Skip to main content
ชิ สุวิชาน
  บรรยากาศงานมหกรรมชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย คำรบที่สาม เป็นไปอย่างเรียบง่ายเล็กๆ กะทัดรัด ตามประเด็นหัวข้อที่นำเอาเรื่องของ "การจัดการทรัพยากรบนพื้นที่สูงในรูปแบบโฉนดชุมชน" ผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้อาวุโสชนเผ่าทางภาคเหนือต่างมากันอย่างครบครันเช่นเดิม
เจนจิรา สุ
  สาละวิน,ลูกรัก เมื่อครั้งที่แม่มาจังหวัดเชียงใหม่ครั้งแรกนั้น แม่อายุได้ 18 ปี เชียงใหม่ในความรู้สึกของแม่มันช่างกว้างใหญ่สวยงาม  แม่เป็นเพียงเด็กบ้านนอกจนๆ ที่มีเพียงเงินค่ารถติดตัวไม่กี่บาท ที่เหลือก็เป็นค่าลงทะเบียนสอบเอ็นทรานซ์ แม่มองเห็นพระธาตุดอยสุเทพจากวิวนอกเมืองยามรถแล่นผ่าน  แม่อธิษฐานในใจว่า หากมีบุญที่จะได้มาอยู่เชียงใหม่  ก็จะขึ้นไปนมัสการพระธาตุฯ ให้ได้
เราจะไม่ทอดทิ้งกัน
                                   &n
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน บทสรุปย่อสำหรับผู้บริหาร (Executive Summary) ของศูนย์พม่าศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร ในการนำการเสนอโครงการวิจัย ชุด "โครงการประเทศพม่าศึกษา" ชื่อหัวข้อวิจัย คือ "มโนทัศน์ทางการเมืองของรัฐพม่าบนพื้นที่สื่อรัฐบาลทหาร" ที่ผ่านการอนุมัติจากสกว.
ontheland
เมื่อเวลาประมาณ 06.30 น. ของวันที่ 9 สิงหาคม 2552  พล.ต.ต.เทศา ศิริวาโท ผบก.ภ.จว.สุราษฎร์ธานี ได้นำกองกำลังของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ประมาณ 40 คันรถ จาก สภ.อ.ชัยบุรี   สภ.อ.พระแสง และเมืองสุราษฎร์ธานี เข้าตรวจค้น อาวุธ ยาเสพติด ในชุมชนบ้านคลองไทร ต.ไทรงาม อ.ชัยบุรี จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายโครงการนำร่องโฉนดชุมชน ของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย(คปท.) โดยสุ่มค้น บ้านของชาวบ้านประมาณ 20 หลังคาเรือน โดยอ้างหมายศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นหลักฐานในการขอเข้าตรวจค้น จนสร้างความมึนงงให้กับชาวบ้านในหมู่บ้านซึ่งไม่ทราบสาเหตุในการเข้าตรวจค้นครั้งนี้  หลังเจ้าหน้าที่ตำรวจเดินทางกลับ พร้อมกับความมึนงงของชาวบ้านกับสิ่งที่เกิดขึ้นแบบปัจจุบันทันด่วนผ่านไปไม่กี่นาที ได้มีกองกำลังชุดคุ้มครองหมู่บ้าน(ชล.บ) ประมาณ 40 นาย นำโดย นายประสพโชค มรกต กำนัน ต.เขาดิน อ.เขาพนม จ.กระบี่ และนายอาวุฒิ ร่มจิต กำนัน ต.ไทรทอง อ.ชัยบุรี จ.สุราษฎร์ฯ เข้ามาในหมู่บ้านพร้อมด้วยรถแทร็กเตอร์(รถไถจาน) จำนวน 3 คัน ทราบภายหลังว่า เป็นรถไถของบริษัท จิวกังจุ้ยพัฒนา จำกัด เพื่อทำการไถดัน ทำลายบ้านเรือนที่พักอาศัยของสมาชิกชุมชนคลองไทร จนได้รับความเสียหายจำนวน 60 หลังคาเรือน รวมถึงศาลาประชุมของหมู่บ้านอีก 1 หลัง รวมมูลค่าความเสียหายครั้งนี้ประมาณ 3,000,000 บาท   หลังจากนั้น เมื่อเวลาประมาณ 08.30 น.