Skip to main content
ชิ สุวิชาน
ลูกชายหายหน้าไปจากการเรียนรู้การเล่นเตหน่ากูกับพ่อเป็นหลายสิบ จนผู้เป็นแม่ที่คอยหุงอาหารให้หมูในตอนหัวค่ำเกิดคำถามต่อผู้เป็นพ่อ “ไอ้ตัวเล็กมันเล่นเป็นแล้วเหรอ? มันถึงไม่มาฝึกเพิ่ม” แม่ถามพ่อซึ่งนั่งอยู่ตรงข้ามกะบะไฟดินในบ้าน “มันบอก มันจะฝึกเอง มันคงไปฝึกที่บ้านผู้สาวมั้ง?” พ่อตอบแม่พร้อมกับสันนิษฐานพฤติกรรมของลูกชาย “มันก็ธรรมดาแหละ วัวตัวผู้พอมันเริ่มเป็นหนุ่ม มันก็เริ่มแตกฝูงไปหาตัวเมียในฝูงอื่น ก็เหมือนพ่อตอนเป็นหนุ่มนั่นแหละ อยู่บ้านอยู่ช่องซะที่ไหน กลางค่ำกลางคืนดึกแล้วไล่กลับบ้านก็ไม่ยอมกลับ ค่ำไหนค่ำนั้น มาหาทุกคืน” แม่เปรียบเทียบให้พ่อฟัง
ที่ว่างและเวลา
อาภัสสร สมบุลย์วัฒนากุล  เสียงเพลงเดือนเพ็ญจากการขับร้องของฉันจบลง ท่ามกลางเสียงปรบมือของผู้เข้าร่วมงานสามร้อยกว่าคน ที่หอประชุมในมหาวิทยาลัยพายัพ เชียงใหม่ เมื่อคืนวันเสาร์ที่ 24 พฤษภาคมที่ผ่านมา งานนี้ร่วมจัดโดยเพื่อนพ้องจากพม่าที่อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่และเพื่อนพ้องคนไทย เพื่อช่วยระดมทุนไปให้พี่น้องชาวพม่าผู้ประสบภัยจากพายุไซโคลนนาร์กิส ฉันบอกพวกเขาว่าฉันไม่ใช่นักร้อง แต่อยากมาร้องเพลง...เพื่อร่วมเป็นกำลังใจให้ทั้งผู้ประสบภัย และเพื่อนชาวพม่าที่อยู่ในไทย ให้สู้ต่อไปอย่างมีความหวัง คืนนั้น ฉันได้เพื่อนใหม่อีกมากมาย นับตั้งแต่วันแรกที่เราไปจัดดนตรีเปิดหมวกที่ถนนคนเดินเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม แทบไม่น่าเชื่อว่าระยะเวลาเพียงสามชั่วโมงจะมีผู้ร่วมบริจาคกับเราถึงสองหมื่นห้าพันบาท ซึ่งได้กลายเป็นแรงบันดาลใจให้เรา จัดกิจกรรมสืบเนื่องกันมาในภายหลัง
ชิ สุวิชาน
“วิธีการเล่นล่ะ? แตกต่างกันมั้ย?” ลูกชายถามพ่อ “ถ้าเล่นอย่างไดอย่างหนึ่งได้นะ ก็เล่นอีกอย่างได้เองแหละ ขอให้เข้าใจวิธีการตั้งสายเถอะ อย่าตั้งสายเพี้ยนละกัน” พ่อบอกและย้ำกับลูกชาย “งั้นพ่อสอนเพลงอีกซักเพลงที่เล่นแบบเมเจอร์สเกลนะ” ลูกขอวิชาจากพ่อ “เอาซิ! เดี๋ยวพ่อจะสอนเพลงพื้นบ้านง่ายๆที่ผู้เฒ่าผู้แก่ชอบร้อง ชอบเล่นกับเตหน่ากูบ่อยๆ อีกเพลง ร้องตามนะ” พ่อเริ่มร้องนำ ลูกจึงเริ่มร้องตาม
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร ๑ จำได้ว่าเมื่อตอนที่ผมริเป็นนักดนตรีไทยใหม่ๆ ในวัยเด็ก และได้ฟังเพลง “ราตรีประดับดาว” เป็นครั้งแรกนั้น ผมรู้สึกว่าเพลงนี้ช่างเพราะเหลือเกิน เพราะทั้งทำนองและเนื้อร้อง โดยที่เนื้อร้องมีอยู่ว่า… วันนี้                                 แสนสุดยินดี พระจันทร์วันเพ็ญ ขอเชิญสายใจ                                เจ้าไปนั่งเล่น ลมพัดเย็นเย็น หอมกลิ่นมาลี หอมดอกราตรี                    แม้ไม่สดสี หอมดีน่าดม เหมือนงามน้ำใจ แม้ไม่ขำคม             กิริยาน่าชม สมใจจริงเอย ชมแต่ดวงเดือน                  ที่ไหนจะเหมือน ได้ชมหน้าน้อง พี่อยู่แดเดียว เปลี่ยวใจหม่นหมอง       เจ้าอย่าขุ่นข้อง จงได้เมตตา หอมดอกชำมะนาด             กลิ่นไม่ฉูดฉาด แต่หอมยวนใจ เหมือนใจน้ำใจดี ปรานีปราศรัย          ผูกจิตสนิทได้ ให้รักจริงเอย ขอเชิญเจ้าฟังเพลงวังเวงใจ   เพลงของท่านแต่งใหม่ในวังหลวง                หอมดอกแก้วยามเย็น                      ไม่เห็นใจพี่เสียเลยเอย                                ดวงจันทร์หลั่นลดเกือบหมดดวง โอ้หนาวทรวงยอดชีวาไม่ปรานี                หอมมะลิกลีบซ้อน                          อ้อนวอนเจ้าไม่ฟังเอย                               จวนจะรุ่งแล้วนะเจ้า พี่ขอลา   แสงทองส่องฟ้าสง่าศรี            หอมดอกกระดังงา                          ชิชะ ช่างน่าเจ็บใจจริงเอย                       หมู่ภมรร่อนหาช่อมาลี          แต่ตัวพี่จำจากพรากไปไกล            หอมดอกจำปี                                นี่แน่ะ พรุ่งนี้จะกลับมาเอย ฯ
ชิ สุวิชาน
สองสามคืนผ่านไป ลูกชายไม่ได้มายุ่งกับพ่อ แต่คืนนี้ภายในบ้านไม้ไผ่ หลังคาตองตึงทรงปวาเก่อญอหลังเดิม ลูกชายถือเตหน่ากูมาอยู่ข้างพ่ออีกครั้ง “ลองฟังดูนะ ใช้ได้หรือยัง?” ลูกชายพูดจบเริ่มดีดเตหน่าและเปล่งเสียงร้องเพลงแบบไมเนอร์สเกลให้พ่อฟัง แต่ด้วยความตั้งใจมากไปหน่อยทำให้การเล่นบางครั้งมีสะดุดเป็นช่วงๆ แต่ลูกชายไม่ยอมแพ้และไม่ยอมหยุด เล่นและร้องให้พ่อซึ่งเป็นครูสอนเตหน่ากูให้เขาจนจบเพลง “ฮึ ฮึ ก็ดี เริ่มต้นได้ขนาดนี้ก็ไช้ได้” พ่อตอบเขาแบบยิ้มๆ “แล้วพ่อจะสอนอีกแบบหนึ่งได้หรือยัง?” เขามองหน้าพ่อ “อ๋อ ที่มาเล่นให้ฟังนี้ก็เพื่อให้รู้ว่าเล่นไมเนอร์ได้แล้ว จะขอเรียนแบบเมเจอร์ต่อว่างั้นเถอะ” พ่อรู้ทันเขา ลูกชายหันหน้าไปแม่และส่งยิ้มให้กัน
ชิ สุวิชาน
