Skip to main content
home_jeen
    จำนวนประชากรของไทยมีประมาณ 66 ล้านคน ขณะที่หมายเลขโทรศัพท์มือถือมีจำนวนกว่า 85 ล้านเลขหมาย โดยร้อยละ 90 เป็นระบบเติมเงิน ไม่มีการจดทะเบียน ขณะที่เจ้าของเบอร์จดทะเบียนมีจำนวนไมน้อยที่ไม่เชื่อมั่นในความถูกต้องของบิลค่าโทรศัพท์ เจ้าของเบอร์เติมเงินก็เผชิญกับปัญหา “วันหมด-เงินไม่หมด” และผู้ใช้บริการทั้งหมดนี้ต้องรับมือกับโทรศัพท์เสนอขายของบริษัทประกันชีวิต สินค้า เอสเอ็มเอสดูดวง เอสเอ็มเอสข่าว โทรไม่ติด โทรหาเบอร์ฉุกเฉินไม่ได้เพราะไม่มีสัญญาณ   และขณะที่เบอร์โทรศัพท์มีมากกว่าจำนวนประชากร แต่ในหลายๆ พื้นที่แม้แต่ชานเมืองกรุงเทพฯ หรือใจกลางกรุงเทพฯ เอง ยังเข้าไม่ถึงโทรศัพท์พื้นฐาน ด้วยเหตุผล “อยู่นอกพื้นที่บริการ” หรือ “คู่สายเต็ม”   สิ่งเหล่านี้ เป็นเรื่องที่คุ้นชินได้ยินกันบ่อยๆ เป็นเรื่องใกล้ชิดกับทุกคนซึ่งต้องการเครื่องมือสื่อสาร แต่เมื่อพูดคำว่า "สิทธิผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม" อาจจะเป็นคำที่ยังไม่เป็นที่คุ้นเคยนักในสังคมไทย “คนที่เข้าใจเรื่องโทรคมนาคมก็ยังไม่เข้าใจเรื่องของสิทธิผู้บริโภค คนที่เข้าใจเรื่องสิทธิผู้บริโภคก็ยังไม่เข้าใจเรื่องกิจการโทรคมนาคม” นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสำนักคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม กล่าวถึงความขาดแคลนความเข้าใจในเรื่องนี้   และด้วยเหตุนี้เอง วันที่ 17-20 ก.ค. สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) ร่วมกับเว็บไซต์ประชาไท และสยามอินเทเลเจนท์ ยูนิต จัดการอบรมผู้สื่อข่าวพลเมืองในกิจการโทรคมนาคมให้กับผู้สื่อข่าวพลเมืองและผู้ประสานงานของสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมในพื้นที่ต่างจังหวัด โดยมีนักข่าวพลเมืองด้านกิจการโทรคมนาคมเข้าร่วมทั้งสิ้น 43 คน   คณารักษ์ เจริญศิริ เจ้าหน้าที่ฝ่ายรณรงค์สาธารณะ สบท. กล่าวว่า โครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการนักข่าวคุ้มครองสิทธิ เกิดจากการที่ สบท. ต้องการพัฒนาศักยภาพให้กับเครือข่ายในด้านการสื่อสารสาธารณะ โดยจะเน้นการติดอาวุธด้านการสื่อสารสาธารณะไม่้ว่าจะเป็นการเขียนข่าว ทำคลิปวิดีโอ หรือถ่ายภาพ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมนำไปใช้สื่อสาร หรือรณรงค์ให้ความรู้เรื่องสิทธิในพื้นที่ เพื่อนำไปสู่การคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมในแต่ละพื้นที่ต่อไป   การอบรมเปิดฉากด้วยการพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคาดหวังจากผู้เข้าร่วมการอบรมทั้งหมด โดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อย 4     ทองอยู่ พรมชมชา หรือ "พี่ทองอยู่" ผู้สื่อข่าวพลเมืองจากศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ผู้สื่อข่าวท้องถิ่นจาก จ.