บันเทิง

อิคคิวซัง วรรณกรรมกับการตอบโต้อำนาจ

 

เนตรชนก แดงชาติ

ใน ช่วง 40 กว่าปีที่ผ่านมานี้การไหล่บ่าของกระแส J-POP ได้เข้ามามีอิทธิพลต่อวัฒนกรรมการเสพสื่อของบ้านเรา และแน่นอนว่าย่อมหลีกเลี่ยงที่จะกล่าวถึง “การ์ตูนญี่ปุ่น” ที่ซึมลึกอยู่ในวงการสื่อบ้านเรารวมถึงเด็ก ๆ (ตลอดถึงคนที่เคยเป็นเด็ก) ไปไม่ได้

หลายท่านคงจำ ทั้งโดราเอมอน ดราก้อนบอล เซเลอร์มูน กันได้ และที่จะมาชวนท่านผู้อ่านคุยวันนี้เป็นหนึ่งในอมตะการ์ตูนแห่งช่อง 3 คือเรื่อง “อิคคิวซัง” หรือ “เณรน้อยเจ้าปัญญา” การ์ตูนที่มาจากบุคคลที่มีชีวิตอยู่จริงในช่วงประวัติศาสตร์

“อิค คิวซัง”  จากเรื่องเล่าที่นำมาเขียนเป็นนิยายภาพ จากนั้น ฮิซาชิ ซาคากุจิ (Hisashi Sakaguchi) ได้นำมาแต่งเป็นมังงะ (การ์ตูนเล่ม) และอนิเมชัน เรื่องราวของลูกชายพระจักรพรรดิกับพระชายาฝ่ายใต้ในสมัย มุโรมาจิ (ประมาณ พศ. 1338 - 1573)  ซึ่งเป็นยุคที่ชนชั้นนักรบมีอำนาจเหนือชนชั้นอื่น ๆ ในสังคม ได้แก่ ชนชั้นชาวนา และชนชั้นพ่อค้า ตลอดจนได้หลอมรวมตัวเองเข้ากับชนชั้นปกครอง (ฝ่ายพระจักรพรรดิและราชสำนัก) ทำให้เกิดระบบศักดินาและเป็นต้นกำเนิดของวัฒนธรรมซามุไร   เช่น การตั้งรัฐบาลทหาร หรือ “บาคุฟุ” ที่มี “โชกุน” เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครอง “ไดเมียว” หรือ เจ้าเมืองแคว้นต่าง ๆ ไปจนถึงการเผยแพร่ศาสนาพุทธ นิกายเซนอันเป็นหนึ่งในวิถีของชนชั้นนักรบ ในการสืบทอดอำนาจตกอยู่ในตระกูล อะชิคางะ

อย่างไรก็ตามที่มาของอำนาจทางการเมืองของฝ่ายจักรพรรดิและฝ่ายโชกุนมีจุดที่ แตกต่างกันก็คือ ฝ่ายจักรพรรดิสืบเชื้อสายมาจากตระกูลยามาโตะ สมัย โคฟุน (ค.ศ. 250–538)  ที่มีความเชื่อว่าได้สืบเชื้อสายมาจากเทพีพระอาทิตย์  (Amaterasu – omikami) ซึ่งเป็นเทพผู้ให้กำเนิดชาวญี่ปุ่น จากนั้นได้แต่งบันทึกประวัติ- ศาสตร์ “โคจิกิ” (Kojiki) และ “นิฮงโชกิ” (Nihonshoki) ในยุค นาระ (ค.ศ. 710 – 794) เกี่ยวกับการให้กำเนิดโลกและเกาะญี่ปุ่น  ความเชื่อในศาสนาชินโต  รวมไปถึงการให้กำเนิดและเชื้อสายของผู้ที่สืบทอดสายเลือดของเทพีพระอาทิตย์  อันหมายถึงตระกูลของพระจักรพรรดิ   อาจกล่าวได้ว่าเป็นบรรพบุรุษของชาวญี่ปุ่นจึงมีอำนาจในปกครองดูแลลูกหลาน ซึ่งสอดคล้องกับลัทธิขงจื้อที่รับมาจากจีนในยุคต่อมา แตกต่างจากการได้มาซึ่งอำนาจของโชกุนที่มาจากการทำสงครามและกำลังทหาร

แต่ด้วยความที่ฝ่ายจักรพรรดิมีความผูกพันและชอบธรรมทางศาสนา (ชินโต) และวัฒนธรรมมายาวนาน จึงเป็นเหตุที่ชนชั้นเหล่าซามุไรและโชกุนไม่สามารถล้มล้างได้ง่ายนัก แม้จะสามารถทำให้ชาวนาและพ่อค้าหมอบราบคาบแก้วได้แล้วก็ตาม การมีอยู่ของจักรพรรดิเริ่มจะอยู่ในสถานะ “สัญลักษณ์ของสังคม” มากกว่าการปกครองประเทศ

ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นการทำความเข้าใจระบบการปกครองเบื้องต้นในยุคที่เรื่อง อิคคิวซังดำเนินเรื่องอยู่ขอรับ ซึ่งประเด็นที่อยากชวนท่านผู้อ่านคุยนั้นก็คงเกี่ยวกับตัวละครที่ขาดไม่ได้ ในเรื่องนี้เลยคือท่านโชกุน “อาชิคางะ โยชิมิสึ”

การพบกันครั้งแรกระหว่างท่านโชกุนและอิคคิวซังเกิดขึ้นเมื่อเมื่อเสียงของ อิคคิวซังเลื่องลือไปทั่วเมืองจนถึงหูของท่านโชกุน จึงมีความคิดที่จะนิมนต์เณรน้อยอิคคิวมาจับเสือที่อยู่ในม่านไม้ แต่ก็เสียท่าให้ในที่สุด ด้วยการที่อิคคิวซังขอให้ฝ่ายท่านโชกุนไล่เสือออกมาให้ตนจับนั่นเอง

เรื่องราวต่อจากนั้นก็ล้วนเกี่ยวพันทั้งกันระหว่างตัวละครทั้งสองไม่ว่าจะ เป็นความขี้เล่นรักสนุกที่ช่างสรรหาเรื่องปวดสมอง (ทั้งคิดขึ้นเอง ทั้งร่วมมือกับคิเคียวยะซัง เจ้าของร้านค้าจอมงก) หรือเรื่องเดือดร้อนของประชาชนที่ถ้าไม่มาจากท่านโชกุนก็จากคิเคียวยะซัง จนชาวเมืองต้องไปขอความช่วยเหลือจากอิคคิวซังอยู่เสมอ

(ที่มา http://en.wikipedia.org/wiki/Ikkyu)

 

