Skip to main content
เมธัส บัวชุม
อาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ เพื่อนโทรมาชวนผมไปฟังการสัมมนาที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่จัดขึ้นเนื่องในงานธรรมศาสตร์วิชาการ เรื่อง “ก้าวต่อไปของการเมืองภาคประชาชนไทยหลังการเลือกตั้งทั่วไป 2550” เพื่อนบอกว่ามีคุณจาตุรนต์ ฉายแสง คุณจอน อึ๊งภากรณ์ คุณศิโรฒม์ คล้ามไพบูลย์ นพ.เหวง โตจิราการ คุณรสนา โตสิตระกูลผมได้ยินรายชื่อแล้วรู้สึกสนใจโดยเฉพาะคุณจาตุรนต์ ฉายแสง นักการเมืองคุณภาพที่หาได้ยากยิ่งในแวดวงการเมืองไทยปัจจุบัน แต่สุดท้ายแล้ว ผมก็ผิดหวัง คุณจาตุรนต์ ฉายแสง ไม่มาร่วมวงสัมมนาแต่อย่างใด คุณศิโรฒม์ คล้ามไพบูลย์ นำเสนอการวิเคราะห์อย่างเป็นวิชาการ อย่างไรก็ตาม ฟังแล้วรู้สึกเหมือนเป็นการ “หลอกด่า” ขบวนการภาคประชาชน เช่น ความคิดเรื่องการรับเหมาทำแทน การที่บรรดา “เอ็นจีโอ” สถาปนาเป็น “ตัวแทน” ของภาคประชาชนอย่างอัตโนมัติโดยที่ไม่ต้องรอให้ใครเลือกตั้ง การอ้างอิงชนชั้นล่างแต่ประเด็นที่ใช้ในการเคลื่อนไหวกลับเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของคนชั้นกลาง การปิดกั้นผลประโยชน์ของคนบางกลุ่มไว้ในนามของผลประโยชน์แห่งชาติคุณหมอเหวง โตจิราการ นับวันยิ่งเข้มข้นหนักหน่วง นับวันยิ่งเป็น “ซ้าย” ขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งผมคิดว่าดี ผมอยากให้มีคนแบบคุณหมอเหวง โตจิราการ เยอะ ๆ เพราะจะได้ช่วยเพิ่มพลังแห่งการวิพากษ์วิจารณ์แบบถอนรากถอนโคนที่กำลังขาดแคลนตอนหนึ่งคุณหมอเหวง โตจิราการ พูดถึงทีวีสาธารณะว่ามันไม่สามารถเกิดขึ้นได้ภายใต้รัฐบาลรัฐประหารที่แทรกแซงสื่อมาโดยตลอด ทั้งคนที่ได้รับการแต่งตั้งให้เข้ามาดูแลจัดการก็เป็น “คนของรัฐประหาร” ที่ไม่ได้รับการยอมรับซึ่งไม่มีทางจะทำให้คลื่นโทรทัศน์กลายเป็นผลประโยชน์สาธารณะได้ผมเห็นด้วยว่า ทีวีสาธารณะเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ มันเป็นโกหกคำโตของนักวิชาการที่นำเสนอเรื่องนี้ขึ้นมาโดยไม่ดูตาม้าตาเรือ และไม่คำนึงถึงพร้อม และความเป็นไปได้ ใคร ๆ ก็รู้ว่าทีวีสาธารณะเป็นเกมการต่อสู้ทางการเมืองอีกเกมหนึ่ง ที่มีนักวิชาการคอยกำกับให้อยู่ในวาทกรรมว่าด้วยผลประโยชน์สาธารณะ
พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ
  .............. ว่ากันว่า...โชคลาภวาสนาเป็นเรื่องชะตาลิขิต แต่ถึงอย่างนั้นในฐานะชาวพุทธ คงจะละเลยเรื่องเหตุปัจจัยและ "กรรม-วิบากกรรม" ไปไม่ได้ .............. จะอย่างไรก็แล้วแต่ถึงบัดนี้ คุณสมัคร สุนทรเวช ก็เป็นนายกรัฐมนตรีที่ผ่านขั้นตอนแบไทยๆ คือมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าเรียบร้อยแล้วรอเพียงการเสนอรายชื่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาโปรดเกล้าฯ และเสนอนโยบายรัฐบาลผ่านสภาฯ ... คำปรามาสของใครต่อใครก็จะกลายเป็นการดูหมิ่นและอาจนำไปสู่ระดับที่คุณสมัครถือว่าเป็นการหมิ่นประมาทไปได้ในที่สุด สรุปความได้ ว่า "นายกรัฐมนตรี คนที่ 25" คือ นายสมัคร สุนทรเวชเป็นนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้ง "คนแรก" ของรัฐธรรมนูญ 2550อันมีที่มาจากสภานิติบัญญัติ และสภาร่างรัฐธรรมนูญซึ่งผูกพัน หรือเกี่ยวข้อง กับ "คมช." หรือคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติอันเกิดขึ้นเพราะการรัฐประหาร เมื่อ 19 กันยายน 2549ที่นำโดยผู้นำเหล่าทัพ และผู้นำตำรวจ กับพลเรือนจำนวนหนึ่ง เป็นรัฐประหารที่มีชาวบ้านชาวเมืองชื่นชมในเบื้องต้นก่อนจะก่นด่าในช่วงกลาง และหันมาเทคะแนนให้พรรคพลังประชาชนของคุณทักษิณในท้ายที่สุด... ดังที่คุณสมัคร ได้อนิสงส์ อยู่ในบัดนี้นี่เอง .............. การก้าวเข้ามายึดกุมอำนาจรัฐ ของพรรคพลังประชาชนถึงจะปฏิเสธอย่างไร ก็ยากจะมีคนเชื่อถือ ว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคุณทักษิณ พรรคไทยรักไทย และอดีตผู้บริหารพรรค ทรท.คณะเดิม ชัยชนะของพรรคพลังประชาชนจึงมักถูกศัตรูทางการเมือง ตราหน้าว่าเป็นชัยชนะของ "นอมินี" ทางการเมืองทั้งระดับตัวบุคคล และระดับพรรค จะว่าไปแล้วระยะแรกคุณสมัครก็ยอมรับก่อนจะมาปฏิเสธในภายหลัง เมื่อบางฝ่ายจะถือเป็นเหตุบ่งชี้ให้ พปช.ผิดกฎหมายร้ายแรงถึงระดับยุบพรรค แต่เมื่อกล่าวอย่างถึงที่สุดจะนอมินีหรือไม่ คุณทักษิณชักใยหรือไม่ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งก็ลงคะแนนให้ สส. ของพรรคนี้และลงคะแนนให้มากกว่าพรรคอื่นๆ ทุกๆ พรรคเสียด้วย เป็นชัยชนะถูกต้องและครบถ้วนตามเงื่อนไขของกติกา-กฎหมาย และกระบวนการตรวจสอบโดยองค์กรของรัฐ ที่ดูแลรับผิดชอบ ตามขั้นตอนที่วางไว้ กล่าวได้แบบไทยๆ ว่าไม่ผิดเพราะอย่างน้อย ความผิดก็ไม่มีใครจับได้ไล่ทัน .............. ชัยชนะตามกติกาได้ตำแหน่งโดยผ่านกระบวนการถูกต้องและครบถ้วน ถึงใครจะหมั่นไส้ ใครจะไม่ชอบหน้าใครจะติเตียนการกระทำในอดีต ติเตียนแนวคิดปัจจุบันหรือรังเกียจภาพฝันทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองในอนาคต และใครที่เบื่อหน่ายพฤติกรรมอันเนื่องมาจาก กาย วาจา และใจของ นายสมัคร สุนทรเวชก็ย่อมอิหลักอิเหลื่อ กับชัยชนะตามกติกาประชาธิปไตยอันจะว่าไปแล้วก็ถือได้ว่า นายกสมัครฯ ยังสง่างามกว่า พล.อ. สุรยุทธิ์ ณ คมช. เป็นไหนๆ ประชาธิปไตยของพวกเราบกพร่องหรือไม่ใครรู้ชัดก็อธิบายหน่อยเถิด ว่า..ทำไม "นายกฯ" และ"ว่าที่ ครม." ถึงมีสภาพอย่างที่เห็นๆ กันนี้ ทั้งๆ กุมเสียงข้างมาก และมีแบคอัพมหึมาพร้อมที่จะปกป้องดูแล และชักใยไปตามคติความเชื่อของ "เจ้าของ" ที่ยังเข้าประเทศไม่ได้ .............. โชคชะตาวาสนาบารมี "ดลบันดาล" แล้วเหตุปัจจัยในระบอบประชาธิปไตย เปิดโอกาส..และเอื้ออำนวยแล้วองคาพยพทั้งภาครัฐและราษฎรอำนวยให้ได้เป็นประมุขฝ่ายบริหารแล้ว กล่าวได้ว่าหลังจากนี้ไป ทั้งหลายทั้งปวงก็ขึ้นอยู่กับคุณสมัครและพรรคพวกเป็นหลัก(ถ้าไม่นับพวกผู้กำกับ หรือคนเขียนบท)ว่าจะบริหารโอกาสและเวลาให้มี ประสิทธิภาพ-ประสิทธิผล อย่างไร อย่าลืมว่าอำนาจวาสนานั้นมีที่มาที่ไปมีเหตุ และมีปัจจัยตลอดจนมี "ต้นทุน" อยู่เสมอ นายกรัฐมนตรีตั้งแต่ท่านแรกจนถึงท่านสุดท้าย-ก่อนคุณสมัครก็ล้วนแล้วแต่มีบุญ มีบารมีด้วยกันทั้งสิ้นมีอำนาจ มีฝ่ายสนับสนุน และฝ่ายคัดค้านมีทั้งฝ่ายช่วย และฝ่ายขัดขวางมากน้อยขึ้นอยู่กับหลายสิ่งหลายอย่างฉากจบของแต่ละท่าน จึงแปลกแยกและแตกต่างกันไป ก็ได้แต่หวังว่า คุณสมัคร จะสรุปบทเรียนและเตรียมฉากจบของตนเองและพรรคพวกได้ดีกว่า... หรือ "ดีที่สุด" กว่าที่เคยผ่านมา การเป็นนายกรัฐมนตรีอาจไม่ใช่เรื่องยากสำหรับคนมากความสามารถแต่ขณะเดียวกันก็อาจทำให้บั้นปลายชีวิตยุ่งยากยุ่งเหยิงพลัดที่นาคาที่อยู่เอาได้ง่ายๆ ประวัติศาสตร์จารึกไว้หลายแง่หลายมุมเลือกอ่านเอาเองเถิด "ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี  เจริญพร .............. 
