Skip to main content
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ “รักเจ้าจึงปลูก” เป็นชื่อโครงการที่ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กำลังครุ่นคิดเพื่อใช้ในการพัฒนาคุณภาพนักศึกษา ผมเองได้เขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้มา 2 ตอนแล้ว
กิตติพันธ์ กันจินะ
เปิดใจเรียนรู้ประสบการณ์ภายในตน ผมเริ่มต้นทำงานในประเด็นเรื่องเพศ ตอนอายุน้อยๆ จากวันนั้นมาวันนี้ ระยะเวลาหลายปี ที่อยู่บนเส้นทางนี้ได้เจออะไรหลายอย่าง ได้เรียนรู้ ประสบการณ์ทำงานมากมาย ไม่ว่าจะเป็นบทบาทหน้าที่ใด ความรับผิดชอบแบบไหน องค์กรระดับชุมชนหรือเครือข่ายก็ตาม งานต่างๆ เหล่านี้ทำให้ได้ทำประโยชน์ต่อตนเองและคนอื่นไปพร้อมๆ กัน ผมไม่อาจเรียกตัวเองได้อย่างเต็มปากว่าเป็นคนทำงานเพศวิถี เพราะเข้าใจว่าเรื่องเพศวิถีนี้มีอะไรหลายอย่างที่ต้องทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง และไม่อาจจะบอกได้ว่าตัวเองเป็นนักพัฒนาสังคม เพราะบ่อยครั้งก็ยังมีคำถามเกิดขึ้นมากมายกับตัวเองว่าที่ว่าเป็นนักพัฒนาสังคมนั้น แน่นอนว่าเราต้องทำประโยชน์เพื่อคนอื่นๆ ที่กำลังเผชิญกับปัญหา เผชิญกับความทุกข์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเพศ สุขภาพ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ทรัพยากร ดิน น้ำ ป่า หรือแม้แต่เรื่องสื่อและโลกาภิวัตน์
กิตติพันธ์ กันจินะ
หายไปเสียนานกับบ้าน “หนุ่มสาวสมัยนี้” เพราะต้องทำงานโครงการป้องกันเอดส์ และเพศศึกษากับเพื่อนๆ เยาวชนในหลายๆ ภาค ทำให้เวลาในการเขียนขีดมีน้อยกว่าเมื่อก่อน ทว่าตอนนี้ก็สามารถจัดการเวลากับตัวเองได้ลงตัวมากขึ้นทำให้ชีวิตมีความสมดุลมากขึ้นทีเดียว
นาลกะ
“ลูกผู้ชายหัวใจมีรัก(Man and Wife)” คือนิยายอันละเมียดบรรจงของ Tony Parsons เป็นผลงานภาคต่อจาก “ลูก(ผู้)ชายหัวใจคุณพ่อ (Man and Boy)” ซึ่งเคยสร้างความเกรียวกราวในแวดวงนักอ่านได้มากพอสมควร(ผมเคยวิจารณ์ไว้แล้วที่ http://blogazine.prachatai.com/user/nalaka/post/1562 ) ฝีมือแปลโดย ภัสรี สิงหเดช  
นาลกะ
โดยทั่วไปแล้ว หนังสือของสำนักพิมพ์ “ผีเสื้อ” สามารถการันตีคุณภาพ(แต่ไม่การันตียอดขาย) ได้ในระดับหนึ่ง เรียกได้ว่าไม่มีคำว่าผิดหวังในแทบทุกเล่มเพราะว่าโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นวรรณกรรมแปล! “พ่อผมไม่เคยฆ่าใคร” ซึ่งเขียนโดย ฌ็อง-หลุยส์ ฟูร์นิเย่ร์ และแปลโดย วัลยา วิวัฒน์ศร ก็เช่นเดียวกัน
นาลกะ
วรรณกรรมเยาวชนรางวัลชมเชยประเภทบันเทิงคดีสำหรับเยาวชน ก่อนวัยรุ่น (12-14) จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติปี 2530 และได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 100 เล่ม ที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน โดยฝีมือการประพันธ์ของนักเขียนซึ่งเป็นรู้จักกันดี "อัศศิริ ธรรมโชติ"
นาลกะ
ด้วยชื่อเรื่องที่ไม่คุ้นหู และหน้าปกเป็นรูปน้ำตกกลางป่าสวยงาม วรรณกรรมเยาวชนเล่มนี้ชวนให้สะดุดใจและเปิดอ่าน ซึ่งก็ใช้เวลาอ่านไม่นานนักก็จบเล่มเพราะมีความหนาไม่ถึง 50 หน้ารวมภาพประกอบ
suchana