เรื่อง ในประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับวีรกรรมของท่านโชกุนจะเป็นอย่างไรไม่ทราบ และส่วนใหญ่เรื่องราวที่เกี่ยวกับท่าน “อิคคิว โชจุน” ที่มีตัวตนอยู่จริงนั้น ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับความเถรตรงและการเป็นปฏิปักษ์ต่อขุนนางและพระเถระที่มือ ถือสากปากถือศีล จึงขอชวนท่านผู้อ่านมองเรื่องอิกคิวซังในฐานะเรื่องเล่าเรื่องหนึ่งแล้วกัน นะ
ขอรับ

ท่านผู้อ่านรู้สึกเหมือนกันหรือเปล่าว่าการ์ตูนเรื่องนี้ได้นำ “โชกุน” มาเป็นตัวละครที่มีบทบาทในทางขำขันหรือเป็นตัวสร้างปัญหาของเรื่อง จนบางครั้งผู้เขียนนึกในใจว่า “วัน ๆ หนึ่ง คนเป็นไม่ทำงานทำการอะไรเลยหรืออย่างไร” หรือแม้แต่คิเคียวยะซังเองก็ตระหนี่ถี่เหนียวเสียจนมีอารมณ์ร่วมไปกับอิคคิว ซังอย่างไม่น่าเชื่อ จึงน่าสังเกตว่าการ์ตูนเรื่องนี้ได้นำ “ผู้ทรงอำนาจ” ในประวัติศาสตร์มาล้อเลียนหรือล้อเล่น แม้ว่าผู้แต่งจะเกิดคนละยุคสมัยกันก็ตาม

การล้อเลียนหรือล้อเล่นบุคคลผู้มีอำนาจเป็นลักษณะของการตอบโต้ทางสังคมอย่าง หนึ่งที่พัฒนามาจากการนินทาที่เป็นกลไกการลงโทษสมาชิกในสังคมรูปแบบหนึ่ง การได้นินทาใครสักคนนอกจากจะช่วยลดความตึงเครียดแล้วผู้ได้นินทาผู้อื่นนั้น จะมีความรู้สึกต่อผู้ที่ถูกนินทาว่า “กูดีกว่ามึง” ยิ่งเป็นการนินทาผู้มีโอกาสทางสังคมหรือมีสถานะทางสังคมที่สูงกว่าตนเองแล้ว ด้วยยิ่งมีบทบาทในการลดค่าอำนาจ หรือ ลดคุณค่าของผู้มีอำนาจที่สูงกว่าตน เพราะในสภาพสังคมจริง ๆ คงไม่มีใครออกมาวิพากษ์วิจารณ์ผู้มีอำนาจในสมัยนั้นเป็นแน่ ดีไม่ดีอาจได้นอนในคุกแก้เซ็งไปจนถึงโดนตัดหัว แม้แต่สมัยนี้ที่มีการเปิดกว้างในการสื่อสารหรือมีสิทธิเสรีภาพตามหลัก ประชาธิปไตยที่ใครต่อใครเชื่อว่าเป็นรูปแบบการปกครองที่ดีแล้วนั้น การนินทาหรือการล้อเลียนผู้มีอำนาจยังเสี่ยงต่อการกระทำผิดตามกฎหมายหรือการ ใช้กำลังเข้าไปจัดการทั้งแบบเปิดเผยและแบบลับ ๆ

การล้อเลียนผู้มีอำนาจในประวัติศาสตร์ไม่เพียงพบในเรื่องอิคคิวซังอันเป็น เรื่องเล่าที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตเท่านั้น ยังพบเรื่องเล่าเหล่านี้ในสังคมต่าง ๆ ทั่วโลก แม้แต่ในประเทศไทย เรื่องเล่าประเภทนี้ที่รู้จักกันดีอย่าง “ศรีธนญชัย” เองก็มีลักษณะที่คล้ายกับเรื่องอิคคิวซัง เช่น ความสมองไว และการเอาตัวรอดได้ในสถานการณ์ต่าง ๆ (แม้ว่าบางตอนของศรีธนญชัยอาจจะ “ฮาร์ดคอร์” กว่า เช่น การคว้านท้องน้องของตัวเองก็ตาม) นอกจากนิทานพื้นบ้านเรื่องยาวอย่างศรีธนญชัยแล้ว ยังมีเรื่องเล่าตลกขำขันในชุมชนที่ไม่มีมีแบบแผนหรือมีผู้แต่งที่แน่ชัด อย่างเช่นการ “เล่าเจี๊ยะ” หรือ “เจียะก้อม” ของล้านนา เนื้อหาก็ต่างพัวพันอยู่กับตัวแทนของสถาบันที่มีอำนาจทางสังคม เช่น เจ้าเมือง พระ พ่อค้าคหบดี เหมือนกันอย่างมิได้นัดหมาย

เมื่อมองกลับมาในปัจจุบัน ผู้ที่ตกเป็นเป้าของการล้อเลียนส่วนใหญ่จะเป็นนักการเมืองหรือดารา ส่วนสถาบันศาสนานาน ๆ จะมีการล้อเลียนเกิดขึ้นสักครั้ง แต่ก็ต้องเป็นพระระดับเซเลปที่กระทำความผิดทั้งทางกฎหมายจนเป็นข่าวใหญ่โต เช่น “พระยันตระ” หรือ มีบทบาทในสื่อมาก ๆ เช่น “พระพยอม”  อย่างไรก็ตามผู้เขียนไม่ทราบได้ว่า เพราะความเข้มแข็งเรื่องบาปกรรมจากการล้อเลียนพระมีผลในสังคมสมัยนี้ หรือ ความห่างเหินกันระว่างคนกับพระกันแน่ ที่ทำให้การล้อเลียนสถาบันศาสนาลดลงเหลือเพียงแค่การนินทาพระที่ประพฤติตน ไม่เหมาะสมตามหมู่บ้านในชนบท ส่วนการล้อเลียนเศรษฐีที่เราเห็นชัดที่สุดคงหนีไม่พ้นคุณ “ทักษิณ ชินวัตร” ในการเคลื่อนไหวของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

แต่บางครั้งเหตุการณ์อันน่าเศร้าสลดก็เกิดจากการล้อเลียน เช่น การที่นักศึกษาเล่นละครล้อเลียน ในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 อาจเป็นเพราะว่าตัวละครที่นำมาล้อเลียนนั้นได้ล้มหายตายจากไปหลายร้อยปี   หรือว่าระบบบาคุฟุและวัฒนธรรมซามุไรได้ถูกปฏิวัติไปตั้งแต่สมัยเมจิ หรือว่า ความแยกแยะได้ว่าอะไรเป็นเรื่องแต่ง อะไรเป็นเรื่องจริง หรือว่าผู้แต่งไม่ไปแตะ “กล่องดวงใจ” ของชาวญี่ปุ่น คงไม่สำคัญเท่า ความ “เซนซิทีฟ” ของบุคคลที่ “ถูกล้อเลียน” หรือ “ถูกนินทา” ที่กลัวว่าผู้เสพสารจะเชื่อว่าเป็นจริงตามที่โดนล้อหรือเปล่า

จะจริงหรือไม่จริงก็ตามมันก็ห้ามคนนินทาได้ยากยากดั่งการห้ามไฟไม่ให้มีควันนั่นแหละขอรับ

"ความเหลวไหล" ในกระแสสำนึก

นายยืนยง

 


ชื่อหนังสือ
: แสงแรกของจักรวาล
ผู้เขียน
: นิวัต พุทธประสาท
ประเภท
: รวมเรื่องสั้น
จัดพิมพ์โดย
: สำนักพิมพ์เม่นวรรณกรรม พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม 2551

 

ชื่อของนิวัต พุทธประสาท ปรากฎขึ้นในความประทับใจของฉันเมื่อหลายปีก่อน ในฐานะนักเขียนที่มีผลงานเรื่องสั้นสมัยใหม่ เหตุที่เรียกว่า เรื่องสั้นสมัยใหม่ เพราะเรื่องสั้นที่สร้างความประทับใจดังกล่าวมีเสียงชัดเจนบ่งบอกไว้ว่า นี่ไม่ใช่วรรณกรรมเพื่อชีวิต... เป็นเหตุผลที่มักง่ายที่สุดเลยว่าไหม

The Classic คนแรกของหัวใจ คนสุดท้ายของชีวิต

8 February, 2010 - 01:16 -- moodang

The Classic คนแรกของหัวใจ คนสุดท้ายของชีวิต

 

      ก่อนเข้าอ่านเนื้อเรื่อง ผมอยากให้ทุกคนที่เข้ามาอ่านของผมลองเข้าไปดูที่ link นี้ก่อนเพื่อดูMVของเรื่องนี้ครับ http://www.youtube.com/watch?v=m52MiAtI7p8 เพื่อเข้าใจความหมายของหนังเรื่องนี้ "คนแรกของหัวใจคนสุดท้ายของชีวิต"   ที่ดูแล้วยังบอกอีกว่า จำความรักครั้งแรกได้ไหม และที่ผมเอาเรื่องนี้มาเล่าต่อก็เพราะความประทับใจที่ภาษารักของหนังสื่อสารออกมาอย่างละเมียดละไม ทั้งความหมายที่ซ่อนในฉาก หรือแม้แต่การแสดงของตัวละครแต่ละตัวของเรื่อง 

 

ภาพจาก www.siamzone.com

 

     ผลงานของ Kwak Jae-yong ผู้กำกับมากฝีมือผู้เคยสร้างความประทับใจล้นหลามจากภาพยนตร์เรื่อง My Sassy Girl และส่งนางเอกสาว Jeon Ji- Hyun จนโด่งดังมาแล้วทั่วเอเชีย

     The Classic เล่าเรื่องราวของ Ji-hae และ Soo-kyoung สองสาวเพื่อนสนิทที่ยอมเข้าร่วมกิจกรรมกับชมรมละครเวทีเพื่อจะได้ใกล้ชิดกับ Sang-min ชายหนุ่ม ซึ่ง Soo-kyoung แอบปลื้ม เธอวานให้ Ji-hae ช่วยเขียนอี-เมล์รักส่งถึง Sang-min อยู่บ่อยครั้งโดยที่เธอไม่ระแคะระคายเลยว่า Ji-hae เองก็แอบมีใจให้ Sang-min เหมือนๆกับเธอ

 

 ภาพจาก www.pantip.com

     Ji-hae เสียสละโดยยอมหลีกทางให้กับเพื่อนสาว เธอยังทำหน้าที่เขียนอี-เมล์ให้กับ Soo-kyoung แต่พยายามหลีกเลี่ยงที่จะพบหน้า Sang-min แม้ว่าเขาจะเชื้อเชิญเธอให้ไปเที่ยวหรือทางข้าวด้วยกัน กอปรกับในช่วงเดียวกัน Ji-hae ได้ค้นพบสมุดบันทึกและจดหมายรักของคุณแม่ในตู้เก็บของ เธอจึงเก็บตัวเงียบ ใช้เวลากับการอ่านข้อความเหล่านั้นอย่างตั้งใจ จนได้พบว่าความรักของคนรุ่นพ่อแม่ของเธอก็มีอุปสรรคนานัปการสาหัสยิ่งกว่าสิ่งที่เธอกำลังประสบ
 

      แม่ของเธอ คือ Joo-hee พบรักแรกกับ Joon-ha แต่เธอถูกผู้ใหญ่มั่นหมายให้แต่งงานกับลูกชายพ่อค้าใหญ่ซึ่งเป็นเพื่อนกับ Joon-ha ทั้งคู่จึงต้องเก็บงำความรู้สึกที่มีต่อกันปิดบังทั้งเพื่อนและพ่อ เพื่อแอบพบกันอย่างลับๆ Joon-ha จำยอมเขียนจดหมายรักตามคำขอร้องของเพื่อนเพื่อส่งให้กับ Joo-hee จนกระทั่งเกิดโศกนาฏกรรมที่ไม่คาดคิด ส่งให้ Joon-ha ตัดสินใจบอกลา Joo-hee และสมัครเข้ากองทัพเพื่อร่วมรบในสงคราม ก่อนที่ทั้งคู่จะจากกัน Joo-hee ได้มอบสร้อยเงินเส้นรักให้แก่ Joon-ha เพื่อเป็นสัญญาใจว่าเขาจะต้องมีชีวิตกลับมาเพื่อนำสร้อยเส้นนี้คืนเธอ

     Ji-hae รับรู้ถึงสิ่งที่เกิดในรุ่นคุณแม่ และพึงได้ตระหนักว่า การเสียสละบางอย่างเพื่อใครบางคนอาจเป็นสัมผัสอันงดงาม แต่ผู้เสียสละด้วยการโป้ปดหัวใจของตนเองคงต้องเตรียมพร้อมและยอมรับกับความเจ็บปวดที่จะตามสนอง ซึ่งบางครั้งก็รุนแรงจนสร้างแผลลึกในความทรงจำและไม่อาจหายาวิเศษขนานใดมาสมานได้ชั่วชีวิต (เนื้อเรื่องย่อจาก http://www.jkdramas.com/movies/theclassic.htm)