“ตั้งสายได้แล้ว วิธีการเล่นล่ะ?” ลูกชายกำลังไฟแรงอยากเรียนรู้ “ใจเย็นๆ ก่อนอื่นต้องฝึกร้องเพลงให้ได้ก่อน ถ้าร้องเพลงไม้ได้ จำทำนองเพลงไม่ได้ จะเล่นได้ไง” พ่อค่อยๆสอนลูกชาย “เอางี๊ เดี๋ยวพ่อจะสอนเพลงพื้นบ้านง่ายๆที่ผู้เฒ่าผู้แก่ชอบร้อง ชอบเล่นและชอบสอนเด็กบ่อยๆ ซักสองสามท่อนนะ” แล้วพ่อก็เริ่มเปล่งเสียงร้องและให้ลูกชายร้องตามที่ละวรรค
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย ข้าพเจ้าทราบข่าวว่าในวันที่ 2 พฤษภาคม 2551 ได้เกิดพายุไซโคลนนาร์กีส จากอ่าวเบ็งกอร์  อันที่ได้สร้างความเสียหายทางด้านชีวิต และทรัพย์สินแก่ประชาชนชาวพม่า ที่อาศัยอยู่ในเขตตอนล่างของประเทศจีน จนถึงกลุ่มชนมอญ กระเหรี่ยง เป็นจำนวนมากโดยเป็นตัวแทนรัฐบาล ประชาชน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ข้าพเจ้าขอแสดงความเสียใจ และเห็นใจมายังท่าน และประชาชนชาวพม่า จะสามารถฟื้นฟูเขตที่เกิดความเสียหายจากภัยพิบัติในครั้งนี้ด้วยความเคารพและนับถืออย่างสูงนครหลวงเวียงจันทน์ วันที่ 5 พฤษภาคม 2551  ข้างต้นนี้เป็นสาส์นแสดงความเสียใจที่ฯพณฯท่านบัวสอน บุบผานุวง นายกรัฐมนตรีแห่ง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวส่งถึงนายพลเต็ง เส่ง นายกรัฐมนตรีแห่งสหภาพพม่า ซึ่งเป็นประเทศเดียวที่ผู้เขียนมีโอกาสอ่านข้อความในสาส์นแสดงความเสียใจ ในฐานะที่ผู้เขียนเป็นสมาชิกชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพ ก็รู้สึกซึ้งใจที่รัฐบาลลาวไม่ได้มองข้ามการมีอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆในพื้นที่ที่ประสบภัยจากการที่รายงานข่าวว่า “พายุไซโคลนถล่มพม่า” ทำให้คนทั่วไปมักจะนึกถึงชาวพม่าโดยรวมๆ แต่อันที่จริง ลึกลงไปในคำว่า “พม่า” ก็ยังมี มอญ กะเหรี่ยง และกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ อีกด้วยดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวกับผู้เขียนว่า พื้นที่ที่ได้รับภัยพิบัติมากที่สุดคือบริเวณ Delta (ปากแม่น้ำ) ซึ่งเดิมเป็นที่อยู่ของชาวมอญ โดยมากหัวเมืองมอญจะอยู่ริมทะเล แต่ภายหลังพื้นที่ในบริเวณนั้นมีชาวกะเหรี่ยงเข้าไปอยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก นั่นก็เป็นไปได้ว่า ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน ก็จะมีทั้งพม่า มอญ กะเหรี่ยง ที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ใหญ่ในพื้นที่ นอกจากนี้ผู้เขียนได้ดูแผนที่ของบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากพายุ ก็พบว่าบริเวณตอนเหนือของรัฐมอญก็ได้รับผลกระทบด้วย ซึ่งนั่นก็ทำให้ผู้เขียนแทบจะนั่งไม่ติดเก้าอี้ คิดแต่ว่าต้องทำอะไรสักอย่างเพื่อช่วยเหลือชาวมอญในพม่าที่อาจจะโดนละเลยในการส่งความช่วยเหลือเพราะว่าเป็นคนของกลุ่มชาติพันธุ์ที่ต่อต้านรัฐบาล (อย่าหาว่าลำเอียงห่วงแต่มอญเลย ก็เพราะเราเป็นสมาชิกชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพนี่นา)แผนที่ประเทศพม่า แสดงพื้นที่บริเวณปากน้ำอิรวดี (Delta) ด้านซ้ายและรัญมอญด้านขวา
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน“มอญอะไร นุ่งผ้าถุงลายนี้ มีผ่าหลังด้วย มอญเค้าไม่มีกันหรอก” นักวิชาการมหาวิทยาลัยเปิดแถวเมืองนนท์ชี้ให้ดู“มอญของแท้ต้องโสร่งแดง นุ่งลอยชายแบบพระประแดงนั่นน่ะมอญแปลง เอาแบบกรมศิลป์มาใส่...” พิธีกรสุดเริ่ดดอกเตอร์หมาดๆ รายการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ข้างตำราพูดเสียงยาวแล้วยังจะอีกพะเรอเกวียน ตำหนิ ติ บ่น ก่น ด่า ถากถาง ตั้งความฝัน คาดหวังให้เป็น ขีดเส้นให้ตาม- - - - - - - - - - -จิตรกรรมฝาผนังวัดบางแคใหญ่ สมุทรสงคราม สมัย ร. 2 เป็นภาพสาวมอญนุ่งผ้าแหวกผ่านกลุ่มชายหนุ่ม และถูกเกี้ยวพาราสี
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร๑เดือนกุมภาพันธ์เป็นเดือนที่คนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อย่างน้อย ๒ กลุ่ม คือ จีนและมอญ  มีกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่ผูกโยงอยู่กับ “อัตลักษณ์” (identity) ของชาติพันธุ์แห่งตน นั่นก็คือ “วันตรุษจีน” หรือการเฉลิมฉลองการขึ้นปีใหม่ตามคติจีน ที่รวมถึงการรำลึกถึงบรรพชนของตน และ “วันรำลึกชนชาติมอญ” ที่คนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์มอญจากหลายจังหวัดทั่วประเทศมารวมตัวเพื่อกันทำบุญให้แก่บรรพชนผู้ล่วงลับ และร่วมกันจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม คนจีนและคนมอญได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในอาณาบริเวณที่เรียกว่าประเทศไทยในปัจจุบันตั้งแต่ก่อนการสถาปนาความเป็น “รัฐชาติ” (nation state) มาเนิ่นนาน วัฒนธรรมของทั้งสองชาติพันธุ์ต่างดำรงอยู่ และได้ผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย วันตรุษจีนได้กลายเป็น “เทศกาลตรุษจีน” ที่มีการเฉลิมฉลองกันอย่างยิ่งใหญ่ในหลายจังหวัด เป็นการเฉลิมฉลองที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยให้การสนับสนุน