ของวันเดียวกัน ตัวแทนกลุ่มชาวบ้านที่ได้รับความเสียหาย ได้เข้าแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องที่ แต่ฝ่ายตำรวจไม่รับแจ้ง                ------------------------------------------------------------------------------- สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณสุรพล : 081-370-2502   ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ข่าวที่เกี่ยวข้อง : เช็กบิลนายทุนฮุบที่ดินแปลงใหญ่ในเขตปฏิรูป  เช็กบิลนายทุนฮุบที่ดินแปลงใหญ่ในเขตปฏิรูป นายสถิตย์พงษ์ สุดชูเกียรติ ผู้ เชี่ยวชาญเฉพาะด้านกฎหมายปฏิรูปที่ดิน โฆษกสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ส.ป.ก.ได้เร่ง ยื่นฟ้องขับไล่ผู้ถือครองที่ดินแปลงใหญ่ที่ถือครองที่ดินอยู่เดิมในเขตปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ ล่าสุด ส.ป.ก.ได้ยื่นฟ้องต่อศาลให้ดำเนินคดีบริษัท จิวกังจุ้ย พัฒนา จำกัด ซึ่งถือครองที่ดินโดยผิดกฎหมายในเขตปฏิรูปที่ดินคาบเกี่ยวพื้นที่ 2 จังหวัด คือ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และกระบี่ รวมเนื้อที่กว่า 1,000 ไร่ เนื่องจากไม่ให้ความร่วมมือและไม่ยินยอมเข้าสู่กระบวนการตามกฎหมายปฏิรูปที่ดิน เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2550 ที่ผ่านมา ศาลจังหวัดกระบี่ได้มีคำพิพากษาให้ ส.ป.ก.ชนะคดี โดยวินิจฉัยว่า ที่ดินดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของ ส.ป.ก.ตามมาตรา 36 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตร กรรมฯ บริษัท จิวกังจุ้ยฯจึงไม่มีสิทธิที่จะถือครองทำประโยชน์ในที่ดิน ส.ป.ก. และสั่งให้บริษัทจิวกังจุ้ยฯพร้อมบริวารออกจากที่ดินผืนนี้ โดยให้รื้อถอนอาคาร และสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดออกไปจากที่ดินและส่งมอบที่ดินคืนให้กับ ส.ป.ก.โดยเร็ว ?ในปี 2551 ส.ป.ก.ได้กำหนดมาตรการที่จะดำเนินการกับผู้ครอบครองและ ใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตปฏิรูป 4 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มเกษตรกรรายแปลง ที่ได้รับการจัดที่ดินจาก ส.ป.ก.ไปแล้วจำนวน 1.69 ล้านราย เนื้อที่กว่า 27.6 ล้านไร่ โดยจะเร่งเจรจาลดขนาดการใช้ประโยชน์ที่ดินรายแปลงตามศักยภาพของเกษตรกร พร้อมดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบ หากตรวจพบว่ามีการโอนเปลี่ยน มือหรือไม่เข้าทำประโยชน์ 2.กลุ่มหน่วยงานภาครัฐ ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อกิจการสาธารณูปโภค เช่น ขอใช้ที่ดินสร้างสถานที่ราชการ สถานศึกษา วัด ฯลฯ หากตรวจสอบพบว่า มีการใช้ประโยชน์ไม่เต็มพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตหรือใช้ผิดวัตถุประสงค์ จะสั่งเพิกถอนการอนุญาตหรือลดขนาดพื้นที่ 3.กลุ่มภาคเอกชน ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ ในที่ดินเพื่อกิจการสาธารณูปโภค หรือกิจการเกี่ยวเนื่องกับการปฏิรูปที่ดิน หรือได้รับความยินยอมให้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติในเขตปฏิรูปที่ดินตามกฎหมายอื่น เช่น การขอสำรวจแร่ ทำเหมืองแร่ หากพบว่าใช้ที่ดินผิดวัตถุประสงค์ หรือก่อให้เกิดผลกระทบต่อเกษตรกรและ สิ่งแวดล้อม จะดำเนินการเพิกถอนทันที และ 4.กลุ่มเกษตร/บุคคล ที่ไม่เข้าสู่กระบวนการปฏิรูปที่ดิน เช่น นายทุนที่ถือครองที่ดินแปลงใหญ่ จะเร่งเจรจาและดำเนินการตามกฎหมาย ดังนั้น จึงขอความร่วมมือผู้ถือครองที่ดินแปลงใหญ่ในเขตปฏิรูปที่ดิน ให้เข้าร่วมกระบวนการปฏิรูปเพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมายต่อไป? นายสถิตย์พงษ์ กล่าว. ที่มา : เว็บไซต์ สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม(สปก.) http://www.alro.go.th/alro/alro_prov/template/newspaper_2.jsp?provCode=08&newsNo=36
