Freedom

ประชาชน VS สื่อ

มีเพื่อนแนะนำให้อ่านบทความในบลอก BioLawCom.De เรื่องเกี่ยวกับสื่อและประชาชน คลิกไปอ่านแล้ว น่าสนใจดีค่ะ ขออนุญาตเก็บมาฝากทุกท่านนะคะ ยกมาเฉพาะหนังตัวอย่างพอเป็นน้ำจิ้ม อยากอ่านฉบับเต็มๆ แนะนำให้คลิกไปอ่านที่เว็บต้นทางเลยนะคะ

เคยมีคนกล่าวว่า "นอกเหนือจากอำนาจสามเสาในหลักการแบ่งแยกอำนาจ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ แล้ว สื่อ ยังเปรียบเสมือนอำนาจที่สี่ แห่งรัฐสมัยใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รัฐในยุคข้อมูลข่าวสาร"

...และด้วยพลังอำนาจ และความทรงประสิทธิภาพเช่นนี้นี่เอง ในด้านหนึ่ง สื่อจึงไม่ควรถูกใช้เป็นเครื่องมือ หรือตกอยู่ภายใต้ "อำนาจรัฐ" ทั้งปวง รวมทั้งของ "ผู้กุมอำนาจอื่น ๆ" ในรัฐ (เช่น ทุน, ความจงรักภักดี ฯลฯ) และถือเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องมี "กฎหมาย" คุ้มครองความเป็นอิสระ แต่ในอีกด้านหนึ่ง ก็ควรมีเครื่องมือในการ "ตรวจสอบ" บทบาท และการทำหน้าที่ของสื่อ

เชกูวารา พูดถึงสื่อพลเมืองไว้น่าสนใจด้วยค่ะ แต่ว่าการพูดถึงมิติสัมพันธ์ของเสรีภาพสื่อ vs เสรีประชาชน ก็น่าสนใจจนไม่ยกมาให้อ่านเป็นน้ำจิ้มไม่ได้

แต่เรื่องที่เขียนในบล็อกตอนนี้ เป็นเหตุผลในแง่  "เสรีภาพแห่งสื่อ" (Freedom of the Press) อันเป็นเรื่องที่ "สื่อหรือคนทำงานสื่อ สู้กับอำนาจรัฐ (รวมทั้งอำนาจอื่นใด)" ไม่ให้พวกเขาต้องทำงานด้วยเจตจำนงค์อันไม่เป็น "อิสระ" ตัวอย่างที่ชัดเจน ก็เช่น การต่อสู้ของไอทีวีในยุคจะถูกควบกลืนโดยรัฐ รวมทั้งการต่อสู้ของ "พนักงาน" ไอทีวีในยุคทุนทักษิณ เป็นต้น  สิ่งที่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างเหตุผลแรก กับเหตุผลหลัง ก็คือ เสรีภาพอย่างหลัง ซึ่งน่าจะเรียกเต็ม ๆ ได้ว่า "เสรีภาพในการ (จัดการ) สื่อสาร (สู่มวลชน)" นี้ ไม่ได้ถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ จะ หรือ ควรจะได้รับ "ความคุ้มครอง" โดยตัวมันเอง เสมอ  แต่ "ความคุ้มครอง" จะมาพร้อม ๆ กับ "การทำหน้าที่" เท่านั้น กล่าวให้ง่ายก็คือ "สิ่งที่กฎหมายประสงค์จะคุ้มครอง" ในกรณีนี้ไม่ใช่ "ตัวสื่อ หรือตัวคนทำสื่อ" แต่คือ "บทบาท และหน้าที่ของสื่อ"  ต่างหาก โดยมีเป้าหมายซ่อนอยู่เบื้องหลังอีกที ก็คือ เพื่อให้ „การรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน“ อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานมี „เสรีภาพ“ อย่างแท้จริง คือ ได้รับข้อมูลทุกแง่มุม  ไม่ถูกปิดบัง หรือกระทั่งถูกบิดเบือนไป เพราะความไม่อิสระของสื่อ หรือด้วยการใช้อำนาจในทางมิชอบโดยตัวสื่อเอง