  แบ่งปันและเล่าไป

     ผมหยิบเอาหนังเรื่องที่ว่ามาเล่าอีกครั้งเพราะวันนี้ผมได้ดูหนังเรื่องนี้โดยบังเอิญ  เพราะวันนี้ก็เก็บกวดห้องให้เข้าที่ เพราะวันๆทำงานแต่งานมาถึงห้องก็สลบเหมือดพอดี พอเปิดดูอีกครั้ง ผมมีความรู้สึกว่าเหมือนตัวเองดูหนังเรื่องนี้ตอนปี 4 อีกครั้งหนึ่ง  ซึ่งจำได้ว่าก็หลายปีทีเดียว พอดูฉากของหนังถ่ายทอดความรักของคนรุ่นต่อรุ่น ที่รักและสัมพันธ์กันอย่างไร้จุดหมายไม่มีที่สิ้นสุดแต่ท้ายสุดก็มาบรรจบกันได้ เริ่มจากความรักของรุ่นพ่อและแม่ที่เป็นความรักระหว่างชนชั้นคนจนกับคนรวย แต่ทั้งคู่ก็ยังยืนยันที่จะรักกัน

    

ภาพจาก www.newswit.com

      โดยฉากหนึ่งที่บางคนดูแล้วอดคิดตามไม่ได้คือ ฉากที่Joo-ha และ Joo-hee พบกัน Joo-hee ทักและถามไถ่ Joo-ha ว่าที่เขากำลังเล่นนั้นคืออะไร เขาตอบไปว่าด้วงขี้ควาย joo-hee กลับไม่ได้รังเกียจและถามว่าขอจับหน่อยได้ไหม และ Joo-ha ก็ส่งให้ แสดงถึงความรักที่ไม่ได้รังเกียจแม้แต่ชนชั้นของคนทั้งคู่  แต่เรื่องก็ไม่ได้จบแบบมีความสุขแบบหนังไทย เพราะว่าทั้งคู่ก็ไม่ได้ครองรักกัน ฉากหนึ่งที่ผมเห็นแล้วแอบน้ำตาซึมคือ วันที่ Joo-ha กลับมาจากสนามรบแล้วตาบอดได้นัดพบ Joo-hee เขาไปเดินฝึกซ้อมที่ร้านหลายรอบเพื่อไม่ให้ joo-hee รู้ว่าเขาตาบอด แต่ท้ายสุดความก็มาแตก อีกทั้งเขายังโกหกว่าแต่งงานแล้วทั้งๆที่ยังไม่ได้แต่ง ตราบนั้นความรักคนทั้งคู่ยังรักกันเสมอตราบเท่าชีวิตจะหาไม่ (ดังตอนหนึ่งที่ว่า ผู้เสียสละด้วยการโป้ปดหัวใจของตนเองคงต้องเตรียมพร้อมและยอมรับกับความเจ็บปวดที่จะตามสนอง ซึ่งบางครั้งก็รุนแรงจนสร้างแผลลึกในความทรงจำและไม่อาจหายาวิเศษขนานใดมาสมานได้ชั่วชีวิต

 

ภาพจาก 2.bp.blogspot.com

      ส่วนในรุ่นลูกคงไม่ต่างกัน แต่มีความน่าคิดตรงที่เขาทำตามหัวใจสิ่งที่เขาเรียกหาและภักดีกับมันซะยิ่งกว่าสิ่งใด ในฉากหนึ่งทั้งคู่เดินไปที่พิพิธภัณฑ์กระจกตัดผ่านคนทั้งคู่ ทั้งๆที่รู้ว่าแต่ละคนคิดอะไร แต่เหมือนสิ่งนั้นไม่ได้สามารถทำได้ง่ายๆ เลย แต่ความรักก็ดั่งนิยาย เพราะหลายคนต่างไขว่คว้ามัน ฉากของรุ่นลูกจึงเป็นฉากที่สมหวัง ปิดบังความปวดร้าวจากรุ่นพ่อและแม่ที่สะท้อนออกมา ส่องกระจกวัฒนธรรมเกาหลีสมัยใหม่ที่เห็นความเท่าเทียมกันเพิ่มมากขึ้น นี่ก็เป็นเกร็ดจากหนังเล็กๆน้อยๆที่ผมเอามาแลกเปลี่ยนครับ  แล้วคุณหละรู้สึกอย่างไรกับหนังเรื่อง The Classic ?

 

  ภาพจาก pirun.ku.ac.th

 

 

บทครุ่นคำนึงหลังงาน World Musiq ที่เซ็นทรัลเวิร์ล

6 February, 2010 - 16:53 -- parid

ภฤศ ปฐมทัศน์

ผมได้ยินข่าวเรื่อง "จังหวะแผ่นดิน World Musiq & World Bar B Q" วันเดียวก่อนวันงานนั่นเอง ได้ยินคุณทอดด์ ทองดี พูดผ่านวิทยุว่าจะมีศิลปินจากหลายประเทศทั่วโลกมาเข้าร่วม และมีการแสดงร่วมกันของเพื่อแสดงให้เห็นว่าดนตรีมันไร้พรมแดน

ผมเองเข้าใจความรู้สึกของคนที่พูดอะไรที่เป็นอุดมคติครับ และรู้สึกที่สิ่งที่คุณทอดด์แกพูดแกไม่ได้ตอแหล (แบบพวกอ้างศีลธรรม) ผมรู้สึกได้จากน้ำเสียงและการไหว้วอนขอให้ภาครัฐและกระทรวงวัฒนธรรมหันมาสนใจ ทำให้รู้สึกว่าแกมีความตั้งใจตรงนี้จริง ๆ

แต่ว่าอุดมคติที่สวยงามบางทีมันเป็นแค่สิ่งที่ฉาบเคลือบอะไรที่ยังแหว่งโหว่อยู่ภายใน ซึ่งมันยากที่จะชี้ตัวว่าความแหว่งโหว่นี้เป็นความผิดของใคร เรื่องนี้ผมจะพูดในภายหลัง ในตอนนี้ผมกำลังรู้สึกสนุกกับสิ่งที่ได้เห็นอยู่บนเวที ที่ลานของศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิร์ล

งานจำพวกศิลปินกับลานเบียร์นี้มีให้เห็นกันทั่วไป แต่สิ่งที่โดดเด่นในงานนี้คือวงดนตรีที่เข้าร่วม แน่นอนว่าผมไม่เคยได้ยินเพลงจากวงดนตรีของทวีปแอฟริกามาก่อน ถึงผมจะพอเดาทางได้จากอิทธิพลของดนตรีซึ่งส่งผ่านไปยังดนตรีของคนผิวสีแบบอื่น ๆ เช่น เร้กเก้, แจ็ซซ์ , ฟังค์ หรืออิเล็กโทรนิกบางจำพวก เนื่องจากดนตรีของชาวแอฟริกันโดดเด่นมากในส่วนของการให้จังหวะ (Rhythm Section)

