Skip to main content
สุมาตร ภูลายยาว
แดดร้อนของเดือนมีนาคมแผดเผาหญ้าแห้งกรัง หน้าร้อนปีนี้ร้อนกว่าทุกปี เพราะฝนไม่ตก ยอดมะม่วงอ่อนจึงไม่ยอมแตกช่อ มะม่วงป่าเริ่มออกดอกรอฝนพรำ เพื่อให้ผลได้เติบโต ความร้อนมาพร้อมกับความแห้งแล้ง ในความแห้งแล้ง ดอกไม้ป่าหลากสีกำลังผลิบาน มีทั้งดอกสีส้ม แดง ม่วง ความแห้งแล้งดูมีชีวิตชีวาขึ้นมาบ้าง
แพร จารุ
เมื่อเขียนเรื่อง “ป่าสนวัดจันทร์ถูกโฆษณาว่าเป็นที่สุด”  ฉันก็ได้รับจดหมายฉบับหนึ่ง เขียนถึงเรื่องอำเภอใหม่ส่งเข้ามา วันนี้จึงนำจดหมายฉบับนี้มาให้อ่านกันค่ะ  เธอเขียนมาว่า ลองเขียนเรื่องอำเภอใหม่มาให้อ่าน
รวิวาร
* แต หรือเขียง สิ่งก่อสร้างสำหรับแบ่งน้ำในลำเหมือง มี ต๊าง บากเป็นช่องสำหรับให้น้ำผ่านตามที่ตกลงกันไว้ว่าจะปันให้นาแต่ละเจ้าเท่าใด * อ่าน จุดจบแห่งจินตนาการ  อรุณธตี รอย
สุมาตร ภูลายยาว
‘ย่างเข้าเดือนห้า น้ำท่าก็เริ่มขอดแล้ง’ คนแก่บางคนว่าอย่างนั้น (ถ้าผมจำไม่ผิด) คำพูดนี้ได้สะท้อนบางอย่างออกมาด้วย นั่นคือสิ่งที่ผู้คนในยุคสมัยก่อนเห็น พอถึงเดือนห้า น้ำที่เคยมีอยู่ก็แห้งขอดลงเป็นลำดับ ผู้คนในสมัยก่อนที่จะก้าวเข้าสู่สังคมเกษตรอุตสาหกรรมเช่นทุกวันนี้ทำอะไรบ้าง ในสังคมภาคกลางยุคที่ทำการเกษตรไม่ใช่อุตสาหกรรม หน้าแล้งไม่มีใครทำนา เพราะทุกคนต่างรู้ว่า หน้าแล้งแล้วนะ น้ำท่าจะมาจากไหน แต่พอยุคอุตสาหกรรมเกษตรเรืองอำนาจ หน้าแล้งผู้คนก็ยังคงทำนา เพื่อตอบสนองอุตสาหกรรมการเกษตรกันอยู่
คนไร้ที่ดิน
โดย...สุภาภรณ์ วรพรพรรณ, ระวี ถาวร และ สมศักดิ์ สุขวงศ์   เส้นทางเข้าสู่บ้านตระ 29 มกราคม 2553 เดือนเต็มดวงในค่ำคืนนี้ อยู่ใกล้แทบจะเอามือคว้าได้ ฉันเข้านอนก่อนเที่ยงคืนเล็กน้อย เมื่อหัวค่ำพี่น้องชาวบ้านตระได้เล่าประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านและบรรพบุรุษของพวกเขา ฉันหลับตานอนเท่าไรก็ไม่ค่อยจะหลับ ด้วยจิตใจจินตนาการถึงหนังสือของบริก แฮม ยัง ที่เขียนเรื่องหมู่บ้านโบราณที่โลกลืมของอินเดียแดงเผ่าอินคาท่ามกลางป่าดงดิบบนเทือกเขาแอนดีส (The Lost City of Incas)
แพร จารุ
ป่าสนผืนเดียวที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ มองขึ้นบนต้นสนเหมือนหนึ่งว่ามีนกเกาะอยู่บนนั้นเต็มไปหมด จนใครบางคนเผลอถามว่า นั่นนกอะไรเกาะอยู่เต็มไปหมด หลายคนหัวเราะ ไม่ใช่นกหรอกมันคือลูกสน ที่นี่มีชื่อว่า ป่าสนวัดจันทร์ เป็นครั้งที่สองที่ฉันเดินทางมาที่นี้ห่างจากครั้งแรกเกือบยี่สิบปี ฉันไม่กล้าเดินทางไปที่นั่นเพราะรู้สึกว่ามันลำบากยากเย็นเหลือเกิน เป็นการเดินทางที่โหด ๆ ในช่วงวัยเยาว์ เพราะต้องนั่งรถไฟชั้นสามมาจากกรุงเทพฯ นานกว่าสิบสองชั่วโมง ก็รู้กันอยู่ว่ารถไฟไทยเสียเวลาเสมอ ๆ ลงจากรถไฟมีนักเขียนจากเมืองเหนือรอรับอยู่
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ภาพที่ท่านเห็นอยู่นี้เป็นปกหน้าและหลังของเอกสารขนาดกระดาษ A4 ที่หนาเพียง 16 หน้า แม้ว่าหลายท่านอาจจะยังไม่คุ้นเคยกับศัพท์แสงที่ปรากฏ แต่ผมเชื่อว่าแววตาและท่าทางของเจ้าหนูน้อยในภาพคงทำให้ท่านรู้สึกได้ว่าเธอทึ่งและมีความหวัง บรรณาธิการกรุณาอย่าทำให้ภาพเล็กลงเพื่อประหยัดเนื้อที่ เพราะจะทำให้เราเห็นแววตาของเธอไม่สดใสเท่าที่ควร เอกสารนี้จัดทำโดย “สภาเพื่ออนาคตโลก” หรือ World Future Council (WFC) ค้นหาได้จาก www.worldfuturecouncil.org
ประสาท มีแต้ม
