Skip to main content
นาลกะ
ไม่กี่วันก่อน ผมได้มีโอกาสดูภาพยนตร์เรื่อง "Lassie Come Home " ทางเคเบิลทีวี ซึ่งน่าสนใจและน่าประทับใจดี จึงหาหนังสือมาอ่านพบว่าหนังสือเล่มนี้ได้แปลเป็นไทยนานแล้ว โดย ร.ท.นิพนธ์ กาบสลับพล และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์สุขภาพใจ "แลสซี่" ถือกำเนิดจากปลายปากกาของนักเขียนเชื้อสายอังกฤษ-อเมริกัน เอริค ไนท์ (Eric Knight) ในรูปแบบเรื่องสั้น ตีพิมพ์ลงใน Saturday Evening Post เมื่อปี 1938 และผู้เขียนขยายเป็นนวนิยายในปี 1940 ซึ่งประสบความเป็นอย่างดี Lassie ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์หลายครั้งหลายหนรวมทั้งเป็นซีรี่ส์ทางจอโทรทัศน์โดยมีดาราฮอลลีวู้ดระดับตำนานนำแสดง ไม่ว่าจะเป็น อลิซาเบธ เทย์เลอร์, มิคกี้ รูนี่ย์, ร็อดดี้ แม็คโดเวลล์ และ จิมมี่ สจ๊วร์ต Lassie ฉบับซีรี่ย์ทางโทรทัศน์ออกอากาศครั้งแรกในปี 1954 และฉายติดต่อยาวนานถึง 20 ปี ได้รับรางวัล Emmy ถึง 2 ครั้ง "สาขาซีรี่ย์ทางโทรทัศน์สำหรับเด็กยอดเยี่ยม" และเป็นซีรี่ย์ที่ยืนโปรแกรมฉายนานที่สุด ทั้งยังได้ออกฉายใน 50 ประเทศทั่วโลกด้วย กระทั่งเกิดมูลนิธิ Lassie ในเวลาต่อมา
suchana
  ค่ายโหมเรารักษ์จะนะ  : ตอนที่ 2 ตามรอยเรื่องเล่าเมืองจะนะ             น้องๆชาวค่ายตื่นกันตั้งแต่ ๐๕.๓๐ น. เบิกบานด้วยโยคะยามเช้าริมทะเล ฝึกลมหายใจเข้าออกสูดอากาศบริสุทธิ์เพื่อความผ่องแผ้วของชีวิต หลังอาหารเช้าน้องทุกคนกระตือรือร้นขึ้นรถเพื่อออกตามรอยเรื่องเล่าเมืองจะนะจากสองวิทยากรเมื่อวานนี้  จุดแรกจะไปเรียนรู้เมืองเก่าที่บ้านเขาจันทร์ หมู่ที่๑๐  ตำบลจะโหนง อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา หลังจากนั้นจะตามรอยส้มจุกสายพันธุ์ดั้งเดิมของเมืองจะนะ          รถยนต์มุ่งหน้าสู่บ้านเขาจันทร์  ตำบลจะโหนง อำเภอจะนะ  จังหวัดสงขลา น้องๆชาวค่ายได้พบกับคุณตากุลจักร  ศรียาภัย อายุ ๘๐ ปีและ พี่คนึง  นวลมณี ผู้จะนำทีมนำสำรวจรุ่นจิ๋วตามรอยเรื่องเล่าเมืองเก่าจะนะคุณตากุลจักร เล่าว่า  เมื่อสมัยรัชการที่ ๕  เจ้าเมืองจะนะคนสุดท้าย คือ พระมหานุภาพปราบสงคราม ชื่อเดิมว่า "ปลอด" ซึ่งเป็นพ่อของยาย บ้านเจ้าเมืองขณะนั้นมีเนื้อที่ประมาณ ๕ ไร่ ในบริเวณบ้านจะปลูกไม้ไผ่หลอด มีลำขนาดเท่าหัวแม่มือ ปลูกล้อมรอบทั้ง ๔ ด้าน  ปัจจุบันไม่มีซากบ้านหลงเหลือขณะนี้ที่บริเวณนั้นกลายเป็นที่นาตำบลจะโหนงเป็นเมืองเก่าในอดีต   ลักษณะบ้านเรือน เป็นบ้านโบราณที่ทำด้วยไม้ทั้งหลังลักษณะคล้ายๆ เรือนไทยปัจจุบัน สมัยนั้นไม่มีตาปู ใช้ตัวสลักแทน (สลักทำจากไม้ปลายแหลมขนาดเล็ก) ใช้ตอกเพื่อการยึดเกาะ ส่วนฝาบ้านทำด้วยเปลือกไม้ นำมาผ่าเป็นชิ้นๆ กั้นฝาบ้าน ส่วนบริเวณรอบๆ โดยทั่วไปเป็นป่า  การสัญจร สมัยก่อนเดินทางโดยทางเรือ ในคลองนาทับ เป็นคลองที่ต่อกับทะเล  ผู้คน ส่วนใหญ่เป็นคนดั้งเดิม สมัยนั้นมีคนข้างนอกเข้ามาบ้างจากการแต่งงาน และจากการที่ลูกหลานชักชวนเข้ามา การทำมาหากินในสมัยนั้น ชาวบ้านปลูกถั่ว ปลูกมัน ทำนา ทำไร่ ทำสวน หาปลาในคลองนาทับ ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่มีการเลี้ยงปลา มีปลาเยอะไม่อดยาก เครื่องมือจับปลาในขณะนั้นใช้ สุม เบ็ดตกปลา แห  ส่วนสวนผลไม้ มีมะพร้าว  มีทุเรียนป่าต้นใหญ่  มีหมาก สมัยนั้นคนนิยมกินหมากกันมาก และมีมะม่วง ส่วนใหญ่จะงอกเองตามธรรมชาติ   สมัยก่อนไม่มีการแย่งชิงกันทำมาหากิน พึ่งพาอาศัยกันหลังจากที่ฟังคุณตากุลจักรเล่าเรื่อราวในอดีตแล้ว  พี่คนึง  นวลมณีได้พาน้องๆชาวค่ายไปสำรวจดูบริเวณที่เป็นจุดที่ตั้งของโรงถลุงเหล็กขนาดใหญ่ในอดีตบริเวณ "ควนเขาจันทร์"  บริเวณโรงถลุงเหล็กปัจจุบันได้กลายเป็นสวนยางพารา  ด้านหน้าที่ตั้งโรงถลุงเหล็กมีบ่อน้ำเก่าแก่ขนาดใหญ่ซึ่งปัจจุบันถูกปิดถมไป เล่ากันว่าบ่อน้ำแห่งนี้โจรได้จับเด็กๆมาโยนแล้วเอาเอาคมดาบรับ  ถัดจากบริเวณที่ตั้งโรงถลุงเหล็กมีต้นมะขามขนาดใหญ่หลายคนโอบ  