และวง Yunasi วงจากประเทศเคนย่าที่มาเล่นในงานนี้ก็ทำได้น่าประทับใจ พวกเขาแสดงสดได้เยี่ยมและเอนเตอร์เทนคนดูได้อยู่หมัด ราวกับเคยผ่านเวทีประมาณนี้มานักต่อนักแล้ว ดนตรีของวง Yunasi ไม่เชิงเป็นแนวแอฟริกันดั้งเดิมเสียทีเดียว เพราะมันคือการผสมผสานกันของดนตรีสมัยใหม่โดยยังคงความเป็นแอฟริกันไว้ในส่วนของจังหวะเท่านั้นเอง ผมเคยลองฟัง Yunasi จากแหล่งอื่นครั้งหนึ่งก็พบว่าเสียงกีต้าร์ในเพลงนั้นสุดละม้ายคล้ายของเพลงเซิ้งภาคอิสานบ้านเราเหลือเกิน ขณะที่เสียงขลุ่ย (ซึ่งจริง ๆ มาจากเสียงคีย์บอร์ด) ในงานนี้ก็ไม่วายชวนให้นึกถึงเพลงพื้นบ้านของบ้านเราอยู่ดี

ตัวนักร้องของวง Yunasi บอกว่าดนตรีในบ้านเขามีไว้เฉลิมฉลอง เพลงของพวกจึงเต็มไปด้วยจังหวะเต้นรำสนุก ๆ วง Yunasi อาจเป็นแค่อีกวงหนึ่งที่นำเสนอความเป็นเคนย่าในแบบร่วมสมัย เพราะเคนย่าเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางดนตรีสูงมากแห่งหนึ่ง

 

การแสดงของวงต่อมาเป็นวงดนตรีจากชนเผ่าของไต้หวัน ผมไม่ทันได้ฟังเพลงแรก ๆ เพราะมัวไปดูการแจมกลองและเครื่องให้จังหวะในอีกมุมหนึ่ง จนเริ่มเมาจากเครื่องดนตรีเน้นจังหวะทั้งหลายแล้วจึงวกกลับมาดูเวที

ประเทศไต้หวันก่อนหน้าการเข้ามาของชาวจีนแผ่นดินใหญ่ มีชาวพื้นเมืองอาศัยอยู่หลายสิบกลุ่ม ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีเชื้อสายออสโตรเนเชี่ยน คือเชื้อสายของหมู่เกาะมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้อย่างชาวอินโดนีเซีย หรือ ฟิลิปปินส์ พวกเขาต้องต่อสู้ขับเคี่ยวเพื่อรักษาอัตลักษณ์ของตนไว้ในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา

ในแง่ของดนตรีแล้ว ชาวพื้นเมืองของไต้หวันมีบทบาทในวงการดนตรีป็อบของไต้หวันอย่างมาก แต่ก็ในแง่ของดนตรีป็อบแบบเต็ม ๆ ล่ะครับ เช่น นักร้องสาวที่ชื่อ A-mei ที่ร้องเพลงด้วยภาษาจีนกลาง ส่วนดนตรีของชนเผ่าไต้หวันที่นำมาแสดงในงานนี้ พอผมได้ฟังเมโลดี้จากเสียงร้องของเขาแล้วก็พาลนึกถึงดนตรีพื้นบ้านของชนเผ่าที่ราบสูงทางภาคเหนือ (ซึ่งผมมีโอกาสได้ฟังสดหลายครั้งมาก ส่วนใหญ่ในงานที่จัดเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยเรื่องพม่า) ขึ้นมาอย่างช่วยไม่ได้

แน่ละว่าดนตรีพื้นบ้านหลายพื้นที่ในโลกอาจมีลักษณะบางอย่างร่วมกันอยู่ เนื่องจากมนุษย์แม้จะอยู่ในต่างวัฒนธรรมกันแต่ก็ล้วนมีความรู้สึกบางอย่างในแบบของมนุษย์ทั่วไปที่แสดงออกผ่านศิลปะที่เรียกว่าดนตรี แต่ลึก ๆ แล้วผมเชื่อว่ามันต้องมีจุดต่างที่เป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละวัฒนธรรมอยู่

เวลาเราพูดถึงดนตรีที่เป็นพื้นฐานของโลกแล้ว มักจะมีแต่คนพูดถึงดนตรีคลาสสิก เนื่องจากประวัติศาสตร์ของดนตรีทางตะวันตกถูกรวบรวมมาสอนกันแบบนี้ (และผมเองก็ยอมรับว่าเรียนรู้ทฤษฎีอะไรหลายอย่างจากดนตรีคลาสสิกเหมือนกัน) อาจมีนักวิชาการบางสายที่เน้นไปศึกษาเรื่องดนตรีของชนเผ่าพวก Ethnic music อยู่บ้าง และมีบางคนที่เน้นพูดถึงชนชาวแอฟริกันในแง่ของความเป็นต้นธารอารยธรรมทางดนตรีที่แท้จริง (บางคนเสนอว่าจังหวะร็อคไม่ได้เพิ่งจะมีในศตวรรษที่ผ่านมา แต่มีมาตั้งแต่ชนชาวแอฟริกันรู้จักเคาะจังหวะกันแล้ว)

โดยส่วนตัวผมไม่ค่อยชอบคำว่า World music หรือ Ethnic music เท่าไหร่ คำว่า World music (ที่แปลตรงตัวว่าดนตรีโลก) มันเหมือนเป็นคำที่วงการป็อบตะวันตกคิดมาเพื่อใช้เรียกดนตรีอะไรสักอย่างที่พวกเขาไม่เคยรู้จัก และส่วนใหญ่จะเป็นดนตรีพื้นบ้าน ไม่ก็ป็อบที่มีอิทธิพลจากดนตรีพื้นบ้าน ขณะที่คำว่า โฟล์ค (Folk) กลับถูกใช้เรียกดนตรีพื้นบ้านยุโรปเสียมากกว่า

แต่ผมเชื่อว่าดนตรีมันไม่ได้มาจากที่ใดอื่นไกลนอกจากอะไรพื้น ๆ รอบตัวมนุษย์ ดนตรีป็อบหลายแขนงซึ่งปัจจุบันมีชื่อเรียกเป็นร้อยเป็นพัน มีพื้นฐานมาจากดนตรีพื้นบ้านทั้งนั้น และการเรียกว่า World music พูดตรง ๆ คือมันเหมือนการบรรจุหีบห่อแบบเอ็กโซติก (Exotic) เข้าไปแบบเหมารวม แล้วไม่ได้ให้ความสำคัญกับอัตลักษณ์เฉพาะของมันจริง ๆ

(...เอาง่าย ๆ มันเหมือนกับเวลาที่ชาวต่างชาติบอกว่าไอ่พวกคนจีน คนญี่ปุ่น คนพม่า นี้หน้าตาเหมือนกันไปหมด เรียกว่าเป็น World Faces ซะดีไหม)