เพราะเทศกาลดังกล่าวนำมาซึ่งรายได้จากนักท่องเที่ยวที่มาร่วมชม และถึงแม้จะไม่มีเทศกาลตรุษจีนที่ยิ่งใหญ่เยี่ยงนั้น สังคมไทยก็คุ้นเคยกับอัตลักษณ์จีนมาเป็นเวลายาวนาน ดังเช่นการที่แทบจะไม่มีคนใดในกรุงเทพที่ไม่รู้จักเยาวราชอันเป็นย่านที่อยู่อาศัยของคนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์จีน และเป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยร้านค้าที่มีป้ายทั้งภาษาไทยและภาษาจีนกำกับ ในกรุงเทพและอีกหลายๆ จังหวัดก็มีโรงเรียนจีนที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ ทำหน้าที่สอนหนังสือจีนให้กับลูกหลานจีนในเมืองไทย ดังนี้แล้ว อาจกล่าวได้ว่าคนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์จีนยังคงดำรงอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์แห่งตน และอัตลักษณ์นั้นก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยคนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์มอญก็เช่นเดียวกัน กล่าวคือ คนมอญได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เรื่อยมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ คนมอญเหล่านี้ได้เข้ามามีบทบาทในการรับใช้ราชสำนักในฐานะกองกำลัง ศิลปวัฒนธรรมมอญก็ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของศิลปวัฒนธรรมไทย ดังเช่นการที่ปี่พาทย์มอญก็ได้กลายเป็นรูปแบบหนึ่งของสิ่งที่เรียกว่าดนตรีไทย ข้าวแช่ ซึ่งเป็นการหุงข้าวเพื่อบูชาเทวดาในช่วงสงกรานต์ของมอญ ก็ได้กลายมาเป็นอาหารไทย เป็นต้น และที่สำคัญยิ่ง สมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ พระบรมราชินีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงมีเชื้อสายมอญ ราชสกุล และตระกูลต่างๆ ในสังคมไทยจำนวนไม่น้อย อาทิ ราชสกุลกฤดากร ราชสกุลกุญชร ราชสกุลทินกร ราชสกุลฉัตรชัย ตระกูลคชเสนี ตระกูล ณ บางช้าง ฯลฯ ต่างมีเชื้อสายมอญจะเห็นได้ว่าคนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์มอญดำรงอยู่ในสังคมไทยมานับหลายร้อยปี อัตลักษณ์มอญก็ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของอัตลักษณ์ไทยในปัจจุบัน เช่นเดียวกันกับการดำรงอยู่ของอัตลักษณ์จีน อย่างไรก็ดี “วันตรุษจีน” และ “วันรำลึกชนชาติมอญ” ในปีนี้ ได้เกิดปรากฏการณ์ที่ก่อให้เกิดคำถามในเรื่อง “ท่าที” ของ “รัฐไทย” ที่มีต่ออัตลักษณ์ที่แตกต่างหลากหลายที่ดำรงอยู่ในสังคม
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
    ยังคิดถึงแฟนคอลัมน์อยู่เสมอนะคะ และที่หายด้วยภารกิจบางอย่างและกำลังเตรียมหาข้อมูลใหม่ๆ เกี่ยวกับแดนอิเหนาและตากาล็อคมาฝากผู้อ่านอยู่นะคะ อย่าเพิ่งลืมกันไปก่อน ช่วยให้กำลังใจด้วยนะคะ แต่สัปดาห์นี้ก็ยังไม่มีเรื่องของอิเหนาและตากาล็อคมาให้อ่านนะคะ เพราะเห็นว่าสถานการณ์ข้าวยากหมากแพงกำลังวิกฤตในโลกเรา มีหลายประเทศที่ประสบปัญหาข้าวขึ้นราคาและขาดแคลนข้าว อย่างเร็วๆ นี้ฟิลิปปินส์แดนตากาล็อคก็มีข้าวว่า รัฐบาลต้องหาข้าวราคาถูกให้กับคนยากจนในประเทศ ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่นักหากสื่อไม่เอามาพูดก็จะไม่มีใครทราบว่า ความจริงแล้วที่ฟิลิปปินส์ในพื้นที่ที่ห่างไกล ซึ่งอยู่แถบเกาะทางใต้เคยเกิดสงครามแย่งชิงอาหารมาก่อนหน้านี้แล้ว และชาวฟิลิปปินส์ก็เผชิญปัญหาค่าครองชีพแพงมานานแล้ว ไม่เช่นนั้นแรงงานฟิลิปปินส์ไม่ไหลบ่าไปขายแรงงานต่างประเทศแน่นอน แต่วันนี้ขอเสนอเรื่องราวของพม่า ที่ผู้เขียนได้ยินได้ฟังมา เพราะสถานการณ์จะคล้ายๆ กัน ประชาชนชั้นล่างของพม่ากินไม่อิ่มท้องมานานแล้ว ก็อาศัยสถานการณ์ที่พวกเรากำลังตื่นยุคข้าวยาก น้ำมันแพง ของขึ้นราคามาเล่าเรื่องพม่าให้ฟังค่ะ  ขอบคุณที่ยังเปิดอ่านอยู่นะคะ
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัยอากาศช่วงนี้ช่างร้อนระอุได้ใจยิ่งนัก แม้ว่าฝนจะตกลงมาอย่างหนักในบางที แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้หายร้อนแต่ประการใด ร้อนๆ แบบนี้พาให้หงุดหงิดง่าย แต่พ่อฉันมักจะสอนว่า “นี่คือธรรมชาติที่มันต้องเกิด เราต้องเข้าใจธรรมชาติ คนที่ไม่เข้าใจและโมโห หงุดหงิดกับธรรมชาติคือคนเขลา และจะไม่มีความสุข” *******************