บริเวณใกล้เคียงมีต้นตาลดำ  ซึ่งเป็นสมุนไพรมีสรรพคุณรักษาโรคตาลขโมย และบริเวณใกล้เคียงยังมีสมุนไพรอีกหลากหลายชนิด ซึ่งปัจจุบันมีร้านขายยาสมุนไพรในตลาดจะนะมีเก็บขายอยู่เนื่องๆ พี่คนึงเล่าว่าเดิมทีมีต้นมะขามขนาดใหญ่อีกสองต้น แต่ถูกตัดโค่นไปต้นที่เหลืออยู่นี้เพราะต้นได้ขอร้องให้เจ้าของที่ดินเว้นไว้เพื่อเก็บให้ลูกหลานดูออกจากเมืองเก่าจะโหนงรถยนต์มุ่งหน้าสู่บ้านทุ่งใหญ่เพื่อพบกับ คุณตาเจิม  มณีเจ้าของสวนส้มจุกบ้านทุ่งใหญ่ หมู่ที่ ๕ ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ คุณตาเจิมเล่าว่าบ้านทุ่งใหญ่ในอดีตนับถือศาสนาพุทธและศาสนาอิสลาม ส่วนใหญ่อาชีพทำนา  ประมาณปีพ.ศ.๒๔๙๗ - ๒๔๙๙ เป็นช่วงที่ส้มจุกจะนะรุ่งเรืองมีชื่อเสียง เดิมทีส้มจุกไม่ได้ได้ปลูกเป็นสวนแต่จะปลูกในบริเวณบ้านครัวเรือนละ ๑๐-๒๐  ต้น อดีตส้มจุกมีราคาดีลูกละหนึ่งบาทซึ่งเป็นราคาที่สูงในสมัยนั้น หมู่บ้านที่มีการปลูกกันมากได้แก่บ้านน้ำขาว บ้านคูและบ้านแค  สมัยก่อนจะมีการทูนส้มจุก   แบก หามมาขายในตลาดและมีการส่งขายไปยังที่ต่างๆมีการขนส่งขึ้นรถไฟเป็นโบกี้ไปขายในกรุงเทพมหานคร  นอกจากผลของส้มจุกที่ขายได้ราคาดีแล้วกิ่งตอนส้มจุกก็ได้รับความนิยมมีการสั่งซื้อจากที่ต่างๆมากมายคุณตาเจิม มีภรรยาชื่อ ยายคลี่ มณี  อาชีพดั้งเดิมเป็นครูสอนหนังสือ  มีคนมาบอกขายที่นาลุงจึงซื้อที่ไว้เป็นที่นาหากปลูกส้มหัวจุกก็จะปลูกไม่ขึ้น จึงต้องมีการเตรียมที่ดินเพื่อปลูกส้มหัวจุกนานพอสมควรประมาณ ๒ ปีกว่าจะได้ปลูก    ซึ่งในขณะที่เตรียมดิน ได้ไปสอบถามวิธีการปลูกจากคนที่เขาปลูกแล้ว ไปถามว่าส้มจุกปลูกในดินแบบไหนถึงจะดี เขาบอกมาว่าปลูกดินปลวก ซึ่งในที่ดินที่ซื้อมาก็มีปลวกอยู่บ้าง ๒ - ๓ ลูก จึงนำดินปลวกจากที่อื่นมาถมด้วย และมีการขุดระบายน้ำออก เริ่มปลูกโดยหาเมล็ดมาเพาะ ในรุ่นแรกปลูกได้เก็บผลผลิต ๕ ปี ภายหลังต้นตายหมดโดยไม่รู้สาเหตุ มีนายอำเภอเข้ามาดู บอกว่าจะเข้ามาเก็บตัวอย่างไปวิจัยดูว่าเพราะอะไร เขานำราก ดิน กิ่งไปทำการวิจัย แต่ก็ไม่ได้รับคำตอบ   แต่คุณตาเจิมได้คำตอบด้วยการทดลองทำเองคุณตาเจิมปลูกส้มหัวจุกมา ๔ รุ่นแล้ว  ได้คำตอบว่าหากใช้เมล็ดปลูกจะได้ผลช้าถึง ๗ ปีกว่าจะได้เก็บผลผลิต ปลูกกิ่งชำจะได้ผลเร็วกว่า ส้มหัวจุกเวลาที่ออกผลจะออกในคราวๆ ทีละมากๆ ต้องใช้ไม้ค้ำกิ่งไว้ไม่นั้น กิ่งจะหักได้ เพราะกิ่งรับน้ำหนักผลส้มไม่ไหว และลุงเจิมได้คำตอบอีกอย่างว่า หากปีไหนแล้งจะได้ผลมาก  แต่หากปีไหนฝนเยอะก็จะได้ผลน้อย ในฤดูแล้งน้ำไม่พอใช้จึงขุดบ่อลึกขนาด ๖ เมตร แต่ก็ยังไม่พอใช้ หากปลูกให้ได้ผลดีต้องปลูกช่วงเดือนมีนาคม   สวนส้มจุกของคุณตาปลูกอยู่หลังบ้าน ค่อนโทรมมากแล้วเหลือไม่กี่ต้น พยายามหาวิธีอยู่ว่าทำอย่างไรไม่ให้มันตาย จนพบว่าในการปลูกส้มหัวจุกรุ่นที่ ๔ มีส้มจีนอยู่ต้นหนึ่ง ผลเล็กสีส้มส่วนใหญ่เขานิยมนำไปไหว้พระจีน เดิมเขาบอกว่ามาจากเมืองจีน ปลูกไว้หลังบ้านพร้อมกับส้มหัวจุก  ปรากฎว่าส้มหัวจุกตายหมด เหลือเพียงแต่ส้มจีน จึงคิดนำส้มจีนไปทำต้นกล้า จึงสืบหาต้นส้มหัวจุกมาเสียบยอด ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ เกิดน้ำท่วม ได้ปลูกต้นส้มหัวจุกไว้โตถึงเอวแล้วน้ำท่วมยอดหมด แต่น้ำลดเร็ว ส้มหัวจุกจึงไม่ตาย ต่อมาสักประมาณ ๓ ปี มีคนต้องการเข้ามาซื้อมาก มีคนมาทำถามกับเกษตรอำเภอว่ามีส้มหัวจุกไหม  เกษตรอำเภอหาคุณตา ขณะนั้นลุงตอนกิ่งขายมีคนมาหาซื้อไปหมด ปัจจุบันมีการตอนกิ่งขายไปทั่วประเทศ          คุณตาเล่าให้น้องๆชาวค่ายฟังว่าปัจจุบันส้มจุกดั้งเดิมของจะนะมีน้อยลงมาก  มีส้มจุกจากที่ต่างๆแต่รับรองว่ารสชาติสู้ส้มจุกพันธุ์ดั้งเดิมของจะนะไม่ได้  หากใครเคยลิ้มลองรสชาติของส้มจุกจะนะจะรู้ว่ารสชาติแตกต่างกันอย่างไร  หลังจากนั้นคุณตาเจิม ผู้เอื้ออารีได้นำน้องๆชาวค่ายเข้าชมสวนส้มจุกและใจดีให้น้องๆได้ลองเก็บส้มจุกและลิ้มลองรสชาดสดๆของผลส้มจุกจากต้นเลยทีเดียว