Skip to main content
 
 
Concerto มาจากภาษาอิตาลีคือคำว่า Concerti หมายถึงการเล่นประสานกันระหว่างวงดนตรีขนาดใหญ่กับเครื่องดนตรีชนิดใดชนิดหนึ่ง (คำว่า Concerti จึงเป็นที่มาของคำว่า Concert ที่ใช้กันในปัจจุบัน) ถ้าเป็น Piano Concerto ก็หมายถึงการเล่นประสานกับวงออร์เคสตรากับเปียโน และแน่นอนว่าผู้เชี่ยวชาญทางด้านดนตรีมักจะจัดให้ เปียโนคอนแชร์โต หมายเลข 5 ของลุดวิก ฟาน เบโธเฟนอันมีชื่อเล่นคือ Emperor เป็นยอดผลงานเคียงคู่หรือแม้แต่อยู่เหนือเปียโนคอนแชร์โตของคีตกวีคนอื่นๆ เช่นเปียโนคอนแชร์โตหมายเลข 1  ของไชคอฟสกี   เปียโนคอนแชร์โตของโรเบิร์ต ชูมันน์ เปียโนคอนแชร์โตหมายเลข 3 ของแรคมานินอฟและเปียโนคอนแชร์โตหมายเลข 21 ของโมสาร์ตเป็นต้น
 
เบโธเฟนเริ่มแต่งเปียโนคอนแชร์โตหมายเลข 1 ในปี 1796 เมื่ออายุได้ 26 ปีและออกนำแสดงที่กรุงปราก สาธารณเช็คในปัจจุบันโดยมีเขาเป็นผู้เดี่ยวเปียโนเอง ต่อมาในปี 1801 ถึงตีพิมพ์หมายเลข 2  ซึ่งความจริงเขาแต่งก่อนหมายเลข 1 หลายปี หมายเลข 2 นี้สำคัญต่อชีวิตของเบโธเฟนเองเพราะเขาหมายมั่นปั้นมือจะเป็นนักเปียโนเอกภายหลังจากที่ย้ายนิวาสสถานจากกรุงบอนน์ (เมืองหลวงเก่าของเยอรมันตะวันตกในช่วงสงครามเย็น) ไปยังกรุงเวียนนา ถึงแม้เขาจะไม่ได้เป็นนักเล่นเปียโนตามความตั้งใจเดิม แต่การเป็นคีตกวีผู้มีชื่อเสียงทำให้เขาก็ไม่เคยย้ายถิ่นออกจากกรุงเวียนนาอีกเลยจนตลอดชีวิต
 
และก่อนหน้านี้หนึ่งปีคือ 1800 เบโธเฟนก็แต่งเปียโนคอนแชร์โตหมายเลข 3 และออกแสดงอีก 3 ปีต่อมาโดยตัวเองก็ร่วมบรรเลงเปียโนด้วย กระนั้นมีเพื่อนสนิทของเขาก็บอกว่าการแสดงไม่สมบูรณ์เท่าไรนักเพราะสังเกตเห็นสมุดโน้ตบนเปียโนขณะที่เบโธเฟนบรรเลงนั้นว่างเปล่า แสดงให้เห็นว่าคีตกวีเอกไม่มีเวลาที่จะเขียนลงไปในสมุด หากแต่ใช้ความทรงจำล้วน ๆ สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าทำไมเบโธเฟนถึงยังแต่งเพลงได้ถึงแม้อาการหูหนวกของเขาจะแย่ลงเรื่อย ๆ
 
ในปี 1806 เบโธเฟนแต่งเปียโนคอนแชร์โตหมายเลข 4 เสร็จสิ้นลง และต้องรออีกหนึ่งปีจึงออกนำมาแสดงในงานแสดงส่วนตัวที่วังของเจ้าชายลอบโควิตซ์ผู้เป็นองค์อุปถัมภ์ ก่อนที่จะนำออกแสดงต่อหน้าสาธารณชน ณ ที่เก่าคือโรงละคร  Theatre an der Wien อีกหนึ่งปีต่อมา ร่วมกับผลงานชิ้นอื่นๆ ของเขาเช่นซิมโฟนีหมายเลข 5 และ 6  ซึ่งได้รับสุ่มเสียงจากนักวิจารณ์ไปในทางที่ดี ถึงแม้คนดูจะแสดงความเย็นชา เพราะความแปลกใหม่ของเพลงและความยาวของการแสดง
 