เพชรบูรณ์ บอกเล่าถึงประสบการณ์การทำข่าวกับ "สยามนิวส์" หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของจังหวัด ที่บางครั้ง พี่ทองอยู่ส่งการรายงานข่าวไปพร้อมภาพประกอบไปแล้ว แต่กองบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์อาจจะตัดสินใจไม่ตีพิมพ์เนื้อข่าว แต่ตีพิมพ์เฉพาะภาพข่าวที่ส่งเท่านั้น โดยไม่นำเนื้อข่าวที่เขาเขียนลงไปด้วย การเข้าอบรมครั้งนี้จึงหวังว่าจะสามารถเพิ่มพูนทักษะการเขียนข่าวได้ด้วย   ส่วน "จี๊ด" อภิญญา สอาดบุตร จากศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม จ.ประจวบคีรีขันธ์ บอกว่านอกจากการพัฒนาทักษะการรายงานข่าวแล้ว ยังคาดหวังว่าการเข้าร่วมอบรมครั้งนี้ จะเป็นการสร้างเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมในพื้นที่ต่างๆ ด้วย   จากนั้น เป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากต่างประเทศโดย อิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ blognone.com และ นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม โดยผู้ร่วมอบรมได้รับโจทย์ให้เขียนข่าวรายงานการเสวนาดังกล่าวเป็นแบบฝึกหัดแรก     อิสริยะกล่าวถึงกิจการโทรคมนาคมว่า นอกจากโทรศัพท์ โทรศัพท์มือถือ อินเทอร์เน็ต mobile broadband (3G) Gateway และเคเบิลทีวีแล้ว อาจร่วมไปถึงฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์บนโครงข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งในอนาคตการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เหล่านี้ จะเข้ามามีบทบาทในวงการเคเลคอมซึ่งจะช่วยขยายขอบเขตของการสื่อสารให้กว้างขวางขึ้น ทั้งนี้ ภาพรวมของปัญหาของเทคโนโลยีใหม่ๆ เกี่ยวกับเรื่องสิทธิผู้บริโภคในต่างประเทศ ประกอบด้วย 1.ความเป็นส่วนตัว (Privacy) ยกตัวอย่างปัญหาของเว็บที่ให้บริการในลักษณะ social network ที่ยากจะควบคุมความเป็นส่วนตัวของบุคคล เช่น รูปหลุดจาก My Space หรือในกรณีของ Google street view เทคโนโลยีใหม่ที่ทำให้มองเห็นภาพในมุมมองเหมือนอยู่บนถนนจริง แต่ภาพเหล่านั้นอาจมีภาพส่วนตัวของบุคคลที่ไม่เหมาะสมกับการเผยแพร่รวมอยู่ด้วย   2.ในเรื่องราคา (Pricing) เขายกกรณีของ sms ในอังกฤษที่มีราคาแพงมาก โดย ข้อมูล 1 เมกะไบต์ ราคา 374 ปอนด์ ขณะที่มีผู้ศึกษาข้อมูลเปรียบเทียบพบว่านาซ่าส่งข้อมูลขึ้นไปบนดาวเทียมใน อวกาศ 1 เมกะไบต์ราคาเพียง 8.5 ปอนด์ จึงมีหน่วยงานรัฐเข้ามาตรวจสอบ กระทั่งสหภาพยุโรปมีบทบาทมากำหนดราคาการส่ง sms ข้ามประเทศ และบริการอื่นๆ ให้ราคาถูกลงหลายเท่าตัว 3.กรณีการขายตรงผ่านโทรศัพท์ (Telemarketing) ซึ่งในต่างประเทศจะมีการตั้งศูนย์นำโทรศัพท์ไปลงทะเบียนเบอร์นี้ห้ามขายสินค้า “do not call registry” หากบริษัทใดโทรเข้าถือว่าผิดกฎหมาย ซึ่งประเทศไทยก็มีความพยายามทำเรื่องนี้อยู่   4.กรณีการผูกขาด (Monopoly) ยกตัวอย่างของบริษัท AT&T ในสหรัฐอเมริกา เป็นบริษัทรายใหญ่รายแรกที่ผูกขาดการให้บริการดทรศัพท์บ้าน และคิดค่าใช้จ่ายสูงมาก สุดท้ายศาลสหรัฐมีคำสั่งให้ AT&T แตกบริษัทย่อยเป็น 7 แห่งเพื่อให้เกิดการแข่งขันมากขึ้น หรือการผูกขาดของระบบปฎิบัติการ windows จากบริษัท Microsoft ซึ่งผู้ใช้คอมพิวเตอร์กว่า 95 เปอร์เซ็นต์ของโลกใช้ระบบนี้ทำให้เกิดผลกระทบในการแข่งขันทางการตลาด ทำให้ อเมริกา อียู และเกาหลี ห้ามมีการลงโปรแกรมบางตัวในคอมพิวพ์เตอร์ที่วางขายในประเทศนั้นๆ 5.