ทำเอาน้องๆแสนดีใจและมีความสุข สนุกสนานเป็นกันใหญ่ไม่เฉพาะน้องๆเท่านั้นที่สนุกผู้ปกครองที่อาสาเป็นพี่เลี้ยงก็พลอยตื่นตาตื่นใจไปด้วย และสดชื่นกับรสชาติที่ได้ลิ้มลอง     หลังจากที่น้องๆได้สำรวจตามรอยเรื่องราวประวัติศาสตร์เมืองจะนะแล้ว น้องได้กลับมาเติมพลังมื้อเที่ยงด้วยขนมจีนแกงเขียวหวานไก่ เหนาะ(กิน)กับผักสดๆที่ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชนแล้ว น้องๆได้สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากค่ายร่วมกัน ซึ่งส่วนใหญ่สนุกและได้ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์เมืองจะนะ อาจจะมีน้อยและตกหล่นไปมากเนื่องจากข้อจำกัดในการจดบันทึกเรื่องราวทางประวัติ จากการประสานผู้รู้ที่จะมาเล่าเรื่องราวของเมืองจะนะมีน้อยมาก หลายคนสะท้อนว่าการส่งทอดเรื่องราวของบ้านเรามีน้อยลงและขาดช่วง ที่สำคัญขาดการเห็นความสำคัญรากเหง้าประวัติศาสตร์  อีกทั้งระบบการศึกษาสอนให้เรียนรู้สังคม ประเทศชาติและโลกกว้าง ไมไม่ได้สอนให้นักเรียนนักศึกษาได้ศึกษาและสืบค้นเรื่องราวประวัติศาสตร์ของชุมชนตนเอง ทำให้ไม่เห็นรากเหง้าความเป็นมา  ทำให้ขาดความรัก ความผูกพันและภาคภูมิใจในชุมชน แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นจากประวัติสาสตร์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันคือการถูกรุกรานทางทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน อดีตตั้งแต่การส่วยดีบุก ส่วยไม้กระดาน แต่จากเรื่องราวในประวัติศาสตร์ส่วนหนึ่งทำให้เห็นอุปนิสัยด้านหนึ่ง คือการต่อสู้รบกับหัวเมืองมลายู ขัดขืนต่อการเอารัดเอาเปรียบที่ไม่ยุติธรรม นับถึงยุคสมัยในปัจจุบันที่คนจะนะยังต้องพิทักษ์ปกป้องตนเองจากการรุกรานของทุนที่เข้ามายึดครอง กอบโกยทรัพยากรของชุมชนและประเทศชาติ บทเรียนจากยุคดีบุกที่ร่ำรวย  ส้มจุกที่รุ่งเรือง  ถึงยุคทองของก๊าซธรรมชาติเป็นเรื่องราวที่น่าสะพรึงกลัวของ"คนจะนะ"
นาลกะ
วรรณกรรมเยาวชนส่วนใหญ่ มักมุ่งเน้นให้เยาวชนขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเล่าเรียน เรียนให้จบชั้นสูง ๆ เพื่อที่จะได้มีอาชีพการงานที่ดีในอนาคต หรืออดทนกัดฟันสู้ต่อความยากลำบาก ต่อความด้อยโอกาสกระทั่งเอาชนะได้ในที่สุด กล่าวอีกแบบก็คืออดทนทำดีเข้าไว้เพื่อตัวเองนั่นแหละที่จะได้ดี หรือถ้าไม่เป็นไปตามลักษณะข้างต้น วรรณกรรมเยาวชนที่เขียน ๆ กันก็มักจะเน้นการใช้จินตนาการจนหลุดลอยจากโลกแห่งความเป็นจริง กลายเป็นวรรณกรรมเยาวชนเชิงแฟนตาซีที่อะไร ๆ ก็ดูสวยงามไปหมด เหมือนเป็นการพาเยาวชนคนอ่านหลบหนีไปจากโลกจริงสู่โลกจินตนาการของภาษา แต่วรรณกรรมเรื่อง “กะลาสีเรือผู้กล้าหาญ” ประพันธ์โดย “จังว่าง” ฝีมือการแปลของ “เหมยและพลับพลึง” และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ “เม็ดทราย” นั้นมีจุดมุ่งหมายต่างออกไปอย่างสำคัญ
suchana
  ค่ายโหมเรารักษ์จะนะ : ตอนที่ ๑ ตามรอยประวัติศาสตร์เมืองจะนะ               ช่วงเดือนตุลาคมเป็นช่วงที่โรงเรียนต่างๆปิดภาคการเรียนการสอน  เด็กๆหลายคนมีกิจกรรมต่างๆมากมายระหว่างปิดภาคเรียน  แต่มีผู้ปกครองกลุ่มหนึ่งได้นั่งพุดคุยจนนำไปสู่การจัดกิจกรรมค่ายเยาวชนในช่วงเวลาแบบนี้ให้กับลูกหลานและเด็กๆในชุมชนค่ายโหมเรารักษ์จะนะจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๕-๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๑  ณ บ่อโชนรีสอร์ท  อำเภอจะนะ  จังหวัดสงขลา  โดยมีน้องๆเยาวชนจากหลากหลายพื้นที่จากอำเภอจะนะ  จังหวัดสงขลาร่วมสี่สิบชีวิตมาเข้าค่ายร่วมกันเพื่อเรียนรู้เรื่องทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน และเรียนรู้เรื่องราวและตามรอยประวัติศาสตร์เมืองจะนะ  ซึ่งเป็นค่ายเป็นค่ายที่มีความหลากหลายสูงมากเพราะมีน้องเล็กๆตั้งแต่น้องป.๒ถึงพี่เรียนระดับปริญญาตรี  และมีผู้ปกครองอาสาสมัครเข้ามาเป็นพี่เลี้ยงค่ายและร่วมคิด ร่วมกำหนดกระบวนการจัดค่ายเอง โดยได้รับความร่วมมือจากศูนย์พลเมืองเด็กสงขลาในการให้คำปรึกษานายกิตติภพ  สุทธิสว่าง ผู้ประสานเครือข่ายผลกระทบนโยบายสาธารณะ ในโครงการดับบ้านดับเมืองเรียนรู้อยู่ดีที่ปากใต้ เล่าว่าสืบเนื่องจากการศูนย์การเรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชน ตำบลบ้านนา ได้จัดและสร้างกระบวนการเรียนรู้ศิลปะสร้างสุขให้กับเยาวชนในชุมชนทุกวันอาทิตย์  และได้มีการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อวิถีชีวิตชุมชน ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา  โดยทำการฝากเงินและพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันระหว่างสมาชิกในทุกวันเสาร์แรกของเดือน จากการแลกเปลี่ยนของสมาชิกทำให้เห็นว่าสภาพชุมชนและสังคมในปัจจุบันเป็นลักษณะต่างคนต่างอยู่ ขาดการพึ่งพาอาศัยและดูแลซึ่งกันและกันเหมือนเช่นชุมชนในอดีต  และเยาวชนในชุมชนหันเหไปพึ่งพิงเทคโนโลยีสมัยใหม่มากขึ้นเรื่อยๆได้แก่ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ดังนั้นจึงมีความเห็นว่าทางศูนย์น่าจะมีการจัดกิจกรรมให้กับเยาวชนในชุมชน  ในช่วงระหว่างที่โรงเรียนปิดภาคเรียน เพื่อสร้างกิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ทางเลือกให้กับเยาวชน  และน่าสร้างกิจกรรมให้เยาวชนได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น ได้เรียนรู้การพึ่งตนเองและการพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนมากกว่าการพึ่งพา ที่สำคัญควรจัดกระบวนการเรียนรู้ความเป็นมาประวัติศาสตร์ของเมืองจะนะ ซึ่งเป็นท้องถิ่นที่อยู่อาศัย เพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้รากฐานของชุมชนและสร้างความภาคภูมิใจในชุมชนท้องถิ่นช่วงเช้าวันที่ ๒๕ หลังจากที่แนะนำตัวและทำความรู้จักกันของชาวค่ายแล้วน้องๆเยาวชนได้เรียนรู้ถึงวิถีชีวิตของชาวประมงพื้นบ้านตำบลสะกอม มี "บังหมาน" นายดลรอหมาน โต๊ะกาวี ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๗ บ้านบ่อโชนผู้ใหญ่ใจดีมาเล่าเรื่องราวความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรในท้องทะเลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันให้น้องๆได้ฟัง  หลังจากนั้นมีการแบ่งกลุ่มน้องๆออกเป็น ๔กลุ่มเพื่อลงพื้นที่ศึกษาวิถีประมงพื้นบ้าน ได้แก่กลุ่มเรียนรู้การหาหอยเสียบและการกัดเซาะชาดหาด  กลุ่มศึกษาแพปลา  เพื่อเรียนรู้ตั้งแต่ขั้นตอนการหาปลาและนำปลาขึ้นฝั่งปลดปลาจากอวน  กลุ่มศึกษาการหากินริมชาดหาด ซึ่งกลุ่มนี้ค่อนข้างตื่นเต้นกันมากเพราะเดินไปพบการตกเบ็ดได้ปลากระเบน ขนาดเกือบ ๕กิโล  กลุ่มการทำกะปิบ้านปากบาง  หลังจากนั้นช่วงบ่ายเด็กๆได้ประมวลสิ่งที่ได้เรียนรู้โดยการสื่องานผ่านงานศิลปะช่วงแดดร่มลมตกน้องๆได้ล้อมวงฟังเรื่องเล่าเมืองจะนะโดยคุณตาใจดี ครูวิสุทธิ์  สุทธิสว่าง อายุ 74 ปี ผู้ก่อตั้งโรงเรียนสุทธิ์รักษ์  และ อาจารย์จรูญ  หยูทอง  จากสถาบันทักษิณคดีศึกษา  มหาวิทยาลัยทักษิณ   เป็นช่วงเวลาที่น้องๆนั่งฟังอย่างตั้งอกตั้งใจเริ่มแรกอาจารย์จรูญ บอกน้องๆชาวค่ายว่ารู้สึกหนักใจมากเมื่อต้องมาพูดเรื่องประวัติในค่ายนี้เนื่องจากความหลายหลายของชาวค่ายที่ร่วมฟังที่อายุหลากหลาย และเรื่องประวัติศาสตร์เป็นเรื่องที่เล่าได้ยาก  อาจารย์จรูญเล่าว่าจากการสืบค้นประวัติศาสตร์เมืองจะนะ เป็นประวัติศาสตร์ของการต่อสู้กับอำนาจรัฐจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาคหรือท้องถิ่นที่สืบทอด-สัมปทานอำนาจมากจากส่วนกลางโดยตลอด  ตั้งแต่ยุคไพร่ส่วยดีบุก สมัยรัตนโกสินตอนต้นจนถึงมาในยุคคัดค้านโครงการท่อส่งก๊าซและโรงแยกก๊าซธรรมชาติไทย-มาลเซียและโรงไฟฟ้าจะนะ    เมืองจะนะต้องส่งส่วยดีบุกให้กับเมืองหลวงและมีการจัดตั้งนายหมวด นายกองเข้าคุมไพร่ส่วยทำดีบุกมากถึง ๙ หมวด นอกจากนั้นจะนะยังมีท้องที่ที่ราบลุ่มใช้เพาะปลูกและมีลำคลอง ๒ สาย คือ คลองสะกอมและคลองนาทับ ชาวไทยมุสลิมทางเมืองมลายูจึงอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานทำประมงและเพาะปลูกตั้งแต่ปลาสมัยอยุธยาจนกระทั่งปีพ.