาจต้องเสียชีวิต  จึงพากันไปอยู่เมือง “สุธรรมวดี”  คือเมืองสะเทิม  ประเทศรามัญหรือมอญ  และยังระหกระเหินย้ายไปอยู่เมืองอื่นนานถึง 6 ปี  เมื่อทราบว่าโรคระบาดลดลง  จึงพากันกลับมาอยู่เมืองลำพูนดังเดิม เวียงกุมกาม
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    เขตอุตสาหกรรม 5 แห่ง ที่อยุธยาถูกน้ำท่วม มูลค่าลงทุนหลายแสนล้านบาท ตามลำดับดังนี้ 1.นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องหนัง ฯลฯ มูลค่าลงทุน 9,472 ล้านบาท คนงาน 14,000 คน โรงงาน 48 โรง พื้นที่ 2,050 ไร่ 2.ส่วนอุตสาหกรรมโรจนะ ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนไฟฟ้า โรงงานผลิตรถยนต์ฮอนด้า ฯลฯ มูลค่าลงทุน 58,000 ล้านบาท คนงาน 90,000 คน โรงงาน 183 โรง พื้นที่ 12,000 ไร่ 3.นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (ไฮเทค) ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์คอมฯ…