Skip to main content

 



ผมเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยร่วมเคลื่อนไหวในคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 (ครก.112) เพื่่อนๆ คงได้ข่าว ครก.112 บ้างนะครับ ผมอยากส่งจดหมายแสดงความเห็นใจและให้กำลังใจเพื่อนๆ เนื่องจากผมเป็นคนหนึ่งที่เห็นว่ากฎหมายนี้ไม่เป็นธรรม และก่อกรรมทำบาปกับประชาชนมาเป็นจำนวนมากแล้ว

แม้ว่าผมจะไม่ได้ลงแรงมากเท่ากับคนอื่นๆ แต่สิ่งที่ผมได้เรียนรู้จากการรณรงค์กับครก.ในระยะ 112 วันก็มากมาย ที่สำคัญได้แก่

(หนึ่ง) ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ไม่ยุติธรรมกับผู้ต้องโทษในคดีนี้ นับตั้งแต่การกล่าวโทษว่าใครผิด ยิ่งอุดมการณ์เบื้องหลังกฎหมายมาตรานี้ยิ่งเลวร้าย ถึงขนาดบิดเบือนหลักสากลของกฎหมายสมัยใหม่ ที่จะต้องถือว่าผู้ต้องหาไม่ผิดจนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าผิด

นอกจากนั้น ผู้ต้องหาคดีนี้ในรายที่ยากจน เป็นนักเคลื่อนไหวทางสังคมในประเด็นที่ล่อแหลม เป็นคนไม่มีฐานะทางสังคม ก็มักไม่ได้รับการให้ประกันตัว เหมือนไม่เป็นคนเท่าเทียมกับคนอื่นๆ

ปัญหาของ ม.112 ยังมีอีกมากมายจนอาจอภิปรายกันได้เป็นวันๆ แต่ข้อเลวร้ายที่อยากเอ่ยถึงอีกประการหนึ่งคือ ม.112 ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง ใช้กลั่นแกล้งส่วนบุคคล และเลยเถิดไปถึงใช้เป็นข้ออ้างในการสังหารประชาชนกลางเมืองหลวง ดังที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2553

(สอง) แต่สังคมก็ไม่ได้หูหนวกตาบอดต่อปัญหาดังกล่าว ทำให้การรณรงค์ของครก.ไม่ได้มีเพียงนักกิจกรรมทางสังคม นักเขียน และนักวิชาการ แต่ยังมีประชาชนจำนวนมากให้ความสนใจ นั่นแสดงว่าประชาชนจำนวนมากเห็นว่ากฎหมายนี้ไม่เป็นธรรม

จากการไปสัญจรในเวทีต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ผมเห็นว่าการตื่นตัวที่จะเรียนรู้ถึงปัญหา ม.112 มีมากเกินกว่าที่เคยมีการหยิบยกปัญหานี้ขึ้นมาอภิปรายในที่สาธารณะในอดีต 

ที่สำคัญคือ ความตื่นตัวนี้ไม่ได้แบ่งแยกสีเสื้อ มีทั้งคนเสื้อแดง คนเสื้อเหลือง และคนเสื้อหลากสีที่เห็นปัญหานี้ ความตื่นตัวไม่ได้จำกัดเฉพาะคนรุ่นผู้ใหญ่ที่ตื่นตัวทางการเมือง แต่ยังมีนิสิต นักศึกษาจำนวนมากที่เข้าใจปัญหานี้ จึงกล่าวได้ว่า สังคมทั้งสังคมกำลังเฝ้าติดตามปัญหานี้อยู่

(สาม) คงมีแต่นักการเมืองและชนชั้นนำที่กุมอำนาจอยู่ ที่ไม่เห็นว่าสิ่งนี้เป็นปัญหา ผมวิเคราะห์เอาเองว่า พวกเขากลัวว่าการยกเลิกหรือแก้ไขมาตรา 112 จะทำให้พวกเขาสูญเสียอำนาจ มากกว่าที่จะเป็นการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างที่พวกเขากล่าวอ้าง

คงมีก็แต่องค์กรอิสระที่ไม่มีความกล้าหาญทางจริยธรรมเพียงพอ ที่จะสามารถแปลงความเห็นอกเห็นใจเพื่อนมนุษย์อย่างตรงไปตรงมา ให้เป็นความรับผิดชอบต่อหน้าที่ขององค์กรที่ตนเองทำงานรับเงินเดือนอยู่ได้ จึงไม่เห็นปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนของ ม.112

เพราะฉะนั้น แม้ผู้มีอำนาจในสังคมนี้จะยังหน่วงรั้งการเปลี่ยนแปลงอยู่ แต่คนจำนวนมากในสังคมกำลังเห็นปัญหาของม.112 นั่นแสดงด้วยว่า คนจำนวนมากเห็นอกเห็นใจเพื่อนๆ ที่ต้องขังในนามนักโทษ 112 

พวกเขาไม่ใช่ญาติพี่น้องของเพื่อนๆ ที่ต้องขังอยู่ พวกเขาไม่มีผลประโยชน์ใดๆ กับเพื่อนๆ ที่ต้องขังอยู่ แต่พวกเขาร่วมรณรงค์อย่างแข็งขัน และร่วมลงชื่อจำนวนมหาศาลถึงเกือบ 4 หมื่นรายชื่อ ทั้งๆ ที่กระแสต่อต้านจากกลุ่มที่เสียประโยชน์จากการแก้ไข ม.112 รุนแรงยิ่งนัก

แม้ว่าวันนี้กฎหมายจะยังไม่ถูกเปลี่ยนแปลง แต่สังคมย่อมก้าวหน้ากว่ากฎหมายที่ถูกบัญญัติไว้ และในท้ายที่สุด พลังของสังคมจะต้องผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกฎหมายจนได้

