Skip to main content
  ต้อนรับสู่คลื่นแห่งความสุข คลื่นยินดี 92.25 G3 Happy Wave ออนไลน์สดๆ เห็นหน้าจะๆ ได้ที่ www.lannafm.com sms พิมพ์ fm9225 เว้นวรรคตามด้วยเพลงแล้วส่งมาได้ที่ 4545111  
หัวไม้ story
ในฐานะที่กระแสรางวัลซีไรต์ปีนี้ช่างแผ่วเบา เราจึงขอกระตุ้น ยั่วยวน ให้หันมองด้วยงานวิจารณ์ของ “นายยืนยง” ซึ่งยืนยันกับการชื่นชม “วิญญาณที่ถูกเนรเทศ” เล่มหนึ่งที่เข้ารอบสุดท้าย ไม่ว่าใครจะครหาอย่างไรก็ตาม         ชื่อหนังสือ         :           วิญญาณที่ถูกเนรเทศ ผู้เขียน              :           วิมล ไทรนิ่มนวล จัดพิมพ์โดย       :           สำนักพิมพ์สามัญชน      พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม 2552  
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : ถอดรหัสอ่านเร็ว HI-SPEED READING ผู้แต่ง : ลุงไอน์สไตน์ พิมพ์ครั้งที่ 1 : สำนักพิมพ์บิสคิต ตุลาคม 2551
The Thin Red Line
กรกช เพียงใจ     ใครบางคนบอกว่า “ข้อเท็จจริง” (fact) นั้นแตกต่างจาก “ความจริง” (truth) บันทึกนี้จึงอาจกล่าวอ้างได้เพียงว่า มันเป็นส่วนหนึ่งของข้อเท็จจริงอันมากมายมหาศาล แต่ก็คือทั้งหมดที่ฉันเห็น สังเกต และรู้สึก ในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง มนุษย์ผู้ไม่ได้ไปอยู่ ณ จุดปะทะสำคัญใดๆ กับเขาเลย หากใครคาดหวังเช่นนั้น ขออภัยล่วงหน้า ....   - - - - - - - - - - - -     วันที่ 14 เมษายน 2552     ฉันกลับไปพักที่บ้านพี่สาวคนเดิม ได้นอนเต็มอิ่ม ตื่นอีกทีสายมากแล้วและดูข่าวทีวีเห็นว่าที่ทำเนียบฯ ประกาศยุติและสลายการชุมนุม เพื่อความปลอดภัยของผู้ชุมนุม กล้องจับไปที่ใบหน้าณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ซึ่งดูออกอาการกว่าคนอื่นๆ มีรอยยิ้มแบบฝืนๆ บนใบหน้า   ฉันรีบเดินทางมายังทำเนียบรัฐบาล แต่เข้าไม่ได้ และไปติดอยู่แถวสี่แยกวังแดง ซึ่งมีทั้งตำรวจ และทหารกั้น ผู้คนเริ่มหนาตาขึ้นเรื่อยๆ ในบริเวณนั้น มีรถกระบะติดลำโพงของใครไม่รู้กำลังกล่าวโจมตีทหารที่เพิ่งนั่งรถจีเอ็มซีผ่านฝูงชนที่กำลังก่อตัวไป โดยยิงปืนขึ้นฟ้า 2 นัด ทำให้ชาวบ้านไม่พอใจอย่างมาก พวกเขาเก็บปลอกกระสุนได้และนำมาให้นักข่าวบางส่วนที่อยู่บริเวณนั้นดู   จากนั้นชาวบ้านก็ผลัดกันขึ้นปราศรัย เรียกร้องให้ทหารกลับเข้ากรมกอง และนำรัฐธรรมนูญ 40 มาใช้ น่าสังเกตว่าพวกเขาประกาศตัวว่าเป็นชาวบ้านธรรมดา และไม่ใช่สีอะไรทั้งนั้น แต่ทนไม่ได้กับความอยุติธรรม   หลายต่อหลายคนดูท่าทางเป็นคนชั้นกลางที่ทำมาค้าขายอยู่แถวนั้น ประกอบกับคนอื่นๆ ที่มาสบทบกันมากขึ้นเรื่อย กระทั่งกลายเป็นการชุมนุมย่อมๆ อีกจุดหนึ่ง   ฉันเดินไปที่รั้วกั้นระหว่างทหารกับชาวบ้าน พบกลุ่มผู้หญิงทั้งสูงและไม่สูงวัยกำลังโวยวายกับตำรวจซึ่งยืนอยู่ด่านหน้า และตะโกนต่อว่า (และด่าทอ) ไปถึงทหาร ซึ่งยืนอยู่ถัดไปด้านใน   “ยิงป้าเลยลูก ยิงเลย หนูจะได้เลื่อนขั้นเร็ว จะได้เป็นนายพล” ป้าคนหนึ่งตะโกนโบกไม้โบกมือเรียกทหารยิงตนเอง   “บ้านเมืองกำลังจะชิบหายหมดแล้ว เพราะพวกคุณทำสองมาตรฐานมาตลอด ประชาชนไม่โง่อย่าคิดว่าเขาไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจว่าผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองเขาทำอะไรอยู่ เขาทนดูได้ยังไง” หญิงสาวคนหนึ่งพูดทั้งร้องไห้ตลอดเวลาด้วยความคับแค้นและเป็นห่วงแม่ เธอต่อว่าผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองและสื่อมวลชนจนไม่เหลือชิ้นดี ดูลักษณะก็รู้ได้ไม่ยากว่าเป็นคนชั้นกลางค่อนข้างมีเงิน   เธอเล่าว่าแม่เธออายุ 60 กว่า เข้าไปชุมนุมกับกลุ่มเสื้อแดงที่ทำเนียบฯ และไม่ได้เอามือถือเข้าไปเพราะใช้ไม่เป็น และแม่เธอก็ยืนยันว่าอยู่กับเสื้อแดงไม่อันตราย ไม่ต้องห่วง และถึงตอนนี้เธอติดต่อกับแม่ไม่ได้ตั้งแต่เมื่อคืน เข้าไปในที่ชุมนุมก็ไม่ได้ จึงรู้สึกเป็นห่วงมาก   ท้ายที่สุด รถปราศรัยประกาศขอให้ตำรวจ ทหารเปิดทางให้รถและตัวแทนเข้าไปส่งข้าวส่งน้ำคนข้างใน เพราะรู้มาว่าอาหารและน้ำกำลังขาดแคลน เจ้าหน้าที่พยายามบอกว่าที่ทำเนียบฯ ประกาศสลายการชุมนุมแล้ว แต่พวกเขาไม่เชื่อ และยืนยันว่าขอเข้าไปดูเอง   “เราไม่เชื่อถือข่าวจากใครอีกแล้ว” ชายคนหนึ่งตะโกน มีการเจรจาต่อรองกันพักหนึ่ง แล้วเจ้าหน้าที่ต้องยอมให้รถกระบะพร้อมตัวแทนเข้าไปได้ โดยคนที่จะเข้าไปต้องให้เจ้าหน้าที่ค้นตัว หญิงสาวคนที่กำลังตามหาแม่ กระโดดขึ้นไปอยู่บนรถกับเขาด้วย เธอยกมือไหว้เจ้าหน้าที่ขณะที่รถกระบะเคลื่อนเข้าไปด้านใน ส่วนคนที่เหลือยังปักหลักชุมนุมอยู่ที่เดิมไม่ยอมสลายตัว   ฉันติดอยู่ตรงนั้นค่อนข้างนาน เพราะดูเหมือนจะเป็นจุดที่เริ่มใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และไม่ยอมสลายแม้เวทีกลางจะประกาศสลายตัวนานแล้ว กว่าจะเดินเข้ามาถึงลานพระบรมรูปทรงม้าได้ ปรากฏว่าผู้ชุมนุมที่ทำเนียบฯ ทยอยกลับบ้านกันไปมากแล้ว มีเพียงบางส่วนนั่งจับกลุ่มรอขึ้นรถบัสที่รัฐบาลเตรียมไว้ให้   ฉันเดินเข้าไปพูดคุยกับหญิงสาวคู่หนึ่งที่ยืนอยู่ด้วยกัน คนหนึ่งตาแดงๆ เหมือนเพิ่งผ่านการร้องไห้ และเพียงเอ่ยปากถามถึงความรู้สึกเท่านั้น ทุกอย่างก็พรั่งพรู เธอดูคับแค้นใจกับการปิดล้อมของทหารมาก และกล้ำกลืนกับการที่ต้องต่อแถวเพื่อให้ทหารถ่ายรูปพร้อมกับชูบัตรประชาชนทีละคนๆ ก่อนจะออกจากพื้นที่ชุมนุมได้   “มันเจ็บใจ เราเป็นคนไทยคนนึง ทำกับเราเหมือนเป็นอาชญากร ผู้หญิงตัวเล็กๆ ไม่มีอะไรเลยเดินผ่านทหารเป็นร้อยคน แล้วถ่ายรูป ทำกับเราเหมือนเป็นผู้ร้าย แล้วทำไมให้ใส่ชุดทหารมายิงพวกเราได้ ไม่คิดอะไร...