ดนตรีบลูส์ (Blues) มันก็คือดนตรีพื้นบ้านของทาสผิวดำพลัดถิ่นที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเรื่อย ๆ จนกลายเป็นดนตรีที่ไม่ได้เล่นแต่กับในหมู่คนผิวดำอีกต่อไป ทั้งยังกลายเป็นพื้นฐานของดนตรีแนวอื่น ๆ ส่วนดนตรีพวกเรกเก้ และสกา ก็พัฒนามาจากดนตรีพื้นบ้านของจาไมก้าที่เรียกว่าเมนโต (Mento)

ขณะที่คำว่า Ethnic music อาจใช้อธิบายดนตรีของชนกลุ่มน้อยได้ แต่ในระยะยาวมันจะกลายเป็นการแบ่งดนตรีพื้นเมืองของพวกเขาออกจากดนตรีพื้นเมืองของ 'ชนกลุ่มใหญ่' เสียเปล่า ๆ ผมอาจคิดแบบโหดร้ายต่อผู้นิยมรักษาอัตลักษณ์ดั้งเดิมไปเสียหน่อยว่า ในความเป้นจริงแล้วดนตรีพวกนี้ควรถูกทำให้ป็อบหรือปรับเข้ากับดนตรีร่วมสมัยให้ได้

ผมก็เป็นคนที่ไม่ได้คิดว่า เราควรรักษาความเป็นพื้นบ้านอะไรเอาไว้แบบแช่แข็ง อย่างที่ผมเปรยไว้ก่อนหน้านี้ ถ้าคนผิวสียังคงแช่แข็งบลูส์เอาไว้ ป่านนี้เราคงไม่มีแจ็ซซ์ให้ฟัง และแม้ดนตรีป็อบตะวันตก อย่างพวกร็อค หรือแดนซ์ จะมีอิทธิพลอย่างมากทั่วโลก แต่ผมเชื่อว่าตัวดนตรีป็อบในแต่ละประเทศเองก็มีคาแรกเตอร์ของมันอยู่ และตรงจุดนี้แหละคือความไร้พรมแดนที่แท้จริง

(...จุดนี้ขออภัยด้วยที่ผู้เขียนยังหาคำอธิบายเป็นทฤษฎี หรือเป็นคำพูดไม่ได้ว่ามันมีลักษณะเฉพาะยังไง แต่เชื่อว่าส่วนหนึ่งมันมาจากความเป็นโฟล์คในตัวของทุกคนนั่นแหละครับ)

ผู้ขึ้นเวทีรายต่อไปคือหลวงไก่ นักร้องลูกทุ่งจากภาคใต้ เป็นตัวแทนของประเทศไทยในวันนี้ อาจเป็นเพราะช่วงเวทีของเขาเป็นช่วงเวลาที่ดึกไปหน่อย และพบเจอกับวัฒนธรรมคนดูที่แตกต่าง ทำให้หลวงไก่ดูตื่นเวทีไปนิด ความพยายามแสดงให้เห็นวัฒนธรรมพื้นบ้านอย่างเพลงหนังตะลุง ก็ดูไม่สามารถสื่อสารกับผู้ชมได้มากนัก และโดยส่วนตัวผมคิดว่า การจะแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมไทย ไม่จำเป็นต้องใช้เพลงพื้นบ้านขนาดนั้นก็ได้

แต่ต่อมาหลวงไก่ก็กลับมากับดนตรีลูกทุ่งร่วมสมัยแบบไทย ๆ ในเพลงดังที่ชื่อ "ขวัญใจพี่หลวง" ซึ่งผมว่านี่แหละคือความเป็นไทยในระดับของวัฒนธรรมมวลชนจริง ๆ และเรื่องการแสดงดนตรีสดแง่มุมทางวัฒนธรรมของมันไม่ได้มีแต่เรื่องดนตรีอย่างเดียว การสื่อสาร ทักทาย หรือเอนเตอร์เทนคนดู ก็เป็นส่วนหนึ่ง

หลวงไก่และวงพยายามเอนเตอร์เทนคนดูด้วยการทักทายและปล่อยมุขกันแบบตลกคาเฟ่ แต่ในงานที่ครึ่งหนึ่งเป็นชาวต่างชาติและกลุ่มคนดูที่เป็นชนชั้นกลางในเมือง เสียงตอบรับจึงเป็นความเงียบ ตรงนี้ผมแอบคิดเองเออเองว่าไม่ใช่ว่ามุขเขาไม่ขำ แต่คงเป็นเรื่องของกลุ่มคนดูเองที่ไม่ได้แสดงปฏิสัมพันธ์กับเวที

ตรงนี้หลวงไก่แกถึงขั้นแสดงความน้อยใจ เปรย ๆ ว่าได้มาแสดงเวทีแบบนี้เป็นครั้งแรก ทุกครั้งเคยแต่ไปแสดงในงานวัดให้คนที่กินเหล้าขาว ไม่เคยมาแสดงในลานเบียร์แบบนี้

แต่ชีวิตคือ เดอะ โชว์ มัสโก ออน แกยังคงไม่เลิกปล่อยมุขแม้จะไม่มีปฏิกิริยาตอบรับมากนัก (ผมเห็นมีวัยรุ่นบางกลุ่มดูเชียร์ ๆ แกอยู่) และต่อด้วยการคัฟเวอร์เพลงของเสือ ธนพล ซึ่งคนที่ผ่าน "18 ฝน" มาแล้วคงคุ้นเคยดี

จบงานในคืนนี้แม้ว่าดนตรีต่างชาติ ต่างภาษา จะสามารถข้ามผ่านพรมแดนของผู้ฟังในคนละซีกโลกได้ ผมอาจจะยินดีกับการที่ผู้จัดสนใจศิลปินเป็น Mass อย่างหลวงไก่ นำมาขึ้นเวทีเดียวกับศิลปินหลากหลายชาติ แต่ขณะเดียวกันก็ยังคงมีพรมแดนบางอย่างในระดับของกลุ่มผู้ฟังที่ท้าทายให้ก้าวข้าม

พรมแดนทางรสนิยมยังคงบดบังให้ผู้ฟังดนตรีคลาสสิคหลายคนดูถูกดนตรีป็อบ ผู้ฟังดนตรีป็อบกระแสหลักทับถมดนตรีป็อบกระแสรอง เหล่าผู้ฟังกระแสรองก็เดียจฉันท์กระแสหลักเป็นการตอบโต้

ผมออกจากลานที่เต็มไปด้วยการสังสรรค์ของแสงสีที่หลากหลาย มานั่งครุ่นคิดถึงโลกความจริง

...คลอด้วยเสียงเพลงโฆษณาในรถไฟฟ้า ที่ให้ความรู้สึกต่างจากจังหวะกลองแอฟริกันโดยสิ้นเชิง

สุดท้ายนี้ก็ขอเก็บบรรยากาศงานวันแรกมาฝากกันหน่อย
ต้องขออภัยด้วยที่คุณภาพไม่ดีเท่าไหร่ทั้งจากคุณภาพกล้องและฝีมือคนถ่ายเอง

(...ช่วงท้าย ปลาย ๆ นาทีที่ 2 มีเซอร์ไพรซ์ ...This is it!!)
 

