iskra's picture

<p><span>&quot;<span>กลุ่มประกายไฟ</span>&quot;<span> เป็นกลุ่มกิจกรรมที่เกิดจากการรวมตัวกันของเยาวชนคนหนุ่มสาวที่สนใจศึกษาเรียนรู้และต้องการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาสังคมอย่างถึงราก พร้อมๆกันนั้นเราก็สนใจศึกษาเรียนรู้และทดลองใช้ทฤษฎีมาร์กซ์วิเคราะห์สังคม รวมทั้งทดลองเสนอทางออกของสังคมตามการวิเคราะห์นั้น<br /> <br /> </span></span><span>&quot;<span>กลุ่มประกายไฟ</span>&quot;<span> มุ่งหวังที่จะพัฒนาไปสู่การเป็นพรรคฝ่ายซ้ายแนวสังคมนิยมมาร์กซิสต์หรือร่วมกับกลุ่มองค์กรอื่นๆก่อตั้งพรรคฝ่ายซ้ายแนวสังคมนิยมเพื่อร่วมเปลี่ยนแปลงสังคม </span></span></p>

<p>โดยกลุ่มมีจุดยืนประกอบด้วย</p> <p>1. ผลักดันความเสมอภาคทางการเมืองและเศรษฐกิจ</p> <p>2. ยึดหลักสากลนิยม คัดค้านลัทธิชาตินิยม ต่อต้านการเหยียดเชื้อชาติและการกดขี่ทางเชื้อชาติ</p> <p>3. สนับสนุนการเคารพในความหลาหลายทางเพศและผลักดันการต่อสู้เพื่อความเสมอภาคทางเพศ ต่อต้านการกดขี่ทางเพศ ต่อต้านการเหยียดเพศ ต่อต้านการเหยียดคนรักเพศเดียวกัน&nbsp;</p> <p>4. ต่อต้านระบบทุนนิยมรวมทั้งระบบทุนนิยมโดยรัฐ (เช่นใน จีน เกาหลีเหนือ เวียดนาม ลาว คิวบา) และต่อต้านระบบชนชั้นทุกรูปแบบ</p> <p>5. สนับสนุนผลประโยชน์ของชนชั้นกรรมมาชีพและคนยากคนจน</p> <p>6. ต่อต้านระบบอาวุโส SOTUS สนับสนุนคนหนุ่มสาวให้พึ่งตนเอง นำตนเอง</p> <p>7. ต่อต้านการจัดการสิ่งแวดล้อมตามแนวทางของระบบทุนนิยมที่ทำลายสิ่งแวดล้อม</p> <p>8. สนับสนุนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ยกระดับคุณถาพชีวิตของมวลมนุษยชาติ</p> <p>9. ต่อต้านสงครามจักรวรรดินิยมและลัทธิจักรวรรดินิยมทั้งระดับโลกและระดับภูมิภาค</p> <p>10. ใช้หลักประชาธิปไตยรวมศูนย์ภายในองค์กร</p> <p>อ่านเพิ่มเติมได้ที่&nbsp;<a href="http://iskragroup.blogspot.com/">http://iskragroup.blogspot.com</a></p>

บล็อกของ iskra

คลิปงาน Marxism Festival @BKK (ตอนที่ 4) "วิวัฒนาการรัฐทุนนิยมไทย"

25 March, 2012 - 00:03 -- iskra

เสวนาหัวข้อ "วิวัฒนาการรัฐทุนนิยมไทย"
วิทยากร เวียงรัฐ เนติโพธิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
ณัฐพล ใจจริง. อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
เก่งกิจ กิติเรียงลาภ กลุ่มประกายไฟ
ดำเนินรายการโดย วีรนันท์ ฮวดศรี กลุ่มประกายไฟ

คลิปงาน Marxism Festival @BKK (ตอนที่ 3) New Social Media กับการเคลื่อนไหวทางเมืองไทย

8 March, 2012 - 23:37 -- iskra

เสวนาหัวข้อ “New Social Media กับการเคลื่อนไหวทางเมืองไทย” วิทยากร อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล กรรมการเครือข่ายพลเมืองเน็ต เทวฤทธิ์ มณีฉาย กลุ่มประกายไฟ ดำเนินรายการโดย ปาลิดา ประการะโพธิ์ กลุ่มประกายไฟ ( วันเสาร์ที่ 28 ม.ค.55)

  

คลิปงาน Marxism Festival @BKK (ตอนที่ 2) มาร์กซิสม์ 101 B ว่าด้วยประวัติการศึกษามาร์กซิสม์ในไทย โดย สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

27 February, 2012 - 16:57 -- iskra

มาร์กซิสม์ 101 B ว่าด้วย “การศึกษามาร์กซิสต์ในประเท

คลิปงาน Marxism Festival @BKK (ตอนที่ 1) มาร์กซิสม์ 101 A ว่าด้วยทฤษฎีมาร์กซิสม์ เบื้องต้น

24 February, 2012 - 20:38 -- iskra
วันเสาร์ที่ 28 ม.ค.55 มาร์กซิสม์ 101 A ว่าด้วยทฤษฎีมาร์กซิสม์ เบื้องต้น บรรยาย เพื่อให้ความรู้พื้นฐาน มาร์กซิสต์
 
วิทยากร พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดำเนินรายการ ณัชชา ตินตานนท์ กลุ่มประกายไฟ
 

บูลส์ เสียงสะท้อน สู่เสรีภาพ

12 May, 2009 - 23:58 -- iskra

 

บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำมิสซิสซิปปี ประเทศสหรัฐอเมริกา เสียงดนตรีแห่งทาสผิวดำได้ถือกำเนิดขึ้นในตอนปลายศตวรรษที่ 19 พร้อมๆกับสถานภาพของคนผิวดำซึ่งมีสถานะ เป็นเพียงเป้าหมายของการทำให้ผู้อื่นเป็นปัจเจกชน เนื่องจากการเป็นเสรีชนและเสรีภาพในอเมริกานั้นต้องเป็นปัจเจกชนที่มีทรัพย์สินส่วนตัวและต้องเป็นพลเมืองผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง  แต่ในความเป็นจริงทาสผิวดำเป็นเพียงทรัพย์สินของนายทาส เป็นเครื่องมือของการผลิต ซึ่งส่งผลให้นายทาสเป็นปัจเจกชน คนผิวดำ จึงไม่มีศักยภาพที่จะสร้างหรือทำให้เสรีภาพแบบอเมริกันเป็นคุณสมบัติของตนเอง แม้ว่าคนผิวดำจะมีส่วนร่วมในการปฏิวัติอเมริกา ด้วยการคาดหวังว่าตนจะได้เสรีภาพและหลุดจากการเป็นทาส แต่ก็ต้องสิ้นหวัง

                บทเพลงแห่งทาสหรือเพลงบูลส์สะท้อนความขมขื่นในสถานะภาพของคนผิวดำภายใต้สังคมอเมริกันผ่านเสียงร้องที่แหบกระด้างขึ้นจมูก แบบคนอมทุกข์ผสานกับท่วงทำนองที่มีลักษณะเศร้าสร้อย เนื่องจากเนื้อหาทั้งหมดจะสะท้อนอารมณ์หม่นหมอง ซึ่งเป็นความรู้สึกที่เรียกว่าบูลส์  "blue" หรือ" "The blue" ซึ่งก่อตัวขึ้นภายใต้วัฒนธรรมแอฟริกัน - อเมริกัน เกิดเป็นแอ่งอารยธรรม แอฟโฟ-อเมริกัน (Afro-American) ซึ่งเกิดจากประสบการณ์ของคนแอฟริกันในอเมริกาผสานกับภูมิปัญญาอเมริกันส่งผลให้วัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของเมริกาก่อรูปขึ้น ทั้งดนตรี ชีวิต ชุมชน ครอบครัว คติชนวิทยา ภาษา กีฬา รวมถึงขบวนการสิทธิพลเมือง ซึ่งคนผิวดำใช้ภูมิปัญญาทั้งหมดนี้ค้นหาความหมายของเสรีภาพ

