Skip to main content
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    หากไม่ย้ายเมืองหลวง คนไทยจะปักหลักอยู่ที่เดิมสู้ต่อไป  มาในแนวสู้ไม่ถอย  ขอแก้ตัวอีกสักครั้ง  หรือจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม  กรุงเทพฯจะต้องมีระบบป้องกันน้ำท่วมที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าปัจจุบัน  และคาดว่าจะใช้งบประมาณมหาศาลทีเดียว  ลองมาดูตัวเลขความเสียหายจากน้ำท่วมใหญ่ปี 2554  ธนาคารโลกได้ประเมินค่าความเสียหายประมาณ 1.36 ล้านล้านบาท  แยกเป็นความเสียหายจากทรัพย์สิน 6.4 แสนล้านบาท  ค่าเสียโอกาสทางธุรกิจ 7.16 แสนล้านบาท  แรงงานว่างงาน 7-9.2  แสนคน  และไทยจะใช้เงินฟื้นฟูเศรษฐกิจจากน้ำท่วม  ในวงเงินประมาณ 7.56  แสนล้านบาท  
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ประเทศแรก ที่จะจมมหาสมุทร คือประเทศมัลดิฟว์ ประเทศเป็นเกาะอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดีย มีประชากรราว 270,000 คน มีพื้นที่ 298 ตารางกิโลเมตร เล็กกว่าภูเก็ตที่มีพื้นที่ 543.034 ตารางกิโลเมตร มัลดิฟว์เป็นหมู่เกาะปะการัง มีหาดทรายขาวและสวยงามมาก หมู่เกาะกระจายราว 1,200 เกาะ พื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลราว 1.5 เมตรเท่านั้น ประธานาธิบดีคนใหม่ชื่อ นายโมฮัมเหม็ด แอนนี นาชิด กำลังหนักใจเกี่ยวกับการมองหาที่ตั้งประเทศแห่งใหม่ ได้มองไปที่ประเทศศรีลังกา ซึ่งมีภูมิประเทศและภูมิอากาศคล้ายคลึงกัน รองลงไปเล็งไปที่ประเทศออสเตรเลีย หากก้าวมาถึงขั้นย้ายประเทศ ก็ยังมองไม่กระจ่างว่าท่านประธานาธิบดี จะย้ายอย่างไร ลักษณะใด จะขอซื้อหรือเช่าแผ่นดินอื่นอยู่ หรือขอเป็นดินแดนพิเศษ คล้ายๆ ศูนย์อพยพ ฯลฯ อดคิดแทนท่านไม่ได้ ข่าวไม่ได้บอกว่าท่านจะทำอย่างไร หากยังอยู่ที่เดิม ก็ต้องตอบให้ได้ว่า จะอยู่อย่างไรในอนาคต เมื่อประเทศกำลังจะจมน้ำทะเล  
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
     ในอดีต มีผู้ใหญ่ในบ้านเมืองไทย  เสนอแนวคิดการย้ายเมืองหลวงหลายครั้งหลายยุค  ลองไล่ตามลำดับ เริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ. 2486  บุรุษผู้กล้าหาญคนแรก  ท่านจอมพล ป.พิบูลสงคราม  คิดจะย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่จังหวัดเพชรบูรณ์  ต่อมาในในสมัยรัฐบาล  พลเอกชวลิต  ยงใจยุทธ  จะย้ายเมืองหลวงไปที่เขาตะเกียบ  จังหวัดฉะเชิงเทรา  พอมาถึงยุคท่านสมัคร  สุนทรเวช  เจ้าของวลีเด็ดๆ  เช่น “ กระเหี้ยนกระหือรือ   อะไรกันนักหนา ฯลฯ”  ขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่ง  รัฐมนตรีช่วยว่าราชการกระทรวงมหาดไทย  ท่านอยากย้ายเมืองหลวงไปที่จังหวัดนครปฐม  จนมาถึงยุคสมัยท่านนายก “แม้ว”  ท่านทักษิณ  ชินวัตร  มีแนวคิดจะย้ายไปที่จังหวัดนครนายก  ส่วนในยุคปัจจุบัน (พ.ศ.2554)  ดร.อาจอง  ชุมสาย ณ อยุธยา  ได้กล่าวว่า  เมืองหลวงของไทยน่าจะเป็นโซนอีสานใต้  