เคยมีคนไปถาม อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ว่า “ท่านคิดว่าสิ่งประดิษฐ์ใดของมนุษย์ที่มีอำนาจในการทำลายล้างมากที่สุด” ผู้ถามคงจะคาดหวังว่าไอน์สไตน์น่าจะตอบว่า “ระเบิดนิวเคลียร์” เพราะเขามีส่วนเกี่ยวข้องในการประดิษฐ์คิดค้นอยู่ด้วยไม่มากก็น้อย แต่ไอน์สไตน์กลับตอบว่า “สูตรดอกเบี้ยทบต้น”
นายหมูแดงอวกาศ
.... สัมพันธ์ เรารักกัน สายใยผูกพันธ์ แน่นเหนียว หวังช่วยคนจน คนยากจน เด็ดเดี่ยว สามัคคีกลมเดียวใจเดียวกับชุมชน...      เนื้อหาที่ผมนำมาเกริ่นเป็นท่อนต้นของเพลงประจำสถาบัน และครั้งนี้เป็นการอบรมรับเจ้าหน้าที่ใหม่จากหลายส่วน ครั้งที่ 5 โดยหวังเป็นหนึ่งเดียวเรื่องการทำงานรับใช้ชุมชนฐานรากและการทำงานที่เป็นทีมเป็นหนึ่งเดียวในการพัฒนา  แต่เอาเข้าจริงๆ วันที่เขาเดินทางผมเองกับไม่ได้มาพร้อมกัน เพราะผมติดนำเสนองานงานหนึ่งอยู่ จึงต้องตามมาอีกวันหนึ่ง ซึ่งบรรดาเพื่อพี่น้องก็ได้ปีนเขาก่อนหน้าไปเสียแล้ว ซึ่งยอมรับว่าตัวเองมีความเสียดายมาก (แต่ก็แอบดีใจเพราะหากไปคงปวดขาไปหลายวันเลยทีเดียวที่ต้องเดินเขา) จึงมานั่งรอเพื่อนที่โรงเรียนบ้านพุเข็ม ณ ที่นั้นผมพบอัธยาศัยพี่น้องชาวบ้านที่เจรจาพาที และพาไปนั่งที่ home stay ของเขาครับ เชื่อไหมาครับวิวสวยงามมากๆ เพชรบุรีนอกจากมีดีเรื่องขนมขับขานแล้ว ยังมีดีที่บ้านพุเตย เขื่อนแก่งกระจานแห่งนี้อีกด้วย                ประมาณบ่าย 2 เพื่อนๆ ต่างเดินทะยอยลงมาด้วยเสียงกระจองงองแง ปวดขาโอ้ย หิว ... อื่นๆอีกสุดแท้แต่จะทราบได้ เพราะต่อจากนี้ไปยังไม่หมดเท่านั้นเพราะผมเองก็ต้องไป ผจญด้วยนั่นก็คือ การทำงานอาหาร สังเกตนะครับ เมนูส่วนใหญ่ที่นี่เน้นปลา เพราะอุดมด้วยปลามาหมายเสียเหลือเกิน ต่างคนต่างประชันแบ่งหน้าที่กันทำอาหาร กลุ่มผมทำ ปลาราดพริก ต้มโคล้ง และก็ปลาทอดเฉยๆ จิ้มกับน้ำปลา (อยากจะนินทาเล็กๆว่าการทำอาหารบ่งบอกนิสัยคน บางคนทำอาหารต้องเครื่องครบเท่านั้นไม่งั้นทำไม่ได้ แสดงว่าระเบียบจัด บางคนก็ทำไปกินไปเถอะนะนี่ก็ง่ายๆสบายบางทีอาจขี้เกียจ  แสดงถึงเพื่อนเราที่หลากหลาย แต่ต่างคนก็ต่างทำอาหารออกมาอย่างอร่อย จนเกิดเป็นอาหารเย็นของหัวค่ำวันที่ 2 ของเรา (แต่ผมตื่นเต้นมากว่าเพราะเขาตกปลาได้ตัวใหญ่มากๆ แย่งกะเด็กตัวเล็กเล่นเอาผมฮือฮา เขื่อนนี้ข่างอุดมสมบูรณ์สมคำในน้ำมีปลา ในนามีข้าวจริงๆ)      พอกินข้าวเสร็จ ผมยังจำได้เลยนะครับ เราพากันล้อมวงต่อ เสวนาพาแลงดังชื่อ เพราะทุกคนต่างร่วมกันกินอาหาร ดีดสีตีเป่า จังหวะดนตรีที่ใครใคร่ร้องก็ร้อง ใคร่ฟังก็ฟัง หลากหลายเพลง เป็นเพลงที่เราแซวกันเล่นๆ ว่าเพลงสายแข็ง อาทิ เพลงคนกับควาย เพลงจิตรภูมิศักด์ เป็นต้น และผมเองก็ชอบเพลงเหล่านั้นเข้าไปเสียด้วยสิ นี่แหละมั้งครับ inner การหลั่งไหลซึมซับเข้าไปในร่างกาย "แต่ช่วงเสวนานั้นเราแลกเปลี่ยนกันเกี่ยวกับประเด็นเขื่อน เขื่อนมีทั้งประโยชน์และโทษหากมองดีๆ หลายคนบอกว่าเขื่อนเก็บน้ำมีโทษได้อย่างไร แต่สิ่งที่ผมมาคิดคือการที่ชาวบ้านพุเตยบอกว่าที่ดินนี้ที่จมอยู่ใต้น้ำเนี่ย เมื่อก่อนเคยเป็นที่เขา" แล้วจะให้ผมรู้สึกอย่างไร ผมรู้สึกเป็น 2 อย่างนะ อย่างหนึ่งคือ ทำไมเขาต้องสละที่เขา เพื่อบรรเทาความแห้งแล้ง หรือ น้ำท่วมให้คนบางกลุ่ม ทั้งที่เขาเป็นเจ้าของ แต่อีกมุมหนึ่งเขาก็เสียสละเพื่อคนส่วนรวม (ใคร) เป็นต้น คำถามนี้ผมเองก็คงไม่หาคำตอบต่อไป