                ในด้านของดนตรีนั้น คนผิวดำในอเมริกาในขณะนั้นยังไม่ได้รับการยอมรับ ดนตรีของคนผิวดำเปรียบเสมือนการลบหลู่ทางอารยธรรม เพราะดนตรีของคนผิวดำในอเมริกาถูกตีค่าว่าเต็มไปด้วยเสียงที่สกปรก ยุ่งเหยิงและไร้ระเบียบ ด้านเชื้อชาติชนชาติของคนผิวดำในขณะนั้นได้ถูกครอบงำด้วยองค์ความรู้ด้านสังคมวิทยาและมนุษย์วิทยาที่แพร่สะพัดในศตวรรษที่19 ว่าวิวัฒนาการของคนนิโกรยังอยู่ในขั้นต่ำ ไม่เจริญและไม่มีวัฒนธรรม เท่ากับคนตะวันตกเป็นข้ออ้างที่คนขาวไม่ต้องการสูญเสียทาสผิวดำซึ่งมีสถานะเป็นทรัพย์สินของคนผิวขาว แม้ต่อมาชาวแอฟริกันอเมริกาจะผ่านการต่อสู้ที่ยาวนาน ตั่งแต่ปี ค.ส.1861-1865 ในสงครามกลางเมือง และได้รับการเลิกทาสตามประกาศแก้ไขรัฐธรรมนูญ สหรัฐอเมริกาฉบับที่13 ในปี 1865 คนผิวดำยังต้องต่อสู้ให้หลุดพ้นจากลัทธิการเหยียดเชื้อชาติก่อตัวขึ้นหลังสงครามกลางเมือง

จึงเป็นเรื่องยากที่ดนตรีบูลส์จะได้รับการยอมรับในสังคมอเมริกา  แต่แล้วในปี 1920 -1950 เพลง  St.Louis blue ของ W.C Handy ได้มีผู้นำมาร้องและบรรเลงซึ่งได้รับความนิยมในวงกว้าง และในปี 1950 นี่เองที่คลื่นแห่งการต่อสู้ที่นำโดย มาร์ติน ลูเทอร์ คิงได้ขยายการต่อสู้เรียกร้องเสรีภาพเป็นวงกว้างมากขึ้นและประทุขึ้นในปี ค.ศ. 1960 โดยการนำของนักศึกษาผิวดำ มีการตั้งพรรค  "เสรีภาพเดี๋ยวนี้"  (Freedom  Now)

 

W.C Handy  "บิดาห่งบูลส์" เป็นที่รู้จักในสังคมอเมริกา โดยแฮนดี้และคณะยังได้แต่งเพลงที่มีเนื้อหาเหน็บแนมคนผิวขาว ชื่อเพลง "Mr. crump"

แปลคร่าวๆว่า                                       "คุณครัมพ์ม่าอณุญาติให้ใครทำเล่น

เราไม่เห็นสนว่าคุณครัมพ์จะอนุญาตอะไร

เราเล่นมันๆของเราอย่างนี้ใครจะทำไม

เชิญคุณครัมพ์ออกไปตามสบาย

                การวางขายงานเพลงของคนผิวดำนั้นมีอุปสรรคมาก เพราะ เจ้าของร้านค้าที่เป็นคนผิวขาวนั้นไม่อาจรับงานขายได้ แฮนดี้แจึงวางขายเองผลงานของเขามียอดขายที่ดีมาก ปรากฏว่า The Memphis ของเขา เป็นที่นิยมอย่างรวดเร็วแฮนดี้เองยังเคยถูกชาวผิวขาวโห่ไล่ลงจากเวทีเพียงเพราะเป็นคนผิวดำซึ่งไม่เกี่ยวกับรสนิยมทางดนตรีแต่อย่างใดเพราะเมื่อวงถัดไปขึ้นโชว์โดยเล่นเพลงพื้นเมืองของตนผิวดำแต่กลับได้รับเสียงปรบมือ

เพลงบูลส์ยังได้เป็นรากฐานของดนตรีแจ๊สในการสร้างท่วงทำนอนตามอารมณ์ของคนผิวดำ ส่วนในด้านของการจัดวลีท่วงทำนองของคนผิวดำให้เข้ากับระบบเสียงประสานของตะวันตกของแจ๊สอาศัยดนตรีแนว Ragtiam ซึ่งเป็นดนตรีของคนผิวดำในอเมริกาเช่นกัน โดยมีเพลง Treemonisha  ซึ่งได้รับรางวัลพูลิเซอร์ เนื้อหาของเพลงสะท้อนเรื่องราวของชาวผิวดำที่ไร้การศึกษาซึ่ง Treemonisha กลายเป็นสัญลักษณ์ ความเป็นไทของคนผิวดำอย่างแท้จริง ดั่งคำร้องท่อนหนึ่งว่า

"หุบปากเสียเจ้าพูดมากพอแล้ว

เจ้าหลอก Treemonisha ไม่ได้หรอก เธอเป็นคนหัวก้าวหน้า

เป็นคนเดียวที่ได้รับการศึกษาในหมู่พวกเรา

และในระแวกรอบๆแถวนี้พ้นจากคำสาปของความงมงาย

และพวกเจ้าจะต้องกลับเนื้อกลับตัวเสีย

เธอเป็นคนสอนให้ข้ารู้จักอ่านเขียน

เธอสอนให้ข้ารู้จักคิด

และข้าก็ขอบใจเธอยิ่งนัก

พวกเจ้าเลิกกระทำการโง่เขลาเสียเถิด

เปลี่ยนวิถีชีวิตและหาทางที่ดีกว่านี้เถิด

                เนื้อเพลงสะท้อนการต่อสู้ที่มีมายาวนานและเป็นแนวดนตรีหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อดนตรีแจ๊ส ซึ่งได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในยุโรป ในปัจจุบันมีนักดนตรีบูลส์ที่สำคัญเกิดขึ้นหลายคน เช่น Eric Clapton, B.B. KING และ Jimi Hendrix เป็นต้น

                ในเรื่องของดนตรีในปัจจุบันชาวผิวดำถือว่าได้รับการยอมรับอย่างสูง แต่ในสังคมวัฒนธรรมอเมริกาซึ่งก่อสร้างมาบนอุดมการณ์ ปฏิวัติประชาธิปไตยให้ความสำคัญแก่ปัจเจกชนโดยสมบูรณ์ เน้นการรักษาทรัพย์สินส่วนตัวมากกว่าให้ทุกคนเสมอภาค และสงครามกลางเมืองที่เกิดขึ้น กลับเป็นการปฏิวัติที่อาจดูเหมือนนำมาซึ่งความเสมอภาคของคนผิวดำแต่โดยแท้จริงแล้วกลับนำมาซึ่งการขยายตัวของระบบทุนนิยมที่ต้องการแรงงานเสรีมากกว่าระบบทาสซึ่งหลังสงครามกลางเมืองคนผิวดำยังคงต้องเผชิญกับลัทธิการเหยีดสีผิวในระยะต่อมา ในทางการเมืองคนผิวดำได้รับความเป็นไทแล้วแต่ในทางเศษฐกิจตราบใดที่ยังขาดเสรีภาพ แรงงานกรรมกร ยังต้องพาผู้อื่นทางเศรษฐกิจ นั้นคงยังไม่สามารถเข้ากันได้กับอุดมคติแบบอเมริกันตามคำ