ที่เจ็บใจ ที่ร้องไห้ เพราะศักดิ์ของความเป็นคนของเรามันอยู่ตรงไหน”    “ถ้าเค้าจะปราบเราก็ยอม เราไม่ได้ทำอะไรผิด เราแค่มาปกป้องสิทธิและเสรีภาพของเรา เราไม่ได้ไปปล้น ไปจี้ ไปชิงใคร พันธมิตรฯ ฆ่าคนตายไม่จัดการอะไรเลย เราไม่ได้ทำอะไรใครแถมถูกใส่ร้ายสารพัด แผ่นดินนี้เราเหยียบไม่ได้เหรอ เราทำอะไม่ได้เลยเหรอ”   อารมณ์ผู้คนในตอนนั้นมีหลากหลาย ตั้งแต่เฉยๆ ทำใจได้ เสียอกเสียใจ ไปจนกระทั่งคับแค้น จากการพูดคุยกับผู้คนที่เหลืออยู่บางส่วนในเวลานั้น ประเด็นสำคัญที่พวกเขาทั้งหมดพูดกันมากคือ เรื่อง 2 มาตรฐานในสังคมไทย การวิพากษ์วิจารณ์บทบาทของสื่อมวลชน โดยเฉพาะสื่อโทรทัศน์ ซึ่งไม่ได้หมายถึงการรายงานเพียงช่วง 2 -3 วันนั้นเท่านั้น แต่เป็นความเก็บกดมานานสำหรับคนเสื้อแดงซึ่งรู้สึกเหมือนตนเองเป็นพลเมืองชั้น 2 และการรายงานเหตุการณ์ในช่วงสงกรานต์นี้ดูจะเป็นฟางเส้นสุดท้ายสำหรับความอดทน ... ระหว่างกัน   ที่สำคัญคือ ข่าวลือเรื่องผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตในการสลายการชุมนุม การปะทะ ณ จุดต่างๆ โดยเฉพาะที่สามเหลี่ยมดินแดงตอนเช้ามืดวันที่ 13 เมษายน อันเป็นที่มาของคำว่า “สงกรานต์เลือด” ก็กระจายตัวและค้างคาในใจผู้คนจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ   0000     พี่ชายที่รู้จักอีกคนหนึ่งมายังที่ชุมนุมด้วย ฉันเจอเขาโดยบังเอิญและเล่าเรื่องราวให้เขาฟัง เขาพูดติดตลก แต่เป็นตลกร้ายว่า การกลับบ้านของพวกเสื้อแดงก็เหมือนหนังฮ่องกงที่ อู๋ม่งต๊ะ ชอบเล่นเป็นมาเฟีย แล้วมักมีบทที่โดนสั่งให้ลอดหว่างขาของศัตรูเพื่อเอาชีวิตรอด   “มันก็เหมือนกัน ถ้าคุณอยากกลับอย่างปลอดภัย ก็จงถอดเสื้อแดง ถ่ายรูป แล้วขึ้นรถศัตรูกลับบ้านไป ... ถอดศักดิ์ศรีของคุณซะ”   แม้ผู้คนจะทยอยกันกลับไปเยอะแล้ว แต่รถยนต์ยังต่อแถวยาวเพื่อตรวจค้นอาวุธทีละคันๆ ก่อนออกจากพื้นที่ แกนนำส่วนใหญ่ถูกคุมตัวไปไว้ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาลซึ่งอยู่ใกล้ๆ กันนั้นแล้ว คงเหลือแต่หมอเหวงที่ยืนประกาศอำนวยความสะดวกกับประชาชนอยู่บนรถเครื่องเสียงจนหยดสุดท้าย พร้อมเสียงที่เริ่มแหบแห้ง   จากนั้นเจ้าหน้าที่จึงคุมตัวหมอเหวงมาที่กองบัญชาการ โดยมีการ์ดคนหนึ่งถูกคุมตัวเดินมาด้วย ระหว่างทาง ป้าเสื้อแดงคนหนึ่งวิ่งหน้าตาตื่นเข้ามาถามว่า เกิดอะไรขึ้นกับหมอเหวง “เค้าจับหมอของเราแล้ว ป้า” การ์ดร่างใหญ่ตอบด้วยน้ำเสียงเหมือนจะร้องไห้   ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล นักข่าวรอทำข่าวที่นั่นเต็มไปหมด ฉันจึงออกจากพื้นที่นั้น มาดูสถานการณ์ที่วังแดงอีกครั้ง ที่นั่นคนเริ่มน้อยลงแต่ก็ยังคงมีเหนียวแน่นอยู่จำนวนหนึ่ง   พี่คนเดิมนำพาฉันไปเจอลุงไสวจากอุดรธานี ซึ่งนั่งอยู่ริมฟุตบาทแถวนั้น เจ๊ๆ ซึ่งดูเป็นชาวบ้านเจ้าถิ่นกำลังจัดแจงลงขันกันส่งค่ารถให้ลุง เมื่อฉันไปถึง ฉันควักให้เขาด้วย 100 รวมแล้วลุงได้เงินหลายร้อยบาทเป็นค่ารถกลับบ้าน   ลุงเล่าว่ามาชุมนุมกับกลุ่มคนรักอุดรมา 20 กว่าวันแล้ว และวันนี้เมื่อสลายการชุมนุมก็ต่างคนต่างกลับ ลุงกับลูกสาวตัวน้อยวัยไม่เกิน 6 ขวบตกค้างอยู่ที่นี่ และไม่มีค่ารถกลับบ้าน เงินที่เอามาพันกว่าบาทก็กินใช้ และซื้อเสื้อแดงจนหมดแล้ว เหลือแต่เพียงข้าวห่อติดตัวและเศษเงินอีกไม่กี่สิบบาท   “เราจะมากันใหม่ พวกบ้านผมเขาไม่ยอมเลย ถ้าหากไม่ได้ทักษิณกลับมาเขาไม่ยอม อยู่นี่กันหมดเพราะอะไร เพราะถ้าหากไม่น็อกกูไม่กลับบ้าน พวกแถวหมู่บ้านก็เอาข้าวมาให้ เป็นกระสอบๆ ทั้งสาด ทั้งหมอน เสื้อผมยังไม่มีซักตัวจะกลับบ้าน มีแต่เสื้อสีแดง ตัวนี้ (สีขาวที่ใส่อยู่) เขาก็ให้มา”   แท็กซี่คนหนึ่งที่อยู่ในวงรับอาสาจะไปส่งลุงไสวที่หมอชิต “ไปรถผมก็ได้ ผมขับแท็กซี่” ทุกคนอวยพรแก ฉันเขียนเบอร์โทรศัพท์ตัวเองยัดใส่มือแก เผื่อว่ามีปัญหาอะไรจะได้โทรบอก เราแยกย้ายกันไป และหลังจากนั้นพักใหญ่แกจึงโทรกลับมาบอกว่าได้ตั๋วรถเรียบร้อยแล้ว ขอบคุณทุกคนมาก ฉันรับคำขอบคุณนั้นไว้โดยไม่รู้จะไปบอกใครต่อ เพราะทุกคนแยกย้ายกันไปนานแล้วโดยที่ยังไม่ทันได้รู้จักกันด้วยซ้ำ     0000     มันเป็นบรรยากาศที่บอกไม่ถูกในเย็นวันนั้น แม้คนที่ไม่เห็นด้วยกับเสื้อแดงเลยก็น่าจะสัมผัสได้ถึงกลิ่นความเศร้าประหลาดๆ ของความไม่เท่าเทียม   ฉันกลับมายังโลกใบเดิมอีกครั้ง ในค่ำคืนที่ผู้คนเล่นน้ำสงกรานต์กันอย่างสนุกสนาน แม้เทียบกับปีก่อนแล้วจะดูเงียบเหงาไปมาก เพื่อนฝูงคนชั้นกลางบางคนพากันเงียบซึม บางคนตาแดงก่ำ ขณะที่บางคนโล่งอก กระทั่งก่นด่า สมน้ำหน้าคนเหล่านั้น   ฉันนึกถึงบรรดาคนต่างจังหวัดที่สละวันพบญาติปีนี้เพื่อมาเรียกร้องในสิ่งที่พวกเขาเชื่อ ต่อสู้เพื่อยืนยันสิทธิและเสรีภาพบางอย่าง เขาคงกำลังนั่งรถกลับบ้าน ระหว่างทางอันยาวนานสายนั้น...พวกเขากำลังครุ่นคิดถึงสิ่งใดกัน ...  