แต่ผมเองก็เฝ้าคิดจนเข้านอนไปเหมือนกัน           รุ่งเช้าวันสุดท้ายที่เราต้องออกเดินทางไปจากบ้านพุเข็ม  ผมได้รีบอาบน้ำที่เย็นให้สดใส สูดอากาศให้เต็มที่และที่สำคัญรีบไปถ้ายรูปตอนพระอาทิตย์ขึ้นจากขอบแผ่นน้ำและภูเขา มันเป็นสีทอง สะท้อนทาบจากขอบฟ้าลงมาบนแผ่นน้ำ เป็นรางวัลของผมในการรอมัน ก่อนที่ผมจะออกเดินทางไปต้นน้ำของเขื่อน ที่ ณ ที่นั้นผมเห็นวิถีชีวิตชาวบ้านตามขอบเขื่อนที่ให้ชีวิตเรียบง่าย หรือแม้กระทั่งมัคคุเทศน์หนุ่มน้องพัช ที่ผมแซวเล่นๆว่าทำไมพัชไม่ไปทำงานข้างนอกละ "พัชตอบผมว่า : พี่ไปทำไมทำงานที่นี่สบายใจกว่าเยอะ เพราะเราไม่ต้องเป็นลูกน้องใคร เป็นเจ้านายตัวเองได้ดูแลพ่อกับแม่ด้วย" ประโยคนี้ทำผมอึ้งไปเลยเพราะผมเองยังไม่สามารถเป็นเจ้านายตนเองได้อย่างพัช เกร็ดเล็กน้อยไม่น่าเชื่อ ว่าเราจะเก็บมาได้จากการพาลพบและพบพากัน ขณะเดียวกันเราเองยังต้องไปอีกที่คือ บ้านมั่นคงท่ายาง บ้านของคนจนเพื่อคนจน และคนจนทำได้....ไว้ตอนหน้าครับ  
คนไร้ที่ดิน
กว่าจะปรากฏเป็นรูปการณ์การดำรงอยู่และการดำเนินไปของชีวิตแห่งมวลมนุษยชาติในยุคปัจจุบันได้นั้น... ได้ผ่านความยากลำบากมากด้วยกัน ด้วยการร่วมกันดิ้นรนและต่อสู้อย่างบากบั่น ผ่านห้วงเวลา ผ่านการเปลี่ยนแปลงแห่งยุคสมัยของสังคม จนผนึกแน่นเป็นสัญชาตญาณห่อหุ้มอยู่ด้วยจิตวิญญาณอันลึกซึ้ง ละเมียดละไมกว่าสรรพสัตว์ทั้งหลาย
คนไม่มีอะไร
  แผนอยู่เย็นเป็นสุข : ภาพรวมการจัดเวทีจังหวัด   วัตถุประสงค์         เพื่อรับฟังข้อเสนอและแนวทางการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้เป็นรายจังหวัด เพื่อที่จะเปรียบเทียบกับแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ของ สศช. การพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรของการนิคมแห่งประเทศประเทศไทย และโครงการขนาดใหญ่ที่จะเกิดในพื้นที่ภาคใต้ รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นต่อเอกสารร่างมติข้อเสนอในแผนพัฒนาภาคใต้ที่ยั่งยืน   พื้นที่ดำเนินการ   13    จังหวัดภาคใต้ (ยกเว้นสุราษฎร์ธานี)   กระบวนการจัดเวทีจังหวัด                   ด้านเนื้อหา             กระบวนการจัดเวทีจังหวัดประกอบด้วย เนื้อหาสามส่วนหลัก คือ เนื้อหาข้อมูลแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ ข้อมูลศักยภาพจังหวัด และข้อมูลผลกระทบที่เกิดจากโครงการพัฒนาที่ผ่านมา เช่นโครงการปิโตรเคมี ที่มาบตาพุด เพื่อเป็นฐานข้อมูลสำหรับการระดมความเห็นของคนในจังหวัดนั้นๆ ด้านกระบวนการ ช่วงแรก เป็นการให้ข้อมูลโดยนักวิชาการ และคณะทำงานเชิงประเด็นในด้านต่างๆ ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละจังหวัด ช่วงที่สอง เป็นการระดมความเห็นแบบกลุ่มย่อย ซึ่งจะมี 2 โจทย์หลักๆ ให้แสดงความเห็นต่อทิศทางการพัฒนาจังหวัดของตัวเองที่ควรจะเป็น และความเห็นต่อข้อเสนอกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาที่ยั่งยืนบนฐานการพึ่งตนเอง ด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม กรณีภาคใต้ ผลลัพธ์ ด้านเนื้อหาข้อมูลเมื่อมีการนำเสนออกไป สามารถให้คนในที่ประชุมรับรู้ และตระหนัก เพราะว่าข้อมูลที่นำเสนอออกไปนั้น ผู้เข้าร่วมเวทีเสวนาไม่เคยรับรู้ข้อมูลนี้มาก่อน ซึ่งช่วยทำให้บรรยากาศการในการพูดคุยสนทนาในช่วงถัดไปเป็นการพูดคุยที่มีข้อมูลข้อเท็จจริงประกอบ และกระบวนการแบ่งกลุ่มย่อยช่วยให้ทุกคนได้พูดคุยกันอย่างทั่วถึง สามารถแสดงความเห็นของตัวเอง จนนำไปสู่ความตระหนักมากขึ้นในทิศทางการพัฒนาของประเทศชาติ ตลอดจนมีข้อเสนอในการพัฒนาหรือดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาต่อไป   ข้อเสนอต่อกระบวนการพัฒนาจังหวัด                 หลังจากรับทราบข้อมูลทำให้ทราบว่าโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมในจังหวัดของตนนั้นมีอะไรบ้าง เมื่อนำมาพิจารณาร่วมกับข้อมูลศักยภาพจังหวัด และมาเปรียบเทียบช่างน้ำหนักระหว่ง ผลดี กับ ผลเสีย ที่จะเกิดจากการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ หรือพวกอุตสาหกรรมหนักทั้งหลายแล้วทิศทางการพัฒนาจังหวัดควรดำเนินการในแนวทางรักษาฐานทรัพยากรสิ่งแวดล้อม วีถีชีวิต ให้สอดคล้องกับสังคม วัฒนธรรม ผลประโยชน์ควรเกิดขึ้นกับคนจำนวนมาก และนำไปสู่ความอยู่เย็นเป็นสุข ของคนในจังหวัดนั้นๆ บางจังหวัดมีข้อเสนอเพิ่มเติมหลังจากนี้จะต้องมีกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในลักษณะต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ในลักษณะของเครือข่ายการเรียนรู้ กลุ่ม องค์กร เพื่อก่อให้เกิดพลังในการกำหนดทิศทางการพัฒนาตนเองต่อไปในอนาคต บางพื้นที่มีแนวทางในการศึกษาผลกระทบจากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ หรือผลกระทบจากอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นแล้วในพื้นที่เพื่อเตือนภัย และหาทางเยียวยาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญที่สุดคือคุณภาพชีวิตที่กำลังจะถูกทำลายไป บางจังหวัดมีข้อเสนอในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดตามศักยภาพที่เป็นจริง และสอดคล้องกับฐานทรัพยากรของจังหวัด เพื่อที่เกิดประโยชน์ต่อคนจำนวนมากอย่างสูงสุด   ข้อเสนอต่อประเด็นแผนพัฒนาที่ยั่งยืนบนฐานการพึ่งตนเอง ด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม กรณีภาคใต้                 ความเห็นส่วนใหญ่ของผู้ที่เข้าร่วมสัมมนาคือไม่เห็นด้วยกับการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ จำพวกอุตสาหกรรมหนัก เช่น โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โรงถลุงเหล็ก อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ท่าเรือน้ำลึก โรงกลั่น และอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ แต่เห็นด้วยว่าทิศทางการพัฒนาควรต่อยอดจากศักยภาพเดิมของพื้นที่บนฐานการรักษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญต้องเอื้อประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ นั้นคือ การพัฒนาด้านการเกษตร ประมง การท่องเที่ยว และการศึกษา รวมทั้งอุตสาหกรรมที่นำมาสู่การยกระดับสินค้าเกษตรและต้องเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม                 ความเห็นในการจัดเวทีระดับจังหวัด ใช้เนื้อหาเดียวกันกับข้อเสนอในร่างมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติประเด็นแผนพัฒนาที่ยั่งยืนภาคใต้                 ผู้เข้าร่วมประชุมในแต่ละจังหวัดสนับสนุนร่างมติที่คณะทำงานร่างขึ้นโดยมีความเห็นเพิ่มเติมบ้างแต่ในด้านเนื้อหาสอดคล้องกับของเดิม   ข้อสรุปสุดท้ายของเวทีจังหวัด                 ฐานทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นเลิศ วิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่เป็นสายสัมพันธ์มาหลายอายุคน สิ่งเหล่านี้คงมากพอที่จะทำให้คนใต้รู้สึกรักบ้านตัวเอง และพร้อมที่จะปกป้องทรัพยากรตามรัฐธรรมนูญ และกำหนดทิศทางทางการพัฒนาที่เหมาะสมกับคนใต้ และมีต้องมีประโยชน์สูงสุดกับคนส่วนรวม                 จากการประเมินของเวทีจังหวัดอีกประการสำคัญ พบว่า คนภาคใต้ต้องวิถีชีวิติที่ดีขึ้น มีการรักษาวัฒนาธรรมท้องถิ่น ปรับระบบการศึกษาให้ดีขึ้น การสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นที่ให้ดีกว่าเดิม ลดปัญหาคดีอาชญากรรม ยาเสพติด ดังนั้นประการแรกที่รัฐบาลต้องทำคือ การทำให้ชุมชนเข้มแข็งที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่น ภาคใต้ของประเทศไทยควรเป็นเมืองเกษตร ประมงและการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นฐานการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนฐานของการประกอบอาชีพของคนใต้ อย่างแท้จริง  
suchana
  คณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา  ลงพื้นที่จังหวัดสงขลาเพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับกรณี ปัญหาการกัดเซาะพื้นที่ชายฝั่งทะเล  จังหวัดสงขลา ระหว่างวันที่ 11 -12  มกราคม 2553  ประกอบด้วยนายสุรชัย  เลี้ยงบุญเลิศชัย             ประธานคณะกรรมาธิการฯ   นายสุรจิต  ชิรเวทย์       รองโฆษกคณะกรรมาธิการฯและคณะ 10.00 น.คณะกรรมาธิการฯได้เดินทางมายังบ้านสวนกง หมู่ที่ 7  ตำบลนาทับ  เพื่อดูสภาพพื้นที่ของชายหาดที่ยังอยู่สภาพที่ยังสมบูรณ์ เพื่อเปรียบเทียบกับสภาพชายหาดที่ถูกกัดเซาะไปในพื้นที่อื่นๆในจังหวัดสงขลา และพื้นที่ดังกล่าวกำลังเป็นพื้นที่เป้าหมายในการก่อสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2  และเพื่อรับฟังปัญหาจากชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาการกัดเซาะชายหาดจากกรณีการสร้างเขื่อนกันทรายและกันคลื่นของกรมขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีในพื้นที่ร่องน้ำปากคลองสะกอม นายสุรชัย  เลี้ยงบุญเลิศชัย กล่าวว่า เนื่องจากได้รับการร้องเรียนประเด็นปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่จังหวัดสงขลา จึงได้นำเรื่องเข้าสู่กรรมาธิการวุฒิสภา และได้เชิญผู้ที่มีความรู้และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อมาชี้แจงข้อมูล และในวันนี้ทางคณะลงมาเพื่อรับฟังปัญหาข้อเท็จจริงจากประชาชนในพื้นที่ ข้อมูลที่ได้จะจัดทำเป็นรายงานการศึกษาเสนอต่อรัฐบาลเพื่อแก้ไขปัญหาให้ถูกต้องและเป็นการแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืนต่อไป จากนั้นทางคณะได้รับฟังข้อมูลจากชาวบ้านในพื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบจากการกัดเซาะชายชาดจากการสร้างคลื่นกันทรายและกันคลื่น ตัวแทนชาวบ้านปากบาง หมู่ที่ 4 อดีตชายหาดสะกอมชายหาดที่สวยงาม มีทรายที่สวยงามคนอัมพาตในสมัยก่อนจะไปฝังทรายซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาของคนในพื้นที่ สภาพชายหาดสะกอมธรรมชาติสรรสร้างอย่างสวยงาม ซึ่งการสรรสร้างของธรรมชาติไม่เคยทำร้ายประชาชน ไม่เคยทำลายธรรมชาติมีแต่มนุษย์ที่ไม่ขัดขวางการสรรสร้างของธรรมชาตินี่เป็นความคิดของชาวบ้านธรรมดาคนหนึ่ง แม้จะฤดูมรสุมคลื่นอาจจะทำให้ชายหาดได้พังไป