<p><strong>ลักษ์ไท รักษ์มอญ</strong><br /><br />โดยภูมิศาสตร์รัฐชาติและหลักนิติศาสตร์ ระบุว่าฉันเป็นพลเมืองไทย<br />แม้ว่าฉันจะมีประวัติศาสตร์ มีบรรพชนอพยพมาจากเมืองมอญ (ประเทศพม่า) เมื่อหลายร้อยปีก่อน<br />ไม่เพียงสำนึกภายในเท่านั้นที่บ่งบอก<br />ภาษา ศาสนา และวัฒนธรรมในวิถีชีวิตของฉันยังเป็นมอญ<br />ฉันเป็นคนไทยเชื้อสายมอญ และคนอย่างฉันมีอยู่มากมาย<br />ฉันมีรูปลักษณ์เป็นไทย แต่จิตใจยังซึมซับรากเหง้า ต้องการสืบสานมรดกบรรพชน<br />ไม่ต่างจากเพื่อนคนไทยเชื้อสายอื่นๆ<br />(ประเทศที่รวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทยแห่งนี้ ไม่น่าจะมีคนไทยแท้ ที่ไม่มีเชื้อชาติอื่นใดปะปน)<br />ซึ่งต่าง แต่...ไม่แตกต่าง<br />และฉัน มีเรื่องเล่ามากมายมาฝากทุกคน</p><p>&nbsp;</p><p><strong>ผู้เขียน</strong></p><p><strong>องค์ บรรจุน</strong><br />ประธานชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพ (ชาวไทยเชื้อสายมอญจังหวัดสมุทรสาคร) <br />บรรณาธิการวารสารเสียงรามัญ<br />นักวิจัยสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล<br />นักออกแบบผลิตภัณฑ์ <br />นักเขียนอิสระ </p><p><strong>สุกัญญา เบาเนิด</strong><br />เลขาธิการชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพ (ชาวไทยเชื้อสายมอญจังหวัดสมุทรสาคร) <br />คอลัมนิสต์วารสารเสียงรามัญ<br />นักโบราณคดี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม (ศึกษาวิจัยเรื่องพิธีกรรมศพของวัฒนธรรมทุ่งกุลาและโบราณคดีในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้) <br />นักมานุษยวิทยา (วิทยานิพนธ์เรื่อง &quot;การสร้างอัตลักษณ์ของคนมอญย้ายถิ่น: ศึกษากรณีแรงงานข้ามชาติในจังหวัดสมุทรสาคร) </p><strong>ภาสกร อินทุมาร</strong><br />เพื่อนชาวไทยเชื้อสายมอญ (ชาวไทยเชื้อสายจีน + ยวน จังหวัดสุพรรณบุรี) &nbsp;<br />คอลัมนิสต์วารสารเสียงรามัญ<br />นักการละคร<br />และนักเคลื่อนไหวเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม<br /><br /><br /><strong><p>ขนิษฐา คันธะวิชัย<br />เพื่อนชาวไทยเชื้อสายมอญ (เป็นคนไทยธรรมดาๆ ที่เลขประจำตัวประชาชนขึ้นต้นด้วยเลข 3 หรือ1 กันทั้งบ้าน มีแม่เป็นคนเมี่ยน พ่อเป็นคนเมือง)คอลัมนิสต์วารสารเสียงรามัญ<br />ร่ำเรียนมาทางมานุษยวิทยา ต่อด้วยพัฒนามนุษย์และสังคม ปัจจุบันกำลังเก็บเกี่ยวประสบการณ์ทางวิชาการด้านชาติพันธุ์และด้านการพัฒนาในประเทศลุ่มแม่น้ำโขง</p></strong>

บล็อกของ ong

ขนบการด่าให้แสบไส้ อย่างมอญ

31 March, 2010 - 00:00 -- ong

การบริภาษผู้ที่มาทำให้เราไม่พอใจนั้นมีอยู่ด้วยกันทุกชนชาติ หากแต่ถ้อยคำที่ก่นด่ากันนั้นมีนัยยะสำคัญอย่างไร เหตุใดคนที่เลือกสรรถ้อยคำนั้นขึ้นมาจึงคิดว่าจะเป็นคำที่เจ็บแสบ สามารถระบายอารมณ์พลุ่งพล่านนั้นลงได้ ว่าแต่ว่า คำที่คนชาติหนึ่งด่ากันแล้วนำเอาไปด่าใส่คนอีกชาติหนึ่งมันจะเจ็บแสบอย่างเดียวกันหรือไม่ หรือคนด่าจะเป็นฝ่ายเจ็บเสียเอง

ตนกูอับดุล เราะฮ์มาน (Tunku Abdul Rahman)

19 March, 2010 - 00:00 -- ong

บางท่านอาจเคยรู้มาบ้างแล้วว่า นายกรัฐมนตรีคนแรกของมาเลเซียมีเลือดเนื้อเชื้อไขไทยสยาม แต่บรรดาคนเกือบทั้งหมดในจำนวนนี้อาจจะยังไม่รู้ว่า เชื้อสายไทยสยามของท่านนั้นแท้จริงแล้วคือ มอญ ด้วยสายเลือดข้างมารดานั้นคือ คุณหญิงเนื่อง (คุณหญิงฤทธิสงครามรามภักดี) หลานลุงของหลวงรามัญนนทเขตคดี อดีตนายอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรีคนแรก ต้นสกุล นนทนาคร

สยายผมเช็ดพระบาท... ทำไม?

9 March, 2010 - 00:00 -- ong

แม้พุทธศาสนาจะมีต้นกำเนิดมาจากชมพูทวีป แต่ชนชาติต่างๆ ได้มีการแลกรับปรับใช้ในแบบของตนเอง เกิดลัทธินิกายผิดแผกแตกต่างกันไป สำหรับพุทธศาสนาในเมืองไทยนั้นเป็นที่รับรู้กันมานานแล้วว่า ได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิเถรวาทของมอญ ซึ่งเลื่องชื่อเรื่องความเคร่งครัดในวัตรปฏิบัติของสงฆ์และความเลื่อมใสศรัทธาอย่างแน่นแฟ้นของพุทธศาสนิกชนมอญ ข้อหนึ่งที่จะกล่าวถึงต่อจากนี้คือ พุทธประวัติตอนที่พระนางพิมพาสยายผมลงเช็ดพระบาทองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พุทธประวัติตอนนี้มีกล่าวถึงเฉพาะในส่วนของมอญเท่านั้น นอกจากนี้ชาวมอญยังได้นำมาใช้ในชีวิตจริงกับกษัตริย์และราชวงศ์อีกด้วย เป็นการยืนยันถึงความเลื่อมใสศรัทธาอันเป็นเอกลักษณ์ทางพุทธศาสนาของชนชาติมอญแต่โบราณ

อีกแค่ ๙๔ ครบร้อยปีตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง

22 February, 2010 - 00:00 -- ong

ตลาดน้ำเกิดใหม่ใกล้กรุงเทพฯ ใช้เวลาเดินทางเพียงชั่วอึดใจ ท่ามกลางธรรมชาติที่ยังบริสุทธิ์ ผู้คนให้การต้อนรับแบบน้ำใสใจจริง และเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์รายรอบที่น่าสนใจ แม้จะเป็นตลาดน้ำเกิดใหม่เมื่อไม่นานแต่ก็ไม่มีการเสริมแต่งอย่างฝืนธรรมชาติ ซ้ำยังโดดเด่นด้วยของกินของใช้และของฝากหลากหลายโดยพ่อค้าแม่ขายคนในท้องถิ่น เปิดขายทุกวันเสาร์อาทิตย์ ตั้งแต่เช้าตรู่เรื่อยไปจนแดดร่มลมตก จากนั้นตลาดก็จะวายไปเองตามวิถีทางของมัน

 

คนไทยแท้เป็นอย่างนี้เอง

10 February, 2010 - 00:00 -- ong

ป้าขจี (สงวนนามสกุล) เป็นคนที่เคยใช้ชีวิตอยู่ในหลายวัฒนธรรม คลุกคลีกับผู้คนตั้งแต่เหนือสุดจนเกือบใต้สุดแดนสยาม อีกทั้งยังมีการผสมผสานหลายชาติพันธุ์ในตัวของป้า กับวัยที่ผ่านสุขทุกข์มาแล้วกว่า ๗๖ ปี จิตใจที่โน้มเอียงเลือกจะอยู่ข้างวัฒนธรรมแบบใดหรือยอมรับการผสมผสานของสิ่งต่างๆ ที่เข้ามาในชีวิตมากน้อยเพียงใดนั้น คงเกิดจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่หล่อหลอมป้าขจีมาตั้งแต่วัยเด็ก

แต่งชุดประจำชาติของฉันมันหนักหัวใคร (นักวิชาการชายขอบ ตอน ๒)