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ           :           824ผู้เขียน               :           งามพรรณ เวชชาชีวะประเภท              :           นวนิยาย  พิมพ์ครั้งที่ 2 มีนาคม 2552จัดพิมพ์โดย        :           เวิร์คพอยท์พับลิชชิ่ง จำกัด
Hit & Run
คุณ ลิเดีย กูวารา อาจไม่ได้มีความงามตามแบบฉบับสาวทั่วไป แต่ จากองค์ประกอบการจัดวาง การตกแต่ง อุปกรณ์เสริมคือแครอทเป็นเหมือนแถบคาดกระสุน รวมถึงการโพสท์ท่าของเธอ ทำให้ดูมีเสน่ห์ด้วยพลังของความเป็นชาย (masculine) ...แม้แครอทจะดูเล็ก ๆ เหี่ยว ๆ ไปหน่อยก็ตาม
สวนหนังสือ
ป่านนี้แล้ว (พ.ศ. 2552) ใครไม่เคยได้ยินเสียงขู่ หรือคำร้องขอเชิงคุกคามให้ร่วมชุบชูจิตวิญญาณสีเขียว ให้ร่วมรณรงค์ลดภาวะโลกร้อน ให้ตระหนักในปัญหาวิกฤตอาหารถาวร โดยเฉพาะปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้งหลาย ฉันว่าคุณคงมัวปลีกวิเวกนานเกินไปแล้ว
The Thin Red Line
กรกช เพียงใจ     ใครบางคนบอกว่า “ข้อเท็จจริง” (fact) นั้นแตกต่างจาก “ความจริง” (truth) บันทึกนี้จึงอาจกล่าวอ้างได้เพียงว่า มันเป็นส่วนหนึ่งของข้อเท็จจริงอันมากมายมหาศาล แต่ก็คือทั้งหมดที่ฉันเห็น สังเกต และรู้สึก ในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง มนุษย์ผู้ไม่ได้ไปอยู่ ณ จุดปะทะสำคัญใดๆ กับเขาเลย หากใครคาดหวังเช่นนั้น ขออภัยล่วงหน้า ....   - - - - - - - - - - - -       เย็นวันที่ 13 เมษายน 2552     บรรยากาศในช่วงบ่ายแก่จนถึงเย็นค่อนข้างตึงเครียด เพราะมีข่าวมาตลอดทั้งวันเกี่ยวกับการปราบปรามกลุ่มคนเสื้อแดงที่สามเหลี่ยมดินแดง บวกกับเกิดเหตุปะทะกันรุนแรงหลายจุดรอบนอกตลอดทั้งวัน ทั้งอุรุพงษ์ เพชรบุรี ขณะที่ทหารเริ่มเคลื่อนเข้ามาใกล้เพื่อปิดล้อมทำเนียบฯ   ข่าวต่างๆ ถูกเล่าปากต่อปากจากผู้เห็นเหตุการณ์ ขยายวงไปเรื่อย ถึงตอนนั้นฉันรู้สึกหวาดหวั่น และคาดเดาไม่ถูกว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้างในที่ที่ยืนอยู่   ผู้ปราศรัยประกาศตั้งแต่ช่วงบ่ายให้การ์ด ณ จุดรอบนอกมารวมที่ทำเนียบฯ เพราะการตั้งด่านสกัดด้วยคนจำนวนน้อยมีแต่เสี่ยงต่อการถูกสลาย ถูกโจมตีด้วยความรุนแรง เขาประกาศซ้ำอีกทีในช่วงเย็นบอกประชาชนว่าไม่ต้องตกใจ และขออาสาสมัครผู้หญิง 30 คน เพื่อเป็นด่านหน้าตั้งแผงสกัดทหารด้านแยกนางเลิ้ง แยกสวนมิสกวัน โดยจะมีครูประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ เป็นผู้นำไป             ไม่กี่นาที ด้านหลังเวทีคราคล่ำไปด้วยผู้หญิงโดยส่วนใหญ่เป็นวัย 40 ปีขึ้นไป น้าๆ ป้าๆ เหล่านี้ดูกระตือรือร้นและไม่มีแววตาหวาดหวั่น พวกเขาพยายามรับดอกกุหลาบแดงที่มีคนนำมาแจกเพื่อไปมอบให้ทหาร ขณะที่บนเวที ไพจิตร อักษรณรงค์ กำลังร้องเพลงดอกไม้ให้คุณขอมอบดอกไม้ในสวนนี้เพื่อมวลประชา อย่างไพเราะ   .......เป็นกำลังใจให้คุณ เป็นกำลังใจให้เธอ เป็นสิ่งเสนอให้คุณ....   แม้บรรยากาศจะดูสบายๆ ทุกคนพยายามช่วยกันรักษาที่มั่น แต่จิตใจของฉันกลับว้าวุ่น ณ เวลานั้นเราไม่รู้จริงๆ ว่าการปราบปรามจะเกิดขึ้นหรือไม่ และจะมีความรุนแรงเพียงใด ภาพข่าวทหารกับปืนเอ็มสิบหกที่เห็นมาทั้งวันไม่สามารถสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยได้เลย   ฉันเดินไปเดินมา เดินมาแล้วก็เดินไป โดยไม่รู้ว่าจะทำอะไรดี ด้านหลังเวทีเป็นแหล่งศูนย์รวมข่าวสารต่างๆ ที่ยิ่งทำให้อาการว้าวุ่นกลายสภาพเป็นฟุ้งซ่านได้ง่ายๆ โดยเฉพาะเมื่อแบตมือถือ และแบตกล้องดิจิตอลป๊อกแป๊กกำลังจะหมดลงพร้อมๆ กัน     0000     การ์ดตัวอ้วนคนหนึ่งวิ่งมาหลังเวที เพื่อแนะนำการจัดขบวนกับแกนนำ “พี่ช่วยประกาศบนเวทีหน่อย แบบนี้มันไม่ไหว เรามีคนเยอะแต่ทำอะไรไม่ได้เลย” เขาพยายามแนะนำให้แกนนำประกาศบนเวทีเพื่อแจ้งต่อการ์ดที่ตั้งด่านอยู่บริเวณรอบทำเนียบ โดยให้ทุกคนเอามือคล้องแขนกันและไม่ต้องวิ่งหนี และใช้นกหวีดเป็นสัญญาณ เนื่องจากสภาพที่เขาพบเจอคือเมื่อทหารประชิดเข้ามาทุกคนก็จะระดมขว้างปาสิ่งของต่างๆ แต่เมื่อมีการยิงปืนขึ้นฟ้าทุกคนก็วิ่งกันแตกกระเจิงไป   “ถ้าเราบอกว่าเราเป่าปี๊ดยาวๆ คือให้ทุกคนตั้งแถวคล้องแขนกันหลายๆ แถว พี่ตำรวจเขาบอกมาให้ยืนแบบนี้ (ทำท่าประกอบ) แล้วพอเป่าปี๊ดสั้นๆ ก็ให้เราถอย 3 ก้าว 5 ก้าวพร้อมๆ กัน อย่างนี้ยังจะพอทานไหว ไม่งั้นมันต่างคนต่างวิ่ง พอปืนดัง ข้างหลังวิ่งหมด ข้างหน้าก็ต้องวิ่งแล้ว” เขาพยายามอธิบายเป็นขั้นเป็นตอน และยังชักแม่น้ำทั้งห้ามารองรับได้อย่างใจเย็น   “พี่เข้าใจไหม มันก็เหมือนเกลียวเชือก ถ้าเกลียวเล็กๆ รวมๆ กันมันจะเป็นเชือกมะนิลา”   เขายังเล่าถึงเหตุการณ์เยื้องๆ กับแยกมิสกวัน ซึ่งจู่ๆ ก็มีคนขับเอารถเมล์มุ่งไปในกลุ่มทหารตรงแยกมิสกวันทำให้ทหารต้องกระโดดหลบ ทหารยิงรถเมล์คันนั้นจนพรุน และลากตัวคนขับเข้าไป แต่เขาตั้งข้อสังเกตว่ามันอาจเป็นการจัดฉากก็ได้ เพราะมีทหารใส่เสื้อแดงอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุมจำนวนมาก และการขับนั้นไม่ได้หมายพุ่งชนแต่ขับไปเร็วๆ แล้วก็จอดด้านหน้า เมื่อลากตัวคนขับมาได้ทหารก็โวยวายๆ ใส่ จากนั้นก็คุมตัวหายเข้าไป อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์นี้ทำให้คนเสื้อแดงที่อยู่อีกฝั่งหนึ่งพยายามจะเข้าไปช่วยคนขับรถเมล์ที่สวมเสื้อแดง