การจำกัดการเข้าถึง (Censorship) ยกตัวอย่างกรณีศาลในบราซิลมีคำสั่งบล็อกเว็บ Youtube เนื่องจากมีการโพสต์คลิปวิดีโอที่แอบถ่ายนางแบบบราซิลคนหนึ่ง ทำให้คนทั่วไปเข้าไม่ถึงเว็บนี้ซึ่งมีเนื้อหาหลากหลายมากจึงเกิดการรณรงค์ คัดค้านการบล็อกเว็บจนกระทั่งศาลฎีกากลับคำตัดสินให้ยกเลิกการบล็อก ด้วยเหตุว่าถึงอย่างไรก็ไม่สามารถปิดกั้นทางอินเทอร์เน็ตได้เนื่องจากมีการ โพสต์คลิปในเว็บอื่นมากมาย   ด้าน นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กล่าวในเวทีเดียวกันว่า เรื่องสิทธิผู้บริโภคได้รับความสนใจหลังกระแสทุนนิยมเติบโต โดยในปี 2505 จอห์น เอฟ. เคนเนดี อดีตประธานาธิบดีของอเมริกาในขณะนั้นได้ประกาศหลักสิทธิผู้บริโภค 4 ข้อ ประกอบด้วย ปลอดภัย รับข้อมูล เลือก และแสดงความคิดเห็น ต่อมาองค์กรที่เกี่ยวข้องเริ่มเห็นความสนใจ มีการพูดคุยในระดับนานาชาติเรื่องของ “สิทธิผู้บริโภคสากล” โดยเน้นระบบตลาด ในเรื่องความมีจริยธรรมและการมีเงื่อนไขของระบบตลาด ที่จะทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกและสามารถเข้าถึงได้ ซึ่งองค์การสหประชาชาติได้จัดทำออกมาในรูปเล่ม   จากนั้นองค์กรผู้บริโภคสากลได้พัฒนาขึ้น และมีการพูดคุยและรับรองเรื่อง “สิทธิผู้บริโภคสากล” เพิ่มขึ้นเป็น 8 ข้อ ประกอบด้วย 1.สิทธิที่จะเข้าถึงสินค้าและบริการที่จำเป็นขั้นพื้นฐาน เช่น การเข้าถึงยา อาหาร 2.สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าและบริการ 3.สิทธิที่จะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนที่จำเป็นเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ 4.สิทธิที่จะเลือกซื้อสินค้าและบริการได้อย่างอิสระ 5.สิทธิที่จะร้องเรียนเพื่อความเป็นธรรม 6.สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและค่าชดเชยความเสียหาย 7.สิทธิที่จะได้รับความรู้เกี่ยวกับการบริโภค 8.สิทธิที่จะดำรงชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีและปลอดภัย   ส่วนประสบการณ์ต่างประเทศ นพ.ประวิทย์ ยกตัวอย่างกรณีการพิทักษ์สิทธิผู้บริโภคในประเทศออสเตรเลียว่า มีการบริการอย่างทั่วถึง ซึ่งในเรื่องนี้ประเทศไทยยังขาดเพราะบางพื้นที่ไม่มีบริการโทรศัพท์สาธารณะ นั่นแสดงให้เห็นว่าประชาชนไม่สามารถเข้าถึงบริการโทรคมนาคนได้ทุกคน นอกจากนี้ยังมีการให้บริการกับคนบางกลุ่มเป็นกรณีเฉพาะ เช่น คนหูหนวก การโทรศัพท์จะใช้การสื่อสารผ่านตัวกลางที่จะถ่ายทอดข้อความจากตัวอักษรของคนหูหนวกออกไปเป็นข้อความเสียงแก่ผู้รับปลายทาง อีกทั้งขณะนี้มีเทคโนโลยีอย่าง Webcam ที่ช่วยในการสื่อสารได้   บริการโทรคมนาคมของออสเตรเลียมีบริการทดแทนกรณีที่อุปกรณ์หลักไม่สามารถใช้งานได้เป็นเวลานาน ยกตัวอย่างโทรศัพท์บ้านเสียจะมีบริการทดแทน มีการกำหนดให้การตลาดและการโฆษณาต้องไม่ทำให้เกิดการเข้าใจผิด มีการป้องกันข้อความอิเล็กทรอนิคที่ไม่ต้องการ เช่น SMS รบกวนจากบริษัทขายสินค้า ซึ่งในส่วนประเทศไทยผลสำรวจจากเอแบคโพล