Skip to main content
นาโก๊ะลี
นักบริหารท่านหนึ่งกล่าวว่า  “ผู้ที่เรียนรู้จากประสบการณ์ถือเป็นคนฉลาด  แต่ผู้ที่เรียนรู้จากประสบการณ์ของคนอื่นด้วยเป็นคนฉลาดกว่า”  ในขณะที่ยุคสมัยการเรียนรู้ของมนุษย์ มุ่งเน้นไปที่เนื้อหาวิชาการ ทฤษฎีต่างๆ  แบ่งสายแยกแขนงแตกต่อ สืบค้นต้นตอแสวงหาความรู้ ไม่ก็สร้างความรู้ สร้างทฤษฎีขึ้นมาเพื่อสร้างความชอบธรรม หรือให้มันรับใช้ความเชื่อของตัวเองหรือกลุ่มของตัวเอง  นั่นก็ว่า ทฤษฎีของใครก็ของใคร  ทั้งนั้นก็คงใช่หรอก ว่าเป็นการแสวงหาความรู้ของมนุษย์  มากกว่านั้นหลายเจ้าทฤษฎีก็ขวนขวายหาวิธี สร้างวิธีเข้าสู่ความรู้โดยวิธีลัด  ด้วยว่าคนร่วมยุคสมัยใช้เวลากันเปล่าเปลือง จึงเหลือเวลาอยู่ไม่มากแล้ว  บางคนเหลือเวลาไว้ใช้เพียงน้อยนิด  หรือบางผู้คนก็อาจไม่มีเวลาเหลืออยู่เลย  เช่นนี้เองผู้คนจึงดำรงอยู่บนวิถีอันสำเร็จรูป แม้แต่ความรู้ก็ไม่ได้รับการยกเว้นว่าต้องทำให้มันเป็นความรู้สำเร็จรูป  ด้วยเมื่อมันเป็นเช่นนั้นแล้ว มันย่อมซื้อหามาได้นั่นเองผู้เฒ่ามักเล่าเรื่องราวได้แม่นยำ  เรื่องราวของชีวิตท่านเอง หรือกระทั่งเรื่องราวของความรู้ และประวัติศาสตร์ก่อนยุคสมัยของท่าน  รายละเอียดมากมายทั้งในเรื่องของคน เวลา และเหตุการณ์  เรื่องราวทั้งหมดนั้นสถิตอยู่ในความทรงจำอันยาวนาน ผ่านกาลเวลามาอย่างมั่นคง แนบแน่น ไม่หล่นหาย  สงบนิ่งอยู่ในความทรงจำ รอการบอกเล่ากล่าวความต่อคนรุ่นหลัง  และเมื่อยามที่เรื่องราวทั้งหลายหลั่งไหลออกมาจากทรงจำผู้เฒ่านี้เอง  มันจะเต็มไปด้วยชีวิตชีวา  มีพลัง แทรกเกร็ด เสริมสร้างแรงบันดาลใจ   แต่ว่าไป ผู้เฒ่าที่สั่งสมเรื่องราวมากมายเหล่านี้ก็มิค่อยได้มีโอกาสเล่าความนี้เท่าไหร่นัก  ด้วยลูกหลานไม่มีเวลา  หรือมีเครื่องมหรสพใหม่ๆ ที่ตรึงตาพวกเขาได้มากกว่า  ลึกไปกว่าเรื่องราวที่บอกเล่า  ผู้เฒ่าก็บอกเล่าที่มาของเรื่องเล่าเหล่านั้น  มันไม่ได้มาจากการจัดรูปแบบการเรียนรู้  แต่มันมาจากวิถีชีวิต  มันถูกส่งผ่านจากคนรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง ผ่านกิจกรรมที่ทำร่วมกัน  การงานที่ช้า  ไร่นาเรือกสวน  หรือรวมไปถึงการบีบนวด การรับใช้ปรนนิบัติ  นี่เป็นเวลาแห่งการเล่าเรื่อง ไร้รูปแบบ แต่มันเป็นกระบวนการและในเนื้อหาเรื่องราวนั้น  มันก็มีเรื่องของถ้อยคำ การเรียบเรียง วิธีการเล่า อารมณ์  ซึ่งมันเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเล่าเรื่องให้สนุก และก่อแรงบันดาลใจ  การเล่าเรื่องของคนเฒ่าเก่าก่อนมันจึงมีทั้งศาสตร์และศิลป์  นอกจากนั้นแล้ว ความใกล้ชิด ก็ก่อให้เกิดการเรียนรู้จากการกระทำ  นั่นคือการเรียนรู้จากวิถีชีวิตโดยแท้เรื่องเล่าเป็นส่วนสำคัญแห่งการเรียนรู้ที่ต้องใส่ใจโดยปรกติ  โดยไม่ได้ผ่านการสร้างทฤษฎี สร้างระบบ หรือแบบแผน  ทั้งหมดนั้นมันคือการเรียนรู้ทั้งวิถี และวิธี  เช่นนี้เองที่เรามักจะพบว่านักเล่าเรื่องที่ดีนั้น ทั้งหมดเป็นผู้ฟังที่ดีเสมอมา  หรือกระทั่งเป็นผู้รับใช้ที่แข็งขันยิ่งนัก    และในเรื่องเล่าของนักเล่าเรื่องชั้นดีนี่เองที่มักก่อเกิดแรงบันดาลใจต่อผู้คน  ได้สืบค้นวิถีแห่งการเรียนรู้ของตัวเอง  นี่อาจเป็นระบบการศึกษาที่เก่าแก่ที่สุด และอาจเป็นระบบที่ยั่งยืนที่สุดก็อาจเป็นได้
กวีประชาไท
 Photo from: http://www.flickr.com/photos/naixn/624130172/  ...คลื่นที่ซัดเข้าสาดฝั่งแรงโถมถั่งทุ่มเทอยู่ถี่ถี่ระลอกแล้วระลอกเล่ากี่นานปีกัดกลืนผืนปฐพีอยู่มิคลายกร่อนโขดหินที่ยืนแกร่งอย่างเกรี้ยวกราดเกลียวคลื่นเหมือนอาฆาตดังมาดหมาย –ซัดโขดหินโซทรุดหลุดลงทลายซบแทบเท้าสุดท้ายแห่งสายน้ำ...ต่างแนวทรายชายหาดทุกหนแห่งล้มลมล้อคลื่นแรงระเรื่อยร่ำคล้ายจะถูกดูดกลืน – คลื่นเคี่ยวกรำสยบยอมต่อกระทำของทะเลต่อกระทำของทะเลที่ชวนทะเลาะกลืนรอยทรายหลังเซาะล้อคลื่นเห่ยังคงทรายหลังคลื่นเข้าโถมเทคงรายอยู่ริมทะเลเรียงเต็มลาน ...แด่ทรายทุกเม็ดที่โล้คลื่นมรสุมอย่างกล้าหาญไหมฟ้าสาเกตุนคร - ร้อยเอ็ด
นาโก๊ะลี
วันแต่ละวัน ซึ่งก็คือตลอดเวลาของชีวิต  มนุษย์ไม่อาจหลีกเลี่ยงหรือปฏิเสธการสื่อสาร  มีบ้างหรอกวิธี หรือเครื่องมือสื่อสารที่สามารถตัดต่อ เรียบเรียงโดยผ่านการใคร่ครวญ ไตร่ตรอง ด้วยเหตุด้วยผลว่าจะได้หรือเสีย ดีหรือร้าย  ในแง่นี้ก็อาจจะว่าเฉพาะไปที่การเขียน  ซึ่งมันเป็นการสื่อสารที่ค่อนข้างช้า  ความช้านี่เองที่ทำให้สามารถกลั่นกรองเรื่องราวเนื้อหานั้นๆ  แต่การสื่อสารที่รวดเร็ว ว่าก็คือการสนทนานั้นมันเป็นการสื่อสารทันใด  มันจึงทำให้กรองได้น้อย  มีบ้างหรอกความพยายามที่จะ ‘คิดก่อนพูด’ แต่มันก็ไม่ได้ใช้ได้ทุกครั้ง  ยิ่งขณะภาวะที่ความคิดคับแคบด้วยแล้ว  