            ช่วงวันหยุดเข้าพรรษาที่ผ่านมามีน้องๆเยาวชนในนามของกลุ่ม “โหมเรารักษ์จะนะ”ซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลาได้ร่วมกันจัดค่ายเยาวชนโหมเรารักษ์จะนะครั้งที่ 2 “ตามหาชายหาด...หายไป”ขึ้นระหว่างวันที่ 7-8 กรกฎาคม 2552 ณ บ่อโชนรีสอร์ท ตำบลสะกอม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา หลังจากที่มีการจัดค่ายเยาวชนครั้งแรกไปเมื่อปีกลายที่ผ่านมา เวลานั้นเป็นค่าย“ตามรอยเรื่องเล่าเมืองจะนะ”             เช้าวันที่ 7 กรกฎาคมน้องๆสามสิบกว่าชีวิตจากหลายหมู่บ้านและหลากหลายโรงเรียนได้เดินทางมารวมตัวกัน ณ ศูนย์การเรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชน ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ  น้องเล็กสุดก็ประถมห้าประถมหก พี่สุดกำลังศึกษาปริญญาตรีเพื่อเตรียมออกเดินทางไปยังริมทะเลตำบลสะกอม             ความคาดหวังของเยาวชนในการจัดค่ายครั้งนี้ เพื่อเรียนรู้ประการณ์ใหม่ๆ ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับชายหาดและท้องทะเล   เรียนรู้วิถีชีวิตของชาวประมงพื้นบ้านที่สัมพันธ์กับท้องทะเล ค้นหาที่ทำให้ชายหาดหายไป  ที่สำคัญเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์ทะเลบ้านเรา  ส่วนหนึ่งค่ายนี้ถือเป็นค่ายพัฒนาการของน้องๆโหมเรารักษ์จะนะจากค่ายที่หนึ่งในฐานะผู้เข้าร่วมค่าย  แต่ในครั้งนี้ขยับบทบาทเป็นผู้ออกแบบและเป็นพี่เลี้ยงค่าย  ผู้ปกครองที่ทำหน้าพี่เลี้ยงค่ายแรก สำหรับค่ายนี้เป็นฝ่ายสนับสนุน อำนวยความสะดวกและเฝ้าดูการเติบโตของเด็กๆ             หลังจากทำความรู้จักและประมวลความคาดหวังของการมาค่ายคราวนี้แล้ว  น้องๆเริ่มกระบวนการเรียนรู้วิถีประมงพื้นบ้านและชายหาดบ้านสะกอม  นายเจ๊ะหมัด สังข์แก้ว  จากบ้านบ่อโชน ตำบาลสะกอมถ่ายทอดเรื่องราวของชายหาดในอดีตว่า เดิมทีชายหาดแถวนี้สวยงาม จากชายฝั่งถึงท้องทะเลมีหาดทรายกว้างยาวทอดขวางอยู่ ริมชายหาดมีต้นสนเป็นทิวแถว ชาวบ้านจะทำมาหากินบริเวณริมชายหาดหาหอยเสียบ รุนกุ้งเคย  แต่หลังจากที่เกิดปัญหาการกัดเซาะชายหาดทำให้กระทบการทำมาหาของชาวบ้านในพื้นที่ พันธุ์สัตว์น้ำหลายชนิดลดน้อยลง             นายสาลี มะประสิทธิ์  ผู้ใหญ่แห่งบ้านโคกสัก ถ่ายทอดถึงความเปลี่ยนแปลงของชายหาดเริ่มอย่างรวดเร็วตั้งแต่มีการสร้างเขื่อนกั้นคลื่นที่ปากคลองสะกอม โดยกรมการขนส่งทางน้ำพาณิชนาวี ตั้งแต่ประมาณปี 2541 เป็นตั้งต้นมา ชายหาดสะกอมถูกน้ำกัดเซาะอย่างรุนแรง และพังทลายลงถึงปัจจุบันกัดเซาะลึกประมาณ 80 เมตร ระยะทางยาวกว่า 3 กิโลกรัม จากบ้านบ่อโชนบ้านโคกสักตลอดแนวยาวถึงตลิ่งชัน สำหรับบ้านโคกสักวันนี้คลื่นซัดใกล้ถึงบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ศาลเอนกประสงค์ของหมู่บ้านที่อยู่บริเวณที่ดินสาธารณประโยชน์ก็ถูกคลื่นกัดเซาะจนพังทลาย  ที่สถานที่แห่งนี้เองที่ดินถูกกัดเซาะไปเนื้อที่หลายไร่ชายหาดขาวสะอาดถูกแทนที่ด้วยหาดหิน นายสาลีเล่าว่าธรรมชาติของคลื่นมีการพัดพาทรายขึ้นลงเป็นธรรมดาอยู่แล้ว  แต่ไม่ก่อให้เกิดการกัดเซาะ แต่หลังจากที่มีการสร้างเขื่อนกั้นคลื่นกั้นทรายที่ปากคลองสะกอมทำให้กระแสคลื่นเปลี่ยน ที่สำคัญเขื่อนดังกล่าวไม่สามารถกั้นทรายตามที่กรมเจ้าท่าฯตั้งใจไว้ เพราะกรมเจ้าท่าฯยังต้องใช้รถมาดูดทรายบริเวณนั้นทุกปี             ด้านนายดลรอหมาน โต๊ะกาหวี ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ่อโชน  