ทำให้เกิดการปะทะกัน และทหารยิงปืนขู่จนชาวบ้านหนีแตกกระเจิง   โฆษกบนเวทีคนหนึ่ง ซึ่งฉันจำชื่อไม่ได้ กำลังจดสิ่งที่เขาแนะนำอย่างตั้งใจ ตึงเครียด และดูท่าเหมือนไม่รู้จะจัดการอย่างไร ขณะที่บนเวทีหมอเหวงและแกนนำคนอื่นๆ พยายามขึ้นไปอ่านแถลงการณ์สนับสนุนฉบับต่างๆ ที่มีคนส่งมาให้ผู้ชุมนุมฟัง โดยที่ไม่ได้ยินการปลุกระดมให้ใช้ความรุนแรงตอบโต้แต่อย่างใด   ฉันเดินไปหยิบน้ำที่แจกฟรีมาตุนไว้ 2 ขวด ยืนดูดบุหรี่ฆ่าเวลาและฆ่าความว้าวุ่นในจิตใจ เนื่องจากมีโทรศัพท์จากหลายๆ คนแนะนำให้ออกจากพื้นที่ เพราะขณะนี้ทหารได้เคลื่อนกำลังเข้ามาล้อมไว้ทุกด้านแล้ว ประกอบกับข่าวคราวการทุบตีทำร้ายคนเสื้อแดงที่พยายามออกนอกพื้นที่ โดยกลุ่มประชาชนที่พวกเขาเชื่อว่าเป็นเสื้อสีต่างๆ ซึ่งตั้งด่านสกัดอยู่รอบนอกกลุ่มทหาร ยิ่งทำให้ทางเลือกของคนอยากกลับบ้านแทบไม่มีเหลือ   ป้าคนหนึ่งวิ่งเข้ามากับเพื่อนอีกคน หน้าตาเหรอหรากำลังเล่าเรื่องให้คนหลังเวทีฟัง ฉันเดินเข้าไปฟังด้วย แกเล่าปากคอสั่นว่าแกไปอยู่ที่แยกมิสกวัน (น่าจะเป็นเหตุการณ์เดียวกับที่การ์ดเล่าเมื่อสักครู่) และว่าพอทหารยิงปืนและวิ่งบุกเข้ามา คนเสื้อแดงก็แตกกระเจิง กลุ่มผู้หญิงวิ่งหนีไปหลบหลังตำรวจประมาณ 1-2 กองร้อยที่ตั้งแถวอยู่หน้าแยก บช.น.ซึ่งอยู่เยื้องๆ กันกับที่เกิดเหตุ เมื่อทหารวิ่งเข้ามา ตำรวจชูปืนขึ้นแล้วตะโกนว่า “กูมีปืนนะ กูมีปืนเหมือนกัน ถ้ามึงยิงประชาชน กูจะยิงมึง” ป้าเล่าด้วยว่าหัวหน้าหน่วยทหารยิ้มๆ แล้วสั่งให้ลูกน้องถอยกลับไปอยู่ที่ตั้ง   “ถ้าไม่ได้ตำรวจ เราแย่แน่ ”     “แล้วจะเอายังไงดีป้า กลับบ้านก่อนดีมั้ย”   “ก็อยากกลับ ที่บ้านลูกก็รออยู่สองคน แต่เราปล่อยเพื่อนๆ ไว้ไม่ได้ ทิ้งไม่ลง”    แทนที่ฉันจะได้เพื่อนกลับบ้าน มันยิ่งทำให้ฉันเข่าอ่อน ก้าวขาไม่ออก ต้องกลับมานั่งตั้งหลักใหม่   จากนั้นไม่นาน นักข่าวและช่างภาพจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐที่เพิ่งตระเวนทำข่าวรอบนอกด้านถนนราชดำเนินนอก กลับเข้ามาส่งข่าวหลังเวที ในสภาพเหงื่อโทรมกาย เขาทักทายกับนักข่าวอีกคนที่กำลังเก็บของ เขาเป็นนักข่าวไทยสองคนที่ยังหลงเหลืออยู่หลังเวทีในเวลานี้ เพราะคนอื่นๆ ออกไปประจำการด้านนอกหมดแล้วตั้งแต่เกิดเหตุที่สามเหลี่ยมดินแดงในช่วงเที่ยง   เขาดูดบุหรี่และเลือกภาพที่ได้ด้วยสีหน้าเรียบเฉยแต่เคร่งเครียด ขณะที่ปากก็บ่นถึงการจลาจลที่ควบคุมไม่ได้ มีเสียงปืนให้ได้ยินตลอดเวลา กระทั่งมีการเผาตึก เผารถเมล์ ที่สำคัญ เขาต่อว่าแกนนำโดยบอกว่าเขาไม่สามารถทำงานต่อได้เพราะผู้ชุมนุมเริ่มหันมาคุกคามสื่อมวลชนมากขึ้นเรื่อยๆ   “ผมอยู่ไม่ได้แล้ว พวกนั้นจะหันมาตื้บผม”  “ตอนนี้มันเละไปหมดแล้ว”   ฉันพยายามสอบถามถึงสถานการณ์ในด้านต่างๆ ที่ทหารปิดล้อม แต่ยังไม่มีความรุนแรง   “ถ้าจะออกก็ด้านสวนจิตรฯ น่าจะดีสุด แล้วก็เดินเอา เดินไปเรื่อยๆ ... จะกลับแล้วหรือ อย่าเพิ่งกลับ อยู่ร่วมบันทึกประวัติศาสตร์ด้วยกันก่อน ยังไงคงจบคืนนี้ ถ้าไม่ปราบก็คงล้อมให้แห้งตาย”     ฉันกลับมานั่งตั้งหลักอีกรอบ รู้สึกชื่นชมนักข่าวภาคสนามคนนี้ พร้อมกับรู้สึกผิดที่จะหนีเอาตัวรอด   พอดีกับที่หันไปเห็น วัฒน์ วรรลยางกูร กับลูกชาย และไม้หนึ่ง ก. กุนที ศิลปินคนเสื้อแดงนั่งสนทนากันสบายๆ เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น   ต่อให้คนที่ผ่านสนามรบมาแล้ว เข้าป่า ผ่านเขตงานต่างๆ มาแล้ว ก็น่าจะต้องหวาดหวั่นบ้างกับชะตากรรมข้างหน้า แต่เขาคงควบคุมสภาพอารมณ์ได้ดี คุยกับยิ้มแย้มเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น หรือพวกเขาอาจประเมินในทางดี อย่างน้อยที่นี่ก็มีป้าๆ อีกจำนวนมากที่ไม่ยอมกลับบ้าน แต่สารภาพตามตรง ด้วยกระแสสังคมที่เห็นด้วยกับการปราบปรามตอนนั้น ฉันรู้สึกว่า ป้าก็ป้าเถอะ ฉันไม่แน่ใจกับอะไรอีกแล้ว   0000     เสียงโทรศัพท์ดังขึ้น “แม่โทรมา!!!” ฉันพยายามหาที่ที่เสียงดังน้อยที่สุด ...ไม่มี จึงมุดเข้าไปใต้โต๊ะทำงานสื่อมวลชนเอามือป้องปากแล้วโกหกว่าออกจากม็อบไปนานแล้วเพื่อให้เขาสบายใจ   “เราทำอะไรไม่ได้มากหรอกนะ เอาชีวิตให้รอดไว้ แล้วค่อยว่ากันยาวๆ” เสียงสุดท้ายจากแม่บังเกิดเกล้า   “เราไม่มีกล้องทีวี กล้องดีๆ ยังไม่มีซักตัว เหตุการณ์แบบนี้มันต้องใช้ภาพ อยู่ก็ทำอะไรไม่ได้ ไปอยู่ที่โรงพยาบาลดีกว่า” เสียงเพื่อนร่วมงานอีกคนหนึ่งแว่วผ่านโทรศัพท์   ด้วยสภาพกายที่อิดโรยเต็มทีเพราะไม่ได้นอน และสภาพจิตใจที่ว้าวุ่น ฉันค่อยๆ ไปหยิบกระเป๋าแล้วเดินหันหลังออกมาจากที่นั่น มุ่งไปทางสวนจิตรฯ โดยไม่หันมองอะไรอีก   แต่พระเจ้าไม่เข้าข้าง ระหว่างทางฉันเจอกับพี่ที่รู้จักอีกคนจนได้ เขากำลังยืนยิ้มแย้มพูดคุยกับคนเสื้อแดงกลุ่มหนึ่งที่ช่วยกันเก็บขยะริมทางเท้าใส่ถุงดำจนเกลี้ยง บ้างกำลังกวาดพื้น อันที่จริงพี่คนนี้เป็นเจ้าของความคิด “เสื้อแดง” ตัวจริง แต่เป็นสีแดงที่ใช้รณรงค์ต้านรัฐประหารและตลอดจนช่วงไม่รับรัฐธรรมนูญ 50  เขายิ้มแล้วเล่าว่ากลุ่มนี้น่าสนใจเขามากันเอง 7-8 คนและคิดว่านั่งฟังปราศรัยเฉยๆ ก็เปล่าประโยชน์มาช่วยกันเก็บขยะดีกว่า ! ... ฉันยิ้มแหยๆ แล้วขอตัวลา ทั้งชื่นชมและทั้งไม่เข้าใจว่าทำไมเขายังมานั่งเก็บขยะกันอยู่ได้     มันน่าจะเป็นเวลาราวทุ่ม สองทุ่ม เมื่อเดินถึงแยกวัดเบญฯ ติดกับสวนจิตรฯ ทหารตั้งแถวตรึงกำลังที่นั่น..ไม่มากนัก แต่ที่มากกว่ามากคือกลุ่มผู้หญิงเสื้อแดงที่ไปตั้งแถวร้องเพลงต่อหน้ากลุ่มทหาร ตอนฉันเดินผ่านพวกเขาที่ยืนนิ่งร้องเพลงสดุดีมหาราชากันหลายรอบเหมือนไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย   ฉันเดินไปถ่ายภาพ มีป้าคนหนึ่งยิ้มให้แล้วพยักหน้าเหมือนจะชวนให้ฉันมาร่วมวงร้องด้วย ฉันเบือนหน้าหนี แล้วเดินเลาะไปจนสุดแถวทหาร   “ออกได้ไหม” “ได้”   ทหารนายหนึ่งเปิดทางให้ ฉันกลั้นใจแทรกตัวเดินออกไป เพื่อไปดักรอหาหลักฐาน นับจำนวนคนเจ็บ คนตาย ถ้าหากจะมี ที่โรงพยาบาล .... จู่ๆ น้ำตาก็ไหลออกมา  