                "ข้าพเจ้ามีความฝันว่าวันหนึ่งประเทศนี้จะบรรลุซึ่ง เป้าหมายที่แท้จริง"  ตามคำพูดที่ว่า

"เราเชื่อว่าสัจธรรมเหล่านี้เป็นความจริงในตัวเองคนทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกัน "

นี่เป็นตอนหนึ่งของสุนทรพจน์ของ มาร์ติน ลูเทอร์ คิงส์ "ในข้าพเจ้ามีความฝัน" และในสุนทรพจน์อันโด่งดังนี้ ดร. คิงส์ ได้พูดถึง ต้นกำเนิดของเพลงบูลส์ในบริเวณเนินเขามิสซิสซิปปี้ว่า

"ให้เสียงระฆังแห่งเสรีภาพจงกังวานจากทุกเนินเขาของบมิสซิสซิปปี้ และจากทุกหุบเขาให้เสรีภาพกังวาน"

ถ้าการก้าวเดินของบทเพลงบูลส์คือประวัติศาสตร์การต่อสู้ของคนผิวดำเพียงฉากแรก คนผิวดำยังคงต้องก้าวไปให้ถึงฉากสุดท้ายคือความเท่าเทียมที่แท้จริง

 

 

               

 

ได้เวลากลับไปอ่าน มาร์กซ์!!!

27 December, 2008 - 21:07 -- iskra

 

"แม้แต่นายทาสยังต้องหาเลี้ยงทาส แต่ในระบบทุนนิยม ลูกจ้างต้องเป็นผู้หาเลี้ยงนายจ้าง"

 

ทิพรดา ตากดำรงศ์กุล

ท่ามกลางข้อเสนอที่มากมาย ภายใต้ความขัดแย้งทางการเมือง ความล้มเหลวของระบบตัวแทน อำนาจนอกรัฐธรรมนูญ ความขัดแย้งวุ่นวายของการเมืองไทย เมื่อคิดถึงวิกฤติเศรษฐกิจที่คอยอยู่ข้างหน้าแล้ว ข้อเสนอเกี่ยวกับต้นตอปัญหา วิธีการแก้ ผุดออกมาเป็นดอกเห็ด เป็นเรื่องของประสบการณ์ของผู้ที่อ้างตนว่าเข้าใจในปัญหาอย่างลึกซึ้ง หรือนักวิชาการต่างๆที่พยายามอธิบายด้วยนามธรรมที่ไร้ความหมาย หรือะไรที่ดูซับซ้อน บทความชิ้นนี้จึงมุ่งชี้ชวนใหเห็นว่า สำหรับภาคประชาชนซึ่งต้องการสร้างเงื่อนการใช้ชีวิตที่ดีขึ้นแก่คนทั่วไป....ท่ามกลางความขัดแย้งที่ทางออกดูจะไม่ชัดเจน...คงถึงเวลาที่เราต้องกลับไปอ่านมาร์กซ์...ว่าอะไรคือสาระของการต่อสู้ทางชนชั้น เพื่อคนส่วนใหญ่ในสังคม

 

1. ชีวิตของกรรมาชีพ

การพัฒนาของระบบทุนนิยม ส่งผลให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีและเครื่องจักรมากมาย เครื่องจักรถูกพัฒนากว้างขวางออกไป แต่ทำไมกลับไม่ช่วยชีวิตคนงาน หรือการทำงานให้ดีขึ้นเลย แทนที่กรรมกรสมัยใหม่จะเพื่องฟูตามความก้าวหน้าของอุตสาหกรรม กรรมกรกลับมีชีวิตที่แย่ลง เขากลายเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องจักร  ดูแลเครื่องจักรเหมอนเป็นทาสเครื่องจักร ถึงแม้เครื่องจักร จะทำให้ผลิตสินค้าออกมาได้มากขึ้น แต่น่าแปลกที่รายได้ที่แท้จริงของกรรมกรกลับเท่าเดิมหรือต่ำลง (เมื่อเทียบกับอัตราเงินเฟ้อ) เช่นเดียวกับปัจจุบันแต่ละสถานประกอบการสามารถผลิตของได้มากมายมหาศาล แต่รายได้ของผู้ใช้แรงงานยังคงถูกตั้งเพื่อ การมีชีสวิตรอดวันต่อวันเท่านั้น  การเรียกร้องเพื่อสวัสดิการ ซึ่งสะท้อนชีวิตที่ควรจะเป็นยังคงมีอยู่ตลอดเวลา แต่ก็ได้รับการปฏิเสธเรื่อยมา ความเป็นอยู่ของแรงงานก็ยังคงต่ำอยู่ดี

2. การต่อสู้ทางชนชั้น

การต่อสู้ ขัดแย้งในสังคมมีได้หลากหลายแต่ที่ปรากฎเด่นชัด และทรงพลังคือความขัดแย้งระหว่างกรรมาชีพ กับชนชั้นนายทุน ในสังคมเราดูเหมือนว่า การจะเป็นนายทุนสามารถทำได้ง่ายดาย แต่ในทางปฏิบัติแล้ว การที่จะดำรงฐานะการเป็นนายทุนอยู่ได้ นับว่าน้อยมาก  และนายทุนก็มีแต่จะขยายฐานะตัวเอง คนรวยก็มีแนวดน้มที่จะรวยขึ้นเรื่อยๆไม่สิ้นสุด ชนชั้นอื่นๆที่เคยอมีอยู่ในสังคม เหล่าชนชั้นกลาง เจ้ากิจการรายย่อยต่างๆ ก็มีแนวดน้มจะล้มละลายและกลายเป็นผู้ใช้แรงงาน ในระบบนี้หาได้มีความมั่นคงถาวร ผู้ที่เคยมั่งคั่ง อาจกลับมายากจน ดังนั้นนายทุนจึงต้องแสวงหาความมั่งคั่งอย่างไม่มีสิ้นสุด เพื่อรับรองความมั่งคั่งของตน  ชนชั้นผู้ใช้แรงงานมีแต่จะขยายตัวมาขึ้น ชนชั้นนี้จึงน่าสนใจ มีบทบาทและพลังอย่างมาก ความขัดแย้งก็ยิ่งจะเพิ่มขึ้นยามเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ

 

3. ใครหาเลี้ยงใคร?