เล่าถึงความสำคัญของชายหาดอีกแง่มุมหนึ่งว่าชายหาดเป็นที่วิ่งเล่นและพักผ่อนหย่อนใจของคนในชุมชน  สมัยก่อนเด็กๆและผู้ใหญ่จะมีพักผ่อนบริเวณริมชายหาดเด็กๆมีการละเล่นมากมาย เป็นการสร้างความผูกพันธ์ภายในครอบครัว และยังเล่าให้น้องๆฟังว่าตัวแทนชาวบ้านสะกอมได้ร่วมกันฟ้องร้องกรมขนส่งทางน้ำฯต่อศาลปกครองสงขลาให้รับผิดชอบกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับชายหาด เพราะไม่ต้องการให้ชายหาดเกิดความเสียหายมากกว่านี้ ช่วงบ่ายน้องๆฝ่าเปลวแดดที่ร้อนแรงไปยังริมชายหาดบ้านสวนกง   ตำบลนาทับ อำเภอจะนะ บริเวณชายหาดใกล้กับศูนย์วิจัยทางทะเลของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งปัจจุบันถูกทิ้งร้างไว้ น้องๆชาวค่ายล้อมวงริมหาดคุยกับชาวประมงที่นั้น จากสายตาที่มองเห็นชายหาดบริเวณนี้ยังอยู่ในสภาพที่ทอดยาวสวยงามไม่ถูกกัดเซาะแบบตำบลสะกอม  จากการถ่ายทอดเรื่องราวของชาวประมงบ้านสวนกงทำให้รู้ว่าต้นตระกูลเดิมที่มาตั้งบ้านเรือนบริเวณนี้เป็นชาวจีน ชื่อ “แปะกง “ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นที่มาของชื่อบ้าน”สวนกง” จากคำบอกเล่าอดีตชายฝั่งทะเลบ้านสวนกงทรัพยากรอุดมสมบูรณ์มาก ต่อมาช่วงประมาณ 10-15ที่ผ่านมามีเรือประมงประเภทอวนลากอวนรุนเข้าทำการประมงส่งผลให้ทรัพยากรลดน้อยลง ชาวบ้านส่วนใหญ่ต้องออกไปรับจ้างนอกพื้นที่ ต่อมาคนในชุมชนเกิดความคิดที่จะฟื้นฟูท้องทะเลให้คืนความอุดมสมบูรณ์ เพื่อจะได้กลับมาทำมาหากินในชุมชนตนเอง  จึงคิดถึงการทำปะการังเทียม เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยและเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ ซึ่งหลังจากการทำปะการังปรากฎว่าทรัพยากรพันธุ์สัตว์น้ำในท้องทะเลเพิ่มมากขึ้นทำให้ชาวบ้านสามารถกลับมาทำประมงได้อีกครั้ง นอกจากการอนุรักษ์ฟื้นฟูทะเลแล้วยังมีการจัดการขยะในชุมชน แต่น่าเสียดายที่ขาดความต่อเนื่อง   และช่วงเวลาสิบที่ผ่านมาสมาชิกในชุมชนยังทำการรณรงค์การปลูกต้นไม้ในชุมชนเพื่อให้ลูกหลานได้ใช้ประโยชน์ระยะยาวซึ่งตอนนี้บางส่วนได้ใช้ประโยชน์จากต้นไม้ที่ปลูกแล้ว              ณ วันนี้ชาวบ้านสวนกงส่วนหนึ่งหวั่นวิตกกับกระแสข่าวที่ว่าท่าเทียบเรือน้ำลึกสงขลาแห่งใหม่จะเกิดขึ้นที่นี้ ซึ่งหมายถึงชายหาดอาจต้องถูกทำลายไปเช่นที่ตำบลสะกอม นั่นหมายถึงวิถีการทำมาหากินของชาวประมงจะกระทบไปด้วย              ยามค่ำคืนนั้นน้องๆได้นั่งล้อมวงรอบกองไฟและบอกเล่าสิ่งที่ได้เรียนรู้โดยสื่อสารผ่านการเล่าเรื่อง บทกลอน บทเพลงและศิลปะภาพวาดที่ถ่ายทอดจากหัวใจของเด็กๆ บ้านสวนกงปลูกไม้ไว้ทดแทน                          ผู้ใหญ่ท่านหวงแหนเป็นหนักหนา ให้ลูกหลานได้ใช้ประโยชน์นานา                           คนในถิ่นศึกษาน่าจดจำ ทั้งต้นย่างยางนำมาอุดเรือได้                          มะพร้าวกล้วยลำเพ็งไว้เก็บเกี่ยวผล ต้นวาหรือมังคุดป่าช่างน่ายล                                ทิ้งให้ชนรุ่นหลังได้ดูแล ส่วนต้นเค็ดเมล็ดใช้ซักผ้า                               ผลนั่นหนาย้อมศีรษะงามเกศี นำลำต้นทำรั้วหนามหลายบ้านมี                           หนามเค็ดนี้ถ้าโดนตำปวดถึงใจ กระถินไซร้ได้พันธุ์มาจากฉลุง                         เราบำรุงกินกล้วยป่าน่าพิสมัย