เจนจิรา สุ
สาละวิน,ลูกรัก แม่ได้เล่าถึงพิธีกรรมในการเรียกขวัญลูกในบทบันทึกที่ผ่านมา แม่ก็นึกขึ้นมาได้ว่ายังมีพิธีกรรมเกี่ยวกับแม่ ซึ่งเป็นประสบการณ์ใหม่ของแม่เช่นกัน
ontheland
  12 วัน นับจากการปักหลักชุมนุมของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ กลุ่มผู้ประสบความเดือดร้อนจากปัญหาที่ดินทำกินยังคงตั้งธงเรียกร้องตามข้อเสนอเดิม คือ ต้องการให้รัฐบาลตัดสินใจยกเลิกสวนป่าแล้วนำที่ดินมาดำเนินการจัดสรรแก่เกษตรกรผู้เดือดร้อน เพื่อให้ผู้เดือดร้อนนำไปบริหารจัดการในรูปแบบของโฉนดชุมชนต่อไป แต่ ณ วันนี้ข้อเรียกร้องดังกล่าวยังไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด   ล่าสุดเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2552 ที่ผ่านมา นายสมชาย ขำวุฒิ หัวหน้าหน่วยป้องกันรักษาป่าที่ ชย.4 (คอนสาร) ได้มีประกาศลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2552 เรื่องห้ามมีการกระทำอันเป็นการละเมิดพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14 หากฝ่าฝืนต้องถูกดำเนินการตามกฎหมาย ต่อไป   ต่อประเด็นเรื่องการออกประกาศของหัวหน้าหน่วยป้องกันรักษาป่าฯ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินฯ กล่าวว่าประกาศดังกล่าวนี้ ขัดกับข้อตกลงของการเจรจาแก้ไขปัญหาระหว่างเครือข่ายฯ กับรัฐบาล ตลอดระยะเวลากว่า 3 เดือนที่ผ่านมาว่าให้หยุดข่มขู่ คุกคาม สมาชิกเครือข่ายปฏิรูปที่ดินฯ ทุกพื้นที่และให้สามารถประกอบอาชีพในที่ทำกินได้ตามวิถีชีวิตเดิมในระหว่างที่มีการเจรจาแก้ไขปัญหาระหว่างเครือข่ายฯ กับรัฐบาล นอกจากนี้ประกาศฯ ยังขัดกับคำสั่งของกระทรวงมหาดไทย ที่ มท ๐๕๑๑.๔ /ว ๑๓๑๗ ลงวันที่ 28 เมษายน 2552 เรื่องการแก้ไขปัญหาของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย และ คำสั่ง ที่ มท ๐๒๑๑.๔ /ว ๒๖๔๘ ลงวันที่ 25 มิถุนายน 2552 เรื่องขอให้ชะลอการผลักดันราษฎรที่อยู่อาศัยและทำกินในที่ดินที่มีกรณีพิพาทกับหน่ายงานของรัฐ   วันนี้(28 กรกฎาคม 2552) เครือข่ายปฏิรูปที่ดินได้ออกแถลงการณ์ ฉบับที่ 8 “กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม   ต้องสนองนโยบายรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาที่ดิน” โดยมีใจความสำคัญว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไม่ได้มีเจตนารมณ์ในการแก้ไขปัญหาตามแนวทางนโยบายที่เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทยได้ตกลงร่วมกับรัฐบาล ซึ่งจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้ได้ข้อยุติแต่อย่างใด ในขณะที่ปัญหาความเดือดร้อนที่ยืดเยื้อเรื้อรังมาเป็นเวลานาน