แม้แต่นายทาสยังต้องหาเลี้ยงทาส แต่ในระบบทุนนิยม ลูกจ้างต้องเป็นผู้หาเลี้ยงนายจ้าง นายทุนเมื่อประสบปัญหาเศรษฐกิจ  สิ่งที่ทำให้นายทุนอยู่รอดได้มิใช่ใครอื่นนั่นคือผู้ใช้แรงงาน หากขาดแรงงานนาทุนก็อยู่ไม่ได้ เพราะเงื่อนไขการดำรงอยู่ของและควบคุมอำนาจของชนชั้นนายทุน  คือการสร้างมูลค่าส่วนเกินและการสะสมทุน ซึ่งเกิดจากแรงงานรับจ้าง มูลค่าที่เกิดขึ้นมิได้เกิดขึ้นเพราะอย่างอื่นนอกจาก การใช้แรงงาน ของผู้ใช้แรงงานเท่านั้น

 

4. ต้องยกเลิกกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล

แท้จริงแล้วกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล  ไม่ใช่ความจริงสูงส่งแต่อย่างใดหากแต่เป็นข้ออ้างของ กลุ่มคนที่คิดจะกินแรง คนอื่น เพื่อเข้าไปแบ่งและยึดผลงานของผู้อื่นเท่านั้น นายทุนมักจะอ้างว่า หากยกเลิกระบบกรรมสิทธืส่วนบุคคล แรงจูงใจในการผลิตจะน้อยลง คนทั้งหลายจะเกียจคร้าน  ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น สังคมทุนนิยมคงล่มสลายไปนานแล้ว เพราะคนที่ทำงานจริงๆใช่ชนชั้นนายทุน คนที่ทำงานหนักที่สุดคือผู้ใช้แรงงาน แต่ได้ผลตอบแทนน้อยที่สุดในสังคม คนที่เกียจคร้านจริงๆ คงเป็นพวกนายทุนมากกว่า   คนที่ทำให้ระบบล่มและมีปัญหา  คือชนชั้นนายทุนเอง ไม่ใช่เพราะกรรมกรขี้เกียจ การแก้ไขคือการยกเลิกระบบกรรมสิทธิ์ และถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน วิธีนี้จะเป็นการแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจในระบบทุนนิยม ได้

ปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ทุกวันนี้หาใช่เรื่องเฉพาะ....ที่เกิดขึ้นเป็นกรณีไป การแย่งชิงอำนาจ วิกฤติเศรษฐกิจ การว่างงาน การปลดลูกจ้าง การโฆษณาชวนเชื่อต่างๆล้วนอยู่ในโครงสร้างของระบบที่เรียกว่าทุนนิยม

 

 

หมายเหตุ: บทวามชิ้นนี้ เป็นหนึ่งในบทความ "แถลงการณ์ พรรคคอมมิวนิสต์ กับสังคมปัจจุบัน" ของนักเรียน ชั้น11โรงเรียนเพลินพัฒนา ตรวจทาน แก้ไขโดย ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี สมาชิกกลุ่มประกายไฟ

 

การเมืองใหม่ต้องเลือกตั้งนายกฯ โดยตรง ระบบลูกขุน ลดงบประมาณทหาร และสร้างรัฐสวัสดิการ

29 September, 2008 - 17:12 -- iskra

แถลงการณ์

"การเมืองใหม่ต้องเลือกตั้งนายกฯ โดยตรง ระบบลูกขุน

ลดงบประมาณทหาร และสร้างรัฐสวัสดิการ"

  อนุสรณ์สถาน ญาติวีรชน 14 ตุลา

วันอาทิตย์ที่  28 กันยายน 2551

 

ด้วยสถานการณ์ทางการเมืองโดยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้เสนอ "การเมืองใหม่" โดยอ้างว่าเป็นผู้จุดประกายการปฏิรูปการเมืองผ่าทางตัน "การเมืองแบบเก่า" ที่เต็มไปด้วยนักการเมืองซื้อเสียง การคอร์รัปชั่น

กลุ่มพันธมิตรฯ ไม่มีความชอบธรรมที่จะเป็น "เจ้าภาพ" เพื่อการสร้างประชาธิปไตย เพราะการเคลื่อนไหวและเป้าหมายของกลุ่มพันธมิตรฯที่ผ่านมาล้วนลดบทบาทและไม่เชื่อมั่นในอำนาจและความคิดของประชาชนคนธรรมดา ไม่เชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นข้อเสนอ นายกฯพระราชทาน , การเลือกตั้งผสมการสรรหา (เมื่อสังคมไม่ตอบรับก็เปลี่ยนมาเป็นเลือกตั้งทั้งหมดแต่มาจากสาขาอาชีพครึ่งหนึ่ง)  ดังนั้น "การเมืองใหม่" ของกลุ่มพันธมิตรจึงเป็นแค่เพียงการเมืองใหม่ (สูตรโบราณ) เท่านั้น

ความพยายามเสนอโครงการทางการเมืองออกมาอย่างเป็นรูปธรรมของกลุ่มพันธมิตรฯ เฉพาะหน้าเป็นไปเพื่อเป้าหมายทำลายศัตรูทางการเมืองเท่านั้น ไม่ได้มีข้อเสนอเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจสังคมอย่างแท้จริง ไม่มีอุดมการณ์ที่จะสร้างการเมืองใหม่ที่แท้จริงแต่อย่างใด

 

            กลุ่มพันธมิตรฯ ไม่ได้เป็นคนกลุ่มแรกที่พยายามเสนอการเมืองใหม่ เพราะการปฏิรูปสังคม-การเมือง เป็นสิ่งที่ภาคประชาชนพยายามเสนอและผลักดันให้เป็นจริงตลอดมา ที่ชัดเจนที่สุดคือข้อเสนอจากเวทีสมัชชาสังคมไทยเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 ที่พูดถึงการสร้างความเข้มแข็งให้ขบวนการภาคประชาชน เพิ่มอำนาจประชาชนคนธรรมดา ลดอำนาจรัฐ ตัวอย่างข้อเสนอที่ก้าวหน้าได้แก่ การลดงบประมาณกองทัพ การเสนอให้มีการเลือกตั้งได้จากสถานที่ทำงาน การเสนอระบบลูกขุนและการสร้างรัฐสวัสดิการ เป็นต้น 

            สหภาพแรงงาน นักศึกษา ประชาชนและองค์กรแนวร่วมในฐานะที่เป็นองค์กรภาคประชาชนเล็งเห็นว่าเราต้องปฏิรูปสังคมที่เป็นอิสระจากพันธมิตรฯ จึงควรมีข้อเสนอโครงการทางการเมืองของเราเอง จากการประชุมปรึกษาหารือกัน เพื่อนำเสนอต่อสังคมและจัดกิจกรรมรณรงค์ที่เป็นอิสระจากทั้งฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและฝ่ายรัฐบาล เพื่อให้เกิดการปฏิรูปสังคมการเมืองที่ชัดเจนและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนคนธรรมดาจริงๆ ดังต่อไปนี้

 

            1. การปฏิรูประบบการเมือง

 

1.1 สนับสนุนให้มีการเลือกนายกรัฐมนตรีโดยตรงจากประชาชน ต้องยกเลิกสมาชิกวุฒิสภา อันเนื่องมาจากมีความซ้ำซ้อนและไม่จำเป็น โดยสมาชิกสภาต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนทั้งหมด

1.2 ต้องลดเงื่อนไขที่เป็นอุปสรรคของการรวมตัวตั้งพรรคการเมืองของประชาชน เช่น ไม่จำเป็นต้องมีการจดทะเบียน มีสาขาพรรค และจำนวนสมาชิกตามที่กำหนด

1.3 เน้นการเลือกตั้งเขตเดียวเบอร์เดียว จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแปรตามจำนวนของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง และสนับสนุนให้มีการเลือกตั้งตามสถานที่ทำงาน เพื่อให้แรงงานสามารถมีผู้แทนของตนเองในพื้นที่ที่ทำงานได้

 

            2. การกระจายอำนาจ

 

            ยกเลิกการปกครองส่วนภูมิภาคที่เน้นการรวมศูนย์จากส่วนกลาง แต่ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนปกครองตนเองผ่านการปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างสมบูรณ์

 

            3. ปฏิรูประบบศาล

 

            3.1 ต้องลดอำนาจของศาลที่มีอยู่เดิม อันเนื่องมาจากผู้พิพากษาไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง เราเสนอให้ใช้ระบบลูกขุนที่มาจากการประชาชนธรรมดามาแทนผู้พิพากษาในระบบราชการแบบเดิม