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  การย้ายเมือง มักมีสาเหตุต่างๆ ที่สำคัญ  ดังเช่น  เมืองลำพูนในอดีต  ในปี พ.ศ. 1490  เมืองลำพูนได้เกิดโรคระบาดร้ายแรงคือ “โรคห่า” หรืออหิวาตกโลก  ผู้คนล้มตายมากมาย  ผู้ที่ยังไม่ตายเห็นว่า  ถ้าอยู่ต่อไปอาจต้องเสียชีวิต  จึงพากันไปอยู่เมือง “สุธรรมวดี”  คือเมืองสะเทิม  ประเทศรามัญหรือมอญ  และยังระหกระเหินย้ายไปอยู่เมืองอื่นนานถึง 6 ปี  เมื่อทราบว่าโรคระบาดลดลง  จึงพากันกลับมาอยู่เมืองลำพูนดังเดิม เวียงกุมกาม
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    เขตอุตสาหกรรม 5 แห่ง ที่อยุธยาถูกน้ำท่วม มูลค่าลงทุนหลายแสนล้านบาท ตามลำดับดังนี้ 1.นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องหนัง ฯลฯ มูลค่าลงทุน 9,472 ล้านบาท คนงาน 14,000 คน โรงงาน 48 โรง พื้นที่ 2,050 ไร่ 2.ส่วนอุตสาหกรรมโรจนะ ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนไฟฟ้า โรงงานผลิตรถยนต์ฮอนด้า ฯลฯ มูลค่าลงทุน 58,000 ล้านบาท คนงาน 90,000 คน โรงงาน 183 โรง พื้นที่ 12,000 ไร่ 3.นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (ไฮเทค) ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์คอมฯ โรงงาน 143 โรง มูลค่าลงทุน 64,000 ล้านบาท คนงาน 55,000 คน พื้นที่ 2,400 ไร่ 4.นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน ผลิตชิ้นส่วนไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์  โรงงาน 109 โรง มูลค่าลงทุน 60,000 ล้านบาท คนงาน 60,000 คน พื้นที่ 1,962 ไร่ 5.เขตประกอบอุตสาหกรรมแฟคตอรี่ ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ ฯ โรงงาน 99 โรง  มูลค่าลงทุน 11,000 ล้านบาท คนงาน 6,000 คน พื้นที่ 130 ไร่  
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ศึกครั้งนี้ใหญ่หลวง มันไม่พูด รุกคืบคลานไปข้างหน้าไม่มีหยุด เหมือนเชื้อโรคสายพันธุ์ใหม่ในหนังฝรั่งประเภท ไซไฟ (Sci-Fi) สภาพคล้ายเมือกฟองปุด ไหลกลืนกินทุกอย่างที่ขวางหน้า เป็นมฤตยูเงียบ เลือดเย็น มันคือกระแสน้ำ มิใช่หยดน้ำ...กระแสน้ำครั้งนี้เหมือนข้าศึกบ้านเมืองยุคปัจจุบัน ไม่มีการเจรจาพักรบ พักเหนื่อยพักหายใจ ไพร่พลมหาศาลหนุนเนื่อง หัวเมืองใหญ่น้อยจากเหนือลงใต้ถูกโจมตีแตกพ่าย มันกรีฑาทัพมุ่งโจมตีเมืองหลวง ที่มั่นสุดท้ายของเรา ปริมาณมหาศาล มาแรงและเร็ว มันคือกระแสน้ำ...มันเหมือนนักมวยลำหนักทรงพลัง เดินต่อยเราไม่มีหยุด หนักหน่วงรุนแรง หากยกแขนป้องกันไม่ดี ถอดใจเมื่อใด ถึงน็อก... แข็งใจไว้ทั้งนักมวยฝ่ายเรา พี่เลี้ยงคนดู อีกอึดใจเดียวหมดยกแล้ว เราจะชนะคะแนน เราปลอดภัย  
SenseMaker
น้ำมาถึงไหนแล้วหว่า...บ้านฉันน้ำจะท่วมมั้ยเนี่ย...จะหาข้อมูลที่จำเป็นได้จากที่ไหนบ้างหว่า...เวลาเดือดร้อนจะต้องแจ้งใคร...ทำไมโทรไป 1111 กด 5 แล้วถามอะไรไปก็ตอบไม่ได้... ........ใครก็ได้ช่วยบอกทีเหอะว่าฉันกับครอบครัวต้องทำยังไงบ้าง.......ข้อมูลประกอบการตัดสินใจอะไรๆก็ไม่มี ที่มีก็ไม่รู้จะเชื่อได้มากขนาดไหน เชื่อได้รึเปล่า.........
