Skip to main content
ชื่อเรียก
ปฏิรูปที่ดิน
 ทดสอบ  
ชื่อเรียก
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ครั้งก่อนพูดถึง Tempo ซึ่งเป็นตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า สังคมอินโดนีเซียเป็นสังคม แห่งการเรียนรู้ และลึกซึ้งทางด้านภูมิปัญญา ไม่ง่ายนักที่ในเมืองหลวงแห่งหนึ่งจะมีองค์กรสื่อที่สามารถสร้างสื่อกระแสหลัก และสื่อทางเลือก แสดงจุดยืนของตนเองมานานนับยี่สิบปี และคาดว่าจะเจริญก้าวหน้าต่อไปเรื่อยๆ ทั้งตัวองค์กรและตัวความคิด ไม่ใช่สื่อประเภท ม้าตีนต้น ที่เปิดตัวแบบผู้มีอุดมการณ์ทางความคิด ก้าวล้ำนำสังคม แต่เมื่อหนังสือพิมพ์เริ่มดัง หรือรายการดังติดลมบน ความคิดก็เบี่ยงเบนไปทางรักษาพื้นที่ทางเศรษฐกิจมากกว่า การรักษาจุดยืนทางความคิด ผิดกับสังคมอินโดนีเซียที่สื่อของพวกเขาแสดงจุดยืนอย่างมั่นคง สื่อตลาดก็ว่าไปตามเนื้อผ้า แต่ถ้าฉันเป็นสื่อที่เน้นความคิดแนวหนึ่งที่ควรมีที่อยู่ที่ยืนในสังคม ก็จะดำรงจุดยืนของตน ไม่แกว่งไกว
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ครั้งก่อนกล่าวถึง Tempo ซึ่งเป็นนิตยสารประเทืองปัญญาของสังคมอิเหนา ที่ชาวอิเหนา (ภาคประชาชนและปัญญาชน) ภาคภูมิใจยิ่งที่ในแวดวงสื่อสิ่งพิมพ์มี Tempo หากจะเปรียบว่าสังคมมะกันมี Time อิเหนาก็มี Tempo และ Tempo ไม่ใช่นิตยสารรายสัปดาห์ที่เอาข่าวของรายวันมายำ แล้วใส่ความคิดเห็นลงไปอีกหน่อยเพิ่มเหมือนสื่อสิ่งพิมพ์รายสัปดาห์โดยทั่วไปทำกันเท่านั้น แต่นักข่าวของ Tempo มีเวลาในการทำข่าว เจาะข่าวมากพอสมคาร และมีประเด็นข่าวเป็นตัวของตัวเอง เพราะฉะนั้นข่าวเจาะลึกของ Tempo จึงมีลักษณะเฉพาะตัว นอกจากประเด็นเชิงเผ็ดร้อนในเชิงการเมืองแล้ว Tempo ยังมีสารคดีเชิงวัฒนธรรม และบันเทิงในแง่มุมวรรณกรรม ดนตรี ภาพยนตร์ และศิลปะ ที่สอดคล้องไปกันกับเนื้อหาทั้งหมดของหนังสือ
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ช่วงที่ผู้เขียนอยู่อินโดนีเซีย ต้องพึ่งข่าวสารและสมัครเป็นสมาชิกหนังสือพิมพ์และนิตยสารภาษาอังกฤษสองฉบับคือ the Jakarta Post และ Tempo เพื่อเข้าใจ (ผ่านสื่อ) ต่อสังคมอินโดนีเซียน ซึ่งช่วยได้ในภาพรวม ไม่ได้ทำให้ผู้เขียนตกกระแสสังคมอินโดนีเซียเกินไป  ผู้เขียนได้เคยเอ่ยถึงและนำคำสัมภาษณ์ผู้จัดการในเครือจาการ์ตา โพสต์ลงในคอลัมไปบ้างแล้ว ครั้งนี้จะขอเอ่ยถึงองค์กรสื่อหนึ่งที่ทรงอิทธิพลมากแห่งหนึ่งของอินโดนีเซีย