thanormrak's picture

<font color="#ff6600"><strong>ถนอมรัก เดือนเต็มดวง</strong><br /><br />เป็นนามปากกาข้าราชการบำนาญปี 2549 <br />จบปริญญาโท สาขานิเทศและพัฒนาหลักสูตร คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย <br /><br />ปัจจุบันใช้ชีวิตสมถะกับภรรยา อยู่ที่ชนบทบ้านทุ่งแป้ง ริมฝั่งแม่น้ำขาน ต.ท่าวังพร้าว อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ <br />ใช้เวลาว่าง อ่านหนังสือ เขียนหนังสือ ค้นคว้าหาความรู้ รับทราบข้อมูลข่าวสาร <br />สนทนากับผู้รู้ คิด วิเคราะห์ กำหนดเป้าหมายชีวิต แล้วเดินไปหา ในเวลาที่เหลืออยู่...</font>

บล็อกของ thanormrak

น้ำท่วมใหญ่ สัญญาณเตือนภัยจากธรรมชาติ (3)

 


 

เขตอุตสาหกรรม 5 แห่ง
ที่อยุธยาถูกน้ำท่วม มูลค่าลงทุนหลายแสนล้านบาท ตามลำดับดังนี้
1.นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องหนัง ฯลฯ มูลค่าลงทุน 9,472 ล้านบาท คนงาน 14,000 คน โรงงาน 48 โรง พื้นที่ 2,050 ไร่
2.ส่วนอุตสาหกรรมโรจนะ ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนไฟฟ้า โรงงานผลิตรถยนต์ฮอนด้า ฯลฯ มูลค่าลงทุน 58,000 ล้านบาท คนงาน 90,000 คน โรงงาน 183 โรง พื้นที่ 12,000 ไร่
3.นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (ไฮเทค) ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์คอมฯ โรงงาน 143 โรง มูลค่าลงทุน 64,000 ล้านบาท คนงาน 55,000 คน พื้นที่ 2,400 ไร่
4.นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน ผลิตชิ้นส่วนไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์  โรงงาน 109 โรง มูลค่าลงทุน 60,000 ล้านบาท คนงาน 60,000 คน พื้นที่ 1,962 ไร่
5.เขตประกอบอุตสาหกรรมแฟคตอรี่ ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ ฯ โรงงาน 99 โรง  มูลค่าลงทุน 11,000 ล้านบาท คนงาน 6,000 คน พื้นที่ 130 ไร่
 

น้ำท่วมใหญ่ สัญญาณเตือนภัยจากธรรมชาติ (2)

 


 

ศึกครั้งนี้ใหญ่หลวง
มันไม่พูด รุกคืบคลานไปข้างหน้าไม่มีหยุด เหมือนเชื้อโรคสายพันธุ์ใหม่ในหนังฝรั่งประเภท
ไซไฟ (Sci-Fi) สภาพคล้ายเมือกฟองปุด ไหลกลืนกินทุกอย่างที่ขวางหน้า เป็นมฤตยูเงียบ เลือดเย็น มันคือกระแสน้ำ มิใช่หยดน้ำ...กระแสน้ำครั้งนี้เหมือนข้าศึกบ้านเมืองยุคปัจจุบัน ไม่มีการเจรจาพักรบ พักเหนื่อยพักหายใจ ไพร่พลมหาศาลหนุนเนื่อง หัวเมืองใหญ่น้อยจากเหนือลงใต้ถูกโจมตีแตกพ่าย มันกรีฑาทัพมุ่งโจมตีเมืองหลวง ที่มั่นสุดท้ายของเรา ปริมาณมหาศาล มาแรงและเร็ว มันคือกระแสน้ำ...มันเหมือนนักมวยลำหนักทรงพลัง เดินต่อยเราไม่มีหยุด หนักหน่วงรุนแรง หากยกแขนป้องกันไม่ดี ถอดใจเมื่อใด ถึงน็อก... แข็งใจไว้ทั้งนักมวยฝ่ายเรา พี่เลี้ยงคนดู อีกอึดใจเดียวหมดยกแล้ว เราจะชนะคะแนน เราปลอดภัย
 

น้ำท่วมใหญ่ สัญญาณเตือนภัยจากธรรมชาติ (1)