3.2 ยกเลิกโทษประหารชีวิต ซึ่งเป็นรูปแบบของการลงโทษที่ป่าเถื่อนและไม่ได้นำไปสู่การแก้ปัญหาจริง

3.3 ยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพซึ่งเป็นกฎหมายที่ล้าหลังและคลั่งชาติ

 

4. ปฏิรูปกองทัพ   

 

            4.1 ต้องลดงบประมาณของกองทัพ เพราะประเทศไทยไม่ได้อยู่ในสภาวะสงคราม ดังนั้นไม่จำเป็นต้องนำงบประมาณจำนวนมากไปใช้สำหรับการส่งเสริมแสนยานุภาพของกองทัพ

            4.2 เสนอให้ย้ายค่ายทหารออกจากเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เพื่อใช้พื้นที่ดังกล่าวสำหรับสร้างสวนสาธารณะ และศูนย์ฝึกอาชีพให้แก่คนจน

 

5. ปฏิรูประบบโครงสร้างภาษี

 

ต้องยกเลิกภาษีทางอ้อม (VAT) ที่เก็บจากประชาชนธรรมดา และต้องเก็บภาษีทางตรง ภาษีที่ดิน ภาษีมรดกในอัตราก้าวหน้าจากคนรวยและอภิสิทธิ์ชนซึ่งมีจำนวนมากในประเทศไทย มาใช้เพื่อสร้างสวัสดิการให้แก่คนจน

 

6. รัฐสวัสดิการ

 

            6.1 ต้องมีการปฏิรูปที่ดินที่รวมศูนย์อยู่กับนายทุนไม่กี่คนให้แก่ คนจน และเกษตรกร ที่ปราศจากที่ดินหรือมีที่ดินทำกินไม่เพียงพอซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ

            6.2 ต้องสร้างรัฐสวัสดิการ ซึ่งหมายความถึง ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงบริการการรักษาพยาบาล การศึกษา และสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพในราคาถูกหรือฟรี

            6.3 ต้องยกเลิกกฎหมายห้ามทำแท้งเสรี โดยรัฐจะต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้หญิงที่ต้องการทำแท้งสามารถทำได้อย่างถูกกฎหมายและมีมาตรฐานทางการแพทย์เพื่อความปลอดภัย
           
6.4 ต้องมีการขยายมาตรการ 6 เดือนของรัฐบาล เช่น รถเมล์ ค่าน้ำ ค่าไฟฟรี ให้มากกว่าเป็นแค่มาตรการเฉพาะหน้า โดยต้องยกระดับการให้บริการการขนส่งมวลชน การไฟฟ้า ประปา และอื่นๆ ให้มีคุณภาพและมีราคาถูกที่สุด

            6.5 ยกเลิกแรงงานนอกระบบ และการเอาเปรียบแบ่งแยกแรงงานข้ามชาติ โดยผู้ใช้แรงงานทุกคนต้องได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแรงงานเหมือนกันทั่วประเทศ                      

 

            กิจกรรม

 

            1. จะมีการรณรงค์แจกใบปลิวและสร้างเวทีพูดคุยกับประชาชนทั่วไป และขบวนการภาคประชาชนอื่นๆเกี่ยวกับการเมืองใหม่ของภาคประชาชน โดยกิจกรรมแรกของพวกเรา คือ แจกใบปลิวและให้ข้อมูลประชาชนที่สวนจตุจักร วันเสาร์ที่ 4 ตุลาคม 2551 เวลา 11.00 น.

 

 

                                                                                              ลงชื่อ

                                                                    1. สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.)

                                                                    2.สหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนล

                                                                    3. กลุ่มประกายไฟ

แถลงการณ์ของกลุ่มผู้ใช้แรงงานและกลุ่มพันธมิตรนิสิตนักศึกษา

2 September, 2008 - 15:55 -- iskra

 

แถลงการณ์ของกลุ่มผู้ใช้แรงงานและกลุ่มพันธมิตรนิสิตนักศึกษา

ต่อสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในขณะนี้

1 กันยายน 2551

จากเหตุการณ์การชุมนุมยืดเยื้อและความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากการปะทะกันระหว่างรัฐบาลพรรคพลังประชาชน และพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในช่วงเวลาที่ผ่านมาอันเป็นความขัดแย้งทางการเมืองของฝ่ายชนชั้นนายทุน มิใช่การต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองของชนชั้นล่างอย่างแท้จริง กลุ่มผู้ใช้แรงงานและกลุ่มพันธมิตรนิสิตนักศึกษาที่ลงนามในแถลงการณ์ฉบับนี้มีความคิดเห็นและข้อเรียกร้องต่อสังคม ดังต่อไปนี้

1. เราคัดค้านการใช้ความรุนแรงโดยรัฐ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ตำรวจทหารในการปราบปรามผู้ชุมนุมทางการเมือง และการประกาศสภาวะฉุกเฉินของฝ่ายรัฐบาล รวมทั้งการเรียกร้องยั่วยุให้รัฐใช้ความรุนแรงของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เช่น การเรียกร้องให้ทหารซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชนชั้นปกครองเข้ามาทำรัฐประหาร

2. เราต้องไม่ประณามวิธีการต่อสู้ที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายหรือวิธีการที่ไม่ใช่ "สันติวิธี" ไม่ว่ากลุ่มนั้นๆจะมีจุดยืนทางการเมืองแบบใดก็ตามหากเป็นการกระทำเพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการต่อสู้กับรัฐ เช่น การชุมนุมแบบปิดถนน การยึดสถานที่ราชการ และการนัดหยุดงานแบบผิดกฎหมาย ซึ่งวิธีการทั้งหมดนี้เป็นวิธีการต่อสู้ทางการเมืองของชนชั้นล่างทั้งในประเทศและในระดับสากลในการต่อสู้กับความยุติธรรมปลอมๆที่สร้างขึ้นโดยระบบทุนนิยมและรัฐตลอดมา

3. เราคัดค้านแนวทาง "การเมืองใหม่" ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่เสนอให้ตัวแทนของประชาชนในรัฐสภามาจากการแต่งตั้ง หรือที่เรียกว่า "70: 30" ซึ่งข้อเสนอเช่นนี้เป็นข้อเสนอที่จำกัดสิทธิในทางการเมืองของชนชั้นล่าง เราเสนอว่า ทางออกจากปัญหาดังกล่าวต้องใช้วิธีการปฏิรูปและพัฒนาสถาบันทางการเมืองที่เป็นไปเพื่อสนับสนุนและเพิ่มอำนาจให้แก่ประชาชนมากกว่าที่จะเป็นการถอยหลังเข้าคลองไปสู่ระบอบเผด็จการเช่นข้อเสนอของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

4.อันเนื่องมาจากการเมืองทั้ง 2 ขั้วในปัจจุบัน คือ รัฐบาลพรรคพลังประชาชน และพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยต่างแสดงจุดยืนทางการเมืองแบบชาตินิยมและอนุรักษ์นิยมสุดขั้ว ซึ่งจุดยืนทางการเมืองเช่นนี้ไม่ใช่ข้อเสนอหรือแนวทางการเมืองที่เป็นไปเพื่อผลประโยชน์จริงของคนชั้นล่าง ทั้งที่เป็นกรรมกร เกษตรกร คนจนเมือง ฯลฯ เราในฐานะกลุ่มผู้ใช้แรงงานและกลุ่มพันธมิตรนิสิตนักศึกษาที่ลงนามในแถลงการณ์นี้เสนอให้มีการพูดถึงการปฏิรูปการเมืองและสังคมโดยมีการเก็บภาษีทางตรงในอัตราก้าวหน้า ภาษีมรดก ภาษีที่ดินจากคนร่ำรวย เพื่อการสร้างรัฐสวัสดิการที่ดูแลชีวิตของประชาชนตั้งแต่เกิดจนตายอย่างเป็นรูปธรรม

 

กลุ่มประกายไฟ

กลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง

สหพันธ์สิ่งทอและเครื่องหนังแห่งประเทศไทย

 

สังคมนิยมประชาธิปไตย ทางที่ภาคประชาชนต้องไปให้ไกลกว่า 6มาตรการฉุกเฉิน 6 เดือน

22 July, 2008 - 00:05 -- iskra

 

ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี

กลุ่มประกายไฟ

           

"รัฐสวัสดิการ เป็นระบบที่อยู่ตรงข้ามกับระบบทุนนิยมทั้งทางปฏิบัติและตรรกะ แต่ระบบทุนนิยมจะดำรงอยู่ไม่ได้หากปราศจากรัฐสวัสดิการ"

วอลเตอร์ คอร์ปี

 

ทำไมต้องสังคมนิยมประชาธิปไตย?