และได้ชื่อว่าเป็นสื่อกระแสหลักแต่เป็นทางเลือกหนึ่งของภาคประชาชนแดนตากาล็อค Tempo (หรือหมายถึง Time) มีสองภาคภาษาคือ ภาคภาษาอินโดนีเซียและภาคภาษาอังกฤษ จำนวนพิมพ์ของภาคภาษาอังกฤษกว่าสองหมื่นเล่มในแต่ละสัปดาห์ ไม่นับภาคภาษาอินโดนีเซีย ซึ่งแน่นอนว่า เจ้าของภาษาย่อมมีข่าวเข้มข้นกว่า การเลือกภาคภาษาอังกฤษคือ เลือกสรรข่าวสารสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่คาดว่าเป็นชาวต่างชาติและชนชั้นกลาง (ชนชั้นปัญญาชน) บางกลุ่ม
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่ประชาชนของเขาผ่านร้อนผ่านหนาวมาอย่างยาวนานตั้งแต่ ในยุคอาณานิคมก็ถูกกดขี่จากอาณานิคม สเปน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เสร็จจากยุคอาณานิคมก็มาเจอยุคเผด็จการเบ็ดเสร็จภายใต้รัฐบาลของอดีตประธานาธิบดีเฟอร์ดินัน มาร์กอสผู้ล่วงลับ จากยุคเผด็จการดันมาเจอยุคประชาธิปไตยลวงและการคอรัปชั่นอย่างหนักหน่วงในรัฐบาลของอดีตประธานาธิบดีโจเซฟ เอสตราดา และเพิ่งจะมีเหตุการณ์ประท้วงไปหมาดๆ เพื่อขับไล่ประธานาธิบดีอาร์โรโย ที่แปดเปื้อนด้วยการคอรัปชั่น ประชาชนชาวฟิลิปปินส์จึงมีประวัติศาสตร์การต่อสู้กับอำนาจที่ไม่เป็นธรรมมาโดยตลอด เรียกได้ว่าขบวนการประชาชนของฟิลิปปินส์เข้มแข็งอย่างมากเป็นแบบอย่างการต่อสู้ให้กับประเทศเพื่อนบ้านได้เรียนรู้มากทีเดียว  และเคียงคู่กันมากับขบวนการประชาชนเพื่อต่อสู้เรียกร้องเอกราช และความเป็นธรรมในประวัติศาสตร์นั้นฟิลิปปินส์ไม่เคยขาดสื่อข้างประชาชนในแต่ละยุคสมัย
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ชื่อนิตยสาร      :    ฅ คน ปีที่ ๓  ฉบับที่ ๕ (๒๔)  มีนาคม ๒๕๕๑บรรณาธิการ     :    กฤษกร  วงค์กรวุฒิเจ้าของ           :    บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด
Carousal
คุณคะ คุณกำลังมีความทุกข์อยู่หรือเปล่าคะ? ถ้าคุณกำลังอยู่ในภาวะที่ตึงเครียด ท้อถอย วิตกกังวล ไม่มั่นใจ ไม่ว่าจะกับสิ่งที่คุณได้เลือกไปแล้วในอดีต หรือสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต คุณต้อนรับตอนเช้าด้วยความรู้สึกที่หนักอึ้งจนไม่อยากลืมตาตื่น และใช้ชีวิตอยู่กับความหวาดหวั่นต่อเนื่องวันแล้ววันเล่า คุณอยากพูดคุยกับใครสักคน แต่เมื่อมองดูรอบข้างแล้ว คุณกลับไม่เห็นใครเลยที่เหมาะสมจะเป็นที่ปรึกษาพูดคุยปรับทุกข์ ในเวลาอย่างนี้ ที่เมืองในหมอกแห่งหนึ่งที่ชื่อเมืองนาซุมิ จะมีธรรมเนียมโบราณที่เรียกว่า การขอ ‘คำทำนายตรงหัวมุม’ อยู่ค่ะ การขอคำทำนายตรงหัวมุม ต้องทำในวันที่หมอกลงจัดจนเกือบมองไม่เห็นหน้าคนที่เดินร่วมทาง ออกไปยืนอยู่ที่มุมตึกสักแห่งที่ไม่มีคนพลุกพล่าน แล้วขอให้คนแรกที่เดินผ่านมาช่วยทำนายอนาคตของเรื่องที่คุณกำลังกังวลใจอยู่ให้ ไม่มีข้อจำกัดสำหรับหัวข้อเรื่อง จะเป็นเรื่องอะไรก็ได้ การงาน การเรียน หรือความรัก คุณอาจจะบอกรายละเอียดของเรื่อง หรือขอให้ผู้ทำนายบอกเพียงจะร้ายหรือดีเท่านั้นก็ได้เช่นกัน เงื่อนไขมีอยู่แค่ว่า ทันทีที่คุณขอให้คนอื่นทำนายอนาคตให้กับคุณ โชคชะตาของคุณก็ถูกฝากไว้ในมือของเขาแล้ว และแน่นอน ไม่แน่เสมอไปว่าคำทำนายที่คุณได้รับจากคนแปลกหน้า จะเป็นคำทำนายที่คุณอยากฟัง   นั่ั่นคือจุดเริ่มต้นของการ์ตูนเรื่อง ‘รักที่ทรมานของคนตาย’ หรือ ‘ชายหนุ่มที่สี่แยก’ ผลงานที่น่าประทับใจอีกเรื่องหนึ่งของ Junji Ito นักเขียนการ์ตูนสยองขวัญชื่อดัง เจ้าของซีรีส์ คลังสยองขวัญลงหลุม ที่จัดจำหน่ายในรูปแบบภาษาไทยโดย Ant Comics Group. เรื่องราวทั้งหมดเริ่มต้นขึ้นเมื่อสิบปีก่อน ในวันที่หมอกกำลังลงจัด ฟุคาตะ ริวสุเกะ เด็กชายวัยหกขวบ ได้วิ่งออกจากบ้านด้วยความโกรธเต็มพิกัด เขาเพิ่งจะได้รับข่าวร้ายว่าพ่อของเขาต้องย้ายไปทำงานต่างเมือง และตัวเขาเองก็ต้องย้ายโรงเรียนตามพ่อไปด้วยเช่นกัน ด้วยอารมณ์ของเด็กชายตัวเล็ก ๆ ที่ไม่อยากลาออกจากโรงเรียน ไม่อยากจากเพื่อนสนิท เขาจึงทะเลาะกับแม่อย่างรุนแรง และออกวิ่งลัดเลาะไปตามถนนในสายหมอกอย่างไร้จุดหมายเพื่อให้คลายความโกรธ ก่อนจะถูกหยุดไว้โดยผู้หญิงคนหนึ่งซึ่งมายืนอยู่ข้างซอกตึกเพื่อขอรับคำทำนายตรงหัวมุม ริวสุเกะคือคนแรกที่ผ่านมาตามทางนั้น เขาคือผู้ทำนายที่โชคชะตาบันดาลให้เธอได้พบ ด้วยความเสียไม่ได้ ริวสุเกะหยุดฟังเรื่องราวของหญิงสาวและความทุกข์ใจของเธอ เธอตกหลุมรักคนมีเจ้าของและตอนนี้ก็กำลังอุ้มท้องลูกของเขา หญิงสาวตัดสินใจไม่ถูกว่าเธอควรทำอย่างไร สุดท้ายจึงมาขอรับคำทำนายตรงหัวมุม ว่าความรักของเธอจะสมหวังหรือไม่ แน่นอน เด็กชายวัยหกขวบผู้กำลังหัวเสียสุดขีดย่อมไม่อยู่ในอารมณ์จะเห็นอกเห็นใจใคร เขาตะโกนใส่หน้าเธอไปว่าไม่มีทางหรอกเรื่องอย่างนั้นน่ะ ก่อนจะผละจากมา แล้ววันรุ่งขึ้น เขาก็พบว่าเธอเชือดคอตัวเองตายอยู่ตรงหัวมุมที่เขาได้พบกับเธอนั่นเอง สิบปีหลังจากเหตุการณ์สยองขวัญที่ยากจะลืมเลือนในครั้งนั้น ริวสุเกะได้ย้ายกลับมาที่เมืองนั้นอีกครั้งหนึ่ง