เม็ดมะม่วงหิมพานต์ทานกันไว                              ทั้งพวกไก่พฤกษามาพึ่งพิง ทั้งโท๊ะเหมรอออกผลชนได้กิน                         เป็นทรัพย์สินธรรมชาติมาตรฐาน ใครมาซื้อไม่ขายได้ประโยชน์นาน                           รักษาไว้ให้ลูกหลานได้ชม แต่วันนี้ท่าเรือใหญ่จะมาตั้ง                            เยาวชนช่วยรั้งโครงการนี้ ต่อไปคงมีแล้วเขียวขจี                                         ทุกพื้นที่สวนนานาเขาเข้าครอง ในค่ายนี้โหมเรารักษ์จะนะ                              พวกเราจะเชิญชวนเพื่อนทั้งผอง ผนึกแรงกำลังของพี่น้อง                                      ร่วมปกป้องความสมบูรณ์ของบ้านเรา และสื่อสารผ่านบทเพลงรักบ้านเกิด             ..รู้ว่าเสี่ยงแต่คงต้องขอลอง          รู้ว่าเหนื่อยแต่อยากได้ของที่สดสวย            ยังไงก็ต้องขอร่วมด้วยช่วยกัน        ได้เกิดมาเป็นคนทั้งที ยังไงต้องทำมันดีสักวัน    อยากปกป้องต้องเสี่ยง     ไม่อยากให้บ้านเราเป็นเพียงความฝัน         ลำบากลำบนมาหลายปี            ตรากตรำยังไงก็คิดที่จะทำ            ก็ดีกว่าปล่อยให้มันเสื่อมสูญ         ก็เพราะรักบ้านเราจริงๆ    รักจริงๆก็ต้องช่วยกัน..       เช้าวันรุ่งขึ้นน้องๆช่วยกันระดมความคิดเห็นว่าอนาคตอยากให้ชายหาดเป็นอย่างไรและจะทำอย่างไรกันได้บ้าง  น้องๆทั้งหมดคาดหวังว่าอยากให้ชายหาดขาวสะอาดมีน้ำทะเลใสๆ ไร้ขยะ   ให้ระบบนิเวศน์สมบูรณ์ เหมือนในอดีต   ไม่อยากให้เกิดโรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้นบริเวณชายหาดและทะเล  อยากให้ปู ปลาหมึกกลับมาวางไข่ใกล้ๆชายฝั่ง  ไม่อยากให้นายทุนมาสร้างสิ่งก่อสร้างที่ทำลายระบบนิเวศน์ชายทะเลของเรา อยากให้เกิดการรวมกลุ่มของชุมชนในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับชายหาดย่างจริงจัง อยากให้เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว  และที่สำคัญอยากให้อยากให้ทุกคนช่วยกันอนุรักษ์ป่าสันทรายและชายหาด  ให้มีชายหาดที่สวยงามนี้อยู่คู่โลกใบนี้ตลอดไป เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษาและพัฒนาให้ดีขึ้นต่อไป  โดยเด็กๆจะเริ่มจากสิ่งเล็กๆที่สามารถทำเอง เช่นเก็บขยะริมชายหาดไม่ทิ้งขยะเกลื่อนกลาด    ช่วยกันรณรงค์ให้ทุกคนเกิดจิตสำนึกรัก  จัดกลุ่มเยาวชนขึ้น เพื่อรักษาชายหาดและป่าสันทราย บอกเล่าสิ่งที่ได้เรียนรู้และสัมผัสให้คนอื่นๆได้รับรู้ นี่คือสัญญาใจของค่ายโหมเรารักษ์จะนะในครั้งนี้ เพื่อตามหาชายหาดที่หายไปให้กลับคืนมาสู่ผืนแผ่นดินเกิด  
ที่ว่างและเวลา
นาลกะ
ผลงานเรื่องนี้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ จากการประกวดวรรณกรรมเยาวชนรางวัลแว่นแก้ว ครั้งที่ 2 ผู้เขียนคือ “เก็ตตะหวา” วาดภาพประกอบโดย ธีระพงษ์ บัวระเพชร และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค เจ้าเก่า แก่นแกนของเรื่องคือพัฒนาการของเด็กผู้หญิงที่ชื่อ “ผิงผิง” ซึ่งอาศัยอยู่กับพ่อแม่บุญธรรม และไม่ใคร่จะชอบพ่อที่แท้จริงนักเพราะคิดว่าพ่อทอดทิ้งเธอซ้ำยังปล่อยให้แม่ตาย แต่ที่จริงแล้วพ่อของเธอนั้นรักเธอมาก เหตุที่ต้องฝากเธอไว้กับคนอื่นนั้นเพราะหน้าที่การงานที่เป็นนักมายากลต้องตระเวณแสดงไปตามที่ต่าง ๆ ทั้งคนที่นำลูกไปฝากไว้นั้นก็เป็นเพื่อนเก่าและเป็นนายอำเภอที่ไม่มีลูกของตนเองสามารถดูแลผิงผิงได้