ภายใต้แนวคิดเช่นนี้ จึงย่อมเป็นเรื่องเข้าใจได้นะครับ ว่าสื่อที่ไม่ทำหน้าที่แห่งสื่อที่แท้จริง หรือพูดให้ง่าย ก็คือ "สื่อที่ไม่มีจรรยาบรรณ" ย่อมมีโอกาส หรือควรต้องถูก "คนรับสื่อ" ตรวจสอบ เพื่อจำกัดความคุ้มครอง และลงโทษได้เช่นกัน โดยอาจอาศัยกฎหมาย หรือการเรียกร้องในเชิงสังคม เพราะสื่อแบบนั้นนั่นแหละ คือ ตัวการในการทำลาย "เสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร“ ของประชาชนเสียเอง ดังนั้น คำว่า "เสรีภาพแห่งสื่อ" หรือ "สื่อเสรี" ในที่นี้จึงเป็น "ภาพสองมิติ"  ที่นอกจาก "คุ้มครองเสรีภาพสื่อจากอำนาจรัฐ" (สื่อ VS. รัฐ) แล้ว ยังหมายถึง "คุ้มครองเสรีภาพผู้รับจากอำนาจสื่อ" (ประชาชน VS. สื่อ) ด้วย

อย่างไรก็ตาม นับเป็นเรื่องน่าเสียดายทีเดียวที่คำนี้ ที่ผ่านมาในบ้านเราถูกจำกัดให้แคบ และแสดงให้เห็นภาพมิติแรกเพียง "มิติเดียว"

อ่านเต็มๆแบบครบถ้วนกระบวนความคลิกที่นี่เลย

Freedom Art

ราวห้าโมงเย็น

จุดเทียนหรือเปล่าคับทั่น” ผมโทรหาเพื่อนคนหนึ่งอย่างกระวนกระวาย

จุดดิคับ เริ่มหกโมงฯ แล้วมาตอนนี้ทำไม” มันว่าเข้าให้นั่น


เป็นอันว่า คงต้องรออีกสักพัก กว่ากลุ่มของพวกเขาจะเดินทางมาถึง


ผมเริ่มเดินสำรวจรอบๆ บริเวณศูนย์ศิลปะวัฒนธรรมแห่งชาติแห่งแรกของเมืองไทย จริงๆ มันมีศูนย์ศิลปะอื่นๆ อยู่บ้างในต่างจังหวัดแต่มันคงดูไม่หรูหราใหญ่โตอลังการเท่าศูนย์นี้ ความใหญ่โตของมันทำให้ผมงกๆ เงิ่นๆ เดินเข้าไปในศูนย์เพื่อฆ่าเวลา


เจ้าหน้าที่เกร่เข้ามาหาพร้อมกับรอยยิ้ม

ให้เจ้าหน้าที่ผู้หญิงตรวจกระเป๋า นิดนึงนะครับ” เขาบอกกับผมอย่างสุภาพ ซิปกระเป๋ากล้องถูกเปิด พร้อมกับรอยยิ้มเล็กๆ ก่อนจะผายมือเป็นทำนองว่า ‘ผ่านได้ แต่ห้ามถ่ายรูปนะ’

อาลัยนักต่อสู้เพื่อสื่อเสรีและวิทยุชุมชนของอินโด : ซานอล ซูร์โยกูซูโม (zainal suryokusumo)

25 September, 2007 - 07:57 -- korkaew

หายไปหลายอาทิตย์เพราะอาการเจ็บไข้และติดพันภารกิจการงาน กลับมาไม่นาน ได้ทราบข่าวจากเพื่อนสื่อชาวอินโดนีเซียว่า ผู้อาวุโสนักต่อสู้เพื่อสื่อเสรีและวิทยุชุมชนคนสำคัญคนหนึ่งของอินโดนีเซีย เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ซึ่งผู้เขียนไม่อยากจะเชื่อว่าท่านจะไปเร็วด้วยโรคร้าย แม้ว่าอายุอานามของท่านจะ 70 กว่าๆ แล้ว แต่สมองของท่านเฉียบยังคมดีอยู่ ร่างกายแข็งแรง ปราดเปรียวเคลื่อนไหวคล่องตัวไม่เหมือนคนอายุ 70 ทั่วไป ทั้งยังท่วงท่าสง่างาม หลังไม่ค้อม เดินเหินคล่องแคล่ว สำคัญคือ ท่านลดอายุด้วยเสื้อผ้าที่สวมใส่ ขนาดวัยรุ่นยังอาย เพราะอินเทรนด์ ตลอดเวลา ผมและหนวดขาว ไม่ทำให้รู้สึกว่าท่านอายุเกิน 70 แล้ว เลย