กานต์ ณ กานท์
แม้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังการเลือกตั้งครั้งล่าสุดจนถึงปัจจุบัน อาจจะมีทั้งที่ถูกใจ-สะใจ และชวนให้ผิดหวัง-ระอา คละเคล้าปะปนกันไป (ส่วนจะหนักไปข้างใดนั้น คงขึ้นอยู่กับจุดยืนและความคาดหวังของแต่ละท่าน) แต่ถึงที่สุดแล้วก็ต้องยอมรับว่า หลากหลายปรากฏการณ์เหล่านั้นไม่ได้เหนือความคาดหมาย หรือพลิกผันไปจากการประเมินของบรรดาคอการเมืองหลายๆ ท่านแต่อย่างใด
Music
 ที่ผ่านมาผมพูดถึงการที่ดนตรีไม่ได้ทำให้ใครกลายเป็นปัจเจกเทียมก็แล้ว พูดถึงโลกอันหลากหลายหลังปี 1970 ก็แล้ว พูดถึงการที่ตัวดนตรี Serious Music หรือ Popular Music ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการ Liberate อะไรโดยตรง (เว้นแต่วัฒนธรรมที่พ่วงมาด้วย จะว่าไป หากนับวัฒนธรรมที่พ่วงมาด้วย Popular Music น่ะ ช่วย “ปลดปล่อย” ผู้คนได้มากกว่าด้วยซ้ำ) ก็แล้วสำหรับในบทนี้ก็จะมาพูดถึงสิ่งที่อดอร์โนทำผิดพลาดมากที่สุด นั่นคือการปฏิเสธดนตรีป็อบโดยสิ้นเชิง ไม่ร่วมสังฆกรรมใด ๆ กับมันอีก เพราะเขาได้ตีกรอบมาแล้วว่าดนตรีป็อบมันย่อมเป็นอะไรที่ถูกทำให้มีมาตรฐานเดียวกัน (Standardize) และความที่มันมีมาตรฐานเดียวกันนี่เอง จึงไม่จำเป็นต้องไปตีความหรือวิจารณ์อะไรมันให้ยุ่งยาก เพราะมันล้วนแล้วแต่เป็นผลผลิตแบบโรงงานที่สร้างมาเพื่อบริโภคแล้วก็รับทุกอย่างไปเท่านั้นขอย้ำอีกครั้งว่า นี่คือความผิดพลาดร้ายแรงที่สุดสำหรับอดอร์โนผมเชื่ออยู่ระดับหนึ่งว่า ศิลปะไม่ว่าจะแขนงไหน ป็อบหรือไม่ป็อบยังไงก็ตามแต่ มันมีส่วนในการปรับเปลี่ยนทัศนคติ ความคิด ความเชื่อ อยู่ทั้งนั้น แต่ไม่ถึงขั้นล้างสมองหรือทำให้ผู้คนเกิดยึดถือในมาตรฐานเดียวกันไปหมดได้การจะทำให้ผู้คนยึดถือมาตรฐานเดียวกันหมด (Standardization) มันเกิดจากการเรียนรู้ตั้งแต่กำเนิด ซึ่งสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมที่ใกล้ชิดกับคน ๆ นั้นก็มีส่วนในตรงนี้พิธีกรรมยืนเคารพธงชาติ การยืนในสถานการณ์อื่น ๆ ข่าวที่มาเวลาเดิมทุกวัน ภาพ เพลง และชุดสีเดียวซ้ำ ๆ ซาก ๆ ทั้งหมดนี้ไม่ใช่สิ่งที่จะถ่ายโอนลงในหัวใครได้ทันทีทันใดแบบการโหลดไฟล์ลงคอมพิวเตอร์ แต่มันเป็นเหมือนไวรัสที่ค่อย ๆ แอบครอบครองพื้นที่ความคิดของเราอย่างค่อยเป็นค่อยไป และอย่างแนบเนียนแต่กระนั้นก็น่าสงสัยว่าสิ่งที่ผมเพิ่งกล่าวถึงข้างต้น (และไม่ควรกล่าวถึงบ่อย ๆ หากยังรักตัวกลัวตีน) น่าจะเรียกว่าเป็น 'วัฒนธรรมป็อบ' ได้จริงหรือไม่เพลงของแกรมมี่ อาร์เอส เราสามารถวิพากษ์วิจารณ์มันได้ในที่แจ้ง อาจจะต้องระแวดระวังแฟนคลับแบบสุดโต่งสักเล็กน้อย (แฟนคลับที่ดี ๆ น่าคบหามันก็มี) และถึงแม้ว่าเราจะถูกคุกคามทำร้ายเพียงเพราะวิพากษ์วิจารณ์เพลงป็อบที่คนส่วนใหญ่ชอบ กฏหมายก็พร้อมจะคุ้มครองเราแต่กับสิ่งที่ผมได้กล่าวถึงไป (และไม่ควรกล่าวถึงบ่อย ๆ หากยังไม่อยากถูกยัดข้อหา) นั้น วิพากษ์วิจารณ์ในที่แจ้งแทบไม่ได้ และหากเราถูกคุกคามทำร้ายเพราะวิพากษ์วิจารณ์ “…” ล่ะก็ กฏหมายในปัจจุบันก็คงไม่ปราณีเราแน่น่าสงสัยว่า สิ่งที่วิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้นั้น ควรจะเรียกว่าเป็นวัฒนธรรมป็อบ (หรือวัฒนธรรมมวลชน) จริง ๆ หรือ เพราะดนตรีที่เป็นวัฒนธรรมมวลชนจริง ๆ นั้น ไม่ว่ามันจะถูกผลิตมาจาก นายทุนใหญ่ (อาเฮีย อากู๋ ฯลฯ) หรือ นายทุนน้อย (อินด้ง อินดี้) มันก็ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ผู้คน 'เลือก' เข้าถึงมันได้ ไม่ว่าพวกเขาจะมีความเชื่อหรือทัศนคติแบบใด ไม่จำเป็นต้อง “ยัดเยียด” เปิดตามระบบขนส่งมวลชนที่ล้ำสมัยขัดกับเนื้อหาเพลงพูดแบบทุนนิยมกระแสหลักเลยก็ได้ ว่าเพลงของ Pink Floyd สำหรับบางคน (รวมถึงผมเอง) อาจกลายเป็นเหมือนส่วนหนึ่งของชีวิต เพราะทั้งรูปแบบทางดนตรีที่ถูกจริตและเนื้อหาที่ “ตอบสนอง” ความรู้สึกพวกเขาได้ แต่นั่นเป็นเพราะเขาถูกยัดเยียดหรือเปล่า หรือว่าเขาได้ “เลือก” มันเองกันแน่ขณะเดียวกัน Pink Floyd สำหรับบางคนอาจเป็นแค่ดนตรีที่ฟังแล้วไม่เข้าใจ (น่าจะใช้คำว่า “ไม่อิน” จะถูกกว่า) แต่ก็เป็นเพียงเพราะมัน “ตอบสนอง” คนบางกลุ่มไม่ได้ คนกลุ่มนี้ไม่ได้ดีหรือเลว โง่หรือฉลาดกว่าใคร และหากเขาไม่ต้องการสิ่งที่ตอบสนองเขาไม่ได้ เขาก็แค่ “ไม่เลือก” มันเท่านั้นเองความเชื่อหรือทัศนคติที่แตกต่างกันจะนำมาซึ่งการวิจารณ์ และการสามารถวิจารณ์ได้อย่างไม่ต้องหลบ ๆ ซ่อน ๆ เป็นคุณสมบัติที่มีค่ายิ่งของวัฒนธรรมป็อบ การวิพากษ์วิจารณ์ การแสดงความเห็นโต้ตอบได้นี่แหละ ทำให้มันเป็นศิลปะ เป็นวัฒนธรรมของ “มวลชน” เป็นสิ่งที่ “สาธารณะ” อย่างแท้จริงเพลง “มอเตอร์ไซค์รับจ้าง” ของ โลโซ อาจทำให้ใครบางคนเปลี่ยนทัศนคติมามอง วิน-มอเตอร์ไซค์ในแง่ดีขึ้น ขณะที่บางคนอาจจะเคยมีประสบการณ์ร้าย ๆ จากคนทำอาชีพนี้มาก่อน เลยรู้สึกว่าเพลงนี้ไม่น่าเชื่อถือ แม้ทั้งคู่จะเห็นอะไรต่างกันในเพลง ๆ เดียว แต่หากพวกเขาแสดงความคิดเห็นกับมันร่วมกันได้ ย่อมเป็นเรื่องที่ดีคนเราย่อมมีวิจารณญาณของตนเอง และการที่สามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้ มันยังทำให้เกิดการโต้ตอบกับเพลง ๆ นั้น แล้วเรายังสามารถเอาไปถกเถียงกับคนอื่น ๆ ที่ฟังเพลงเดียวกันได้ ทำให้ผู้ที่ฟังเพลงนี้ล้วนแต่เป็นผู้บริโภคที่แอคทีฟ ไม่ได้เป็นแค่ผู้บริโภคแบบสมยอมรับความคิดมาโดยไม่มีการคัดคานแบบที่อดอร์โนว่ามา ไอ่สิ่งที่วิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้นี่สิ…น่ากลัวการเมินเฉยโดยสิ้นเชิงต่อดนตรีป็อบซึ่งเป็นอุตสาหกรรมทางวัฒนธรรม รวมถึงเป็นวัฒนธรรมมวลชน จึงไม่ใช่ทางออกอย่างแน่นอนหากในพื้นที่ของการเมืองมีเรื่องของระบบตรวจสอบจากแนวราบ มีเรื่องของประชาสังคมในการคัดค้านหรือผลักดันนโยบาย ในพื้นที่ของวัฒนธรรมก็มีการวิจารณ์ การแสดงความเห็น ไม่ว่าจะจาก So-Called professional อย่างนักวิจารณ์ , นักวิเคราะห์ , นักวิชาการ ฯลฯ หรือจากคนทั่วไป (แบบที่เรียกว่า Civil Report) ทั้งหลาย ซึ่งไม่ว่ามันจะผิดจะถูก จะฟังดูโง่หรือฟังดูฉลาดยังไง ก็เป็นเสียงที่มีคุณค่าในตัวมันเอง เพราะอย่างน้อยมันก็มาจากประชาชนปัญหาต่อมาคือ เราจะทำยังไงให้เสียงของผู้คนเป็นที่รับฟังโดยเท่าเทียม ไม่ว่ามันจะมีอคติ จะชี้นำ จะมีผลประโยชน์ทับซ้อน หรือจะไปขัดใจใคร เพราะมนุษย์ปุถุชนทุกคนล้วนแต่ยังมีอคติ มีการชี้นำในแบบของตนเอง มีการใส่ใจเรื่องผลประโยชน์ (บางคนอาจสำคัญถึงขั้นเป็นเรื่องของปากท้อง การอยู่รอด) แต่ทั้งหลายเหล่านี้คือความเป็นมนุษย์ที่อยู่ภายใต้ท้องฟ้าผืนเดียวกัน ไม่ได้มีใครอยู่เหนือฟากฟ้าของใครงานเขียนของอดอร์โนรวมถึงบทความของผมเอง ก็ล้วนอยู่ภายใต้สิ่งเหล่านี้ด้วย ทั้งผมและอดอร์โนต่างก็ชี้นำผู้อ่านอยู่ในแบบของตัวเอง แต่ผู้อ่านไม่ใช่หุ่นยนต์หรือคอมพิวเตอร์ ทั้งผมและอดอร์โนจึงไม่อาจป้อนข้อมูลชี้นำใครได้ 100% ทุกคนมีวิจารณญาณ มีทัศนคติดั้งเดิมที่ต่างกัน (จากการเรียนรู้ตั้งแต่กำเนิด) และมีเจตจำนงเสรีของตัวเองสิ่งที่ผมเพ้อฝันเอามาก ๆ คือจะทำอย่างไรให้คนยอมรับความต่างเหล่านี้ได้ โดยที่ไม่มีความต่างของใครลอยอยู่เหนือฟากฟ้า จนกลายเป็น “ความต่าง” ที่ดีกว่าของคนอื่น และที่น่ากลัวไปกว่านั้นคือ อะไรก็ตามที่มันลอยอยู่เหนือฟากฟ้ามันก็จะสร้าง “ความเหมือน” ขึ้นมาให้ต้องยอมรับแต่โดยดี เพราะว่ามันวิจารณ์ไม่ได้ โต้ตอบไม่ได้ … ในที่แจ้งขอขอบคุณทุกท่านที่ (ทน) อ่านการโต้แย้งอดอร์โน (แบบฝ่ายเดียว เอาเปรียบคนที่ตายไปแล้วน่าดู :P ) มาจนถึงตอนจบจะ “เห็นชอบ” หรือ “เห็นแย้ง” อย่างไร ประเด็นไหนเชิญวิจารณ์ และระบาย ได้ตามสะดวก;)