 

สำหรับฝ่ายซ้ายทั่วไปอาจตั้งข้อสงสัยกับหัวข้อ ว่าสังคมนิยมมันต้องเป็นประชาธิปไตยในตัวอยู่แล้วมิใช่หรือ  แล้วทำไมต้องมีประชาธิปไตยต่อท้าย มันมีด้วยหรือ สังคมนิยมที่ไม่เป็นประชาธิปไตย....เพื่อความเข้าใจตรงกัน...การใช้คำว่าสังคมนิยมประชาธิปไตย(Socialism Democracy)ในที่นี้เพื่อเป็นภาพสะท้อนระบบเศรษฐกิจสังคมที่เราสามารถจินตนาการถึงได้ในบริบทปัจจุบัน ที่ก้าวหน้ากว่ารัฐอุตสาหกรรมทั่วไปในยุโรปตะวันตก ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า สังคมประชาธิปไตย(Social Democracy) พูดง่ายๆคือแบบหลังเป็นรัฐทุนนิยมประชาธิปไตยทั่วไปที่มีฐานคติการอยู่ร่วมกันระหว่างชนชั้นดังนั้น รัฐจึงมีหน้าที่ในการจัดการกับความไม่เท่าเทียมต่างๆในสังคมเพื่อ ให้สังคมสามารถอยู่รอดด้วยกันได้ (ดังที่ได้เสนอไปในบทความว่าด้วยการปฏิรูปการเมืองของลัทธิแก้) ขณะที่อย่างแรก-สังคมนิยมประชาธิปไตยที่เราจะพูดถึงคือระบบเศรษฐกิจการเมืองที่มองสังคมอยู่บนฐานของความขัดแย้งทางชนชั้น และรัฐของชนชั้นล่าง(ซึ่งพรรคการเมืองของผู้ใช้แรงงานอาจชนะการเลือกตั้งในระบบรัฐสภา) ต้องจัดสรรผลประโยชน์ให้ชนชั้นล่างซึ่งเป็น คนส่วนใหญ่ในสังคมมากที่สุด มีการต่อสู้ทางชนชั้นตลอดเวลา.....และแม้ประชาชนยังกินดีอยู่ดีก็ยังมีสำนึกผลประโยชน์ทางชนชั้นสูงและรัฐบาลไม่ว่าพรรคซ้ายหรือขวาก็มิอาจที่จะลดทอนผลประโยชน์ทางชนชั้นได้ ประเทศที่มีแนวทางใกล้เคียงกับแนวคิดนี้ ที่พอจะจัดได้ก็เช่น สวีเดน เดนมาร์ค ฟินแลนด์ และนอร์เวย์ โดยเฉพาะสวีเดนที่ไม่มีทรัพยากรน้ำมัน หรือทรัพยากรธรรมชาติอะไรมากมายเช่นประเทศเพื่อนบ้าน คงมีแต่อุตสาหกรรม และเกษตรเท่านั้น (ซึ่งไทยยังมีโรงงานและพื้นที่การเกษตรมากกว่าแน่นอน)  แต่ก็ยังคงความเป็นสังคมนิยมประชาธิปไตยอย่างเหนียวแน่น และเมื่อการจัดวัดคุณภาพชีวิตประชากรประเทศกลุ่มนี้ก็ติดอันดับต้นๆทุกครั้งไป

 

สาเหตุที่เราจำเป็นต้องพูดถึงแนวทางสังคมนิยมประชาธิปไตย....คงไม่พ้นเรื่องการประกาศ6มาตรการฉุกเฉิน6เดือนของรัฐบาลเพื่อบรรเทาผลกระทบประชาชนในภาวะน้ำมันแพง อันประกอบด้วย 1.มาตรการลดภาษีน้ำสรรพสามิตน้ำมันทั้งดีเซล ก๊าซโซฮอลล์ ทั้ง 91 และ 95 2.มาตรการชะลอปรับราคาก๊าซหุงต้ม 3.มาตรการลดค่าใช้จ่ายน้ำประปาของครัวเรือน 4.ลดค่าใช้จ่ายค่าไฟฟ้าของครัวเรือน 5.มาตรการลดค่าเดินทางรถโดยสารประจำทาง และ6.มาตรการลดค่าใช้จ่ายเดินทางรถไฟชั้น 3  แม้จะมีข้อถกเถียงว่ามีสาระเป็นไปในลักษณะประชานิยมเพื่อซื้อสียงประชาชนล่วงหน้าจากกลุ่มพันธมิตร แต่สำหรับภาคประชาชนแล้วนี่คือโอกาสที่เราต้องผลักดันหลักคิดอะไรบางอย่างเพื่อโหนกระแส 6มาตรการ6เดือน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อสามและข้อสี่ ซึ่งมีลักษณะเป็นประเด็นทางชนชั้นอย่างชัดเจน ที่ยกเลิกการเก็บค่าน้ำ-ไฟสำหรับผู้ที่ใช้น้ำไฟ-น้อยไม่ถึงกำหนด รวมถึงการโดยสารรถโดยสารไม่ปรับอากาศฟรี (แม้จะแปลกๆที่ฟรีคันเว้นคัน)

 

ไม่ใช่เรื่องแปลกที่เราจะชื่นชม กับนโยบายเหล่านี้ เราอาจตั้งคำถามต่อไปอีกได้ว่า รัฐบาลพลังประชาชน มีแนวโน้มที่จะพัฒนาไทยสู่ สังคมประชาธิปไตย สังคมนิยมประชาธิปไตย หรือกระทั่งสร้างรัฐสวัสดิการได้หรือไม่? ...คำถามนี้เป็นคำถามใหญ่ พรรคไทยรักไทย(พลังประชาชน) ทำให้แปลกใจได้เสมอ กับนโยบายสวัสดิการสังคมต่างๆ แต่ประเด็นสำคัญที่เราต้องเน้นย้ำถึงตรรกะในการชื่นชมนโยบายเหล่านี้ของเรา ว่ามันไม่ใช่เกิดจากความใจดีมีเมตตาของรัฐบาล....อาจจะฟังดูมองแบบกลไกลแต่ก็สามารถอธิบายได้ว่า นโยบายต่างๆเป็นภาพสะท้อนความขัดแย้งทางชนชั้นที่มีอยู่ในสังคมทั้งเปิดเผยและซ่อนเร้น  รัฐบาลนายทุนไม่โง่ขนาดที่จะไม่รู้ว่าสภาพทุกวันนี้วิกฤติมาก ค่าครองชีพที่สูงขึ้นกว่าร้อยละ40 ไม่มีทางให้ชนชั้นล่างยอมจำนนกับระบบได้อย่างมีความสุข

 

6 มาตรการฉุกเฉินสู่รัฐสวัสดิการ?