 

korkaew_20070925_01.jpg

 

ซานอล ซูร์โยกูซูโม ท่านเป็นหนึ่งในสมาชิกอาวุโสของสมาคมผู้สื่อข่าวอินโดนีเซีย และเป็นที่ปรึกษาอีกหลายสมาคมหรือชมรมสื่อของอินโดนีเซีย ท่านเป็นคนพื้นเพดั้งเดิมจากเกาะมาดูลา ซึ่งเป็นเกาะที่แห้งแล้ง และขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติมากที่สุดของอินโดนีเซียและเป็นพื้นที่ติดอันดับยากจนของประเทศ ผู้คนจึงอพยพโยกย้ายถิ่นฐานมาตั้งบ้านเรือนในแถบพื้นที่อื่นๆ ของอินโดนีเซีย แต่ท่านต่างจากคนอื่น เพราะเป็นตระกูลที่มีฐานะในมาดูลา จึงได้รับการศึกษาอย่างดีในโรงเรียนของดัชต์ ในยุคอาณานิคม แต่ที่เหมือนคนอื่นทั่วไปคือ ท่านอพยพโยกย้ายถิ่นฐานมาอยู่จาการ์ตา และกลายเป็นบ้านถาวรของท่านและครอบครัว

ท่านเป็นนักคิด และนักเขียน สามารถเขียนได้ทุกช่วงเวลา ในยุคสมัยที่เทคโนโลยีก้าวล้ำ ท่านมีแลปท้อปคอมพิวเตอร์ติดตัวไปทุกหนทุกแห่ง ด้วยประสบการณ์ด้านสื่อและความเป็นนักสู้เพื่อเสรีภาพของสื่อ ทำให้บรรดาสื่อรุ่นน้อง รุ่นลูก รุ่นหลานมักเชิญท่านไปบรรยาย ไปเป็นที่ปรึกษา ไปช่วยเหลือ ไปเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับงานด้านสื่อ ทั่วอินโดนีเซีย หลังจากบรรยายและสนทนาปราศัยกับบรรดาสื่อรุ่นหลังแล้ว ช่วงกลางคืนท่านจะนั่งทำงานเขียนจนดึกดื่น งานเขียนของท่านไม่เพียงช่วยพัฒนาวงการสื่อเท่านั้น ยังเป็นการพัฒนาเชิงสังคมไปด้วย

หลังจากสิ้นยุคซูฮาร์โต ท่านเป็นคนหนึ่งที่ให้การสนับสนุนและพัฒนาด้านสื่อวิทยุของอินโดนีเซีย ซึ่งก่อนหน้านี้สื่อวิทยุถูกปิดล้อมด้วยอำนาจมืดของรัฐบาล ไม่มีเสรีภาพในการสื่อข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน เมื่อมาถึงยุคประชาธิปไตย ท่านจึงหันมาร่วมมือกับสื่อวิทยุรุ่นหลังพัฒนาสื่อวิทยุเชิงธุรกิจ นอกจากนี้ท่านยังให้การสนับสนุนและร่วมพัฒนาสื่อวิทยุชุมชร่วมกับชุมชนในจังหวัดต่างๆ ในทุกภาคของอินโดนีเซีย