เมธัส บัวชุม
คงเป็นเพราะความเชี่ยวชาญส่วนตัวหรือเคยผ่านประสบการณ์เลวร้ายเรื่องยาเสพติดมาก่อน คุณเฉลิม อยู่บำรุง จึงนำเสนอนโยบายปราบปรามยาเสพติดเพื่อหาเสียงในการเลือกตั้งครั้งหนึ่งว่าจะจัดการเฉียบขาดต่อพ่อค้า (และแม่ค้า) ยาเสพติดโดยลงโทษรุนแรงคือประหารชีวิต อย่างไรก็ตามคุณเฉลิม อยู่บำรุงไม่ได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็นผู้แทนในครั้งนั้น ดังนั้น นโยบายอันดุดันเรื่องนี้ของคุณเฉลิม  อยู่บำรุงจึงถูกพับเก็บไปการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา นโยบายทางสังคมอย่างเรื่องยาเสพติดและเรื่องอื่น ๆ ไม่ได้ถูกชูขึ้นหาเสียงมากนัก ผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งหลายโดยมากแล้วจะเน้นเรื่องนโยบายทางเศรษฐกิจ การสร้างความอยู่ดีกินดี สร้างรายได้ให้แก่ประชาชนเสียเป็นส่วนใหญ่ซึ่งจะว่าไปก็ล้วนแล้วแต่เป็นนโยบายประชานิยมไม่แตกต่างจากนโยบายพรรคไทยรักไทยที่เคยถูกวิพากษ์วิจารณ์แต่อย่างใด พรรคประชาธิปัตย์นำเสนอเรื่องการศึกษาฟรีในระดับชั้นมัธยมซึ่งเป็นสิ่งที่ดี แต่การให้การศึกษาแก่เยาวชนนั้นเป็นแนวนโยบายแห่งรัฐที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว ดังนั้นไม่ว่าพรรคไหนได้เป็นรัฐบาลก็จะต้องดำเนินการตามแนวนโยบายนี้อยู่ดี การนำเสนอเรื่องการศึกษาฟรี 12 ปี ของพรรคประชาธิปัตย์จึงไม่มีอะไรใหม่และไม่น่าสนใจน่าเสียดายที่บรรดาผู้อาสาเป็นผู้แทน ไม่ได้หยิบยกประเด็นทางสังคมขึ้นมานำเสนอเป็น "ทางเลือก" แก่ประชาชน อาทิเช่น ประเด็นเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ ผู้หญิง เอดส์ สิทธิผู้บริโภค ชนกลุ่มน้อย เด็กเร่ร่อนหรือปัญหาการระบาดของยาเสพติด ประเด็นเหล่านี้ถูกปล่อยให้อยู่ในความดูแลตามมีตามเกิดของหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบอยู่แล้ว หรือองค์กรพัฒนาภาคเอกชนที่ไม่มีกำลังความสามารถเพียงพอต่อปัญหาใหญ่ๆ ที่มีความซับซ้อนการเกิดสุญญากาศทางการเมืองทำให้ประเด็นทางสังคมถูกละเลยไปจนน่าเป็นห่วง หลายฝ่ายระดมทรัพยากรเพื่อต่อสู้เอาชนะกันทางการเมืองหรือมุ่งสร้างความสมานฉันท์ทางการเมืองโดยไม่ตระหนักว่าความสมานฉันท์จะเกิดไม่ได้ หากสมาชิกในสังคมยังประสบปัญหาการมีคุณภาพชีวิตที่ย่ำแย่ อันที่จริงก่อนหน้านี้ผมไม่เคยตระหนักถึงความสำคัญและสภาพปัญหายาเสพติด คิดแต่เพียงว่ามันเป็นเรื่องไกลตัว แต่หลังจากที่พบ "ตัวอย่าง" มากมายหลาย "ตัวอย่าง" ด้วยกัน ตลอดจนได้คุยกับผู้ปกครองหลายคนของเด็กที่ตกอยู่ในวังวนยาเสพติดกระทั่งได้ประสบพบเจอกับตัวเอง ผมจึงเห็นว่าเรื่องนี้เป็น "ความจริงของชีวิต" ที่สำคัญอย่างมากบริเวณที่ผมอาศัยอยู่นั้นยาเสพติดสามารถหาได้ง่ายมาก    และเด็กวัยรุ่นรู้กันดีว่าจะหามันมาได้อย่างไร แล้วพอได้มาแล้วก็พากันไปรวมตัวกันในทุ่งร้างแห่งหนึ่งซึ่งเหมือนเป็นจุดนัดพบ มิดชิดต่อสายตาสาธารณชนและตำรวจบทความที่แล้ว ผมยกตัวอย่างเด็กคนหนึ่งซึ่งมัวเมาจนยากจะถอนตัวจากยาบ้าจนผู้ปกครองประกาศตัดหางปล่อยวัดเด็กอีกคนที่ผมพบก็มีลักษณะคล้าย ๆ กัน  เด็กคนนี้เริ่มต้นจากบุหรี่เหมือนเด็กคนแรก จากนั้นก็เป็นกัญชาซึ่งราคาไม่แพงนัก ต่อมาก็พัฒนาเป็นยาบ้าซึ่งผมไม่รู้ว่าการเปลี่ยนระดับขั้นจากบุหรี่เป็นกัญชาแล้วเป็นยาบ้านั้น เด็กมีกระบวนการตัดสินใจเกิดขึ้นอย่างไรบ้าง? อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้เด็กบางคนหยุดอยู่ที่การบุหรี่ในขณะที่บางคนไปไกลถึงยาบ้า? ภูมิคุ้มกันของเด็กแต่ละคนแตกต่างกันอย่างไร?หลังจากเชี่ยวชาญเรื่องการเสพแล้วเด็กคนนี้ก็พัฒนากลายเป็น "เด็กเดินของ"  ซึ่งจะได้ทั้งเงินและยาบ้าเป็นค่าตอบแทนแล้วแต่กรณีจะเห็นได้ว่าเด็กทั้งสองคนที่ผมกล่าวถึงมี "เส้นทาง" คล้ายกันซึ่งไม่แน่ใจว่าเส้นทางนี้จะไปสุดที่ "บ้านเมตตา" หรือที่คุกหรือเด็กจะพัฒนาต่อไปเป็นพ่อค้ารายใหญ่ อย่างไรก็ตาม เด็กคนนี้ไปไกลกว่าเด็กคนแรกตรงที่ว่ามีผู้หญิงเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ดังนั้นจึงมั่วสุมเมามันกันไปทั้งยาเสพติดและผู้หญิงซึ่งก็ได้ผลทันตาเห็น เพราะเด็กผู้หญิงท้องและคลอดลูกออกมาขณะที่ทั้งคู่อายุยังไม่ถึง 15 ปี ทั้งพ่อและแม่ที่ยังเป็นเด็กเมื่อวานซืนไม่มีปัญญาจะเลี้ยงลูกที่คลอดออกมาโดยไม่ตั้งใจ และก็ไม่มีกะจิตกะใจที่จะเรียนหนังสือได้แต่อยู่ว่าง ๆ ไปวัน ๆ ส่วนลูกที่คลอดออกมานั้นก็ส่งไปให้ญาติฝ่ายหญิงเลี้ยงดู การมีลูกไม่ได้ทำให้ผู้เป็นพ่อตัดขาดจากยาเสพติด มันแทบไม่เกี่ยวกันเลย "ความเป็นพ่อ" หรือ "ความเป็นแม่"  เป็นเรื่องของวัฒนธรรม ที่ต้องผ่านการสั่งสมสั่งสอน ต้องค่อย ๆ เรียนรู้จากโลกของผู้ใหญ่ซึ่งเด็กเพียงอายุ 15 ไม่สามารถเข้าใจได้ง่าย ๆ นี่เป็น "ความจริงของชีวิต" ที่เด็กต้องรับมือในภาวะที่ไม่มีความพร้อมแม้แต่ด้านเดียว เป็นผลพวงจากการใช้ชีวิตเลยเถิด ขาดภูมิต้านทานต่อสิ่งยั่วเย้า และยาเสพติดก็เป็นสิ่งยั่วเย้าที่นอกจากยากจะต้านทานแล้วยังยากที่จะถอนตัวจากมันด้วย.                                                                       
พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ
  คุยกันเล่นๆ ในบางวันของชีวิตว่าเรามี "รัฐ" และ "รัฐบาล" ไปทำไม? บางคนตอบทีเล่นทีจริงแต่ค่อนข้างขมขื่น ว่า...ไม่ได้อยากมี มัน "มี" มาแล้วและมัน "มี" ของมันเอง ทำนองว่า... มีมาแต่ไหนแต่ไรหรือ "ที่ไหนๆ" และ "ใครๆ" ก็มีกัน อะไรทำนองนั้น...ประมาณนั้น ! "รัฐ" คือ อะไร? และมีความจำเป็นอย่างไร?ฟังดูเป็นวิชาการ และขึงขัง "เป็นงานเป็นการยิ่ง"... ลองค้นดูใน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตฯ พ.ศ.2542 ก็พบความหมาย(หรือคำแปล?) ว่า...รัฐ, รัฐ- [รัด, รัดถะ-] น. แคว้น เช่น รัฐปาหัง, บ้านเมือง เช่น กฎหมายสูงสุดของรัฐ, ประเทศ เช่น รัฐวาติกัน. (ป. รฏฺ?; ส. ราษฺฏฺร). อ่านแล้ว "งง" ไหม? กับการสื่อสารของเหล่าผู้รู้-ราชบัณฑิต!! ช่างเถอะ.. ถึงจะงงๆ กับการสรุปให้สั้นที่สุด(นี่แปลว่า "ชัดที่สุด" แน่หรือ?)แต่ก็พบสิ่งน่าตื่นตา ว่า... ในภาษาสันสกฤต "รัฐ" นั้นคือ "ราษฎร" น่าสนใจไหมเล่า... ที่คำว่า "ราษฎร" แปลว่า "รัฐ"ซึ่งหมายถึง แคว้น บ้านเมือง และ ประเทศมาแต่ครั้งโบราณ ครั้งที่ใช้ภาษาสันสกฤตโน่น... ก็แล้วใครกัน?