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  น้ำท่วม เดือนตุลาคม 2554 ไหลลงไปจากที่สูงลงไปท่วมท้น ทุกหนทุกแห่งที่เป็นที่ต่ำ - ตามธรรมชาติของน้ำ ไม่ละเว้นว่าพื้นที่แห่งนั้นจะเป็นพื้นที่ทางเศรษฐกิจ กี่พัน กี่หมื่น กี่แสน กี่ล้าน ล้านเท่าไหร่ ไม่ละเว้น ไม่ว่าจะเป็นเมืองหลวงหรือชนบท แม้แต่วัดวาอารามศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้คนกราบไหว้ ยังมิอาจป้องกัน ยังมิอาจสวดมนต์ภาวนาใดๆ ขอให้มวลมหึมาของอุทกภัยอันยิ่งใหญ่ ละเว้นไว้อยู่กับองค์พระปฏิมา
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ผมย้อนกลับมาดูน้ำท่วม ที่บ้านเกิดจังหวัดเชียงใหม่ ผมมีเวลามากพอเนื่องจากเกษียณอายุราชการ อ่านหนังสือบ้าง เขียนบ้าง ลองค้นหาข้อมูลน้ำท่วมจังหวัดเชียงใหม่ โดยค้นจากอินเทอร์เน็ต หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ได้พบข้อมูลน่าสนใจ ปีนี้ (29 กันยายน พ.ศ.2554) ระดับน้ำที่ P 1  ณ สะพานนวรัฐอยู่ที่ 4.94 เมตร เป็นสถิติสูงสุด สูงกว่าปี พ.ศ. 2548 ที่สูง 4.93 เมตร ในปี 2548 นั้น น้ำท่วมเชียงใหม่ครั้งแรกเมื่อ 13 สิงหาคม 2548 และท่วมอีก 3 ครั้ง ในเดือนกันยายน กลางเดือนกันยายน และต้นตุลาคม มีข้อมูลระบุว่าเป็นอุทกภัยร้ายแรงในรอบ 50 ปีของเมืองเชียงใหม่  ในปี 2553 ทางจังหวัดได้ประเมินความเสียหายของบริษัทห้างร้าน โอกาสทางธุรกิจ รวมทั้งความเสียหายของทรัพย์สินประชาชนและทรัพย์สินสาธารณะมากกว่า 1,000 ล้านบาท สถิตินี้ถูกทำลายลงในปี 2554 ที่มีความเสียหายกว่า 2,000 ล้านบาท ไม่ทราบว่าข้อมูลที่ถูกทำลายลง เราควรจะดีใจหรือเสียใจ น้ำท่วมเชียงใหม่ในบริเวณ ไนท์บาซาร์ ถนนเชียงใหม่-ลำพูน ถนนช้างคลาน สะพานตำรวจภูธรภาค 5 ถนนเจริญ-ประเทศ โรงเรียนพระหฤทัย หมู่บ้านเวียงทอง ถนนมหิดล ถนนเจริญเมือง สถานีรถไฟ หมู่บ้านหนองประทีป  
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  หากวิเคราะห์เรื่องน้ำท่วม ปีหนึ่งหากท่วม 1 ครั้งต่อปี ประชาชนเดือนร้อนก็ช่วยเหลือกันไป มอบถุงยังชีพมอบอาหาร ให้ค่าชดเชยหลัง 5, 000 บาท พอพ้นฤดูน้ำท่วมปัญหาหมดไปลืมกันไป ปีหน้าว่ากันอีกที ไม่ทราบว่ามีแผนป้องกันระดับประเทศไหมหนอ มีหน่วยงานใดเป็นเจ้าของเรื่องป้องกันน้ำท่วมระดับประเทศ แม้จะมีพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ 2550 และคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ แต่ยังขาดการทำงานที่เป็นระบบ คือสอดคล้องสัมพันธ์กันทุกขั้นตอนการทำงาน ยังขาดเอกภาพ ขาดความร่วมมือ  ที่ผ่านมาไทยต้องสูญเสียงบประมาณปีละ 2 หมื่นล้านบาท แต่เป็นงบช่วยเหลือมากกว่างบป้องกัน ทำนองแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ไม่ได้ป้องกันก่อนเกิดปัญหา แต่น่ายินดีนะครับ ได้ฟังข่าวโทรทัศน์เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2554 รัฐบาลชุดนี้ คิดเร็วทำเร็ว   ได้ยินว่าจะมีสำนักงานที่รับผิดชอบเรื่องน้ำท่วมระดับประเทศโดยตรง ว่าด้วยเรื่องน้ำท่วมอย่างเดียว ถูกใจมาก ผมจะตรวจสอบความถูกต้องของข่าวและติดตามต่อไป  
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ที่บ้านทุ่งแป้ง  อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ฝนตกตลอดคืนวันที่ 6 , 9 , 13 กันยายน พ.ศ. 2554 พอเช้าวันที่ 14 กันยายน แม่น้ำขานเริ่มมีระดับสูงขึ้นรวดเร็ว และล้น บ่าข้ามถนนข้างแม่น้ำเข้าท่วมบ้านทุ่งแป้งจำนวน 90 กว่าหลังคา ระดับน้ำสูงขึ้นช้าๆ ต่อมาเริ่มท่วมถนนข้างบ้าน ที่คั่นระหว่าง บ้านผมกับวัดทุ่งแป้ง    ได้ยินเสียงน้ำไหลซ่าเข้าประตูวัด บริเวณบ้านผมได้ถมดินให้สูงก่อนปลูก น้ำ จึงยังไม่ท่วม บ้านอื่นรอบๆถูกน้ำท่วมหมดแล้ว มีเพื่อนบ้านนำรถยนต์มาฝาก 2 คัน รถจักรยานยนต์ 4 คัน จักรยานอีก 1 คัน มาเลยพี่น้องบ้านเฮา ยินดีต้อนรับ