My Private Radio : จุดยืนเรื่อง GT 200 และโซล - ดิสโก้?

 

กลับมาอีกครั้งกับรายการวิทยุส่วนตัวของผมครับ :-)
 
GT 200 กับเพลงโซล – ดิสโก้ ดูมันไม่เกี่ยวกันเลย แต่มันก็มาอยู่ในรายการนี้กันได้ซะงั้น
 
เชิญฟัง และติ-ชมกันได้ครับ
 
 
 
 
 

รายการวิทยุออนไลน์ส่วนตัวของผม...

ผมกำลังสนุกกับของเล่นชิ้นใหม่อยู่ครับ...

ของเล่นชิ้นที่ว่า คือการทำรายการวิทยุออนไลน์ของตัวเองครับ

เซ็กส์ในวรรณกรรมเปลื้องผ้าของโมราเวีย

นายยืนยง

 

ชื่อหนังสือ : คนรักผู้โชคร้าย

ผู้แต่ง : อัลแบร์โต โมราเวีย

ผู้แปล : ธนพัฒน์

ประเภท : เรื่องสั้นแปล

จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์เคล็ดไทย พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2535

 

คุณนายดัลโลเวย์ นวนิยายที่ท้าทายผู้อ่านอย่างล้ำเหลือ



ชื่อหนังสือ
:
คุณนายดัลโลเวย์ (Mrs. Dalloway)

ผู้แต่ง : เวอร์จิเนีย วูล์ฟ

ผู้แปล : ดลสิทธิ์ บางคมบาง

ประเภท : นวนิยายแปล

จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ชมนาด พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2550

The devil wear of prada นางมารสวมปราด้า

16 January, 2010 - 22:04 -- moodang

The devil wear of prada

นางมารสวมปราด้า

 

          "The devil wear of prada ดูละครย้อนดูตัวเอง ชีวิตการงานเร่งรีบกระโดดเร้าเข้ามาเหยงๆ อย่างกะกุ้งเต้น เจ้านายจู้จี้ขี้บ่น ทำได้ไหม ทำไม เอาอันนี้มาหน่อย แบบนี้สิดี ไม่เอาไม่เหมาะ พระเจ้า และเราจะจัดการได้อย่างไร หนังเรื่องนี้มีคำตอบและจะสามารถค้นพบตัวเองเป็นหนังในฝันของผมที่อยากเอามาแบ่งปันแม้นานแค่ไหนนะครับ  เพราะดูยังไงก็ไม่เบื่อครับ"

ปล.เจ้านายคุณเป็นคนยังไงครับ ลองถามและมาเทียบกับหนังดูดีกว่านะครับ เผื่ออ่านแล้วลองนึกถึงเจ้านายแล้วคุณจะรู้อะไรดีๆๆ

 

ภาพจาก www.kapook.com

     "แค่นี่แหละ"  มิแรนด้า พรีสท์ลี่ นายหญิงของทุกคนในนิตยสาร run way ชอบพูดเป็นเพียงประโยคสั้น แต่ก็เป็นอันรู้ดีว่านายหญิงของเราเริ่มไม่พอใจ ประสมเบ้ปากเล็กน้อยนี่แปลว่า ผลงานที่ออกมานั้นห่วยสุดๆไปเลย

ภาพจาก www.sanook.com

เนื้อเรื่องโดยย่อๆ 

แอนเดรีย แซคส์ เป็นเหมือนนักศึกษาจบใหม่ทั่วไป ที่ต้องออกตระเวนสมัครงานไปตามที่ต่างๆ เนื่องจากแอนเดรียมีความฝันอยากทำงานเป็นนักหนังสือพิมพ์ เธอจึงส่งจดหมายสมัครงานไปยังสำนักพิมพ์ต่างๆ หลายแห่ง แต่โชคร้ายที่ไม่มีแห่งใดตอบรับเธอกลับมาเลย

วันหนึ่ง แอนเดรียก็ได้รับแจ้งเรียกตัวเข้ารับการสอบสัมภาษณ์จากสำนักพิมพ์ยักษ์ใหญ๋ อีเลียส คลาร์กส ซึ่งเป็นเจ้าของนิตยสารและวารสารขายดีหลายฉบับ แอนเดรียตื่นเต้นเป็นอย่างมาก แต่เมื่อเธอไปถึง ก็ได้พบว่างานที่ถูกเรียกมาสัมภาษณ์นั้น เป็นตำแหน่งงานผู้ช่วยของมิแรนด้า พรีสท์ลี่ บรรณาธิการบริหารของนิตยสารแฟชั่นอันดับ 1 อย่างรันเวย์ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นตำแหน่งที่หญิงสาวนับล้านคนยอมทำทุกอย่างเพื่อให้ได้มา แอนเดรียซึ่งไม่เคยสนใจในเรื่องแฟชั่นมาก่อน ถึงกับหมดหวังที่จะผ่านการสอบสัมภาษณ์ แต่ทว่าความแตกต่าง ไม่เหมือนใครของเธอ กลับทำให้มิแรนด้าสนใจ และตกลงรับเธอเข้าทำงาน

แอนเดรียดีใจที่ได้งาน แต่แล้วเธอก็ได้รู้ว่าฝันร้ายเพิ่งจะเริ่มขึ้นเท่านั้น เมื่อตำแหน่งงานผู้ช่วยนี้ ทำให้เธอแทบจะไม่มีเวลาเป็นของตนเอง นอกจากนี้เธอยังต้องคอยทำงานทุกอย่างที่มิแรนด้าส่งมาให้ ไม่ว่างานนั้นจะเกี่ยวกับงาน หรือเรื่องส่วนตัวของมิแรนด้า

อย่างไรก็ตาม แอนเดรียได้เรียนรู้ว่า การทำงานในวงการแฟชั่นนั้น แม้ภายนอกจะดูสวยงาม เลิศหรู แต่เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งเหล่านี้ กลุ่มคนที่ทำงานอยู่เบื้องหลัง ล้วนแต่ต้องใช้ความพยายาม และความทุ่มเทอย่างเต็มที่ เพื่อให้ได้ผลงานที่มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับออกมา ความร้ายกาจ ความเข้มงวด ความจุกจิกจู้จี้ และเอาแต่ใจจนดูเหมือนไร้เหตุผลของมิแรนด้า กลับเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้นิตยสารอย่างรันเวย์ ยังคงครองความนิยมเป็นอันดับ 1 อยู่ได้

แต่แอนเดรียจะทำอย่างไร เมื่องานในวงการแฟชั่น ไม่ได้ต้องการแค่คนตั้งใจทำงานเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีทั้งความทุ่มเท และจิตใจที่มุ่งมั่นและรักในงานแฟชั่นอย่างจริงจัง