Cinemania
   เคยได้ยินครูสอนประวัติศาสตร์บอกว่าคนอเมริกันมีปมเรื่องรากเหง้าทางวัฒนธรรม เพราะไม่ได้มีฐานที่มั่นคงแข็งแรงเท่าประเทศแถบยุโรปที่ผ่านการต่อสู้ก่อร่างสร้างชาิติและบ่มเพาะอารยธรรมมานานหลายศตวรรษ และต่อให้ ‘สหรัฐอเมริกา' เป็นถึงประเทศมหาอำนาจแห่งโลกสมัยใหม่ ก็ยังไม่วายถูกมองเป็นแค่ ‘เศรษฐีใหม่' หรือ ‘ชนชาติที่ไร้วัฒนธรรม' แถมยัง ‘บ้าอำนาจ' อีกต่างหากในสายตาของคนบางชาติถึงจะไม่แน่ใจว่าประโยคที่ได้ยินมาถูกต้องมากน้อยแค่ไหน แต่การที่สังคมอเมริกันให้ความสำคัญ (อย่างมาก)กับการเก็บรวบรวมประวัติศาสตร์ชาตินิยมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ก็คงพอจะเป็นภาพสะท้อนได้กลายๆ ว่าคนอเมริกันคงมี ‘ปม' เกี่ยวกับการนิยามอัตลักษณ์ หรือ ‘การนิยามตัวตนที่แท้' อย่างที่หลายคนเข้าใจจริงๆรัฐบาลอเมริกันหลายยุคหลายสมัยทุ่มเทให้กับการศึกษา ค้นคว้า รวบรวม และส่งเสริมให้คนในสังคมแต่ละรุ่นตระหนักถึงประวัติศาสตร์ด้านต่างๆ ของประเทศชาติมาตลอด หลักฐานยืนยันความพยายามที่ว่าก็คือจำนวน ‘พิพิธภัณฑ์' ทั้งขนาดยักษ์ ขนาดใหญ่ และขนาดย่อย ซึ่งกระจายตัวอยู่ทั่วทุกหัวระแหง รอคอยให้คนเข้าไปศึกษาหาความรู้ รวมถึงกระตุ้นให้เกิดความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์ความเป็น 'สหรัฐ' ที่คนอเมริกันเชื่อว่า ‘ไม่น้อยหน้า' ชาติเก่าแก่ทั้งหลายหรอกนะ!:::บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาสำคัญของภาพยนตร์::: แม้กระทั่งในหนังภาคต่อของ Night at the Museum ตอน Battle of the Smithsonian ก็ยังคงตอกย้ำความสำคัญของพิพิธภัณฑ์ (และประวัติศาสตร์) เหมือนเช่นเคย แต่ตัวละครดำเนินเรื่องจากภาคแรกอย่าง ‘แลร์รี่ เดลีย์' (เบน สติลเลอร์)ไม่ได้เป็น ‘ยามกะดึก' ในพิพิธภัณฑ์แล้ว แต่กลายเป็น ‘นักธุรกิจ' ที่ประสบความสำเร็จ ได้เป็นเจ้าของบริษัทผลิตสินค้าจิปาถะในชีวิตประจำวัน แถมยังมีรายการโฆษณาสินค้าตัวเองออกฉายทางโทรทัศน์ซะด้วย การผจญภัยในภาคนี้เริ่มขึ้นเมื่อพิพิธภัณฑ์ที่แลร์รี่เคยทำงานกำลังจะถูก ‘ยกเครื่อง' ขนานใหญ่ ทำให้เพื่อนๆ ของแลร์รี่ที่เป็นหุ่นขี้ผึ้งจำลองของบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ อาทิ ธีโอดอร์ รูสเวลท์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ หรือที่เรียกเล่นๆ แบบตีสนิทว่า ‘เท็ดดี้' (รับบทโดยโรบิน วิลเลียม) หรือหุ่นคาวบอยจิ๋ว ‘เจดีไดอาห์ สมิธ' (โอเว่น วิลสัน) และมนุษย์นีแอนเดอร์ทัลที่พูดกันไม่ค่อยจะรู้เรื่อง ล้วนถูกนำไปเก็บลงกรุใต้ดินที่พิพิธภัณฑ์สมิธโซเนี่ยนในกรุงวอชิงตันดีซี จึงเป็นที่มาของการตั้งชื่อภาคต่อนี้ว่า ‘การต่อสู้ที่สมรภูมิสมิธโซเนียน' นั่นแล...ส่วนตัวร้ายในภาคนี้ก็มี ‘คาห์มุนราห์' อดีตกษัตริย์อียิปต์ (แฮงค์ อาซาเรีย) จักรพรรดิ ‘นโปเลียน' แห่งฝรั่งเศส (อแล็ง ชาบาต์) และ ‘อัล คาโปน' เจ้าพ่อเชื้อสายอิตาเลียน-อเมริกันในวัยหนุ่ม (จอห์น เบิร์นทัล) ซึ่งทั้งหมดนี้โผล่มาเพื่อหวังจะ ‘ครอบครองโลก' (เหตุผลยอดนิยมในหนังครอบครัวฮอลลีวู้ด!!) โดยใช้พลังของแผ่นศิลาที่ตกทอดมาจากยุคอารยธรรมอียิปต์โบราณเป็นเครื่องมือสร้างอำนาจความวุ่นวายหลังไฟในพิพิธภัณฑ์ดับลง บวกกับความเพี้ยนของบรรดาหุ่นขี้ผึ้งที่ถูกปลุกให้มีชีวิตเพราะอำนาจแห่งแผ่นศิลา ถูกจับมาำยำรวมกับมุขตลกเกี่ยวกับอัตชีวประวัติของบุคคลสำคัญในอดีตทั้งหลายได้อย่างลงตัว ทำให้ภาพรวมของหนังดูสนุกเฮฮาไม่แพ้ภาคแรก ถึงแม้การกระจายบทของตัวละครอาจเฉลี่ยได้ไม่ดีนัก แต่ถ้ามองจากจุดขายของหนังซึ่งประกาศตัวชัดเจนว่าเป็น ‘หนังครอบครัว' ให้เด็กดูได้และผู้ใหญ่ดูด้วย ก็ถือว่า ‘ทำได้ดี-ทำได้ชอบ' แล้วประกอบกับมีนักแสดงสาวหน้าใหม่ (สำหรับเรื่องนี้) อย่าง ‘เอมี่ อดัมส์' มารับบทเป็น ‘เอมิเีลีย แอร์ฮาร์ท' นักบินหญิงรุ่นบุกเบิกของอเมริกา ก็ยิ่งช่วยสร้างสีสันให้หนังน่าดูขึ้นมาอีกโข ^_^ส่วนประเด็นหลักๆ ที่น่าอวยชัยให้พรอย่างยิ่งของหนังเรื่องนี้ คือการยืนยันว่าเราไม่ควรปล่อยให้คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ‘ผูกขาด' การประเมินหรือนิยามประวัติศาสตร์เพียงลำพัง ต่อให้คนเหล่านั้นจะทำลงไปในนามของการปกปักรักษา ‘คุณค่าทางประวัติศาสตร์' ก็ตามที และประเด็นที่ว่านี้ถูกนำเสนอออกมาในฉากการต่อสู้ชวนฮาระหว่างแลร์รี่ (อดีตยามกะดึก) และยามร่างตุ้ยนุ้ยประจำพิพิธภัณฑ์สมิธโซเนียน ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ ‘ดูแลรักษา' สมบัติของชาติ ด้วยการ ‘กีดกัน' ให้ประชาชนอยู่ห่างๆ สิ่งเหล่านี้ให้มากที่สุด (และอย่าได้คิดแตะต้องเป็นอันขาด!!)