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิดในช่วงเวลาของการแสวงประสบการณ์ ผู้เขียนมีความใฝ่ฝันมานานแล้วว่าครั้งหนึ่งในชีวิตขอให้ได้มีโอกาสทำงานโบราณคดีในภาคเหนือสักครั้ง  ดังนั้น เมื่อราวกลางปีพ.ศ. ๒๕๓๙ ผู้เขียนจึงเดินทางขึ้นเหนือและ เริ่มต้นงานแรกที่จังหวัดลำปาง คืองานบูรณะซ่อมแซมวิหารจามเทวี วัดปงยางคก ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง จากนั้นอีกไม่กี่เดือนเมื่องานที่ลำปางเสร็จสิ้นลง ก็เดินทางต่อมาที่เชียงใหม่ เพื่อทำการขุดศึกษาทางโบราณคดีที่เจดีย์เหลี่ยม หรือ กู่คำ เจดีย์สำคัญของเวียงกุมกาม ตลอดเวลาที่มองเห็นซากปรักหักพังของวัดร้างในเวียงกุมกาม น่าแปลกใจที่ตอนนั้นยังไม่ได้มีความคิดเกี่ยวกับมอญเท่าไรนัก  จวบจนวันนี้ที่ต้องทำหน้าที่บอกเล่าเรื่องมอญในมิติโบราณคดีประวัติศาสตร์ ตามที่ท่านผู้อ่านได้ประจักษ์ในวารสารเสียงรามัญผ่านมาหลายฉบับ  โดยเฉพาะฉบับนี้จะบอกเล่าเรื่องมอญในจังหวัดเชียงใหม่ ทำให้ผู้เขียนต้องรื้อฟื้นบางสิ่งบางอย่างในการสืบค้นอดีตเกี่ยวกับมอญให้ประจักษ์แจ้ง  โดยขอตามรอยอดีตอารยธรรมมอญจากแคว้นหริภุญไชยสู่เวียงกุมกามราชธานีเริ่มแรกของอาณาจักรล้านนา นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ : ความหมายของมอญไม่เคยเลือนหายในสมัยโบราณดินแดนล้านนาปรากฏแว่นแคว้น ๒ แห่ง คือ บริเวณแอ่งที่ราบลุ่มแม่น้ำกก สาย อิง และโขง(เชียงราย- เชียงแสน) มีแคว้นหิรัญนครเงินยางแห่งราชวงศ์ลวจักราช (ลัวะ) และบริเวณแอ่งที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง (เชียงใหม่-ลำพูน) มีแคว้นหริภุญชัยแห่งราชวงศ์จามเทวี (มอญ)   อาจกล่าวได้ว่าอาณาจักรล้านนากำเนิดขึ้นจากการผนวกรวมของสองดินแดน ผู้คน และวัฒนธรรม โดยพญามังรายสถาปนาเมืองนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง   เมืองเชียงใหม่ หรือ ตำนานเขียนว่า “นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่” ชื่อนี้มีความหมายและที่มาคำว่า เชียง  ตามพงศาวดารไทใหญ่และพงศาวดารไทอาหม (อาหมบุราญจี) หมายถึงชุมชนหรือหมู่บ้าน ส่วนคำว่า เวียง ตามความหมายของพงศาวดารไทอาหม แปลว่าค่ายและเมืองมีกำแพงล้อมรอบ มักเป็นที่ตั้งขององค์กรทางการปกครอง (๑)  คำว่า  นพบุรี  (นพ แปลว่าเก้า หรือ แก้วอัญมณี  บุรี แปลว่า เมือง ) ตำนานสุวรรณคำแดงเขียนเล่าเป็นนิทานว่าบริเวณเชิงดอยสุเทพเป็นที่อยู่ของชาวลัวะ ๙ ตระกูล  (๒) คำว่านครพิงค์ มาจากชื่อแม่น้ำปิงที่ไหลผ่านเมืองเชียงใหม่ ภาษาบาลีเขียนว่า พิงค์  หรือ ระมิง มีความหมายว่า “แม่น้ำของชาวรามัญ” (๓) สอดคล้องจามเทวีวงศ์เรียกชาวลุ่มน้ำปิงว่า “เมงคบุตร” (๔)  ดังนั้น แม่น้ำปิง หรือ แม่ระมิง คือ แม่น้ำที่ชาวมอญหรือเมงอาศัยอยู่นั่นเอง ดังนั้น ชื่อเมืองนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่จึงแฝงความหมายสื่อถึงถิ่นที่อยู่ของชาวลัวะบริเวณเชิงดอยสุเทพ และชาวมอญในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง เป็นกลุ่มคนเจ้าของถิ่นเดิมที่อยู่มาก่อนการสถาปนาอาณาจักรล้านนา  ถ้าจะกล่าวว่าทั้งลัวะและมอญเป็นรากฐานทางวัฒนธรรมล้านนาในสมัยต่อมาก็คงไม่ผิดนัก  ดังเช่นความเชื่อดั้งเดิมที่ตกทอดจากอดีตเกี่ยวกับผีบรรพบุรุษของชาวเชียงใหม่ปัจจุบัน ยังคงมีพิธีไหว้ผีปู่แสะย่าแสะ” คือ ผีบรรพบุรษของชาวลัวะและพิธีฟ้อนผีมดผีเม็ง คือ ผีบรรพบุรุษของชาวมอญ ตราบทุกวันนี้    เวียงกุมกาม  : รากฐานจากวัฒนธรรมมอญเป็นที่ยอมรับกันว่าในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๗ นั้นเป็นยุคทองของหริภุญชัย ในช่วงนี้อารยธรรมมอญ-ทวารวดีปรากฏเด่นชัดที่สุด ซึ่งสะท้อนออกมาทางด้านศิลปวิทยาการ สถาปัตยกรรม โดยเฉพาะด้านอักษรศาสตร์ ซึ่งยังคงหลงเหลือร่องรอยในปัจจุบันอยู่เป็นจำนวนมาก ได้แก่เหล่าบรรดาศิลาจารึกจำนวน  ๗ หลักที่พบในจังหวัดลำพูน ซึ่งจารึกด้วยอักษรมอญเป็นภาษามอญ และอักษรมอญภาษาบาลีซึ่งมีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๙   ในเวลาต่อมาพญามังราย ผู้สืบเชื้อสายจากราชวงศ์ลวจักราช แห่งเมืองหิรัญนครเงินยางบ้านเมืองในแอ่งที่ราบเชียงราย-เชียงแสน ได้เข้ายึดครองผนวกรวมเมืองหริภุญชัย ตามหลักฐานเอกสารทางประวัติศาสตร์ระบุศักราชตรงกับ พ.ศ.๑๘๒๔   พญามังรายประทับอยู่ที่หริภุญชัยเป็น เวลา ๒ ปี  แล้วจึงสร้างเวียงแห่งใหม่ คือ เวียงกุมกาม ขึ้นในปีพ.ศ.๑๘๒๙  (๕)  เมืองหริภุญชัยจึงถูกลดบทบาทลงเป็นเมืองหน้าด่านแต่ยังคงเป็นศูนย์กลางของพระศาสนาและศิลปวิทยาการ เวียงกุมกาม หรือ เวียงกุ๋มก๋วม  ตั้งอยู่ในบริเวณที่แม่น้ำปิงไหลผ่านทางด้านทิศเหนือและด้านทิศตะวันออก และคาดว่ามีการขุดคูเวียง ๓ ด้านให้แม่น้ำปิงเป็นคูธรรมชาติทางด้านทิศเหนือ ก่อกำแพง ๔ ด้าน มีสัณฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดกว้าง ๖๐๐ เมตร ยาว ๘๕๐ เมตร อาจด้วยเหตุว่าเวียงกุมกามตั้งอยู่ที่ราบลุ่มบริเวณคุ้งน้ำ จึงมีปัญหาเรื่องน้ำท่วมอยู่บ่อยครั้ง เป็นเหตุให้พญามังรายสร้างเวียงใหม่ในบริเวณที่ราบเชิงดอยสุเทพ ซึ่งมีชัยภูมิเหมาะสม  พญามังรายได้สร้างเมืองเชียงใหม่ในปีพ.ศ.๑๘๓๙  แต่เวียงกุมกามก็ไม่ได้ร้างไปทันที ยังคงได้รับทำนุบำรุงอยู่เสมอมาอีกหลายร้อยปี จนกระทั่งร่วงโรยจากเหตุอุทกภัยเนื่องจากแม่น้ำปิงเปลี่ยนทางเดินจากที่เคยจะไหลผ่านทางด้านทิศเหนือและตะวันออก มาเป็นด้านทิศตะวันตกอย่างทุกวันนี้ จากอุทกภัยน้อยใหญ่ครั้งแล้วครั้งเล่า ได้พัดตะกอนดิน ทราย กรวดทับถมเป็นชั้นหนาหลายเมตร   เวียงกุมกามในปัจจุบันจึงมีสภาพเสมือนเมืองโบราณใต้ดิน  ซึ่งหายไปจากความทรงจำและหน้าประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ในสมัยอยู่ใต้การปกครองของราชวงศ์ตองอู  (พ.