ถ้อยคำก็ยิ่งเป็นสื่อที่ออกมาจากภายในโดยตรง  อย่างดีที่สุดก็ผ่านการตรวจสอบจากข้อมูลความรู้เดิม ความทรงจำเดิม ทั้งหมดนั้นความหมายของมันก็คือ ถ้อยคำได้ฉายภาพจากภายในของผู้คนออกมานั่นเองดูเหมือนว่าโบราณ  ถ้อยคำของโบราณฉายภาพชัดเจนทั้งศิลปะ วัฒนธรรม ความเชื่อของมนุษย์  บางทีมันมาในรูปของนิทานปรัมปรา  มาในภาษิตคำคม เรื่องเล่า หรือตำนานผ่านภาษาที่เรียบง่าย  เรื่องราวเหล่านั้นเคลื่อนไหว ดำรงอยู่ในสนามปัญญาร่วมของมนุษยชาติ  ทั้งหมดนั้นมันจึงเปี่ยมความหมาย  หรืออาจเป็นนิรันดร์ ดังเช่น ณ ยุคสมัยเวลานี้ เรายังได้ยินได้ฟังถ้อยคำโบราณ อันเป็นภูมิปัญญาของบรรพชน  เรื่องราวเหล่านั้นเองที่มันบ่งบอกอุปนิสัยของชนนั้นๆ  และเมื่อเราฟังคำโบราณของหลายเผ่าชนเราย่อมพบว่า  คำของโบราณนั้นสืบต่อมาแต่คำของธรรมชาติ  ด้วยมักมีเรื่องราวของหลายชนเผ่าที่ไกลโพ้น ฟังคล้ายเป็นเรื่องราวเดียวกันอย่างไม่น่าเชื่อนั่นเองทั้งหมดนี้ คล้ายว่ามนุษย์มิอาจปิดบังซ่อนเร้นภาพ หรือสภาวะภายในของตนได้  ด้วยว่ามันปรากฏเด่นชัดอยู่ในถ้อยคำ  เช่นนั้นเอง เมื่อยามที่เราได้ฟังคำโกหกพกลม เพ้อเจ้อ ของผู้คน  เราย่อมรู้ได้ไม่ยากเย็นถึงความจริงที่ซ่อนอยู่หลังคำโอ่อวดนั้น  เพราะวิญญาณของเขาฉายชัดอยู่ในถ้อยคำนั้นแล้ว หรือแม้กระทั่งความจริงของชีวิตที่ผู้คนกล่าวออกมา  เราย่อมมองเห็นตัวตน และโลกภายในของเขาได้ชัดเจน   เช่นนี้เองที่เราย่อมเชื่อได้ไม่มาก็น้อยว่า  ที่สุดแล้วมนุษย์ไม่สามารถหลอกลวงผู้อื่นได้ เพราะชีวิตของเขาคือภาพสะท้อนตัวตนภายในของเขา  หากจะมีใครที่มนุษย์พอจะหลอกได้บ้างก็คือ ตัวเอง  กระนั้นหากสืบสาวให้ลึกลงไปกว่านั้น  จิตไร้สำนึกของตัวเองก็ไม่ได้ถูกหลอกอยู่นั่นเอง  ........ถ้อยคำคือหนทาง....มันเป็นหนทางสายสำคัญในวิถีชีวิต  มันนำเราไปสู่ความงาม ความจริง  การเรียนรู้  บางถ้อยคำคือดอกไม้ที่มีหยดน้ำค้างต้องแสงตะวันเปล่งประกายเช้า  บางถ้อยคำอาจเป็นเศษขยะเน่าเหม็นริมทาง  เช่นนั้นเอง ในกระบวนการเรียนรู้ เราจึงไม่อาจละเลยถ้อยคำ  ด้วยว่าเราไม่อาจเพียงชื่นชมดอกไม้โดยแกล้งทำเป็นไม่เห็นกองขยะ หากแต่เราต้องรู้ว่ากองขยะเน่าเหม็นนั้นก็อาจเป็นปุ๋ยให้ต้นไม้ เพื่อได้ออกดอกส่งกลิ่นหอม ซึ่งทั้งหมดนี้อาจเป็นวิถีแห่งถ้อยคำ นั่นก็เป็นได้....