ภาพจาก http://i725.photobucket.com

ตัวละครของเรื่องหลากหลายบุคลิก

ภาพจากhttp://testsuto.exteen.com

  • แอนเดรีย แซคส์ - รับบทโดยแอนน์ แฮททาเวย์  หญิงสาวจบใหม่ไฟแรงมุ่งมั่น สมัครงานหลายที่ท้ายสุดมาได้เป็นผู้ช่วยมิรันด้า เจ้าแม่วงการแฟชั่นอีกนัยหนึ่งก็เป็นนางมากแห่งวงการแฟชั่น ผู้ที่จู้จี้ขี้บ่น เอาแต่ใจอย่างสุดชีวิต  แต่แอนเดรีย หรือ ที่มิรันด้ามักเรียกผู้ช่วยว่า เอมิลี่ที่คล้ายคนรับใช้ ถึงเวลาปรับตัวขนาดใหญ่จากชีวิตธรรมดา สู่สาวแฟชั่นบ้างาน ใส่ชุดสวยๆ เฉิดฉายไปในงานแฟชั่น มีผู้ชายรุมล้อม แต่ท้ายสุดชีวิตรักเริ่มล้มเหลว แอนเดรียเองจึงมาคิดไตร่ตรองใหม่

    ภาพจาก www.mthai.com

  • มิแรนด้า พรีสท์ลี่ - รับบทโดย เมอรีล สตรีป แม่นายของเหล่าลูกน้อง ผู้ทรหดบ้างาน ละเอียดยิบทุกกระบวนการ แม้เรื่องส่วนตัว ประโยคเด็ดคือ แค่นี้แหละ ที่แปลว่าพอแล้วทำเลย หรือ ทุกอย่างจบ แต่เชื่อใหมเจ้าแม่วงการแฟชั่นเบื้องหลังความสวยงามทันสมัย เธอร้องไห้ทุกคืน เพราะปัญหาครอบครัวที่แต่งและเลิกอยู่เป็นประจำ ประโยคหนึ่งที่เธอกับแอนเดรียเหมือนไนเจลพูดคือ "ชีวิตความรักล่วงหรือยัง ครอบครัวล่มสลายหรือยัง นั่นแหละเป็นสัญญาณว่าเธอจะเจริญก้าวหน้า แต่ท้ายสุดมิรันด้ายังคงยืนภายใต้สายผู้คนยิ้มตลอดเวลาเมื่อเข้าสังคม"

    ภาพจาก http://www.bloggang.com/data/aorta

  • เอมิลี่ ชาร์ลสตัน - รับบทโดย อมิลี่ บลันท์  เลขาเบอร์ 1 ที่มุ่งมั่นทะเยอทะยาน การแต่งตัวต้องมาเป็นที่ 1 การแต่งตัวห่วยเป็นสิ่งที่รับไม่ได้ เพื่อไปงานประจำปีที่ฝรั่งเศสยอมอดข้าว อดอาหาร เพราะเธอบอกว่าถ้าได้ไปสิ่งนี้จะเป็นการกรุยทางไปงานอื่นๆ แต่ท้ายสุดทุกอย่างพับ เมื่อเธอโดนรถชนกระจุย 555

    ภาพจาก www.siamcomic.com

  • ไนเจล - รับบทโดย สแตนลีย์ ทุชชี  ไนเจลผู้ชายแสนวิเศษแห่งนิตยสารคนที่มิรันด้า ให้ความไว้ใจ จากประวัติไนเจลเขาบอกว่า พ่อแม่ฉัยบังคับฉันซ็อมบอล แต่เธอเชื่อไหมกลางดึก พี่น้องผู้ชาย 2 คนแอบอ่านนิยสารแฟชั่น เพราะนี่คือความฝันของฉัน ฉันรู้ว่ามาที่นี่เพราะอะไร นี่ความมุ่งมั่นที่แรงกล้าและการที่เขาอยากจะเป็นของไนเจล แต่เมื่อผิดหวังไนเจลบอกว่า "ทุกคนต้องชดใช้ให้ฉัน"

    แล้วท้ายสุดของเรื่อง

              เอ ทุกคนครับ เราคล้ายหนังเรื่องนางมารสวมปราด้าไหม!!!  คนที่โชคดีบางคนบอกผมว่าไม่คล้ายนะเราสบายๆๆ แต่บางคนบอกผมว่าเรื่องนี้ตรงเลยกับชีวิตที่เป็นอยู่การทำงานทุกวันนี้ โดนจิกๆๆ ไปเรื่อยๆๆ แล้วผมเองก็ดูหนังแล้วมองย้อนดูตัวเอง สมมุติว่า กรุงเทพนี่เป็นนิวยอร์ก เจ้านายใครบางคนเป็นมิรันด้า ผมหรือคุณที่เป็น แอนเดรีย และเพื่อนของเราที่เป็นเช่นไนเจล หรือคนอื่นๆ มันคล้ายนะครับ เหมือนชีวิตกระโดดจากจอหนังมาชีวิตจริง แต่อยากจะบอกว่าคนเรานะครับ ท้ายก่อนจบหนังมันสอนผมว่า "การที่เราทำอะไรคงต้องเลือกจากใจที่อยากทำจริงๆ แม้ใหหนังบอกว่าเวลาแค่ปีเดียวที่ใครก็ตามผ่าน run way ไปได้แปลว่าได้งานทุกที่ แต่แอนเดรียใกล้แล้วแท้ๆ ก็ไม่เอา เพราะอะไรหละครับ เพราะแอนเดรียเขาเลือกตัวเขาอย่างไม่หลงลืมตัว และไปอยู่กับสิ่งที่เขารัก เอาเป็นว่าอนาคตอยู่ที่ตัวเราการก้าวไปข้างหน้าก็อยู่ที่ตัวเรา เพียงเรายังมั่นคง ตัวอย่างการเปลี่ยนงานของผมบางครั้งผมกลัวนั่น กลัวนี่ ทุกครั้งผมจะหยิบหนังเรื่องนี้มาดูและสอนผมทุกครั้งครับ

    ภาพจากwww.siamcomic.com

สารคดีปลอดมลพิษ

นายยืนยง


ชื่อหนังสือ
:
จำปาขาว ลาวหอม (ลาวใต้,ลาวเหนือ)

ผู้แต่ง : รวงทอง จันดา

ประเภท : สารคดี

จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ทางช้างเผือก พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2552

ยินดีต้อนรับสู่พุทธศักราช 2553

ถึงวันนี้อารมณ์ชื่นมื่นแบบงานฉลองปีใหม่ยังทอดอาลัยอยู่ อีกไม่ช้าคงค่อยจางหายไปเมื่อต้องกลับสู่ภาวะของการทำงาน

Pages

Subscribe to บันเทิง