 

มีข้อถกเถียง เสมอว่านโยบายดังกล่าวจะยั่งยืนยาวนานแค่ไหน   เราจำเป็นต้องเน้นย้ำว่าการจัดสวัสดิการต้องดีขึ้นและไม่สามารถที่จะยกเลิกได้ ปัญหาอยู่ที่งบประมาณของรัฐบาล...ซึ่งตรงนี้สามารถตอบคำถามได้ว่า รัฐบาลพลังประชาชน คงไม่สามารถพัฒนาสู่ สังคมประชาธิปไตย หรือสังคมนิยมประชาธิปไตยอย่างแน่นอน เพราะไม่มีนโยบายใดที่จะไปสะกิดขนหน้าแข้งของนายทุน งบประมาณการจัดการต่างๆย่อมมีจำกัดอย่างแน่นอน  เส้นทางที่เป็นไปได้คือ การจัดสวัสดิการแบบเครือข่ายปลอดภัยทางสังคม(Social Safety Net) ซึ่งภาคประชาชนส่วนหนึ่งพยายามผลักดันให้เกิดขึ้น ซึ่งรัฐบาลก็พยายามสนับสนุนเพราะ จัดการได้ง่ายกว่า...และไม่กระทบต่อชนชั้นนายทุน เพราะงบประมาณยังคงเป็นเศษเนื้อที่พวกเขาโยนให้ แค่มีการจัดการที่เป็นระบบมากขึ้นเท่านั้นเอง

 

 

 

ภาพการ์ตูนล้อการลดการเก็บภาษีอัตราก้าวหน้า

 

ปัญหาทางการคลังต้องแก้ไข ด้วยการเก็บภาษีมรดกและภาษีอัตราก้าวหน้า....เรื่องนี้เป็นเรื่องที่พูดกันมามากแล้ว แต่เพื่อการขยายวงของการถกเถียงให้กว้างขวางขึ้น...เราจำเป็นต้องเข้าใจตรรกะของวิธีการคิดของการเก็บภาษีอัตราก้าวหน้า ในแบบสังคมนิยมประชาธิปไตย ซึ่ง คนส่วนใหญ่ของประเทศจะได้ประโยชน์ มีผลสำรวจพบว่าถ้าไทยเก็บภาษีเงินได้อัตราก้าวหน้า ถึงร้อยละ50 จะมีผู้ได้รับประโยชน์ถึงร้อยละ62ของประชากรประเทศ-ซึ่งคนกลุ่มนี้คือผู้ที่ได้รับประโยชน์โดยไม่ต้องจ่ายภาษีเพิ่ม ยังไม่นับรวมผู้ที่จ่ายภาษีเพิ่ม แต่ได้รับผลประโยชน์ด้านความมั่นคงที่ตนไม่เคยได้รับ สำหรับเมืองไทยผู้ที่เสียประโยชน์เป็นเพียงส่วนน้อยนิดของประเทศซึ่งชีวิตมั่นคงด้วยการสะสมทุนรุ่นต่อรุ่นและไม่ประสบปัญหาเดือดร้อนยามเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ....พูดง่ายๆคือถ้ามีการเก็บภาษีอัตราก้าวหน้า....ผู้ที่มีรายได้ ต่ำกว่า2หมื่นบาทอาจไม่ต้องเสียภาษีด้วยซ้ำ เพราะเท่านี้พวกเขาก็แทบไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพแล้วด้วย แต่เราควรไปเก็บภาษีจากบรรษัทยักษ์ใหญ่ ผู้บริหารCEOต่างๆ หรือหากเราคิดด้วยฐานของชนชั้นนายทุน การเก็บภาษีอัตราก้าวหน้าสร้างรัฐสวัสดิการก็ไม่ได้เป็นอะไรที่เลวร้ายเสมอไป พวกเขาสามารถออกจากบ้านกำแพงสูงได้โดยไม่ต้องระวังเรื่องอาชญากรรม แม้แต่กับบรรษัทยักษ์ใหญ่เอง ก็สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการทำประกันบริษัทเอกชนให้พนักงานได้ รัฐสวัสดิการจะเป็นการลดความกดดันของผู้ประกอบการจากการประท้วงของผู้ใช้แรงงาน เพราะชนชั้นแรงงานที่รวมตัวกันข้ามสถานประกอบการในกลุ่มวิชาชีพเดียวกันก็จะไปกดดันเรียกร้องกับรัฐบาลเอง

เป็นไปได้แค่ไหน?

 

เรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องยกเมฆขึ้นมา  สวีเดนและประเทศแทบสแกนดิเนเวีย เป็นกลุ่มประเทศที่มีบรรยากาศน่าลงทุนที่สุดในโลกทั้งๆที่มีภาษีสูงอันดับต้นๆของโลก เราลองคิดภาพดูถ้าเราสามารถใช้จุดเปลี่ยนจาก 6มาตรการ6เดือนของรัฐบาลผลักดันให้เกิดการเก็บภาษีอัตราก้าวหน้า และพัฒนาสวัสดิการให้ก้าวไกลมากกว่าแค่6มาตรการ เช่นรถเมล์ของรัฐบาลควรจะฟรีทุกสาย และในสายที่รถเอกชนร่วมบริการ รัฐบาลก็ควรจัดบริการเพิ่มขึ้น เรื่องน้ำมันและพลังงานควรเข้าไปควบคุม ปตท หรือบริษัทกลั่นน้ำมันต่างๆ  รวมถึงรัฐวิสาหกิจต่างๆ ที่แปรรูป รวมถึงมหาวิทยาลัย ต้องโอนกลับมาเป็นของรัฐอีกครั้ง ค่าแรงขั้นต่ำควรกำหนดลอยตัวตามค่าครองชีพ-เช่นราคาน้ำมันเพื่อให้สอดคล้องกับการดำรงชีพอย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี และขยายสวัสดิการทุกอย่างให้รอบด้าน

 

ทุกวันนี้เราเสียงบประมาณประเทศไปด้วยเรื่องไม่เป็นเรื่องเช่น งบประมาณด้านทหารและความมั่นคง งบประมาณด้านการรณรงค์ของฝ่ายจารีตนิยม ของกระทรวงวัฒนธรรม เงินเดือนของนักการเมืองมากมายมหาศาล ทั้งสส. และสว. และแม้กระทั่ง ค่าใช้จ่ายให้ ชนชั้นอภิสิทธิ์ในสังคมที่เปล่าประโยชน์ไม่ว่าจะมองจากมุมมองของฝ่ายซ้ายหรือขวาที่คิดแล้วร้อยละ3ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ  เมื่อพิจารณากลุ่มประเทศสังคมนิยมประชาธิปไตย  เราจะพบว่านักการเมืองของประเทศเหล่านั้นมีเงินเดือนมากกว่าพนักงานไปรษณีย์อยู่ไม่กี่เท่า ซึ่งตรงข้ามกับเมืองไทยปัจจุบันโดยสิ้นเชิง