แต่ดูเหมือนว่าเนื้อหาในภาคนี้จะระมัดระวังในการนำเสนอนัยยะทางประว้ติศาสตร์อย่างเข้มงวดมากๆ เพราะมีความพยายามที่จะแก้ไขและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องทางการเมือง (Political Correctness) อยู่เต็มไปหมด เพือให้ตัวละครต่างๆ หลุดจากกรอบของอคติทางเพศและเชื้อชาติ แถมยังมีการตีความบริบทในประวัติศาสตร์โดยใช้มุมมองใหม่ๆ เข้าไปจับเหตุการณ์ในอดีตด้วยตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือการแสดงความสามารถ (และความน่ารัก!) ของเอมีเลีย แอร์ฮาร์ท ในฐานะนักบินหญิงคนแรกที่ขับเครื่องบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเพียงลำพัง ได้รับการยกย่องอีกครั้งในหนังเรื่องนี้ว่าเป็น ‘ผู้บุกเบิก' เส้นทางการเป็นนักบินให้คนรุ่นหลังอย่างทีมนักบินทัสคีจีซึ่งเป็นชาวอเมริกันผิวสี ซึ่งจะว่าไปก็เป็นฉากชวนซึ้งแบบจงใจไปหน่อย แต่ก็ไม่น่าเกลียดจนรับไม่ได้ส่วนประเด็นสำคัญที่มองเห็นได้อีกอย่างคือค่านิยมเรื่อง ‘สังคมอเมริกันในอุดมคติ' ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด เพราะ Battle of the Smithsonian ดูจะสนับสนุนแนวคิดเรื่อง ‘สลัดชามใหญ่' ที่มองว่าคนในสังคมอเมริกันควรมีความแตกต่างหลากหลายและคงอัตลักษณ์ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษซึ่งอพยพมาจากที่ต่างๆ แต่ขณะเดียวกันก็สามารถอยู่ร่วมในดินแดนเดียวกันได้อย่างกลมกลืน แนวคิดเรื่อง ‘สลัด' ต่างจากแนวคิดเรื่อง ‘เบ้าหลอม' หรือ ‘หม้อต้ม' (Melting Pot) ที่เคยถูกพูดถึงอย่างแพร่หลายในช่วงศตวรษที่ 18-19 ซึ่งมีคนเปรียบเปรยว่าสังคมอเมริกันทำให้คนต่างเชื้อชาิติศาสนาสามารถ ‘หลอมรวม' เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ กว่าจะรู้ว่าการ ‘หลอมรวม' ให้เกิด ‘ความเป็นเอกภาพ' นำไปสู่การปฏิเสธอัตลักษณ์ของชนกลุ่มน้อย และประวัติศาสตร์ที่เิพิ่งสร้างเหล่านี้มีส่วนทำลายความหลากหลายทางวัฒนธรรมอย่างใหญ่หลวง ทั้งยังทำให้เกิดการ ‘แบ่งเขา-แบ่งเรา' ที่พอกพูนกลายเป็นความขัดแย้งเรื้อรังจนเกือบจะสายเกินแก้ แ่ต่หนังไม่ได้ทำให้เรามองโลกในแง่ร้ายขนาดนั้น เพราะมีการเพิ่มบทบาทให้อดีตประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น รัฐบุรุษคนสำคัญตลอดกาลของชาวอเมริกัน ได้มีโอกาสออกมายิงวาทะเด็ดเพื่อเตือนสติคนดูว่า ‘อย่าทำให้บ้านแตกแยก' ชวนให้นึกไปถึงสถานการณ์ภายในประเทศไทยตอนนี้ (และที่ผ่านมา) สุดๆ !!!ขณะเดียวกันบทบาท ‘นายพลจอร์จ อาร์มสตรอง คัสเตอร์' (บิล เฮเดอร์) ผู้บัญชาการรบที่นำทหารอเมริกันราว 700 นายต่อสู้นักรบเผ่าอินเดียนแดงในยุคสงครามกลางเมืองอเมริกา แต่พ่ายแพ้เสียชีวิตที่สมรภูมิลิตเติลบิ๊กฮอร์น ซึ่งเป็นตัวละครที่เพิ่มมาในภาคนี้ และเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์อเมริกัน (ต่างจากคาห์มุนราห์ซึ่งออกแนวแฟนตาซีมากๆ) ถูกนำเสนอเพื่อให้คนดูได้ตีความใหม่ว่า ‘ความพ่ายแพ้ในประวัติศาสตร์ จำเป็นต้องซ้ำรอยเดิมในปัจจุบันหรือไม่?'ฺ ก่อนจะนำไปสู่การคลี่คลายสถานการณ์ในตอนท้ายสุดทั้งนี้ทั้งนั้น...รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ทั้งหมดที่ว่ามา อาจเกิดจากความตั้งใจของทีมผู้สร้าง หรือไม่ก็อาจเป็นเพียงความฟุ้งซ่านจับแพะชนแกะของคนดูคนนี้เอง แต่ถ้าเนื้อหามันทำให้นึกฟุ้งไปไกลได้ขนาดนั้น หนังสูตรสำเร็จของฮอลลีวู้ดเรื่องนี้ก็น่าจะคุ้มค่าตั๋วอยู่พอสมควร - ซาเสียวเอี้ย -  
สวนหนังสือ
  เรียน คุณสุชาติ สวัสดิ์ศรี บรรณาธิการ ช่อการะเกด ที่นับถือฉันผู้ใช้นามแฝงว่า นายยืนยง คนเขียนคอลัมน์ สวนหนังสือ ในเว็บไซต์ประชาไท ที่มีบทความชื่อ ช่อการะเกด 45 เวลาช่วยให้อะไร ๆ ดีขึ้นจริงหรือ? อยู่ในรายการของบทความทั้งหมด ได้อ่าน กถาบรรณาธิการ ใน ช่อการะเกด 47 ฉบับวางแผงปัจจุบันแล้ว ทราบว่าคุณสุชาติ บรรณาธิการนิตยสารเรื่องสั้นช่อการะเกดได้ให้ความสนใจต่อบทความนี้ ฉันในนามของนายยืนยงจึงเขียนจดหมายแล้วจัดพิมพ์ส่งตู้ ป.ณ. 1143 เพื่อเล่าถึงความเป็นมาคร่าว ๆ และเพื่อแถลงเจตนาในอารมณ์ที่มีต่อโครงการเรื่องสั้นช่อการะเกดเท่าที่ได้สัมผัสมาทั้งโดยตรงและอ้อมอย่างไม่อ้อมค้อมแต่อาจพร่องในหลักวิชาวรรณกรรมศาสตร์ ทั้งนี้ขอให้ทราบเถิดว่าไม่มีเจตนาหรือประสงค์ต่อร้ายใคร ๆ เลย นอกเสียจากได้สนองความมุ่งหวังที่คาดคะเนไปต่าง ๆ นานาว่า วรรณกรรมไทยเรานี้จะก้าวต่อเนื่องไปด้วยคุณภาพ ประกอบพลังสติปัญญาของศิลปชนคนวรรณกรรม ทั้งบรรณาธิการ นักเขียน นักวิจารณ์ และนักอ่าน รวมถึงผู้จัดพิมพ์ในนามสำนักพิมพ์ การณ์นี้หากเห็นข้อบกพร่องของกันและกันแล้วยังปล่อยให้ชะตากรรมในมือของกลยุทธ์ตลาดหนังสือหารือกันเองในมูลค่าทางธุรกิจ โดยไม่เปล่งเสียงทักท้วงกันบ้าง ฉันลงความเห็นว่าพฤติกรรมเอาหูไปนาเอาตาไปไร่เช่นนี้ ถือเป็นภัยเงียบอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจก่อเป็นเชื้อเป็นผลให้ลุกลามเกิดพิบัติใหญ่หลวงต่อวรรณกรรมไทยของเรา โดยเฉพาะภาคของเรื่องสั้น ทั้งนี้ข้อหนึ่งที่ตระหนักเสมอ คือ หนังสือเป็นสินค้าชนิดหนึ่ง มีราคาค่างวดอันงอกมาจากต้นทุนในการผลิตและประกอบการ แม้นหนังสือจะทรงคุณค่าในตัวเอง มีหัวใจเป็นอรรถประโยชน์ต่อผู้เสพสารอักษร แต่เราย่อมหลีกเลี่ยงอักขระที่เป็นตัวเลขไม่ได้ นอกเสียจากจะจัดพิมพ์เพื่อเป็นธรรมทาน