เหตุผลในการเข้าไปพัฒนาสื่อวิทยุในเชิงธุรกิจ ท่านมองว่า การที่สื่อสามารถพึ่งตนเองได้ ธุรกิจของสื่อไปได้ด้วยดี ทำให้สื่อมีอำนาจทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้สื่อมีเสรีภาพทางด้านความคิดด้วย ทั้งนี้ต้องปราศจากการควบคุมของรัฐ ในแง่การต่อสู้กับอำนาจรัฐ ท่านได้ต่อสู้กับกฎหมายว่าด้วยสื่อวิทยุและโทรทัศน์ของอินโดนีเซีย ชื่อว่า the Broadcasting Act No. 32/2002 ในเรื่อง อายุในการครอบครองคลื่นความถี่ และกฎเกณฑ์ในการตัดสิทธิการครอบครองคลื่นความถี่ที่ยังให้อำนาจของหน่วยงานรัฐไว้มาก

ผู้เขียนมองว่า วัฒนธรรมการต่อสู้ด้านเสรีภาพของสื่ออินโดนีเซียมีความเข้มข้นสูง สังเกตว่าพวกเขาจะกลัวการถูกกำหนดจากอำนาจรัฐบาล อำนาจของทหาร (หรืออำนาจของสถาบันต่างๆ) อย่างมาก เพราะประวัติศาสตร์ที่พวกเขาเคยอยู่ภายใต้มันในช่วงเผด็จการนั้น มีแต่เรื่องเลวร้าย การถูกสั่งปิดสื่อ สั่งห้ามพูด ห้ามทำ เป็นเรื่องที่พวกเขาไม่อยากให้เกิดขึ้นอีกในยุคประชาธิปไตย เพราะฉะนั้น อะไรที่สามารถดึงองค์กรสื่อออกมาเป็นองค์กรอิสระ หรือเป็นองค์กรธุรกิจที่เข้มแข็งได้ โดยไม่มีอำนาจรัฐอยู่เหนือขึ้นไป พวกเขายอมทำทั้งนั้น ท่านจึงเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งสมาคมวิทยุเอกชนแห่งชาติ หรือ PRSSNI (Indonesian Private National Broadcasting Radio Association)

 

02.jpg
คนในวงการสื่อให้การเคารพอยู่เสมอ การบรรยาย หรือเป็นที่ปรึกษาของแวดวงสื่อจึงเป็นงานสำคัญอีกงานหนึ่ง

นอกจากนี้ ท่านสามารถรวมสื่อวิทยุเอกชนในจังหวัดชวาตะวันออกได้จำนวนมากถึง 140 สถานี ชื่อแปลเป็นไทยๆ ว่า สมาคมวิทยุเอกชน จังหวัดชวาตะวันออก ประกอบด้วย เมืองสุราบายา เมืองจอมบัง เมืองมารัง นับว่าเป็นสมาคมวิทยุเอกชนที่เข้มแข็งแห่งหนึ่ง ที่ไม่เพียงแต่สะสมกำไรเท่านั้น ทุกปีสมาชิกของสมาคมจะมาประชุมประจำปีเพื่อกำหนดนโยบายสาธารณะร่วมกัน จะต้องมีรายการเพื่อประโยชน์ต่อประชาชนกี่นาที มีรายการบันเทิงกี่นาที มีการโฆษณากี่นาที โดยไม่ต้องให้สาธารณะต่อว่าต่อขานก่อนแล้วจึงมาปรับเปลี่ยนแก้ไข นอกจากนี้แล้ว สมาชิกของสมาคมวิทยุเอกชน จังหวัดชวาตะวันออกยังต้องแบ่งบันผลกำไร 5% เข้าสู่สมาคม เพื่อนำเงินเหล่านั้นไปทำประโยชน์และพัฒนาสมาคม รวมไปถึงพัฒนาบุคลากรต่อไป กองทุนดังกล่าวประธานสมาคมไม่เปิดเผยตัวเลข แต่บอกกับผู้เขียนว่า ครั้งหนึ่ง พวกเขาเช่าเหมาลำเครื่องบินให้สมาชิกไปประชุมกับกลุ่มวิทยุโทรทัศน์ระดับกลุ่มประเทศเอเชียที่สิงคโปร์มาแล้ว และไม่ใช่ปีเดียว ทำเป็นประจำเกือบทุกปีหากมีการประชุมระดับนานาชาติเช่นนี้