เขาได้พบว่า ธรรมเนียมการขอคำทำนายตรงหัวมุม ไม่เพียงแต่จะยังไม่หายไป มันกลับเป็นที่นิยมแพร่หลายมากขึ้นทุกที ฝันร้ายอันเกิดจากความสำนึกบาปที่ตัวเองเป็นต้นเหตุให้ผู้หญิงที่เคยให้คำทำนายฆ่าตัวตายกลับมารุมเร้าริวสุเกะอีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อได้รู้ความจริงว่าผู้หญิงคนนั้นเป็นน้าของเพื่อนหญิงที่เขาสนิทสนมด้วย และเธอผู้ไม่รู้ความจริงว่าใครเป็นคนทำ ก็ยังเจ็บปวดกับความสูญเสียในครั้งนั้นอยู่จนทุกวันนี้ ด้วยเจตนาที่จะไถ่บาปของตน ริวสุเกะพยายามออกไปเดินในเมืองทุกครั้งที่หมอกลงจัด และเมื่อพบผู้ที่มาขอคำทำนายตรงหัวมุม เขาก็จะให้คำแนะนำอย่างสุดความสามารถ แต่เนื่องจากชีวิตไม่ได้ง่าย และคนเราก็มีหลายประเภท ทำให้ริวสุเกะมีอันต้องพบกับหญิงสาววิปลาศ ที่เมื่อพบคนที่ยินยอมฟังเธอ ก็ติดหนึบแกะไม่หลุด ประกอบกับการปรากฏตัวของ ‘ชายหนุ่มที่สี่แยก’ ชายหนุ่มปริศนาที่กระทำในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับความพยายามของริวสุเกะ อันเป็นเหตุให้เกิดโศกนาฏกรรมร้ายแรงขึ้น อ่านจบแล้วคิดอะไรได้หลายอย่าง เชื่อว่าทุกคนก็คงคิดเหมือนกัน ว่าแรกเริ่มเดิมที คำทำนายตรงหัวมุมก็คงจะเป็นเพียงกุศโลบายเพื่อช่วยคลายความวิตกกังวลให้แก่กันและกันแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย เนื่องจากคนเราทุกคนล้วนเคยมีช่วงเวลาที่อ่อนแอ และในชั่วขณะถูกรุมล้อมด้วยปัญหา แม้ว่าทางแก้จะอยู่ไกลออกไปแค่ปลายขนตากั้น ก็อาจจะมองไม่เห็นเอาเสียเฉย ๆ เพราะฉะนั้น การได้รับคำชี้แนะจากผู้ที่มองปัญหามาจากด้านนอก หรือได้รับกำลังใจแบบไม่มีเงื่อนไขจากใครสักคนก็สามารถช่วยให้คนที่กำลังทุกข์ร้อนสบายใจขึ้น มีความหวังที่จะต่อสู้กับอุปสรรคต่อไป แต่ถามว่า ถึงแม้ทุกคนจะรู้ แล้วทุกคนจะทำตามนั้นหรือเปล่า? คนเราไม่ใช่สิ่งมีชีวิตที่ตรงไปตรงมาตามทฤษฎี แถมยังมีนิสัยกบฎอยู่ในตัว จะมากหรือน้อยก็แตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล มีน้อยยิ่งกว่าน้อยที่จะไม่เคยคิดว่า ‘ธุระไม่ใช่’ เมื่อสิ่งที่ทำนั้นส่งผลดีต่อผู้อื่นแต่ไม่ได้มีผลอะไรเลยกับตัวเอง ก็ทำไมเราจะต้องทำเพื่อคนอื่นด้วยล่ะ? แม้แต่กับเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ไม่ต้องลงแรงหรือเสียเงินซื้อหาอย่างแค่การพูดจาอย่างมีไมตรีจิตต่อคนอื่น บางทีคนเราก็ยังเลือกที่จะไม่ทำ เพียงเพราะอีโก้ของตัวเองแต่เพียงอย่างเดียว