เมื่อกลางปี 51 ระบุว่าคนไทยกว่า 79 เปอร์เซ็นต์ถูก SMS รบกวน โดยที่มากที่สุดคือ SMS โหลดริงค์โทน/เพลงรอสาย ดูดวง และเล่นเกมชิงโชค   มีการป้องกันการขายสินค้าและบริการทางโทรศัพท์ ซึ่งในส่วนนี้เกี่ยวของกับข้อมูลส่วนบุคคล เนื่องจากผู้โทรมาขายสินค้าจะทราบข้อมูลส่วนตัว เช่น เบอร์โทร ชื่อ นามสกุล ชื่อเล่น ฯลฯ ของคนที่เป็นเป้าหมาย และนอกจากเรื่องข้อมูลส่วนบุคคลยังคำนึงถึงเรื่องความเป็นส่วนตัว ในส่วนโทรศัพท์พื้นฐานโทรทางใกล้คิดราคาต่อครั้ง มีการกำหนดให้โทรศัพท์ต้องโทรเข้าหมายเลขฉุกเฉินได้ โดยเฉพาะในกรณีของคนป่วยที่ต้องการการรักษาอย่างเฉียบพลันหากโทรศัพท์ชำรุดจะได้รับการพิจารณาแก้ไขให้ก่อน นอกจากนี้ยังมีเรื่องสิทธิในเรื่องการคงเลขหมายคือการเปลี่ยนระบบใหม่แต่สามารถใช้เบอร์เดิมได้ มีการกำหนดให้แจ้งข้อมูลบริการที่มีอัตราสูง ดูแลที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม มีมาตรฐานการบริการ และมีจรรยาบรรณผู้ประกอบการ   สำหรับประเทศไทยใช้ระบบเติมเงิน ไม่มีการจดทะเบียน อาจเป็นเพราะสามารถเติมเงินทีละนิดได้ และคนหนึ่งใช้หลายเลขหมาย ซึ่งกลายเป็นปัญหาเรื่องการตรวจสอบตัวตน โดยเฉพาะผู้ใช้โทรศัพท์ไปในทางมิชอบ สำหรับในส่วนที่จดทะเบียนปัญหาที่เจอคือ การไม่เชื่อข้อมูลจากใบเรียกเก็บเงิน เนื่องจากมาตรฐานของไทยไม่มีระบบตรวจสอบการรายงานข้อมูลความผิดพลาดของการบริการที่รายงานโดยผู้ประกอบการ อาจทำให้เกิดการรายงานข้อมูลเท็จได้ ซึ่งในส่วนนี้ต้องมีการผลักดันให้มีระบบตรวจสอบที่สร้างความน่าเชื่อถือให้มากขึ้น   การอบรมวันที่ 2 เริ่มด้วยการเสวนา “สื่อหลักVS สื่อทางเลือก” โดย แสงจันทร์ สีดำ จาก ASTV ผู้จัดการ สฤณี อาชวานันทกุล บรรณาธิการ www.onopen.com อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล จาก Open Dream และอรพิณ ยิ่งยงพัฒนา จากเว็บไซต์ www.ilaw.or.th     สฤณีกล่าวว่าสื่อทางเลือกหรือนักข่าวพลเมืองก็ต้องมีจรรยาบรรณ คือความถูกต้องแม่นยำ ครบถ้วน และความเป็นอิสระ  “เราอาจจะเลือกข้างก็ได้แต่ก็พยายามดูที่ประเด็นเป็นหลัก และที่มาที่ไป และข้อเท็จจริง แยกแยะว่าอะไรที่เป็นข้อเท็จจริง อะไรคือความเห็น” และนักข่าวพลเมืองต้องเปิดรับความคิดเห็นเพื่อเรียนรู้จากคนอ่านซึ่งสามารถสะท้อนความคิดเห็นต่อผู้เขียนได้เหมือนกัน ซึ่งเป็นลักษระเด่นของสือทางเลือก หรือสื่อใหม่   “โครงสร้างของนิวมีเดีย ไม่ได้ผูกขาด หรือปิดกั้นความคิดเห็น นักข่าวพลเมืองเป็นคนธรรมดา และมีเสรีภาพกว่านักข่าวกระแสหลัก เช่นเราคิดว่ามันแย่ เราก็พูดได้ ไม่เหมือนนักข่าวกระแสหลัก แต่เราต้องอธิบายให้ได้ว่าทำไมมันถึงแย่ และประเด็นสำคัญของสื่อพลเมืองก็คือการเปิดโอกาสให้คนแสดงความเห็น ให้คนเข้ามาถกเถียงกับเรา หรือชี้ให้เราเห็นว่าข้อมูลเราผิด เราก็สามารถเปิดกว้างได้” สฤณีกล่าว   อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุลกล่าวว่า งานข่าวแบบดั้งเดิมเป็นการเน้นผลลัพธ์สุดท้าย เป็นผลิตภัณฑ์ แต่งานข่าวแบบใหม่เป็นข่าวที่เน้นตัวกระบวนการ เช่นการเขียนบล็อกก็มีการสะท้อนกลับ “อาจจะมีคนบอกว่าบนอินเทอร์เน็ตมีแต่ข่าวลือ และสิ่งที่บล็อกเกอร์เขียนไม่น่าเชื่อถือ ซึ่งการพูดแบบนี้ แสดงทัศนคติที่ไม่ยอมรับการทำงานของสื่อใหม่ บล็อกเกอร์มีข้อมูลไม่ครบถ้วน หรือน่าจะเป็นข่าวลือ แต่จุดเด่นคือสามารถเติมเต็มข้อมูลได้”   อาทิตย์ระบุว่า สื่อกระแสหลักอาจะถูกมองว่าเป็นพื้นที่สาธารณะ แต่ด้วยวิธีการทำข่าวแบบเดิมที่ไม่สามารถนำเสนอทุกประเด็น มีการตรวจตราความเรียบร้อย แต่ขณะเดียวกันการทำงานของกอง บ.ก. ก็เป็นการเลือกว่าจะเสนอประเด็นอะไรและไม่เสนอประเด็นอะไร ดังนั้นแม้สื่อจะเป็นพื้นที่สาธารณะจริงแต่มันก็ถูกกำหนดโดยกอง บ.ก. ในการกำหนดวาระ แต่ว่านักข่าวพลเมืองไม่มีข้อจำกัดในเรื่องความเป็นเจ้าของหรือธุรกิจมันสามรรถกำหนดวาระของเราเองได้   “เราในฐานะพลเมือง เป็นคนในพื้นที่ เป็นคนที่เดือดร้อนในประเด็นนั้นๆ เราอยู่กับปัญหา เราเป็นคนที่เดือดร้อนกับมัน แล้วเราก็พูด นี่ก็เป็นอีกเรื่องที่ผมคิดว่า เป็นแง่มุมของพลเมืองในนักข่าวพลเมือง”   อาทิตย์กล่าวต่อไปด้วยว่า สิ่งที่ใหม่ในนิวมีเดีย ไม่ใช่แค่เทคโนโลยี แต่คือความเป็นพลเมือง “เทคโนโลยีมันทำให้เราพูดได้ดังขึ้น นักข่าวพลเมืองจะพูดอาจจะไม่ต่างกับที่เราจะพูดกับญาติพี่น้องเรา แต่อาจจะต้องระวังเพราะว่าคนที่เราจะพูดด้วยไม่ได้ใกล้ชิดหรือรู้จักกับเรา ก็อาจจะต้องปูพื้นหน่อยว่ามันเป็นมาอย่างไร และอาจจะนำเสนอในลักษณะสื่อผสมได้เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นภาพ การ์ตูน หรืออะไรอื่นๆ”   อรพิณ กล่าวว่าสื่อพลเมืองไม่ได้เป็นเรื่องที่จะมาแทนที่สื่อกระแสหลัก แต่จริงๆ เป็นเรื่องอุดรูรั่วซึ่งกันละกัน เพราะพลังของสื่อหลักก็มีคือเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มาก รวดเร็ว ทันเวลา แต่ถ้าเป็นสื่อพลเมือง ข้อดีคือสามารถสืบค้นข้อมูลได้ง่าย และสิ่งที่สื่อใหม่สร้างวัฒนธรรมการสื่อสารก็คือการตรวจสอบถ่วงดุลข้อมูลระหว่างผู้อ่านและผู้เขียน นอกจากเป็นฝ่ายส่งข้อมูลแล้วก็เป็นฝ่ายรับข้อมูลด้วย เช่น ทวิตเตอร์ แต่ข้อควรระวังคือต้องไม่ทำตัวเป็นสแปม คืออย่ามองคนอื่นเป็นผู้รับสารแต่ฝ่ายเดียว   ภายหลังการเสวนา ผู้เข้าร่วมอบรมแยกย้ายกับฝึกหัดเขียนข่าวอีกครั้ง   การอบรมที่ดำเนินมาถึงวันสองนี้ จะดำเนินต่อเนื่องไปอีก 2 วันซึ่งจะเสริมทักษะด้านเทคนิคให้กับผู้สื่อข่าวพลเมือง รวมถึงทำความรู้จักกับพื้นที่สื่อใหม่ในโลกไซเบอร์ เช่น ทวิตเตอร์ และบล็อก           การอบรมยังเป็นเพียงจุดเริ่มต้นการทำงานของนักข่าวพลเมืองคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม หลายๆ ประเด็นอาจจะยังเป็นเรื่องใหม่ และเต็มไปด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ อีกมากมาย ที่ไม่ใช่เพียงแค่การใช้โทรศัพท์มือถือโทรเข้า-ออก หรือเปิดอินเตอร์เน็ตเพื่ออ่านข่าวหรือเช็คอีเมล์ แต่สิ่งเหล่านี้สามารถกลายมาเป็นพื้นที่ใหม่ๆ ในการสื่อสารของนักข่าวพลเมือง ที่ยังต้องเดินทางต่ออีกไกล   "นอกจากเครือข่ายจะได้อาวุธในการสื่อสารสาธารณะแล้ว ก็คาดหวังให้เขาไปดำเนินการจริง อาทิ สื่อข่าว หรือสื่อสารสาธารณะในพื้นที่จริง ในอนาคตก็อยากจะสร้างเครือข่ายนักข่าวคุ้มครองสิทธิให้เข้มแข็ง เพื่อให้การคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมมีประสิทธิภาพมากขึ้น" คณารักษ์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายรณรงค์สาธารณะกล่าวย้ำจุดมุ่งหมายของการอบรมอีกครั้ง   ขณะที่ "มะห์" หรือ โสวิภา อินทรสุข นักข่าวพลเมืองจากศูนย์คุ้มครองสิทธิเพื่อผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม กลไกภาคตะวันออก/กลาง จาก จ.ระยอง กล่าวว่า ที่ผ่านมามีความพร้อมในการทำสื่อส่วนหนึ่ง คือ ถนัดการพูดเพื่อสื่อสาร แต่ยังเขียน ยังเรียบเรียงไม่คล่อง    มะห์กล่าวถึงความคาดหวังของเธอจากการร่วมอบรมครั้งนี้ซึ่งจะทำไปเผยถ่ายทอดต่อให้กับเพื่อนๆ ในเครือข่ายว่า "เมื่อเขาทำเป็น เขาจะทำเอง และเป็นตัวอย่างให้คนในพื้นที่อื่นๆ ได้”   ที่มาจากเว็บไซต์ประชาไท
ก๋วยเตี๋ยวปากหม้อ เป็นของขึ้นชื่อของบ้านฉันมาก อร่อยมาก ถ้าใครอยากรับประทานขอเชิญที่ ต.พนมสารคาม อ.พนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา (แปดริ้ว)
Hit & Run
ดูเหมือนว่ารัฐบาลอภิสิทธิ์เวชชาชีวะจะให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์-รณรงค์ทางอินเทอร์เน็ตเป็นพิเศษโดยที่ผ่านมามีการเปิดตัวเว็บไซต์หลายโครงการอาทิโครงการต้นกล้าอาชีพhttp://www.tonkla-archeep.com/ เว็บไซต์ช่วยชาติที่แสดงข้อมูลและความคืบหน้าของแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจของรััฐบาล http://www.chuaichart.com/ เว็บโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชนhttp://www.chumchon.go.th/ โครงการคิดอย่างยั่งยืนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของกอ.รมน. หรือ MOSO http://mosothai.com และล่าสุดhttp://ilovethailand.org เว็บที่ชวนคนมาแสดงความรักประเทศไทยผ่านบล็อกคลิปวิดีโอรูปถ่ายและข้อความสั้น
SenseMaker
ต่อเนื่องจากบทความที่แล้วในหัวข้อ ความเป็นส่วนตัวของคุณราคาเท่าไหร่ ข้าพเจ้าอยากชวนท่านผู้อ่านคิดต่อไปอีกนิดว่า ท่านจะรู้ได้อย่างไรว่า ข้อมูลส่วนตัวต่างๆ ที่ท่านเปิดเผยไว้บนพื้นที่ออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเครือข่ายสังคมออนไลน์ (social network sites) ต่างๆ เช่น Facebook และ MySpace จะไม่ทำให้ท่านสูญเสียอะไร หรือเสียใจในอนาคต
SenseMaker
จากบทความที่แล้วในหัวข้อ การจัดระเบียบโลกใหม่ การเมืองไทย และICT ข้าพเจ้าได้ชี้ให้เห็นว่า เพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ICT ในปัจจุบัน ทำให้ความสามารถของมนุษย์ ในการจัดการและจัดเก็บข้อมูล ซึ่งหากอาศัยเพียงประสาทสัมผัสของมนุษย์ จะไม่สามารถเข้าถึงและจัดการได้ และความด้วยความก้าวหน้านี้ ทำให้มนุษย์สามารถเห็นและรับรู้ ในข้อมูลที่เคยยากที่จะเห็นและรับรู้ อีกทั้งยังทำให้เข้าใจในสิ่งที่เคยยากต่อการวิเคราะห์
vhappy
วันหนึ่งม้าแก่นอนแผ่ชูคอ เด็กสิบรอขอขี่ทุกวัน บ้างว่าแก่ไปจะไม่ขี่มัน เก้าคนพากันอยู่บ้านพอใจ มีเด็กหนึ่งคนซนจะขี่ม้า เอาไม้ตีขาให้พาวิ่งไป ม้าล้มเด็กแย่ล้มแผ่ลงไป ม้าวิ่งไม่ได้ล้มทับเด็กซน