03.jpg
ซานอลกับสมาชิกวิทยุชุมชนในหมู่บ้านแห่งหนึ่งของเมืองจอมบัง

อีกงานที่หนักหนาไม่แพ้กัน คือ งานด้านวิทยุชุมชน ท่านศึกษาจากประเทศต้นแบบหลายประเทศ เช่น ฟิลิปปินส์และประเทศที่แยกตัวออกจากประเทศรัสเซีย เพราะประเทศเหล่านั้นใช้สื่อ (ทางเลือก) เป็นเครื่องมือในการต่อสู้เพื่อประกาศอิสรภาพ ความจริงแล้ววิทยุชุมชนที่อินโดนีเซียเริ่มเติบโต โดยภาคประชาชนและเอ็นจีโอ ที่อินโดนีเซียมีกลุ่มสื่อทางเลือกประเภทต่างๆ รวมไปถึงวิทยุชุมชนที่เข้มแข็งมาก เพราะความกดดันหลายอย่าง ทำให้ภาคประชาชนของอินโดนีเซียเข้มแข็ง

ท่านเข้าไปเกี่ยวพันกับการทำงานเพื่อสื่อวิทยุชุมชนก็เนื่องจากประสบการณ์ความเป็นสื่อและเป็นหนึ่งในผู้ต่อสู้เพื่อเสรีภาพของสื่อ เป็นนักค้นคว้าหาความรู้ รู้จักเรียนรู้ประสบการณ์ของคนอื่นและนำมาปรับใช้ จึงได้รับความเชื่อใจจากชุมชน ในการเข้าไปเป็นที่ปรึกษา เพื่อกำหนดทิศทางและแนวทางการทำงานด้านสื่อชุมชนกับกลุ่มคนในชุมชน เมื่อสองปีที่แล้ว วิทยุชุมชนเกิดขึ้นทั่วประเทศอินโดนีเซีย ท่านจึงเดินสายประชุมร่วมกับสื่อวิทยุชุมชนโดยไม่เหน็ดเหนื่อย

แท้จริงแล้ว หลังสิ้นยุคซูฮาร์โต สื่อในอินโดนีเซียเติบโตอย่างรวดเร็ว และแบ่งเป็นหลายสาย หลากกลุ่มแนวคิด มีทั้งแบบทุนนิยมจ๋าอย่างกลุ่ม Java post group แบบแนวเสรี อย่าง kompas group แบบ tradition อย่าง waspada แบบท้องถิ่นนิยมอย่าง Kedaulatan Rakyat แบบไม่ขวาแต่ไม่เชิงซ้ายอย่าง Tempo group แบบแนวอิงศาสนาอิสลามเป็นหลักก็มีหลายกลุ่มซึ่งผู้เขียนจำไม่ได้แล้วว่าชื่ออะไรบ้าง แต่มีสื่ออิงศาสนาอยู่มากในอินโดนีเซีย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ความหลากกรุ๊ป หลายแนวทั้งหลายเหล่านี้ ต่างเปล่งเสียงเดียวกันว่า “ไม่เอารถถังและปืน” ไม่เด็ดขาดที่จะอยู่ภายใต้เผด็จการไม่ว่าจะเป็น เผด็จการทหารหรือเผด็จการในรูปแบบอื่นๆ (เช่น ทักษิโณมิก)

04.jpg
ป๊าซานอลผู้ชี้แนะแนวทางและเปิดหูเปิดตาเรื่องสื่ออินโดนีเซียให้แก่ผู้เขียน

ผู้เขียนเรียนรู้เรื่องสื่อของอินโดนีเซียได้ เพราะได้รับการช่วยเหลือจากท่าน ขอไว้อาลัยยิ่งต่อการจากไปของสื่อมวลชนที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของอินโดนีเซีย ผู้อาวุโสที่ใจดี ใจกว้าง ฉลาดลุ่มลึก อ่อนโยน และมีเมตตาต่อผู้เขียน ที่เป็นสื่อท้องถิ่นจากเมืองไทย ซึ่งท่านได้เปิดหูเปิดตากว้างแก่ผู้เขียนอย่างยิ่ง ขอไว้อาลัยอย่างสุดซึ้ง .....ในวันที่ท่านกลับไปสู่อ้อมอกของพระเจ้า

Subscribe to Freedom