Hit & Run
แดง ใบเตย  1. บทสรุปสำหรับผู้บริหารข้อเขียนชิ้นนี้ เขียนขึ้นเพื่อโจมตีกลุ่มปัญญาชนเก๋ไก๋ทั้งหลาย ที่บังอาจวิพากษ์วิจารณ์กระแส "เคอิโงะ"    2. ดวงของเคอิโงะแหม่มโพดำ"เคอิโงะ" เสี่ยงได้ไพ่ "แหม่มโพดำ" ดวงดีมากมาย  3. บทกวีแด่เคอิโงะเ ร า ก็ ไ ม่ ท ร า บ ว่ า จู่ ๆ คุ ณ ดั ง  ขึ้ น ม า ไ ด้ เ ยี่ ย ง ไร "เ ค อิ โ ง ะ"สำ ห รั บ ผ ม เ ริ่ ม แ ร ก ก็ อ อ ก จ ะ ห มั่ น ไ ส้ คุ ณ อ ยู่ ม า ก เ ล ย ที เ ดี ย วแ ต่ สำ ห รั บ ผู้ ที่ แ ส ด ง ค ว า ม ฉ ล า ด ห ลั ง เ ห ตุ ก า ร ณ์ นี่ ยิ่ ง น่ า ห มั่ น ไ ส้ ก ว่ ามั น ไ ม่ ใ ช่ เ รื่ อ ง ข อ ง ผ ม กั บ คุ ณ . . . "เ ค อิ โ ง ะ"แ ต่ เ ป็ น เ รื่ อ ง ข อ ง พ ว ก เ ร า ห มู่ ม ว ล ม ห า ช น ค น เ สี่ ย ว ๆ ทั้ ง ห ล า ยกั บ พ ว ก ปั ญ ญ า ช  น เ ห ล่ า นั้ น . . .W e a r e t h e w o r l d - รั ก กั น รั ก กั น - เ พื่ อ ธ ร ร ม ช า ติ อั น ยิ่ ง ใ ห ญ่ ยื น ย ง !? อ้ายแดง ใบเตย ของมอบให้น้อง เคอิโงะ 28 พ.ค. 52 .. น่าจะเข้าฤดูฝนแล้ว ณ ใบกระท่อมนักรบศรีวิชัย   4. ปรากฏการณ์ "เคอิโงะ"ปรากฏการณ์ "เคอิโงะ" เกิดจากการปั่นกระแสของสื่อมวลชน ซึ่งจะเริ่มจากรายการ "เรื่องเล่าเช้านี้" ของเฮียสรยุทธ์ ทางช่อง 3 (ซึ่งช่อง 7 ไม่ยอมน้อยหน้า ขุดหนูน้อยมะเร็งมาสู้ แต่โดนเคอิโงะตีตกพ่ายกระแสไป) จนเกิดการระบาดฟีเวอร์ไปทั่ว ทั้งสื่อในประเทศและต่างประเทศต่างประโคมข่าวความน่าสงสารของเด็กน้อยลูกครึ่งไทยญี่ปุ่น จนดังไปทั่วโลก แถมยังมีข่าวสินค้าต่างๆ รุมตอม มาเป็นพรีเซ็นเตอร์สินค้า และนำเรื่องราวชีวิตมาเขียนการ์ตูนแทบไม่น่าเชื่อว่าจากกระแสความน่ารักเอ็นดูของ ดช.เคอิโงะ ซาโต เด็กกำพร้าชาวพิจิตร อายุแค่ 9 ขวบ แม่ตายออกตามหาพ่อชาวญี่ปุ่น จะมีคลื่นไต้น้ำคอยเจาะยาง และได้กลายเป็นกระแสหมั่นไส้ขึ้นมาดื้อๆ โดยเฉพาะเหล่า "ปัญญาชน" ทั้งหลายที่สิงสถิตอยู่ตามเวบบอร์ด หรือบลอก หรือหน้าคอลัมน์ตามนิตยสารเก๋ไก๋ต่างๆ ในสังคมไทย ที่มีคำวิจารณ์มากมายอาทิ.."..เป็นอีกครั้ง ที่สื่อหากินกับความอนาถของคนอื่น.." "..เพราะจากที่เคยเห็นว่าเป็นเพียงเรื่องของเด็กตัวเล็กๆ ที่อยากเจอพ่อบังเกิดเกล้า ..มันก็เติบโต รุดหน้า และมุ่งเข้าหา สิ่งที่เรียกว่า "ความเสื่อม" ครั้งยิ่งใหญ่ อีกครั้ง ของเหล่าบรรดาสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า ‘สื่อมวลชน'.. ""..จะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม เคอิโงะเองได้กลายเป็นเหยื่อของระบบทุนนิยมไปแล้ว..""เรื่องนี้เป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง ไม่ใช่เรื่องสังคมสงเคราะห์ แบบที่สื่อไทยกำลังเล่นกันอยู่"และอีกบลาๆๆๆ ทำไมนะ "ปรากฏการณ์เคอิโงะ" ถึงได้ไปเข้าทางตีน ของผู้รู้เหล่านี้จังเบ้อเร่อ   5.