ชุมชน/สิ่งแวดล้อม

ตามดูพระอาทิตย์ตก ที่ปากบารา



หลังจากนั่งรถทัวร์ออกจากกรุงเทพฯ ตอนหกโมงเย็น ทันทีที่เท้าเหยียบตัวอำเภอละงู จังหวัดสตูล ตอนเก้าโมงเช้าของวันใหม่ ผมก็ถูกโยนขึ้นท้ายกระบะของคนไม่รู้จัก และเข้าร่วมขบวนโพกผ้า ติดธงเขียว เขียนว่า “ปกป้องสตูล” “STOP ท่าเรืออุตสาหกรรม” 

บนการพักผ่อนวันสิ้นปี "หนทางแห่งการใช้ชีวิตที่ช้าลง"

30 December, 2011 - 13:49 -- moodang

" ผมอยากบอกว่าชีวิตผมช้าลง  และชีวิตผมเองเป็นของผม"

"ผมอยากบอกว่า ผมนิ่งและได้นั่งคิดอะไรมากขึ้น"

"ผมอยากบอกว่า เวลาที่เราว่างบ้างดูตัวเองก็ดีนะ"

ถึงเวลาย้ายเมืองหลวงหรือยัง (4)

 


 

หากไม่ย้ายเมืองหลวง
คนไทยจะปักหลักอยู่ที่เดิมสู้ต่อไป  มาในแนวสู้ไม่ถอย  ขอแก้ตัวอีกสักครั้ง  หรือจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม  กรุงเทพฯจะต้องมีระบบป้องกันน้ำท่วมที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าปัจจุบัน  และคาดว่าจะใช้งบประมาณมหาศาลทีเดียว  ลองมาดูตัวเลขความเสียหายจากน้ำท่วมใหญ่ปี 2554  ธนาคารโลกได้ประเมินค่าความเสียหายประมาณ 1.36 ล้านล้านบาท  แยกเป็นความเสียหายจากทรัพย์สิน 6.4 แสนล้านบาท  ค่าเสียโอกาสทางธุรกิจ 7.16 แสนล้านบาท  แรงงานว่างงาน 7-9.2  แสนคน  และไทยจะใช้เงินฟื้นฟูเศรษฐกิจจากน้ำท่วม  ในวงเงินประมาณ 7.56  แสนล้านบาท

 

ถึงเวลาย้ายเมืองหลวงหรือยัง (3)

 


 

ประเทศแรก
ที่จะจมมหาสมุทร คือประเทศมัลดิฟว์ ประเทศเป็นเกาะอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดีย มีประชากรราว 270,000 คน มีพื้นที่ 298 ตารางกิโลเมตร เล็กกว่าภูเก็ตที่มีพื้นที่ 543.034 ตารางกิโลเมตร มัลดิฟว์เป็นหมู่เกาะปะการัง มีหาดทรายขาวและสวยงามมาก หมู่เกาะกระจายราว 1,200 เกาะ พื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลราว 1.5 เมตรเท่านั้น ประธานาธิบดีคนใหม่ชื่อ นายโมฮัมเหม็ด แอนนี นาชิด กำลังหนักใจเกี่ยวกับการมองหาที่ตั้งประเทศแห่งใหม่ ได้มองไปที่ประเทศศรีลังกา ซึ่งมีภูมิประเทศและภูมิอากาศคล้ายคลึงกัน รองลงไปเล็งไปที่ประเทศออสเตรเลีย หากก้าวมาถึงขั้นย้ายประเทศ ก็ยังมองไม่กระจ่างว่าท่านประธานาธิบดี จะย้ายอย่างไร ลักษณะใด จะขอซื้อหรือเช่าแผ่นดินอื่นอยู่ หรือขอเป็นดินแดนพิเศษ คล้ายๆ ศูนย์อพยพ ฯลฯ อดคิดแทนท่านไม่ได้ ข่าวไม่ได้บอกว่าท่านจะทำอย่างไร หากยังอยู่ที่เดิม ก็ต้องตอบให้ได้ว่า จะอยู่อย่างไรในอนาคต เมื่อประเทศกำลังจะจมน้ำทะเล
 

ถึงเวลาย้ายเมืองหลวงหรือยัง (2)

 


  

ในอดีต
มีผู้ใหญ่ในบ้านเมืองไทย  เสนอแนวคิดการย้ายเมืองหลวงหลายครั้งหลายยุค  ลองไล่ตามลำดับ
เริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ. 2486  บุรุษผู้กล้าหาญคนแรก  ท่านจอมพล ป.พิบูลสงคราม  คิดจะย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่จังหวัดเพชรบูรณ์  ต่อมาในในสมัยรัฐบาล  พลเอกชวลิต  ยงใจยุทธ  จะย้ายเมืองหลวงไปที่เขาตะเกียบ  จังหวัดฉะเชิงเทรา  พอมาถึงยุคท่านสมัคร  สุนทรเวช  เจ้าของวลีเด็ดๆ  เช่น “ กระเหี้ยนกระหือรือ   อะไรกันนักหนา ฯลฯ”  ขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่ง  รัฐมนตรีช่วยว่าราชการกระทรวงมหาดไทย  ท่านอยากย้ายเมืองหลวงไปที่จังหวัดนครปฐม  จนมาถึงยุคสมัยท่านนายก “แม้ว”  ท่านทักษิณ  ชินวัตร  มีแนวคิดจะย้ายไปที่จังหวัดนครนายก  ส่วนในยุคปัจจุบัน (พ.ศ.2554)  ดร.อาจอง  ชุมสาย ณ อยุธยา  ได้กล่าวว่า  เมืองหลวงของไทยน่าจะเป็นโซนอีสานใต้
 