ศ.๒๑๐๑-๒๓๑๗)  จนกระทั่งสมัยต้นรัตนโกสินทร์พระเจ้ากาวิละได้ทำการฟื้นฟูบ้านเมืองหลังจากปลดแอกจากการปกครองของพม่ามาหลายร้อยปี มีการใช้นโยบาย “เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง” ทำให้ผู้คนกลับเข้ามาอาศัยอยู่ในเชียงใหม่มากขึ้นรวมทั้งบริเวณเวียงกุมกามด้วย ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕   มีบันทึกชัดเจนว่ามีผู้คนเข้าไปก่อตั้งเป็นชุมชนขนาดเล็กที่ “บ้านช้างค้ำท่าวังตาล” (๖)เวียงกุมกามได้ปรากฏขึ้นอีกครั้งหลังจากมีการค้นพบในปีพ.ศ.๒๕๒๗ เป็นต้นมา กรมศิลปากรได้ทำการสำรวจ ขุดค้น บูรณะแซมโบราณสถานหลายสิบแห่ง ทำให้ซากสิ่งก่อสร้างที่จมอยู่ใต้ดินมานานปรากฏขึ้นอีกครั้ง ปัจจุบันเวียงกุมกาม อยู่ในเขตปกครองตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี และตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่มาทางทิศใต้ประมาณ ๕ กิโลเมตร จากการดำเนินงานที่ผ่านมามีโบราณสถานจำนวน  ๒๗  แห่ง  ที่ได้รับการขุดศึกษาแล้ว ได้แก่ วัดอีค่าง (วัดอีก้าง) วัดหัวหนอง วัดหนานช้าง  วัดพันเลา วัดพญามังราย  วัดพระเจ้าองค์ดำ วัดปู่เปี้ย วัดบ่อน้ำทิพย์ วัดโบสถ์ วัดธาตุน้อย วัดธาตุขาว  วัดเจดีย์  วัดกานโถม (ช้างค้ำ) วัดเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำ)  วัดกู่อ้ายหลาน วัดกู่อ้ายสี วัดกู่ริดไม้ วัดกู่ไม้ซ้ง  วัดกู่มะเกลือ วัดกู่ป้าด้อม วัดกู่จ๊อกป๊อก วัดกู่ขาว วัดกุมกามทีปราม วัดกุมกามทีปรามหมายเลข ๑  วัดกุมกาม  วัดกุมกามหมายเลข ๑ วัดกอมะม่วงเขียว(๗) ซึ่งส่วนมากมีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๑  แต่จากศึกษาทางโบราณคดีทำให้ทราบว่าบริเวณเวียงกุมกามนั้นเคยเป็นชุมชนโบราณมาตั้งแต่สมัยหริภุญชัยมาก่อน คือ ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๗  ร่วมสมัยกับเมืองโบราณในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง เช่นเวียงท่ากาน เวียงมโน เวียงเถาะ รวมทั้งเวียงเจ็ดลินบริเวณที่ราบเชิงดอยสุเทพด้วย เจดีย์ประธานวัดกานโถม (ช้างค้ำ) เวียงกุมกามจากหนังสือโบราณคดีสามทศวรรษที่เวียงกุมกามของสำนักศิลปากรที่ ๘ เชียงใหม่ กรมศิลปากรเวียงกุมกามในสมัยหริภุญชัย หลักฐานอยู่ที่ วัดกานโถม (ช้างคำ)  ได้ค้นพบพระพิมพ์ดินเผาสกุลช่างหริภุญชัย ได้แก่ พระสาม พระคง พระแปด พระสิบสอง ฯลฯ และภาชนะดินเผาแบบหริภุญชัย และที่สำคัญได้ค้นพบชิ้นส่วนของจารึกภาษามอญโบราณที่คล้ายไปทางอักษรมอญที่พบในเมืองหริภุญชัย อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘ จารึกภาษามอญโบราณเวียงกูมกาม (จารึกวัดกานโถม ชิ้นที่ ๓)จารึกภาษามอญโบราณเวียงกูมกาม(จารึกวัดกานโถม ชิ้นที่ ๕)ชิ้นส่วนศิลาจารึกวัดกานโถม (ช้างค้ำ) ได้จากการขุดค้นซากวิหารกานโถมเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๗   จำนวน ๕ ชิ้น สลักบนหินทรายสีแดง เดิมคงเป็นจารึกอยู่ในหลักเดียวกัน จารึกอยู่ทั้ง ๓ ด้าน หรือ ๔ ด้าน และจารึกในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน   ข้อความในจารึกกล่าวถึงอุโบสถ  พระพุทธรูป  คนที่ให้เฝ้าพระพุทธรูป และคำอธิษฐาน จากการศึกษาชิ้นส่วนของจารึกทั้ง ๕ ชิ้น โดย ดร. ฮันส์ เพนธ์(๘) พบว่ามีลักษณะอักษร อยู่ ๓ ชนิด คือ ๑. อักษรมอญและภาษามอญ ซึ่งเป็นอักษรที่เก่าที่สุดประมาณว่าจารึกขึ้นในราว พ.ศ. ๑๗๕๐ - ๑๘๕๐   (จารึกวัดกานโถมชิ้นที่ ๕ )๒. อักษรที่มีลักษณะระหว่างอักษรมอญกับอักษรไทย   คืออักษรมีลักษณะของอักษรมอญและอักษรสุโขทัยอยู่รวมกัน  ถือได้ว่าเป็นอักษรไทยยุคต้นนับเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญชิ้นแรกที่ยังไม่เคยพบที่แห่งใดมาก่อนที่แสดงวิวัฒนาการของอักษรไทย ประมาณว่าคงจารึกในราว พ.ศ. ๑๘๒๐ -  ๑๘๖๐  ( จารึกวัดกานโถม ชิ้นที่ ๓)๓. อักษรสุโขทัย และอักษรฝักขามรุ่นแรก อยู่รวมกัน  เป็นจารึกครั้งหลังสุดก่อนประมาณ พ.