จาก 6 มาตรการ เราจะพบหลายฝ่ายออกมาวิพากษ์วิจารณ์ แต่แม้กระนั้น ในฝ่ายเสรีนิยมทางเศรษฐกิจ ก็ยังออกมาสนับสนุนและพูดว่า นโยบายดังกล่าวออกมาช้าเกินไป ซึ่งตรงนี้จะตรงกับหลักคิดของ วอลเตอร์ คอร์ปี นักวิชาการด้านแรงงาน ที่ว่า รัฐสวัสดิการเป็นระบบที่อยู่ตรงข้ามกับระบบทุนนิยมแต่ระบบทุนนิยมต้องการการมีอยู่ของรัฐสวัสดิการ เพราะสามารถแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อได้ แต่จากข้อสัมภาษณ์ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ก็ทำให้เราต้องระมัดระวัง เพราะพวกเขาบอกว่าเห็นด้วยกับมาตรการดังกล่าว เพราะค่าใช้จ่ายไม่มากเกินไป ซึ่งเราต้องเน้นย้ำต่อไปว่าเราไม่สามารถพอพอใจกับเศษเนื้อเหล่านี้แน่นอน

งานเขียน จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน ของ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ยังคงสามารถอธิบายถึงสิ่งที่เราควรเรียกร้องได้ดี....เราจำเป็นต้องตั้งคำถามต่อเหล่าชนชั้นปกครอง ต่อไปว่าแล้วเหตุใดเราจะมีชีวิตแบบนั้นไม่ได้ มองกลับไปที่เหล่าประเทศสังคมนิยมประชาธิปไตยอีกครั้ง ลองคิดดูถ้าวันหนึ่งประเทศของเราเป็นอย่างนั้น เราไม่ต้องดิ้นรนจนสิ้นลมหายใจ เช่นปัจจุบัน เราไม่ต้องไปหารายได้เสริม ดิ้นรนกับชีวิต เพราะเราก็ไม่รู้จะทำไปทำไม ด้วยเหตุผลคือรัฐจัดสรรคุณภาพชีวิตที่ดีให้เราอยู่แล้ว การหาเงินมามากก็นำสู่การเสียภาษีมาก  แต่ไม่ได้หมายความว่า ทำให้คนขาดแรงจูงใจในการทำงาน เราพบว่า แรงงานในสวีเดน กว่า ร้อยละ26 ทำงานโดยไม่มีเงินเดือน ...ในฐานะอาสาสมัคร มูลนิธิ และหน่วยงานสาธารณะในชุมชน

เพียงแค่มองพื้นที่อื่นที่เราไม่คุ้นเคยไม่รู้จักมากมายมากไปกว่าคำบอกเล่าและตัวหนังสือ มันจะดีแค่ไหนถ้าประเทศของเรา....สถานที่ที่เราผูกพันและคุ้นเคยเป็นอย่างนั้นบ้าง ....เมื่อไรที่เราจะเปลี่ยนจากสัตว์(ที่แก่งแย่งแข่งขัน) สู่การเป็นมนุษย์ (ที่โอบอุ้มกัน) เสียที

โดยสรุปแล้ว 6 มาตรการฉุกเฉินเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญอย่างยิ่งที่เราต้องผลักดันให้ก้าวหน้าขึ้นไป สร้างพื้นที่ถกเถียงเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้ขยายมากขึ้น ก้าวหน้ามากขึ้น และทำลายมายาภาพที่ชนชั้นนายทุนสร้างขึ้นมา....สังคมนิยมประชาธิปไตย ...รัฐสวัสดิการ....ไม่ไกลขนาดที่เป็นไปไม่ได้

...................

เอกสารอ้างอิง

1.สุรพล ปธานวนิช นโยบายสังคม : เส้นทางสู่รัฐสวัสดิการ กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547

 

2.ไมเออร์, โทมัส อนาคตของสังคมประชาธิปไตย = The future of social democracy นนทบุรี : เอส. บี. คอนซัลติ้ง, 2550

 

3.คณะทำงานการกระจายรายได้ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สวัสดิการพื้นฐาน (Social Safety Net) : รากฐานความเป็นธรรมทางรายได้ : สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,กรุงเทพฯ 2550

 

4.Samuelsson, Kurt From great power to welfare state : 300 years of Swedish social development London : Allen & Unwin, 1972

 

5.หนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไท  รัฐบาลผลัก6 มาตรการรับมือวิกฤตน้ำมัน นักวิชาการชี้ใช้เงินซื้อประชาชน http://www.prachatai.com/05web/th/home/12856 16/7/2551

 

เราจะไปข้างไหนดี

8 July, 2008 - 00:00 -- iskra

นักปฏิวัติท้ายที่สุดแล้วจะเป็นนักปฏิรูปที่ขยันที่สุด ก้าวหน้าที่สุด ในทางตรงข้ามนักปฏิรูปหากทำการปฏิรูปเพียงลำพังโดยปราศจากเป้าในการปฏิวัติ ก็จะเป็นผู้รักษาระบบแห่งการกดขี่ที่ขยันที่สุดอย่างขันแข็งที่สุดเช่นกัน”

โรซา ลัคเซมเบิร์ก

บทนำ

ท่ามกลางกระแสความขัดแย้งในสังคมที่ทุกฝ่ายอยากเบือนหน้าหนี ภาคประชาชนถึงคราวตีบตัน เมื่อหันไปดูรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งก็พบว่าเป็นรัฐบาลทุนนิยมสามานย์ที่สร้างบาดแผลลึกแก่สังคมไทย ตั้งแต่ตัวนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมรัฐสมัย6ตุลาคม2519 ยังไม่นับรวมการเป็นรัฐบาลที่สืบทอดอำนาจจากรัฐบาลทักษิณซึ่งอื้อฉาวในกรณี ฆ่าตัดตอนยาเสพติด และการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างแพร่หลาย แต่เมื่อหันไปมองที่ม็อบขับไล่รัฐบาล ซึ่งเหล่าภาคประชาชนทั้งหลายต่างไม่ปฏิเสธจุดยืนในการตรวจสอบถ่วงดุลรัฐบาล ด้วยประชาธิปไตยบนท้องถนน แต่ก็ต้องระเหี่ยใจกับจุดยืนของขบวนการซึ่งเรียกร้องให้ทำการรัฐประหารใช้แนวชาตินิยม สถาบันนิยม อย่างบ้าคลั่ง-เพื่อ กลบเกลื่อนกลุ่มทุนอีกกลุ่มซึ่งอยู่เบื้องหลัง ซึ่งสามานย์ไม่น้อยกว่ากัน รวมถึงสื่อมวลชนผู้สนับสนุนขบวนการก็มีพฤติกรรมที่ไม่ต่างกับ หนังสือพิมพ์อนุรักษ์นิยมในอดีตในการบิดเบือนข้อเท็จจริงและปลุกระดมให้เกิด การใช้ความรุนแรงต่อกลุ่มคนต่างๆซึ่งอยู่คนละข้างอุดมการณ์กับตน

แน่นอนที่สุดเราต่างเรียกร้องหาแนวทางที่สาม และ เราภาคประชาชนย่อมไม่ได้พูดถึงความเป็นกลาง ที่ฟังดูยิ่งใหญ่แต่ไร้ความหมายหากแต่พูดถึงแนวทางรูปธรรมของขบวนการ ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ(ซึ่งเป็นคนยากจน-ผู้ใช้แรงงาน-เกษตรกรรายย่อย) จะได้ประโยชน์อย่างแท้จริง โดยหวังว่าพื้นที่ในบล็อกที่ทางประชาไทจัดให้ตรงนี้จะเป็นการเปิดพื้นที่ให้กับแนวทางที่สาม ...ซึ่งหากเราพูดตรงไปตรงมาไม่อ้อมค้อม เราคงหมายถึงแนวทางสังคมนิยม รูปธรรมของแนวทางการต่อสู้เพื่อคนส่วนใหญ่ของสังคม....

Pages

Subscribe to RSS - บล็อกของ iskra