ขอให้นักโทษ 112 ได้รับกำลังใจจากกระแสสังคมที่ก้าวหน้าและนับวันจะทบทวีการตระหนักต่อปัญหาของม.112 มากย่ิงขึ้นนี้ 

พร้อมขอฝากไปยังผู้มีอำนาจว่า หากพวกคุณใช้ความรู้สึกสำเหนียกถึงความเป็นมนุษย์ในการบริหารประเทศมากกว่านี้ พวกคุณก็จะเข้าใจปัญหาสิทธิมนุษยชนได้ ในระดับเดียวกับที่ปุถุชนในสังคมไทยเขาเข้าใจกัน


ยุกติ มุกดาวิจิตร

 

ที่มาภาพ: รายงาน: นักโทษ112 ชวนส่ง 'อีเมล์หยดน้ำ'– โปสการ์ดฝีมือ‘หลานอากง

 

 

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นโจมตีกระแนะกระแหนส่วนหนึ่งของความเห็นผมกันยกใหญ่ แต่ผมว่าก็ดีนะ มันชี้ขีดจำกัดของความคิดคนดี ก็ไม่ใช่ว่าผมจะพูดถูกหมดหรือพูดครบถ้วนหมดจดหรอก เพียงแต่มีข้อแย้งกับข้อโต้แย้งเหล่านั้นได้มากเช่นกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สิทธิมนุษยชนเป็นแนวคิดที่มีรากฐานอยู่ในประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมืองไทยมาเนิ่นนาน น่าจะนานไม่น้อยไปกว่าแนวคิดประชาธิปไตย หากแต่น่าสงสัยว่า ทำไมแนวคิดนี้จึงยังไม่เป็นที่เข้าใจกันเสียที 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายวันมานี้ มีนักคิดหลายๆ คนเสนอวิธีทำความเข้าใจสังคมไทยใหม่ๆ มากมาย หลายคนพยายามไม่ตัดสินว่านี่คือการถอยหลังหรือย้อนรอยกลับไปในอดีต เพราะนักศึกษาประวัติศาสตร์สังคมย่อมทราบดีว่า สังคมเปลี่ยนแปลงเสมอ และในเมื่อเงื่อนไขเปลี่ยนไป เราจะเข้าใจสังคมปัจจุบันอย่างไร ผมคนหนึ่งล่ะที่พยายามไม่คิดว่านี่เป็นการ "ถอยหลัง" หรือซ้ำรอยอดีตอย่าง deja vu 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรื่องไม่เป็นเรื่องบางครั้งก็ชวนให้น่ารำคาญ ทำให้ต้องมาคอยอารัมภบทออกตัวมากมาย ทั้งๆ ที่ไม่จำเป็น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมโชคดีที่มีโอกาสได้รับเชิญไปร่วมประชุมวิชาการด้านสิทธิมนุษยชนที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเมื่อวันศุกร์สัปดาห์ก่อน ทั้งหมดเป็นประสบการณ์แปลกใหม่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แนวโน้มของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แสดงให้เห็นทิศทางที่ชัดเจนขึ้นว่า จะเป็นรัฐธรรมนูญที่ลดอำนาจของประชาชนลง แนวโน้มนี้ไม่ได้เหนือความคาดหมายของผู้เฝ้าติดตามการเมืองไทยในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีกระบวนการต่อเนื่องของการทำลายประชาธิปไตยในประเทศไทย จนกระทั่งเมื่อการเลือกตั้งทั่วไปปี 2557 ที่เกิดปรากฏการณ์ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองไทย นั่นคือการชุมนุมทางการเมืองและใช้กำลังรุนแรงของมวลชนเข้าไปปิดล้อมทำลายการเลือกตั้ง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่จำเป็นต้องสาธยายคุณูปการของอาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลต่อสังคมไทย หากคุณไม่เห็นคุณูปการของอาจารย์สมศักดิ์ คุณก็คือคนที่ไม่เข้าใจว่าตนเองกำลังกรอกยาฝิ่นใส่ปากตัวเอง แล้วเมายาอยู่จนหลงคิดไปว่ากำลังดื่มโอสถบำรุงกำลัง หากคุณไม่คิดอย่างนั้น ก็ไม่ต้องอ่านต่อไปแล้วไม่ต้องมาพยายามเถียงกับผมให้เสียเวลาเปลืองอารมณ์ที่จะต้องคุยกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันศุกร์ที่ผ่านมา (20 กพ. 58) ผมไปร่วมกิจกรรม 4 กิจกรรมด้วยกัน ทั้งหมดเกี่ยวกันบ้าง ไม่เกี่ยวกันบ้าง แต่อยากเล่าให้ฟังว่ามันชวนคิดและชวนตกใจมากทีเดียว 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อเห็นข่าวว่ามีการพูดถึงคนไทยมาจากเขาอัลไตกันขึ้นมาอีก ผมก็ระลึกขึ้นมาทันทีว่า เรื่องนี้ได้ข้อตกลงกันไปชัดเจนนานแล้วนี่นาว่า เป็นความรู้ที่ผิดพลาด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
รัฐบาลทหารไม่อยากให้ถูกเรียกว่าตนเองเป็นเผด็จการ เพราะยอมรับความจริงไม่ได้ว่า ที่ตนเป็นอยู่นั้นเป็นเผด็จการ เหมือนโจรที่ไม่อยากถูกเรียกว่าโ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา หลายคนคงเป็นแบบผม คือพยายามข่มอารมณ์ฝ่าฟันการสบถของท่านผู้นำ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตั้งแต่ที่ผมรู้จักงานฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์มา มีปีนี้เองที่ผมคิดว่ากิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่มีความหมาย