Cinemania
 'มาริโอ โรปโปโร' เป็นลูกชายชาวประมง เติบโตมาบนเกาะเล็กๆ แห่งหนึ่งในอิตาลี ที่ซึ่งไม่มีน้ำประปาและผู้คนบนเกาะส่วนใหญ่ไม่รู้หนังสือ...‘ปาโบล เนรูด้า' เป็นกวี-นักการทูต-นักการเมือง และเป็น ‘คอมมิวนิสต์' ชาวชิลี มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก แต่ต้องลี้ภัยไปอยู่บนเกาะเล็กๆ แห่งหนึ่งในอิตาลีช่วงปี 1952 และที่นั่นมีบุรุษไปรษณีย์เพียงคนเดียว...บุรุษไปรษณีย์นามว่า ‘มาริโอ โรปโปโร':::บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาสำคัญของภาพยนตร์::: Il Postino หรือ The Postman เป็นหนังภาษาอิตาลี แต่เป็นผลงานของผู้กำกับชาวอังกฤษ ‘ไมเคิล แรดฟอร์ด' ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์หลายสาขาเมื่อปี 2538 และดูเหมือนว่าจะไม่ได้รางวัลใหญ่ติดไม้ติดมือมามากนัก แต่จัดเป็นหนังที่ผู้ชมกล่าวถึงมากมาย ถึงขั้นกลายเป็นหนังในดวงใจของคอหนังหลายคนสิบกว่าปีผ่านไป แผ่นดีวีดีลิขสิทธิ์ของหนังเรื่องนี้ถูกนำมาวางขาย พร้อมติดป้าย ‘ลดราคา' ตามร้านขายหนังทั่วไปในบ้านเรา ถือเป็นการลดราคาได้ถูกกาละเทศะอย่างยิ่ง! โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ฝนตก อากาศชวนหดหู่ และเศรษฐกิจฝืดเคืองจนไม่อยากออกจากบ้านไปผลาญเงินเล่น แต่เหมาะควรกับการนอนเอกเขนกดูหนังดีๆ สักเรื่องมากกว่า หนังของผู้กำกับแรดฟอร์ดเรื่องนี้บอกเล่าชีวิตเรียบเรื่อยของ ‘มาริโอ' ซึ่งเปรียบเหมือนเรือลอยเท้งเต้งกลางทะเล ขาดหางเสือและไม่มีเข็มทิศ เพราะถึงแม้ว่าจะเิติบโตมาในชุมชนชาวประมง แต่เขาก็ไม่เคยคิดจะเอาดีทางการหาปลา และทางเลือกอื่นๆ ในชีวิตก็ใช่ว่าจะมีมาให้เลือกมากมายนักหลายคนมองว่ามาริโอเป็นเพียงหนุ่มขี้เกียจ หนักไม่เอา เบาไม่สู้ แต่สิ่งที่เขาพยายามพูดอ้อมๆ ให้พ่อเข้าใจมาตลอดว่าคลื่นลมรุนแรงในท้องทะเลทำให้เขารู้สึกวิงเวียนเกินกว่าจะทำอะไรได้ ส่วนพ่อที่เลี้ยงลูกชายโข่งมาหลายปีดีดักก็ตัดสินใจยื่นคำขาดในวันหนึ่งให้มาริโอไปหางานอื่นทำเป็นหลักแหล่งเสียทีเมื่อเห็นป้ายประกาศรับสมัคร ‘บุรุษไปรษณีย์ 1 ตำแหน่ง' มาริโอจึงเดินเข้าไปของานทำ พร้อมจูงจักรยานเก่าแก่ของตัวเองไปด้วย และคุณสมบัติแค่ ‘พออ่านออกเขียนได้' กับ ‘มีจักรยานเป็นของตัวเอง' ทำให้มาริโอได้งานนี้ไปอย่างง่ายดายผู้ที่มาริโอต้องไปส่งจดหมายให้มีเพียงคนเดียว...ผู้รับจดหมายนามว่า ‘ปาโบล เนรูดา'เมื่อปี 1952 ‘ปาโบล เนรูด้า' ต้องลี้ภ้ยไปจากชิลี หลังประธาธิบดีกาเบรียล กอนซาเลส วิเดลา ผู้นำพรรคแรดิคัลขอร้องให้เนรูด้าช่วยเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการหาเสียงในการเลือกตั้งประธานาธิบดี แต่เมื่อได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองกลับหักหลัง สั่งเจ้าหน้าที่รัฐกวาดล้างและจับกุมผู้สนับสนุนพรรคคอมนิวนิสต์ รวมถึงบรรดานักคิด-นักเคลื่อนไหวหัวเอียงซ้ายทั้งหมดที่หมายปลายทางของเนรูด้าจึงมุ่งไปที่เกาะเล็กๆ ในอิตาลี และที่นั่นเป็นที่ที่กวีกับบุรุษไปรษณีย์ได้รู้จักกันเนรูด้า หรือ ‘ดอน ปาโบล' ตามที่มาริโอเรียกด้วยความยกย่อง เป็นลูกค้าเพียงคนเดียวของที่ทำการไปรษณีย์บนเกาะ เพราะด้วยเหตุผลที่บอกไปแล้วคือคนส่วนใหญ่ที่นั่น ‘ไม่รู้หนังสือ' และวุ่นอยู่กับการทำมาหากิน ไม่มีเวลามาเขียนหรืออ่านจดหมายสักฉบับกระนั้น วงจรชีวิตของคนบนเกาะก็เปลี่ยนแปลงไปเมื่อบุคคลระดับโลกอย่างเนรูด้าแวะมาอยู่อาศัย จดหมายนับสิบนับร้อยฉบับถูกส่งมาจากทั่วโลก เพื่อรอให้เนรูด้าเปิดอ่าน และมาริโอเป็นบุรุษไปรษณีย์ที่ได้รับการว่าจ้าง เพื่อส่งจดหมายให้กับเนรูด้าโดยเฉพาะในตอนแรกมาริโอเพียงหวังว่าเขาจะผูกมิตรกับกวีชื่อดัง เืผื่อเอาไว้ไปอวดให้คนอื่นๆ ฟังในภายภาคหน้า แ่ต่เมื่อมีโอกาสได้สนทนากับ ‘ดอน ปาโบล' และอีกฝ่ายอดทนตอบคำถามซื่อๆ เกี่ยวกับข้อสงสัยต่างๆ นานาที่เขาถาม โดยไม่มีท่าทีรังเกียจ ‘คนความรู้น้อย' มิตรภาพระหว่างกวีและบุรุษไปรษณีย์ก็แน่นแฟ้นขึ้นเรื่อยๆมาริโอเปรียบคำพูดและบทกวีของเนรูด้ากับ ‘คลื่นในทะเล' ซึ่งซัดสาดใส่เขาจนรู้สึกโคลงเคลงเหมือนเป็นเรือปะทะคลื่นลมปั่นป่วน ขณะเดียวกันก็เป็นแรงดลใจให้เขาขวนขวายหาหนังสือและบทกวีอืนๆ มาอ่านด้วยความใคร่รู้ ส่วนดอน ปาโบลก็ได้ครุ่นคิด-ทบทวน และแลกเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อโลกผ่านคำถามซื่อๆ ตรงไปตรงมาของมาริโอหากจะพูดให้เจาะจงกว่านั้นก็คือมาริโอได้กระตุ้นเตือนให้เนรูด้ารำลึกถึงความมหัศจรรย์ของถ้อยคำ การสื่อสาร และการใช้ภาษา ขณะที่ดอน ปาโบล ทำให้คนที่ไม่มั่นใจในตัวเองอย่างมาริโอรู้สึก ‘มีคุณค่า' และได้รับการยอมรับในสิ่งที่ตัวเองเป็นยิ่งไปกว่านั้น ดอน ปาโบล ยังเป็นพ่อสื่อคนสำคัญที่ทำให้ ‘เบียทริซ' สาวงามประจำเกาะ หลานสาวของดอนน่า โรซ่า เจ้าของร้านเหล้าเคร่งศาสนา ยอมตกลงปลงใจกับหนุ่มที่ดูเหมือนจะไร้อนาคตคนนี้ด้วยความยินดี เพราะอานุภาพแห่งบทกวีแปลกหูและจับใจสาวน้อยมากกว่าคำหยอกล้อที่มักไ้ด้ยินจากปากลูกค้าขี้เหล้าในร้านของป้าเธอหลายเท่าตัวนักการมาเยือนของปาโบล เนรูด้าเปรียบเหมือนกุญแจไขสู่โลกใหม่ของมาริโอ โลกซึ่งเขาไม่อับจนถ้อยคำที่จะนำมาสะท้อนความรู้สึกนึกคิด