ศ.๒๔๓๙ จะนะมีฐานะเป็นเมืองขนาดเล็กขึ้นกับเมืองพัทลุงในระยะแรกและเมืองสงขลา  เมืองจะนะต้องส่งส่วยดีบุก   ส่วยกระดาน  และเสื่ออาสนะกันแซงเตยให้เมืองหลวง จากการศึกษาประวัติศาสตร์จะนะทำให้เห็นว่าประวัติศาสตร์ของเมืองจะนะและชาวเมืองมีความสัมพันธ์กับกระบวนการต่อสู้เพื่อปกป้องตนเองมาโดยตลอด ทั้งในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ หรือยุค "ยุคกินเมือง"และยุคทุนนิยม-เสรีนิยมหรือ "ยุคเหมาเมือง" และล้วนเป็นการต่อสู้ที่เกี่ยวเนื่องกับผลประโยชน์เรื่องทรัพยากรธรรมชาติที่รัฐสร้างความไม่ชอบธรรมให้กับประชาชนคุณตาวิสุทธิ์  ของเด็กๆเล่าว่าความรุ่งเรืองของเมืองจะนะในอดีตแบ่งได้ ๕ ยุค ได้แก่ ยุคดีบุก  ยุคไก่ปิ้ง   ยุคส้มจุก  ยุคนกเขา และยุคอุตสาหกรรม"จะนะก่อนนี้มีดีหลายอย่าง                      เขาช่วยสร้างให้เจริญเพลินเห็นจะนะดีบุกไม่ลำเค็ญ                               ช่วยให้เป็นเมืองดังที่ตั้งใจเหมืองลิวงส่งให้พาไปขาย                        สร้างรายได้ให้ประเทศวิเศษใหญ่คนงานเหมืองดีบุกก็ดีใจ                          ต่างก็มีเงินใช้สบายตัวยุคต่อมาไก่ปิ้งเมืองจะนะขึ้นชื่อมากโดยเฉพาะบริเวณสถานีรถไฟจะนะมีการขายกันอย่างคึกคัก จนต้องมีการให้สินบนคนขับรถไฟเพื่อให้รถไฟออกจากสถานีช้าลง พอรถไฟออกจะเห็นฝูงกาฝูงใหญ่บินตามเพื่อกินเศษกระดูกไก่ที่คนบนรถไฟทิ้งลงข้างทาง  แต่ไก่ปิ้งจะนะหมดความนิยมเมื่อพ่อค้าแม่ค้าหัวใสใช้เนื้อไก่น้อยเอาแป้งทอดหลอกทำให้หนาเพื่อให้ได้กำไรมากขึ้นหลังจากนั้นไก่ย่างจึงหมดความนิยมลงยุครุ่งเรืองอีกยุคหนึ่งคือยุคส้มจุก  "ส้มจุกจะนะ"เป็นที่เลื่องลือเรื่องรสชาติ เป็นที่นิยมมีปลูกกันมากในอดีต เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวมีการขนใส่รถไฟเป็นโบกี้เพื่อไปขายยังเมืองกรุง  บริเวณสถานีจะคึกคักมากเต็มไปด้วยส้มจุกใส่กระชอมเตรียมขนขึ้นรถไฟ ดังที่คุณตาวิสุทธิ์ได้สื่อสารผ่านกลอนว่า "ส้มจุกจะนะนี้หนามาดัง              ทุกคนหวังได้กินไม่ทนไหวรสชาติช่างหอมหวานซ่านหัวใจ     ส้มเมืองใดไม่เหมือนเฉือนที่นี่น้ำขาวคูแคแน่เต็มที่                    ส้มจุกนี้ปลูกมากท่านว่าศรีต่างส่งมาขายหน้าสถานี              ตลาดนี้รวมส่งต่อก.ท.ม.สองตู้รถไฟไปก.ท.ม                     ทุกวันรอส่งไปไม่ต้องขอกิ่งตอนก็ขายดีมีคนรอ                  ขายไม่พอต้องจองหายข้องใจ"จากการที่ส้มจุกจะนะได้รับความนิยมมากและมีชื่อเสียงล่ำลือ ทุกภาคต้องการผลผลิตไปขายทางเกษตรอำเภอจึงเข้ามาส่งเสริมและแนะนำการใช้ปุ๋ยเคมี ซึ่งนั่นคือสาเหตุความล่มสลายของส้มจุกเมืองจะนะ  เพราะหลังจากนั้นเกิดโรคระบาดส้มจุกล้มตายลงจำนวนมาก หัวใจสำคัญของส้มจุกในอดีตคือการใช้ปุ๋ยคอก มูลสัตว์ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนเท่านั้น            ยุคนกเขาชวา เป็นยุคที่นกเขามีชื่อเสียงและสร้างรายได้มากมายให้กับอำเภอจะนะและมาถึงยุคปัจจุบันคือยุคอุตสาหกรรมจะนะเป็นเมืองเล็กๆแต่มีอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เช่นโรงแยกก๊าซและโรงไฟฟ้าจะนะ  นกเขากำลังจะมีปัญหาอาจล่มสลายของนกเขาของดีเมืองจะนะอีกครั้งหนึ่งหากเกิดมลพิษที่กระทบต่อนกเขา  สิ่งที่คุณตาวิสุทธิ์กังวลต่ออนาคตลูกหลานที่สุดคือกลัวว่าเมืองจะนะจะเป็นดังมาบตาพุด              จากประวัติศาสตร์ของเมืองจะนะจะเห็นว่าอดีตเมืองจะนะมีความอุดมสมบูรณ์ด้านทรัพยากรมากมาย  แต่ต้องหมดไปเนื่องจากส่วนกลางมาเอาทรัพยากรจากชุมชนและการส่งเสริมที่ผิดที่ผิดทาง             หลังจากที่ฟังเรื่องเล่าเมืองจะนะ น้องๆได้ลงเล่นสัมผัสน้ำทะเลแล้วหัวค่ำน้องๆแต่ละกลุ่มได้วางแผนเตรียมตัวเป็นนักสำรวจรุ่นจิ๋วที่จะไปตามรอยประวัติศาสตร์เมืองจากจะนะจากคำบอกเล่าในช่วงเย็นเรื่องราวจะเป็นอย่างไร ลุ้นระทึกเพียงไรค่อยอ่านกันในตอนที่ ๒ดีกว่านะจ๊ะ   หมายเหตุคำว่า "โหมเรา"   เป็นภาษาถิ่นใต้หมายถึง    พวกเราคำว่า "บัง"          ใช้เรียกผู้ชายที่นับถือศาสนาอิสลาม มีศักดิ์เป็นพี่ 