จริตของปัญญาชนสังคมไทยจะมีคนกลุ่มหนึ่ง, พวกเขาเกินขั้นนักวิจารณ์ธรรมดาดาดๆ ทั่วไป พวกเขาไปถึงขั้นตรัสรู้และตัดสินความเป็นไปของสังคมด้วยตัวของเขาเองแล้ว "ปัญญาชน" คือคำนามและบ่งชี้คุณลักษณะของพวกเขาปัญญาชนเหล่านี้มักจะบอกว่าตัวเองเป็นพวกคนคิดนอกกรอบ ทวนกระแส สวนกระแส ต้านทุนนิยม ต้านบริโภคนิยม .. ต้านอะไรที่คนหมู่มากเขาชอบ เขาทำกัน เช่น ต้านการค้าเสรี ต้านระบบประชาธิปไตยเลือกตั้ง ต้านนายกทักษิณ ต้านหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ต้านช่อง 3 5 7 9 ต้านละครหลังข่าว ต้านเพลงค่ายอาร์เอส ค่ายแกรมมี เป็นต้นและก็มีความคิดความอ่านที่ไม่ค่อยเป็นวิทยาศาสตร์เท่าไร เพราะปัญญาชนเหล่านี้มักจะชอบพกหนังสือของ "ตุ๊ด นัด อัน" หรือไม่ก็ "บุ๊ดดะด๋าด คิกขุ" [1] เท่ๆ สักสองสามเล่ม ใส่รวมๆ ไว้กับเน็ตบุ๊คในย่ามสะพายข้างเก๋ๆ ออกเดินจาริกแสวงบุญตามร้านกาแฟหรือร้านหนังสือเล็กๆ มีสไตล์ จับกลุ่มสนทนาว่าด้วยเรื่อง "ปรัชญาสูงสุดของจักรวาล" - ทุกเรื่องในโลกไอ้พวกนี้จะตรัสรู้หมดทุกตัว (ทุกอย่างถูกอธิบายไว้หมดแล้วในหนังสือสองสามเล่มที่อยู่ในยามสะพายดังที่ได้กล่าวไป)การต่อสู้ของเคอิโงะ สำหรับสายตาของปัญญาชนพวกนี้ดูเสี่ยวเกินไป เพราะไทยรัฐและช่อง 3 เล่นเรื่องนี้จนเกินคำว่าพองาม สำหรับนักปรัชญาพวกนี้ พวกเขาติดตามและให้ความสนใจเกี่ยวกับการต่อสู้ของภาพยนตร์ฟอร์มเล็กๆ จากอิหร่านในเวทีเทศกาลหนังยุโรป หรือการต่อสู้ของ ซูซาน บอยล์ สาวทึนทึกวัย 47 ปี บนเวทีคนล่าฝันของฝรั่งหัวแดง หรือไม่ก็เป็นเรื่องการต่อสู้ของ ซูจี กับ ทาไล ลามะ (2 เคสไฟต์บังคับที่ปัญญาชนต้องติดตามอยู่ตลอดเวลา อย่าได้ตกข่าวเชียว) การต่อสู้ของไอ้โงะอาจจะไม่น่าสนใจเท่าแมวน้ำขั้วโลกกำลังทุรนทุรายเพราะได้รับสารไอโอดีนไม่เพียงพอ หรือเรื่องของบลอกเกอร์ทิเบตถูกจับกุมที่อิรักเนื่องจากเขียนบลอกเรียกร้องประชาธิปไตยให้กับพม่า ฯลฯ มากกว่า เหตุการณ์เสี่ยวๆ ที่เกิดขึ้นในบ้านในเมืองนี้เช่นเดียวกับพวกซ้ายลูกเศรษฐี ปัญญาชนเหล่านี้จะสนุกสนานอยู่กับการวิเคราะห์ความเป็นไปในสังคม แต่ตนเองตีนเหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ  ...แต่ช่วงหลังซ้ายลูกเศรษฐีบ้านเราพฤติกรรมดีขึ้นมาหน่อย คือยอมลงไปถือป้ายประท้วงพวกอำมาตย์ ร่วมเป็นร่วมตายกับคนเสื้อแดง ได้หลบกระสุนหลบรถแก็สพอเป็นพิธี ได้เชื่อมโยงกับโลกที่มันเป็นจริงๆ มากกว่าหน้าจออินเตอร์เน็ต หรือหนังสือเท่ๆ --- สำหรับการเมืองเรื่องสี พวกปัญญาชนทั้งหลายนั้นยังคงทำตัวอยู่เหนือปัญหา ปวารณาตนเป็นพวกสองไม่เอาอยู่อย่างเคร่งครัดจริตของพวกปัญญาชนเหล่านี้ มักจะเกลียดชนิดถึงขั้นรังเกียจกับสิ่งที่มันเป็น "ประชานิยม" (ที่ภาษาอังกฤษเขาเรียกว่า "ปอปปูล่า" น่ะ!) และข่าวของเคอิโงะ มันก็ถูกสร้างมาในรูปแบบ "ประชานิยม" ดังกล่าว   6.คนมันสู้ (น่ะ!)บนโลกทุนนิยมนี้ คุณจะจนอย่างไร คุณจะทุกข์ยากอย่างไร การนอนแบมือรอโอกาสอยู่ที่บ้านให้เหี่ยวเฉาตายไปทีละน้อย หรือนั่งเขียนแถลงการณ์เพื่อรัฐสวัสดิการวันละแผ่นสองสามแผ่น โดยไม่ได้ทำตัวเงินตัวทองอะไรไปมากกว่านั้น ไม่เป็นผลดีแน่การต่อสู้มีต้นทุนทั้งนั้น ก่อนจะมาเป็นเคอิโงะในวันนี้ ไอ้โงะเองก็ต้องบากหน้าเอาความเป็นเด็กกำพร้า แม่ตายด้วยโรคร้าย พ่อญี่ปุ่นทิ้ง เอาความเวทนาแลกมันมานะครับ -- คนน่ะถ้ามันไม่สุดๆ จริงๆ เขาไม่งัดเอาความเวทนามาขายกันหรอกเคอิโงะ ไม่ได้นอนกระดิกตีนอยู่บ้าน แล้วต่อสายหาสรยุทธ์แบบว่า "เฮ่ย! ไอ้เผือก มรึงช่วยปั้นกรูออกรายการเล่าข่าวมรึงหน่อยเด๊ะ!" อะไรประมาณนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆ อย่างพวกปัญญาชนทั้งหลายวิจารณ์นะครับ กว่าจะมีวันนี้ เคอิโงะเองก็ใช้เวลาไม่ใช่น้อยในการรณรงค์อยู่หน้าอุโบสถ เพื่อเรียกร้องสิทธิในการที่จะเจอพ่อ ผ่านการถูกดูถูกเหยียดหยามมาแทบจะทุกชนิดแล้วสำหรับคนเสื้อแดง เราต้องแยกแยะเรื่องคนที่เข้ามาช่วยเหลือเคอิโงะ ไม่ว่าจะเป็น รัฐบาล อภิสิทธิ์ เสธ.