 


 

ผมย้อนกลับมาดูน้ำท่วม
ที่บ้านเกิดจังหวัดเชียงใหม่ ผมมีเวลามากพอเนื่องจากเกษียณอายุราชการ อ่านหนังสือบ้าง เขียนบ้าง ลองค้นหาข้อมูลน้ำท่วมจังหวัดเชียงใหม่ โดยค้นจากอินเทอร์เน็ต หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ได้พบข้อมูลน่าสนใจ ปีนี้ (29 กันยายน พ.ศ.2554) ระดับน้ำที่ P 1  ณ สะพานนวรัฐอยู่ที่ 4.94 เมตร เป็นสถิติสูงสุด สูงกว่าปี พ.ศ. 2548 ที่สูง 4.93 เมตร ในปี 2548 นั้น น้ำท่วมเชียงใหม่ครั้งแรกเมื่อ 13 สิงหาคม 2548 และท่วมอีก 3 ครั้ง ในเดือนกันยายน กลางเดือนกันยายน และต้นตุลาคม มีข้อมูลระบุว่าเป็นอุทกภัยร้ายแรงในรอบ 50 ปีของเมืองเชียงใหม่ 

ในปี 2553 ทางจังหวัดได้ประเมินความเสียหายของบริษัทห้างร้าน โอกาสทางธุรกิจ รวมทั้งความเสียหายของทรัพย์สินประชาชนและทรัพย์สินสาธารณะมากกว่า 1,000 ล้านบาท สถิตินี้ถูกทำลายลงในปี 2554 ที่มีความเสียหายกว่า 2,000 ล้านบาท ไม่ทราบว่าข้อมูลที่ถูกทำลายลง เราควรจะดีใจหรือเสียใจ น้ำท่วมเชียงใหม่ในบริเวณ ไนท์บาซาร์ ถนนเชียงใหม่-ลำพูน ถนนช้างคลาน สะพานตำรวจภูธรภาค 5 ถนนเจริญ-ประเทศ โรงเรียนพระหฤทัย หมู่บ้านเวียงทอง ถนนมหิดล ถนนเจริญเมือง สถานีรถไฟ หมู่บ้านหนองประทีป

 

น้องธัญญ์ หัวใจแกร่ง (2)

 

 

ลองพิจารณาคำพูดของน้องธัญญ์
คุณสรยุทธจากรายการ “ เจาะข่าวเด่นช่อง 3 .”(14 มิ.ย. 2554)ถามว่า
“ ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์มา เคยมีเวลาใดที่รู้สึกทุกข์ใจบ้างหรือไม่ ?.”

น้องธัญญ์ หัวใจแกร่ง (1)

 

3 เมษายน 2554
ได้ทราบข่าว นักเรียนไทยในสิงคโปร์ประสบอุบัติเหตุ ถูกรถไฟ  MRT ของสิงคโปร์ทับขาขาดทั้งสองข้าง ในเวลาต่อมาได้มีการเสนอข่าวเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง ได้ทราบเรื่องราวต่อมา คนไทยที่ได้รับอุบัติเหตุครั้งนี้ ชื่อ เด็กหญิงณิชชารีย์ เป็นเอกชนะศักดิ์ อายุ 14 ปี เดินทางไปเรียนซัมเมอร์คอร์สภาษาอังกฤษ เคมบริดจ์ ที่สิงคโปร์ เธอเป็นนักเรียนชั้น ม. 2 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย จังหวัดตรัง

น้ำท่วม น้ำตา น้ำใจ (2)


 