กิตติพันธ์ กันจินะ
  มาริยา มหาประลัย1เมื่อเดือนก่อน คุณพี่เอก บก. (อันย่อมาจากบรรณาธิการ ไม่ใช่บ้ากาม) นิตยสารผู้ชายฉบับหนึ่งที่ฉันเคยอาศัยเงินเดือนเขายาไส้ แถมยังเป็นเจ้านายที่น่ารักที่สุดตั้งแต่ฉันเคยร่วมงานด้วย โทรศัพท์ตรงดิ่งวิ่งปรี่มาหาฉัน บอกว่ามีงานเขียนให้ฉันทำ คุณพี่เอกยังหยอดคำหวานปานพระเอกลิเก(ย์)อ้อนแม่ยกอีกว่า พอได้รับโจทย์ปุ๊บ หน้าฉันก็โผล่พรวดเด้งดึ๋งขึ้นมาปั๊บ เห็นทีจะเป็นลิขิตจากนรก เอ้ย! สวรรค์ชั้นเจ็ดที่ส่งให้ฉันมาเขียนเรื่องนี้ อู้ย! อยากรู้จริงเชียวว่าเรื่องอะไรหนอ..."คุณพี่อยากให้คุณน้องเขียนเรื่อง Safe Sex ของเกย์ให้เกย์อ่าน"อ๊ายส์! อ๊ายยยส์!!อ๊ายยยยยยส์!!!ฉันร้องลั่นราวดิว่าแผดเสียงแปดหลอดพลางเอากีบตีนก่ายหน้าผาก คุณพี่เอกหนอ...เห็นฉันเป็นคนลามกเข้าหน่อย เลยหมายมั่นฟันธงว่า ฉันมีวรยุทธ์แก่กล้า สามารถถ่ายทอดกระบวนท่าลีลาหงส์ร่อนมังกรรำ ขนาดเขียนหนังสือ How to สอนคนมีเซ็กส์ได้เชียวหรือนี่ ไม่อยากจะบอกให้อายตัวเอง ข้าพเจ้านี่หนอก็มีความรู้ด้านนี้น้อยนิด เปรียบไปก็เหมือนสอบตกชั้นอนุบาน (แปลว่าบานเล็กๆ) ด้วยซ้ำ มิอาจหาญจะไปสอนใครได้หรอก เผลอๆ คนอ่านจะสมเพชด้วยซ้ำว่า "เขียนได้แค่นี้เองเหรอยะ"ยิ่งถ้าหนังสือออกมาแล้วโดนโจมตี ฉันไม่ต้องไปขึ้นเขียงเป็นจำเลยสังคมกลางรายการอีตาสรยุทธ์เหรอเนี่ย ไม่ได้กลัวพิธีกรหรอก แต่บรรดาข้อความที่ส่งจากทางบ้านนี่สิคิดแล้วเซ็งเป็ด... "ต๊าย! หน้าแบบนี้เคยมีอะไรกับเขาด้วยเหรอยะ", "หน้าเหมือนซูนิโอะ เห็นแล้วหมดอารมณ์เพศ","เขียนหนังสือแบบนี้ทำร้ายเยาวชน", "แว่นสวยนะเธอ หุหุ" ฯลฯ
นาลกะ
น่าดีใจที่สำนักพิมพ์ “นานมีบุ๊ค” พิมพ์วรรณกรรมเยาวชนออกมาอย่างต่อเนื่องโดยคัดกรองเอาจากการประกวดรางวัล “แว่นแก้ว” แม้ว่าวรรณกรรมที่ผ่านเข้ามาบางเรื่องอาจไม่อยู่ในระดับที่ดีนัก นอกจากจะเป็นการปลุกการอ่านและการเขียนวรรณกรรมเยาวชนให้กระเตื้องขึ้นบ้างแล้วยังถือเป็นการให้ความสำคัญกับเด็ก ๆ ที่น่ารักน่าชังในอีกโสดหนึ่งด้วย “กระเบนยักษ์คู่อาฆาต” ผลงานของ “เพชร บุตรทองพูน” เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผ่านคัดกรองจากรางวัลวรรณกรรมเยาวชนพระราชทาน “แว่นแก้ว” ซึ่งยืนยงและหนักแน่นในการสร้างสรรค์วรรณกรรมเยาวชนมานานหลายปีจนอาจจะเรียกได้ว่าเป็นรางวัล “แว่นแก้ว” เป็นสถาบันทางวรรณกรรม ต่างจากรางวัลวรรณกรรมเฉพาะกิจอื่น ๆ วรรณกรรมเยาวชนเรื่อง “กระเบนยักษ์คู่อาฆาต” นี้ได้รับรางวัลชมเชย ประจำปี 2545
นาลกะ
วรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทาน “แว่นแก้ว” เรื่อง “คำใส” นี้ได้รับรางวัลชนะเลิศประจำปี 2546 ประเภทนวนิยาย ส่งเข้าประกวดโดย “วีระศักดิ์ สุยะลา” นักเขียนหน้าใหม่จากจังหวัดอุบลราชธานี และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ “นานมีบุ๊ค” สำนักพิมพ์ที่เล็งเห็นความสำคัญของวรรณกรรมเยาวชน จุดเด่นของวรรณกรรมเรื่องนี้ คือ การฉายให้เห็นถึงความเป็นไปของชนบทภาคอีสานที่กำลังอยู่ในกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลง เป็นความเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์อย่างแยกไม่ออกกับโลกภายนอกหมู่บ้าน ดังนั้นเราจึงได้พบว่า เมื่อมีปัญหาทางการเงิน ตัวละครบางตัวจึงตัดใจทิ้งครอบครัวไว้เบื้องหลังเพื่อเข้ามาทำงานขับรถแท็กซี่ในกรุงเทพ ฯ หรือปัญหาเด็กติดเกมส์ที่แพร่ระบาดไปทั่วทุกระแหงแม้แต่ในชนบทที่ห่างไกล ทีวี ตู้เย็น ก็จำเป็นต้องใช้ แม้ว่าจะต้องซื้อด้วยเงินผ่อนดอกเบี้ยแพงก็ตาม