ถึงเวลาย้ายเมืองหลวงหรือยัง (1)

 

การย้ายเมือง
มักมีสาเหตุต่างๆ ที่สำคัญ  ดังเช่น  เมืองลำพูนในอดีต  ในปี พ.ศ. 1490  เมืองลำพูนได้เกิดโรคระบาดร้ายแรงคือ
“โรคห่า” หรืออหิวาตกโลก  ผู้คนล้มตายมากมาย  ผู้ที่ยังไม่ตายเห็นว่า  ถ้าอยู่ต่อไปอาจต้องเสียชีวิต  จึงพากันไปอยู่เมือง “สุธรรมวดี”  คือเมืองสะเทิม  ประเทศรามัญหรือมอญ  และยังระหกระเหินย้ายไปอยู่เมืองอื่นนานถึง 6 ปี  เมื่อทราบว่าโรคระบาดลดลง  จึงพากันกลับมาอยู่เมืองลำพูนดังเดิม


เวียงกุมกาม

น้ำท่วมใหญ่ สัญญาณเตือนภัยจากธรรมชาติ (3)

 


 

เขตอุตสาหกรรม 5 แห่ง
ที่อยุธยาถูกน้ำท่วม มูลค่าลงทุนหลายแสนล้านบาท ตามลำดับดังนี้
1.นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องหนัง ฯลฯ มูลค่าลงทุน 9,472 ล้านบาท คนงาน 14,000 คน โรงงาน 48 โรง พื้นที่ 2,050 ไร่
2.ส่วนอุตสาหกรรมโรจนะ ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนไฟฟ้า โรงงานผลิตรถยนต์ฮอนด้า ฯลฯ มูลค่าลงทุน 58,000 ล้านบาท คนงาน 90,000 คน โรงงาน 183 โรง พื้นที่ 12,000 ไร่
3.นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (ไฮเทค) ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์คอมฯ โรงงาน 143 โรง มูลค่าลงทุน 64,000 ล้านบาท คนงาน 55,000 คน พื้นที่ 2,400 ไร่
4.นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน ผลิตชิ้นส่วนไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์  โรงงาน 109 โรง มูลค่าลงทุน 60,000 ล้านบาท คนงาน 60,000 คน พื้นที่ 1,962 ไร่
5.เขตประกอบอุตสาหกรรมแฟคตอรี่ ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ ฯ โรงงาน 99 โรง  มูลค่าลงทุน 11,000 ล้านบาท คนงาน 6,000 คน พื้นที่ 130 ไร่
 

น้ำท่วมใหญ่ สัญญาณเตือนภัยจากธรรมชาติ (2)

 


 

ศึกครั้งนี้ใหญ่หลวง
มันไม่พูด รุกคืบคลานไปข้างหน้าไม่มีหยุด เหมือนเชื้อโรคสายพันธุ์ใหม่ในหนังฝรั่งประเภท
ไซไฟ (Sci-Fi) สภาพคล้ายเมือกฟองปุด ไหลกลืนกินทุกอย่างที่ขวางหน้า เป็นมฤตยูเงียบ เลือดเย็น มันคือกระแสน้ำ มิใช่หยดน้ำ...กระแสน้ำครั้งนี้เหมือนข้าศึกบ้านเมืองยุคปัจจุบัน ไม่มีการเจรจาพักรบ พักเหนื่อยพักหายใจ ไพร่พลมหาศาลหนุนเนื่อง หัวเมืองใหญ่น้อยจากเหนือลงใต้ถูกโจมตีแตกพ่าย มันกรีฑาทัพมุ่งโจมตีเมืองหลวง ที่มั่นสุดท้ายของเรา ปริมาณมหาศาล มาแรงและเร็ว มันคือกระแสน้ำ...มันเหมือนนักมวยลำหนักทรงพลัง เดินต่อยเราไม่มีหยุด หนักหน่วงรุนแรง หากยกแขนป้องกันไม่ดี ถอดใจเมื่อใด ถึงน็อก... แข็งใจไว้ทั้งนักมวยฝ่ายเรา พี่เลี้ยงคนดู อีกอึดใจเดียวหมดยกแล้ว เราจะชนะคะแนน เราปลอดภัย
 

ลำนำ น้ำท่วมเมืองไทย เดือนตุลา 2554

1 November, 2011 - 11:29 -- thanorm


 

น้ำท่วม
เดือนตุลาคม 2554
ไหลลงไปจากที่สูงลงไปท่วมท้น
ทุกหนทุกแห่งที่เป็นที่ต่ำ - ตามธรรมชาติของน้ำ
ไม่ละเว้นว่าพื้นที่แห่งนั้นจะเป็นพื้นที่ทางเศรษฐกิจ
กี่พัน กี่หมื่น กี่แสน กี่ล้าน ล้านเท่าไหร่
ไม่ละเว้น ไม่ว่าจะเป็นเมืองหลวงหรือชนบท
แม้แต่วัดวาอารามศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้คนกราบไหว้
ยังมิอาจป้องกัน ยังมิอาจสวดมนต์ภาวนาใดๆ
ขอให้มวลมหึมาของอุทกภัยอันยิ่งใหญ่
ละเว้นไว้อยู่กับองค์พระปฏิมา

Pages

Subscribe to ชุมชน/สิ่งแวดล้อม