หากวิเคราะห์เรื่องน้ำท่วม
ปีหนึ่งหากท่วม 1 ครั้งต่อปี ประชาชนเดือนร้อนก็ช่วยเหลือกันไป มอบถุงยังชีพมอบอาหาร ให้ค่าชดเชยหลัง 5, 000 บาท พอพ้นฤดูน้ำท่วมปัญหาหมดไปลืมกันไป ปีหน้าว่ากันอีกที ไม่ทราบว่ามีแผนป้องกันระดับประเทศไหมหนอ มีหน่วยงานใดเป็นเจ้าของเรื่องป้องกันน้ำท่วมระดับประเทศ แม้จะมีพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ 2550 และคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ แต่ยังขาดการทำงานที่เป็นระบบ คือสอดคล้องสัมพันธ์กันทุกขั้นตอนการทำงาน ยังขาดเอกภาพ ขาดความร่วมมือ  ที่ผ่านมาไทยต้องสูญเสียงบประมาณปีละ 2 หมื่นล้านบาท แต่เป็นงบช่วยเหลือมากกว่างบป้องกัน ทำนองแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ไม่ได้ป้องกันก่อนเกิดปัญหา แต่น่ายินดีนะครับ ได้ฟังข่าวโทรทัศน์เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2554 รัฐบาลชุดนี้ คิดเร็วทำเร็ว   ได้ยินว่าจะมีสำนักงานที่รับผิดชอบเรื่องน้ำท่วมระดับประเทศโดยตรง ว่าด้วยเรื่องน้ำท่วมอย่างเดียว ถูกใจมาก ผมจะตรวจสอบความถูกต้องของข่าวและติดตามต่อไป
 

น้ำท่วม น้ำตา น้ำใจ(1)

 


ที่บ้านทุ่งแป้ง 
อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ฝนตกตลอดคืนวันที่ 6 , 9 , 13 กันยายน พ.ศ. 2554 พอเช้าวันที่ 14 กันยายน แม่น้ำขานเริ่มมีระดับสูงขึ้นรวดเร็ว และล้น บ่าข้ามถนนข้างแม่น้ำเข้าท่วมบ้านทุ่งแป้งจำนวน 90 กว่าหลังคา ระดับน้ำสูงขึ้นช้าๆ ต่อมาเริ่มท่วมถนนข้างบ้าน ที่คั่นระหว่าง บ้านผมกับวัดทุ่งแป้ง    ได้ยินเสียงน้ำไหลซ่าเข้าประตูวัด บริเวณบ้านผมได้ถมดินให้สูงก่อนปลูก น้ำ จึงยังไม่ท่วม บ้านอื่นรอบๆถูกน้ำท่วมหมดแล้ว มีเพื่อนบ้านนำรถยนต์มาฝาก 2 คัน รถจักรยานยนต์ 4 คัน จักรยานอีก 1 คัน มาเลยพี่น้องบ้านเฮา ยินดีต้อนรับ

คนกับป่าไม้ (4)


 

กรณีกลุ่มชาวบ้านอำเภอวังน้ำเขียว
จังหวัดนครราชสีมา อ้างว่าได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ป่าไม้ และเตรียมยื่นรัฐบาลชุดใหม่แก้กฎหมายจำนวน 3 ฉบับ รวมทั้งมีการต่อต้านและกล่าวโจมตีเจ้าหน้าที่นั้น ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชี้แจงว่า ไม่น่ามีปัญหาเพราะได้ชี้แจงทำความเข้าใจแล้วว่า จุดมุ่งหมายของทั้งกรมป่าไม้และกรมอุทยานแห่งชาติฯ ไม่ได้ดำเนินคดีกับชาวบ้าน แต่ดำเนินคดีกับกลุ่มทุนคนรวยคนมีเงิน ที่ไปบุกรุกเพื่อตัดวงจรการบุกรุกป่า ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ให้ชื่อมาแล้วว่ามีใครอยู่เบื้องหลังชาวบ้านในการบุกรุกป่าวังน้ำเขียว และออกมาต่อต้านกรมป่าไม้และกรมอุทยานฯ
 

คนกับป่าไม้ (3)

 


 

อธิบดีกรมป่าไม้กล่าวอย่างน่าสนใจ
คดีบุกรุกป่าไม้ ใช้เวลาในการสอบคดีนาน 1-10 ปี กรณีบุกรุกอุทยานทับลาน ใช้เวลานานมาก กว่าคดีจะสิ้นสุดและมีผลบังคับใช้ให้รื้อถอนออกไป แต่ยังไม่ยอมรื้อ กรมป่าไม้จะใช้วังน้ำเขียวเป็นโมเดล ในการจัดการปัญหาการรุกป่า ให้เป็นตัวอย่างกับพื้นที่อื่นอย่างถึงที่สุด
 

Pages

Subscribe to RSS - บล็อกของ thanormrak