ที่ทำให้ความหมายดีๆ อย่างนี้เลือนไปเสีย... ............... กลับมาที่วงสนทนาตอนต้นยังมีการคุยกัน "เล่นๆ" ว่า... ถ้า "รัฐ" ซึ่งดูแล หรือบริหารโดย "รัฐบาล"ไม่สามารถแม้แต่จะ ... ๑. จัดเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มให้ประชาชน ปีละชุด 2 ชุด๒. จัดหายารักษาโรค หรือการรักษาพยาบาล(ขั้นพื้นฐาน)ฟรี๓. จัดหาที่อยู่อาศัย(เฉพาะคนที่ไม่สามารถจัดหาเองได้)อันมั่นคงถาวร๔. จัดหาอาหารบรรเทาความเดือดร้อน แก่ผู้ยากไร้และในยามประสบภัย(ให้อย่างเหมาะสมและทั่วถึง) หรือ ถ้าให้ดีไปกว่านั้นบางคนเสนอให้ลองเพิ่ม... ๕. จัดหาบำนาญให้กับทุกคนที่อายุเกิน ๖๐ ปี(ถึงไม่ใช่คนของรัฐก็เถอะ)๖. จัดให้ผู้สูงอายุ(เกิน ๖๐ นั่นล่ะกระมัง)ได้เดินทางท่องเที่ยวฟรี สักปีละครั้ง๗. จัดให้มีบริการด้านสาธารณสุข(เป็นพิเศษ)สำหรับคนชรา คนยากไร้และผู้ประสบภัย และ/หรือ ๘. จัดการศึกษาและให้โอกาสที่เท่าเทียมในทุกระดับ โดยไม่เร่งรัดหรือจำกัดเวลา๙. เปิดโอกาสให้พัฒนาและใช้ศักยภาพ โดยการเสนอโครงการเพื่อรับทุน มาทำงานแก้ปัญหาบางระดับ(ตามความเชื่อผู้ขอทุน)ว่าควรจะเป็นเช่นนั้นเช่นนี้แทนที่รัฐและองค์กรพัฒนาเอกชนจะผูกขาดไว้ทำเอง๑๐. เปิดโอกาสและให้ช่องทาง สำหรับเข้าถึงทรัพยากร องค์ความรู้ ภูมิปัญญา และข้อมูลข่าวสาร ซึ่งอยู่ในความครอบครองของรัฐ ตลอดจน ๑๑. เปิดโอกาสและช่องทางให้แสดงศักยภาพ๑๒. เปิดโอกาสและช่องทางให้เข้าถึงแหล่งทุน(นอกรัฐ) โดยมีรัฐเป็นผู้รับรองหรือค้ำประกัน๑๓. เปิดโอกาสและช่องทางให้ประชาชนได้เข้าถึง(ใช้งาน)บุคลากรและเครื่องมือของภาครัฐ๑๔. ส่งเสริมและสนับสนุนการสื่อสารและการแลกเปลี่ยนข้อมูลสาธารณะระหว่างบุคคลและองค์กร ตลอดจนภาคส่วนต่างๆ ทางสังคม และประชาสังคม ฯลฯ บางคนยิ้มขื่นๆ บางคนหัวเราะเฝื่อนๆขณะที่บางคนส่ายหน้า พลางว่า "ยากที่จะเป็นไปได้..." โดยบางคนเหม่อลอยและงงงันกับจินตนาการที่ไม่เคยลองคิด .................. ออกจะน่าประหลาดที่แม้วงคุยเล่นๆ เราก็แทบไม่มีจินตนาการ "ว่าด้วยรัฐ" แถมไม่รู้เอาเลยว่ายังมีวงคุยจริงจังเรื่องนี้อยู่ที่ไหนบ้าง..ที่คนทั่วไปสามารถเข้าถึง? นอกจากบนหอคอยงาช้าง ที่เรียกกันว่า "แวดวงวิชาการ" ................... สิบกว่าข้อที่คุยกันในวงเล็กๆจะมีโอกาสแปรไปเป็น"นโยบาย" หรือ "แนวทางการพัฒนา" "ของรัฐ" บ้างไหม?  มีโอกาสเป็น "นโยบายพรรคการเมือง" บ้างไหม?มีโอกาสวางกรอบไว้ในกฎหมายลูกหรือกฎหมายสูงสุด เช่น "รัฐธรรมนูญบ้างหรือไม่? หรือมีโอกาสกำหนดอยู่ในกรอบโครงใหญ่ๆ ใดๆ อีกบ้าง? ................... ยังเขียน(พิมพ์)ไม่ถึงไหน ข่าวก็ส่งเสียงมาจากไกลๆ ว่า...สภาผู้แทนราษฎรที่เปิดไปแล้วตั้งกะวันก่อนนี้ได้ประธานสภาผู้แทนราษฎร(และว่าที่ประธานรัฐสภา)แล้วเป็นคนจากพรรคพลังประชาชนอีกไม่นานก็จะมีนายกรัฐมนตรีมาจากพรรคพลังประชาชนมีรัฐบาลมาจากพรรคพลังประชาชนและมีอีกหลายๆ อย่างมาจาก "พรรคพลังประชาชน" และภาคีร่วมบุฟเฟ่ต์ พรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมาก ซึ่งเมื่อรวมกับอีก 5 พรรคแล้วก็มีโอกาสจัดตั้งรัฐบาล ด้วยความชอบธรรม ของการเมืองระบบตัวแทน ................. ประเทศไทยเพิ่งผ่านการเลือกตั้ง ส.ส.และกำลังจะมี "รัฐบาล" เข้ามาบริหารประเทศ เพื่อ "บริหาร-จัดการ" ให้ "รัฐไทย" ก้าวต่อไป ซึ่งดูจะมีหมอกเมฆและม่านควันทึมทึบเป็นด่านแรกราวกับหนังตัวอย่างอันน่าตระหนกจน "ท่านผู้ชม" ขวัญผวาก่อนที่หนังจริงจะเริ่มฉายเสียด้วยซ้ำ.................... จะอย่างไรก็แล้วแต่... อยากฝากไปถึง "คุณทักษิณและคณะฯ" ด้วยว่า... การเขียนบทและกำกับภาพยนต์ว่าด้วย "รัฐไทย2551" เรื่องนี้...เป็นจินตนาการเสียดเย้ย และประชดประเทียดระดับ "ตลกร้าย" ชนิด 5 ดาว โดยแท้... เพราะย้อนหลังไปสองสามปี... ถ้าวันนั้นใครบอกว่าคุณสมัครจะเป็นแคนดิเดตนายกฯ,คุณยงยุทธจะเป็นประธานรัฐสภา,คุณเฉลิมเป็นแคนดิเดตรัฐมนตรีว่าการมหาดไทย หรือยุติธรรม และ...คุณเสนาะจะกลับไปร่วมงานกับคุณทักษิณหรือ คนของคุณทักษิณ  ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ ถ้าไม่โดนโห่ฮา คนพูดก็น่าจะเป็นจำอวดตัวกลั่นหรือไม่ก็กำลังแสดงสภาโจ้กอยู่แน่ๆ... แต่แล้วคุณทักษิณก็เหนือชั้น และทำได้อีกครั้ง... ราวกับจะบอกเป็นนัยๆ ว่า"เมื่อพวกเอ็งไม่เอาข้า... ก็เอาไอ้พวกนี้ไปอวดชาวโลกละกัน!!" จินตนาการว่าด้วย "รัฐ" และ "รัฐบาล" ของท่านอดีตนายกฯช่างร้ายกาจจน "เหลือจะทน" เอาเสียจริงๆ... ไม่ใช่คุณทักษิณใครจะทำได้อย่างนี้ หรือขนาดนี้ คิดฉากจบไม่ออกยอมรับว่า "เดาไม่ถูก-คาดไม่ได้" เอาจริงๆ
Music
   In The Flesh?"Tell me is something eluding you sunshine?Is this not what you expected to see?If you'd like to find out what's behind these cold eyesYou'll just have to claw your way through this disguise"จากเพลง ‘In The Flesh?'ของ Pink Floydอดอร์โน...ผมศึกษาและเขียนแย้งแนวคิดของคุณในเรื่องป็อบปูล่าร์มิวสิคมาพอสมควร แต่สิ่งที่ผมค้นพบได้จากตัวคุณมันมีแต่เรื่องเกี่ยวกับความคิดทฤษฎีทั้งนั้นบางขณะที่ผมเคาะแป้นคีย์บอร์ดถกเถียงกับทฤษฎีของคุณ ผมก็ไพล่นึกไปว่า ในช่วงที่คุณมีชีวิตอยู่นั้น อะไรที่ทำให้คุณบันเทิงใจกับดนตรีที่มีซาวด์แบบ Atonal จนคุณถึงกับเขียนชมมันเป็นวรรคเป็นเวรขนาดนี้ (ไม่หรอก ผมยังไม่เชื่ออยู่ดีว่า Atonal music มันจะ Liberate อะไรใครได้ แต่ผมรู้ว่าคุณชอบมัน แบบเดียวกับที่ผมชอบวงร็อคหลายๆ วง) แล้วในแวดวงสังคมที่คุณอยู่ เขายอมรับกับความชอบ ยอมรับกับรสนิยมของคุณขนาดไหน?อะไรกันที่ทำให้คุณมองดนตรีแจ๊สแบบลบๆ การที่ใครจะมองอะไรแบบลบๆ มีความเป็นไปได้ว่าเขาจะถูกกระทำจากสิ่งนั้นมาก่อน การนำทฤษฎีมาจับในแง่หนึ่งมันเป็นสิ่งที่ดีที่จะทำให้ได้มองอะไรจากเหตุผล จากตรรกะ มากกว่าจากอารมณ์หรือความรู้สึก แต่ในอีกแง่หนึ่งมันก็คือการ sublime ทำให้การแสดงทัศนะทางลบต่ออะไรอย่างหนึ่งยอมรับได้ อย่างน้อยก็ในวงวิชาการที่รับได้กับการใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์เท่าที่ผมรู้มาจากชีวประวัติของคุณ คุณมีโอกาสได้สัมผัสเปียโนตั้งแต่ยังเยาว์วัย แล้วมันก็ทำให้คุณปิติกับเสียงของมัน กับฝีมือเปียโนที่ก้าวหน้าของตัวเอง คุณเป็นนักเรียนที่หลงรักความรู้และตัวหนังสือ เรียนจบออกมาด้วยระดับท็อปและพ่วงเอามิตรทางวิชาการออกมาด้วยตอนที่คุณอายุเท่าๆ กับผมในตอนนี้ ช่วงอายุที่คนเรากำลังหาทิศทางก้าวย่างไปสู่วัยทำงานนั้น คุณคิดอยากจะใช้ความรู้ที่ร่ำเรียนมาเอามาใช้วิจารณ์ดนตรีมาก แล้วคุณก็ได้เขียนงานวิจารณ์ที่คุณอยากเขียนสมใจ (เช่นเดียวกับผมที่ได้เขียนถึงคุณในตอนนี้) ก่อนที่คุณจะได้พบกับ คนอย่าง Alban Berg และ Arnold Schoenberg โดยเฉพาะคนหลังนี้เป็นผู้ที่นำพาให้คุณได้ค้นพบกับความมหัศจรรย์ของดนตรีแบบ Atonalityใช่ ! ด้วยความมาดมั่นของคนหนุ่มแน่น คุณจึงเอาความรู้ที่คุณสะสมมาจากการศึกษาบวกกับความคิดคุณเอง มาอธิบายความน่าชื่นชมของดนตรีที่คุณชอบ แต่ดูเหมือนตา Schoenberg เองก็เฉยๆ ไม่ยี่หระกับการที่คุณเอาปรัชญามาจับกับดนตรีของเขาเสียเท่าไหร่ แม้คุณอยากจะพรรณนาถึงความปลาบปลื้มที่คุณมีต่อเพลงๆ หนึ่งอย่างไร มันก็ดูจะเปล่าประโยชน์ในสายตาของศิลปินอีโก้แรงเหล่านั้น คุณถึงหันมาเอาดีทางด้านงานทางสังคมและวิชาการกระนั้นผมก็นึกถึงภาพของคุณที่โดดเดี่ยวท่ามกลางฝูงชน ท่ามกลางงานเลี้ยงสวมหน้ากากของดนตรีแจ๊ส ตัวดนตรีเองมันไม่ได้ผิดบาปอะไรหรอก แต่กลุ่มชนที่เชยชมมัน ทั้งๆ ที่พวกเขาอาจจะแค่อยากเข้าสังคม อยากสวมหน้ากากเพื่อให้รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของงานเลี้ยงนั่นต่างหากใช่ไหม