ยังคงดำรงอยู่ต่อไป คนจนยังไร้ที่ดินต่อไป   ********************************************************************************************   แถลงการณ์เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 8 “กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม   ต้องสนองนโยบายรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาที่ดิน”                   สืบเนื่องจากการเคลื่อนไหวเรียกร้องของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย นับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2552 เป็นต้นมา จนกระทั่งนายกรัฐมนตรีมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการแก้ไขปัญหาของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย ในวันที่ 9 มีนาคม 2552 และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯ รวมทั้งสิ้น 6 ชุด ในวันที่ 24 มีนาคม 2552 ดังที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้ว นั้น                 ในวันที่ 11 มีนาคม 2552 คณะกรรมการอำนวยการฯ ได้จัดประชุมเพื่อพิจารณาแนวทางในการแก้ไขปัญหา โดยสรุปคือ ใช้หลักการนโยบายนำกฎหมาย โดยผ่อนผันให้ราษฎรสามารถทำกินตามวิถีชีวิตอันเป็นปกติสุขไปพลางก่อน โดยยึดผลประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ หากระเบียบ กฎหมายใดที่สามารถอะลุ่มอล่วยได้ ก็ให้ดำเนินการต่อไป และวันที่ 3 กรกฏาคม 2552 คณะกรรมการอำนวยการฯ ได้ประชุม ครั้งที่ 2/2552 โดยเห็นชอบแนวทางการผลักดันพื้นที่นำร่องโฉนดชุมชน จำนวนทั้งสิ้น 30 แห่งทั่วประเทศ เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีในเดือนสิงหาคม 2552 นี้                 แต่อย่างไรก็ตาม ในส่วนคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาพื้นที่ป่าไม้ ที่มีนายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธาน กระบวนการทำงานกลับเป็นไปอย่างล่าช้า อีกทั้งยังมีลักษณะที่ตรงกันข้ามกับนโยบายรัฐบาลอย่างชัดเจน กล่าวคือ มีหนังสือกรมป่าไม้ ที่ ทส 161843/10987 ลงวันที่ 15 มิถุนายน 2552 ลงนามโดยนายสมชัย เพียรสถาพร อธิบดีกรมป่าไม้ มีสาระสำคัญคือ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไม่มีอำนาจผ่อนผันให้ราษฎรอยู่อาศัยและทำกินในพื้นที่ป่าไม้ได้ เพราะไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้                 ในกรณีปัญหาสวนป่าคอนสาร และป่าสงวนแห่งชาติป่าภูซำผักหนาม อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ นายสมชาย ขำวุฒิ หัวหน้าหน่วยป้องกันรักษาป่าที่ ชย.4 (คอนสาร) ได้มีประกาศลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2552 เรื่องห้ามมีการกระทำอันเป็นการละเมิดพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14 หากฝ่าฝืนต้องถูกดำเนินการตามกฎหมาย ต่อไป                 จากสาระสำคัญข้างต้น ทำให้เห็นอย่างชัดเจนว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไม่ได้มีเจตนารมณ์ในการแก้ไขปัญหาตามแนวทางนโยบายที่เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย ได้ตกลงร่วมกับรัฐบาล ซึ่งจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้ได้ข้อยุติแต่อย่างใด ในขณะที่ปัญหาความเดือดร้อนที่ยืดเยื้อเรื้อรังมาเป็นเวลานาน ยังคงดำรงอยู่ต่อไป คนจนยังไร้ที่ดินต่อไป สังคมจะอยู่เย็นเป็นสุขอย่างไร ยังเป็นคำถามที่คงค้างอยู่ในหัวใจชาวบ้านผู้เดือดร้อนไม่จบสิ้น                 ในการนี้ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย จึงขอเรียกร้องให้ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี สั่งการให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อธิบดีกรมป่าไม้ ยกเลิกประกาศ คำสั่งใดๆที่ไม่สอดคล้องกับแนวทางการแก้ไขปัญหาของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย และเร่งรัดดำเนินการแก้ไขปัญหาให้ได้ข้อยุติ ต่อไป   สมานฉันท์ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย            28 กรกฎาคม 2552
เจนจิรา สุ
สาละวิน,ลูกรัก พ่อกับแม่ต่างเกิดขึ้นมาในวัฒนธรรมที่แตกต่างกันอย่างริบลับ แม่นั้นแม้จะเกิดที่ภาคอีสานของประเทศ แต่ก็ซึมซับวัฒนธรรมอีสานได้เพียงน้อยนิด ก็ต้องมาใช้ชีวิตและเติบโตที่ภาคเหนือจนกระทั่งเมื่อเข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัย ก็ดูเหมือนจะตัดขาดกับฐานวัฒนธรรมของตัวเอง เพราะอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ที่สังคมชั้นกลางเป็นกระแสหลักอยู่รายล้อม
ชิ สุวิชาน
เขาเดินลงไปท้ายหมู่บ้าน พร้อมกับบทเพลง" อย่าให้น้ำตาไหลริน"ของ ฉ่า เก โดะ ที  แม่จ๋า อย่าปล่อยให้น้ำตาได้มีโอกาสไหล            บัดนี้อายุลูกครบ สิบหกบริบูรณ์แล้วดั่งกฎของชายชาติทหารทุกประทศมี                  ลูกต้องทำหน้าที่เพื่อการปฏิวัติพ่อได้สละชีพจนแม่เลี้ยงลูกอย่างกำพร้า             อาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่ลำเค็ญ แม่ทนถึงคราวลูกชายคนโตต้องไปทำหน้าที่ต่อ             หัวใจของแม่อย่าได้ละลายไปตามไฟเศร้า
ontheland
ขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดชัยภูมิ ออกแถลงการณ์สนับสนุน กลุ่มผู้เดือดร้อนเรื่องที่ดินทำกินกรณีการปลูกสร้างสวนป่าคอนสารทับที่ชาวบ้านนานกว่า 30 ปี และขอให้กำลังใจในการปกป้องที่ดินจากการขับไล่ขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้(ออป.)       แถลงการณ์ ขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดชัยภูมิ ฉบับที่ 1 สนับสนุนชุมชนตำบลทุ่งพระ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ทวงผืนดินและสิทธิชุมชนกลับคืนสู่ชุมชน     กว่า 33 ปีที่ชุมชนเป็นฝ่ายถูกกระทำด้วยอำนาจการจัดการโดยหน่วยงานของรัฐอย่างขาดการมีส่วนร่วม  ละเมิดสิทธิชุมชน ทำลายระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมอันอุดมสมบูรณ์ อ้างกับสังคมในการเพิ่มพื้นที่ป่า แท้ที่จริงหวังผลเพียงเงินตราที่ได้จากการขายเนื้อไม้และคาร์บอนเครดิต จากไม้ยูคาซึ่งเป็นไม้ที่ดูดกลืนแร่ธาตุทรัพยากรในดินอย่างมาก และคนที่ได้รับผลประโยชน์ไม่ใช่คนในท้องถิ่น ให้ความสำคัญคนและชุมชนน้อยกว่าเงินตรา                 โดยหลักแห่งผืนดินไม่อาจเป็นของใครคนใดคนหนึ่ง