และกระตุ้นให้ตั้งคำถามกับสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือการค้นพบความกล้าที่ทำให้เขาลุกขึ้นมาโต้แย้งแทนคนอื่นในสิ่งที่เห็นว่าไม่ถูกไม่ควร แม้ผลลัพธ์ที่ได้อาจไม่ใช่อย่างที่คิด แต่ถือได้ว่ามาิริโอค้นพบ ‘เสียง' ของตัวเองแล้วแต่เมื่อรัฐบาลประธานาธิบดีกอนซาเลส-วิเอลาของชิลี อยู่ในช่วงขาลงเพราะแพ้ภัยในคดีทุจริตฉ้อฉล ผู้นำพรรคสังคมนิยม ‘ซัลวาดอร์ อัลเยนเด' ก็ได้รับเลือกดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนต่อมาด้วยคะแนนถล่มทลาย เนรูด้าจึงได้รับคำเชิญให้เดินทางกลับบ้านเกิดได้ตำแหน่ง ‘บุรุษไปรษณีย์' ของมาริโอจึงพลอยหลุดลอยไปด้วย เพราะลูกค้าคนเดียวที่มีอยู่ เดินทางไปไกลเกินกว่าเขาจะตามไปส่งจดหมายได้ จากนั้นข่าวคราวของดอน ปาโปล ที่เคยรู้จักก็ห่างไกลออกไปทุกที มุมมองที่มีต่อโลกของมาริโอก็ไม่สดสวยเหมือนเก่า เพราะถูกความจริงปล่อยหมัดน็อคเข้าใส่ไม่ยั้ง พร้อมกับที่บทกวีไพเราะเร้าอารมณ์ซึ่งเคยได้อ่านได้ฟังกลายเป็นเสียงตะโกนสั่งงานของดอนน่า โรซ่า ญาติผู้ใหญ่ฝ่ายภรรยาที่กุมอำนาจสูงสุดในครอบครัว ตามด้วยเสียงมีดกระทบเขียง เพราะเขาต้องรับหน้าที่พ่อครัวจำเป็นเพื่อช่วยกิจการร้านเหล้าที่กำลังขยายตัว นอกจากนี้ ดอนน่า โรซ่า มักกระทบกระเทียบให้ฟังเสมอว่าเนรูด้าเป็นเพียง ‘นกกระจอกกินอิ่มแล้วก็บินหนีไป' เพราะหลังจากที่มาใช้เกาะเป็นที่ลี้ภัยและสร้างความทรงจำให้คนมากมาย เนรูด้ากลับไม่เคยส่งจดหมายหรือติดต่อกลับมาหาพวกเขาอีกเลย ชีวิตเรียบเรื่อยของชนชั้นแรงงานหาเช้ากินค่ำเช่นมาริโอ, ดอนน่า โรซ่า หรือแม้แต่จอร์จิโอ หัวหน้าของมาริโอที่มีชีวิตทั้งชีวิตผูกโยงกับที่ทำการไปรษณีย์เล็กๆ โทรมๆ อาจไม่น่าอภิรมย์ในความเป็นจริง แต่เรื่องราวที่ถ่ายทอดใน Il Postino เต็มไปด้วยความงดงามของรายละเอียดปลีกย่อยในชีวิตที่เราอาจเคยมองข้ามไปส่วนฉากหลังซึ่งคู่ขนานไปกับชะตากรรมของมาริโอคือบันทึกการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองในอิตาลีและชิลี ที่ซึ่งไม่มีคำตัดสินถูกผิดว่าอะไรดีกว่ากัน ไม่ว่าจะเป็นคอมมิวนิสต์ เผด็จการ หรือประชาธิปไตย ถ้าจะบอกว่ามันคือบันทึกการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองโลกในช่วงนั้นด้วยก็คงไม่ผิดนัก และคำตอบที่ซ่อนอยู่ในหนังของ ‘คนส่งสาร' เรื่องนี้ ก็อยู่ที่การ ‘ตีความ' เหตุการณ์ที่ล้อมรอบตัวเราให้ถ่องแท้แม้ในสายตาของดอนน่า โรซ่า มองเห็นดอน ปาโบล เป็นเพียงนักฉวยโอกาส และจอร์จิโอชื่นชม ปาโบล เนรูด้า ในฐานะผู้เผยแพร่แนวคิดคอมมิวนิสต์คนสำคัญ และมองว่านั่นคือสถานะที่ทรงคุณค่ามากกว่าการเป็นกวี แ่ต่มาริโอกลับประทับใจมุมมองของเนรูด้าที่สอนให้เขา ‘รู้สึกรู้สา' ต่อสรรพสิ่งรอบตัว ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเล็กน้อยหรือดูเหมือนไร้ค่าในสายตาคนอื่นเพียงใด การที่เนรูด้า ‘มองเห็น' และรับรู้การดำรงอยู่ของสรรพสิ่ง ทำให้เขาไม่มองข้ามมาริโอ และปฏิบัติต่อ ‘บุรุษไปรษณีย์บ้านนอก' อย่างเพื่อนมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน ขณะที่ในชีวิตจริงอีกด้านหนึ่ง เนรูด้าเป็นผู้สนับสนุนคนสำคัญของโจเซฟ สตาลิน ผู้นำคอมมิวนิสต์ของอดีตสหภาพโซเวียตซึ่งขึ้นชื่อเรื่องการใช้ความโหดเหี้ยมในการกำจัดศัตรูทางการเมือง สาระสำคัญใน Il Postino จึงมิได้จำกัดวงแคบเฉพาะเรื่องราวของบทกวีแห่งความรัก หรือการฝ่าฟันอุปสรรคของหนุ่มสาว แต่มันตั้งคำถามถึงการมองชีวิตของตัวเองและคนอื่นๆ ที่มีปฏิสมพันธ์กันอยู่ หนังเรื่องนี้จึงไม่มีการตัดสินหรือพิพากษา หากแต่มี ‘เหตุ' และ ‘ผล' อันเกิดจากสิ่งที่ตัวละครแต่ละคนคิด เชื่อ และลงมือทำ ในตอนท้ายเรื่อง ความคิดสับสนวนเวียนของมาริโอเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงเมื่อได้กลับไปบ้านพักริมทะเลที่ดอน ปาโบล เคยใช้ชีวิตอยู่ช่วงหนึ่ง ที่นั่นมาริโอได้ค้นพบความจริงของการมีชีวิต รวมถึงความงดงามของการใช้ชีวิตบนเกาะเล็กๆ ที่ดูเหมือนจะน่าเบื่อแห่งนี้ มาริโอเริ่มต้นบันทึกเสียงลมพัดผ่านช่องเขา เสียงลมพัดยอดไม้ไหว เสียงคลื่นลูกย่อมซัดหาดทราย และเสียงคลื่นลูกใหญ่กระทบโขดหินดังสนั่น หวังจะส่งไปให้ดอน ปาโบล ได้ฟัง แม้ว่าจดหมายฉบับสุดท้ายของเขาไม่มีวันส่งไปถึงชิลีก็ตาม...   มัสซิโม ทรอยซี (Massimo Troisi) ผู้กำกับ นักเขียนบท และนักแสดงชาวอิตาลีที่รับบทเป็นมาริโอ เสียชีวิตหลังถ่ายทำหนังเรื่องนี้เสร็จเพียง 2 วัน ขณะมีอายุเพียง 41 ปี สาเหตุเพราะเขาขอเลื่อนการผ่าตัดขยายหลอดเลือดหัวใจไปจนกว่าจะถ่ายหนังเสร็จ แต่ไม่ทันได้ผ่าตัดก็จากไปเสียก่อนฟิลิปป์ นัวเรต์ (Philipe Noiret) นักแสดงชาวฝรั่งเศสผู้โด่งดังจากหนังอิตาลีอีกเรื่อง ‘Cinema Paradiso' รับบทเป็นปาโบล เนรูด้า เสียชีวิตแล้วเช่นกัน เมื่อปี 2549ป.ล. Il Postino ดัดแปลงจากหนังเรื่อง Aciente Paciencia ของผู้กำกับ Antonio Skarmeta และหนังสือชื่อเกียวกัน ซึ่งมาริโอเป็นตัวละครสมมติ ขณะที่ปาโบล เนรูด้า ได้รับรางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรมในปี 2514  
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ :       เดอะซีเคร็ต ผู้เขียน :            รอนดา เบิร์นผู้แปล :             จิระนันท์ พิตรปรีชาพิมพ์ครั้งที่ 54 :  มีนาคม 2551จัดพิมพ์โดย :    สำนักพิมพ์อมรินทร์