29 January, 2010 - 09:29 -- ong



ไม่รู้ว่าทำไมนักวิชาการที่ชอบใช้ทฤษฎีเมืองนอกเมืองนา ประเภทท่องจำขี้ปากฝรั่งมาพูด (สังเกตดูจากบทความวิชาการที่มักมีวงเล็บภาษาอังกฤษ มีเชิงอรรถในแต่ละหน้าเกือบครึ่งหน้ากระดาษ ฉันไม่ได้รังเกียจหลักการวิชาการของต่างชาติที่มีมาก่อนเรา เพียงแต่สงสัยว่า ตรงไหนกันหนอคือความคิดสร้างสรรค์ที่มาจากสมองของคนเขียน...?) ชอบเอาทฤษฎีมาทดสอบพฤติกรรมเอากับคนเล็กคนน้อย คนที่ไม่ค่อยมีปากมีเสียงในสังคม โดยมักมีคำถามและ “คำพิพากษา” ต่อคนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ เมื่อพบเจอคนชาติพันธุ์นุ่งห่มชุดประจำชาติของเขาในกิจกรรมสำคัญ ก็ล้วนมีคำพูดถากถางเสียดสี และพูดคุยกันในกลุ่มของตัวเองแบบเห็นเป็นเรื่องขำ

พม่าย้ายเมืองทำไม

18 January, 2010 - 00:00 -- ong

ถึงทุกวันนี้คนส่วนใหญ่คงรู้กันแล้วว่า พม่าย้ายเมืองหลวงจาก ร่างกุ้ง (Rangoon) ไปยังเมืองเนปิดอว์ (Naypyitaw หรือ Naypyidaw) หลายคนอาจไม่รู้ว่าทำไม เหตุผลที่คาดเดากันไปก็มีหลายอย่าง ทั้งความเชื่อถือของนายพลตานฉ่วยตามคำทำนายของโหรส่วนตัว ภัยคุกคามจากอเมริกา หรือข่าวล่าสุดเรื่องการสะสมอาวุธ สร้างอุโมงค์ใต้ดินซึ่งได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากเกาหลีเหนือเมื่อไม่นาน เพื่อลำเลียงพลและสรรพาวุธป้องกันตนเองและควบคุมชนกลุ่มน้อยต่างๆ

เรื่องเล่าของเม้ยเผื่อน หงสาวดี-เพชรบูรณ์-ราชบุรี-สมุทรสาคร

4 January, 2010 - 00:00 -- ong

เม้ยเผื่อน เล่าว่า ตนเองเกิดที่ย่านวัดน่วมกานนท์ ตำบลชัยมงคล อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นเขตติดต่อกับบ้านปากบ่อและอยู่ภายในตำบลเดียวกันและเป็นหมู่บ้านของสามีและเครือญาติทางสามี

นักวิชาการชายขอบ (ตอน ๑)

16 December, 2009 - 10:07 -- ong

 

ผมไม่ได้คิดฝันว่าจะเป็นนักวิชาการมาแต่ต้น
สู้เรียนเพิ่มจากระดับปริญญาตรีในศาสตร์คนละแขนงต่างขั้ว แค่หวังเพียงจะได้รับฟังและพูดคุยอธิบายความกับนักวิชาการทั้งหลายให้รู้เรื่องบ้างเท่านั้น

บ้านพี่เมืองน้อง แม่กลอง-มหาชัย

23 November, 2009 - 00:00 -- ong

ผมเป็นคนมหาชัย แม้ว่ามหาชัยเป็นเพียงแค่ชื่อตำบลหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร แต่คนทั่วไปกลับรู้จักคุ้นเคยมากกว่าชื่อจังหวัด เช่นเดียวกับ แม่กลอง ซึ่งเปรียบเหมือนชื่อเล่นที่คนเคยปากมากกว่าชื่อสมุทรสงคราม ทั้งที่เป็นเพียงชื่อตำบลเล็กๆ เท่านั้น ทั้งสองจังหวัดนี้อยู่ชายทะเลอ่าวไทย สมุทรสาครมีแม่น้ำท่าจีนไหลผ่าน ไปออกอ่าวไทยที่บ้านท่าจีน ไม่ต่างจากสมุทรสงครามที่มีแม่น้ำแม่กลองไหลผ่าน ไปออกอ่าวไทยที่บ้านแม่กลอง

Pages

Subscribe to RSS - บล็อกของ ong