ที่ทำให้คุณรู้สึกแย่แต่ถ้าคิดในอีกทาง คุณอาจจะแค่สวมหน้ากากได้ไม่เก่งเท่าผมก็ได้...One of the few"...make them me, make them you,make them do what you want them tomake them laugh, make them cry,make them lie down and die"- จากเพลง "One of the few"ของ Pink Floydผมเป็นคนที่เติบโตมาในครอบครัวชนชั้นกลางที่ฐานะการงานครอบครัวกระท่อนกระแท่นบ้าง แต่ก็เรียกได้ว่ามีอันจะกิน และคงเหมือนๆ กับครอบครัวชนชั้นกลางทั่วไปที่ได้ยินเพลงป็อบตามยุคสมัยจนชินชา โรงเรียนจะจับผมไปเต้นเพลงพี่เบิร์ด ธงไชย ในงานวันเด็ก คอนเสิร์ตในทีวีวันเสาร์อาทิตย์ก็มีนักร้องของค่ายใหญ่สลับกันมาออกทีวีให้ดู ผมตามดูรายการมิวสิควีดิโอของวัยรุ่น (ที่แบ่งค่ายกันชัดเจน) เพื่อที่จะได้มีเรื่องคุยกับเพื่อนตอนไปโรงเรียนจนกระทั่งพอผมโตขึ้นอีกหน่อย พอจะรู้สึกถึงคำว่า ‘เบื่อ' ผมเริ่มเบื่อเพลงป็อบตลาดแบบเดิมๆ ที่คนพากันพูดถึงซ้ำๆ เพลงที่ฉายในรายการก็แบบเดิมๆ ทำให้รู้สึกอยากค้นหาอะไรใหม่ๆ เพราะเพลงรักเนื้อหาซ้ำๆ เหล่านั้น ไม่ได้ให้คำตอบอะไรกับผมอีกต่อไป แต่ก็มองไม่เห็นว่าจะมีอะไรดีกว่าพอดีว่าในช่วงหนึ่งที่ครอบครัวต้องย้ายบ้าน ผมได้ไปค้นพบเทปเพลงแปลกๆ เข้า เป็นเทปเพลงที่ไม่มีป้ายแปะบอกว่าเป็นเพลงของใครเมื่อความอยากรู้อยากเห็นทำให้ผมเอาเทปม้วนนั้นมาใส่ในเครื่องแล้วกดปุ่มเพลย์ ทันใดนั้นเครื่องเล่นก็แว่วเสียงกีต้าร์โปร่งละมุนหูออกมา มีเสียงนักร้องเหมือนกำลังขับขานออกมาจากดินแดนที่ห่างไกล เนื้อร้องของมันเป็นภาษาอังกฤษที่ผมฟังไม่เข้าใจ แต่กลับทำให้ความรู้สึกปิติเอ่อล้นออกมาอย่างอธิบายไม่ถูก ผมมารู้จากแม่หลังว่านี่เป็นเพลงคันทรี่สมัยก่อนที่เคยชอบฟัง ซึ่งโลกใบเล็กๆ ของผมในตอนนั้นทำให้ผมมองว่าไอ่เทปนี่เป็น "ของแปลก" สำหรับผมไปแล้ว (ซึ่งต่อมาก็จะรู้ว่า โลกนี้มันช่างกว้างขวาง และมีอะไรแปลกๆ ใหม่ๆ กว่านี้อีกหลายเท่านัก) สิ่งที่ผมคิดว่ามีความสำคัญกับรสนิยม พื้นฐาน การฟังเพลงของแต่ละคน มันมาจากสิ่งแวดล้อมรอบข้าง และสื่อฯคนที่อยู่ในสังคมเมืองอย่างผม อิทธิพลที่สำคัญคงไม่พ้นสื่อโทรทัศน์ วิทยุ ซึ่งผมเองก็ได้รับรู้มาเท่าที่สื่อเหล่านี้เสนอมาให้ เพื่อนๆ ที่คุยกันในโรงเรียนก็คือคนที่เสพย์สื่ออันเดียวกับเรานั่นแหละ อาจจะเว้นให้คนที่มีอภิสิทธิ์หน่อยคือคนที่มีเคเบิลทีวี ที่จะคอยเอาวัฒนธรรมป็อบแบบ MTV มากึ่งอวดกึ่งเผยแพร่ ...ยุคสมัยที่ผมเติบโตมาเป็นเช่นนี้จริงๆ จึงไม่แปลกหากเขาจะไม่รู้จักเพลงคันทรี่ และเพลงเก่าอื่นๆ ที่ผมบังเอิญค้นพบจากเทปนิรนามยุคสมัยของผมในเวลาต่อมายังมีการคาบเกี่ยวของยุคบอยแบนด์กับอัลเตอร์เนทีฟ ความทรงจำของทั้งวงบอยแบนด์และอัลเตอร์เนทีฟนั้นมีอยู่แน่ๆ แต่ไม่กระจ่างชัดเท่าวงร็อคเก่าๆ หลายวงที่ผมค่อยๆ ทำความรู้จักมัน ผมจึงรู้จัก Take That, Boyzone ดีพอๆ กับที่รู้จัก Scorpions, The Eagles หรือ Pink Floyd เหมือนผมบิดนาฬิกาย้อนเวลากลับอยู่คนเดียว ขณะที่คนอื่นๆ แห่แหนไปกับอะไรอย่างหนึ่ง ไม่ว่ามันจะมีชื่อว่าอะไรก็ตามคุณลองนึกถึงภาพผมในตอนที่ยังเป็นเด็กหนุ่มสวมกางเกงขาสั้นที่สวมหน้ากาก ทำตัวกลมกลืนไปกับกลุ่มคนที่เชยชมอะไรทั้งหลาย ทั้งที่ในใจผมไม่ได้รู้สึกเชยชมไปกับสิ่งเหล่านั้นด้วยจริงๆ เลย ผมจะเดินตัวลีบเวลาที่นึกถึงอารมณ์อันบรรเจิดของเพลง Bohemian Rhapsody (เพลงจากวง Queen) ความเกรี้ยวกราดในเพลงของ Nirvana แต่ไม่สามารถพูดให้ใครฟังได้ มวลชนอันแปลกหน้าเหล่านั้นต่างสวมหน้ากากของสัตว์ประหลาด...หน้ากากอันเดียวกับที่ผมสวมไว้ด้วยผมได้แต่ซ่อนความรู้สึกเหน็ดหน่ายไว้ใต้หน้ากากนั่น รู้สึกอยากจะก่นด่าไอ่เพลงมองโลกในแง่ดีตอหลดตอแหล จากวงที่เขาไม่สนว่ามันจะมาจากค่ายเพลงกระแสหลัก หรือ So-Called อินดี้ (คำว่า "อินดี้" ในวงการเพลงไทยสำหรับผมมันไม่มีความหมายอะไรเท่าไหร่ หลายๆ วงที่เรียกตัวเองว่าเป็นอินดี้ก็มีดนตรีธรรมดาๆ ไม่ค่อยต่างจากในกระแสหลัก นานๆ ทีจะเจอที่แหวกๆ ออกมา หรืออีกนัยหนึ่งคือคำๆ นี้ถูกบิดเบือนไปสู่การค้าในรูปแบบที่เนียนและดูมีระดับกว่าเท่านั้น) ใจจะขาด หากแต่กระแสมวลชนสวมหน้ากากพวกนั้นคงกลืนกินเสียงของผมไปหมดหน้ากากสัตว์ประหลาดที่เขาสวมนั้น มันช่างคับ (แคบ), หนัก, หนา และวันหนึ่งก็จะทำให้ผมเจ็บปวดกับมันอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงโชคร้ายที่อดอร์โนอยู่ได้ไม่ถึงยุคของอินเตอร์เน็ต และโชคดีที่อินเตอร์เน็ตทำให้ผมได้พบกับคนที่เรียกได้ว่าเป็น "พวกเดียวกัน" ในทางรสนิยม ไม่จำเป็นต้องใส่หน้ากากอีกต่อไปการที่ผมเขียนแย้งอดอร์โนเรื่องป็อบปูล่าร์มิวสิคนั้น ไม่ได้หมายความว่าอะไรที่เป็นกระแสนิยมมันคือสิ่งที่ดีและน่าชื่นชมเสมอไป ผมอยากให้รู้ไว้ว่า คนที่รู้สึกถูกกระทำจากวัฒนธรรมกระแสนิยมมันก็มีอยู่ และอย่าได้เอาชนชั้นล่าง เอาคนจนมาอ้างเลย ผมจะบอกให้ก็ได้ว่าผู้นำเทรนด์กระแสหลักจริงๆ มันก็คือชนชั้นกลางที่มีกำลังซื้อนี่แหละผมอยากจะบอกอีกว่า ไอ่วัฒนธรรมกระแสรองทั้งหลายส่วนหนึ่งมันมีที่มาจากคนที่รู้สึกถูกกระทำจากกระแสหลักนั่นแหละ แล้วชนชั้นกลางที่พวกคุณชอบด่าๆ กันมันก็มีหลายจำพวก เพราะฉะนั้นการที่เอะอะอะไรก็ด่าวัฒนธรรมกระแสรองแบบไม่ลืมหูลืมตา ไม่แยกแยะ มันก็ฟังดูตื้นเขินและเหมารวม ไม่ต่างกับที่อดอร์โนด่าเพลงป็อบเลยIn The Flesh"...And they sent us along as a surrogate bandWe're gonna find out where you folks really stand"- จากเพลง "In The Flesh" ของ Pink Floydอดอร์โน...ผมเชื่อว่าทั้งผมและคุณต่างเคยมีความเจ็บปวดอันเดียวกัน มีความเกลียดชังคล้ายๆ กัน ผมอาจจะเขียนแย้งคุณ แต่ผมไม่ได้ปฏิเสธความคิดของคุณไปหมดทุกอย่าง ในแง่การพยายามเชื่อมโยงเรื่องดนตรีกับการปลดปล่อยตัวเองและสังคมอะไรของคุณนั่นมันฟังดูลักลั่นก็จริง แต่ในแง่วัฒนธรรมคุณมีส่วนถูกการผลิตซ้ำของมายาคติในเนื้อหา มันช่วยตอกย้ำภาพของอะไรบางอย่าง ไม่ว่าภาพอันนั้นมันจะบิดเบือนไปจากความเข้าใจที่แท้จริงของคนสักเพียงใดก็ตาม เพลง "ฤดูที่แตกต่าง" อาจทำให้ใครหลายคนเชื่อเอาเองว่าคนเรามันมีทุกข์ต้องมีสุข เราจง ‘ได้แต่รอคอย' ไอ่ความสุขนั้นมาเองเหมือนแสงแดดในฤดูร้อนแล้วกันนะ ซึ่งคนที่เชื่อในเนื้อหาเพลงนี้บางคนเอาความเชื่อนี้ไปตัดสินคนที่เรียกร้องหาความสุข ว่าทำไมไม่รู้จักมองโลกในแง่ดี ทั้งที่ไม่เคยรู้เลยว่า อีกหลายๆ คนในโลกมีฝนตกอยู่ตรงที่เขาตลอดเวลา และไม่เคยพบไอ่ ‘ฟ้าสว่าง' ที่ว่าเลยแม้แต่น้อยแต่ขณะเดียวกันก็น่าสงสัยว่า เพลงที่พูดถึงความเจ็บปวดจากคนระดับล่างในสังคมบางเพลง มันก็เป็นการตอกย้ำความต้อยต่ำของพวกเขาหรือไม่ หรือว่าจริงๆ แล้วมันเป็นแค่การช่วย "สะท้อน" ภาพหรือความรู้สึกของพวกเขาออกมาได้เท่านั้นเองแต่ก็นะ...อดอร์โน...ศิลปะหรือวัฒนธรรม มันไม่ใช่อะไรแข็งๆ หรือตรงทื่อแบบที่จะใช้อธิบายเหมารวมแบบโต้งๆ ได้ ถึงผมจะเชื่อว่าสื่อสาธารณ์ ป็อบปูล่าร์มิวสิค อะไรพวกนี้มันมีส่วนในการปรับเปลี่ยน บิดเบือน การรับรู้และความเชื่อ ของผู้คน แต่การปฏิเสธศิลปะหรือสื่อสาธารณ์โดยสิ้นเชิงมันคงไม่ใช่ทางออกที่ดี  แล้วทางออกของพวกเราคืออะไรน่ะหรือ?คราวหน้าผมจะมาบอกคุณ... 