ศ. ๑๙๔๐ วิหารวัดกานโถม (ช้างค้ำ) เวียงกุมกาม บริเวณที่ค้นพบจารึกภาษามอญโบราณ จากหนังสือโบราณคดีสามทศวรรษที่เวียงกุมกามของสำนักศิลปากรที่ ๘ เชียงใหม่ กรมศิลปากรนอกจากหลักฐานด้านจารึกภาษามอญแล้ว รูปแบบทางสถาปัตยกรรมแบบหริภุญชัยก็แสดงให้เห็นที่ เจดีย์เหลี่ยม (กู่คำ) โดยถ่ายแบบมาจากเจดีย์ประธานของวัดจามเทวี (กู่กุด) จังหวัดลำพูน  นอกจากเวียงกุมกามจะได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมมอญโดยตรงจากหริภุญชัยแล้ว ยังได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมมอญผ่านพม่าด้วย  ดังมีหลักฐานว่า หลังจากพญามังรายเข้ายึดครองหริภุญชัยได้ไม่นาน ต่อมาก็ได้ยกทัพไปเมืองหงสาวดีและเมืองอังวะ ซึ่งขณะนั้นกำลังอ่อนแอจากการถูกโจมตีจากกองทัพมองโกล เจ้าเมืองทั้งสองยอมอ่อนน้อมขอเป็นไมตรี และถวายพระธิดา และข้าทาสรวมทั้งช่างฝีมือจำนวนกลับมาอยู่ที่เวียงกุมกาม(๙)  เหตุที่ผู้เขียนกล่าวว่าศิลปะและสถาปัตยกรรมของเวียงกุมกามนั้นรับอิทธิพลวัฒนธรรมมอญผ่านพม่านั้น เนื่องจากศิลปวิทยาการต่างๆของพม่าเองก็รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมมอญแทบทั้งสิ้น  ในสมัยนั้นทั้งมอญและพม่ามีการผสมกลมกลืนกันจนยากที่จะแยกแยะ อาจกล่าวว่าศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมที่เวียงกุมกามเป็นผลงานของฝีมือช่างแบบมอญ หรือ ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมมอญก็คงจะได้เช่นกันเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำ) : ศิลปกรรมมอญเมื่อแรกสร้างจนกระทั่งซ่อมแซมเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำ)เจดีย์เหลี่ยมหรือ กู่คำ  (๑๐) ตั้งอยู่ภายในวัดเจดีย์เหลี่ยม ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ และตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเวียงกุมกาม เจดีย์เหลี่ยมนั้นเป็นเจดีย์องค์แรกที่พญามังรายสร้างขึ้นเมื่อย้ายจากเมืองจากหริภุญชัยมาสร้างเวียงกุมกามเมื่อแรกที่ผู้เขียนเข้ามาทำงาน องค์เจดีย์เหลี่ยมมีสภาพชำรุดทรุดโทรม สภาพโดยรวมคร่ำคร่าหม่นหมอง ปูนฉาบก็เสื่อมสภาพ ปูนปั้นก็หลุดร่วง แถมยังถูกตะไคร่น้ำคุกคาม ฉัตรใหญ่ยอดเจดีย์ ถูกกัดกร่อนด้วยสนิม  ฉัตรเล็กประดับสถูปประจำมุมหักหายไป  แต่ทว่าภายใต้ความชำรุดทรุดโทรม ก็ยังคงส่อเค้าความสง่างามทางสถาปัตยกรรม  เอกสารทางประวัติศาสตร์หลายฉบับได้กล่าวถึงการสร้างเจดีย์เหลี่ยม อันได้แก่ พงศาวดารโยนก ปรากฏข้อความเกี่ยวกับการเจดียเหลี่ยม(กู่คำ) ว่า “ลุศักราช ๖๕๐ ปีชวด สัมฤทธิศก เจ้ามังรายให้เอาดินที่ขุดต่างหนองต่างมาทำอิฐก่อเจดีย์กู่คำไว้ในเวียงกุมกามให้เปนที่บูชาแก่ชาวเมืองทั้งหลาย”ตำนานมูลศาสนา ก็กล่าวไว้ตอนหนึ่งเมื่อพญามังรายตีเอาเมืองลำพูนได้แล้ว ว่า“ถัดนั้นพระยามังรายออกมาตั้งที่เวียงกุมกามแปงบ้านอยู่ ๒ แห่ง แห่งหนึ่งชื่อว่าบ้านกลาง แห่งหนึ่งชื่อว่าบ้านแหม นั้นก็อยู่เสวยสมบัติในที่นั้น ท่านยินดีในศาสนาพุทธเจ้า จังใครกระทำบุญอันใหญ่เป็นต้นว่าการสร้างเจดีย์นั้น จึงให้อามาตย์ทั้งหลายเอาหินมาแล้วก่อเป็นเหลี่ยมแต่ละด้านให้มีพระพุทธเจ้า ๑๔ องค์ แล้วใส่คำแต่ยอดลงมาดูงามนัก ใส่ชื่อว่ากู่คำ และให้ฉลองถวายมหาทาน กับตั้งเครื่องอัฐบริขาร แก่พระสงฆ์เจ้ามากนักแล”นอกจากนี้ยังปรากฏประวัติกล่าวถึงในโครงนิราศหริภุญชัย จารึกวัดศรีอุโมงค์คำ เป็นต้น ในปัจจุบันยังคงถกเกถียงกันในหมู่นักวิชาการ ว่า เจดีย์เหลี่ยม(กู่คำ) เป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ใด บางท่านก็เชื่อว่าสร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิของบุคคลสำคัญ แต่บางท่านก็เชื่อว่าน่าจะสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสาริกธาตุของพระพุทธเจ้า (กระดูกมือข้างขวา)  หลังจากนั้นเอกสารกล่าวถึงเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำ) อีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ ๕  ในปี พ.ศ.๒๔๕๑ ระบุว่าเจดีย์เหลี่ยมได้รับการบูรณะครั้งใหญ่โดยหลวงโยนการวิจิตร (มองปันโหย่ อุปโยคิน) หรือ ที่เรียกกันทั่วไป ว่า “พระยาตะก่า” คหบดีชาวมอญ ที่เข้ามาค้าขายอยู่ภายในเมืองเชียงใหม่ สมัยพระเจ้าอินทวิ ไชยานนท์จนได้รับพระกรุณาแต่งตั้งให้เป็นข้าหลวงได้มีศรัทธาทำการบูรณะปฏิสังขรณ์พระเจดีย์เหลี่ยมด้วยการใส่ฉัตรใหญ่ ฉัตรเล็ก ก่อซุ้ม พระนั่งประจำทิศที่ฐานทั้งสี่ด้าน ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นก่อปิดทางเข้าอุโมงค์ของเจดีย์ เพื่อป้องกันสัตว์ร้ายหรือขโมยเข้าไปหลบซ่อนอาศัย นอกจากนี้ยังมีการซ่อมแซมลวดลายปูนปั้นที่ประดับองค์เจดีย์ใหม่โดยฝีมือช่างมอญ (พม่า)ในปีพ.ศ.๒๕๓๘-๒๕๓๙ เกิดน้ำท่วมขังเจดีย์เหลี่ยมและเวียงกุมกาม ทำให้เกิดความเสียหายอย่างมาก กรมศิลปากรจึงได้ทำการขุดค้นศึกษาและบูรณะเสริมความมั่นคงเจดีย์เหลี่ยมอีกครั้ง ซึ่งในครั้งนี้ผู้เขียนในฐานะนักโบราณคดีได้ทำการขุดค้นศึกษาเพื่อศึกษาประวัติการก่อสร้าง และรูปแบบทางสถาปัตยกรรม ดังนี้ลักษณะทางสถาปัยกรรม เจดีย์เหลี่ยม(กู่คำ)มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีฐานเขียงกว้างด้านละ ๑๗.๔๕ เมตร มีความสูงจากส่วนล่างของฐานเขียงจรดปลียอด ๓๐.