หนั่น กษิต ฯลฯ เพราะเราก็รู้กันดีว่ามันเป็นไฟต์บังคับที่ผู้ใหญ่เหล่านี้ต้องดาหน้าออกมา - อย่าไปว่าเด็กมันเลยอย่ามาพาลหมั่นไส้เด็กด้วยเรื่องพวกนี้ โตๆ กันแล้วต้องมีน้ำใจเป็นนักกีฬาระดับผู้ใหญ่กันสักหน่อย ดูเด็กมันเป็นแบบอย่างดีกว่า นี่แหละผลพวงของการออกมาต่อสู้ ... เคอิโงะเกือบจะเจอพ่อแล้ว ส่วนพวกเราคนเสื้อแดง ทนสู้กันไปอีกนิด ไม่นานคุณทักษิณก็ต้องได้กลับมาเป็นนายกอีกครั้งหรือจะหมั่นไส้เคอิโงะว่าได้คืบจะเอาศอก ที่ขอเล่นหนังเป็นดาราอะไรเทือกนั้น -- ก็เรื่องของไอ้โงะมัน เพราะต้องยอมรับว่ากว่าที่จะมีวันนี้ อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่า มันไม่ได้นอนงอแข้งงอขาอยู่ที่บ้านนะครับ มันออกมาตามหาพ่อมันนะ แบกความน่าเวทนาและผ่านแรงเสียดสีมาได้อย่างหวุดหวิด สิ่งที่เคอิโงะได้รับมาในวันนี้ต้องยอมรับหน่อย น้ำพักน้ำแรงของมันทั้งนั้น (เช่นเดียวกับที่คุณทักษิณได้รับแรงใจจากคนเสื้อแดงอยู่ตลอดเวลา นี่ก็น้ำพักน้ำแรงที่เขาได้ทำตอนเป็นนายก)คนเสื้อแดง ชาวนา กรรมกร นักรบโรนิน ผู้นิยมชมชอบลัทธิมาร์ก และเคอิโงะ นั้น ก็ล้วนแล้วแต่มีที่ทางและวิธีการต่อสู้แตกต่างกันไปออกมาสู้ในแบบของคุณ จะดีจะเด่นจะดังจะดับ ยังไงมันก็เรื่องของคนที่ออกมาสู้! ... อย่าไปสนใจขี้ปากปัญญาชนทั้งหลายเลยน่ะ!  ปรากฏการณ์ "เคอิโงะ"  เด็ก 9 ขวบแม่ตายรอพ่อญี่ปุ่นหน้าโบสถ์นานนับปี คมชัดลึก 11 พฤษภาคม 2552 หนูน้อยวัย 9 ขวบ สุดอนาถแม่ป่วยตายสั่งเสียพ่อเป็นชาวญี่ปุ่นให้ไปรอตรงหน้าโบสถ์วัดท่าหลวง เมื่อเห็นรถทัวร์ท่องเที่ยววิ่งถามรู้จักพ่อหนูไหม สุดรันทดรับจ้างขัดรองเท้าขายอาหารปลาหน้าวัดรอพ่อ นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวกราบไหว้หลวงพ่อเพชรพระศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองพิจิตรต่างรันทดใจ เมื่อเห็นภาพหนูน้อยวัย 9 ขวบ วิ่งถือรูปพ่อที่เป็นชาวญี่ปุ่นให้กำเนิดแล้วแยกทางกับแม่หายไป ส่วนแม่หลังแยกทางกับพ่อไปทำงานในกรุเทพฯต่อมาได้เสียชีวิต ปล่อยให้ลูกเผชิญชะตากรรม หนูน้อยคนดังกล่าวคือเด็กชายเคอิโงะ หรือ "เคโงะ" ซาโต อายุ 9 ปี เล่าว่า มีแม่ชื่อนางทิพย์มณฑา ซาโต อายุ 33 ปี เสียชีวิตไปแล้วเมื่อวันที่ 3 เมษายน ที่ผ่านมา ด้านนางปัทมา จตุพิศ อายุ 35 ปี อยู่บ้านเลขที่ 686 ถ.บุษบา ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิจิตร ซึ่งเป็นป้า ของเด็กชายเคอิโงะ เล่าให้ฟังว่า เมื่อประมาณปี 2542 นางทิพย์มณฑาได้ออกจากบ้านไปตั้งแต่เป็นสาวอายุประมาณ 15 - 16 ปี บอกเพียงว่า ไปทำงานในกรุงเทพฯ จากนั้นก็หายไปกลับมาอีกทีก็อุ้มท้องมาบ้านที่จังหวัดพิจิตรพร้อมกับสามีซึ่งเป็นชาวญี่ปุ่น ชื่อนายคัทซูมิ ซาโต มาพบนายปรีชา จันทร์ประทุม อายุ 60 ปี ผู้เป็นพ่อ ปัจจุบันป่วยเป็นอัมพาตมากว่า 5 ปี แล้ว เพื่อแนะนำให้รู้จักกับคนในครอบครัวที่เป็นชาวไทย จากนั้นก็หายไปอีก 3 - 4 ปี ประมาณ พ.