แต่โดยธรรมชาติคลื่นจะตกแต่งชายหาดให้มีความอุดมสมบูรณ์กว้างใหญ่ทวีขึ้นทุกๆปี ที่ผ่านมาหลังสร้างเขื่อนกันทรายที่บริเวณร่องน้ำปากคลองสะกอมทำให้บริเวณบ้านบ่อโชน บ้านโคกสักพังทลาย การสร้างเขื่อนไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ยั่งยืนอย่างที่รัฐบาลคิดคิดว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาให้กับชาวบ้าน การสร้างเขื่อนเป็นการแก้ปัญหาโดยกลุ่มหนึ่งได้ประโยชน์ แต่อีกกลุ่มหนึ่งจะเสียประโยชน์ ทำให้ชุมชนมีความขัดแย้งทางความคิดกัน  แม้สร้างเขื่อนกันทรายทุกกรมขนส่งทางน้ำฯมีการขุดลอกปากร่องน้ำทุกปี ต้องเสียงบประมาณทุกปีทั้งที่มีการทำเขื่อนแล้ว สมัยก่อนที่จะมีการสร้างเขื่อนไม่มีการขุดลอกร่องน้ำปากคลองในช่วงมรสุมพี่น้องในพื้นที่จะช่วยกันเข็นเรือออกไปทะเลเป็นวัฒนธรรมการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน  และไม่มีการสร้างปัญหาการกัดเซาะให้กับพื้นที่อื่นๆ                ตัวแทนชาวบ้านโคกสัก หมู่ที่ 6 ต.สะกอม กล่าวว่า สภาพชายหาดต.สะกอมในอดีตก่อนการสร้างเขื่อนชายทะเลจะเป็นลักษณะหาด 2 ชั้น หาดหนึ่ง หาดสอง แต่พอสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นบริเวณปากน้ำสะกอมชายหาดจะหายไป จะมีเฉพาะการกัดเซาะในแต่ละปีจะไม่มีการงอกของชายหาดอีกเลยในส่วนตำบลสะกอม   ตอนนี้วิตกกังวลที่สุดจากเดิมบ้านโคกสักห่างจากทะเล 100 เมตร ปัจจุบันเหลือไม่ถึง 50 เมตร จาก 10 ปีที่มีการสร้างเขื่อน อดีตก่อนการสร้างเขื่อนจะมีการกัดเซาะปีละ 1-2 เมตร บางปีจะไม่กัดเซาะและมีการงอกของชายหาดสวยงามมาก เด็กๆในตำบลสะกอมได้เป็นวิ่งเล่น  จากกการสังเกตตลอดระยะเวลา 10 หลังสร้างเขื่อนปลาหลายชนิดและกุ้งเคยหายไป  ในอ่าวบริเวณนั้น เวลานี้มีลักษณะเป็นโคลนถึงหัวเข่า การแก้ปัญหาในการเอาเงินมาถมคิดว่าไม่มีความเหมาะสมกับชายหาดที่ถูกกัดเซาะไป การทำเขื่อนกันคลื่น(ตัวที)นั้นไม่คุ้มค่ากับงบประมาณครั้งละ 200-300 ล้านบาท เป็นการลงทุนแก้ปัญหาแล้วไม่เกิดผล จริงๆมีตัวอย่างให้เห็นในอำเภอเทพาพื้นที่ใกล้เคียงตำบลสะกอมมีเกาะขาม ซึ่งเป็นเกาะธรรมชาติขนาดใหญ่ยังไม่สามารถป้องกันการกัดเซาะได้  แล้วกรมขนส่งทางน้ำฯเอาหินมาทิ้งในทะเลทำลักษณะเป็นเกาะเชื่อว่าแก้ปัญหาไม่ได้  วิธีที่ดีสุดในเวลานี้คือที่ทำไปแล้วขอให้หยุดการก่อสร้างไว้ก่อน  อย่าไปกีดขวางทะเลยิ่งทำยิ่งกัดเซาะเห็นจากทั่วประเทศที่ทำตัวทีแล้วไม่ได้ผลเลยทุกแห่งป้องกันได้ด้านเดียว อีกด้านหนึ่งกัดเซาะไม่คุ้ม เพราะเป็นการใช้งบประมาณแผ่นดินในการแก้ไขปัญหาแล้วไม่เกิดผล พูดถึงชายชายหาดที่ถูกกัดเซาะไปในแต่ละปีไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท  หากคิดค่าความเสียหายปีละเท่าไรแล้วหากลงทุนแล้วไม่เกิดผลเป็นลงทุนเป็น 100 ล้านคิดว่าไม่คุ้มค่า ตัวแทนชาวบ้านบ่อโชน หมู่ที่ 7 ต.สะกอม  ในตำบลสะกอมทั้งที่ก่อนหน้านี้เป็นชายหาดที่สวยงามแต่เริ่มมีการสร้างเขื่อนกันทรายและกันคลื่นในปี 2539 แล้วเสร็จในปี2540  หลังการสร้างเขื่อนทำให้เกิดปัญหาการกัดเซาะชายหาดอย่างรุนแรง และทำให้วิถีประมงพื้นบ้านริมชายหาดเปลี่ยนแปลงไปมาก การปลาริมหาดหายไปเพราะน้ำลึกขึ้น ไม่มีชายหาดให้ปลาวางไข่ โดยเฉพาะที่สูญหายคือเต่าทะเลทั้งที่ก่อนหน้าตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมีนาคมเต่าจะขึ้นมาวางไข่แต่หลังสร้างเขื่อนเต่าหายไปเลย