และแล้วในปี 1809 เบโธเฟนก็ได้ลงมือเขียนผลงานที่ยิ่งใหญ่ในระดับเดียวกับซิมโฟนีหมายเลข 5 และ 9 ของเขานั่นคือเปียโนคอนแชร์โตหมายเลข 5 และอุทิศงานชิ้นนี้ให้กับอาร์ชดุกซ์ รูดอล์ฟ  ผู้เป็นทั้งองค์อุปถัมภ์และลูกศิษย์ การแสดงมีขึ้นครั้งแรกที่เกวานเฮ้าส์ในเมืองไลป์ซิกเมื่อปี 1811 แต่คราวนี้เบโธเฟนรู้สึกว่าหูของตัวเองอยู่ในภาวะที่แย่เกินกว่าจะลงมือเล่นเปียโนเอง จึงให้คาร์ล เซร์นีย์  ลูกศิษย์เอกมาทำหน้าที่นี้แต่เซร์นีย์กลับกลัวว่าตัวเองจะเล่นไม่ดี จึงเปิดทางให้ฟริดริช ชไนเดอร์ นักเล่นออร์แกนในโบสถ์วัยเพียง 21 ปีเป็นผู้เล่น ส่วนเซร์นีย์มาเล่นเปียโนสำหรับการเปิดการแสดงครั้งแรกในกรุงเวียนนาอีก 3  เดือนต่อมา เซร์นีย์ซึ่งอายุเพียง 20 ปีเท่านั้นสามารถบรรเลงบทเพลงนี้ได้อย่างยอดเยี่ยม และยังเป็นที่น่าสนใจว่าเซนีย์ต่อมาได้เป็นอาจารย์ของนักเปียโนและคีตกวีชื่อดังอีกคนคือฟรานซ์ ลิซต์คีตกวีชื่อดังสุดยอดในยุคโรแมนติกของยุโรปอีกคน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องหนีไม่พ้นที่ลิซต์จะสืบทอดความชื่นชมและการเชิดชูเบโธเฟนจากอาจารย์ อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เบโธเฟนมีชื่อเสียงเป็นอมตะมาดังปัจจุบัน
 
เปียโนคอนแชร์โตหมายเลข 5 อันยิ่งใหญ่นี้มีทั้งหมด 3 กระบวน ความยาวทั้งสิ้น 38 นาที ซึ่งท่อนแรกและท่อนที่ 3 นั้นก็เหมือนกับหมายเลข 4 ของเบโธเฟนซึ่งถือได้ว่าเป็นการแหกจารีตของเปียโนคอนแชร์โตทั้งหลายเช่นเพราะเบโธเฟนได้ให้เปียโนบรรเลงไปพร้อมกับเครื่องดนตรีต่างๆ ทันที ในขณะที่คตีกวีคนอื่นมักให้วงออร์เคสตราบรรเลงไปนานพอสมควรเสียก่อน
 
ในแต่ละท่อนมีชื่อประกอบจังหวะดังต่อไปนี้
 
1. Allegro 
 
2.Adagio un poco mosso 
 
3. Rondo - Allegro ma non troppo 
 
 
ในภาพยนตร์ที่แอบอิง (และผสมจินตนาการ) ชีวประวัติของเบโธเฟนดังเช่น Immortal Beloved (1994) ที่อ้างว่าเพลงนี้ถูกบรรเลงและกำกับโดยเบโธเฟนแต่กลับล้มเหลว ถึงแม้เบโธเฟนจะพยายามถึงสองครั้ง เพราะ นักดนตรีเล่นดนตรีตามโน้ตที่เขาเขียนไม่ได้ อีกทั้งคนดูพากันหัวเราะเยาะ ทำให้ผู้หญิงอันเป็นที่รักของเขาต้องคอยประคองเดินออกจากเวทีการแสดงไป ...แสดงให้เห็นว่าหนังทำคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง เพราะตามข้อมูลของประวัติศาสตร์ ไม่ใช่เบโธเฟนที่เล่นเปียโน 
 
ส่วนกระบวนที่ 2  ซึ่งช้าเนิ่บนาบและเศร้าสร้อยก็ถูกบรรเลงประกอบตอนสุดท้ายของหนังที่คนดูรู้แล้วว่าผู้หญิงที่เป็น "Immortal Beloved" ของเบโธเฟนคือใครและหล่อนก็ได้รับรู้ถึงความเป็นจริงที่สายไปแล้ว  จากนั้นเมื่อเธอไปเยือนที่ฝังศพของเบโธเฟน (ซึ่งเป็นของจริง) ภาพยนตร์ก็ต่อด้วยเพลงกระบวนที่ 3 ที่เบโธเฟนตั้งใจจะให้ต่อกันอย่างรวดเร็วทำให้ภาพยนตร์ดูอลังการและปราณีตขึ้น
 