ศ.2543 กลับมาอีกครั้ง คราวนี้นางทิพย์มณฑา ก็หอบเอาลูกชายสายเลือด นายคัทซูมิ ซาโต ชาวญี่ปุ่น ที่อายุได้เพียง 4 เดือน มาทิ้งไว้ให้ญาติ ๆ เลี้ยงดูโดยไม่ยอมบอกว่า เกิดอะไรขึ้นแล้วก็กลับไปทำงานสถานบันเทิงในกรุงเทพฯ ส่งเงินมาให้เพียง 2 - 3 ครั้ง เป็นค่านมลูกแล้วก็ขาดการติดต่อไป จนกระทั้ง พ.ศ.2545 แม่ของเด็กชายเคโงะ และ นายคัทซูมิ ซาโต สามีชาวญี่ปุ่นมาจังหวัดพิจิตร เพื่อเยี่ยมลูกเป็นครั้งสุดท้าย โดยในคราวนั้นลูกอายุได้ 3 ขวบ ก่อนจะเงียบหายไป ทั้งแม่และพ่อชาวญี่ปุ่น โดยปล่อยให้เด็กชายเคโงะใช้ชีวิตอยู่ตามลำพังอดมื้อกินมื้ออยู่กับญาติ ๆ ที่ฐานะยากจน โดยหากินด้วยการไปขายอาหารเลี้ยงปลาหน้าวัดท่าหลวงพระอารามหลวง เป็นการยังชีพ และทุกวันพระ ก็จะได้รับความเมตตาจากพระให้อาหารหรือไข่เค็ม บะหมี่สำเร็จรูป ขนม ที่คนเอามาทำบุญให้เอาไว้กิน แต่แล้วสิ่งที่ไม่คาดคิดเมื่อวันสงกรานต์ปี 2551 นางทิพย์มณฑาก็กลับมาบ้านเพราะป่วยหนัก กอดลูกและพร่ำบ่นถึงสามีที่เป็นพ่อชาวญี่ปุ่น ให้ลูกฟังว่า พ่อจะต้องกลับมาหาลูก และจะต้องมาที่วัดท่าหลวง นางปัทมา กล่าวว่า หลังจากนางทิพย์มณฑากลับมาเด็กชายเคโงะมักจะพาแม่มานั่งที่หน้าอุโบสถหลวงพ่อเพชรทุกวัน พร้อมกับถือรูปพ่อชาวญี่ปุ่น ที่เป็นสมบัติชิ้นเดียวที่แม่มอบให้ ทุกครั้งที่มีรถทัวร์นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมาจอด เด็กชายเคโงะ ก็จะถามว่า "เห็นพ่อหนูไหม" พร้อมกับโชว์รูปของพ่อให้ดู แต่เวลาผ่านไป 2 ปีกว่า ก็ไม่มีวี่แววของพ่อชาวญี่ปุ่นจะกลับมา แถมอาการป่วยหนักขึ้นจนกระทั้ง ต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา นางทิพย์มณฑามีอาการหนักขึ้นใกล้ตายพร้อมกับสั่งเสียลูกว่า "ให้รอพ่อที่หน้าอุโบสถวัดท่าหลวงพระอารามหลวง จะได้เจอพ่อชาวญี่ปุ่น " ในที่สุดวันที่ 3 เมษายนที่ผ่านมา นางทิพย์มณฑา ผู้เป็นแม่ของเด็กชายเคโงะ ก็สิ้นชีวิตลง ทุกวันนี้เด็กชายเคโงะ ยังคงเฝ้ารอพ่อชาวญี่ปุ่นอยู่หน้าอุโบสถวัดท่าหลวงพระอารามหลวง อ.เมือง จ.พิจิตร และ เฝ้าวิงวอนว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์คงจะช่วยให้ได้เจอพ่อผู้ให้กำเนิดที่เป็นชาวญี่ปุ่น ทั้งที่ทุกวันนี้ชีวิตสุดแสนลำเค็ญอีกไม่กี่วันนี้ก็จะเข้าชั้นเรียน ป.4 ที่โรงเรียนท่าหลวงสงเคราะห์ อ.เมือง จ.พิจิตร ขณะที่ญาติ ๆ ทุกคนก็ยากจน จึงวอนขอสังคมช่วยถ้าพบพ่อชาวญี่ปุ่น ติดต่อนาง ปัทมา ผู้เป็นป้า โทร....  จากนั้นปรากฏการณ์สิบกว่าวันยิ่งกว่านิยายของ "เคอิโงะ" จึงบังเกิดขึ้น ..   เชิงอรรถ[1] "ตุ๊ด นัด อัน" และ "บุ๊ดดะด๋าด คิกขุ" คือสองสุดยอดนักคิดที่กลายเป็นมหาเมพบร๊ะเจ้าของเหล่าปัญญาชนทั้งหลาย ไม่ใช่แค่งานเขียนเท่านั้น แม้แต่ตดของมหาเมพบร๊ะเจ้าทั้งสองนี้ก็มีความหมายอันลึกซึ้งเกินกว่าปุถุชนคนธรรมดาสามัญที่ไม่ใช่พวกมันจะเข้าถึงได้ สำหรับเหล่าลูกศิษย์ลูกหานักปรัชญาทั้งหลาย
นาลกะ
  เรื่องเล่ามหาสนุกจากทุ่งหญ้าสีเขียว เป็นวรรณกรรมเด็กที่โด่งดังของธอร์นทัน ดับบลิว. เบอเกตส์ (Thornton W. Burgess) เขาได้แต่งเรื่องเล่าเกี่ยวกับสัตว์ป่าและธรรมชาติเป็นนิทานก่อนนอนสำหรับลูกชาย ปลูกฝังให้ลูกชายเติบโตขึ้นอย่างมีความมั่นคงทางอารมณ์และจิตใจ ต่อมาได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือชุดรวม 20 เล่ม ได้รับผลสำเร็จอย่างมาก จนเขาได้แต่งเรื่องเล่าเพิ่มเติมรวม 170 เรื่อง