kung
สบท.เปิด4 ช่องทางรับเรื่องราวร้องทุกข์ สบท.เปิด 6 ช่องทางรับเรื่องร้องเรียน ผู้ใช้บริการโทรคมนาคม สุ่มเก็บข้อมูลปัญหาผู้ใช้บริการ ตั้งเวทีใหญ่ถกปัญหา            นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการ สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม(สบท.) กล่าวว่า ทางสบท. ได้ปรับปรุงช่องทางการร้องเรียนไว้ 4ประเภท 1.ผ่านเวบไซต์ www. 2.tci.or.thโทรศัพท์เคลื่อนที่เลขหมาย 087-333-8787 3.ตู้ปณ.272 สามเสนใน พญาไท กรุงเทพ10400 และ4. โทรสาร 02 2790151 สายด่วน กทช. 1200 (ฟรี) และ6. สายตรงรับเรื่องร้องเรียน สบท. (one stop service) ทั้งนี้ สบท.จะมีการเปิดตัวสถาบันฯอย่างเป็นทางการในวันที่ 27 เม.ย. 51 ซึ่งการเปิดตัวครั้งนี้ จะมีการเวทีสัมมนาให้ความรู้กับบุคคลและเครือข่ายสภาผู้บริโภคทั่วประเทศ รับทราบสิทธิของผู้บริโภคขั้นพื้นฐานจากการใช้บริการโทรคมนาคม ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ ,โทรศัพท์พื้นฐานและบริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งประชาชน ส่วนใหญ่ อาจจะยังไม่รู้ประเด็นปัญหาเรื่องไหนจะต้องได้รับการคุ้มครองสิทธิ อย่างไรก็ตาม สบท.เห็นว่าความสำคัญของกระบวนการมีส่วนร่วมภาคประชาชน ดังนั้นบทบาทของ สบท. จึงไม่ใช่องค์กรภาครัฐเพียงอย่างเดียว ภารกิจหลักที่สำคัญ สบท. ต้องเร่งขับเคลื่อนในปีนี้ ด้วยการสร้างภาคีเครือข่ายผู้บริโภคทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคอีก 13 จังหวัด รวมทั้งการพัฒนาระบบการรับเรื่องร้องเรียนแบบ One-stop service และพัฒนาฐานข้อมูลให้สำเร็จ ซึ่งผู้บริโภคสามารถเข้ามาร้องเรียนที่ สบท. ได้โดยตรงไม่ต้องผ่านหน่วยงานอื่นๆ สำหรับแนวทางการทำงานที่ผ่านมา สบท. ได้พัฒนาคู่มือสิทธิผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมเพื่อให้ผู้บริโภคมีความเข้าใจและสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ สำหรับปัญหาที่ผู้บริโภคร้องเรียนเข้ามาเกี่ยวกับกฎ ระเบียนหรือกฎหมายใดที่เป็นอุปสรรค ทาง สบท. ยินดีรับฟัง และจะนำไปปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาต่อไป เม.ย.มี18 เรื่องที่ร้องเข้ามา นพ.ประวิทย์ กล่าวว่า ปัญหาจากการใช้บริการที่ผ่านมาในเดือนเม.ย.51 พบว่ามีเรื่องที่ร้องเข้ามายังสบท.ประมาณ 18 เรื่อง แบ่งออกเป็น 1.ปัญหาคุณภาพสัญญาณ 2.ค่าบริการ 3. บริการหลังการขาย 4.โปรโมชั่น 5.sms 6...7.เนื้อหา 8. PRIVATE NUMBER และ9. อื่นๆ โดยเจ้าหน้าที่สบท.ได้มีการแก้ไขปัญหาให้ผู้ใช้บริการแล้วประมาณ 16.67% ส่วนที่เหลือบางรายมีการรเอกสารเพิ่มเติม ขณะเดียวกันผู้ร้องเรียนบางคนไม่ยอมติดต่อเข้ามาอีกทำให้ไม่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง  
SenseMaker
ความก้าวหน้าทาง ICT ในปัจจุบัน ช่วยให้เราๆท่านๆ สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ซึ่งยากที่จะเข้าถึงในอดีต ได้ง่ายขึ้น เช่น ข้อมูลของบุคคลหรือข้อมูลขององค์กรที่เราสนใจ ข้อมูลทางเศรษฐกิจและสังคม ของประเทศใดประเทศหนึ่ง รวมถึงองค์ความรู้ในด้านต่างๆ เป็นต้น