คุณเคยทำแบบนั้นบ้างหรือเปล่าคะ? เหยียบย่ำทับถมหรือใช้วาจาเชือดเฉือนคนที่คุณไม่รู้จัก เพียงเพราะคุณไม่รู้ว่าเขาเป็นใคร เพราะคิดว่าเขาไม่ใช่คนที่ให้คุณให้โทษกับคุณได้ ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำดีด้วย คุณอาจคิดว่าในกรณีของ ‘ชายหนุ่มที่สี่แยก’ นั้น หากจะถามหาคนผิดหรือคนที่ต้องรับผิดชอบกันนั้น ทุกคนในเรื่องก็คงจะเป็นคนผิดทั้งหมด ตั้งต้นไปตั้งแต่ผู้หญิงที่มาขอรับคำทำนาย ที่นอกจากจะมีรักที่ผิดศีลธรรมแล้ว ยังอ่อนแอพอที่จะเชื่อคำทำนายพล่อย ๆ ที่ออกมาจากปากเด็กอายุหกขวบจนฆ่าตัวตาย, ริวสุเกะที่เป็นคนให้คำทำนายโดยไม่คิด, ชายหนุ่มที่สี่แยกที่เอาความแค้นไปลงกับคนที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ รวมทั้งเด็กผู้หญิงทั้งหลายที่ตกเป็นเหยื่อของชายหนุ่มที่สี่แยกด้วยความหน้ามืดตามัว ฯลฯ แต่หากลองมองมุมกลับ ลองเอาตัวเองเข้าไปแทนที่คนเหล่านั้น คุณอาจต้องลังเลว่านั่นเป็นความผิดของเขาเหล่านั้นจริงหรือ สิ่งที่ผู้หญิงคนนั้นต้องการมีเพียงแค่คำพูดปลอบประโลม เธอเรียกร้องมากเกินไปหรือ? ตอนนั้นริวสุเกะกำลังโกรธ การที่เขาเลือกจะให้คำทำนายในเชิงลบ เป็นความผิดของเขาหรือ? การที่ชายหนุ่มที่สี่แยกแค้นเพราะโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นกับแม่ของเขา เป็นความใจแคบไม่รู้จักให้อภัยอย่างนั้นหรือ? การที่เด็กผู้หญิงจำนวนมากของเมืองนาซุมิถูกครอบงำจนเกิดโศกนาฏกรรมหมู่ ควรจะเป็นความรับผิดชอบของใครกันแน่? ผลสุดท้ายแล้ว เหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้น ก็เนื่องมาจากการกระทำเล็ก ๆ น้อย ๆ ของคนแต่ละคน เมื่อมีเหตุการณ์แรกเกิดขึ้นแล้ว เหตุการณ์ต่อ ๆ ไปก็จะเกิดตามมาเรื่อย ๆ เหมือนสายน้ำหลาก หากสามารถหยุดยั้งขั้นหนึ่งขั้นใดได้ โศกนาฏกรรมที่ปรากฏในเรื่องนี้ก็คงไม่เกิด สิ่งเดียวที่หยุดยั้งโศกนาฏกรรมครั้งนี้ได้ สิ่งเดียวกับที่ริวสุเกะเลือกใช้เพื่อแก้ไขปัญหาในตอนท้ายเรื่อง ก็คือสิ่งเดียวกับที่คำทำนายตรงหัวมุมคาดหวังให้คนเรามีให้กันตั้งแต่ต้น สิ่งนั้นคือกำลังใจและความปรารถนาดี คำพูดเป็นสิ่งที่มีพลัง ก่อนที่คุณจะอ้าปากพูดอะไรสักอย่าง หรือก่อนที่จะจรดนิ้วลงบนแป้นพิมพ์คำตอบให้กับใครสักคนในอินเตอร์เนท โดยเฉพาะด้วยถ้อยคำที่บาดหู อย่าลืมคิดดูอีกทีก่อน เพราะเพียงประโยคเดียวของคุณนั้น อาจกำลังหมุนกงล้อแห่งโชคชะตาของใครสักคนอยู่โดยไม่รู้ตัวก็เป็นได้