มีเพียงสิทธิจากการใช้ประโยชน์คือการปลูกสร้างทำกินอย่างสมดุล และบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ มาตรา 66 และ 67 ชุมชนมีสิทธิในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนท้องถิ่นของตนเอง อีกทั้งระบบสิทธิในที่ดินในรูปโฉนดชุมชน เป็นสิทธิเชิงซ้อน สิทธิรวมหมู่ ที่ดินเป็นของชุมชน ไม่ใช่ของคนใดคนหนึ่ง  เป็นแนวทางที่จะทำให้ชุมชนทั่วประเทศสามารถรักษาพื้นที่ทางการเกษตร ไว้เพื่อทำการผลิตหล่อเลี้ยงชุมชนและสังคมไว้ได้                 การเข้าทำประโยชน์ในที่ดินดั้งเดิมของตนด้วยวิธีการจัดสิทธิในที่ดินโดยชุมชน ของชาวชุมชนตำบลทุ่งพระ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ จะเป็นจุดเริ่มหนึ่งของกระบวนกระจายสิทธิในที่ดินอย่างเป็นธรรมแก่คนไทยทั้งประเทศ รวมถึงการรักษาพื้นที่ทางการเกษตรไว้แม้เพียงส่วนน้อยนิด ก็จะเป็นชุมชนต้นกล้าอีกชุมชนหนึ่ง ปฏิรูปที่ดินทั้งในเรื่องสิทธิและการทำการผลิตโดยน้อมนำแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการทำประโยชน์ในที่ดินอย่างยั่งยืนต่อไป                 ขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดชัยภูมิ ซึ่งประกอบด้วยองค์กรชุมชนตำบลในจังหวัดชัยภูมิ และองค์กรประชาธิปไตยจังหวัดชัยภูมิ ขอสนับสนุนและให้กำลังใจพี่น้องชาวชุมชนตำบลทุ่งพระ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ในการปกป้องที่ดินจากการขับไล่ขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้(ออป.) ในครั้งนี้                                                                   21 กรกฎาคม 2552                                                            ขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดชัยภูมิ   ---------------------------------------------------------------------------------------------------  ติดต่อ : ขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดชัยภูมิ เลขที่ 383/226-7 ถนนบรรณาการ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ  
ontheland
         สืบเนื่องจากที่กลุ่มชาวบ้านเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย ต.ทุ่งพระ อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ ผู้ได้รับความเดือดร้อนจากการปลูกสร้างสวนป่าคอนสารทับที่ทำกินของชาวบ้าน ประมาณ 150 ครอบครัว ได้เข้าปักหลักชุมนุมตรวจสอบในพื้นที่ในบริเวณสวนป่าคอนสาร ต.ทุ่งพระ อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ อย่างสันติ เป้าหมายของการชุมนุมครั้งนี้คือ ต้องการปักหลักในพื้นที่ทำกินเดิมของตนเองและหาช่องทางเจรจากับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการแก้ไขปัญหา และได้มีการสร้างที่พักอาศัยเป็นชุมชนเพื่อที่จะชุมนุมอยู่นานจนกว่าจะได้รับคำตอบจากรัฐบาลในการยกเลิกสวนป่าและนำที่ดินมาจัดการโดยประชาชนในรูปแบบ “โฉนดชุมชน”          เมื่อเวลา 14.00 น. วานนี้(20 กรกฎาคม 2552 ตัวแทนชาวบ้านประมาณ 50 คนได้เข้ายืนหนังสือถึง นายกรัฐมนตรี (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) ผ่านปลัดอาวุโสรักษาการนายอำเภอคอนสาร และได้พูดคุยกันถึงเรื่องการใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุม ซึ่งทางปลัดอาวุโสได้รับปากว่าจะไม่มีเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างแน่นอน พร้อมกันนี้ ตนได้ประสานงานไปยังกำนันตำบลทุ่งพระให้อำนวยความสะดวกในด้านการจัดหายารักษาโรคเบื้องต้นและน้ำดื่มสะอาดให้แล้ว           ตกเย็น ประมาณ 16.00 น เจ้าหน้าที่สวนป่าสนธิกำลังกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้ภายในจังหวัดชัยภูมิได้นำกำลังประมาณ 100 นายเข้ามาปักหลักใกล้กับบริเวณที่ชุมนุมของกลุ่มเกษตรกรที่เดือดร้อน ทั้งบริเวณทางเข้าและออกทั้งสองด้านของบริเวณชุมนุม          ส่วนสถานการณ์ในพื้นที่ตอนนี้ กลุ่มชาวบ้านยังคงยืนยันจะปักหลักในเขตสวนป่าฯ จนกว่าจะได้รับคำตอบตามข้อเรียกร้อง ส่วนเจ้าหน้าที่สวนป่าฯ ได้สลายกำลังออกจากพื้นที่แล้ว มีเพียงเจ้าหน้าที่ป่าไม้ที่ยังคงขับรถตระเวนตรวจสอบความเรียบร้อยไปมารอบๆ บริเวณที่ชุมนุมของกลุ่มชาวบ้านเป็นระยะๆ
ontheland
ช่วงเวลาประมาณ 08.00 น. ของวันนี้ เจ้าหน้าที่สวนป่าคอนสาร อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ นำโดยหัวหน้าสวนป่าฯ ได้นำกำลังของเจ้าหน้าที่ประมาณ 20 นายเข้าไปภายในเขตสวนป่า บริเวณที่มีกลุ่มชาวบ้านเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ ผู้ประสบปัญหาที่ดินทำกินปักหลักตั้งเป็นที่พักอาศัยชั่วคราว และพยายามที่จะฝ่าจุดตรวจที่กลุ่มชาวบ้านตั้งด่านไว้เพื่อกั้นเป็นเขตรักษาความปลอดภัย โดยฝ่ายเจ้าหน้าที่อ้างว่าจะขอเข้าไปตรวจสอบความเรียบร้อยภายในพื้นที่ แต่ทางฝั่งชาวบ้านไม่ยอม ด้วยเหตุผลว่าเพื่อป้องกันความไม่ปลอดภัย จึงเกิดมีปากเสียงกัน จนในที่สุด เจ้าหน้าที่ป่าไม้ไม่สามารถนำกำลังฝ่าเข้าไปภายในบริเวณที่พักอาศัยของชาวบ้านได้  จึงเพียงแค่ ถ่ายรูปเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานเท่านั้น กระทั่งช่วงประมาณ 09.00 น. ได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจจำนวน 4 นาย เข้าไปในพื้นที่ และจะขอเข้าตรวจสอบภายในบริเวณที่พักอาศัยของชาวบ้านโดยอ้างว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามปกติ แต่หน่วยรักษาความปลอดภัยของกลุ่มชาวบ้านยืนยันไม่ให้เข้า หลังจากยื้อกันอยู่นานราว 1 ชั่วโมง เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องเป็นฝ่ายถอยกลับไป ส่วนกลุ่มชาวบ้านได้ตรึงกำลังคุมเข้มมากขึ้น ทางฝั่งชาวบ้านแจ้งว่า ผู้ได้รับความเดือดร้อนจากการปลูกสร้างสวนป่าคอนสารทับที่ทำกินที่มาชุมนุมกันอยู่ตอนนี้มีประมาณ 150 ครอบครัว ได้ปักหลักชุมนุมอย่างสันติเพื่อต้องการเข้าทำประโยชน์ในที่ดินเดิมของตนเองเท่านั้น รอเพียงให้เจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปเจรจาแก้ไขปัญหาให้แล้วเสร็จ ตอนนี้กลุ่มชาวบ้านตั้งธงว่าจะปักหลักชุมนุมในพื้นที่สวนป่าจนกว่ารัฐบาลจะมีประกาศให้ยกเลิกสวนป่าคอนสาร แล้วนำที่ดินมาจัดสรรให้ชาวบ้าน เพื่อที่ชาวบ้านจะได้นำไปจัดทำเป็นโฉนดชุมชน ตามแนวนโยบายของรัฐบาลต่อไป