ความยิ่งใหญ่ของเพลง ๆ นี้ย่อมเหมาะสมกับชื่อว่า Emperor หรือจักรพรรดิ แต่เบโธเฟนหาได้เป็นคนตั้งชื่อ นี้ไม่ ตามวิสัยของคนที่ไม่ชอบตั้งชื่อเล่นให้กับเพลงของตัวเอง และเบโธเฟนน่าจะแสลงกับคำว่าจักรพรรดิ เพราะคนที่ชื่อนโปเลียนที่เขาเคยเทใจให้กลายเป็นทรราชผู้น่าเกลียดชัง  มีตำนานถึงที่มาของชื่อบทเพลงนี้สองเรื่อง ตำนานแรกชื่อจักรพรรดิถูกตั้งโดยโยฮันน์ บาปติสต์ คราเมอร์  นักเล่นเปียโนและตีพิมพ์บทเพลงผู้พำนักอยู่ที่กรุงลอนดอน อันสะท้อนว่าการที่เบโธเฟนยอมให้มีคนมายุ่งกับงานของเขาเช่นนี้ย่อมแสดงให้เห็นว่า คน ๆ นั้นเป็นเพื่อนรักของเขาเพียงไหน
 
หรือถ้าหากมีสีสรรกว่านั้นก็คือตำนานเรื่องที่ 2 คือในช่วงที่บทเพลงนี้ถูกนำมาบรรเลงเป็นครั้งแรกในกรุงเวียนนา นายทหารฝรั่งเศส ได้กล่าวในบรรดาผู้ชมว่า  “C’est l’empereur de concerti!” (นี่คือจักรพรรดิแห่งคอนแชร์โต !)  กระนั้นเองคำว่า จักรพรรดิน่าจะหมายถึงตัวเบโธเฟนมากกว่า และคิดว่าเขาคงจะชอบใจถ้ามีใครเรียกตัวเองเช่นนั้น
 
 
 
 
 
 
 
 
ภาพจาก http://cps-static.rovicorp.com/
 
 
 
 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  1.บวรศักดิ์ อุวรรณโณคิดว่าร่างรัฐธรรมนูญของตนนั้นเป็น 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  บทความต่อไปนี้บางส่วนเอามาจากบทความของคุณเดวิด เบอร์นาร์ด จาก http://www.chambersymphony.com/   เข้าใจว่าโซโฟนีหมายเลข 7 นี้
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  บทความนี้ได้รับการแปลและตัดต่อบางส่วนจากเว็บ The History Place:World War in Euroe ผู้เขียนไม่ทราบชื่อ  บทความนี้ยังถูกนำเสนอเนื่องในโอกาสครบรอบการเสียชีวิตของฮิตเลอร์เมื่อ 70 ปีที่แล้ว (30 เมษายน ปี 1945) เช่นเดียวกับก
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 คงมีภาพยนตร์เพียงไม่กี่เรื่องที่สามารถสะท้อนความคิดทางปรัชญาอันลุ่มลึกและมักทำให้ผมระลึกถึงอยู่เสมอเวลาดูข่าวต่างๆ หรือไม่เวลาพบกับเหตุการณ์ทางการเมือง ภาพยนตร์เหล่านั้นนอกจากราโชมอนของ อาคิระ คุโรซาวาแล้วยังมี Being There ที่ภาพยนตร์สุดฮิตอย่า
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 1. กลุ่มกปปส.ต่อหน้ารัฐบาลยิ่งลักษณ์คิดว่าตัวเองเป็น 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
1. เพลง  Give It Up ของวง  KC&Sunshine Band  (ปี 1983)  
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 1.Don Giovanni คีตกวี วู๊ฟกัง อมาเดอุส โมสาร์ต
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  The Pianist ซึ่งกำกับโดยโรมัน โปลันสกีถูกนำออกฉายในปี 2002  และได้รับการยกย่องรวมไปถึงรางวัลออสการ์และอื่นๆ เป็นจำนวนมาก ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างมาจากหนังสืออัตชีวประวัต
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 1.คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะคิดว่าตัวเองเป็น 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  เมื่อพูดถึงเพลงคลาสสิก ภาพแรกที่ปรากฏอยู่ในหัวของทุกคนก็คือผู้ชายหรือไม่ก็เด็กชายฝรั่งสวมวิคแต่งชุดฝรั่งโบราณกำลังเล่นเปียโนอยู่ หากจะถามว่าคนๆ นั้นคือใคร ทุกคนก็จะตอบเป็นเสียงเดียวกันว่าเขาคือ โมสาร์ต คีตกวีผู้มีชื่อเสียงมากที