การแก้ไขปัญหาในปัจจุบันไม่ควรทำอะไรเพิ่มเติมในทะเลเป็นดีที่สุด ไม่ว่าพื้นที่ใดๆปล่อยให้เป็นธรรมชาติให้คลื่นแต่งหาดตามฤดูกาลอดีตการกัดเซาะชายหาดมีเป็นปกติในช่วงมรสุมพอช่วงฤดูแล้งคลื่นจะแต่งชายหาดให้เหมือนเดิม แต่หลังจากที่มีการสร้างเขื่อนกันทรายชายหาดด้านหนึ่งงอกและอีกด้านหนึ่งหายไปอย่างต่อเนื่อง  ที่สำคัญก่อนการก่อสร้างทางกรมขนส่งทางน้ำฯไม่ได้ชี้แจง ไม่เคยทำเวทีสาธารณะว่าจะเกิดผลกระทบดังกล่าวทั้งที่มีการศึกษาแล้วว่าจะมีผลกระทบ สร้างจะเกิดผลกระทบ 20 ปีแต่นี่เพียง 10 ปียังสร้างผลกระทบอย่างมาก  มีแนวโน้มว่าจะมีการสร้างเขื่อนกันทรายและกันคลื่นตลอดแนวทะเลอ่าวไทย เพราะทำตัวหนึ่งกัดเซาะและทำต่อๆไปก็จะกัดเซาะไป  ถามว่า “งบประมาณก็เสียไป  แผ่นดินก็เสียไปถามว่าประเทศไทยพัฒนาแบบนี้จะคุ้มทุนไหม”   อยากให้กรรมาธิการตรวจสอบรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าทำแบบนี้ประเทศชาติคุ้มทุนไหม มีชาวบ้านบางส่วนฟ้องกรมขนส่งทางน้ำฯเพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาที่ถูกทาง ซึ่งกรมขนส่งทางน้ำฯมีการพยายามปรับเปลี่ยนรูปแบบของแนวกันทรายและกันคลื่นในรูปแบบของเขื่อนใต้น้ำที่อ้างว่าเป็นรูปแบบปะการังเทียมนั้นขอยืนยันว่าการทำรูปแบบเช่นนั้น  เป็นอันตรายกับชาวประมงพื้นบ้านเป็นขนาดเล็กอย่างมาก เพราะเรือประมงสามารถวิ่งชนและปิดช่องทางทำให้เรือประมงพื้นบ้านไม่สามารถเอาเรือเข้าออกได้  แม้ทางกรมขนส่งฯจะอ้างว่าต่างประเทศก็ทำรูปแบบเช่นนี้  ขอยืนยันว่าที่นี่เมืองไทย จะลอกรูปแบบมาใช้ไม่ได้  เพราะต่างประเทศไม่มีเรือประมงขนาดเล็กแบบบ้านเรา ต่างประเทศเป็นเรือประมงพาณิชย์ขนาดใหญ่                                  และตัวแทนชาวบ้านสวนกง หมู่ที่ ๗ ต.นาทับ ให้ข้อมูลต่อทางคณะกรรมาธิการว่า ชายหาดบ้านสวนกงเป็นชายหาดที่ยังอุดมสมบูรณ์ แต่ในอนาคตความอุดมสมบูรณ์กำลังจะเลือนหายเพราะกรมขนส่งทางน้ำฯกำลังจะมีโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2 ที่บริเวณนี้ หากเป็นเช่นนั้นจริงชายหาดที่สวยงาม       และอุดมสมบูรณ์คงหมดไปที่ผ่านมาชาวบ้านในพื้นที่สวนกงไม่เคยอดอยาก เพราะมีอาหารทะเลที่สมบูรณ์ สามารถพึ่งตนเองด้วยวิถีชีวิตที่เรียบง่ายพอเพียง ที่ผ่านมาชาวบ้านสวนกงไม่เคยทำลายทรัพยากรธรรมชาติและชายหาด มีแต่นักการเมืองและนายทุนที่เข้ามาทำลาย ซึ่งตามแบบของการก่อสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกต้องมีการสร้างแนวกันคลื่นถึงจำนวน 15 ตัว ยาวขนานไปกับแนวชายหาดระยะทางยาวประมาณ 5 กิโลเมตร เพื่อป้องกันแนวกันตัวท่าเทียบเรือไว้ ซึ่งการสร้างแนวกันคลื่นยาวยอมส่งผลต่อการกัดเซาะชายหาดอย่างแน่นอนในลักษณะเว้าเป็นเสี้ยวพระจันทร์ จะส่งผลกระทบต่ออาชีพประมงอย่างแน่นอน และจะมีการโยกย้ายชาวบ้านออกจากพื้นที่เพื่อเอามาสร้างท่าเรือน้ำลึก จนกระทั่งเวลา 11.00 น.ได้เดินทางต่อไปยังบ่อโชนรีสอร์ท ม.7 ต.