Skip to main content
เกษียร เตชะพีระ
เราอยู่ในสังคมการเมืองที่มากไปด้วยมรดกของการใช้อำนาจรัฐปิดปากฝ่ายค้านและผู้มีความเห็นต่างไม่ให้ออกสื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นปกติธรรมดามานานปี ดังนั้นเมื่อมีการระงับออกรายการ ไม่ว่าด้วยเหตุผลกลใด (เหนือเมฆ, คนค้นคนตอนศศิน, ฯลฯ) เราจึงคิดแบบแทบจะอัตโนมัติ/เป็นสัญชาตญาณเลยว่า "รัฐบาล", "หน่วยราชการ", "นักการเมือง" แทรกแซงให้แบนอีกแล้ว...
กานต์ ณ กานท์
 ก่อนอื่นผมต้องขอขอบพระคุณ "3 องค์กรวิชาชีพสื่อฯ" 1 อันประกอบไปด้วย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย, สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยเป็นอย่างสูง ในความห่วงใยที่มีต่อเสรีภาพและสวัสดิภาพของสื่อมวลชน ที่ท่านได้กรุณาแสดงออกผ่าน "แถลงการณ์ร่วมองค์กรวิชาชีพ" 2 เนื่องในวันสื่อมวลชนโลก เมื่อวันที่ 3 พ.ค.2551 ที่ผ่านมาอนึ่ง ผมเขียนบทความนี้ จากการทึกทักเอาเองว่า นอกจากห่วงใยต่อ ‘สื่อมวลชน’ ด้วยกันเองแล้ว องค์กรอันทรงเกียรติทั้ง 3 นั้น มีความห่วงใยต่อเสรีภาพและสวัสดิภาพของประชาชน ด้วยเช่นกัน (อันเนื่องมาจากคำขวัญที่ผมยังประทับใจไม่รู้ลืม คือ "เสรีภาพสื่อ คือเสรีภาพประชาชน" และ "คุกคามสื่อ - คุกคามประชาชน") …อย่างไรก็ตาม หากข้อทึกทักของผมผิดพลาดไป ต้องขออภัยอย่างสูงที่สำคัญ ผมเห็นด้วยอย่างไม่มีข้อกังขาว่านายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันนั้น มักจะนิยมใช้วาจาที่ส่อไปในทางก้าวร้าว หยาบคายผ่านสื่อสาธารณะอยู่บ่อยครั้ง และไม่น่าแปลกใจถ้าหากผู้ที่เป็นคู่สนทนา จะรู้สึกว่าเป็นการคุกคาม บิดเบือน ชวนทะเลาะรวมทั้งเห็นด้วยว่า พฤติกรรมดังกล่าวไม่อาจเรียกว่าเหมาะสมได้ ไม่ว่าจะในฐานะนายกรัฐมนตรี หรือสื่อมวลชน (ผู้ดำเนินรายการวิทยุ) ก็ตามผมจึงไม่รู้สึกมีปัญหาอันใดเลย กับการที่ "3 องค์กรวิชาชีพสื่อฯ" ได้ออกมาเขียนแถลงการณ์ตำหนิพฤติกรรมดังกล่าว กลับเห็นด้วยและรู้สึกขอบคุณ ดังที่ได้กล่าวไปในย่อหน้าแรก