SenseMaker
หลังจากบทความที่เรียกได้ว่า บทบรรณาธิการแรก ได้ชี้แจงเป้าหมายการดำรงอยู่ ของพื้นที่ทางความคิดแห่งนี้ บัดนี้เวลาล่วงเลยมาครึ่งปี โอกาสแห่งการพูดคุย กับท่านผู้อ่านอีกครั้ง ก็มาถึงทุกๆ12 บทความ ที่ได้ทำหน้าที่ของมันผ่านพ้นไป ถือเป็นช่วงเวลาที่ดี ที่ผู้เขียนกับผู้อ่านจะได้แลกเปลี่ยนความคิดกัน เพื่อทำให้พื้นที่แห่งนี้ เป็นประโยชน์กับทุกๆคน อย่างแท้จริงในทัศนะของข้าพเจ้าแล้ว ICT เข้ามามีบทบาท ต่อชีวิตของเราทุกคน ในทุกวันนี้มากขึ้นทุกที แต่ละคนได้รับประโยชน์ ผลกระทบ และผลลัพธ์ ที่แตกต่างกันไป จากการเปลี่ยนแปลงรอบตัว ซึ่งมี ICT เป็นปัจจัยต้นเหตุ
SenseMaker
Peer Review อาจไม่ใช่คำในภาษาอังกฤษ ที่คนส่วนใหญ่ในสังคมคุ้นเคย แต่เป็นคำคุ้นเคยเป็นอย่างดีในสังคมนักวิชาการ อาจารย์ หรือ นักวิจัย เนื่องจากสังคมดังกล่าว มีวัฒนธรรมและกิจกรรมหลัก ในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ด้วยการต่อยอดองค์ความรู้ที่มีอยู่เดิม ผ่านการพัฒนาผลงานวิจัยใหม่ ซึ่งการยอมรับจากสมาชิกในสังคมเดียวกัน มีความสำคัญกับผลงานวิจัยแต่ละชิ้นมาก เนื่องจากไม่ว่าผลงานดังกล่าว จะมีคุณภาพในสายตาผู้พัฒนาเพียงใด แต่หากไม่ได้รับการตอบรับจากสมาชิกในสังคม ผลงานนั้นก็ถือได้ว่า ไม่ได้สร้างคุณค่าให้กับสังคมมากนัก
SenseMaker
ในอดีต การเกิดขึ้นของสังคม มักจะถูกจำกัดด้วยเส้นขอบเขตของเวลาและสถานที่ การเป็นส่วนหนึ่งในสังคม เกิดจากการมีส่วนร่วมอยู่ในเวลาและสถานที่เดียวกัน เช่น การอยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน การไปโรงเรียนหรือสถานศึกษาเดียวกัน การทำงานในบริษัทหรือสถานที่ทำงานเดียวกัน หรือ การอยู่ในกลุ่มทำกิจกรรมเดียวกัน เป็นต้นแต่ด้วยความก้าวหน้าของ ICT และการขยายตัวของอินเตอร์เนต ทำให้ในปัจจุบัน การมีและเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ของเราแต่ละคน ไม่ถูกจำกัดโดยสองข้อจำกัดข้างต้น อีกต่อไป และทำให้ในปัจจุบันนั้น เราแต่ละคน มีและเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ที่ถูกสร้างขึ้นบนอินเตอร์เนต เพิ่มมากขึ้นๆทุกที
SenseMaker
  หลังจากหลายบทความในคอลัมน์แห่งนี้ ข้าพเจ้าได้ใช้พูดถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ที่นับวันดูเหมือนว่า "เป็นการยากสำหรับประชาชน ที่จะทำความเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ เพื่อการดำรงชีวิตอย่างเท่าทัน" บทความวันนี้ จึงถูกเขียนขึ้นเพื่อแสดงทัศนะเกี่ยวกับกลไกทางสังคม ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน เพื่อทำหน้าที่คุ้มกันและช่วยเหลือประชาชน ซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบหรือถูกกระทำ จากความเปลี่ยนแปลงทางสังคมเหล่านี้ โดยไม่อาจป้องกันตนเองได้อย่างเท่าทัน หากขาดไปซึ่งกลไกทางสังคมที่จะขอกล่าวถึงในวันนี้เรามาเริ่มทบทวนกันก่อนว่าความเปลี่ยนแปลงทางสังคม ซึ่งถูกกล่าวถึงในคอลัมน์แห่งนี้ ซึ่งมีอยู่ด้วยกันในหลายเรื่อง มีอะไรบ้าง