กวีประชาไท
ศิลปินสร้างงานศิลปะสืบสานสภาวะประเสริฐศิลป์ฝากผลงานไว้ในแผ่นดินกล่าวขานยลยินกันต่อไปหัวใจศิลปินศิลปะสภาวะแตกต่างที่กว้างใหญ่ด้วยดวงตาอันละเมียดละไมคือหัวจิตหัวใจศิลปินศิลปินสร้างงานศิลปะเส้นสีจะป้ายเปรอะก็เป็นศิลป์แต่ละคนประชาชนผู้ยลยินสุขเกษม ทั้งขาดดิ้นลงสิ้นใจฯพันธุ์ปกรณ์ พงศารม
นาโก๊ะลี
เรื่องเล่าในแถบถิ่นภูเขา  และเผ่าชนบนภูเขานั้น หลายต่อหลายเรื่อง หลายต่อหลายคราว มักมีเรื่องราวแห่งการเดินทาง และนักเดินทางอยู่เสมอ  ณ แผ่นดินนี้ จากเทือกผีปันน้ำ ถึงถนนธงชัย จรดตะนาวศรี  หมู่บ้านเล็กๆ แทรกตัวอยู่บนภูเขามานานนัก  นับจากหมู่บ้านที่มีสามหลัง ห้าหลัง ถึงหมู่บ้านที่มีนับสิบนับร้อยหลัง  จัดวางอยู่บนขุนเขาสลับซับซ้อน และนั่นเอง ขุนเขาใหญ่ที่ยาวเหยียดนี้จึงเต็มไปด้วยหนทางนับร้อยนับพันทาง  เชื่อมโยงต่อสายถึงกันและกัน  ในวิถีแห่งการเดินทางนี่เอง จึงทำให้เราพบเสมอว่า เมื่อเราเยือนถิ่นทางเหนือ เรามักคนจากทางใต้ อยู่ ณ แดนเหนือ  เมื่อเราเยือนถิ่นทางใต้ เราก็มักพบคนที่มาจากถิ่นทางเหนือ  นั่นจึงนับว่าภูเขาที่ยาวเหยียดนั้นผู้คนที่เดินทางอย่างช้าๆ สืบสานสร้างสัมพันธ์ระหว่างกัน  เชื่อมโยงเกี่ยวดอง กลายเป็นพี่เป็นน้องร่วมสายเลือด  แลกเปลี่ยนสืบสานเรื่องราว และวัฒนธรรม  นั่นนับเป็นวิถีแห่งภูเขามาเนิ่นนานไกลออกไปในแถบถิ่นทางราบทั้งต่ำ สูง  ในเรื่องเล่าเรื่องราวทั้งหลาย  แม้หนทางไม่ได้ลำบากดั่งภูเขา  แต่ทุ่งก็ยังมีเรื่องเล่าของการเดินทาง และนั่งเดินทางแห่งท้องทุ่งอยู่เสมอ  เกวียน หรือช้างม้า เป็นพาหนะที่พาผู้คนเดินทางจากทุ่งหนึ่ง ถึงอีกทุ่งหนึ่ง  หรือกระทั่งการเดินเท้าก็ยังมี  ทั้งหมดนั้นอาจเหมือนหรือต่างในจุดหมายก็สุดแท้  แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคล้ายจะเป็นส่วนหนึ่งของคนเดินทาง ก็คือการสร้างสานความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในต่างแถบถิ่นทุ่ง  นั่นทำให้ชีวิตได้แสวงหาสิ่งที่ขาดหายไปในแถบถิ่นตน บ้านหนึ่งมีพริก บ้านหนึ่งมีข้าว บ้านหนึ่งมีปลา แลกเปลี่ยนเวียนผ่านว่ากันไป เป็นวิถีที่งดงาม  ว่ากันไปถึงเชื่อมต่อเผ่าพันธุ์โยงใยสายเลือดเป็นญาติพี่น้องเกี่ยวดองกันไปสืบสายชีวิตว่ากันไปหลายครั้งหลายหน เมื่อยามที่เราได้พบผู้คนต่างถิ่น เมื่อมิตรภาพก่อเกิด ต่อเนื่องสนทนาบางครั้งเราพบว่า ที่แท้แล้วแม้เราสองมาจากต่างแผ่นดิน แต่เรากลับสืบสายเลือดมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน  นั่นไม่ใช่เรื่องเหลือเชื่อ.....กาลเวลาและยุคสมัยเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วเหมือนกับการเดินทาง  ที่เคลื่อนที่ได้ด้วยความเร็วเช่นกัน  ทางระหว่างดอยกับอีกดอยยังไกลเท่าเดิม  แต่พาหนะที่พาเราไปวิ่งได้ไวกว่าเดิมหลายเท่า และทางก็กว้างใหญ่ขึ้น  ดั่งเดียวกับทางระหว่างทุ่ง  และผู้คนสามารถเดินทางพร้อมกันได้ทีละมากๆ  นั่นเองวัฒนธรรมการเดินทางจึงเปลี่ยนไป  ผู้คนไม่ได้สนใจต้นไม้ใบหญ้า ท้องฟ้าแสงตะวันและผู้คนรอบข้างอีกต่อไป  ระหว่างทางไม่ได้มีการแลกเปลี่ยนเรื่องเล่า อาหาร และการเกื้อกูล  แต่ต่างคนต่างรักษาพื้นที่ของตัวเอง  ท่ามกลางผู้คนมากมายนั้น  ทุกคนต่างมุ่งแต่เป้าหมายตน  บางครั้ง....ยิ่งเป็นวิธีการเดินทางราคาถูก ก็ยิ่งยากลำบากนัก ในยานพาหนะที่มีมิตรภาพน้อยนิดนั้นบางครั้งยังเป็นบ่อเกิดแห่งการแก่งแย่งข่มเหงรังแก  ยากนักที่ผู้คนจะได้พุดคุยสนทนาสืบสาวเรื่องราวสายเลือด และหนทางของบรรพชนจะกระไรหนอ นานๆ ครั้งหรอกที่เราได้พบน้ำใจไมตรีที่ยังหลงเหลือของมนุษย์ในระหว่างการเดินทาง นั่นก็แน่นักว่า ภาพภาวะนี้อาจเป็นเรื่องที่ผู้คนจะไถ่ถามหา  เพราะวันนี้อาจจะเป็นภาพที่งดงามที่สุดสำหรับมนุษย์ในอีกยุคข้างหน้าโน้น.....
กวีประชาไท
* "เมื่อเสียงปืน ปัง ปัง ฝั่งตะวันตก"อกสะทกใจสะท้านด้วย พรั่นไหว"ม่านบุรี" แห่งประชาฯลุกสู้ เพื่อเป็นไทเผด็จการฟัสซิสม์ใจดำอำมหิต เริ่มรัวปืนบางคราการต่อสู้ เลือด ต้องรินหลั่งโหมพลัง "ลุ ก ขึ้ น สู้" ปลุกคนตื่นประชาชน - ประชาชาติทั่วโลก พร้อมหยัดยืนพลังใจ เร่งพลิกฟื้น สังคมทราม !!!ต้องต่อสู้ทุกรูปแบบ...ไร้กระบวนท่าทั้งใต้ผืนพสุธา มิคร้ามขามทั้งบนดิน – เบื้องฟ้า...วับวาววามโหมไฟให้ไหม้ลาม ทั่วปฐพีเมื่อเสียงปืน ปั๊ง เปรี้ยง กลางเมืองหลวงประชาปวงลุกสู้ ผู้กดขี่เมื่อรวมพลังทั้งโลก เข้าราวี"ก็รู้ว่า "ป ระ ชา ชี" จักชิงชัย !!!"แ ส ง ดา ว   ศ รั ท ธา มั่ นต้นเหมันตฤดู, ตุลาตม 2550, ล้านนาอิสรา, เจียงใหม่ * ในเครื่องหมายดอกจันฑ์ คือ ถ้อยกวีของ "ภราดร-ติภาพ"
กานต์ ณ กานท์
  ฤาอีกกี่รำลึกคร่ำ- ครวญฝากคำผ่านแผ่นดิน กู่ร้องฟ้องแผ่นหิน …ก็เงียบสิ้นอยู่ฉะนี้?
กานต์ ณ กานท์