๗๐ เมตร เจดีย์มีลักษณะรูปทรงสี่เหลี่ยมซ้อนขึ้นไปเป็นชั้นๆหลดหลั่นกัน ๕ ชั้น แต่ละชั้นที่ซ้อนกันเรียกว่าเรือนธาตุ ในชั้นเรือนธาตุแต่ละด้านประดับด้วยซุ้มจระนำประดิษฐานพระพุทธรูปด้านละ ๓  องค์  รวมพระพุทธรูป ๖๐ องค์และเพิ่มเป็น ๔ องค์ เป็น พระนั่งประจำทิศที่ฐานทั้งสี่ด้านในสมัยหลวงโยนการวิจิตร  เรือนธาตุชั้นที่ ๕ เป็นส่วนปลียอดประดับฉัตรยอดเจดีย์  บริเวณมุมเรือนธาตุทุกชั้นประดับสถูปจำลองยอดฉัตร  ที่มุมฐานเขียงประดับสิงห์ (สิงห์ประจำมุม)  จากการขุดค้นทำให้ทราบว่าบริเวณลานประทักษิณและกำแพงแก้วมีการก่อสร้างทับซ้อนกัน ๗ ครั้ง ซึ่งการก่อสร้างครั้งที่ ๖ เป็นการซ่อมแซมปฏิสังขรณ์ในสมัยหลวงโยนการวิจิตร (พระยาตะก่า)พระพุทธรูปภายในซุ้มจระนำ ซ่อมแซมสมัยหลวงโยนการวิจิตรพระพุทธรูปภายในซุ้มจระนำที่เหลือเพียงองค์เดียวที่มีเค้าพระพักตร์เช่นเดียวกับพระพุทธรูปในซุ้มจระนำเจดีย์กู่กุด จ.ลำพูนจากลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่ปรากฏในปัจจุบัน ประกอบกับหลักฐานทางเอกสาร ได้แก่ ตำนาน พงศาวดาร และจารึก ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมมอญหริภุญชัย เมื่อพญามังรายตีเมืองลำพูนได้สำเร็จ พระองค์ได้สร้างเวียงกุมกาม และรับอิทธิพลวัฒนธรรมมาด้วย อันได้แก่ ศาสนา  อักษรศาสตร์ ศิลปกรรม และสถาปัตยกรรม โดยรูปทรงและลักษณะของเจดีย์เหลี่ยมเป็นการถ่ายแบบมาจากเจดีย์กู่กุด วัดจามเทวี จังหวัดลำพูน และจากการขุดค้นได้พบโบราณวัตถุ เช่น เศษภาชนะดินเผาแบบหริภุญชัย เครื่องถ้วยจีน ภาชนะดินเผาจากเตาสันกำแพง เตาศรีสัชนาลัย ตะปูจีน กระเบื้องมุงหลังคา สำหรับชิ้นส่วนประดับสถาปัตยกรรมเช่น  ปูนปั้นลวดลายช่อกนก ชิ้นส่วนพระพักตร์พระพุทธรูปปูนปั้น และพระพุทธรูปในซุ้มจรนำของเรือนธาตุชั้นที่ ๑ ด้านตะวันออกของเจดีย์เหลี่ยม ซึ่งเหลืออยู่เพียงองค์เดียวที่มีเค้าพระพักตร์คล้ายคลึงกับพระพุทธรูปที่ประดิษฐานในซุ้มจระนำของเจดีย์กู่กุด วัดจามเทวี  อาจกล่าวได้ว่าเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำ) ได้รับต้นแบบจากเจดีย์กู่กุดทั้งทางด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมมอญจากหริภุญชัยมาพร้อมกันสิงห์ประจำมุมเจดีย์ (ระหว่างการบูรณะ ปี พ.ศ.๒๕๓๙)ปัจจุบันศิลปะดั้งเดิมเมื่อแรกสร้างเจดีย์ได้เปลี่ยนแปลงไป เนื่องด้วยมีการบูรณะปฏิสังขรณ์ในสมัยหลวงโยนการวิจิตร มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบศิลปะ เช่นลวดลายปูนปั้นประดับซุ้มจระนำ พระพุทธรูป การประดับฉัตร การสร้างสิงห์ประจำมุมและซุ้มพระประจำทิศ  เนื่องจากหลวงโยนการวิจิตรท่านเป็นชาวมอญรูปแบบทางศิลปกรรมในการปฏิสังขรณ์จึงเป็นแบบมอญด้วย   แต่ที่ผ่านมานักวิชาการมักใช้ว่าศิลปะพม่า ซึ่งแท้จริงแล้วด้วยศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมของพม่าเองนั้นได้รับการถ่ายทอดจากมอญอีกต่อหนึ่ง  ในเรื่องนี้ผู้เขียนได้เคยอธิบายไว้ครั้งหนึ่งแล้วว่า  ในการศึกษาวิชาการประวัติศาสตร์ศิลปะนั้นมิใคร่จะมีนักวิชาการกล่าวถึงหรือให้ความสำคัญกับศิลปะมอญเท่าที่ควร  ผู้เขียนตั้งข้อสังเกตว่าแนวคิดแบบรัฐชาติมีอิทธิพลต่อการกำหนดแบบอย่างของศิลปกรรม เช่น ศิลปะพม่า ศิลปะชวา (อินโดนีเซีย)  ศิลปะขอม (กัมพูชา) รวมทั้งศิลปะจีนและอินเดียด้วย  ราวกับว่าศิลปะใดๆก็ตามต้องอิงกับความเป็นรัฐชาติ ซึ่งมอญไม่มีประเทศหรือไม่มีความเป็นรัฐชาติคำว่า “ศิลปะมอญ”   มักจะถูกนำไปผนวกรวมกับศิลปะพม่าเสมอ  ดังนั้นศิลปะมอญกับศิลปะพม่าคือแบบอย่างเดียวกันตามการรับรู้ของคนทั่วไป ในประเด็นนี้สำคัญอยู่ที่ว่าจะเลือกมองจากมุมไหนเท่านั้นเอง พระยาตะก่าคหบดีชาวมอญผู้ปฏิสังขรณ์เจดีย์เหลี่ยม (กู่คำ) หลวงโยนการวิจิตร (มองปันโหย่ อุปโยคิน) หรือ พระยาตะก่า  (๑๑)  เดินทางเข้ามาเมืองเชียงใหม่เมื่ออายุ ๓๐ ปี ประกอบอาชีพครั้งแรกเป็น “หมอนวด” อยู่ในคุ้มของเจ้าอินทวิไชยยานนท์ เป็นที่โปรดปราน เพราะเป็นคนดีมีความประพฤติเรียบร้อย ขยันขันแข็ง และมีลักษณะดี จึงทำให้เจ้าอินทวิไชยยานนท์ และเจ้าหญิงอุบลวรรณสนับสนุนให้ทำสัมปทานป่าไม้ โดยบริษัทบอมเบย์ ที่มารับสัมปทานผูกขาดทำอยู่ในป่าแม่แจ่ม หลังจากหมดสัญญากับบริษัทบอมเบย์ แล้วจึงมารับทำงานป่าไม้ของเจ้าอินทวิไชยยานนท์ที่อำเภอแม่สะเรียง จากนั้นจึงมารับช่วงสัมปทานป่าไม้จากบริษัทบอเนียวทำป่าไม้ในเขตท้องที่อำเภอฝาง กิจการเจริญรุ่งเรืองจากความสามารถของตนเอง และแรงสนับสนุนจากเจ้านทวิไชยยานนท์ และพระธิดา จนมีช้างทำงานถึง ๓๐๐ เชือก ซึ่งถือว่าผู้ที่มีความสามารถและมีกำลังทรัพย์เท่านั้นถึงจะมีได้ กิจการขยายตัวออกไปอีกมาก คือการ ขอสัมปทานป่าของเจ้าบุญวาทย์ วงศ์มานิต เจ้านครลำปาง และได้สัมปทานป่าแม่ต้าน เขตเมืองลอง (จังหวัดแพร่ปัจจุบัน) ชื่อเสียงของหลวงโยนการวิจิตร จึงแพร่หลายไปทั่วภาคเหนือไม่เพียงแต่เศรษฐีป่าไม้ด้วยกันเท่านั้น แต่ก็รู้จักกันทั่วไปทั้งหมู่บ้าน ข้าราชการใหญ่น้อย ประชาชนชาวเมือง ตลอดถึงชาวป่าชาวเขา ลูกจ้าง คนงานป่าไม้ทั่วไปด้วย หลวงโยนการวิจิตรยังเป็นที่นับถือในหมู่ชาวมอญ พม่า เงี้ยว ฯลฯ ที่อยู่ในบังคับกงสุลอังกฤษ เห็นได้จากในเวลาต่อมามิสเตอร์แบร๊กเกต (บิดาของ ยอห์น แบร๊กเกต นายช่างผู้เชี่ยวชาญทางเครื่องยนต์ดีเซล) กงสุลใหญ่อังกฤษสมัยนั้น  เสนอให้หลวงโยนการวิจิตร มีตำแหน่งเฮดแมนหรือผู้แทนชุมชนชาวพม่าในเชียงใหม่ ได้รับพระราชทานขันน้ำพานรองทองคำเป็นเกียรติยศ เมื่อเริ่มมีทรัพย์สินเงินทองมากขึ้น หลวงโยนการวิจิตร จึงทำกุศลโดยบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆและสร้างสาธารณูปโภคเป็นทาน และให้การสนับสนุนทางราชการ โดยเฉพาะเมื่อคราวเกิดจลาจล พวกเงี้ยวที่เมืองแพร่ (พ.