สะกอม เพื่อรับฟังปัญหาจากตัวแทนองค์การบริหารส่วนตำบล  ตัวแทนองค์การบริหารส่วนจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  ซึ่งชาวบ้านและตัวแทนองค์การบริหารส่วนตำบล ที่เข้าร่วมส่วนใหญ่เกิดความเข้าใจผิดคิดว่าคณะกรรมาธิการฯจะมาทำการรื้อเขื่อนกันทรายและกันคลื่น  เพราะมีการปล่อยกระแสดังกล่าว  จึงค่อนข้างแสดงท่าทีไม่เป็นมิตรกับทางกรรมาธิการ จนทางคณะกรรมาธิการต้องชี้แจงทำความเข้าใจกับทางชาวบ้าน ชาวบ้านจึงเกิดความเข้าใจบทบาทของกรรมาธิการว่าเพียงมาศึกษาพื้นที่ว่ามีปัญหาจริงหรือไม่และปัญหาการกัดเซาะรุนแรงเพียงใดแล้ว มาเพื่อรับฟังข้อมูลทุกฝ่ายเพื่อประกอบกับหลักทฤษฎีที่ทางคณะกรรมาธิการได้ศึกษาข้อมูลไว้แล้ว และไม่ได้มาเพื่อสั่งให้รื้อเขื่อน จึงอยากให้ทุกฝ่ายให้ข้อมูลโดยสุจริตใจและไม่มีผลประโยชน์แอบแฝง เพราะชายหาดเป็นสมบัติของแผ่นดินที่ทุกคนควรจะรักษา นายสมชาย สุมนัสขจรกุล ผู้เชี่ยวชาญวิชาชีพเฉพาะด้านฯรักษาการผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรม กรมเจ้าท่า ซึ่งสังกัดส่วนกลางที่กรุงเทพมหานคร  ชี้แจงข้อมูลว่า ปัญหาการกัดเซาะชายหาดมีทั่วประเทศ ปัญหาเกิดจากโลกร้อนและและปัญหาของการวางผังเมือง ที่ไม่มีการจัดโซนนิ่งพื้นที่เกี่ยวกับกิจกรรมของมนุษย์ที่อยู่ใกล้ชายหาด เช่น รีสอร์ท หลังจากที่กรมขนส่งทางน้ำฯถูกฟ้องศาลปกครองจังหวัดสงขลา  จึงตั้งงบประมาณ 7 ล้านบาททำการศึกษาโมเดลการแก้ปัญหาที่รับกันได้  อะไรที่ไม่สวยไม่เหมาะสม เขื่อนแบบไหนที่จะเป็นทางเลือก แต่เนื่องจากการตั้งงบประมาณดังกล่าวไม่ได้รวมถึงการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม(EIA) ซึ่งกฎหมายระบุไว้ตาม หากนำงบประมาณดังกล่าวมาทำการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมก็จะไม่มีงบประมาณในการก่อสร้าง และกล่าวว่าการแก้ไขปัญหาด้วยการรื้อเขื่อนที่สร้างแล้วคงเป็นไปได้ยาก  ปัจจุบันมีการพยายามวางแผนที่จะทำการย้ายทรายจากด้านที่งอกมาทดแทนด้านที่กัดเซาะ ซึ่งคาดว่าในปี 2553 น่าจะเริ่มได้ในตำบลสะกอม จ.สงขลาและจะดำเนินการในพื้นที่อื่นต่อไปในอนาคต นายสุรชัย  เลี้ยงบุญเลิศชัย  กล่าวหลังจากการลงพื้นที่ว่า  การกัดเซาะชายหาดเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศในเวลานี้ ต้องยอมรับว่าเป็นเพราะการสร้างสิ่งปลูกสร้างลงไปในทะเล ทำให้ทิศทางน้ำถูกกีดขวาง ธรรมชาติของน้ำมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา ไม่เคยหยุดนิ่ง การสร้างเขื่อนป้องกันจุดหนึ่งได้แต่ไปกัดเซาะอีกหลายจุด ทำให้สภาพชายหาดแปรสภาพเว้าแหว่งตลอดแนว การแก้ไขปัญหาเราต้องเข้าใจระบบธรรมชาติกันใหม่ ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงการสร้างสิ่งกีดขวางใต้ทะเล เช่น การทำเขื่อนใต้น้ำในลักษณะปะการังเทียม เป็นการปิดกันระบบการถ่ายเทเม็ดทรายในชาดหาด โดยหลักเม็ดทรายมีการถ่ายเทตลอดเวลา ดังนั้นการสร้างสิ่งปลูกสร้างในทะเลควรทบทวน การปัญหาของหน่วยราชการ ขาดการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและขาดการบูรณาการ ความรู้  ประสบการณ์และความคิดทั้งระดับส่วนกลาง ภูมิภาคและท้องถิ่น คล้ายอยู่ในเรือลำเดียวกันแต่ต่างคนต่างพาย ไม่มีเป้าหมายเดียวกัน อยากเสนอให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องให้ความสนใจปัญหาอย่างจริงจัง จากการลงพื้นที่มีปัญหาหลายแห่งแต่ไม่มีหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องลงมาแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ขาดการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการทำงานร่วมกันและขาดการฟังชาวบ้าน ซึ่งปัญหาของชายหาดนอกจากมีปัญหาผลกระทบทางระบบนิเวศกายภาพแล้วยังส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชาวประมงพื้นบ้าน