Hit & Run
 นายหอกหัก (จูเนียร์)     เห็นเด็กๆ สมัยนี้ออกมารณรงค์เรื่องการเมือง แล้วมันช่างน่าอิจฉาซะกระไร!เพราะมีสื่อทั้งผู้จัดการ ASTV เนชั่น TPBS และอื่นๆ อีกมากมายคอยประคบประหงมให้เขาเป็นดาราเพียงชั่วข้ามคืนไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเยาวชนขวาใหม่จัดคลั่งชาติคลั่งสถาบันอย่าง ยังแพด (Young pad) และอีกสารพัดของกลุ่มพลังนิสิต นักศึกษาชนชั้นกลาง ที่ละจากการโฉบเฉี่ยวสร้างความเท่ เก๋ไก๋ จากการฟังเพลงอินดี้ ดูหนังนอกกระแส แต่งตัวอย่างมีเทรนด์ มีสไตล์ มาช่วยกันขับเคลื่อนการเมืองใหม่ รัฐบาลประชาภิวัฒน์ ระบอบ 70: 30 ให้กับพวกพ้องพ่อแม่ญาติพี่น้องพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย แถมได้สิทธิพิเศษทุนการศึกษาติวฟรีออนไลน์อีกคนละสามพันบาท น่าอิจฉาน้องจริงๆวัยรุ่นนักกิจกรรมหลายคน ทำงานช่วยชาวนา ชาวเขา ช่วยแรงงาน มาเป็นสิบๆ ปี ไม่เคยออกทีวีสักครั้ง แต่น้องๆ เหล่านี้ช่างเป็นดาวรุ่งพุ่งแรงแซงทางโค้งมาเฉย... กลายเป็นคนดังชั่วข้ามคืน ช่วงนี้ใครด่ารัฐบาลก็ดังน่ะน้องเอ๊ย! เก่งมากที่จับกระแสสื่อชนชั้นกลางได้ตรงเผง!และนี่คือลู่ทางแห่งอนาคตสำหรับพวกน้อง เพราะมีที่ว่างสำหรับการเป็นดารานักร้อง, ปัญญาชนหน้าจอทีวี หรือเจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชนรอพวกเขาอยู่เบื้องหน้า เพราะการเป็นบุคคลสาธารณะแต่วัยเยาว์ มันได้ลดค่าเสียโอกาสต่างๆ นานาไปได้โขหากจะสร้างตัวเองให้เป็นผลิตภัณฑ์สินค้าดังในอุตสาหกรรมบันเทิงและอุตสาหกรรมเอ็นจีโอไทย ..แต่ปัญญาชนและอาจารย์นี่ อดีต สสร. เขาว่าไม่ใช่ธุรกิจนะขอบอก แต่เป็นบุคคลที่มาโปรดสัตว์ในสังคมนะ ถึงแม้จะไปสอนพิเศษรับเงินเป็นกระตั๊กก็ตาม ;-)พี่หอกฯ เห็นน้องๆ ออกมาก็รู้สึกกระชุ่มกระชวยคึกคัก เพราะเมื่อก่อนเด็กกิจกรรมส่วนใหญ่มักจะมีรูปร่างหน้าตาไม่พึงประสงค์ต่อกล้องของผู้สื่อข่าว แต่น้องๆ รุ่นใหม่ที่ออกมามีทั้งสวยหล่อขาวเนียนกันทั้งนั้นแต่กระนั้น พี่หอกฯ ก็รู้สึกตะขิดตะขวงใจว่า รูปลักษณ์หน้าตาผิวพรรณ ชาติกำเนิดของน้องๆ มันจะการันตีคุณภาพทางความคิดความอ่านของน้องๆ ได้ดีแค่ไหน ตรงนี้ต้องระวังที่สุดอย่าให้ใครเขาว่าได้ว่าเป็น "วัยใส ไร้สมอง"การออกมาขับเคลื่อนครั้งนี้ คีย์เวิร์ดที่อยากให้ไปศึกษาก็คงจะมีคำเดียวคือคำว่า "ประชาธิปไตย" น้องๆ จงตระหนักและหาหนังสือหนังหามานั่งลองอ่านเป็นจริงเป็นจัง มากกว่าไป Group Therapy กับพวก Yellow Turban หรือรับสะกดจิตหมู่ผ่าน ASTVแล้วลองนั่งนิ่งๆ สูดลมหายใจลึกๆ ใช้ปัญญานำทางให้เซลล์สมองมันคิดว่า ที่น้องออกมานั้นมันเพื่อสิ่งที่เรียกว่าประชาธิปไตย หรือเรียกร้องให้ถอยหลังประเทศไปสู่เผด็จการ 70: 30 หรือเคลื่อนไหวเพราะอยากเป็นคนดัง อยากเป็นฮีโร่กันแน่!? สุดท้ายนี้หอกฯ แปลงบทเพลงจากเพลง 'หนุ่มสาวเสรี' ของ สุจิตต์ วงษ์เทศ ซึ่งนำทำนองเพลงตับพระลอ (ตับลาวเจริญศรี) ที่เขียนเนื้อใหม่หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516เพื่อสดุดีการต่อสู้ของเยาวชน โดยเพลงหนุ่มสาวเสรี เป็นเพลงย่อยในชุดนี้จากทำนองเพลง ‘ลาวเฉียง'โดยหอกฯ ของใช้ชื่อเพลงว่า ‘เจ้าหนุ่มเจ้าสาวเอย เจ้าเคยเป็นฮีโร่มัยซินแล้วรึยัง' ซึ่งใช้ทำนองฮิปฮอบผสมหมอลำแบบร๊อคข้าวปุ้น โดยขอสดุดีกลุ่มหนุ่มสาวที่กำลังขับเคลื่อนทำลายประชาธิปไตยเพื่อสร้างสรรค์การเมืองใหม่ของอภิสิทธิ์ชน ดังนี้...