ศ.๒๔๕๔)  ได้ช่วยเหลือทางการเงิน และให้ช้างเป็นพาหนะขนส่งเครื่องยุทโธปกรณ์ของราชการอย่างเต็มกำลัง  เมื่อเสร็จสิ้นจากการปราบปรามกบฏเงี้ยว พระยาสุรสีห์ ข้าหลวงมณฑลพายัพ จึงกราบบังคมทูลความดีความชอบต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้ทรงแต่งตั้งเป็นหลวงโยนการวิจิตร รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ในปี พ.ศ.๒๔๕๐ ต่อมาอีก ๓ ปี คือ พ.ศ. ๒๔๕๓ ก็ได้รับพระราชทาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือกเป็นเกียรติยศ หลวงโยนการวิจิตรมีภรรยา ๓ คน คือ คุณแม่แก้ว คุณแม่จิ้น และคุณแม่หน้อย มีบุตรธิดาจากภรรยาทั้ง ๓ คน ทั้งหมด ๑๔ คน และได้รับพระราชทานนามสกุลจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่า “อุปโยคิน” เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙   หลวงโยนการวิจิตรถึงแก่กรรมด้วยโรคชราเมื่ออายุ ๘๔ ปี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๙ หลังจากได้เฝ้าถวายบังคมพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อคราวเสด็จเลียบมณฑลฝ่ายเหนือไม่กี่วัน และนอกจากวัดเจดีย์เหลี่ยม(กู่คำ)แล้ว หลวงโยนการวิจิตรได้สร้างบูรณปฏิสังขรณ์อีกหลายวัดในเชียงใหม่ เช่น วัดชัยมงคล วัดแสนฝาง และวัดอุปคุต (พม่า) เป็นต้นรายการอ้างอิง(๑) รณนี เลิศเลื่อมใส , ฟ้า-ขวัญ-เมือง จักรวาลทัศน์ดั้งเดิมของไท : ศึกษาจากคัมภีร์โบราณไทอาหม.โครงการประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรมชนชาติไทย, ม.ป.พ.๒๕๔๑, หน้า ๒๐๔ อ้างถึงใน คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ , วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดเชียงใหม่ ,กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๔๔ หน้า ๒๗-๒๘.(๒) สงวน โชติสุรัตน์ , ตำนานสุวรรณคำแดง ในประชุมตำนานล้านนาไทย เล่มที่ ๑ , กรุงเทพฯ : ป.พิศนาคะ, ๒๕๑๕ หน้า ๑๔๘.อ้างถึงใน เรื่องเดียวกัน. หน้า ๒๘.(๓)วินัย พงษ์ศรีเพียร, (บรรณาธิการ) , ปาไป่สีฟู ปาเตี้ยน, กรุงเทพฯ: รุ่งแสงการพิมพ์, ๒๕๓๙.หน้า ๓๕. อ้างถึงใน เรื่องเดียวกัน. หน้า ๒๘. (๔)พระยาปริยัติธรรมธาดา (แปล) , จามเทวีวงศ์ พงศาวดารเมืองหริภุญไชย.เชียงใหม่ : นครพิงค์การพิมพ์,๒๕๓๐ หน้า ๓. อ้างถึงใน เรื่องเดียวกัน. หน้า ๒๙. (๕)พระยาประกิจกรจักร์ (แช่ม บุนนาค) ,พงสาวดารโยนก,กรุงเทพ,๒๕๑๕,หน้า ๒๙๘. อ้างถึงใน กรมศิลปากร, เวียงกุมกาม, (รายงานการขุดแต่งศึกษาและบูรณะโบราณสถาน หน่วยศิลปากรที่ ๔ เชียงใหม่ กองโบราณคดี พ.ศ. ๒๕๓๑-๒๕๓๒)  กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สมาพันธ์,๒๕๓๔,หน้า ๒๓. (๖)“ เวียงกุมกาม : ราชธานีเริ่มแรกของล้านนา”   http:// dvthai5.tripod.com/old-town2.htm   วันที่  ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๑ และ” แว่นแค้นแห่งลุ่มน้ำแม่ระมิงค์” http://www.thai-tour.com/thai-tour/North/Chiangmai/data/pic_vieng-kumkam.htm วันที่ ๒๕ มีนาคม  ๒๕๕๑. (๗) กรมศิลปากร, โบราณคดีสามทศวรรษที่เวียงกุมกาม, กรุงเทพฯ: ถาวรกิจกรพิมพ์,๒๕๔๘ หน้า ๕๐- ๑๐๕. (๘)ฮัน เพนธ์ ,จารึกวัดกานโถม (ช้างค้ำ) เชียงใหม่.นิตยสารศิลปากร ปีที่ ๓๓ ฉบับที่ ๓  (กรกฎาคม-สิงหาคม ๒๕๓๒) หน้า ๔๑-๔๘. และดูเพิ่มเติมใน ก่องแก้ว วีระประจักษ์,ศิลาจารึกพบใหม่ที่เจดีย์เหลี่ยม และการศึกษาวิเคราะห์จารึกเวียงกุมกาม ใน กรมศิลปากร,  โบราณคดีล้านนา, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สมาพันธ์,๒๕๔๐ หน้า ๒๗๑-๒๙๓ (๙)เวียงกุมกาม : ราชธานีเริ่มแรกของล้านนา”   http:// dvthai5.tripod.com/old-town2.htm   วันที่  ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๑ (๑๐) สุกัญญา เบาเนิด, “เจดีย์เหลี่ยมนอกเวียงกุมกาม” นิตยสารศิลปากรฉบับที่ ๔๑ ฉบับที่ ๓ (พฤษภาคม-มิถุนายน ๒๕๔๑) หน้า ๗-๒๑. (๑๑) กรมศิลปากร , โบราณคดีล้านนา, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สมาพันธ์, ๒๕๔๐ หน้า ๑๗๘-๑๗๙. ขอขอบคุณคุณวัชรี ชมพู ภัณฑารักษ์ ประจำพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ที่อนุเคราะห์ข้อมูล และภาพถ่ายจารึกวัดกานโถม(ช้างค้ำ) เวียงกุมกามคุณชินณวุฒิ วิลยาลัย  นักโบราณคดี ที่แนะนำและให้ความเห็นเกี่ยวกับโบราณคดีประวัติศาสตร์ล้านนา