Music
    Arnold Schoenberg(นักประพันธ์เพลงคนโปรดของ Adorno)ดูเหมือนความตายของ Adorno ในปี 1969 จะทำให้ผู้ที่ใช้แนวคิดของ Adorno มาวิพากษ์ Popular Music หยุดเติบโตไปด้วย พวกเขามักจะมองดนตรีที่มีอิทธิพลตั้งแต่ยุค 70's เป็นต้นมาอย่างเหมารวมและติ้นเขิน พวกเขาถึงขั้นจัด The Beatles, Nirvana และ Linkin Park ไว้ในประเภทเดียวกันผมไม่ปฏิเสธความเป็นป็อบและร็อคของทั้งสามวงที่ยกตัวอย่างมานี้ หากความเป็นร็อคคือความหนัก และการมีจังหวะที่ชัดเจน หากความป็อบคือความติดหู ฟังง่าย ผมก็เชื่อว่าทั้ง สี่เต่าทอง, กรันจ์เจอร์นิพพาน และ สวนสาธารณะของลินคอร์น ต่างก็มีความเป็นป็อบและความเป็นร็อคทั้งสิ้น (หลายเพลงของ Nirvana ฟังแล้วติดหูมาก ผมยอมรับตรงนี้เหมือนกัน) เพียงแต่การนำคุณสมบัติบางอย่างที่เหมือนกันมาตัดสินว่าดนตรีร็อค ไม่ว่าจะในยุค 60's, 90's หรือยุคปัจจุบัน ล้วนเป็น Popular music ที่ผลิตอะไรซ้ำๆ เหมือนๆ กันไปหมด มันก็ฟังดูทุเรศทุรังไม่น้อยดนตรีพวก Classical music เองก็หยิบยืมอะไรจากกันและกันมาเหมือนกันไม่ใช่หรือ แม้ผมไม่อาจจะชี้ชัดในรายละเอียดแบบลึกๆ ลงไปได้ แต่ขอบอกด้วยสามัญสำนึกของคนธรรมดาทั่วไปก็ได้ว่า สำหรับคนที่เคยฟัง Popular music มาตั้งแต่เกิด (ไม่ต้องไปหาที่ไหน คนที่เราเดินเฉียด เดินสวนกัน 98 ใน 100 ล้วนเป็นผู้ที่ฟัง Popular Music มาตั้งแต่เกิดทั้งสิ้น) จะแยกไม่ออกว่าเพลงคลาสสิคเพลงนึงเป็นของยุค Baroque (ค.ศ.1600-1750) หรือยุค Renaissance (ค.ศ.1450-1600) ก็เป็นเรื่องธรรมดามาก ฉันใดก็ฉันนั้น คนที่ไม่ได้ฟังดนตรี Rock อย่างจริงจังจะเห็นว่า Nirvana กับ Linkin Park มันก็เหมือนๆ กันก็ไม่แปลกพวกที่เอาแนวคิดของ Adorno มาจับ Popular music ของยุค 70's เป็นต้นไปนั้น ก็มักจะมองด้วยกรอบที่ตีมาแล้วว่า "ขึ้นชื่อว่าเป็น Popular music มันต้องเหมือนกันแน่ๆ" โดยไม่เคยได้สนใจบริบททางวัฒนธรรมที่ประกอบสร้างดนตรีแนวย่อยๆ ทั้งหลายขึ้นมาเลย พวกเขาจะรู้หรือเปล่าว่าเหตุใดวัยรุ่นชนชั้นล่างในอังกฤษถึงลุกขึ้นมาเล่นเพลงง่ายๆ แต่งตัวแสบๆ จนกลายเป็นแนวพังค์ พวกเขาจะรู้หรือเปล่าว่าทำไมถึงชอบมีคนโยงดนตรี grunge (ดนตรีร็อคแบบของ Nirvana, Pearl Jam ฯลฯ ) เข้ากับ Generation X พวกเขาจะรู้หรือเปล่าว่าทำไมทั้ง Damon Albarn (ตอนนั้นเป็นนักร้องนำวง Blur) และ Noel Gallagher (แห่ง Oasis) ต่างพร้อมใจพากันออกมาด่าพวก grunge ถ้าไม่ทางตรงก็แอบสอดลงไปในเนื้อเพลงแน่นอน...ไม่ว่าพวกเขาจะปฏิเสธเรื่องความเป็น Elite ในแนวคิดของ Adorno มากขนาดไหน แต่การละทิ้ง ไม่ยอมลงมาศึกษาสิ่งที่พวกเขาเอาแต่วิพากษ์วิจารณ์อยู่บนหอคอย มันก็โชยกลิ่น Elite มาให้เหม็นหืนอย่างช่วยไม่ได้สิ่งที่ Adorno เชิดชูเป็นอย่างมากอีกอย่างหนึ่งในดนตรีคือ Atonality ซึ่งพูดง่ายๆ คือดนตรีที่ไม่มีฐานตัวโน๊ตและบันไดเสียงหลัก บ้างก็เรียก Twelve-tone คือ บันไดเสียง 12 เสียง และทั้ง 12 เสียงมีความสำคัญเท่าเทียมกัน เวลาบรรเลงจึงทำให้เกิดซาวน์ดนตรีที่มีลักษณะขัดหู หัวเรือใหญ่ของดนตรีแนวนี้คือนักประพันธ์ที่ชื่อ Arnold Schoenberg และอีกคนที่ผมพอจะเคยฟังบ้างคือ Bela Bartok ซึ่ง Adorno รวมถึงผู้ที่เชื่อใน Adorno บางคน ได้เชิดชูดนตรีที่มีลักษณะนี้ไว้ว่าเป็นดนตรีที่ช่วยปลดปล่อย (Liberate) ออกจากแบบแผนการวางตัวโน๊ตแบบเดิมๆ ซึ่งหมายความว่า มันคือดนตรีที่เต็มไปด้วยเสรีภาพ และจิตวิญญาณอิสระ ไม่ได้ทำการล้างสมองใครด้วยสรรพสำเนียงซ้ำซากผมขอขยายความก่อนหน้าที่จะพูดถึงนิทานกล่อมเด็กอันแสนยิ่งใหญ่ของ Adorno เขาได้เขียนถึง Popular Music ไว้ว่า มันเต็มไปด้วยการเรียบเรียงแบบซ้ำๆ (Repetitive) และทำให้คนฟังติดอยู่กับการฟังตัวโน้ต- คอร์ด-จังหวะหรืออะไรก็ตามแบบซ้ำๆ ตรงนี้ไม่ต่างจากการบริโภคผลผลิตที่ซ้ำซากจากโรงงานอุตสาหกรรม และข้อความที่แฝงมาในเนื้อหาของเพลงประเภทนี้ก็เป็นการบีบให้ผู้ฟังได้แต่รับสารโดยไม่ต้องตีความ เนื่องจากทำนองเพลงอันมีลักษณะตายตัวช่วยทำให้ผู้ฟังเคลิ้มไปกับมันจนไม่ต้องได้ตีความใดๆ - นี่คือสิ่งที่ผมเรียบเรียงได้จากความพยายามใช้โวหารรำพึงรำพันของ Adorno เพื่อดิสเครดิตดนตรีป็อบ   Bela Bartokผมได้บอกไว้ในคราวที่แล้วว่า Adorno ดันตายไปก่อนในปี 1969 การที่ผู้ศึกษา Adorno เอาแนวคิดเขามาพูดถึงดนตรีหลังยุค 70's จึงชวนให้ต้องชั่งใจเสียเล็กน้อย มีดนตรีอยู่แขนงหนึ่งที่ค่อยๆ เฟื่องฟูขึ้นมาในช่วงต้น 70's มันคือดนตรีที่เรียกว่า Progressive Rock ผมไม่เข้าใจว่า ทำไม Adorno ถึงคิดว่าผู้บริโภคดนตรีทั้งหลาย มันจะไม่มีสิ่งที่เรียกว่า "ความเบื่อหน่าย" เอาเสียเลย จากดนตรีพวก Folk-rock , Blues-rock , Psychedelic ในช่วงก่อนหน้า ทำให้มีศิลปินบางกลุ่มเริ่มอยากจะหลุดจากพื้นที่ตรงนั้น และก้าวเดินต่อไปเพื่อปลูกสร้างสิ่งใหม่โดยอาจจะทั้งหยิบยืมและต่อต้านสิ่งเดิม พลวัตทางศิลปะวัฒนธรรมมันมีตรงนี้อยู่ทั้งสิ้นโดยเริ่มต้นแล้วดนตรี Progressive Rock มีส่วนหนึ่งของความทะเยอทยาน ในการที่จะทำให้ดนตรี Rock เทียบชั้นได้กับพวก (ที่เขาเรียกกันว่า) Art Music อย่างดนตรี Classic หรือดนตรี Jazz บางสายที่เต็มไปด้วยความแพรวพราว คุณสมบัติของดนตรีดังกล่าวจึงถูกผสมผสานลงไปในดนตรี Rock สมัยนั้นได้อย่างกลมกลืน จนทำให้เกิดวงอย่าง Yes, Genesis, King Crimson หรือบ้างก็พัฒนามาทางสาย Psychedelic อย่าง Pink Floyd ฯลฯฟังดูแล้วเหมือนดนตรี Progressive จะเป็นเพลงของคนหัวสูง ต้องปีนกระไดฟัง (ข้อหาเดียวกับดนตรีคลาสสิก) แต่เท่าที่ผมพบเจอมา คนฟังแนวนี้ก็เป็นคนฟังเพลงธรรมดา ฟังป็อบ ฟังร็อค อะไรทั่วไป เพียงแต่อาจจะมีจำนวนน้อยหน่อย บางคนเคยฟัง Classic บางคนก็มาจากสาย Jazz บางคน (ส่วนใหญ่) ซึ่งรวมผมด้วยเป็นพวก Rock เพียวๆ มาก่อน บางคนเคยเป็น Metalhead ดุๆ แต่เบื่อหน่ายการพยายามจะแข่งกัน "โหด" อย่างเดียวเลยหันมาหาอะไรวิจิตรๆ เสียบ้างผมอยากรู้ว่า Adorno จะอธิบายปรากฏการณ์ตรงนี้ว่าอย่างไร?และคนฟัง Prog (ชื่อเรียกย่อของ Progressive Rock) ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ปิดกั้นตัวเองเลย พวกเขายังคงฟัง Pop Rock ฟัง Jazz ฟังอะไรที่ตัวเองเคยฟังมาก่อนโดยไม่จำเป็นต้องสมาทานตัวเองแบบคนฟังดนตรี Classic บางคนที่ถึงขั้นไม่อยากแตะแนวอื่น หรือคนฟัง Extreme Metal บางคนที่คอยแต่จะด่าเหยียดดนตรีแขนงอื่นนั่นอาจจะเป็นเพราะ Progressive Rock เป็นแนวดนตรีที่ไม่มีรูปแบบการแสดงออกทางวัฒนธรรมที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม พวกเขาคิดว่าดนตรีก็คือดนตรี ก็คือศิลปะ ขณะเดียวกันก็เป็นความบันเทิง คอนเสิร์ตสำหรับพวกเขามันก็คือโชว์อย่างหนึ่ง ซึ่งบางทีก็มีการประดิษฐ์ประดอยเวทีจนราวกับฉากโรงละคร ไม่ได้เป็นพิธีกรรมอะไรมากกว่านั้นAdorno จะอธิบายว่าอย่างไร เมื่อได้รู้ว่าคนฟังดนตรี Pop ที่เขาเคยด่า ไม่ได้กลายเป็นทาสอุตสาหกรรมวัฒนธรรมอย่างที่เขาพูดถึง?และยิ่งกว่านั้น Adorno จะอธิบายอย่างไร หากเขามีโอกาสได้มาฟังเพลงบางเพลงของ King Crimson แล้วพบว่ามันเป็น Atonal music ที่เขาชื่นชมนักชื่นชมนักหนา... ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจอะไรนัก เพราะนักวิจารณ์เองยังบอกเลยว่าวงนี้ได้รับอิทธิพลบางส่วนมาจาก Bela Bartok นั่นแหละ!!King Crimson(ไม่ใช่ Line-up ในปัจจุบันแน่นอนเพราะวงนี้เปลี่ยนสมาชิกบ่อยมาก)ก่อนที่ผมจะโดนข้อหา Romantized ดนตรี Prog (ฮิๆ) ผมก็ขอออกมาบอกว่า ไอ่ดนตรีที่ไม่มีฐานตัวโน้ตแน่นอน ไม่ได้มีแต่ใน Progressive หรือ Avant-garde (ดนตรีแนวทดลอง) เท่านั้น แม้แต่ในพวก Noise rock, Brutal, Grindcore หรืออะไรอีกหลายๆ แนวที่ผมอาจจะตกสำรวจไป มี Atonality นี้อยู่เต็มไปหมดหากทุกท่านจำได้จากตอนที่แล้ว Adorno ได้บอกไว้ว่าดนตรี Popular Music นั้น มันได้สร้างแต่มวลชนที่เฉื่อยชา ไม่สนใจสังคม ไม่คิดจะลุกขึ้นมาปลดปล่อยตัวเองหรืออะไรอื่นผมอยากรู้ว่า Adorno จะอธิบายอย่างไรเมื่อได้เห็นวัยรุ่นมีการศึกษาจำนวนหนึ่ง เริ่มลุกขึ้นมาท้าทายค่านิยมเก่า เดินขบวนต่อต้านสงคราม เอาดอกไม้ทัดหูเป็นบุปผาชน พวกนี้ "เลือก" ใช้ Folk-Rock, Pop-Rock เป็นพื้นที่ประท้วง เป็นสาส์นของความรักและสันติภาพ ขณะเดียวกันก็ "เลือก" Psychedelic เป็นพาหนะเพื่อการปลดปล่อยตัวเองเขาจะอธิบายอย่างไรเมื่อรู้ว่าพวกพังค์ดั้งเดิมชวนกันทำอะไรห่ามๆ ท้าทายอำนาจรัฐกันอย่างกระจัดกระจาย เขาจะอธิบายอย่างไรเมื่อได้ยินว่าชาว Black Metal ผู้อยู่ในประเทศที่ถูกกดขี่ทางศาสนามาก่อนพากันออกไปเผาโบสท์ทั้งหมดนี้ หากเป็นพวกที่มัวเชิดชูแต่ดนตรีคลาสสิค ไม่ได้เป็นผู้ที่มาศึกษารับรู้เรื่องดนตรีป็อบจริงๆ คงเอาแต่มองว่า "พวกนี้มันหัวรุนแรง" บ้างล่ะ "ถูกดนตรีครอบงำ" บ้างล่ะ โดยไม่สนใจศึกษาเลยว่ามันมีบริบทแวดล้อมทางสังคมอยู่ด้วย แล้วอย่าทำเป็นลืมไปว่า เพลงคลาสสิคบางเพลงมันก็กลายเป็นเพลงเชิดชูสงครามและเผด็จการทหารมาเหมือนกันแล้วผมก็ไม่รู้ว่าทำไม Adorno ถึงโยงเรื่องความเป็น Atonality กับการปลดแอก หรือการหลุดพ้น ไปได้เพราะไม่ว่าจะเป็น Hippies, Proghead, Metalhead, Punk, Grunger, Hardcore, Nu Metal, Emo ฯลฯพวกนี้เขาก็ล้วนพยายามจะ "หลุดพ้น" ไปจากอะไรบางอย่างทั้งนั้นเพียงแต่ไอ่อะไร ‘บางอย่าง' นั่นมันต่างกันเท่านั้นเอง -------------เนื่องจาก Blogazine ใส่เพลงไม่ได้ ผมจึงขอทำลิ้งค์คลิป youtube มาให้ดูและฟังแทนคลิปเพลงของวง King Crimson ที่ผมอยากแนะนำให้ฟังhttp://www.youtube.com/watch?v=DJQHOFJs6mwอันนี้ของ Bela Bartok ครับhttp://www.youtube.com/watch?v=A1PK3lkIAI4   
เมธัส บัวชุม
การหวนกลับมาระบาดอย่างหนักของยาเสพติดในปัจจุบัน ทำให้ผมอดไม่ได้ที่จะนึกถึงนโยบายปราบปรามยาเสพติดอย่างเด็ดขาด และได้ผลของรัฐบาลพรรคไทยรักไทยที่ถึงแม้จะถูกวิพากษ์วิจารณ์จากนักสิทธิมนุษยชน แต่ข้อดีอันเป็นรูปธรรมที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือยาเสพติดได้ลดหายไปจากสังคมไทยอย่างที่ไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน-นี่เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ทำให้ผม “คิดถึง” อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร การเอาจริงเอาจังกับปัญหายาเสพติดของรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายเดือดร้อนถูกจับกันถ้วนหน้าทั้งที่ก่อนหน้านี้ซื้อและขายอย่างสะดวกสบายโดยที่รัฐบาลไม่มีปัญญาจะจัดการได้ ผู้ขายยาเสพติดรายใหญ่คนหนึ่งบอกว่า เขาสามารถซื้อตำรวจได้ทั้งจังหวัด และไม่คิดว่านโยบายปราบปรามยาเสพติดของรัฐบาลพรรคไทยรักไทยภายใต้การนำของอดีตนายกฯ ทักษิณ  ชินวัตร นั้นจะทำอะไรเขาได้เพราะรัฐบาลแล้วรัฐบาลเล่าก็ดีแต่พูดว่าจะแก้ไขปัญหายาเสพติดแต่ไม่เคยทำได้จริงสักที อย่างไรก็ตามไม่กี่วันหลังจากนั้นเขาก็ถูกจับโดยตำรวจที่เขาเคยซื้อและคิดว่ายังซื้อต่อไปได้ปัญหายาเสพติดนั้นเป็นปัญหาที่ผมให้ความสำคัญในระดับต้น ๆ สำหรับปัญหาของเยาวชน เพราะเยาวชนที่หลงเข้าไปบนทางเส้นนี้แล้ว โอกาสที่จะเสียคน เสียเวลา เสียอนาคตนั้นมีอยู่ไม่น้อย  ผมไม่ใช่คนแก่ (และยังไม่แก่) ที่ชอบพร่ำบ่นถึงการทำตัวเหลวไหลของเด็ก ๆ เพราะผมเองก็เคยทำอะไรที่เหลวไหลไว้มากเหมือนกันในอดีต
พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ
  2 - 3 วันมานี้มีโอกาสอ่านบทความเชิงวิเคราะห์ เกี่ยวกับรัฐบาลใหม่ที่จะจัดตั้งขึ้นเร็วๆ นี้ หลายต่อหลายชิ้น ที่เห็นพ้องกันว่า... สุดท้าย..พรรคแกนนำก็คงเป็น "พลังประชาชน"โดยมีพรรคการเมืองขนาดกลางและเล็ก เข้าร่วมด้วยทั้งหมดยกเว้นพรรคประชาธิปัตย์ อันเป็นพรรคการเมืองอีกฟาก... คอลัมนิสต์บางรายเชื่อว่านี่เป็นผลมาจาก "คณิตศาสตร์การเมือง" เกี่ยวกับจำนวน ส.ส.และความน่าจะเป็น ของชัยชนะจากการเลือกตั้ง และเลือกตั้งซ่อมตลอดจนสัดส่วน ของการแบ่งสรรตำแหน่งรัฐมนตรีที่พรรคพลังประชาชนสามารถตอบสนองได้ดีกว่าประชาธิปัตย์ แถมยังน่าจะมั่นคงกว่าเกี่ยวกับอนาคตของรัฐบาลผสม... บางคนบอกว่านี่เป็น "ธรรมชาติ" ของ "การเมืองไทยๆ"ซึ่งเชื่อมโยงอยู่กับผลประโยชน์ และอำนาจ ของผู้เกี่ยวข้องเป็นด้านหลักแทนที่จะเชื่อมโยงไปถึงผลประโยชน์ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งหรือประชาชน และสังคมโดยรวม... ดูเหมือนทุกอย่างจะสามารถอธิบายได้ขอเพียงเราละวางมโนธรรมสำนึก และจริยธรรมทางการเมืองตลอดจนหัวใจและเป้าหมายของระบอบประชาธิปไตยไปเสีย ไม่ต้องคิดไปถึง "ธรรมาธิปไตย" ดอกนั่นมันเกินระดับสติปัญญาของใครต่อใคร ที่เป็น "นักเลือกตั้ง" มากเกินไป และขณะเดียวกัน พูดอย่างนี้ก็ไม่ได้หมายถึงใครดีใครเลว ในระดับพรรค หรือกลุ่มการเมืองเพียงแต่ภาพที่ปรากฏมันแสดงออกว่าไม่อายและไร้สัจจะ อย่างที่กล่าวไว้เมื่อหาเสียง เพียงชั่วระยะไม่กี่วันเท่านั้นเอง... ถึงจุดนี้ "ข่าวการเมือง" ดูจะเป็นเรื่องผะอืดผะอมไปอย่างสิ้นเชิงและ "นักการเมือง" กลับกลายเป็นจำอวด หรือปาหี่ราคาถูกไปตามๆ กัน ดีไม่ดี ก็ยิ่งแย่กว่าก่อนนี้เสียอีก... ชาวบ้านบางคนถึงกับกล่าวว่า...ยังไม่ทันไร ฝนก็ตกชะขี้หมูไหล ให้ใครต่อใครมารวมกันเสียแล้วชนิดแทบจะหน้าไม่อายกันเอาเลย... ข่าวคุณเสนาะ คุณบรรหาร คุณสุวัจน์คุณสุรเกียรติ์ คุณสมศักดิ์ และใครต่อใคร หันไปซุกชนิดรวมมุ้งเพื่อหวังพึ่ง "ศักยภาพ" ของคุณทักษิณทั้งด้าน "โอกาส" และ "กำไร"บ่งบอกสภาพการณ์ทางการเมือง ชนิดไม่ต้องกล่าวคำใดๆ อีก เช่นเดียวกับ "ข้าราชการ" ที่เริ่มชะเง้อชะแง้เหลียวแลเบิ่งหา ว่าใครจะสวมหัวโขนมาเป็นนายอย่างน้อยก็จะได้ดักทางถูก หรือจัดแถวของตนเองกับเพื่อนๆให้สอดคล้องกับ "นาย" ที่กำลังจะมาอยู่รำไร... แน่ล่ะ...คำและนิยามของ "คุณธรรม" - "จริยธรรม"ทั้งทางรัฐกิจและการเมือง คงเลือนๆ ไป และอาจจะถูกกล่าวถึงอีกครั้ง เมื่อเราจะไล่ใครออกไปสักคนหรือจะมีการเลือกตั้ง และมีการหาเสียงในแต่ละท้องถิ่น เช่นเดียวกับ"ความจงรักภักดี" และ "หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ"ที่ดูจะเป็นเครื่องมือ ซึ่งหน้าตาท่าทางละม้ายกันเหลือเกินขึ้นอยู่กับว่าในที่สุด ใครจะใช้ และใช้กับใคร...เท่านั้นเอง ฝ่ายวิเคราะห์การเมืองกล่าวว่า...นักการเมืองที่เอ่ยชื่อมาข้างต้นอายุค่อนข้างมากและดูท่าว่าหลายคนก็รู้ดีว่ายามชราภาพ ตนเองคงไร้พื้นที่ ที่จะพักพิงอิงอาศัยในฐานะรัฐบุรุษ(รัฐบุรุษโดยนิยาม หาใช่โดยการแต่งตั้งไม่)จึงพากันกระโดดขึ้นรถไฟขบวนสุดท้าย อย่างไม่กลัวเกรงสิ่งใดอีก ชนิดใครจะติเตียนหรือจะตำหนิ แล้วด่าซ้ำ อย่างสาดเสียเทเสียก็ยังยอมขอเพียงได้ร่วมรัฐบาลเป็นพอ... นี่ก็เป็นตลกร้ายที่ออกจะน่าขมขื่นไม่น้อย .............................................. อีกไม่นาน...พวกเราก็จะมีตำนานหน้าใหม่เช่นเดียวกันกับบันทึกของประวัติศาสตร์ที่จำหลักเรื่องราวร้อยแปดไว้รอใครสักคน(หรือหลายคน)มาค้นพบ และยอมรับฟัง เพียงเพื่อเราจะมั่งคงและมั่นใจขึ้น ในการไม่เดินซ้ำรอยเดิม ............................................... ตลาดความดีงามวายเสียแล้วเช่นเดียวกับตลาดของสัจจะ หลักการและความถูกต้อง... กล่าวอย่างถึงที่สุดผู้ใช้สิทธิ์ และผู้สมัครรับเลือกตั้งตลอดจนรัฐบาล กกต. และพรรคการเมืองช่วยกันเล่นอะไรอยู่? ประชาชนได้อะไรจากการเลือกตั้งประชาชนได้อะไร จากระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทนและกฏหมายแม่บทอย่างรัฐธรรมนูญ...ยังเป็นคำถามที่รอคำตอบอยู่เช่นเคย... และตอบยากยิ่งขึ้นทุกที ว่าเราจะมีรัฐบาลใหม่ไปทำไม?จะปฏิรูปการเมืองไปทำไม? ... ... ... 