ครานั้นนิสิตนักศึกษาบรรดานักเรียนทั้งเหนือทั้งใต้สามัคคีอภิสิทธิ์ชนทั่วไปลุกฮือขับไล่พรรคพลังประชาชนคึกคักหนักแน่นดังแผ่นผากลมเกลียวแกล้วกล้าสดใสศรีวิชัยรอฟาดจนบรรลัยพลใบกระท่อมเงื้อไม้รอตีเจ้าหนุ่มเจ้าสาวเอย เจ้าเคยเป็นฮีโร่มัยซินแล้วรึยังเจ้าหนุ่มเจ้าสาวเอย เจ้าเคยเป็นฮีโร่มัยซินแล้วรึยังดังเพื่อสร้าง เด้งเพื่อสร้าง 70: 30มือติดไอโฟน ตีนสวมคอนเวิร์สก้าวหน้ายอมให้ทำข่าวเพราะอยากเป็นดาราถือหลักศักดิ์สิทธิ์เหนือเสรี‘ประชาภิวัฒน์' ของดีเหนือ ‘ประชาธิปไตย'เจ้าหนุ่มเจ้าสาวเอย เจ้าเคยเป็นฮีโร่มัยซินแล้วรึยังเจ้าหนุ่มเจ้าสาวเอย เจ้าเคยเป็นฮีโร่มัยซินแล้วรึยัง ดังเพื่อสร้าง เด้งเพื่อสร้าง 70: 30ศักดินากดขี่ข่มเหงคะเนงร้ายโทษว่าทักษิณก้าวก่ายเสียทุกด้านโทษว่าชาวนากู้เงินล้านดักดานโทษว่าชาวบ้านเป็นทาสประชานิยมเจ้าหนุ่มเจ้าสาวเอย เจ้าเคยเป็นฮีโร่มัยซินแล้วรึยังเจ้าหนุ่มเจ้าสาวเอย เจ้าเคยเป็นฮีโร่มัยซินแล้วรึยังดังเพื่อสร้าง เด้งเพื่อสร้าง 70: 30มือติดแก้วเหล้าโซดาน้ำเปล่าห้าวหาญแกว่งกระป๊กคลุกคลานกลางอาร์ซีเอนี่คือพลังของกระฎุมพีชั้นกลางขวาใหม่ทุกคนสืบเลือดกบฏบวรเดชเอยเจ้าหนุ่มเจ้าสาวเอย เจ้าเคยเป็นฮีโร่มัยซินแล้วรึยังเจ้าหนุ่มเจ้าสาวเอย เจ้าเคยเป็นฮีโร่มัยซินแล้วรึยังดังเพื่อสร้าง ดังเพื่อสร้างการเมืองใหม่มาเถิดมาสร้างการเมืองใหม่สร้างเมืองไทยให้เป็นสวรรค์อภิสิทธิ์ชนคนจนอย่าคิดเผยอหน้าท้าทายกันเดี๋ยวชนชั้นกลางอย่างฉันรุมตื๊บเลยเจ้าหนุ่มเจ้าสาวเอย เจ้าเคยเป็นฮีโร่มัยซินแล้วรึยังเจ้าหนุ่มเจ้าสาวเอย เจ้าเคยเป็นฮีโร่มัยซินแล้วรึยังดังเพื่อสร้าง เด้งเพื่อสร้าง 70: 30    
กิตติพันธ์ กันจินะ
มาริยา มหาประลัย (หมายเหตุ – อะแฮ่ม! ขอออกตัวว่าฉันเป็นคนรู้เรื่องศาสนาเพียงน้อยนิด ข้อเขียนต่อไปนี้เป็นการตั้งข้อสังเกตตามภูมิความรู้ที่มี ไม่ได้มีเจตนาลบหลู่ เพียงอยากใช้พื้นที่ตรงนี้แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ใครจะกรุณาแลกเปลี่ยนทัศนะเพื่อช่วยให้แตกกิ่งก้านสาขาเซลส์สมองของฉัน ก็ขอกราบแทบแนบตักขอบพระคุณงามๆ มา ณ ที่นี้ด้วย...ชะเอิงเอย) วันที่ 9 เดือน 9 ปีนี้ ฉันและผองเพื่อนมีวาระแห่งชาติในการปฏิบัติภารกิจสำคัญอันยิ่งใหญ่ แต่จุดหมายปลายทางของเราไม่ได้อยู่ที่ทำเนียบรัฐบาลหรือสะพานมัฆวานฯ ใครจะกู้ชาติ กู้โลก หรือกู้เจ้าโลกก็ขอเว้นวรรคความใส่ใจสักวันเถอะ วันนี้พวกเราเหล่าปัญญาชนทั้งหลายจะรวมตัวกันไป แถ่นแถ้นนนน!!!...ดูดวงคร้าบ!!!
พันธกุมภา
พันธกุมภา ถึง มีนา ผมขอแสดงความดีกับพี่สาวของผมด้วยนะครับ ที่มีโอกาสได้พักผ่อน แม้ว่าหลายคนจะบอกว่าการที่เราตกงานนั้นเปรียบเสมือนการพายเรือในมหาสมุทรที่กว้างใหญ่เคว้งคว้างไม่รู้ว่าจะมีหนทางในงานใหม่อย่างไรได้อีก ผมทราบดีว่าพี่คงจะเหนื่อยจากการทำงานมิน้อยเลย และเชื่อว่าการได้รับมอบหมายงานเยอะคงไม่ใช่สาเหตุของการออกจากงานหรอกใช่ไหมครับ ผมรู้ว่าจดหมายหลายฉบับที่พี่ได้เขียนมาบอกเล่านั้นมันสะท้อนให้เห็นถึงการต่อสู้กับวิถีชีวิตความเป็นคนในเมืองหลวง และรวมถึงการต้องสัมพันธ์กับคนมากหน้าหลายตา ที่มีตัวตนแตกต่างกันไป การที่เราทำงานที่เรารัก ถือเป็นสิ่งที่ประเสริฐอย่างยิ่งกับวิถีชีวิตของเรา บางครั้งเมื่อถึงจุดๆ หนึ่ง เราก็อยากจะพัก เพราะอะไร? ผมไม่รู้ แต่เรื่องบางอย่างมันก็ไม่ต้องการเหตุผล หรืออารมณ์ เพราะมันเป็นความรู้สึกยางอย่างที่บอกไม่ได้ บอกไม่ถูก ถามว่าทำไมต้องออกจากงาน? หลายคนอาจอยากได้ยินคำตอบและเหตุผลมากมาย แต่เราก็บอกไม่ค่อยจะได้ว่าทำไม เพราะใจเราเองนั้นแหละที่เป็นคนบอก และมันก็พูดออกมาไม่ได้เหมือนกันว่าเพราะอะไร
กิตติพันธ์ กันจินะ
มาริยา มหาประลัย สาบานได้ว่า พิธีเปิดโอลิมปิกที่ปักกิ่งซึ่งเพิ่งผ่านพ้นไปสร้างความตะลึงพรึงเพริศ และสามารถตรึงขนทุกเส้นของฉันให้ลุกชันได้ยิ่งกว่าตอนนั่งดูกระโดดน้ำชายเสียอีก (เพราะกระโดดน้ำชายทำให้อย่างอื่นลุกและคันมากกว่า นั่นแน่! คิดอะไร! นั่งดูทีวีนานๆ ยุงมันกัดเลยต้องลุกขึ้นมาเกาเฟ้ย! อ๊ายส์!)  “แม่เจ้าโว้ย! อะไรมันจะ %$#@*&+ ขนาดนั้นฟะเนี่ย!!!” ฉันไม่รู้จะหาคำวิเศษณ์คำไหนมาบรรยายความวิเศษของภาพตรงหน้าได้ ตลอด 3 ชั่วโมงนั้นฉันเผลออ้าปากค้าง ทำตาโต ตบอกผางไปไม่รู้กี่ครั้ง และหลายครั้งเล่นเอาความตื้นตันมาชื้นอยู่ตรงขอบตาเชียวล่ะคุณ อะไรจะขนาดนั้น!
เปิดม่านลุ่มนำฝาง
เป็นแหล่งเรียนรู้ แหล่งนัดพบของเยาวชน และกลุ่มคนในชุมชนในการ