เมธัส บัวชุม
อาจารย์สมศักดิ์  เจียมธีรสกุล ภาควิชาประวัติศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิพากษ์วิจารณ์ชนชั้นกลางบางกลุ่มที่เป็นพวก “สองไม่เอา” คือไม่เอาทั้ง “ทักษิณ” และ “ไม่เอารัฐประหาร” จนเป็นประเด็นถกเถียงน่าสนใจทางโลกไซเบอร์นักวิชาการบางคนพยายามที่จะไปให้พ้นจาก “สองไม่เอา” โดยพูดถึง “ทางเลือกที่สาม” แต่ที่สุดก็ไม่สามารถบอกได้ว่า “ทางเลือกที่สาม” นั้นคืออะไร การพยายามค้นหาหรือสร้าง “ทางเลือกที่สาม” มีข้อดีในแง่ที่ว่าอาจช่วยเปิดจินตนาการทางการเมืองให้กว้างขึ้นแต่ก็นั่นแหละใครจะบอกได้ว่า “ทางเลือกที่สาม”  เป็นอย่างไร  “ทางเลือกที่สาม” มีจริงหรือ ?เมื่อ “ทางเลือกที่สาม” ไม่มีอยู่จริง ก็จำเป็นต้อง “เลือกเอาข้างใดข้างหนึ่ง” และการบังคับให้ต้อง “เลือกเอาข้างใดข้างหนึ่ง” ได้หวนกลับมาสร้างปัญหาอีกครั้งเมื่อต้องหย่อนบัตรลงคะแนนเสียงเลือกตั้งทั่วไปหลังคณะรัฐประหาร “คาย” อำนาจที่สวาปามเข้าไปออกมา ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ก็ตาม “ทางเลือก” ในครั้งนี้มีเพียงสองทางเหมือนเดิมนั่นคือไม่พรรคพลังประชาชนก็ประชาธิปัตย์ ถึงแม้ว่าจะไม่ชอบทั้งสองทางแต่ก็ต้องเลือกเอาทางใดทางหนึ่ง เป็นอื่นนอกเหนือไปจากนี้ไม่ได้
พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ
เคยซื้อหนังสือ "ฟ้าเดียวกัน" ราย 3 เดือนมาอ่านอยู่บ้าง ส่วนใหญ่ซื้อจาก "ลุงเสริฐ" ที่มักมีหนังสือทางเลือกมาขายแบกะดินตามงาน หรือตามกิจกรรม เคลื่อนไหว-รณรงค์ ต่างๆ อยู่เสมอก็ได้แต่ชื่นชมกับใครต่อใคร ว่าคนหนุ่มสาวกลุ่มนี้ช่างกล้าหาญและดูจะมากความสามารถเพราะประเด็นของ "ฟ้าเดียวกัน" แต่ละเล่ม เป็นเรื่องใหญ่และต้องใช้ความสามารถในการ จัดการ-จัดทำ มากทีเดียว ต้องออกตัวไว้นิด ว่าไม่เคยอ่านเล่มไหนจบใน 3 เดือนเลยด้วยว่าเนื้อหามากมาย หนักหน่วง หลายประเด็นเกินสติปัญญาไปมาก... หลังๆ มาได้ข่าวอยู่ ว่าคุณธนาพล ซึ่งเป็นบรรณาธิการถูกแจ้งความดำเนินคดีในข้อหา "หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ"ดูเหมือนจะพร้อมๆ กับ อ.สุลักษณ์ ศิวรักษ์คดีจะจบอย่างไรไม่ทราบชัด เพราะไม่ค่อยได้สนใจในรายละเอียดเกี่ยวกับคดีเชยๆ หลงยุคเช่นนั้น ก็ตรองดูเถิด...ยุคนี้ พ.ศ.นี้ในบ้านในเมืองของเรา ยังจะปล่อยให้มีเรื่องอย่างนี้กันอยู่อีกหรือ? ยิ่งทราบจากบางคน ว่าเอาเข้าจริง คดีก็กลายเป็นเรื่องกลั่นแกล้งหรือเป็นเครื่องมือเล่นงานฝ่ายตรงกันข้ามกับตน(ทางความคิด?)ก็ยิ่งสลดสังเวชดีหน่อยที่ทั้ง 2 ท่าน เป็นคนมีชื่อเสียงและความสามารถสุดท้ายอำนาจรัฐก็ทำอะไรไม่ได้มาก ได้แต่กดดัน หรือข่มขู่ให้หวาดเกรงซึ่งพอเจอคนไม่กลัว ไม่แหยเข้า ก็ไปไม่เป็น ไม่ได้อะไรจากเรื่องที่ทำ สุดท้าย มาทราบว่าเว็บไซต์และเว็บบอร์ด "ฟ้าเดียวกัน"ก็มาโดนบีบให้เซิร์ฟเวอร์ปิด ไม่ยอมให้โฮสต์ข้อมูลโดยอ้างว่า "หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ" อย่างเดิม เพียงแต่คราวนี้รัฐไม่ได้ออกหน้าออกตาโดยตรง เหมือนที่ควรจะเป็นแต่กลับไปกดดันผ่านเอกชน ซึ่งก็ต้องห่วงใยหม้อข้าวของตนเป็นธรรมดา"ฟ้าเดียวกัน" เลยต้องยุ่งยาก มาหาเว็บบอร์ดใหม่ เพื่อรองรับสมาชิกที่ล้วนเป็นเสรีชน และประสงค์จะใช้สิทธิ์ใช้เสียงของตน ในการแสดงทัศนะทั้งต่อกลุ่ม และต่อสาธารณะ ฟังดูก็ไม่น่าจะมีอะไรมากนอกไปจากความยุ่งยาก หรือลำบาก ที่ต้องเริ่มทำอะไรกันใหม่ๆแทนที่จะมีเวลาได้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ยิ่งกว่า เรื่องปิดเว็บฯ ปิดเซิร์ฟเวอร์ หรือปิดโฮสต์ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรนัก สำหรับผู้คนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตหรือเกี่ยวข้องกับอินเตอร์เน็ต แต่ดูในรายละเอียด ที่ผู้ดูแลระบบ บอกว่า...ข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ที่เซิร์ฟเวอร์ จะหายไปกับการปิดโฮสต์นั้นฟังแล้วขัดๆ ชอบกล... ก็... ลองว่าตัว หรือกลุ่ม-พวกของตัว ทำกิจกรรมประเภทนี้ทำเว็บไซต์ เว็บบอร์ด ประเด็นร้อน-ประเด็นใหญ่ ทำนองนี้แล้วยังไม่ยอมแบคอัพข้อมูล หรือไม่มีฮาร์ดดิสก์สำรอง เพื่อรักษา "ข้อมูลสำคัญ"นี่สิ เป็นเรื่องแปลกแน่ๆ มิหนำซ้ำยังทำให้ดูอ่อนหัด-หน่อมแน้ม ชอบกลอยู่ ริจะเล่นกับไฟ ไม่เตรียมการ หรือเตรียมกายเตรียมใจไว้ให้พอควรจะรบชนะเขาได้ล่ะหรือ... แต่เอาเถอะนั่นมันเรื่องปลีกย่อย เรื่องเทคนิคเรื่องเครื่องไม้เครื่องมือ รู้ตัวว่าด้อย ว่าพลาด ก็แก้ไขเอา... เรื่องคน เรื่องหัวจิตหัวใจที่พร้อมจะสู้ ดูจะสำคัญกว่า ก็...อยากจะให้กำลังใจกับคนทำงาน "ฟ้าเดียวกัน"ว่า...ถ้าตนเชื่อ และศรัทธาในสิ่งที่ทำมีความตั้งใจจริง กับประเด็นใหญ่ๆ เกี่ยวกับเจ้า เกี่ยวกับบ้านกับเมืองก็คงต้องขอให้เข้มแข็ง และระมัดระวังทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิต-ความคิด-สติปัญญา ตลอดจนฟูมฟักศรัทธาของตน ให้เพียงพอต่อการทำงานระดับนี้ หาไม่แล้ว งานก็จะไม่สำเร็จเป้าหมายสูงสุดก็ไปไม่ถึง แถมคนทำก็ทุกข์ยากลำบากยิ่งทำให้เสียเวลาขึ้นไปอีก อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนกับว่าการวิพากษ์วิจารณ์เช่นที่ "ฟ้าเดียวกัน" กระทำ จะยังได้รับความสนใจหรือได้รับการใส่ใจอยู่ไม่ใช่น้อย ก็ถือได้ว่ายังมีพวก ยังมีแฟนๆ คอยติดตามซึ่งหากผ่านร้อนผ่านหนาวไประดับหนึ่ง แล้วมีการสรุปบทเรียนกันอย่างจริงๆ จังๆ เสียบ้างก็น่าจะมีประโยชน์ และใช้ประโยชน์ได้กว้างขวางออกไป เรื่องการปิดหนังสือ ปิดเว็บไซต์ ปิดเว็บบอร์ด ว่าไปก็เป็นเรื่องธรรมดาไม่ใช่เรื่องใหญ่ หากใจอันเสรี ยังพร้อมจะแสวงหายังพร้อมจะโบยบินสู่ความจริง หรือทำสัจจะให้ปรากฏ คนบิดเบือนสัจจะคนทำลายช่องทางเข้าถึงสัจจะของมหาชนสิที่จะถูกปิดอย่างถาวรในที่สุด...